ระบบสนับการประเมินคุณภาพภายใต้แนวคิด 4D with 3 Smart

ระบบสนับสนุนการประเมินคุณภาพภายใต้แนวคิด 4D with 3 Smart ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR3.4.1, KR3.4.4 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เอื้ออัชฌาสัย, คุณพรรนิภา แดงเลิศ, คุณธนัญชนก วารินหอมหวล, คุณภัสราภรณ์ อริยะเศรณี, คุณวราภรณ์ เกิดน้อย สำนักงานประกันคุณภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล จึงทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและการทำงานในปัจจุบัน ผู้คนในยุคดิจิทัลต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว ทันใจ การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลจึงต้องมีการวางแผนการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล หรือการบริหารงานทั่วไป จำเป็นต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็วและเป็นแบบเรียลไทม์ (ปุณณิฐฐา มาเชค, 2565) อีกทั้งแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ที่มุ่งเน้นทักษะที่สำคัญของประชากรในศตวรรษที่ 21 ในแปดด้าน โดยหนึ่งในด้านที่สำคัญ คือ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Computing and ICT Literacy) รวมถึงแผนยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบข้อมูล โดยปัจจุบันฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อววน.) ประกอบด้วย 3 ฐานข้อมูลหลัก ได้แก่ ฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษาฯ และมาตรฐานการอุดมศึกษา, ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และฐานข้อมูลด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ     จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการสู่องค์กรอัจฉริยะ (Smart Organization) ที่เน้น กระบวนการทำงานแบบ Smart Work และ Work Smart เพิ่มศักยภาพในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา สำนักงานประกันคุณภาพได้ปรับกระบวนการบริหารงานที่เน้นการทำงานเชิงรุก ตอบสนองทันที (Pro-Active) การใช้ทรัพยากรน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า (Less resources, but more results) และปรับระบบการทำงานให้เป็นระบบดิจิทัลมากขึ้นเพื่อเชื่อมโยงในหลายมิติ (Digitalization and hyperlink) ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการบริหารงานบุคลากรในหน่วยงานด้วยหลัก 4D for Smart Organization และนำไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จที่วัดผลได้ตาม Key Result ของแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานประกันคุณภาพ โดยสามารถยืนยันความสำเร็จของผลการดำเนินงานด้วยรางวัลชมเชยจากการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง 4D for Smart Organization ในโครงการแนวปฏิบัติที่ดี มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปีการศึกษา 2565 (RSU Good Practice Awards 2023)     เพื่อเป็นการพัฒนาความเป็น 4D for Smart Organization สำนักงานประกันคุณภาพจึงมุ่งเน้นความสำคัญในการเพิ่มสมรรถนะการปฏิบัติงานด้าน Smart Technology ไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากรให้เป็น Smart People และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้เป็น Smart Process ด้านการประกันคุณภาพ ซึ่งแต่เดิมกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7), รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับคณะวิชา, รายงานประเมินเบื้องต้นสำหรับการตรวจประเมิน ของคณะกรรมการประเมิน, ประกาศฯ มหาวิทยาลัยรังสิตที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน (Improvement plan) ในรูปแบบไฟล์เอกสาร ที่ต้องใช้พื้นที่จัดเก็บไฟล์เอกสารเป็นจำนวนมาก จึงได้พัฒนาระบบ Improvement plan: IP ขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการประเมินสามารถใช้ระบบ IP ในการสรุปรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา (ฉบับสมบูรณ์) ในวันที่ประชุมประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ซึ่งหลักสูตรและคณะวิชาสามารถดูรายงานผลการประเมิน และจัดทำรายงานแผนปรับปรุงการดำเนินงาน (Improvement plan) ผ่านระบบ IP ทดแทนการจัดทำแบบ Manual File รวมถึงสามารถออกรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา และนำส่งรายงานผลการดำเนินงานฯ ดังกล่าว ไปยังสำนักงานวางแผนและพัฒนา เพื่อสรุปผลการดำเนินงานประจำปีในแต่ละ Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ต่อไป ————————————————————-   ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้: ขั้นตอนการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP จากความเป็น 4D with 3 Smart ประกอบด้วย Dynamic Mission คือ มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในพันธกิจตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดในทุกปี โดยมีพันธกิจใหม่ด้านการดูแลระบบ Improvement Plan: IP ที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับคณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร, คณะวิชา, กรรมการและเลขานุการ และการรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 Dynamic Job Description คือ การปรับหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรตามพันธกิจใหม่ โดยมีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ร่วมกับโปรแกรมเมอร์ Dynamic IDP คือ การปรับแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลประจำปีการศึกษา โดยการเพิ่มเติมหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรเป็นรายบุคคล โดยผู้บริหารหน่วยงานได้พิจารณาและประเมินความรู้ ความสามารถของบุคลากรที่มีความเหมาะสมต่อการร่วมพัฒนา ดูแล เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การใช้งาน และเป็น Admin ระบบ Improvement Plan: IP Dynamic working result คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนการกำกับติดตามการดำเนินงาน ซึ่งจากเดิมสำนักงานประกันคุณภาพมีการติดตามการดำเนินงานของบุคลากรเป็นรายบุคคลผ่านแบบรายงานการปฏิบัติงานรายบุคคลประจำเดือน (Monthly Report) โดยเพิ่มเติมการนำเสนอ (ร่าง) การพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ในทุกสัปดาห์ผ่านที่ประชุมสำนักงาน และนำเสนอความก้าวหน้าต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพ ในปีการศึกษา 2565 (ซึ่งเป็นปีที่พัฒนาระบบ) จำนวน 4 ครั้ง           – ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565           – ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565           – ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566           – ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566     และเพิ่มสมรรถนะการปฏิบัติงานใน 3 ด้านที่สำคัญ ได้แก่      – Smart People คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ วางแผน มีทักษะในการสื่อสารและการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยเป็นผู้ร่วมพัฒนาและวิเคราะห์ระบบ Improvement Plan: IP ร่วมกับ Developer และทำหน้าที่เป็น User Requirement เพื่อวิเคราะห์ว่าระบบที่ออกแบบและพัฒนาต้องมีการทำงานอย่างไรและเงื่อนไขที่กำหนดลงไปในระบบมีอะไรบ้าง, ร่วมออกแบบและตรวจสอบระบบ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดและแนะนำหลักสูตร คณะวิชา และผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ในการใช้งานระบบ IP ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการเป็น Chang Agent      – Smart Process คือ การพัฒนากระบวนการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความเป็นระบบ และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร, คณะวิชา, กรรมการและเลขานุการ และการรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ทดแทนการจัดทำแบบ Manual File สู่กระบวนการแบบ Lean Process เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น เพราะระบบ IP สามารถคำนวณผลลัพธ์และค่าร้อยละให้อัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในตัวบ่งชี้เชิงปริมาณได้ และช่วยลดระยะเวลาในการจัดเก็บและค้นหาไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินได้ เพราะระบบ IP ได้รวบรวมไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ในที่เดียว เช่น คู่มือมาตรฐานฯ มรส.ฯประกาศ คำสั่งฯ แนวทางการประเมิน, รายชื่อคณะกรรมการประเมิน, รายงาน มคอ.7 และรายงาน SAR เป็นต้น            – Smart Technology คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน แม้ว่ามหาวิทยาลัยกำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงานประกันคุณภาพมีความประสงค์มุ่งพัฒนาระบบสนับสนุนการประเมินคุณภาพ ระบบ Improvement Plan: IP ขึ้นใช้เองโดยแยกจากส่วนกลาง เพื่อให้ทันต่อการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565 และเกณฑ์มาตรฐานฯ ฉบับ พ.ศ.2567) เพื่อให้การรายงานผลการดำเนินงานทั้งระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และระดับสถาบันเกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการเป็น Agile Technology ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) โดยนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 มาตีความสู่การดำเนินงาน และนำมาปรับใช้ในแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานประกันคุณภาพ พ.ศ.2565-2569 และแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานประกันคุณภาพ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)โดยนำแนวปฏิบัติของสำนักงานประกันคุณภาพที่ประสบความสำเร็จจากปีการศึกษาที่ผ่านมาในประเด็น 4D for Smart Organization มาดำเนินการต่อเนื่องและพัฒนาเพิ่มเติมใน 3 ด้าน คือ Smart People, Smart Process และ Smart Technology สู่การเป็น 4D with 3 Smart และพิสูจน์ความสำเร็จในการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ด้วยการเก็บข้อมูลผลการประเมินการใช้งานระบบจากตัวแทนของคณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร และคณะวิชา วิธีการดำเนินการ สำนักงานประกันคุณภาพได้นำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP โดยผู้บริหารหน่วยงานให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย เช่น การสนับสนุนให้หลักสูตรและคณะวิชาที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ในตัวบ่งชี้ที่ได้คะแนน 4.00 ได้พัฒนาตนเองและจัดทำรายงาน KM แนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จและถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านระบบ RKMS ของมหาวิทยาลัย ภาพ: ตัวอย่าง Template รายงาน มคอ.7 ที่ระบุเกณฑ์การประเมินในระดับ 5.00 คะแนน โดยต้องจัดทำผลงาน KM แนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ และถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านระบบ RKMS ของมหาวิทยาลัย      นอกจากนี้ มีการส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเข้าร่วมอบรมแนวทางการจัดการความรู้ในทุกปีการศึกษา เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมมาประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จและองค์ความรู้ของบุคลากรตามพันธกิจใหม่ที่ได้รับมอบหมาย โดยเป็นผลมาจากการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีจากปีการศึกษาที่ผ่านมา สู่การจัดทำรายงานการจัดการความรู้ของปีการศึกษา 2566 โดยมีกระบวนการจัดการความรู้ของหน่วยงานใน 6 ขั้นตอน ดังนี้ การกำหนดความรู้ที่จำเป็น โดยผ่านการประชุมสำนักงานประจำสัปดาห์ เพื่อร่วมกันพิจารณาว่าความรู้ใดที่สำคัญและเป็นผลมาจากแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า เป็นเรื่องการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ที่เป็นผลมาจากการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ โดยการนำองค์ความรู้ที่ค้นพบ คือ การพัฒนาระบบที่มาจากการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของบุคลากร เช่น แผนการพัฒนาระบบ, ขั้นตอนการพัฒนาระบบ, แนวทางการจัดอบรมและประชาสัมพันธ์ระบบ, การให้คำปรึกษาการใช้งานระบบ และการเป็น Admin ดูแลระบบ เป็นต้น สู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ คือ การจัดทำ Model ขั้นตอนการพัฒนาระบบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพของหน่วยงานที่จะพัฒนาขึ้นในอนาคต การปรับปรุง/ ดัดแปลง/ การสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการใช้งาน โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และปรับปรุงข้อมูลที่จะปรากฏในระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อผู้ใช้งาน การประยุกต์ใช้ความรู้ในงานของตน โดยการนำความรู้ที่ได้จากการประชุมสำนักงาน/ ระดมความคิดเห็น และการให้ความรู้แบบ Coaching จากผู้บริหารหน่วยงาน รวมถึงการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองผ่าน Online Learning Platform เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาระบบ การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้ สำนักงานประกันคุณภาพได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart แล้วทำการประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักงานประกันคุณภาพ และแผนการพัฒนาบุคลากร ด้วยวิธีการสนับสนุนให้บุคลากรได้รายงานแผนการจัดทำระบบ, รายงานความคืบหน้า, การเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ และการประเมินผลการใช้งานระบบจากตัวแทนของคณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร และคณะวิชา ผู้ใช้งานระบบ โดยทุกขั้นตอนที่มีการพัฒนาได้มีการบันทึกและนำเสนอในรูปแบบ Model ขั้นตอนการพัฒนาระบบ ซึ่งถือเป็น “ขุมความรู้” ที่ได้จากประสบการณ์การทำงาน การจดบันทึกขุมความรู้และแก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งานและปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน           6.1 นำผลการสกัดความรู้ตามกระบวนการ 4D with 3 Smart มาบันทึกตามแนวทางของ RKMS           6.2 การเผยแพร่ความรู้ 4D with 3 Smart ที่ทำให้เกิดการพัฒนาระบบผ่านการจัดอบรมการใช้งานระบบ Improvement Plan: IP สำหรับคณะกรรมการประเมิน สำหรับหลักสูตร และคณะวิชา จำนวน 3 ครั้ง รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานทุกคนเป็นผู้ใช้งานระบบเพื่อการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 แล้วนำข้อค้นพบจากการใช้งานระบบมาประชุม/ ระดมความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา/ ปรับปรุง สำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566 ต่อไป 2.Prototype testing in an operational environment – DO สำนักงานประกันคุณภาพมีกระบวนการติดตามผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ผ่านแบบรายงานการปฏิบัติงานรายบุคคลประจำเดือน (Monthly Report) และการนำเสนอ (ร่าง) การพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ในทุกสัปดาห์ต่อที่ประชุมสำนักงาน และนำเสนอความก้าวหน้าต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพ ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ครั้ง และรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร คณะวิชา และรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 3 ครั้ง ในปีการศึกษา 2566 ซึ่งผลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ที่เป็นไปตาม KR ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 มีดังนี้ ความเชื่อมโยงผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ที่รายงานผลจากระบบ IP KR ของแผนยุทธศาสตร์ฯ มรส. พ.ศ. 2565-2569 ตัวบ่งชี้ระดับหลักสูตร KR 1.1.1 หลักสูตรมีความทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม ตบช.5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร KR 1.1.5 ผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรในระดับดีขึ้นไป ตบช.3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา KR 1.2.1 มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสอนมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ตบช.5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร KR 1.2.2 หลักสูตรที่เปิดดำเนินการสอนมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย พร้อมใช้ และจำนวนเพียงพอสอดคล้องกับเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ตบช.6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ KR 1.3.1 อัตราการได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปีหลังสำเร็จการศึกษามากกว่าร้อยละ 65 ของผู้สำเร็จการศึกษา ตบช.2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี KR 1.3.3 หลักสูตรมีผลการประเมินคุณภาพของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิและมาตรฐานการอุดมศึกษาจากผู้ใช้บัณฑิต ไม่ต่ำกว่าระดับดี ตบช.2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 KR 1.3.7 ระดับคุณภาพงานวิจัย/ งานสร้างสรรค์/ นวัตกรรม ของนักศึกษาและบัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญเอก ตบช.2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (ทั้งหลักสูตรระดับ ป.โท และ ป.เอก)   ความเชื่อมโยงผลการดำเนินงานระดับคณะวิชา ที่รายงานผลจากระบบ IP KR ของแผนยุทธศาสตร์ฯ มรส. พ.ศ. 2565-2569 ตัวบ่งชี้ระดับคณะวิชา KR 1.2.4 กิจกรรม/โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์บรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จและวัตถุประสงค์ทุกข้อ ตบช.1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี เกณฑ์ข้อ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา KR 1.4.6 จำนวนผลงานการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน ตบช.5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ เกณฑ์ข้อ 5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง   ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี (People Process and Technology)     – ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงบุคลากร (People) โดยการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart และกำหนดเป้าหมายไว้ในแผนพัฒนาบุคลากร พบว่า บุคลากรมีความรู้ในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565) มากขึ้น โดยสามารถปรับปรุง Template มคอ.7 และรายงาน SAR ระดับคณะวิชา ที่ครอบคลุมกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา และประกาศ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562 และมีความเข้าใจในประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ซึ่งเมื่อบุคลากรมีความรู้ในตัวบ่งชี้และเกณฑ์ฯ แล้วจึงนำมาสู่การออกแบบระบบสนับสนุนการประเมินคุณภาพ Improvement Plan: IP และสามารถจัดทำคู่มือการใช้งานระบบ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ คู่มือสำหรับผู้ประเมินระดับหลักสูตร, คู่มือสำหรับผู้ประเมินระดับคณะวิชา และคู่มือสำหรับผู้ใช้งานระดับหลักสูตรและระดับคณะวิชา โดยสามารถเป็นวิทยากรในการจัดอบรมการใช้งานระบบ จำนวน 3 ครั้ง และมีผลการประเมินความพึงพอใจด้านวิทยากร ดังนี้ หัวข้อการจัดอบรม คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจด้านวิทยากร การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 4.87 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะวิชา ปีการศึกษา 2565 4.89 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ หลักสูตร และคณะวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน ปีการศึกษา 2566 4.92 ระดับดีมาก – ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงกระบวนการ (Process) บุคลากรสามารถการพัฒนากระบวนการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความเป็นระบบ และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการประเมิน, ผู้ใช้งานระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา, กรรมการและเลขานุการ และการรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 โดยสามารถจัดทำ Model ขั้นตอนการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ดังนี้ – ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงเทคโนโลยี (Technology) การพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์สำนักงานประกันคุณภาพ พ.ศ.2565-2569 ที่กำหนดเป้าหมาย 100% Comfort Faculty and Curriculum IP on time และสามารถดำเนินการได้บรรลุค่าเป้าหมาย 100% โดยเป็นระบบที่ผู้ประเมินทั้งระดับหลักสูตรและคณะวิชา สามารถจัดทำรายงานประเมินเบื้องต้นสำหรับการตรวจประเมิน สามารถช่วยคำนวณผลลัพธ์และค่าร้อยละให้อัตโนมัติ รวมทั้งสามารถสร้างรายงานผู้ประเมินฉบับสมบูรณ์ให้อัตโนมัติ นอกจากนี้หลักสูตร และคณะวิชาสามารถเข้าดูรายงานผลการประเมิน และจัดทำรายงานแผนปรับปรุงการดำเนินงาน (Improvement Plan) ผ่านระบบ ซึ่งระบบช่วยสร้าง Improvement Plan ระดับหลักสูตรและระดับคณะวิชาเบื้องต้นให้อัตโนมัติ และที่สำคัญระบบช่วยสร้างรายงานผลการดำเนินงานตาม KR ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อรายงานผลการดำเนินงานจากระบบส่งให้กับสำนักงานวางแผนและพัฒนา โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจด้านระบบ Improvement Plan: IP ดังนี้ หัวข้อการจัดอบรม คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจด้านระบบ การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 4.87 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะวิชา ปีการศึกษา 2565 4.85 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ หลักสูตร และคณะวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน ปีการศึกษา 2566 4.83 ระดับดีมาก 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ – การตรวจสอบผลการดำเนินการ ในด้านการติดตามผลการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart นั้น สำนักงานประกันคุณภาพมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ รายงาน Job Description ประจำปีการศึกษาที่ Mapping กับ Dynamic Mission, Monthly

ระบบสนับการประเมินคุณภาพภายใต้แนวคิด 4D with 3 Smart Read More »