ปีการศึกษา2567

การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 และ KR 2.1.1 การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ. ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           หัวใจสำคัญของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คือ การทำวิจัย แต่นักศึกษาส่วนใหญ่จะขาดทักษะและความรู้ที่เพียงพอต่อการทำวิจัย ตลอดจนความกลัวในเรื่องการใช้สถิติ และตัวเลขต่างๆ ที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการทำวิจัย           ซึ่งการวิจัยทางการศึกษานั้นเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นในเรื่องของกระบวนการค้นคว้า กระบวนการแสวงหาความรู้ การศึกษาหาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ด้วยวิธีการที่เป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน และมีจุดมุ่งหมาย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา/สถานศึกษา อันประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูอาจารย์ผู้สอน นักเรียน/นักศึกษา ผู้เรียน สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเนื้อหาสาระรายวิชา รวมถึงหลักสูตรที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแง่มุมต่างๆ          ซึ่งหากจะแบ่งตามเทคนิคการเก็บข้อมูลเป็นเกณฑ์อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาหาความจริงโดยใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์และขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรู้สภาพ เพื่อจำแนก เปรียบเทียบ สังเคราะห์ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ โดยใช้วิธีการทางสถิติมาช่วยอธิบาย หรือใช้ข้อมูลที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลขที่สามารถวัดได้ 2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Naturalism) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมอย่างลุ่มลึก เข้าใจความหมาย กระบวนการ ความรู้สึก นึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ เพื่อรู้ลึก รู้จริงในเรื่องที่ศึกษา โดยเน้นการพรรณา วิเคราะห์ และเชื่อมโยงเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และ 3. การวิจัยแบบ ผสมผสาน (Mixed-methods research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาและค้นหาความจริงหรือองค์ความรู้ใหม่โดย การบูรณาการหรือผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ครอบคลุม สมบูรณ์ ทั้งในเชิงลึกที่ให้ข้อมูลแบบละเอียดและการศึกษาเพื่อให้ได้ความเข้าใจแบบองค์รวมโดยการวิเคราะห์ ค่าหรือตัวเลขเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ด้วยวิธีการทางสถิติ และการออกแบบการวิจัยแบบ ผสมผสานจะมีระเบียบแบบแผนในการศึกษาวิจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาวิจัย           ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยทางการศึกษาต้องเริ่มที่ปัญหาวิจัย (Research problem) เป็นลำดับแรก โดยปัญหาวิจัยจะนำไปสู่การตั้งคำถามวิจัย (Research question) และวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objective) ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยทางการศึกษาควรคำนึงถึงตัวแปร (Variable) ที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในศาสตร์ทางด้านการการศึกษา เช่น ภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำ (Leadership) การประกันคุณภาพการศึกษา (Educational quality assurance) นโยบายและแผน (Policy and plan) การพัฒนากลยุทธ์ (Strategy) โมเดลหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และความเสี่ยงทางการศึกษา (Educational risk) เป็นต้น เมื่อกำหนดปัญหาวิจัยชัดเจนแล้ว การออกแบบการวิจัย ด้านต่างๆ จะตามมา ทั้งการออกแบบการวิจัย (Research design) แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง (Sampling design) และแบบแผนการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis design)           ทั้งนี้การวิจัยทางการศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณบางเรื่องอาจใช้สถิติพื้นฐาน (Basic statistics) เท่านั้น แต่บางเรื่องก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สถิติขั้นสูง (Advanced statistics) แต่ถ้าเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้สถิติเลยก็ได้ ดังนั้นการเลือกใช้สถิติจึงถูกนำไปใช้เป็นหลักในการวิจัยทางการศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่นิยมใช้ในการศึกษามีหลายประเภทขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัย โดยนักการศึกษาและนักสถิติมีบทบาทที่แตกต่างกันในการใช้สถิติเพื่อการวิจัย กล่าวคือนักสถิติ คือ ผู้ผลิต (Producer) ขณะที่นักการศึกษาคือผู้บริโภคหรือผู้ใช้ (Consumer/user) ดังนั้นการวิจัยทางการศึกษาจึงเน้นการนำสถิติไปใช้เพื่อตอบคำถามวิจัยที่สนใจศึกษาหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการศึกษามากกว่าที่การคิดค้นสูตรทางสถิติใหม่ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          การวิจัยทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) จําเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ทางสถิติ เมื่อผู้วิจัยออกแบบการวิจัย และออกแบบการสุ่มตัวอย่างแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนระเบียบวิธีวิจัย คือ การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมและถูกต้องตามแบบแผนการวิจัยที่กําหนดไว้ซึ่งต้องวิเคราะห์คําถามวิจัย ว่าควรใช้สถิติใด ในการวิเคราะห์ข้อมูล จะต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าคําถามวิจัยทางด้านการศึกษามีลักษณะอย่างไร คลุมเครือหรือบ่งชี้ชัดเจนถึงเทคนิคทางสถิติที่จะนํามาใช้วิเคราะห์หรือไม่ และควรพิจารณาถึงเจตนาของคําถามวิจัยว่าต้องการคําตอบอะไร การใช้สถิติในงานวิจัยทางการศึกษา ขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัยแต่ละเรื่อง เช่น ใช้สถิติเพื่อบรรยายหรือพรรณา (Descriptive statistics) ใช้สถิติเพื่อสรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปหากลุ่มประชากร (Inferential statistics) ใช้สถิติขั้นสูง (Advanced statistics) เพื่อตอบคําถามวิจัยที่ซับซ้อน การผสมผสานระหว่างการใช้สถิติเชิงบรรยายสถิติเชิงสรุปอ้างอิง และสถิติขั้นสูง (Mixed statistics) การใช้สถิติแบบไม่อาศัยค่าพารามิเตอร์ (Nonparametric statistics) เนื่องจากข้อมูลมีขนาดเล็กหรือมีระดับการวัดของตัวแปรที่สถิติแบบอาศัยค่าพารามิเตอร์ (Parametric statistics) ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ซึ่งสถิติที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา มีรายละเอียดดังตาราง  ตารางที่ 1 รายละเอียดของสถิติที่นิมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา การเลือกใช้สถิติ แนวทางโดยสรุป Analysis of Variance (ANOVA) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป เช่น คะแนนสอบจากการสอนด้วยวิธีการสอน 3 วิธี เป็นต้น ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณกับตัวแปรเชิงกลุ่ม โดยที่ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (1 ตัว) ส่วนตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม Needs Assessment Research Priority Needs Index (PNI) แบบปรับปรุง เป็นสูตรที่ปรับปรุงจากสูตร PNI แบบดั้งเดิม เป็นวิธีการหาค่าผลต่างของ (I – D) และหารด้วยค่า D เพื่อควบคุมขนาดของความต้องการจำเป็นให้อยู่ในพิสัยที่ไม่มีช่วงกว้างมากเกินไป และให้ความหมายเชิงเปรียบเทียบ เมื่อใช้ระดับของสภาพที่เป็นอยู่เป็นฐานในการคำนวณอัตราการพัฒนาเข้าสู่สภาพที่คาดหวัง PNImodified = (I – D) / D Multiple Regression Analysis (MRA) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ นำมาใช้เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรพยากรณ์ (X) หลายตัวที่มีต่อตัวแปรตามหรือตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัว (Y) (ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีเพียง 1 ตัว จะเรียกว่า Simple regression) Factor Analysis การวิเคราะห์เส้นทาง นำมาใช้เพื่อลดจำนวนตัวแปรให้น้อยลง โดยรวมกันเป็นองค์ประกอบ และใช้น้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) มาช่วยอธิบาย ตัวแปรแต่ละตัวในแต่ละองค์ประกอบ มี 2 ประเภท คือ Exploratory Factor Analysis (EFA) และ Confirmatory Factor Analysis (CFA) เป็นต้น Structural Equation Modeling (SEM)/ Linear Structural Relationship (LISREL) โมเดลสมการโครงสร้าง นำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงสาเหตุ หรือโมเดลสมการโครงสร้าง หรือเรียกว่าการวิเคราะห์ลิสเรล (LISREL analysis)  คือ Linear Structural Relationship หมายถึง โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น Path Analysis การวิเคราะห์เส้นทาง นำมาใช้ศึกษาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลโดยอาศัย แผนภาพเส้นทาง (Path diagram) และสมการโครงสร้าง (Structural equation) เป็นหลักในการวิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรเหตุ ที่มีต่อตัวแปรผลใน 2 ด้าน คือขนาดและทิศทาง และเป็นการอธิบาย ความสัมพันธ์ใน 2 แบบ คือ ทางตรง (Direct effect) และทางอ้อม (Indirect effect) ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝั่งลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช/สังกัดวิทยาลัยครูสุริยเทพ วิธีการดำเนินการ การเลือกใช้สถิติที่เหมาะในการวิจัยทางการศึกษา ผู้วิจัยจะต้อง ศึกษาแนวคิดของการใช้สถิติเบื้องต้นและสถิติขั้นสูงแต่ละประเภทในภาพกว้างก่อนว่า จะนำไปใช้กับข้อมูลที่มีลักษณะอย่างไร ตัวแปรอยู่ในมาตรการวัดระดับใด และเหมาะสมกับคำถามวิจัยแบบใด เมื่อผู้วิจัยตัดสินใจได้แล้ว จึงค่อยศึกษารายละเอียดในเชิงเทคนิควิธีของสถิติวิเคราะห์ประเภทนั้นในเชิงลึก (In-depth Study) เช่น การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ/หาความสัมพันธ์ สถิติที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น Correlation Analysis, t-test, F-test, ANOVA, ANCOVA, MANOVA เป็นต้น การสร้างสมการทำนาย เช่น Multiple Regression Analysis เป็นต้น การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร เช่น Structural Equation Modeling/ LISREL, Path Analysis เป็นต้น การหาองค์ประกอบของคุณลักษณะแฝง (Latent Trait) เช่น EFA, CFA เป็นต้น ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ใช้สถิตินอนพาราเมตริก เช่น – test, Two-way ANOVA เป็นต้น พิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่างว่ามีขนาดเล็กหรือใหญ่ เพราะถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กมากจะไม่สามารถใช้สถิติบางประเภทได้ เช่น การวิเคราะห์ LISREL ควรใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวน อย่างน้อย 25 เท่าของจำนวนตัวแปร เป็นต้น พิจารณาข้อจำกัดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล เช่น SPSS วิเคราะห์ได้ เฉพาะ EFA แต่หากผู้วิจัยต้องการทำสถิติที่สูงขึ้น คือ CFA ก็ต้องใช้โปรแกรม LISREL หรือ AMOS หรือถ้าข้อมูลที่เป็นตัวแปรอิสระ สามารถแบ่งได้อย่างน้อย 2 ระดับขึ้นไป โปรแกรมที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ก็ควรจะเป็น HLM หรือ MLwiN เป็นต้น สามารถเลือกใช้สถิติเพียงประเภทเดียว หรือผสมผสานกันก็ได้ในงานวิจัย 1 ชิ้น การเลือกสถิติเพียงประเภทเดียว อาจจะเหมาะสำหรับงานวิจัยขนาดเล็ก ที่ต้องการคำตอบวิจัยเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น การบูรณาการและผสมผสานสถิติหลายประเภท จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยที่มีหลากหลายมิติ ที่คำถามการวิจัยอาจมีหลายข้อที่ต้องการคำตอบที่แตกต่างกัน ใช้ระยะเวลา งบประมาณ และวิธีดำเนินการวิจัยหลายขั้นตอน ซึ่งในศาสตร์สาขาด้านการศึกษา มักจะเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research) 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน อาจารย์ที่ปรึกษาปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักศึกษาที่มีความไม่เข้าใจในการทำวิจัย ความกังวล/ความกลัวในเรื่องความรู้ทางสถิติที่ไม่เพียงพอ โดยการพูดคุยและชี้แนะการทำวิจัยที่ละขั้นตอนแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้ตัวอย่างงานวิจัยในประเด็นที่นักศึกษาสนใจ นำกลับไปอ่านทำความเข้าใจและย่อยข้อมูลตัวอย่างงานวิจัย แล้วกลับมารายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาภายใน 1 สัปดาห์ อาจารย์ที่ปรึกษาทดลองให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้การควบคุมดูแล โดยทำตามขั้นตอนในกระบวนการการทำวิจัยตั้งแต่การกำหนดปัญหานำวิจัย นำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยให้ชัดเจนก่อนว่านักศึกษาในฐานะผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไร ต้องการคำตอบอะไรจากผลการวิจัย ไม่ใช่การนำสถิติเป็นตัวตั้ง โดยยึดหลัก 5W1H คือ ต้องการศึกษาใคร (Who) ในประเด็นอะไร (What) ทำการศึกษาช่วงเวลาใด (เมื่อใด) (When) ศึกษาหน่วยงานใด (Where) ทำไมจึงต้องการศึกษาเรื่องนี้ (Why) และจะออกแบบหรือทำวิจัยอย่างไร (How) นักศึกษาในฐานะผู้วิจัยจะต้องเสนอประเด็นที่จะทำการวิจัยต่ออาจารย์ที่ปรึกษาโดยกำหนดเป็นคำสำคัญ (Key word) แล้วนำมาขยายความออกเป็นชื่อเรื่อง โดยสื่อให้เห็นถึงตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการจะศึกษา ระบุถึงประชากรหรือกลุ่มที่ต้องการศึกษา และระบุสถานที่ๆ ต้องการศึกษา นักศึกษาจะต้องกำหนดคำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจนจะนำไปสู่การเลือกใช้สถิติว่าตัวแปรจะอยู่ในมาตรการวัดระดับใด และเหมาะสมกับคำถามวิจัยแบบใด มีจำนวนตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีขนาดเล็กหรือใหญ่ เพราะถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กมากจะไม่สามารถใช้สถิติบางประเภทได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจจะใช้วิธีการเลือกกลุ่มประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง (Total Population Sampling) หรือการกำหนดจำนวนกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างให้ไม่น้อยกว่า 20-25 เท่าของตัวแปร ซึ่งในบางครั้งการเลือกสถิติที่ใช้นั้นผู้วิจัยอาจจะระบุสถิติไว้ประเภทหนึ่ง แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปไม่ได้ ผู้วิจัยจะต้องปรับเปลี่ยนสถิติที่จะใช้ทดสอบใหม่ เช่น ระบุไว้ว่าใช้ Multiple regression แต่ไม่สามารถรันข้อมูลออกได้ ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าจะสามารถใช้ ANOVA ในการรันข้อมูลและสามารถได้ผลการวิจัยที่เพียงพอสามารถตอบคำถามการวิจัยหรือไม่ นักศึกษาจะต้องทำงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยไม่ทิ้งช่วงระยะเวลาหรือหยุดทำงานวิจัยไปเป็นระยะเวลานาน ควรขอคำปรึกษาและแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเคร่งขรัด อาจารย์ที่ปรึกษาควรต้องศึกษาเพิ่มเติมและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในประเด็นใหม่ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และกระบวนการทำวิจัยใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องต้องช่วยหาทาออกให้แก่นักศึกษา ในบางกรณีที่นักศึกษากำหนดสถิติที่จะใช้ในงานวิจัยที่นำเสนอในโครงร่างฯ ต่อคณะกรรมการการสอบไปแล้วนั้น ไม่สามารถประมวลผลในโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากการ Error ของข้อมูล หรือจำนวนข้อมูลที่เก็บมาไม่เพียงพอต่อการประมวลผลทางสถิติบางประเภท ดังนั้นการช่วยหาทาออดให้นักศึกษาโดยการใช้สถิติประเภทอื่นทดแทนได้หรือไม่ อย่างไร อาจารย์ที่ปรึกษาต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักศึกษา ให้นักศึกษาเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง มั่นใจ ขยัน มีวินัย และอดทน จะทำให้งานวิจัยนั้นประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน กับอาจารย์ที่ปรึกษาท่านอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายในการให้คำแนะนำการทำวิจัย ตลอดจนการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับงานวิจัยของนักศึกษาแต่ละคน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ นักศึกษาในฐานะผู้วิจัยสามารถผลิตผลงานการวิจัย ได้ผลสอบผ่านในระดับดีมาก ผลงานการวิจัยได้รับการเผยแพร่ในฐานข้องมูล TCI 1 ขึ้นไป นักศึกษาได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต หน่วยงานต้นสังกัดของผู้วิจัยนำผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาไปใช้ในต่อยอดการบริหารจัดการหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การนำผลการวิจัยเรื่อง การส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 ไปต่อยอดจนได้รับรางวัลโรงเรียนสุขภาวะดิจิทัลระดับชาติ เป็นต้น การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในงานวิจัยทางการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จะทำให้ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นมีความเที่ยงตรง ถูกต้อง และแม่นยำ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้สถิติระดับที่สูงขึ้น เช่น ใช้สถิติขั้นสูงแทนสถิติพื้นฐาน จึงไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงระดับคุณภาพของงานวิจัยอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากผลการสังเคราะห์สถิติที่นิยมนำามาใช้ในการวิจัยทางการศึกษาที่นิยมใช้สถิติเชิงบรรยายนำมาใช้ในการวัด และวิเคราะห์ตัวแปรทางการศึกษาได้อย่างครอบคลุม นักวิจัยทางการศึกษาจึงต้องเลือกใช้ระเบียบวิธีทางสถิติที่เหมาะสมกับปัญหาการวิจัย เพื่อจะได้ข้อค้นพบที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยอย่างมีคุณภาพ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติความกลัวเกี่ยวกับเรื่องสถิติของนักศึกษา การทำความเข้าใจในเรื่องการใช้สถิติ ด้วยการให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติม ยกตัวอย่าง และสืบค้นข้อมูลเพิ่มขึ้น อาจารย์และนักศึกษาจะต้องทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ไม่ควรทิ้งช่วง/ขาดการติดต่อสื่อสารกันเป็นระยะเวลานาน ทำงานร่วมกันอย่างค่อยเป็นค่อยเป็นค่อยไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน step by step ความร่วมมือร่วมใจระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา ให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยปราศจากอคติ 

การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา Read More »

การดูแลนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR1.2.1 การดูแลนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.อัญชลี ชยานุวัชร ผศ.ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช ผศ.ดร.นิภาพร สกุลวงศ์ และ ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ 1.1 หลักการและเหตุผล     การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการศึกษาขั้นสูงที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การพัฒนาทักษะการวิจัย และการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ นักศึกษาในระดับนี้จึงต้องการการดูแลและให้คำปรึกษาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ 1.2 ความสำคัญ     การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนี้     1.2.1 ส่งเสริมความสำเร็จทางการศึกษา: ช่วยให้นักศึกษาสามารถวางแผนการศึกษา ดำเนินการวิจัย และสำเร็จการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ     1.2.2 พัฒนาทักษะการวิจัย: ให้คำแนะนำและสนับสนุนนักศึกษาในการพัฒนาทักษะการวิจัยที่จำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ     1.2.3 สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ: ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์     1.2.4. สนับสนุนการพัฒนาส่วนบุคคล: ให้คำปรึกษาและสนับสนุนนักศึกษาในการจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล และปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการศึกษา     1.2.5 เตรียมความพร้อมสู่การทำงานและโลกแห่งความเป็นจริง: ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต เช่น ทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการแก้ปัญหา 1.3 ประเด็นปัญหา     วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิตนั้น มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา 2) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา 3) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน และ 4) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามีขอบเขตที่ครอบคลุมทั้งด้านการให้คำปรึกษาทางวิชาการ การเรียนการสอน การวิจัย และยังรวมถึงการพัฒนาและให้ความช่วยเหลือส่วนบุคคล นอกจากนี้ นักศึกาของวิทยาลัยครูฯ นอกจากจะมีความหลากหลายทางด้านระดับวิชาชีพแล้ว ยังมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม การที่คณาจารย์จากทุกหลักสูตรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแบ่งปันแนวปฏิบัติในด้านนี้ จะช่วยให้ประเด็นปัญหาต่างๆที่เกี่ยวเนื่องได้รับการแก้ไขไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม     ปัญหาที่พบว่าเกี่ยวข้องกับการดูแลและการให้คำปรึกษานักศึกษา ได้แก่     1.3.1 ภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ที่ปรึกษามักมีภาระงานจำนวนมาก ทำให้มีเวลาในการให้คำปรึกษานักศึกษาอย่างจำกัด     1.3.2 ความแตกต่างของความต้องการ: นักศึกษาแต่ละคนมีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกัน การให้คำปรึกษาจึงต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล     1.3.3 การเข้าถึงแหล่งข้อมูล: นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการวิจัย     1.3.4 ปัญหาด้านสุขภาพจิต: นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอาจเผชิญกับความเครียดและความกดดันสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต     1.3.5 การสนับสนุนด้านการเงิน: นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาด้านการเงิน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา 1.4 แนวทางการแก้ไข     วิทยาลัยครูสุริยเทพ ได้ตระหนักว่า การดูแลและให้คำปรึกษานับเป็นหัวใจสำคัญในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จึงได้มีการหารือในเรื่องนี้ ในทุกระดับการประชุม ไม่ว่าระดับคณะและหลักสูตร เพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งโดยสรุปมีแนวทางการแก้ไขดังนี้     1.4.1 เพิ่มจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาให้เหมาะสม: เพื่อลดภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและเพิ่มเวลาในการให้คำปรึกษานักศึกษา     1.4.2 พัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา: จัดอบรมและพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษาแก่อาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่หลักสูตร เพื่อให้สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ     1.4.3 สร้างระบบสนับสนุนนักศึกษา: มีระบบข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานหรือศูนย์ให้คำปรึกษาที่ให้บริการด้านต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาด้านวิชาการ การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต และการให้คำปรึกษาด้านการเงิน     1.4.4 ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย: จัดกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์           1.4.5 สนับสนุนด้านการเงิน: จัดหาทุนการศึกษาและแหล่งทุนอื่นๆ เพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่มีปัญหาด้านการเงิน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ชยานุวัชร 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช 3) ดร.เตชาเมธ เพียรชนะ 4) ผศ.ดร. นิภาพร สกุลวงศ์ สังกัดวิทยาลัยครูสุริยเทพ วิธีการดำเนินการ                การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ การแก้ไขประเด็นปัญหาและพัฒนาระบบการดูแลและให้คำปรึกษาให้มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้นักศึกษาสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องนี้ จึงนับเป็นเรื่องสำคัญ           โดยวิทยาลัยครูสุริยเทพจัดให้มีกิจกรรม “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community-PLC)” ขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2523 โดยในครั้งแรกนั้น ได้เชิญผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มาเป็นทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ หรือ กระบวนกร (Facilitator) และได้เลือกหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่คณาจารย์และบุคลากรมีความเข้าใจในระดับน้อยและไม่ชัดเจน ได้แก่ การเขียนโครงการบริการวิชาการเพื่อเสนอขอรับทุนจากภายนอก การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เป็นต้น กิจกรรม PLC นี้ ยังคงจัดมาจนปัจจุบัน โดยมีการเลือกหัวข้อที่ตอบสนองการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยครูสุริยเทพและมหาวิทยาลัยรังสิต                ในการหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาก็เช่นกัน ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) ในวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2568 เวลา 9.30-12.30 น. โดยมีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากทุกหลักสูตรเข้าร่วม เพื่อพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขและเพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน โดยในครั้งนี้ มีดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ คณบดีวิทยาลัยครูสุริยเทพ ทำหน้าที่กระบวนกร ดำเนินรายการและถอดและบันทึกแนวปฏิบัติต่างๆที่เห็นพ้องร่วมกัน โดยการได้ปฏิบัติมาแล้วจนเกิดผลสำเร็จ 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                ปัญหาที่พบในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาและแนวปฏิบัติที่เห็นพ้องว่าเหมาะสมร่วมกัน ได้แก่ เวลาและสภาพแวดล้อมในการให้คำปรึกษานักศึกษาอย่างจำกัด เช่น อาจารย์มีจำนวนน้อย นักศึกษาอาศัยอยู่ต่างประเทศ นักศึกษามีหน้าที่การงาน ต้องใช้วิธีการปรึกษาทางการประชุมทางไกล โทรศัพท์ หรือมาขอคำปรึกษาในวันหยุดสุดสัปดาห์ ต้องใช้การวางแผนตารางปรึกษาหารือที่เหมาะสมสอดคล้องเห็นชอบกันทั้งสองฝ่าย นักศึกษาแต่ละคนมีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกัน การให้คำปรึกษาจึงต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับนักศึกษาแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาต่างชาติซึ่งมีความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและวิถีการใช้ชีวิต บางครั้งเมื่อนักศึกษามีปัญหา อาจจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ญาติ และเพื่อนสนิทของนักศึกษา เพื่อเข้าใจบริบทของปัญหาให้ดีขึ้น นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาต้องชี้แหล่ง เช่น ให้บรรณารักษ์ช่วยอบรมการใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการวิจัยของนักศึกษา อาจทำได้หลายวิธี เช่น เชิญบรรณารักษ์มาบรรยายในชั้นเรียน ตลอดจนการแนะนำการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการต่างๆ ที่ห้องสมุด และการให้นักศึกษาไปเรียนรู้การใช้ห้องสมุดด้วยตนเองผ่านรายงานหรือแบบฝึกหัดในรายวิชา เป็นต้น ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่หลักสูตรควรเข้าใจกระบวนการขอสอบ รูปแบบการเขียน การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยที่เหมาะสม ขั้นตอนการขอจริยธรรมในคน ขั้นตอนการยื่นขอจบ เป็นต้น เพื่อสามารถอธิบายชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่นักศึกษาได้ รวมไปถึงระเบียบต่างๆของบัณฑิตวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ ปัญหานักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเผชิญกับความเครียดและความกดดันสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการเรียน อาจารย์ในหลักสูตรและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องหมั่นสังเกตและใช้หลักจิตวิทยาในการสื่อสารพูดคุย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามักมีวัยวุฒิ จึงอาจต้องใช้หลักจิตวิทยาในการสร้างความคุ้นเคย ความไว้ใจ และยอมแลกเปลี่ยนเปิดเผยปัญหา ในเรื่องนี้ หากมีการจัดอบรมการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยอีกในอนาคต คณาจารย์เกือบทุกท่านจะเข้าอบรม นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาด้านการเงิน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา จะใช้วิธีให้คำปรึกษาด้านการแบ่งชำระค่าหน่วยกิต การยื่นคำร้องต่างๆ การหาและแนะนำแหล่งทุนเพื่อการศึกษา นักศึกษาที่ต้องการทำงานทั้งเพื่อหารายได้และประสบการณ์ คณาจารย์ควรแบ่งปันข้อมูลเรื่องแหล่งงานที่เหมาะสมให้นักศึกษาทราบ นับเป็นการสร้างโอกาสในการสร้างประสบการณ์ทางการประกอบอาชีพแก่นักศึกษา 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           แนวปฏิบัติในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งคณาจารย์ของวิทยาลัยครูสุริยเทพได้ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันนั้น ได้ถูกใช้มาอย่างน้อย 2-3 ปีการศึกษา พบว่ามีผลลัพท์ในเชิงบวกอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมดังนี้ นักศึกษามีการเรียนอย่างต่อเนื่อง ราบรื่น จบการศึกษาตามแผนที่วางไว้ ไม่มีการสะดุดหยุดเรียนกลางคัน นักศึกษามีความสุข มีความรักและผูกพันกับอาจารย์และวิทยาลัยครูฯ นักศึกษามีความมั่นใจและไว้ใจที่จะบอกเล่าปัญหาต่างๆกับอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเกิดผลดีในการแก้ปัญหาแต่เนิ่นๆ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มีคุณภาพมาตรฐาน เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างวิทยาลัยครูสุริยเทพกับผู้ปกครองของนักศึกษา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่มีโอกาสปรับทัศนคติในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           สิ่งสำคัญที่ค้นพบจากการแลกเปลี่ยนแบ่งปันในห้วข้อ การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ได้แก่ การปรับทัศนคติ การใช้หลักจิตวิทยาในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ การดูและ และให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา เรื่องนี้จึงควรใส่ใจ สร้างมาตรฐาน และพัฒนาให้ดีขึ้น ไม่เพียงเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good practice) แต่ให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice)

การดูแลนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต Read More »

การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1, 3 และ 5 : KR 1.2.1, KR 1.2.4, KR 3.1.1, KR 3.1.2/1, KR 3.4.1/1 และ KR5.1.2/1 การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.มนพร ชาติชำนิ ผศ.ดร.นิภา กิมสูงเนิน อาจารย์ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง และนางปราณี บุญญา สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในยุคปัจจุบัน ความท้าทายด้านสุขภาพในระดับชุมชนที่หลากหลายร่วมกับเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญของคุณภาพชีวิตที่ดี การพยาบาลชุมชนจึงมีบทบาทสําคัญในการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Wellness) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตจากข้อมูลการสํารวจในปี 2567 ตรวจพบปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น อ้วนลงพุง โรคเรื้อรัง และโรคหัวใจ รวมถึงปัญหาสุขภาพจิตอย่างความเครียด และซึมเศร้าที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตประสบปัญหาสุขภาพที่หลากหลาย เช่น(1) ประชากรวัยทํางานและผู้สูงอายุร้อยละ 79.63 มีภาวะน้ําหนักเกิน (2) ร้อยละ 42.59 มีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง (3) ร้อยละ 96.30 มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และ (4) ประชากรร้อยละ 53.70 ไม่เคยเข้ารับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียดและโรคซึมเศร้า ก็เป็นอีกประเด็นที่พบในกลุ่มเป้าหมาย โดยมีนักศึกษาถึงร้อยละ 68 รายงานว่ามีระดับความเครียดปานกลางถึงรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัว           การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดีในทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) มุ่งเน้น การบูรณาการการดูแลสุขภาพกาย ใจ และจิตวิญญาณเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงปัจจัยทั้ง ส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน เป้าหมายหลักคือการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคก่อนเกิดปัญหารุนแรง รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระยะยาว ประเด็นปัญหา  ภาวะน้ําหนักเกินและโรคเรื้อรัง ความชุกของภาวะน้ําหนักเกินและโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และโรคหัวใจ กําลังเป็นภัยคุกคามสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุสําคัญมาจากพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกําลังกาย และความเครียดสะสม สุขภาพจิตในกลุ่มวัยเรียนและวัยทํางาน ความเครียดและความกดดันในชีวิตประจําวัน ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่อาจพัฒนาไปสู่โรคซึมศร้าหรือภาวะคิดฆ่าตัวตาย จําเป็นต้องมีการดูแลด้านจิตใจอย่างครอบคลุม การขาดการคัดกรองและป้องกันโรค อัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็งเต้านม และการวัดความดันโลหิต ยังอยู่ในระดับต่ํา ซึ่งเป็นช่องว่างสําคัญในการป้องกันโรค แนวทางการพัฒนาโครงการ การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม: จัดกิจกรรมการพยาบาลที่ครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพกาย เช่น การให้ความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกําลังกาย และสุขภาพจิต เช่น การฝึกสติ (Mindfulness-Based Stress Reduction) การตรวจคัดกรองโรคเชิงรุก: เพิ่มการเข้าถึงการตรวจสุขภาพ เช่น การตรวจวัดความดันโลหิตและระดับ น้ําตาลในเลือด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ: รณรงค์การลดบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และส่งเสริมการออกกําลังกายที่เหมาะสมสําหรับแต่ละช่วงวัย การสนับสนุนสุขภาพจิต: สร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safe Space) สําหรับการพูดคุยปัญหาและให้คําปรึกษา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           โครงการนี้มีการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษานําความรู้จากการเรียนพยาบาลอนามัยชุมชนมาใช้ในสถานการณ์จริง พัฒนาแผนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เน้นการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน อีกทั้งนําทฤษฎีการพยาบาลมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ในกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตในกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ โครงการยังเป็นตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับเป้าประสงค์การสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษา  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่น ๆ ได้แก่ เอกสาร PDCA จากผลสําเร็จของโครงการ วิธีการดำเนินการ           แนวทางการพัฒนาโครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” สําหรับแม่บ้านมหาวิทยาลัยรังสิต จากการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ “โครงการแม่บ้านรังสิต หัวใจฟิต ชีวิตฟิน กินดีมีสุข”, “สุขภาพใจดี ชีวีมีสุข” และ “สูงวัยรู้ทัน เข้าใจ ห่างไกลภัยติดเตียง”, มีแนวทางการดําเนินการที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” ให้ครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของแม่บ้านรังสิต ก่อนออกแบบโครงการ ควรมีการเก็บข้อมูลสุขภาพของแม่บ้านมหาวิทยาลัยรังสิตโดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 รายวิชา BNS 481 ปฏิบัติการการพยาบาลอนามัยชุมชน ผ่านแบบสํารวจสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อกําหนดปัญหาหลักที่ต้องการแก้ไข เช่น โรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด) ภาวะเครียดจากการทํางานและชีวิตครอบครัว การขาดโอกาสในการออกกําลังกายและโภชนาการที่เหมาะสม และการดูแลสุขภาพจิต และการบริหารจัดการความเครียด 2. แนวทางดําเนินโครงการ (PDCA Model)(P) Plan – การวางแผน1. กําหนดเป้าหมายของโครงการ    o สร้างความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทุกมิติ    o ลดอัตราความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)     o พัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่ต่อเนื่องและยั่งยืน2. ออกแบบกิจกรรมที่ครอบคลุมสุขภาพแบบองค์รวม    o สุขภาพกาย: กิจกรรมออกกําลังกาย โภชนาการที่เหมาะสม การตรวจสุขภาพเบื้องต้น    o สุขภาพจิต: ฝึกสมาธิ ลดความเครียด เทคนิคจัดการอารมณ์    o สุขภาพสังคม: สร้างเครือข่ายการช่วยเหลือ สนับสนุนทางสังคม    o สุขภาพสิ่งแวดล้อม: การจัดการที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ3. กําหนดกลุ่มเป้าหมาย    o แม่บ้านและพนักงานในมหาวิทยาลัยรังสิต    o จํานวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ลงทะเบียน4. พัฒนาเครื่องมือประเมินสุขภาพ    o แบบสอบถามสุขภาพก่อน-หลังโครงการ    o การตรวจคัดกรองโรค (BMI, ความดันโลหิต, น้ําตาลในเลือด)5. เตรียมทรัพยากรและงบประมาณ    o ประสานงานกับคณะพยาบาลศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    o ขอสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยและองค์กรที่เกี่ยวข้อง 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน (D) Do – การดําเนินโครงการ ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถนํามาใช้ในโครงการ:กิจกรรมที่ 1: รู้ทันโรค ห่างไกลความเสี่ยง        • ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง       • ตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมคําแนะนําจากพยาบาล       • ใช้เครื่องมือประเมินพฤติกรรมสุขภาพกิจกรรมที่ 2: หัวใจฟิต ชีวิตฟิน       • ฝึกออกกําลังกายที่เหมาะสม เช่น การเดินเร็ว โยคะ เต้นแอโรบิก       • แนะนําโปรแกรมออกกําลังกายที่สามารถทําได้ที่บ้าน       • แนะนําเทคนิคการใช้เครื่องมือติดตามสุขภาพ เช่น สมาร์ทวอทช์ แอปพลิเคชันสุขภาพกิจกรรมที่ 3: กินดี มีสุข       • สาธิตการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ตามหลัก 2:1:1       • สอนการอ่านฉลากอาหาร และเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ       • เชิญนักโภชนาการมาให้คําแนะนําเกี่ยวกับเมนูสุขภาพกิจกรรมที่ 4: สุขภาพใจดี ชีวีมีสุข       • เทคนิคการบริหารความเครียดและการทําสมาธิ       • จัดเวิร์กช็อปการฝึกสติและการจัดการอารมณ์       • สนับสนุนเครือข่ายสังคมเพื่อให้กําลังใจกันและกันกิจกรรมที่ 5: สิ่งแวดล้อมดี ชีวิตมีสุข      • แนะนําแนวทางปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ      • การจัดสภาพแวดล้อมที่ช่วยลดความเครียด      • กิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อสุขภาพจิต 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดําเนินการ การนําเสนอประสบการณ์การนําไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่        • แบบสอบถามวัดความรู้และพฤติกรรมสุขภาพก่อน-หลังโครงการ        • วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพที่ได้จากการคัดกรอง        • วัดระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ        • ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพหลังโครงการ 1 เดือน และ 3 เดือน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice 1. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการสอนที่เน้นนวัตกรรม (O 1.2)• KR1.2.1 การพัฒนากิจกรรมเสริมการเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ        o ปรับปรุงโครงการโดยใช้ผลการประเมินเพื่อนํามาพัฒนาเนื้อหาการอบรม        o ขยายขอบเขตของกิจกรรมไปยังบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง        o ส่งเสริมให้แม่บ้านเป็น “แกนนําสุขภาพ” ในครอบครัวและชุมชน ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • KR1.2.4 การสร้างเสริมคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ผ่านโครงการที่มีผลลัพธ์ชัดเจน        o บูรณาการกิจกรรมด้านการพยาบาลและการดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน        o นักศึกษาพยาบาลสามารถเข้าร่วมโครงการและนําความรู้ไปพัฒนาแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน 2. การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือข้ามหน่วยงาน (O3.1, O3.4)• KR3.1.1 การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพผ่านความร่วมมือกับองค์กรภายในและภายนอก        o จัดตั้งกลุ่ม “แม่บ้านสุขภาพดี” เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการดูแลสุขภาพ        o ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์สําหรับการให้คําปรึกษาด้านสุขภาพผ่านคณาจารย์และบุคลากรทางการแพทย์ • KR3.1.2/1 การพัฒนาความร่วมมือระหว่างคณะและหน่วยงานเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี        o ส่งเสริมให้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมมือกันในโครงการส่งเสริมสุขภาพ เช่นศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัย        o ประสานงานกับศูนย์บริการสุขภาพชุมชน เพื่อสร้างโครงการดูแลสุขภาพเชิงรุกที่สามารถขยายสูระดับชุมชน • KR3.4.2 การพัฒนาทักษะของบุคลากรสายสอนให้มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพชุมชน        o สนับสนุนให้อาจารย์พยาบาลเข้าร่วมโครงการและพัฒนาทักษะด้านการพยาบาลชุมชน       o ให้บุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทในการอบรมเชิงปฏิบัติการและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสุขภาพ 3. การเสริมสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาโครงการที่มีคุณค่าต่อสังคม (O5.1)• KR5.1.2/1 การพัฒนาโครงการที่สร้างคุณค่าเชิงสังคมและยกระดับชื่อเสียงมหาวิทยาลัย        o จัดโครงการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสําหรับชุมชน        o ทํางานร่วมกับองค์กรภายนอก เช่น โรงพยาบาล คลินิก และหน่วยงานด้านสุขภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโครงการ         o จัดทํา Health Map ของแม่บ้านเพื่อช่วยติดตามสุขภาพและวางแผนการดูแลที่เหมาะสม บทสรุป          โครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพผ่านเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และองค์กรสุขภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและสามารถขยายผลไปยังชุมชนได้ในอนาคต การดําเนินโครงการนี้จะช่วยให้แม่บ้าน และบุคลากรในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาพยาบาลมีโอกาสพัฒนาทักษะที่สําคัญต่อการพยาบาลชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้านการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ การพัฒนาความร่วมมือข้ามหน่วยงาน และการยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน รูปภาพเพิ่มเติม

การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) Read More »

การทำวิจัยและการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติของอาจารย์รุ่นใหม่

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1 และ KR 2.5.1 การทำวิจัยและการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ของอาจารย์รุ่นใหม่ ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.ธีระพงค์ สีสมุทร์ คณะวิทยาศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การทำวิจัยในอาจารย์รุ่นใหม่ที่เพิ่งได้รับการบรรจุเข้าทำงานในมหาวิทยาลัยนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากอาจารย์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะต้องมุ่งการทำงานในส่วนของการสอนที่ต้องจัดเตรียมให้พร้อมสมบูรณ์เพื่อทำการสอนนักศึกษา ทำให้อาจารย์บางท่านไม่สามารถจัดสรรเวลาในการทำวิจัยได้ ยิ่งไปกว่านั้นการเข้าบรรจุทำงานในมหาวิทยาลัยในบางคณะ อาจจะไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยที่เพียงพอทำให้ไม่สามารถเริ่มทำงานวิจัยได้ ทำให้อาจารย์รุ่นใหม่บางคนไม่สามารถผลิตผลงานวิจัยได้ในช่วงแรกของการเริ่มเข้าทำงาน ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            ความรู้ที่นำมาใช้คือ แนวปฏิบัติจากคลังความรู้ KM Rangsit University ประจำปี 2562 โดย ดร.สุรชัย กาญจนาคม เรื่อง เทคนิคการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการลงในวารสารวิชาการนานาชาติ ที่ได้กล่าวถึงเทคนิคการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการลงในวารสารวิชาการนานาชาติให้ง่ายและรวดเร็ว รวมถึงเทคนิคการมี citation สูง ๆ ในผลงานวิจัยของเรา ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ การทำวิจัยหลังจากการได้รับบรรจุเป็นบุคลากร ต้องมีการแบ่งเวลาในการทำวิจัยดังนี้ การออกแบบงานวิจัยและหาหัวข้องานวิจัย ต้องมีความสอดคล้องกับความถนัด ทุนวิจัยและวัสดุอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ โดยแผนงานวิจัยทั้งหมดต้องวางกรอบเวลาให้ชัดเจน จนถึงขั้นการตีพิมพ์ว่างานวิจัยฉบับนี้ต้องได้รับการตีพิมพ์ในช่วงเวลาไหน การทำวิจัยภาคสนามต้องจัดตารางสอนให้มีช่วงเวลาที่จะสามารถออกสารวจและเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตได้อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 14-21 วัน การทำวิจัยในส่วนของการวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและทางชีววิทยาโมเลกุลที่ต้องใช้ห้องทดลอง มีการวางแผนก่อนทำการทดลองทุกครั้งเพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับช่วงเวลาในการสอน เมื่อได้ผลการทดลองแล้ว ทำการเลือกวารสารที่ต้องการจะตีพิมพ์ ต้องเป็นวารสารที่มีคุณภาพซึ่งอยู่ในฐาน SCOPUS จากนั้นทาการเตรียมต้นฉบับบทความภาษาอังกฤษร่วมกับผู้ร่วมวิจัย จะต้องมีการนัดประชุมกันทุกคนโดยใช้รูปแบบออนไลน์สาหรับผู้ร่วมวิจัยต่างสถาบันและนักวิจัยต่างประเทศ โดยจะนัดในช่วงเย็นที่ไม่มีภาระกิจจากการสอนแล้ว ทำการ submit บทความจากนั้นติดตามผลการพิจารณาร่างบทความอย่างสม่าเสมอ แก้ไขตามข้อเสนอแนะของ editor และ reviewer โดยต้องทำให้เสร็จตามกรอบเวลาที่กาหนดเพื่อให้งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ตามกาหนดเวลาที่วางไว้ 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ตั้งแต่เริ่มเข้าทางานในตาแหน่งอาจารย์สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ในเดือนธันวาคม 2565 ในระยะเวลา 2 ปีอาจารย์ ดร. ธีระพงค์ สีสมุทร์ มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐาน SCOPUS โดยมีทั้งหมด 6 เรื่องดังนี้ (ไฟล์ที่แนบมา) Seesamut, T., Chanabun, R., Likhitrakarn, N., Siriwut, W., Srisonchai, R., Pholyotha, A.,Sutcharit, C. & Jeratthitikul, E. (2023). First Record of a Cavernous Land Leech3 Sinospelaeobdella cavatuses (Hirudinda: Haemadipsidae) from Thailand. TropicalNatural History, 7, 213-220. Chanabun, R., Aoonkum, A., Seesamut, T., Bantaowong, U. & Panha, S. (2023). Four newterrestrial earthworm species from the northeast Thailand (Oligochaeta, Megascolecidae). ZooKeys, 1176, 195-219.https://doi.org/10.3897/zookeys.1176.106517 Pholyotha, A., Panha, S., Sutcharit, C., Jirapatrasilp, P., Seesamut, T., Liew, T. & Tongkerd, P. (2023). Molecular phylogeny of the land snail family Euconulidae in Thailand and its position in the superfamily Trochomorphoidea (Stylommatophora:  imacoidei),with description of a new  genus. Invertebrate Systematics, 37, 571-605. Seesamut, T., Oba, Y., Jirapatrasilp, P. et al. (2024). Global species delimitation of the cosmopolitan marine littoral earthworm Pontodrilus litoralis (Grube, 1855). Scientific Reports, 14, 1753. https://doi.org/10.1038/s41598-024-52252-8 Tongkerd, P., Lwin, N., Páll-Gergely, B., Chanabun, R., Pholyotha, A., Prasankok, P.,Seesamut, T., Siriwut, W., Srisonchai, R., Sutcharit, C. & Panha, S. (2024). Contributions of a small collection of terrestrial microsnails (Pupilloidea,Hypselostomatidae) from Myanmar with description of three new species. ZooKeys,1195, 157-197. https://doi.org/10.3897/zookeys.1195.112112 Likhitrakarn, N., Jeratthitikul, E., Sapparojpattana, P., Siriwut, W., Srisonchai, R., Jirapatrasilp,P., Seesamut, T., Poolprasert, P., Panha, S., & Sutcharit, C. (2024). Six new species ofthe pill millipede genus Hyleoglomeris Verhoeff, 1910 (Diplopoda, Glomerida,Glomeridae) in Thailand revealed by dna-barcoding. Contributions to Zoology, 93(4),289-323. https://doi.org/10.1163/18759866-bja10062 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดาเนินการ การนาเสนอประสบการณ์การนาไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่          ได้ความรู้ในการวางแผนช่วงเวลาในการทำวิจัย ทาให้สามารถทางานวิจัยคู่ขนานไปกับการสอนในภาคปกติได้ กระบวนการทำวิจัยสาหรับอาจารย์ที่บรรจุเข้าทางานใหม่มีดังนี้ การออกแบบงานวิจัยและหาหัวข้องานวิจัย โดยแผนงานวิจัยทั้งหมดต้องวางกรอบเวลาให้ชัดเจน โดยสามารถทำคู่ขนานไปกับการสอนในช่วงเวลาปกติได้ การทำวิจัยภาคสนามต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อจัดการตารางสอนของตนเองในอนาคต การทำวิจัยในส่วนของการวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและทางชีววิทยาโมเลกุลสามารถทำการศึกษาในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นหลังจากการสอนได้ การเตรียมต้นฉบับบทความภาษาอังกฤษร่วมกับผู้ร่วมวิจัย จะสามารถนัดในช่วงเย็นที่ไม่มีภาระกิจจากการสอนแล้วและไม่รบกวนเวลาสอนของอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นที่เป็นผู้ร่วมวิจัย submit บทความจากนั้นติดตามผลการพิจารณาร่างบทความอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ตามกำหนดเวลาที่วางไว้   ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           การมี contribution ร่วมกับอาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำงานวิจัยในกลุ่มเดียวกัน มีความสาคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากมีผลต่อการนำมาอ้างอิงร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการวิจัย แนวคิด ทำให้งานวิจัยเรามีคุณภาพมากขึ้น สามารถตีพิมพ์ในวารสารที่มี impact factor สูงๆได้ เอกสารแนบ

การทำวิจัยและการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติของอาจารย์รุ่นใหม่ Read More »

สร้างนวัตกรรมเพื่อการศึกษาอย่างไรให้ตอบโจทย์ และได้รางวัล

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.4 และ KR 2.4.3/1 สร้างนวัตกรรมเพื่อการศึกษาอย่างไรให้ตอบโจทย์ และได้รางวัล ผู้จัดทำโครงการ​ ทพญ.กาญจนา สิงขโรทัย และ ทพญ.ฐิติพร กังวานณรงค์กุล วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการรักษาทางศัลยกรรมช่องปากที่ต้องมีการปฏิบัติในคนไข้ ซึ่งขบวนการรักษาทางศัลยกรรมในคนไข้ครั้งแรกๆของนักศึกษาจะมีความตื่นเต้น, ความกังวล รวมถึงความแตกต่างของคนไข้ที่ทำให้การรักษานั้นยากมากขึ้น และมีโอกาสผิดพลาดมากขึ้น ทำให้ อ.ทพญ. กาญจนา สิงขโรทัย และ อ.ทพญ.ฐิติพร กังวานณรงค์กุล อาจารย์ประจำในสาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก ได้สังเกตเห็นถึงปัญหา และวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์เองก็มีเรื่องของงานนวัตกรรมที่อยู่ในขบวนการการเรียนการสอนอยู่ด้วยจึงได้นึกถึงงานนวัตกรรมในการแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในการเรียนการสอนในการฝึกปฏิบัติก่อนทำการรักษาในคนไข้จริงให้ใกล้เคียงคนไข้จริงมาที่สุด และเมื่อต้องทำงานแล้วงานที่ได้ควรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เต็มที่เมื่อเทียบกับทรัพยากรที่ใช้ไปจึงได้ตั้งเป้าในการส่งประกวดร่วมด้วย จึงได้เริ่มงานนวัตกรรมจากได้เริ่มจากสังเกตุในการฝึกปฏิบัติของคนไข้ที่ทำอยู่เกี่ยวกับการเย็บแผ่นหนังซึ่งเวลาฝึกจะไม่สามารถเลียนแบบท่าเข้าเย็บเหมือนในช่องปากที่มีฟันเป็นอุปสรรค และมีช่องปากในการเข้าทำที่ยากกว่าการทำบนแผ่นหนัง และเมื่อใช้แล้วแผ่นหนังจะเป็นรูซึ่งทำให้การเย็บซ้ำจะมีร่องรอยไม่สามารถใช้ได้เหมือนครั้งแรก   จึงนำไปสู่ประเด็นของการสร้างนวัตกรรม โดยนำปัญหานี้มาพูดคุยกับนักศึกษาที่เป็นผู้ใช้จริงเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหานี้ เป็นการให้โอกาสในการคิดและเสนอแนวทางการคิดและในการตั้งกำหนดเป้าหมายในการทำงานชัดเจนทำให้นักศึกษาสามารถร่วมกันสร้างนวัตกรรม และร่วมกันแก้ปัญหาจนสามารถผลิตนวัตกรรมที่ใช้ฝึกเย็บที่สามารถใช้ใน model คนไข้เสมือนจริงที่มีใช้อยู่แล้วในคลินิกทันตกรรมและสามารถใช้วัสดุ silicone sheet ที่สามารถหาซื้อได้ในท้องตลาด ใช้ง่าย และสามารถเปลี่ยนเพื่อใช้ใหม่ได้ คุณสมบัติคล้ายเหงือกมากกว่าแผ่นหนัง และราคาประหยัด เมื่อสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง มีราคาประหยัดจึงทำให้สามารถประกวดในงานนวัตกรรมของวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์และได้รางวัลที่ 1 นอกจากนี้ยังได้ส่งประกวด ในโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และได้รับรางวัล Thailand New Gen Inventors Award 2024 ระดับอุดมศึกษา ในกลุ่มเรื่อง สุขภาพและการแพทย์ และได้ทำการจดอนุสิทธิบัตรในนามมหาวิทยาลัยรังสิต ในปีถัดมา ในวิธีคิดและการวางแผนการในการทำงานที่ทำด้วยใจ มีความสนุกและมีเป้าหมายที่ชัดเจนกับงานและมีงานต่อยอด ในการประดิษฐ์ model เพื่อใช้ถอนฟัน ซึ่งก็ทำให้ได้รางวับรองชนะเลิศในการประกวดงานนวัตกรรมในวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนจะสามารถนำทางไปสู่ความสำเร็จได้ตรงเป้าและถึงเป้าได้ไม่มากก็น้อย งานที่สร้างจากปัญหาและอุปสรรค ร่วมกับมีการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรคและไม่ปิดกั้น รวมทั้งมีการเพิ่มกำลังใจเชิงบวกจะทำไห้เกิดผลลัพธ์ที่น่าจดจำและมีคุณค่าแท้จริง การเลือกงานที่เรามีความชอบหรือสนใจจะทำให้มีแรงขับเคลื่อนในการทำงานได้เป็นอย่างดี การเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองเป็นหลักพื้นฐานในการทำให้งานประสบความสำเร็จได้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ วิธีการดำเนินการ           เริ่มจากการพูดคุยกับนักศึกษาโดยอธิบายถึงเป้าหมายในการทำงานในมุมทีต้องการแก้ปัญหาในการเรียนการสอนทางปฏิบัติและเริ่มต้นจากการระดมปัญหาและเลือกปัญหาที่คิดเลือก หลังจากนั้นก็ทำการร่วมกันคิดต่อโดยตั้งเป้าในมุมมองของการตอบโจทย์ในการสร้างด้วยวิธีที่ทำได้เองจากสิ่งที่หาได้ ราคาไม่แพง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งก็มองเห็นปัญหานั้นเช่นกันคือ อุปกรณ์เย็บแผลจำลองที่ใช้อยู่เดิม จะทำจากแผ่นหนังสัตว์ ที่เมื่อถูกเข็มแทงจะเกิดรูทันที ใช้ฝึกปฏิบัติไปไม่นาน แผ่นหนังดังกล่าวก็จะเกิดรูพรุนอย่างมาก จนไม่สามารถใช้งานได้ต่อ นอกจากนี้ อุปกรณ์เย็บแผลจำลองดังกล่าวก็ไม่เหมือนกับกายภาพในช่องปากจริง ทำให้นักศึกษาขาดการฝึกทักษะการเข้าเย็บแผลในช่องปาก และขาดการฝึกวางท่าทางตนเองให้เหมาะสมกับการให้การรักษาในช่องปากคนไข้ไป  เมื่อทุกคนในโครงการทราบถึงปัญหาและเข้าใจในจุดที่ต้องการแก้ไข อาจารย์จึงได้กำหนดเป้าหมายของนวัตกรรมไว้อย่างชัดเจน คือ ต้องการผลิตอุปกรณ์เย็บแผลจำลองที่มีความทนทานต่อการใช้งาน ไม่เกิดรูพรุนง่ายหรือง่ายต่อการฉีกขาด ให้สัมผัสขณะฝึกเย็บที่เสมือนจริง และอยู่บนลักษณะทางกายภาพเสมือนกับช่องปากเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถฝึกการเข้าทำงานในช่องปากได้เป็นอย่างดี                                                                                    หลังจากกำหนดเป้าหมายแล้ว ก็ให้คำแนะนำและกระตุ้นให้เกิดกระบวนความคิดในเชิงบวก ร่วมกับการติดตามผลความคืบหน้าเป็นระยะต่อเนื่อง โดยเมื่อผู้ร่วมโครงการเจออุปสรรค อาจารย์ก็จะให้คำชี้แนะที่มาจากประสบการณ์การทำงานของอาจารย์โดยตรง เกิดเป็นผลลัพธ์ คือ การใช้แผ่นซิลิโคนขนาดบาง ทดแทนแผ่นหนัง  ซึ่งแผ่นซิลิโคนนั้นมีความทนทานมากกว่าแผ่นหนัง หาได้ง่าย ราคาถูก และสามารถนำมายึดบนแบบจำลองขากรรไกรที่สามารถใช้ติดกับหัวหุ่นจำลองได้ เพื่อให้ผู้ฝึกปฏิบัติสามารถเย็บแผลใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด คือ เย็บแผลในช่องปากคนไข้  2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                หลังจากการจัดทำอุปกรณ์เย็บแผลจำลองรูปแบบใหม่ที่ตรงตามเป้าหมายสำเร็จ  อาจารย์และผู้ร่วมโครงการก็ได้นำอุปกรณ์ดังกล่าวมาตรวจสอบ และทดลองฝึกปฏิบัติจริง จึงได้พบกับปัญหาแรก คือ แผ่นซิลิโคนที่หนาเกินไป ทำให้สัมผัสของการฝึกเย็บแผลไม่เหมือนจริง ซึ่งอาจารย์และผู้ร่วมโครงการได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยการเลือกใช้แผ่นซิลิโคนที่บางลง ปัญหาที่สอง คือ การยึดแผ่นซิลิโคนกับแบบจำลองขากรรไกรที่ต้องสามารถเปลี่ยนเข้าออกได้นั้น ทำได้ยาก เนื่องจากบริเวณพื้นผิวที่จะยึดแผ่นซิลโคนมีความโค้งนูน และเป็น 3 มิติ ทั้งยังต้องเป็นการยึดที่แน่นและอยู่ได้นาน ซึ่งอาจารย์และผู้ร่วมโครงการได้เลือกการยึดแผ่นซิลิโคนด้วยน๊อต ซึ่งจะทำให้เกิดการยึดที่แน่น ทนต่อแรงดีงของเข็มเย็บ และหากแผ่นซิลิโคนเริ่มชำรุดฉีกขาด ก็สามารถไขน๊อตเปลี่ยนแผ่นซิลิโคนได้อย่างง่ายดาย  โดยตลอดการแก้ไขและพัฒนานั้น อาจารย์ทั้งสองท่านมีความเข้าใจในมุมมองและข้อจำกัดด้านความรู้และประสบการณ์ของผู้ร่วมโครงการอย่างแท้จริง จึงสามารถให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือ และกำลังใจ โดยมุ่งหวังในเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ทำให้ผู้ร่วมโครงการมีความตั้งใจไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ และพยายามร่วมกันหาทางแก้ไขจนพบความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้นอกเหนือจากนวัตกรรมชิ้นใหม่ ก็คือ การที่ผู้ร่วมโครงการได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ควบคุม วางแผน แก้ปัญหา จนนำมาสู่ผลลัพธ์ที่เป็นความสำเร็จ  3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK                หลังจากการนำเสนอผลงานนวัตกรรม และได้รับความเห็นว่าเป็นผลงานที่มีประโยชน์ มีคุณภาพ และได้รางวัลชนะเลิศในระดับวิทยาลัยแล้ว อาจารย์กาญจนา อาจารย์ฐิติพร และผู้ร่วมโครงการ ก็ได้ใช้ผลงานไปนำเสนอในโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และได้รับรางวัล Thailand New Gen Inventors Award 2024 ระดับอุดมศึกษา ในกลุ่มเรื่อง สุขภาพและการแพทย์ ซึ่งนับเป็นการยอมรับในระดับประเทศ  นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการขอจดอนุสิทธิบัตรในตัวผลงาน และในขั้นตอนวิธีการผลิตผลงานด้วย ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice การกำหนดเป้าหมายแรกเริ่มที่สูงจะทำให้ผลงานตอนสุดท้ายออกมามีคุณภาพที่ดีและเป็นประโยชน์มากที่สุด การเลือกแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่ใกล้ตัวและน่าสนใจ เราจะสามารถมองเห็นจุดที่ต้องการแก้ไข และทางแก้ไขได้ง่ายเนื่องจากเป็นประสบการณ์จริงของตนเองซึ่งเรามักจะมีต้นทุนความรู้ความเชี่ยวชาญอยู่ นอกจากนั้น ปัญหาเหล่านั้นมักจะเห็นเป็นประจักษ์ในสายตาของผู้ร่วมโครงการเช่นกัน ก่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจน ตลอดจนเป็นแรงผลักดันในการก้าวต่อไปของโครงการอย่างต่อเนื่อง การพึ่งพาตนเอง และเชื่อในศักยภาพของตนเองก่อนที่จะมองหาทางแก้ไขที่รวดเร็วจากบุคคลอื่น ยังคงเป็นหลักพื้นฐานสำคัญในถนนสู่ความสำเร็จ

สร้างนวัตกรรมเพื่อการศึกษาอย่างไรให้ตอบโจทย์ และได้รางวัล Read More »

นวัตกรรมการเรียนการสอนเชิงวิจัย สู่การยกระดับผลงานในระดับ Scopus Q1 Tier 1

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.1/1 นวัตกรรมการเรียนการสอนเชิงวิจัย สู่การยกระดับผลงานในระดับ Scopus Q1 Tier 1 ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.กัญจนพร โตชัยกุล คณะรังสีเทคนิค หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ หลักการและเหตุผล                คณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับการวิจัย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและความเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ผสานการสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ทางวิชาการ จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการวิจัยของบุคลากรและนักศึกษา รวมถึงยกระดับคุณภาพผลงานวิชาการสู่ระดับสากล การจัดทำรายงานการจัดการความรู้ในหัวข้อ “นวัตกรรมการเรียนการสอนเชิงวิจัย สู่การยกระดับผลงานในระดับ Scopus Q1 Tier 1” จึงมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการบูรณาการด้านการเรียนการสอนและการวิจัยให้สามารถผลิตผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ความสำคัญ                นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ขับเคลื่อนด้วยการวิจัยเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษาและบุคลากร การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้เข้ากับการวิจัยช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง รวมถึงสามารถพัฒนาทักษะวิชาชีพและวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก การเผยแพร่ผลงานในวารสาร Scopus Q1 Tier 1 ไม่เพียงแค่ยกระดับชื่อเสียงของคณะและมหาวิทยาลัย แต่ยังเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับสถาบันการศึกษาในระดับสากล ทั้งนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัยในการสร้างความเป็นเลิศด้านวิจัยและนวัตกรรม ประเด็นปัญหา                แม้ว่าคณะรังสีเทคนิคจะมีการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการ เช่น การขาดการบูรณาการที่ชัดเจนระหว่างการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งอาจส่งผลต่อความเข้าใจและทักษะของนักศึกษา ข้อจำกัดในด้านทรัพยากรที่ทันสมัยและการสนับสนุนข้อมูลสำหรับการวิจัย รวมถึงความท้าทายในการผลิตผลงานที่สามารถเผยแพร่ในวารสารระดับ Scopus Q1 Tier 1 นอกจากนี้ อุปสรรคในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรระดับนานาชาติยังเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะให้ก้าวไกลในระดับสากล ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้              จากประสบการณ์ในปี 2565 ที่คณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิตได้ถอดแบบความรู้ในแนวทางการเขียนบทความวิชาการในรูปแบบ Review Article พบว่าบทความวิชาการประเภทนี้มีศักยภาพสำคัญในการเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความรู้ในเชิงวิชาการ โดยเฉพาะการรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ บทความ Review Article ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสถาบันและนักวิจัย ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนางานวิจัยให้สามารถเผยแพร่ในวารสารระดับสูง เช่น Scopus Q1 Tier 1                ในปี 2566 คณะได้มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ด้านนวัตกรรมและการวิจัยเข้าสู่บริบทของชุมชน โดยการนำนวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน การพัฒนาระบบการคัดกรอง และการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวทางนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงการวิจัยกับการเรียนการสอนในรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาจริงของสังคมและสร้างผลกระทบที่เป็นรูปธรรม                ด้วยฐานความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมานี้ แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนเชิงวิจัยจึงได้ถูกกำหนดให้เป็นหัวใจหลักของการยกระดับคุณภาพงานวิจัย โดยการนำแนวทางที่เป็นนวัตกรรม เช่น การใช้ E-book ที่ออกแบบเฉพาะ เพื่อพัฒนาความเข้าใจในแนวคิดและทักษะการปฏิบัติในเครื่องตรวจแมมโมแกรมสำหรับการควบคุมคุณภาพ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน สื่อ E-book ดังกล่าวได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับนักศึกษารังสีเทคนิค โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับแนวคิดทางวิชาการ พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัติในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ทางคลินิก                การพัฒนาสื่อ E-book นี้ยังสอดคล้องกับจริยธรรมทางการศึกษาและมาตรฐานระดับสากล โดยใช้กระบวนการตรวจสอบที่รอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าสื่อการเรียนการสอนมีความถูกต้อง มีคุณภาพ และเหมาะสมต่อการใช้งาน การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อดังกล่าวยังได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Q1 ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำคุณภาพของงานวิจัยและเพิ่มความน่าเชื่อถือในระดับสากล                สำหรับประโยชน์ต่อนักศึกษารังสีเทคนิค การใช้ E-book ช่วยพัฒนาทักษะการวิเคราะห์และความเข้าใจในเชิงลึก ตลอดจนการเรียนรู้ผ่านการจำลองสถานการณ์จริง ทำให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีในภาคปฏิบัติ นอกจากนี้ สื่อการเรียนรู้ยังสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่สามารถทบทวนและศึกษาซ้ำได้ทุกเวลา ด้านอาจารย์ สื่อ E-book ช่วยส่งเสริมการสอนในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนของการบรรยายเนื้อหา และช่วยให้อาจารย์สามารถมุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติและการวิเคราะห์เชิงลึกกับนักศึกษาได้มากยิ่งขึ้น                แนวทางนี้ไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของนักศึกษาและอาจารย์ แต่ยังส่งผลต่อความสามารถในการผลิตงานวิจัยเชิงนวัตกรรมที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ เช่น Scopus Q1 Tier 1 ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานและศักยภาพของคณะรังสีเทคนิคในระดับโลก ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด คณะรังสีเทคนิค วิธีการดำเนินการ การพัฒนาและนำ E-book ที่ออกแบบเพื่อพัฒนาความเข้าใจในแนวคิดและทักษะการปฏิบัติในเครื่องตรวจแมมโมแกรมสำหรับการควบคุมคุณภาพ จะดำเนินการผ่านกระบวนการดังต่อไปนี้: การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของนักศึกษารังสีเทคนิคในด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพเครื่องแมมโมแกรม ศึกษาแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม รวมถึงมาตรฐานทางวิชาการและจริยธรรมการศึกษาระดับสากล การออกแบบและพัฒนาสื่อ E-book รวบรวมเนื้อหาวิชาการที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการทำงานของเครื่องแมมโมแกรม วิธีการควบคุมคุณภาพ และตัวอย่างสถานการณ์จริง ออกแบบ E-book ในรูปแบบที่น่าสนใจ ใช้งานง่าย และส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น การใช้ภาพประกอบ วิดีโอสาธิต และแบบฝึกหัดเชิงโต้ตอบ เพิ่มฟีเจอร์ที่สนับสนุนการเรียนรู้ เช่น คำถามทบทวน หรือส่วนประเมินผลตนเอง การทดลองใช้สื่อ E-book จัดทำกลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนรู้ จัดการฝึกอบรมให้นักศึกษาและอาจารย์เกี่ยวกับการใช้งาน E-book ให้กลุ่มทดลองใช้งาน E-book ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพเครื่องแมมโมแกรม การเก็บข้อมูลและประเมินผล ประเมินผลความรู้และทักษะของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้งาน E-book ด้วยแบบทดสอบ Pre-test และ Post-test เก็บข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์เกี่ยวกับการใช้งาน E-book เพื่อวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย และข้อเสนอแนะ การปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติม ปรับปรุงเนื้อหาและรูปแบบของ E-book ตามข้อมูลผลการประเมิน เสริมฟีเจอร์เพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ การเผยแพร่และส่งเสริมการใช้งาน เผยแพร่ E-book ผ่านช่องทางออนไลน์หรือระบบการเรียนรู้ของคณะ จัดการอบรมเพิ่มเติมสำหรับบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้สามารถนำ E-book ไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การตีพิมพ์ผลงานวิจัย สรุปผลการดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้ จัดทำบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร Scopus Q1 Tier 1 โดยเน้นความสำคัญของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กระบวนการทั้งหมดนี้มุ่งเน้นการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของนักศึกษารังสีเทคนิค ตลอดจนส่งเสริมการเรียนการสอนเชิงวิจัยให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน จากการนำ E-book ที่ออกแบบเฉพาะเพื่อพัฒนาความเข้าใจในแนวคิดและทักษะการปฏิบัติในเครื่องตรวจแมมโมแกรมสำหรับการควบคุมคุณภาพ ไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน พบว่ามีนักศึกษารังสีเทคนิคที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจและทักษะที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) นักศึกษาส่วนใหญ่ระบุว่า E-book ช่วยทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของกระบวนการควบคุมคุณภาพและการแก้ไขปัญหาเครื่องแมมโมแกรมในสถานการณ์จริง ในด้านอาจารย์ E-book ช่วยลดเวลาในการสอนแบบบรรยายและเพิ่มโอกาสให้อาจารย์ได้เน้นการฝึกปฏิบัติและการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนร่วมกับนักศึกษา นอกจากนี้ การพัฒนาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ E-book ยังได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Scopus Q1 ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับโครงการและสะท้อนถึงศักยภาพของคณะรังสีเทคนิคในการสร้างสรรค์งานวิชาการระดับสากล  การนำไปใช้หรือการลงมือปฏิบัติจริง E-book ถูกนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพในเครื่องแมมโมแกรม โดยเริ่มจากการฝึกอบรมอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานสื่อ จากนั้นจึงนำ E-book ไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการและการศึกษาด้วยตนเอง นักศึกษาสามารถใช้งาน E-book ผ่านระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัยได้ทุกเวลา ทำให้สะดวกต่อการเรียนรู้และทบทวนเนื้อหา E-book ยังได้รับการเผยแพร่ให้กับคณาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันอื่นๆ เพื่อใช้เป็นตัวอย่างแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนในวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมคุณภาพในเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การพัฒนาสื่อที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะการออกแบบ E-book ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนเฉพาะทาง เช่น การควบคุมคุณภาพในเครื่องแมมโมแกรม ต้องใช้เวลาและความเชี่ยวชาญในการรวบรวมข้อมูลและจัดทำเนื้อหาให้ถูกต้อง ครบถ้วน และน่าสนใจ ข้อจำกัดทางเทคโนโลยีนักศึกษาและอาจารย์บางส่วนมีข้อจำกัดในการเข้าถึงอุปกรณ์หรือระบบออนไลน์ที่ใช้สำหรับการเรียนรู้ E-book เช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ไม่เสถียร หรือการขาดแคลนอุปกรณ์ที่เหมาะสม การประเมินผลและปรับปรุงแม้ว่าผลลัพธ์จากการใช้งาน E-book จะเป็นที่น่าพอใจ แต่การวัดผลในเชิงลึก เช่น ความสามารถในการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง ยังต้องการการติดตามและวิเคราะห์เพิ่มเติม การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอาจารย์บางส่วนยังไม่คุ้นเคยกับการใช้สื่อดิจิทัลในการสอน จึงต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถใช้ E-book ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างคณาจารย์และนักศึกษา รวมถึงการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนา E-book และกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดำเนินการการตรวจสอบผลการดำเนินการของโครงการนี้ดำเนินการผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) เพื่อตรวจวัดระดับความรู้และทักษะของนักศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพเครื่องแมมโมแกรม ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีการเก็บรวบรวมความคิดเห็นจากนักศึกษาและอาจารย์ผ่านแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ E-book และความพึงพอใจในการใช้งาน การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ประสบการณ์ในการนำ E-book ไปใช้แสดงให้เห็นถึงความสะดวกและความยืดหยุ่นของสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างเป็นอิสระ และใช้ E-book ในการทบทวนความรู้ก่อนการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ การออกแบบที่เน้นการใช้งานง่ายและมีส่วนโต้ตอบ เช่น คำถามและคำอธิบายแบบมัลติมีเดีย ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาและกระตุ้นความสนใจของนักศึกษา ในมุมมองของอาจารย์ E-book ช่วยลดภาระในการอธิบายเนื้อหาเบื้องต้น ทำให้อาจารย์สามารถมุ่งเน้นการสอนเชิงปฏิบัติและการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนร่วมกับนักศึกษา นอกจากนี้ การนำเสนอในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้อาจารย์สามารถปรับปรุงเนื้อหาได้อย่างต่อเนื่องตามความคิดเห็นของผู้ใช้งาน สรุปและอภิปรายผลผลการดำเนินงานชี้ให้เห็นว่า E-book ที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มความรู้และทักษะของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกและเพิ่มความสนใจในการเรียนการสอนเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพเครื่องแมมโมแกรม อย่างไรก็ตาม อุปสรรคบางประการ เช่น ความไม่คุ้นเคยกับการใช้งานสื่อดิจิทัล และข้อจำกัดทางเทคโนโลยี ได้ถูกระบุและนำมาวางแผนปรับปรุงในระยะต่อไป บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ จากโครงการนี้ ได้ค้นพบว่า: E-book ที่ออกแบบเฉพาะทาง สามารถเสริมสร้างความเข้าใจในแนวคิดและทักษะเชิงปฏิบัติของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้สื่อดิจิทัลช่วยเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์นักศึกษาที่มีพื้นฐานและความต้องการหลากหลาย การบูรณาการการเรียนการสอนเชิงวิจัยผ่านสื่อดิจิทัลช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาและเพิ่มคุณภาพงานวิจัย ประสบการณ์จากโครงการนี้ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และสร้างแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บทสรุปของโครงการนี้ ยืนยันถึงศักยภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนเชิงวิจัยในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัยในระดับสากล เช่น วารสาร Scopus Q1 Tier 1 ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา รวมถึงยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนในสาขารังสีเทคนิค. ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ขยายการพัฒนา E-book ไปยังหัวข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมคุณภาพในอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดอื่น หรือหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ในสาขารังสีเทคนิค เพิ่มความหลากหลายในเนื้อหา เช่น การใช้เทคโนโลยี AR/VR ในการจำลองสถานการณ์ทางคลินิกเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ การสนับสนุนทรัพยากรและเทคโนโลยี จัดหาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการเข้าถึงสำหรับนักศึกษา พัฒนาระบบออนไลน์ที่เสถียรและรองรับการใช้งานในหลากหลายอุปกรณ์   การฝึกอบรมอาจารย์ จัดอบรมให้ความรู้แก่อาจารย์เกี่ยวกับการใช้ E-book และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและการนำสื่อไปใช้ สร้างชุมชนการเรียนรู้สำหรับอาจารย์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดี ส่งเสริมการจัดประชุมหรือสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานและรวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ การประเมินผลต่อเนื่อง วางแผนการประเมินผลการใช้งาน E-book อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์ เก็บข้อมูลผลกระทบในระยะยาว เช่น การพัฒนาทักษะวิชาชีพหรือโอกาสการทำงานของนักศึกษาหลังเรียนจบ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินการประสบความสำเร็จตาม Key Result การสนับสนุนจากผู้บริหาร การได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณ ทรัพยากร และนโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วมจากนักศึกษา อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน การเปิดรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานจริง การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมมาปรับใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เช่น ระบบ E-learning ที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี   การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน เช่น การเพิ่มจำนวนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Scopus Q1 Tier 1 หรือการเพิ่มคะแนนการเรียนรู้ของนักศึกษา การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือแนวทางการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปในอนาคต ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนเชิงวิจัยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน Key Result ของคณะและมหาวิทยาลัย

นวัตกรรมการเรียนการสอนเชิงวิจัย สู่การยกระดับผลงานในระดับ Scopus Q1 Tier 1 Read More »

การพัฒนางานวิจัยจากห้องวิจัยสู่การประกวดผลงานวิจัยเพื่อสร้างชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 5 : KR 2.1.4, KR 2.5.2, KR 5.2.1/1 และ KR 5.2.2/1 การพัฒนางานวิจัยจากห้องวิจัยสู่การประกวดผลงานวิจัยเพื่อสร้างชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจ ผศ.ธวัช แก้วกัณฑ์ และ รศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.พิชิตพล โชติกุลนันทน์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านงานวิจัยควบคู่กับการพัฒนานักศึกษา โดยพัฒนาอาจารย์หรือนักวิจัยให้ได้รับรางวัลจากผลงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัยขึ้นไป พัฒนานักศึกษาทักษะทางวิชาการ ทักษะปฏิบัติ และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม (Innocreative Co-Creator) เผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม จำเป็นต้องมีความสามารถในการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เพื่อพัฒนาหรือแก้ปัญหาสังคม มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลกสามารถสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าให้กับตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศ และความเป็นพลเมืองเข้มแข็ง (Active Citizen) มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง ร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนานวัตกรรม โดยการนำความรู้จากการทำโครงงานเข้าประกวดในเวทีระดับชาติ ซึ่งเป็นการสนับสนุนนักศึกษาให้มีความพร้อมในการทำงานในอนาคต ซึ่งได้พัฒนาทักษะทางด้านการทำงานวิจัย การนำเสนอ การแสดงผลงานวิจัยต่อสาธารณชน ฝึกการตอบคำถามผ่านกิจกรรมการแข่งขันประกวดงานนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ และสร้างชื่อเสียงให้กับวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นที่รู้จักในระดับชาติและนานาชาติ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์จึงได้สนับสนุนอาจารย์และนักศึกษาด้านการสร้างแนวคิดในการสร้างนวัตกรรม ความเป็นผู้ประกอบการและความเป็นสากลเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของการเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ มีความเป็นนวัตกร มีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ โดยมอบหมายให้อาจารย์ในห้องวิจัยแต่ละห้องเป็นผู้รับผิดชอบในทุกๆปี โดยอาจารย์ประจำห้องวิจัยจะต้องสนับสนุนให้นักศึกษาทุกชั้นปีเข้าแข่งขันประกวดผลงาน โดยในปีที่ผ่านมาทางห้องวิจัยได้ส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดในโครงการ Thailand New Gen Inventor Award 2024 (I-New Gen Award 2024) งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านงานวิจัย: วิทยาลัยมุ่งเน้นการผลักดันให้อาจารย์และนักวิจัยมีผลงานที่ได้รับรางวัลในระดับมหาวิทยาลัยและสูงกว่านั้น เพื่อสร้างชื่อเสียงและเสริมความน่าเชื่อถือของวิทยาลัย การส่งเสริมทักษะนักศึกษา: เน้นการพัฒนาทักษะทางวิชาการและปฏิบัติรวมถึงความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่โลกการทำงานในศตวรรษที่ 21 นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม (Innocreative Co-Creator) ที่สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ และเข้าใจบทบาทของตนในฐานะผู้แก้ปัญหาสังคม ความเป็นผู้ประกอบการและพลเมืองที่เข้มแข็ง: นักศึกษาจะได้รับการส่งเสริมให้มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถสร้างมูลค่าให้ตนเองและชุมชน รวมถึงร่วมมือกับผู้อื่นในการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม การเข้าร่วมแข่งขันและประกวดนวัตกรรม : วิทยาลัยสนับสนุนนักศึกษาให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมแข่งขันประกวดนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติ เพื่อฝึกทักษะการวิจัย การนำเสนอผลงาน การตอบคำถาม และการสร้างชื่อเสียงให้วิทยาลัย เช่น การเข้าร่วมโครงการ Thailand New Gen Inventor Award 2024 การสนับสนุนจากอาจารย์ประจำห้องวิจัย: อาจารย์แต่ละคนในห้องวิจัยมีหน้าที่ดูแลนักศึกษา ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการพัฒนานวัตกรรม โดยสนับสนุนให้นักศึกษาทุกชั้นปีเข้าร่วมแข่งขันผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)ความรู้จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง1.  องค์ความรู้ทางด้านการบริหารงานวิจัย2. องค์ความรู้ทางด้านการวิจัย ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงาน วิธีการดำเนินการ วิธีการดำเนินการในการเตรียมผลงานวิจัยเพื่อเข้าร่วมประกวดในโครงการ Thailand New Gen Inventor Award 2024                1. ติดตามข่าวสารการประกวด อาจารย์ประจำห้องวิจัยจะติดตามข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกวดผลงานนวัตกรรมจากเว็บไซต์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับทราบกำหนดการและข้อกำหนดต่าง ๆ                2. คัดเลือกผลงานวิจัย อาจารย์ประจำห้องวิจัยในห้องวิจัยจะพิจารณาและคัดเลือกผลงานวิจัยที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าร่วมการประกวด โดยคำนึงถึงคุณภาพและความน่าสนใจของผลงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยในปี 2024 นี้ ได้คัดเลือกผลงานทั้งหมด 5 ผลงาน ได้แก่ การศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องวัดความดันด้วยหลักการ PPG (Photoplethysmogram) และแสดงผลผ่านทางระบบ IOT เครื่องเตือนการรั่วซึมของเลือดที่สายส่งเลือดจากเครื่องไตเทียมเข้าสู่ผู้ป่วย การศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องสอบเทียบอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ การออกแบบและสร้าวเครื่องทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าสำหรับเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐาน IEC60601-1 และ IEC62353 เครื่องเลื่อยกระดูกสำหรับการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา                3. การเตรียมความพร้อมของผลงาน นักศึกษาจะจัดทำข้อเสนอโครงการ (Proposal) ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติกำหนด โดยเน้นหัวข้อทางด้านการแพทย์ที่สอดคล้องกับแนวทางของการประกวด อาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อเสนอโครงการ และให้คำแนะนำในการปรับปรุงเนื้อหาเพื่อให้มีความสมบูรณ์และน่าสนใจยิ่งขึ้น                4. การส่งผลงานเข้ารอบคัดเลือก เมื่อข้อเสนอโครงการผ่านการตรวจทานและปรับปรุงจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว นักศึกษาและคณะอาจารย์จะจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นและดำเนินการส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดในรอบคัดเลือกตามกำหนดการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ               5. เตรียมการสำหรับรอบต่อไป เมื่อมีการประกาศผลผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คณะผู้ดำเนินงานจะจัดเตรียมเอกสารและสื่อประกอบ เช่น โปสเตอร์แสดงผลงานและวิดีโอ (VDO) ให้นักศึกษามีตวามมั่นใจในการนำเสนอผลงาน โดยผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ผ่านเข้ารอบมีจำนวนทั้งสิ้น 5 ผลงาน ดังรูปที่ 1 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รูปแสดงเอกสารแจ้งการเข้ารอบคัดเลิอกผลงานการประดิษฐ์จากทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รหัส 14688 เรื่อง การศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องวัดความดันด้วยหลักการ PPG (Photoplethysmogram) และแสดงผลผ่านทางระบบ IOTอาจารย์ที่ปรึกษา 1. รองศาสตราจารย์ ปรียา อนุพงษ์องอาจ2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธวัช แก้วกัณฑ์รายชื่อผู้ประดิษฐ์ 1. นางสาว ภูริดา นันทภัคพงศ์2. นางสาว นาตชา อินทโชติ3. นางสาว ชลดา ชื่นเจริญ รหัส 14883 เรื่อง เครื่องเตือนการรั่วซึมของเลือดที่สายส่งเลือดจากเครื่องไตเทียมเข้าสู่ผู้ป่วยอาจารย์ที่ปรึกษา 1. รองศาสตราจารย์ ปรียา อนุพงษ์องอาจ2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธวัช แก้วกัณฑ์รายชื่อผู้ประดิษฐ์ 1. นาย อับดุลรอฮมาน ดามิเด็ง2. นางสาว อารยา กัดเขียว3. นางสาว สุนิสา ไทยรัตน์ รหัส 14941 เรื่อง การศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องสอบเทียบอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์อาจารย์ที่ปรึกษา 1. รองศาสตราจารย์ ปรียา อนุพงษ์องอาจ2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธวัช แก้วกัณฑ์ รายชื่อผู้ประดิษฐ์ 1. นาย ภูติวัฒน์ เพียรมั่น2. นางสาว ณัฎฐณิชา วิฑูรย์พันธ์3. นางสาว ธนภรณ์ เวชกุล4. นางสาว วรรณพร เปมานุกรรักษ์ รหัส 15024 เรื่อง การออกแบบและสร้าวเครื่องทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าสำหรับเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐาน IEC60601-1 และ IEC62353 อาจารย์ที่ปรึกษา 1. รองศาสตราจารย์ ปรียา อนุพงษ์องอาจ2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธวัช แก้วกัณฑ์รายชื่อผู้ประดิษฐ์ 1. นางสาว กันต์กนิษฐ์ ผู้สำรอง2. นางสาว สุภาพร พิศเพลิน3. นางสาว สุภาวดี จันทร์ฉาย4. นาย ภานุพงศ์ อุ่นคำ5. นาย นครินทร์ นพเก้า รหัส 17368 เรื่อง เครื่องเลื่อยกระดูกสำหรับการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาอาจารย์ที่ปรึกษา 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าที่ร้อยตรีพิชิตพล โชติกุลนันทน์2. รองศาสตราจารย์ นันทชัย ทองแป้น3. อาจารย์ กิตติพันธ์ รุ่งประเสริฐ4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนันตศักดิ์ วงศ์กำแหง รายชื่อผู้ประดิษฐ์ 1. นางสาว สุชาดา ทองย้อย2. นางสาว ปิ่นเพชร เกษม3. นางสาว ศศิวิมล ศรีบุญเรื่อง4. นางสาว ขนารตี สามยอด5. นางสาว ภณัฐศวรรณ นวลศรี 6. ฝึกซ้อมการนำเสนอ นักศึกษาจะได้รับการฝึกซ้อมการนำเสนอผลงาน การตอบคำถามจากคณะกรรมการและการจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ เพื่อให้มีความพร้อมและมั่นใจในการแข่งขันจริงอาจารย์จะให้คำแนะนำและเสริมสร้างความมั่นใจให้นักศึกษารวมถึงช่วยพัฒนาเทคนิคในการนำเสนอให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน          จากการส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมประกวดและรับรางวัลในโครงการ Thailand New Gen Inventor Award (I-New Gen Award 2024) งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการเเละการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีอาจารย์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1,2 และ 3 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 21 คน โดยได้รับรางวัลทั้งหมด 5 ผลงาน ดังนี้1. การออกแบบและสร้างเครื่องวัดความดันด้วยหลักการ PPG ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ รางวัล The JIPA Award for the Best Innovation for ICT for the invention Blood Pressure Measurement using the PPG Principle2. เครื่องเตือนการรั่วซึมของเลือดที่สายส่งเลือดจากเครื่องไตเทียมเข้าสู่ผู้ป่วย ได้รับรางวัลเหรียญทอง3. การออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าสำหรับเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐาน IEC60601-1 และ IEC 62353 ได้รับรางวัลเหรียญทอง4. การศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องสอบเทียบอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง5. เครื่องเลื่อยกระดูกสำหรับการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา ได้รับรางวัลเหรียญทอง บรรยากาศในงานประกวดและการขึ้นเวทีรับรางวัลระดับชาติ อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน1. งบประมาณการจัดทำโครงงานของนักศึกษาที่จำกัดงบประมาณที่จำกัดในการทำงานโครงงานของนักศึกษาส่งผลกระทบต่อการพัฒนางานวิจัยในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการทดสอบมาตรฐานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการรับรองคุณภาพของงานวิจัย ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณทำให้ไม่สามารถนำงานวิจัยไปสู่การทดสอบและพัฒนาต่อไปได้ในระดับที่ต้องการ2. เวลาของอาจารย์ที่ปรึกษาจำกัด อาจารย์ที่ปรึกษามีภาระการสอนที่มาก ส่งผลให้ไม่สามารถให้การสนับสนุนหรือให้คำแนะนำแก่นักศึกษาได้อย่างเต็มที่ อาจทำให้การทำงานวิจัยเป็นไปได้ช้าและประสิทธิภาพในการพัฒนางานลดลง เนื่องจากไม่ได้รับคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง3. ขาดงบสนับสนุนในการนำเสนอผลงาน มหาวิทยาลัยมีงบประมาณจำกัดในการสนับสนุนนักวิจัยเพื่อนำผลงานเข้าร่วมประกวดหรือเผยแพร่ ซึ่งทำให้นักวิจัยหลายคนขาดโอกาสในการนำเสนอผลงานในเวทีที่สำคัญ หรือไม่สามารถแข่งขันในระดับสูงได้ แม้ว่าการได้รับรางวัลจะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยก็ตาม 4. ขาดการประชาสัมพันธ์ผลงานที่ได้รับรางวัลในระดับมหาวิทยาลัย ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลหรือการยอมรับจากเวทีภายนอกไม่มีการประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในระดับมหาวิทยาลัย ทำให้อาจารย์และนักศึกษารู้สึกว่าผลงานของตนไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควรและขาดการสร้างความตระหนักรู้ในวงกว้าง 5. แรงจูงใจในการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อเข้าประกวดผลงาน อาจารย์ขาดแรงจูงใจในการสนับสนุนหรือช่วยผลักดันผลงานวิจัยให้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมการแข่งขันนั้นผลที่ได้รับในการทำงานแทบไม่มีความแตกต่าง จึงไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนางานหรือผลักดันให้เข้าร่วมแข่งขัน แม้การเข้าร่วมจะเป็นประโยชน์ต่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK 3.1 การตรวจสอบผลการดำเนินการ         ผลการดำเนินการในการส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมโครงการ Thailand New Gen Inventor Award (I-New Gen Award 2024) ซึ่งจัดขึ้นในงานวันนักประดิษฐ์ ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ได้สร้างผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจในด้านการสร้างชื่อเสียงระดับชาติ โดยผลงานจากนักศึกษาและอาจารย์ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัลจากการประกวดทั้งหมด 5 ผลงาน ซึ่งทุกผลงานได้รับเหรียญทอง อีกทั้งยังมีรางวัลพิเศษ JIPA Award for the Best Innovation for ICT เพิ่มเติมอีกหนึ่งรางวัล แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความมุ่งมั่นของนักศึกษาและคณาจารย์ในการพัฒนาผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ และมีคุณภาพ 3.2 การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้         การเข้าร่วมโครงการและการประกวดครั้งนี้ เป็นโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะในการนำเสนอผลงานแก่คณะกรรมการและผู้เข้าร่วมชมงานในระดับประเทศ การแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 ในการพัฒนาผลงานที่สามารถใช้งานได้จริง ช่วยส่งเสริมให้เกิดแรงบันดาลใจและความสนใจในงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนักศึกษา ตลอดจนได้รับความรู้และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาผลงานต่อไป 3.3 สรุปและอภิปรายผล        การเข้าร่วมและได้รับรางวัลในครั้งนี้ช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิต ในระดับชาติ ถือเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพ สามารถผลักดันให้นักศึกษาได้แสดงศักยภาพในเวทีที่กว้างขวาง และยังเป็นกำลังใจให้คณาจารย์ในการพัฒนานักศึกษาอย่างต่อเนื่อง การได้รางวัลพิเศษ JIPA Award for the Best Innovation for ICT แสดงถึงการยอมรับในระดับสากลและแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3.4 บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่        การพัฒนานวัตกรรมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับรางวัลครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการคิดค้นและสร้างสรรค์ของนักศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติจริง ทำให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงในอนาคต นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มความรู้ใหม่ในด้านการออกแบบเครื่องมือทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนางานวิจัยในวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสังคม 3.5 การประสบความสำเร็จตาม Key Result ด้านการสร้างชื่อเสียงในระดับชาติ        ผลงานทั้ง 5 ชิ้นที่ได้รับรางวัลในการแข่งขันครั้งนี้ได้สะท้อนถึงความสำเร็จในการสร้างชื่อเสียงในระดับชาติและยังเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้กับนักศึกษาและอาจารย์ทุกคนที่มีส่วนร่วม การสนับสนุนจากคณาจารย์ในวิทยาลัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าและ มีความหมายในระดับสากล ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินการครั้งนี้หรือในอนาคตสู่การประสบความสำเร็จตาม Key Result ด้านการสร้างชื่อเสียง 4.1 มหาวิทยาลัยควรเพิ่มการจัดสรรงบประมาณการจัดทำโครงง่นนักศึกษาและควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานให้เข้าประกวดแข่งขันเพิ่มขึ้น4.2 ปรับปรุงการบริหารจัดการภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษา ควรจัดสรรเวลาการทำงานให้เหมาะสม โดยลดภาระการสอนที่อาจารย์ต้องรับผิดชอบลง เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถให้คำแนะนำและสนับสนุนการทำงานวิจัยได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ4.3 เพิ่มงบประมาณสำหรับการเข้าร่วมแข่งขันและนำเสนอผลงาน การสนับสนุนงบประมาณเพื่อนำเสนองานวิจัยในเวทีระดับชาติและนานาชาติถือเป็นสิ่งสำคัญ มหาวิทยาลัยควรมีแผนสนับสนุนที่ชัดเจนสำหรับการส่งผลงานเข้าประกวดหรือนำเสนอต่อสาธารณะ เพื่อเพิ่มโอกาสให้นักศึกษาและอาจารย์ได้แสดงผลงานในระดับที่สูงขึ้น และสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย4.4 สร้างระบบการประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล มหาวิทยาลัยควรมีการโปรโมทผลงานที่ได้รับรางวัลอย่างเป็นทางการ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์มหาวิทยาลัย จดหมายข่าว และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยและแสดงถึงการยอมรับผลงานที่ได้รับรางวัลในวงกว้าง นอกจากนี้ ควรมีการจัดแสดงผลงานวิจัยในงานประชุมหรือกิจกรรมพิเศษของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้รับทราบและภาคภูมิใจในความสำเร็จของเพื่อนร่วมสถาบัน4.5 ส่งเสริมแรงจูงใจของอาจารย์ที่สนับสนุนการเข้าร่วมการแข่งขัน ควรพิจารณาสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ที่สนับสนุนการพัฒนางานวิจัย เช่น การให้รางวัลรวมถึงการนำผลงานวิจัยที่ได้รางวัลมาพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยอาจจัดกิจกรรมพิเศษหรือรางวัลเฉพาะสำหรับอาจารย์ที่ช่วยผลักดันงานวิจัยสู่การแข่งขันในระดับสูง ทั้งนี้จะช่วยให้อาจารย์มีแรงจูงใจมากขึ้นในการสนับสนุนนักวิจัยและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย

การพัฒนางานวิจัยจากห้องวิจัยสู่การประกวดผลงานวิจัยเพื่อสร้างชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ Read More »

การบูรณาการการเรียนร่วมกับการบริการวิชาการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1/1 และ KR 3.1.2/1 การบูรณาการการเรียนร่วมกับการบริการวิชาการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.อารีย์รัตน์ ส่งสกุลวัฒนา อ.สุมนา เกษมสวัสดิ์ ผศ.ดร.วรรณวิภา ติตถะสิริ และ อ.สุพานิช อังศิริกุล วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ การศึกษา หรือการดำเนินชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ชุมชนในหลายพื้นที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีหรือนำความก้าวหน้าทางดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อชุมชน จึงเป็นแนวทางที่สามารถช่วยให้ชุมชนมีเครื่องมือในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน           โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงศักยภาพของตนเอง และเห็นความสำคัญของความรู้ที่ได้เรียนในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชน การส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนานวัตกรรมที่มีประโยชน์และเป็นที่ต้องการของสังคม ไม่เพียงแต่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาเกิดจิตสำนึกในการใช้ความรู้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม           แนวทางการดำเนินโครงการจะมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ โดยให้นักศึกษาร่วมมือกับชุมชนในการวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบ และพัฒนาโซลูชันที่เหมาะสม ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ระบบสารสนเทศ หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ นอกจากนี้ โครงการยังช่วยพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในโลกยุคปัจจุบัน ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การสร้างนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริงในชุมชน เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและสังคม และส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นนักพัฒนาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            ในการดำเนินโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อชุมชน มีการนำองค์ความรู้หลายด้านมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแก้ไขปัญหาและสร้างโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเด็นสำคัญดังนี้ องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ การพัฒนาแอปพลิเคชันและระบบสารสนเทศ (Software Development) การออกแบบฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูล (Database Design & Management) การพัฒนาเว็บและโมบายแอปพลิเคชัน (Web & Mobile Development) การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) องค์ความรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรมและการแก้ปัญหา กระบวนการออกแบบเชิงนวัตกรรม (Design Thinking) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน (Community Needs Analysis) การสร้างโซลูชันที่ยั่งยืนและเหมาะสมกับผู้ใช้ (User-Centered Design) องค์ความรู้ด้านการจัดการและการทำงานร่วมกับชุมชน การบริหารโครงการ (Project Management) การทำงานร่วมกันเป็นทีมและการสื่อสาร (Teamwork & Communication) การจัดการความรู้ (Knowledge Sharing & Transfer) เพื่อให้ชุมชนสามารถนำโซลูชันไปใช้งานและต่อยอดได้ องค์ความรู้ด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรมและความปลอดภัย (Ethical & Secure Technology Use) การสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบ          องค์ความรู้เหล่านี้ถูกรวบรวมและจัดการผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การทำงานเป็นทีม และการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และชุมชน ซึ่งช่วยให้เกิดกระบวนการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม   ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University    https://rkms.rsu.ac.th/outstanding66-2-1/ เจ้าของความรู้/สังกัด รองศาสตราจารย์ ดร.มนพร ชาตชำนิ, อ.ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลางคณะพยาบาลศาสตร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนัตศักดิ์ วงศ์กำแหง, อ.อนุชิต นิรภัยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด ดร.อารีย์รัตน์ ส่งสกุลวัฒนา อ.สุมนา เกษมสวัสดิ์ วิธีการดำเนินการ – ประชุมระดมสมองในการสร้างความร่วมมือและกำหนดความเป็นไปได้ของโครงการและการกำหนดรายละเอียดโครงการ           เริ่มต้นด้วยการประชุมร่วมกันระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา และตัวแทนจากชุมชน เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมถึงความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา ในขั้นตอนนี้จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ ขอบเขตงาน ทรัพยากรที่จำเป็น และแผนการดำเนินงานเบื้องต้น ในปีการศึกษา 2565 ได้ร่วมกับชุมชนคลองคูกลาง หมู่ 1 ตำบลหลักหก พัฒนาระบบบริหารกองทุนหมู่บ้าน และในปีการศึกษา 2566 ได้ร่วมกับโรงพยาบาลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี พัฒนาอุปกรณ์ระบบควบคุมตู้จ่ายยาอัตโนมัติให้กับห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน – จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาและเพิ่มทักษะเพื่อการพัฒนาระบบ           เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการพัฒนานวัตกรรมสำหรับชุมชน จะมีการจัดกิจกรรมอบรมหรือ Workshop ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชัน การออกแบบระบบ UX/UI การจัดการฐานข้อมูล และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน นอกจากนี้ นักศึกษายังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกับชุมชนและการบริหารโครงการ – พัฒนาระบบงาน สร้างกิจกรรมสนับสนุนการบริหารเครือข่ายกิจกรรม และการติดต่อประสานงาน           หลังจากประชุมร่วมกับชุมชนหรือหน่วยงานเพื่อทำการรวบรวมข้อมูลและความต้องการ นักศึกษาจะเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบ โดยออกแบบและสร้างต้นแบบ (Prototype) ของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนหรือหน่วยงาน พร้อมทั้งดำเนินการจัดการเครือข่ายกิจกรรมเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ภายในโครงการ ในขั้นตอนนี้ จะมีการประสานงานกับชุมชนหรือหน่วยงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าระบบที่พัฒนาตรงกับความต้องการ ภาพการประชุมร่วมกับผู้บริหารชุมชนคลองคูกลาง ภาพหน่วยงานห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี – ทดสอบและแก้ไขระบบ          ก่อนส่งมอบระบบ จะมีการทดสอบการใช้งานจริงโดยให้ตัวแทนชุมชนหรือหน่วยงานเข้ามาทดลองใช้ พร้อมเก็บข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมจริง การทดสอบนี้จะช่วยให้มั่นใจว่าระบบมีความเสถียร ใช้งานง่าย และสามารถตอบโจทย์ปัญหาของชุมชนได้อย่างแท้จริง ภาพตัวอย่างระบบกองทุนหมู่บ้านคลองคูกลาง หมู่ที่ 1 ต.หลักหก จ.ปทุมธานี ภาพรวมอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ในงานพัฒนาอุปกรณ์ระบบควบคุมตู้จ่ายยาอัตโนมัติ ภาพอุปกรณ์ระบบควบคุมตู้จ่ายยาอัตโนมัติ   – ส่งมอบระบบให้กับชุมชน           หลังจากการปรับปรุงและทดสอบจนระบบมีความพร้อม จะมีการส่งมอบระบบให้กับชุมชนหรือหน่วยงานอย่างเป็นทางการ พร้อมจัดกิจกรรมอบรมการใช้งานและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาระบบ เพื่อให้ชุมชนหรือหน่วยงานสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ จะมีการติดตามผลหลังการส่งมอบเพื่อประเมินผลกระทบของโครงการและวางแผนการพัฒนาต่อยอดในอนาคต 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           ผลลัพธ์จากการบูรณาการการเรียนร่วมกับการบริการวิชาการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมเพื่อพัฒนานักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ที่น่าประทับใจ โดยมีนวัตกรรมเชิงประจักษ์ 2 ชิ้นงานดังนี้: 1. ระบบกองทุนหมู่บ้านคลองคูกลาง ปี 2565    ผลการดำเนินการ:           โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบจัดการข้อมูลกองทุนหมู่บ้าน เพื่อช่วยให้การบริหารจัดการเป็นระบบมากขึ้น ลดภาระการทำงานด้วยเอกสาร และเพิ่มความโปร่งใสในการบริหารกองทุน โดยนักศึกษาได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและความต้องการของคณะทำงาน จากนั้นออกแบบและพัฒนาโปรแกรมที่สามารถบันทึกข้อมูลสมาชิก การเบิกจ่ายเงินกองทุน และรายงานสถานะของกองทุนแบบเรียลไทม์ โครงการประสบความสำเร็จในการสร้างระบบที่สามารถนำไปใช้งานจริง และได้รับความสนใจจากกองทุนหมู่บ้านอื่น ๆ ที่ต้องการนำไปปรับใช้    อุปสรรคหรือปัญหา: การเก็บข้อมูลจากคณะทำงานกองทุนหมู่บ้านมีความล่าช้า เนื่องจากเอกสารบางส่วนยังอยู่ในรูปแบบเอกสารกระดาษ ทำให้ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล การอบรมให้คณะทำงานกองทุนใช้งานระบบเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากบางคนไม่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยี การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตในบางพื้นที่ของชุมชนไม่เสถียร ส่งผลต่อการใช้งานระบบออนไลน์ในบางช่วงเวลา 2. ระบบควบคุมการเปิดปิดกล่องยาในห้องฉุกเฉิน สำหรับโรงพยาบาลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ปี 2566    ผลการดำเนินการ:           โครงการนี้พัฒนาอุปกรณ์ไอโอทีสำหรับควบคุมการเปิด-ปิดกล่องยาในห้องฉุกเฉิน เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดในการหยิบยาและเพิ่มความปลอดภัยในการให้บริการทางการแพทย์ นักศึกษาได้ดำเนินการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของโรงพยาบาล โดยเมื่อมีการสั่งจ่ายยา อุปกรณ์จะเปิดเฉพาะกล่องยาที่ถูกต้องเพื่อลดโอกาสในการหยิบยาผิด นอกจากนี้ ยังมีระบบแจ้งเตือนเมื่อยาใกล้หมดเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเติมยาได้อย่างทันท่วงที ระบบนี้ช่วยเพิ่มความแม่นยำและลดภาระของเจ้าหน้าที่ในห้องฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี    อุปสรรคหรือปัญหา: การพัฒนาอุปกรณ์ต้องใช้ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเชื่อมต่อไอโอที ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับนักศึกษาที่ต้องศึกษาและทดลองหลายรอบเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างเสถียร การติดตั้งและทดสอบระบบภายในโรงพยาบาลต้องทำในเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากห้องฉุกเฉินเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานตลอดเวลา ต้องมีการปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างระบบไอโอทีกับฐานข้อมูลของโรงพยาบาลให้มีความรวดเร็วและปลอดภัยสูงสุด เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ การตรวจสอบผลการดำเนินการ           หลังจากดำเนินโครงการทั้งสองเสร็จสิ้น ได้มีการตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้งานจริง รวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพของระบบในสถานการณ์ใช้งานจริง สำหรับระบบกองทุนหมู่บ้าน ได้รับข้อเสนอแนะว่าระบบสามารถลดภาระการทำงานด้วยเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความโปร่งใสในการบริหารจัดการกองทุน ส่วนโครงการอุปกรณ์ไอโอทีควบคุมกล่องยาในห้องฉุกเฉิน ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลว่าระบบช่วยลดข้อผิดพลาดในการหยิบยาและทำให้กระบวนการทำงานรวดเร็วขึ้น          การตรวจสอบผลยังรวมถึงการแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบระหว่างการใช้งานจริง เช่น การปรับปรุงอินเทอร์เฟซของระบบกองทุนให้ใช้งานง่ายขึ้น และการเสริมระบบสำรองข้อมูลสำหรับอุปกรณ์ไอโอทีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้          การดำเนินโครงการครั้งนี้ทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์การทำงานจริงร่วมกับชุมชนและองค์กรภายนอก โดยเฉพาะการเข้าใจปัญหาและข้อจำกัดของผู้ใช้งาน ในโครงการกองทุนหมู่บ้าน นักศึกษาได้เรียนรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากระบบเอกสารเป็นระบบดิจิทัลต้องใช้เวลาในการปรับตัวและต้องมีการอบรมที่เหมาะสม ส่วนโครงการอุปกรณ์ไอโอทีในโรงพยาบาล นักศึกษาได้เข้าใจถึงความสำคัญของความแม่นยำและความปลอดภัยของระบบทางการแพทย์ ซึ่งต้องผ่านการทดสอบหลายครั้งก่อนนำไปใช้จริง สรุปและอภิปรายผล          โครงการทั้งสองแสดงให้เห็นว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้สามารถช่วยพัฒนาโครงสร้างการทำงานขององค์กรชุมชนและภาคการแพทย์ได้จริง ผลลัพธ์ที่ได้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบดิจิทัลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาด และทำให้กระบวนการทำงานสะดวกขึ้น การพัฒนานวัตกรรมต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านผู้ใช้งาน เช่น การฝึกอบรม การออกแบบที่ใช้งานง่าย และความปลอดภัยของข้อมูล การทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกต้องอาศัยทักษะการสื่อสาร การปรับตัว และความเข้าใจในข้อจำกัดของแต่ละองค์กร บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่          จากการดำเนินโครงการ นักศึกษาค้นพบว่าความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีข้อค้นพบสำคัญดังนี้ เทคโนโลยีต้องออกแบบให้เหมาะสมกับบริบทของผู้ใช้ การออกแบบระบบที่ดีไม่ใช่แค่มีฟังก์ชันครบถ้วน แต่ต้องใช้งานง่ายและตรงกับพฤติกรรมของผู้ใช้ การพัฒนานวัตกรรมต้องมีการทดสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ระบบที่ดีต้องผ่านการทดลองหลายครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง ความร่วมมือระหว่างนักศึกษา ชุมชน และองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญ การแลกเปลี่ยนความรู้และความต้องการระหว่างทุกฝ่ายช่วยให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง การทำโครงการแบบบูรณาการช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะที่จำเป็นในโลกการทำงาน เช่น การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบระบบ และการบริหารโครงการ   ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคตและปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินการประสบความสำเร็จตาม Key Result ความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องความสำเร็จของโครงการขึ้นอยู่กับการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากทุกฝ่ายมีการสื่อสารที่ดีและมีความเข้าใจตรงกัน ระบบที่พัฒนาจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้มากขึ้น การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพการกำหนดกรอบเวลา แผนงาน และทรัพยากรที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนของโครงการให้ชัดเจน จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและลดปัญหาความล่าช้า การพัฒนาทักษะของนักศึกษานักศึกษาควรมีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะที่จำเป็นทั้งในด้านเทคนิค เช่น การเขียนโค้ด การออกแบบระบบ และในด้าน Soft Skills เช่น การทำงานเป็นทีม การสื่อสารกับผู้ใช้ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทดสอบและปรับปรุงระบบตาม Feed Back จากผู้ใช้การนำ Feedback จากผู้ใช้มาปรับปรุงระบบเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริงและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนหรือองค์กร จะช่วยให้โครงการสามารถใช้งานได้จริงและมีความยั่งยืน เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันหรือระบบที่สามารถใช้งานได้แม้ในพื้นที่ที่มีอินเทอร์เน็ตจำกัด หรือการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซเพื่อลดค่าใช้จ่าย          หากสามารถดำเนินการตามข้อเสนอแนะและปัจจัยเหล่านี้ได้ โครงการในอนาคตจะสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้มากขึ้น และช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาทั้งทักษะวิชาการและทักษะการทำงานร่วมกับสังคมอย่างแท้จริง

การบูรณาการการเรียนร่วมกับการบริการวิชาการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม Read More »

แนวทางการพัฒนาพื้นที่และออกแบบสถาปัตยกรรมในพื้นที่คานเรือศรีเจริญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิต

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR ไม่ระบุ แนวทางการพัฒนาพื้นที่และออกแบบสถาปัตยกรรมในพื้นที่คานเรือศรีเจริญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิต ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.ปาริษา มูสิกะคามะ ดร.ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ และ อ.อามาล ภักดีธรรม ฉิมวิไลทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมากกว่าสถาบันการศึกษา แต่ยังเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้และนวัตกรรมที่สามารถชี้นำและขับเคลื่อนสังคมได้ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Community Engagement) เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างผลกระทบเชิงบวก             ในช่วงปีการศึกษา 2566 – 2567 ที่ผ่านมานี้ ทีมวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ดำเนินโครงการวิจัยหัวข้อแนวทางการพัฒนาพื้นที่และออกแบบสถาปัตยกรรมในพื้นที่คานเรือศรีเจริญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิต โครงการวิจัยนี้เลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อบูรณาการโครงการวิจัยกับกิจกรรมพัฒนานักเรียนและนักศึกษาผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับสถาบันการศึกษาภายนอก และสถานประกอบการภาคเอกชนที่เป็นผู้ถือครององค์ความรู้เรื่องภูมิปัญญาการต่อเรือไม้แบบดั้งเดิม                ภูมิปัญญาการต่อเรือไม้แบบดั้งเดิมคือมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage) ประเภทหนึ่งที่กำลังเสี่ยงต่อการสูญหายไปตามบริบทการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันมีผู้ถือองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ไม่มากนัก หนึ่งในนั้นคือคานเรือศรีเจริญ ซึ่งเป็นสถานประกอบการภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม้ว่าเจ้าของกิจการคานเรือศรีเจริญจะมีปณิภาณส่งต่อภูมิปัญญาสู่บุคคลภายนอก และสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีทักษะฝีมือช่างมาสืบต่อภูมิปัญญาเหล่านี้ แต่การดำเนินการเพื่อบรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าวก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยง่าย ด้วยข้อจำกัดในมิติต่างๆ อาทิ การขาดเครือข่ายความร่วมมือ การขาดเงินทุน การขาดองค์ความรู้ การขาดประสบการณ์ ฯลฯ ทีมวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เล็งเห็นประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลภายนอก โดยมีจุดเด่นที่การนำกิจกรรมเชิงศิลปะและการออกแบบ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้ในระบบการศึกษาร่วมสมัยมาเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จากอดีต ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            ภูมิปัญญาด้านการต่อเรือไม้แบบดั้งเดิมในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด: คุณชัชวาล และคุณสมรทิพย์ ศรีเปลี่ยนจันทร์ ผู้ประกอบการคานเรือศรีเจริญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีการดำเนินการ                ทีมวิจัยทีมวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลภายนอก โดยมีจุดเด่นที่การนำกิจกรรมเชิงศิลปะและการออกแบบ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้ในระบบการศึกษาร่วมสมัยมาเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จากอดีต                การดำเนินการตลอดช่วงระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ทีมวิจัยได้จัดกิจกรรมกระบวนการออกแบบแบบเชิงปฏิบัติการ โดยบูรณาการร่วมกับกิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้านนานาชาติของคณะ โดยการนำกลุ่มนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ Universitas Islam Indonesia (UII) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพันธมิตรของมหาวิทยาลัยรังสิตจำนวน 25 คนเข้าร่วมกิจกรรม ผลผลิตจากกิจกรรมคือข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมในบริเวณพื้นที่คานเรือศรีเจริญ ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้คือความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงความสำคัญของภูมิปัญญา และสถานที่ตั้งที่เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต (living museum) ครั้งที่ 2 เมือเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 ทีมวิจัยได้จัดกิจกรรมประกวดวาดภาพระบายสีระดับชั้นประถมศึกษา โดยเชิญนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่โรงเรียนวัดพนัญเชิง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนเดียวกันกับคานเรือศรีเจริญมาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน ผลผลิตจากกิจกรรมคือภาพวาดในจินตนาการของนักเรียนภายใต้หัวข้อ “อยุธยา เมืองแห่งสายน้ำ และเรือในฝันของฉัน” ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้คือการเกิดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องเรือที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการทัศนศึกษาก่อนการวาดภาพ ทำให้นักเรียนที่มีวิถีชีวิตห่างไกลจากแม่น้ำและเรือเกิดแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น และพยายามเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางภูมิปัญญากับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในระบบการศึกษาร่วมสมัย ผลลัพธ์สำคัญอีกประการหนึ่งคือการเกิดต้นแบบของกิจกรรมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน ครั้งที่ 3 เมือเดือนมกราคม พ.ศ. 2568 ทีมวิจัยได้จัดกิจกรรมวาดภาพระบายสี โดยเชิญศิลปิน อาจารย์ และนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต รวมถึงอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 55 คนเข้าร่วมกิจกรรม ผลผลิตจากกิจกรรมคือภาพวาดที่สะท้อนความประทับใจในสถานที่ตั้ง ส่วนผลลัพธ์จากกิจกรรมนั้นถือว่าประสบความสำเร็จกว่าที่คาดการณ์ไว้ นั้นคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เพียงแต่รับทราบและตระหนักรู้ถึงความสำคัญทางประวัติของสถานที่ตั้งและภูมิปัญญาการต่อเรือไม้แบบดั้งเดิม แต่ยังเกิดการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือใหม่เพื่อต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่ไม่มีชีวิต ภาพที่ 1 กิจกรรมออกแบบเชิงปฏิบัติการนานาชาติครั้งที่ 1 เมือเดือนสิงหาคม 2566 ภาพที่ 2 กิจกรรมวาดภาพระบายสีครั้งที่ 2 เมือเดือนธันวาคม 2567 ภาพที่ 3 กิจกรรมวาดภาพระบายสีครั้งที่ 3 เมือเดือนมกราคม 2568 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           การจัดกิจกรรมเชิงศิลปะและการออกแบบเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีเชิงประจักษ์เป็นขั้นลำดับ ได้แก่ เยาวชนและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถานที่และภูมิปัญญา เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้เพิ่มเติม เกิดความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในกระบวนการอนุรักษ์ และเกิดการพัฒนาและขยายเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม           อย่างไรก็ตาม หากจะส่งเสริมให้กระบวนการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยประเมินว่ามหาวิทยาลัยในฐานะผู้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือควรสนับสนุนกระบวนการในฐานะพี่เลี้ยงไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเครือข่ายความร่วมมือที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้นจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเข้มแข็งต่อไป 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่                ทีมวิจัยประเมินว่าโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ นั้นคือนอกเหนือจากการพัฒนาข้อเสนอแนะทางกายภาพเพื่อพัฒนาพื้นที่และออกแบบสถาปัตยกรรมในพื้นที่คานเรือศรีเจริญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิตแล้ว ยังได้ริเริ่มพัฒนากิจกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับเยาวชน และบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นต้นแบบให้คานเรือศรีเจริญในฐานะผู้ถือครองภูมิปัญญาเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง พร้อมที่จะดำเนินการส่งต่อภูมิปัญญาสู่เยาวชนและบุคคลทั่วไปตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้                ผู้วิจัยยืนยันข้อสรุปจากผลการดำเนินงานได้ว่ามหาวิทยาลัยคือองค์กรที่สามารถมีบทบาทสำคัญในการสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมที่ฝังตัวอยู่ในพื้นที่ชุมชนหรือสถานประกอบการภาคเอกชน โดยรูปแบบของกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมเชิงศิลปะและการออกแบบที่โครงการวิจัยประยุกต์ใช้ตลอดการดำเนินการทั้ง 3 ครั้งนั้นก็เป็นเครืองมือที่ทรงพลังที่สามารถบูรณาการการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมกับการศึกษาร่วมสมัยได้อย่างแนบเนียน ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกสนุก ประทับใจ และรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในกระบวนการอนุรักษ์ต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ปัจจัยที่ทำให้โครงการวิจัยนี้เกิดความสำเร็จ คือ ความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรมเพื่อการมีส่วนร่วม ความต่อเนื่องของการดำเนินการ เครือข่ายความร่วมมือ และการบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนานักศึกษา                กิจกรรมเชิงศิลปะและการออกแบบถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้ระบบการศึกษาสมัยใหม่ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบ Active เหมาะสมต่อการนำมาบูรณาการเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ กระบวนการทางศิลปะเปิดกว้างทางความคิดและจินตนาการ ทำให้สิ่งที่จับต้องไม่ได้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และเชื่อมโยงคุณค่าจากอดีตสู่ปัจจุบัน กิจกรรมประเภทนี้เหมาะสมกับผู้เรียนรู้ทุกช่วงวัย จึงมีศักยภาพสูงมากที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในโอกาสอื่นๆ                ความต่อเนื่องของการดำเนินการคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยสามารถทดสอบกระบวนการและเครื่องมือเพื่อการถ่ายทอดความรู้ที่เลือกใช้นี้ รวมถึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นระหว่างผู้วิจัยและผู้ถือครองภูมิปัญญาว่ามีพันธกิจและเป้าหมายเดียวกัน ความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้มีผลต่อการสร้างความร่วมมือระยะยาว                เครือข่ายความร่วมมือคือปัจจัยที่ทำให้ผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการวิจัยนี้บรรลุวัตถุประสงค์ในระดับที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โครงการวิจัยได้รับความร่วมมือจากทีมอาจารย์คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมถึงได้รับความร่วมมือจากศิลปินผู้ทรงเกียรติหลายท่าน ความสำเร็จดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากความร่วมมือของพันธมิตรดังกล่าวนี้                ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จคือการบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนานักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะดิจิทัลอาร์ต ทำให้กิจกรรมได้รับความร่วมมือ อำนวยการ และสนับสนุนในมิติต่างๆ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการวิจัยไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่ผลงานวิจัยของอาจารย์ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย แต่ยังส่งผลกระทบทางบวกโดยตรงต่อนักเรียนและนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

แนวทางการพัฒนาพื้นที่และออกแบบสถาปัตยกรรมในพื้นที่คานเรือศรีเจริญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิต Read More »

โครงการบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อจัดทำโครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขงจังหวัดมุกดาหาร

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR ไม่ระบุ โครงการบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อจัดทำโครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหาร และพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขงจังหวัดมุกดาหาร ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤตพร ลาภพิมล อ.มัลลิกา จงศิริ อ.รังสิต เจียมปัญญา ดร.ปาริษา มูสิกะคามะ และ ดร.ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ นักศึกษา นางสาวปุณยวีร์ วงศ์สระหลวง นางสาวณิรินทร์ญา ชัยนิติรัศมิ์ นางสาวศศิเมศวร์ แน่นอุดร นางสาวณัฐวดี นิลลออ นาย ชวลิต ตระหง่านกุลชัย นายชนกันต์ พลเคน นายปิยะ สาทตพันธ์ นางสาวชาคริยา ภัทรมนัสกุล และนางสาวชัญญา ลือชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในปีการศึกษา 2567 ทางสํานักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดมุกดาหาร มีแผนจัดทําโครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง จึงได้ขอความร่วมมือทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ศึกษาและออกแบบพื้นที่ในบริเวณเมืองเก่าและพื้นที่ริมแม่น้ําโขง ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ทางด้านวิชาการและวิชาชีพจึงนํา โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการบริการวิชาการแบบให้เปล่าและบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชา ARC 423 หัวข้อพิเศษเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม (Special Topics for Architectural Design)          โครงการนี้เป็นการพัฒนาพื้นที่เมืองของจังหวัดมุกดาหารเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาเมืองระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมกับภาคเครือข่ายอื่นๆ และประชาชนในพื้นที่ในการเล่าเรื่องราววิถีชุมชนและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย(Workshop and Focus Group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนและถอดผลออกมาเป็นผังกายภาพการพัฒนาพื้นที่เมืองมุกดาหาร ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การออกแบบชุมชนเมืองและสถาปัตยกรรม (Urban Design and Architecture) ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)อื่น ๆ (ระบุ) กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ประสบการณ์ปัญหาความต้องและข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่เมืองร่วมกัน วิธีการดำเนินการ           ทีมอาจารย์และนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ลงพื้นที่สํารวจชุมชนเมืองมุกดาหาร รวมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย (Workshop and Focus Group) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “มองเมืองมุกดาหารสู่เมืองชาญฉลาด อยู่อาศัยดี มีอัตลักษณ์ (Mukdahan Smart Livable &Environment City)” ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังข้อมูลความคิดเห็นผ่านประสบการณ์ ปัญหาความต้องการ และข้อเสนอแนะต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดทําผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง เป็นระยะเวลา 5 วัน (วันที่ 1-5กรกฎาคม 2567)          เมื่อได้ศึกษาข้อมูลทางปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทางทุติยภูมิ(Secondary Data) แล้ว ทางอาจารย์และนักศึกษาได้นําข้อมูลทั้งหมดมาสรุปวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกันด้วยกระบวนการออกแบบเมืองเพื่อให้ได้แนวคิดการพัฒนาเมืองที่สอดคล้องกับเมืองมุกดาหารและนําไปสู่การจัดทําผังพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพโดยสะท้อนออกมาเป็นโครงการนําร่องต่างๆ ตามความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดําเนินการ การนําไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทํางาน           การบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อจัดทําโครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่า มุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง จังหวัดมุกดาหาร เป็นการพัฒนาพื้นที่เมืองให้กับหน่วยงานระดับจังหวัด โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ในโครงการนี้นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทํางานตั้งแต่ต้นจนจบ คือ การวางแผนเดินทางและสํารวจพื้นที่ การเตรียมประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย การลงพื้นที่สํารวจเมืองย่านและชุมชน การสัมภาษณ์บุคคลและตัวแทนหน่วยงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย รวมทั้งการสรุปผลวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลจนได้แนวคิดและแนวทางการวางผังออกแบบพัฒนาพื้นที่ พร้อมทั้งได้เข้าร่วมนําเสนองานต่อรองผู้ว่าราชการและตัวแทนหน่วยงานจังหวัดมุกดาหาร การบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนนี้ นักศึกษาได้ใช้องค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมืองมาพัฒนาในพื้นที่จริง ได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์ ความต้องการของผู้คนในสถานภาพระดับต่างๆ ฝึกฝนทักษะการสื่อสารเพื่อพูดคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้พบปัญหาอุปสรรคทั้งเชิงระบบและโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองซึ่งเป็นข้อจํากัดเชิงนโยบาย ในฐานะนักออกแบบสามารถนําทักษะองค์ความรู้ไปช่วยแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ได้ด้วยการออกแบบอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เมืองมุกดาหารน่าอยู่น่าอาศัยและน่าท่องเที่ยว เมื่อเมืองมีศักยภาพทางกายภาพที่ดีแล้วย่อมส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจสังคมและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมา  รูปภาพที่ 1 กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย (Workshop and Focus Group) วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 รูปภาพที่ 2 การลงสำรวจพื้นที่เมืองมุกดาหารและสรุปผลการประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางการวางผังและออกแบบ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           จากผลการดําเนินงานนี้ได้เกิดผลลัพธ์การพัฒนาพื้นที่คือ โครงการนําร่องซึ่งเป็นแนวคิดและแนวทางการออกแบบวางผังพัฒนาพื้นที่ให้กับเมืองมุกดาหาร โดยโครงการนําร่องนี้เป็นโครงการที่ได้มาจากการถอดประสบการณ์ ปัญหาความต้องการจากทุกภาคส่วนร่วมกันในการประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย มาบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมืองพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการใช้งานในมิติต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมืองที่ช่วยให้ภาครัฐขับเคลื่อนนําไปจัดทําแผนพัฒนาระดับจังหวัดและท้องถิ่นต่อไป          นอกจากผลลัพธ์การพัฒนาพื้นที่แล้ว ในด้านวิชาการและวิชาชีพนักศึกษายังได้ใช้องค์ความรู้และทักษะทางการออกแบบมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่จริงซึ่งเป็นโจทย์การศึกษาและออกแบบ เป็นประเด็นความท้าท้ายที่ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์และสรุปผลการออกแบบที่ไม่เน้นเพียงความสวยงามเท่านั้นแต่ต้องออกแบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้คนในเมืองได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการถอดบทเรียนด้วยเครื่องมือ คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และกลุ่มย่อยเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ชุดประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ทั้งระดับปัจเจกบุคคล และกลุ่ม ได้แก่ ปัญหาความต้องการ ความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่างๆ ถอดออกมาเป็นบทเรียน (Explicit Knowledge) ได้แก่ แนวคิดและแนวทางออกแบบพัฒนาพื้นที่ และสรุปผลออกมาเป็นชุดความรู้ใหม่ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ โครงการนําร่องพัฒนาพื้นที่ต่างๆ เป็นการเชื่อมโยงต่อยอดชุดความรู้ของคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ รูปภาพที่ 3 แนวทางการพัฒนาจัดทำผังแนวคิดพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง ซึ่งได้มาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นและกลุ่มย่อย รูปภาพที่ 4 โครงการนำร่อง – การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก รูปภาพที่ 5 โครงการนำร่อง – การปรับปรุงศูนย์การท่องเที่ยวและศูนย์ OTOP เมืองมุกดาหาร รูปภาพที่ 6 โครงการนำร่อง – การปรับปรุงภูมิทัศน์และพื้นที่ริมแม่น้ำโขงเพื่อเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมและพื้นที่สาธารณะของเมือง รูปภาพที่ 7 โครงการนำร่อง – การปรับปรุงถนนคนเดินและทางเดินเท้าเพื่อเชื่อมต่อกิจกรรมและการใช้งานในชีวิตประจำวัน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ปัจจัยสําคัญสู่ความสําเร็จในการบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อจัดทําโครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง จังหวัดมุกดาหาร เกิดจากความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ซึ่ง เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลัก ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองมุกดาหารไปสู่เมืองชาญฉลาด อยู่อาศัยดี มีอัตลักษณ์ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นของชาวเมืองซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยและเจ้าของพื้นที่ เป็น การรับฟังข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจาก Bottom-up ขึ้นมาซึ่งจะสะท้อนปัญหาและความต้องการของชาวเมืองมุกดาหารอย่างแท้จริงไปสู่ภาครัฐซึ่งเป็นผู้จัดทําแผนและนโยบายในระดับ Top-down ในฐานะสถาบันการศึกษาซึ่งเป็นตัวกลางเชื่อมประสานให้เกิดกิจกรรมครั้งนี้ได้ประสานติดตามเพื่อผลักดันให้โครงการนํา ร่องบรรจุลงในแผนพัฒนาจังหวัดซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทํางานพัฒนาจังหวัดปี2570 ของทางฝ่ายแผนและ นโยบายจังหวัดมุกดาหารเพื่อจัดตั้งงบประมาณอันเป็นกลไกของภาครัฐในการนําแผนแปลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือด้านต่างๆ เพื่อ ช่วยขับเคลื่อนให้โครงการเกิดผลสําเร็จต่อไป รูปภาพที่ 8 ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนพัฒนาเมืองมุกดาหาร

โครงการบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อจัดทำโครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขงจังหวัดมุกดาหาร Read More »

Scroll to Top