รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KR 4.1.3
ส่งเสริมการเรียนการสอนโดย ใช้ภาษาต่างประเทศ
ผู้จัดทำโครงการ
ดร.เครือวัลย์ คุ้มครอง (รองคณบดีฝ่ายบริหาร)
คณะเทคนิคการแพทย์
ผู้ให้ความรู้
1) ดร.อรนันท์ พรหมมาโน
2) ดร.อรอุมา สร้อยจิต
คณะเทคนิคการแพทย์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
เนื่องจากมีการปรับใช้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ สำหรับปีการศึกษา 2565 – 2569 ส่งผลให้มียุทธศาสตร์ใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การเสริมสร้างพัฒนาความเป็นสากล (Internationalization) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร มีความรู้ทักษะการสื่อสารและประสบการณ์ที่จะประสบความสำเร็จ ในสังคมนานาชาติและพัฒนาความสามารถเหล่านี้ ได้ด้วยตนเองผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้
(2) เพื่อให้มหาวิทยาลัยรังสิตได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นสากลจากองค์กร มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติมีโอกาสทำความรู้จัก พูดคุยกับนักศึกษาไทย ทำให้นักศึกษาไทยได้มีโอกาสฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity)
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
1. ประชุมร่วม 5 คณะ เพื่อออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่าย
2. ประชุมทีมสอนรายวิชา RSU171 วิถีสุขภาพดีมีสุข เพื่อเลือกหัวข้อที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรม และจัดตาราง เรียนให้สอดคล้องกับวันเวลาที่จะดำเนินกิจกรรม
3. ออกแบบกิจกรรม และจัดทำแผนการสอนรายคาบ
4. จัดเตรียมสื่อช่วยสอน “กิจกรรมคัดกรองผู้บริจาคโลหิต” โดยมีภารกิจ :
1) นักศึกษาไทยสัมภาษณ์นักศึกษาต่างชาติ
2) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติเรียนรู้คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
3) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติทำกิจกรรมต่อจิ๊กซอว์คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
4) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติเรียนรู้ประโยชน์ของส่วนประกอบของเลือดบริจาค
5) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ เรียนรู้หมู่เลือดกับการให้เลือด
5. จัดกิจกรรม “กิจกรรมคัดกรองผู้บริจาคโลหิต” ดังกล่าว โดยแบ่งกลุ่มย่อยทำกิจกรรม 4 กลุ่ม vs อาจารย์พี่เลี้ยง 2 คนต่อกลุ่ม
6. นักศึกษาทั้ง 4 กลุ่ม ส่งตัวแทนทั้งนักศึกษาไทยและต่างชาติมานำเสนอความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตหน้าชั้นเรียน
7. นักศึกษาทำแบบประเมินกิจกรรมผ่าน ผ่าน Google Forms
8. ดร.อรนันท์ พรหมมาโน และ ดร.อรอุมา สร้อยจิต ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ ให้แก่บุคคลากรคณะเทคนิคการแพทย์
2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม (นักศึกษาต่างชาต/นักศึกษาไทย) N = 81/26 คน
ข้อคำถาม ค่าเฉลี่ย ระดับความคิดเห็น
ความเหมาะสมของสถานที่ 4.48/4.68 เห็นด้วยมากที่สุด
ความเหมาะสมของระยะเวลา 4.15/4.32 เห็นด้วยมาก
คุณภาพของอุปกรณ์เสียงและสื่อ 4.29/4.64 เห็นด้วยมากที่สุด
ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม 4.21/4.44 เห็นด้วยมากที่สุด
ความรู้ ไอเดีย ทักษะ หรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากกิจกรรม 4.29/4.56 เห็นด้วยมากที่สุด
หัวข้อกิจกรรมน่าสนใจ 4.24/4.60 เห็นด้วยมากที่สุด
อุปสรรคหรือปัญหา
1. นักศึกษาไทยมีจำนวนน้อยและมาสาย ทำให้นักศึกษาต่างชาติบางส่วนต้องรอเพื่อทำกิจกรรมกับนักศึกษาไทย
2. นักศึกษาไทยมีความหลากหลาย มาจากหลายคณะ เช่น คณะกายภาพบำบัดฯ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์
วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยศิลปะศาสตร์
3. นักศึกษาไทยไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ มี LANGUAGE BARRIER หากเป็นกิจกรรม DISCUSSION นักศึกษาต่างชาติ มักเป็นฝ่ายพูดเป็นส่วนใหญ่
4. นักศึกษาไทยบางส่วนไม่เข้าใจศัพท์เฉพาะ เกี่ยวกับการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต
3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
การตรวจสอบผลการดำเนินการ
ประเมินกิจกรรม ผ่าน Google Forms โดยนักศึกษาที่ร่วมกิจกรรม
การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้
มีการถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับบุคลากรในคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นของคณะ
สรุปและอภิปรายผล
ผลการประเมินกิจกรรม เกือบทุกด้านอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด เช่น ความเหมาะสมของสถานที่, คุณภาพของอุปกรณ์เสียงและสื่อ, ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม, ความรู้ ไอเดีย ทักษะ หรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากกิจกรรม และ หัวข้อกิจกรรมน่าสนใจ ส่วน ความเหมาะสมของระยะเวลา อยู่ในระดับ เห็นด้วยมาก
บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
1. ทำให้ทราบถึงแนวทางการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติมีโอกาสทำความรู้จัก พูดคุยกับนักศึกษาไทย ทำให้นักศึกษาไทยได้มีโอกาสฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษ และนักศึกษาต่างชาติมีโอกาสได้เข้าใจเกี่ยวกับการบริจาคเลือด ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาไทย
2. ทำให้ทราบถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวทางแก้ปัญหา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity)
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ปรับแผนการสอน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์