รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1
บูรณาการความรู้ด้านนวัตกรรมและวิจัยสู่ชุมชน
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
ผู้จัดทำโครงการ
ผศ.ดร.นัฐพงษ์ มูลคำ และ อ.กัญจนพร โตชัยกุล
คณะรังสีเทคนิค
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
คณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิตตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมวิจัย รวมถึงผลงานทางวิชาการในรูปแบบ นวัตกรรมวิจัย ที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา รวมถึงบูรณาการกับชุมชน โดยมุ่งเน้นนำเอาความรู้ผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน จึงได้จัดทำรายงานการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2566 ในหัวข้อ “บูรณาการความรู้ด้านนวัตกรรมและวิจัยสู่ชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน” ซึ่งจะสะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่จะนำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและงานวิจัยมาผสานเข้ากับบริบทของชุมชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้
หลักการและเหตุผล: โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่กระดูกมีความพรุน เปราะบาง และหักง่าย เกิดขึ้นเมื่อมวลกระดูกสูญเสียไปมากกว่าปกติ ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลง ดังนั้นโรคกระดูกพรุนจึงเป็นภัยเงียบที่คุกคามคุณภาพชีวิตและสร้างภาระให้สังคมไทย
ความสำคัญ: โรคกระดูกพรุนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งผู้ป่วยอาจเผชิญกับอาการปวด กระดูกหักง่าย ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มากไปกว่านั้นทำให้เกิดภาระทางสังคมจากการที่กระดูกหักง่ายอาจนำไปสู่ความพิการ สูญเสียความสามารถในการทำงาน รวมถึงการรักษาโรคกระดูกพรุนมีค่าใช้จ่ายสูง
ประเด็นปัญหา: ประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน รวมถึงการคัดกรองและรักษาโรคยังไม่ครอบคลุม มากไปกว่านั้นยังขาดการบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน
แนวทางแก้ไข: รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกัน คัดกรอง และรักษาโรคกระดูกพรุน พัฒนาและขยายการคัดกรองและรักษาโรค รวมถึงบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ความรู้ที่นำมาใช้ในกิจกรรมนี้เป็นได้ออกเป็น 2 หัวข้อหลักๆได้แก่ องค์ความรู้จากงานวิจัยและการบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- องค์ความรู้จากงานวิจัย:
- งานวิจัยทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการรักษา พัฒนายา ส่งเสริมแนวทางป้องกัน ส่งเสริมนโยบายสาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิต ประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มพูนความรู้ รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและสร้างความน่าเชื่อถือ
- โดยคณะรังสีเทคนิคได้ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารทางแพทย์ระดับ Scopus Q1 ในหัวข้อ Osteopenia and Osteoporosis Screening Detection: Calcaneal Quantitative Ultrasound with and without Calibration Factor Comparison to Gold Standard Dual X-ray Absorptiometry” ซึ่งผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเครื่อง Quantitative ultrasound (QUS) ในการตรวจหาโรคกระดูกพรุน โดยมีข้อดีคือเป็นวิธีที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจความหนาแน่นของกระดูกส้นเท้า (calcaneous) โดยไม่มีการใช้รังสีจึงปลอดภัยต่อผู้ตรวจและผู้ปฏิบัติงาน
- การบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน:
- ทีมวิจัยได้นำองค์ความรู้วิจัยดังกล่าวมาบูรณาการกับชุมชน ผ่านโครงการลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS
- โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากโครงการ สสส ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต ในชื่อโครงการ “โครงการลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS” โดยมุ่งเป้าไปที่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนหลักหก ผ่านการส่งเสริมสุขภาวะให้ดีขึ้น
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :
เจ้าของความรู้/สังกัด คณะรังสีเทคนิค
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้
คณะรังสีเทคนิค: พลังแห่งองค์ความรู้ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน
คณะรังสีเทคนิค มุ่งมั่นสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางวิจัยควบคู่ไปกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชน ผ่านกลยุทธ์ “3 ขั้นตอน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ดังนี้
- ขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพ
เล็งเห็นถึงความสำคัญของ “โรคกระดูกพรุน” ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชน คณะรังสีเทคนิคจึงทุ่มเทสร้างองค์ความรู้ทางวิจัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและการตรวจคัดกรองโรค ผ่านผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับ Scopus Q1 เกี่ยวกับ “ประสิทธิภาพของเครื่อง Quantitative ultrasound (QUS) ในการตรวจหาโรคกระดูกพรุน” (Moonkum et al., 2024)
- บูรณาการองค์ความรู้ สู่การยกระดับชุมชน
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะนำองค์ความรู้ไปต่อยอดสร้างประโยชน์ คณะรังสีเทคนิคจึงได้ริเริ่มโครงการ “ลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS” ในชุมชนหลักหก โดยได้รับการสนับสนุนจากทุนวิจัยโครงการ สสส ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต
- ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ผ่านกิจกรรมและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
โครงการมุ่งเน้นให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน ควบคู่ไปกับการคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ผ่านการตรวจด้วยเครื่อง QUS ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ จะนำไปวิเคราะห์ ประเมินผล และสรุป เพื่อนำไปพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคต่อไป
คณะรังสีเทคนิค มุ่งมั่นสร้าง “พลังแห่งองค์ความรู้” สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน มุ่งหวังให้ชุมชนหลักหกมีสุขภาพที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และนำไปสู่การขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ต่อไป
2. Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
โครงการลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS ของคณะรังสีเทคนิค ได้ดำเนินการในชุมชนหลักหก
ผลการดำเนินการ
- ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน
- มีการคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน
- ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
- สุขภาวะของประชาชนในชุมชนดีขึ้น
การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง
- ผลการคัดกรองเพื่อติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน
- ผลการคัดกรองเพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
- ผลการคัดกรองเพื่อรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน
อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
การคลาดแคลนอุปกรณ์ในการตรวจวัดมวลกระดูก เนื่องจากเครื่องวัดมีเพียงเครื่องเดียว ทำให้ผู้สนใจต้องรอคิวนาน
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
การตรวจสอบผลการดำเนินการ
- ติดตามผลลัพธ์ของโครงการ เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ผลลัพธ์หลังการเข้าร่วม ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม
- วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิภาพของโครงการ
- นำข้อมูลมาใช้เพื่อพัฒนาโครงการในอนาคต
การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้
- สรุปบทเรียนเรียนรู้จากการดำเนินโครงการ
- เน้นประเด็นสำคัญ เช่น ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข
- นำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ
สรุปและอภิปรายผล
ทำให้คณาจารย์คณะรังสีเทคนิคมีคุณภาพและสามารถพัฒนาผลงานทางวิชาการ ร่วมถึงยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นที่รู้จักกว้างขว้างมากขึ้น รวมถึงคณาจารย์คณะรังสีเทคนิคสามารถบูรการความรู้ด้านงานวิจัยให้สอดคล้องกับชุมชน โดยยกระดับสุขภาพวะให้ดีขึ้นจากโรคกระดูกพรุนที่เป็นปัญหาใหญ่ต่อสังคมไทย จากการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน การใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย และการบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
จากโครงการลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS ของคณะรังสีเทคนิค มีข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการในอนาคต ดังนี้
1.ขยายผลการดำเนินการ:
- ขยายพื้นที่การคัดกรองไปยังชุมชนอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนในวงกว้างได้รับประโยชน์
- ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และภาคประชาสังคม เพื่อขยายผลการดำเนินการ
- พัฒนาระบบการติดตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรอง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
2.พัฒนาองค์ความรู้:
- ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในชุมชน
- พัฒนารูปแบบการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- ศึกษาประสิทธิภาพของเครื่อง QUS ในการคัดกรองโรคกระดูกพรุน
3.พัฒนาระบบการคัดกรอง:
- พัฒนาระบบการคัดกรองให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และสะดวก
- พัฒนาระบบการเก็บข้อมูลผู้ป่วยให้เป็นระบบ
- พัฒนาระบบการติดตามผลผู้ป่วย
4.สร้างเครือข่าย:
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้
- พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
5.สนับสนุนการวิจัย:
- สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน
- สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการคัดกรองและรักษาโรคกระดูกพรุน
การดำเนินการตามข้อเสนอแนะเหล่านี้ จะช่วยให้โครงการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยั่งยืน
และสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ได้
เอกสารอ้างอิง
Moonkum, N., Withayanuluck, T., Somarungsan, A., Sichai, N., Wongsiri, A., Chawkhaodin, W., . . . Tochaikul, G. (2024). Osteopenia and Osteoporosis Screening Detection: Calcaneal Quantitative Ultrasound with and without Calibration Factor Comparison to Gold Standard Dual X-ray Absorptiometry. Journal of Clinical Densitometry, 27(2), 101470.