รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เกมโมบายแอปพลิเคชั่น
ผู้จัดทำโครงการ
อ.ภาวิณี เส็งสันต์
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการศึกษา มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้สอนและผู้เรียน ดังนั้น ระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน จึงได้ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนรู้ได้ในทุกสถานที่ทุกเวลา เหตุผลดังกล่าวผู้สอนจึงมีแนวคิดพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้เกมโมบายแอปพลิเคชันในวิชาเภสัชกรรมไทย เนื่องจากในรายวิชาดังกล่าวมีสมุนไพรหลากหลายชนิด รวมทั้งส่วนที่ใช้ของสมุนไพรมีหลายส่วนและวิธีการเตรียมเพื่อนำไปใช้มีหลากหลายวิธีซึ่งนักศึกษาจะต้องจดจำลักษณะ ส่วนต่างๆ สรรพคุณของพืช ตั้งแต่ ราก ต้น ใบ ดอก ผล และวิธีการนำมาใช้ รวมทั้งข้อควรระวัง ผู้สอนเล็งเห็นปัญหาของการเรียนรู้จึงต้องสรรหาวิธีการที่ทำให้ผู้เรียน สามารถจดจำพืชสมุนไพรต่างๆได้ง่ายและมีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการเรียน จึงได้จัดทำเกมโมบายแอปพลิเคชันขึ้นมา
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การนำเอาเกมโมบายแอปพลิเคชันมาเป็นสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในรายวิชาเภสัชกรรมไทย มีความความน่าสนใจ ความท้าทาย เนื่องจากผู้เล่นเกมจะมีความกระตือรือร้นเพื่ออยากเอาชนะและทำคะแนนให้ได้มากที่สุด จึงทำให้เกิดทักษะในการจดจำพืชสมุนไพรในแต่ละชนิดได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้เล่นเกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน โดยผู้จัดทำคาดหมายว่าสื่อสนับสนุนการเรียนรู้นี้จะช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้และความพึงพอใจให้กับผู้เรียน นอกจากนี้ยังเป็นการบูรณการในการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการเรียนการสอนการแพทย์แผนไทยอีกด้วย
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) :
อื่น ๆ (โปรดระบุ) ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองการประกอบโรคศิลปะ
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้
1.อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาเภสัชกรรมไทยวางแผนดำเนินการต่างๆร่วมกับผู้พัฒนาแอพพลิเคชัน
2.พัฒนาเกมโมบายแอพพลิเคชั่นโดยวิเคราะห์เนื้อหาที่นำมาใช้ให้สอดคล้องกับแผนการสอนในรายวิชา
3.นำเกมโมบายแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการเรียนการสอนในคาบเรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง
4.ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ
5.วิเคราะห์และสรุปผล
2. Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาเภสัชกรรมไทยได้ดำเนินการนำเกมโมบายแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาเภสัชกรรมไทยกับนักศึกษาจำนวน 36 คน การดำเนินการยังคงมีอุปสรรคบางประการ เช่น รูปภาพไม่ชัดเจน อุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์แอนดรอยด์ ในเวอร์ชั่น 14 ขึ้นไปยังไม่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันได้ แต่สื่อสนับสนุนการเรียนรู้เกมโมบายแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นทำให้นักศึกษาสามารถจดจำ มีความรู้ความเข้าใจในพืชสมุนไพรดีขึ้น เนื่องจากแอปพลิเคชันดังกล่าวผู้เรียนสามารถทบทวนข้อมูลของสมุนไพรได้ด้วยตนเองตามความต้องการ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเล่นเกมในเนื้อหาหรือหัวข้อที่ตนเองต้องการ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนเกิดความท้าทายในการเล่นที่จะทำคะแนนให้ได้สูงและเพิ่มความสนใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
ผลลัพธ์ของการนำเกมโมบายแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาเภสัชกรรมไทยกับนักศึกษาจำนวน 36 คน และให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น นักศึกษาทำคะแนนแบบทดสอบได้มากขึ้นเพิ่มขึ้นหลังการใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น ดังแสดงใน ภาพที่ 1, 2, และ 3
ภาพที่ 1 คะแนนแบบทดสอบด้านชื่อสมุนไพร ก่อนและหลังใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น
ภาพที่ 2 คะแนนแบบทดสอบด้านสรรพคุณของสมุนไพร ก่อนและหลังใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น
ภาพที่ 3 คะแนนรวมแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีความสนใจและสนุกสนานในการใช้เกมโมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเป็นอย่างดีทำให้กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน มีความใคร่รู้ชื่อสมุนไพร และสรรพคุณของสมุนไพรในแต่ละชนิด และการที่จะนำสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรประเภทต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ปรับขนาดของรูปภาพให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น มีความชัดเจนของรูปภาพ อัพเดทแอปพลิเคชันให้รองรับอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์แอนดรอยด์ ในเวอร์ชั่น 14 ขึ้นไปและเพิ่มเนื้อหาความรู้ของสมุนไพรให้ครบถ้วน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นๆเพิ่มมากขึ้น
ภาคผนวก
ลิงก์แนะนำการใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น
https://drive.google.com/file/d/1b3AUJRgqsnP5N0SY1uqJlFYrEZwMQwHn/view?usp=sharing
ภาพบรรยากาศนักศึกษาใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น