รางวัลชมเชย

การเรียนรู้โดยนักศึกษามีส่วนร่วมผ่านการใช้ทักษะต่างๆ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 การเรียนรู้โดยนักศึกษามีส่วนร่วมผ่านการใช้ทักษะต่างๆ (Active Learning) ในรายวิชาทฤษฎีอาชญาวิทยา ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.พรรษพร สุวรรณากาศ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต อาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ได้สนับสนุนให้คณาจารย์วางแผนการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยในแต่ละรายวิชาต้องออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเอง แสดงศักยภาพ พัฒนาทักษะในชั้นเรียนได้อย่างสูงสุดโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในเนื้อหาสู่การเรียนรู้ที่แท้จริง ในรายวิชา CJA202 ทฤษฎีอาชญาวิทยา มีเนื้อหาครอบคลุมศาสตร์ทางอาชญาวิทยา พัฒนาการของทฤษฎี และความรู้ในเชิงสหวิทยาต่อการอธิบายปรากฏการณ์อาชญากรรมผ่านแนวคิด และทฤษฎีทางด้านอาชญาวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์รายวิชาคือ เพื่อให้เข้าใจฐานคติและแนวคิดที่เป็นต้นกำเนิดของศาสตร์ทางอาชญาวิทยา พัฒนาการของทฤษฎี ความรู้ในเชิงสหวิทยาของหลักการทางอาชญาวิทยาและธรรมชาติของสังคมกับอาชญากรรม เพื่อให้สามารถอธิบายปรากฏการณ์อาชญากรรมด้วยแนวคิดและทฤษฎีทางด้านอาชญาวิทยาได้ เพื่อให้เข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบอาชญากรรมที่น่าสนใจ อนึ่ง ประเด็นสำคัญที่ท้าทายการเรียนการสอนคือประเด็นการทำความเข้าใจทฤษฎีอาชญาวิทยาที่มีจำนวนมากหลากหลายทฤษฎี ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายทั้งในมิติผู้บรรยายต่อการถ่ายถอดบทเรียนสู่มิติของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อการทำความเข้าใจในแต่ละแนวคิดในการอธิบายสาเหตุประกอบอาชญากรรม การวางแผนการจัดการเรียนการสอนจึงมีกระบวนการที่ให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในแต่ละกิจกรรม ควบคู่ไปกับการวัดผลความรู้ที่ได้จากรายวิชา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้                    นอกเหนือจากการบรรยายเชิงทฤษฎี ยังมีการดำเนินการเรียนการสอนโดยกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม แบบการระดมสมอง (Brainstorming) แบบเน้นปัญหา/โครงงาน/กรณีศึกษา (Problem/Project-based Learning/Case Study) แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การศึกษา และการพัฒนาการเรียนรู้ในปัจจุบัน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University   (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase) เจ้าของความรู้/สังกัด   คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม          ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด ดร.พรรษพร สุวรรณากาศ วิธีการดำเนินการ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องดำเนินด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยอาจารย์ผู้สอนมีการวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้ กำหนดเนื้อหาที่ต้องเรียนในศาสตร์ทางด้านอาชญาวิทยา ทฤษฎีอาชญาวิทยาผ่านการบรรยายความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการอธิบายสาเหตุอาชญากรรม กำหนดเครื่องมือการวัดความรู้ ประกอบด้วย การออกแบบเนื้อหาการทดสอบความรู้ ประเมินผ่านการทดสอบย่อยโดยผู้สอน Pre Test, Post Test, Final Exam สอดแทรกแต่ละกิจกรรมในแต่ละช่วงของกลุ่มแนวคิดทางด้านอาชญาวิทยา ประกอบด้วย การระดมสมอง การเรียนรู้ด้วยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Play) วางแผนกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ – การเรียนรู้ผ่าน Case Study รวมถึงการค้นหาความรู้เพิ่มเติม สามารถค้นคว้าข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปัญหาในเชิงลึก และถ่ายทอดความรู้เป็นชิ้นงานการศึกษาได้อย่างสร้างสรรค์ ทักษะสารสนเทศ – มุ่งให้นักศึกษาอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตสื่อเพื่ออธิบายทฤษฎีอาชญาวิทยาได้อย่างสร้างสรรค์ ทักษะในการสื่อสาร – เข้าใจถึงการสื่อสารภายในกลุ่มในชั้นเรียน เรียนรู้ทักษะการสื่อสารกับกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม หรือผู้กระทำผิด ทักษะชีวิต – เรียนรู้ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม การสังเกตการเรียนรู้ การแสดงศักยภาพของนักศึกษาในแต่ละกิจกรรมในห้องเรียน เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ในอนาคต 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                จากการวางแผนการเรียนการสอนสู่การลงปฏิบัติ โดยในปีการศึกษา 2566 ได้มีนักศึกษาจำนวนทั้งหมด 98 คนในรายวิชาทฤษฎีอาชญาวิทยา อนึ่ง ในรายวิชาได้มีการดำเนินการบรรยายทฤษฎีอาชญาวิทยาประกอบการสอดแทรกกิจกรรม ผ่านกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น และมีผลการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ กิจกรรม กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น 1. การแสดงบทบาทสมมุตินักอาชญาวิทยาและผู้กระทำผิด การเรียนรู้ด้วยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Play) จากกรณีศึกษาที่หลากหลาย เรียนรู้ทฤษฎีเทคเนคการโยนความผิด และการสื่อสารกับผู้กระทำผิด พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสาร 2. การวิเคราะห์คดีดัง อาทิ ‘กราดยิงพารากอน’ ‘กำนันนก’ การเรียนรู้ แบบ Case Study ที่หลากหลายการวิเคราะห์สาเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ผลกระทบจากสถานการณ์ แนวทางป้องกันอาชญากรรม วิพากษ์ระบบงานยุติธรรมทางอาญา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในการวิเคราะห์ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล ค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยตนเอง 3. การระดมสมองในประเด็นปัญหาสังคมและอาชญากรรม การเรียนรู้โดยระดมสมอง อภิปรายภายในกลุ่ม ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาสังคมสู่การประกอบอาชญากรรม ในบทเรียนกลุ่มทฤษฎีโครงสร้างทางสังคมต่อการกระทำผิด ทักษะการเรียนรู้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ทักษะการสื่อสาร ต่อการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 4. Project Based นำเสนอชิ้นงานประยุกต์ใช้ทฤษฎีอาชญาวิทยาแต่การถ่ายทอดผ่านสื่อ การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ให้นักศึกษาผลิตผลงานสื่อสร้างสรรค์โดยไม่จำกัดแนวทางในการนำเสนอ ภายใน 15 นาที เพื่อประยุกต์ทฤษฎีที่เรียนสู่การถ่ายทอดรูปธรรม โดยมีข้อตกลงการดำเนินงานดังนี้ 1. จับกลุ่ม 8-10 คน 2. ส่งรายชื่อสมาชิกภายในสัปดาห์ที่ 2 ของการเรียน 3. ลักษณะการนำเสนอเนื้อหาได้อย่างสร้างสรรค์ โดยต้องมีการสอดแทรกการอธิบายทฤษฎีอาชญาวิทยา เช่น การแสดงสถานการณ์จำลอง นักศึกษาจำลองบทบาทคดีอาชญากรรม และมีการอธิภายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นๆ ท้ายคลิป หรือสอดแทรกระหว่างคลิปตามความเหมาะสม 4. ส่ง Plot เรื่อง และเลือกทฤษฎีที่ใช้อธิบายก่อนดำเนินการ เพื่อให้อาจารย์พิจารณาให้คำแนะนำก่อนสัปดาห์ที่ 9 ของการเรียน 5. ไม่ต้องจัดทำรูปเล่ม โดยส่งไฟล์ผลงานก่อนวันนำเสนอ อย่างน้อย 1 วันเข้าอีเมล phatsaporn.s@rsu.ac.th ทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ทักษะชีวิตในการทำงานเป็นทีม ทักษะสารสนเทศต่อการเผยแพร่ความรู้ 5. การวัดความรู้ Pre-Test, Post-Test และการสอบปลายภาค การออกแบบ Quiz และ Final Exam ทักษะการเรียนรู้ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่                    อาจารย์ได้มีการชี้แจงสัดส่วนของการประเมินผลตั้งแต่สัปดาห์แรกในชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษารับทราบข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน การประเมินผลการเรียนรู้ สัดส่วนของการประเมินผล 1.       สอบปลายภาค 30% 2.       การเข้าชั้นเรียน QUIZ และการมอบหมายงาน รวมถึงการอภิปรายปัญหาอาชญากรรมในชั้นเรียน 30% 3.       Project งานกลุ่ม 40%                    ทั้งนี้จากกิจกรรมต่างๆ ได้มีการตรวจสอบผลการดำเนินการดังนี้ การแสดงบทบาทสมมุตินักอาชญาวิทยาและผู้กระทำผิด – จากการแนะนำความรู้โดยอาจารย์ผู้สอน สู่การให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง โดยให้สลับกันเป็นอาชญากร และนักอาชญาวิทยา ทั้งนี้ การสังเกตพบว่านักศึกษามีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมาก มีการใช้ความรู้ที่เรียนมาเท่าทันเทคนิคการโยนความผิด และเข้าใจถึงการสื่อสารกับผู้กระทำผิดโดยไม่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน และสามารถถ่ายทอดสรุปผลการศึกษาการวิเคราะห์ผู้กระทำผิดได้อย่างสอดคล้องทฤษฎีอาชญาวิทยา การวิเคราะห์คดีดัง อาทิ ‘กราดยิงพารากอน’ ‘กำนันนก’ – จากการประเมินการนำเสนอพบว่า นักศึกษามีการนำทฤษฎีทางด้านอาชญาวิทยาเข้ามาวิเคราะห์ และมีการนำเสนอแนวทางป้องกันแก้ไขตามหลักวิชาการถูกต้องและทันสมัย การระดมสมองในประเด็นปัญหาสังคมและอาชญากรรม – จากกระประเมินโดยการสังเกตแต่ละกลุ่มในช่วงอภิปราย โดยอาจารย์เป็นผู้ฟังการนำเสนอความคิดเห็นนักศึกษาภายในกลุ่มแต่ละกลุ่ม หลังจากนั้นจึงเป็นการนำเสนอหน้าชั้นเรียน พบว่านักศึกษามีความสนใจ มีความกล้าแสดงออกที่จะแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการต่อปัญหาสังคม มีความเข้าใจปัจจัยทางสภาพแวดล้อมต่อการประกอบอาชญากรรม Project Based นำเสนอชิ้นงานประยุกต์ใช้ทฤษฎีอาชญาวิทยาแต่การถ่ายทอดผ่านสื่อ – จากการประเมินผลงานของนักศึกษาพบว่า สื่อที่นักศึกษาผลิตและนำเสนอมีความทันสมัยน่าสนใจอย่างสร้างสรรค์ และนักศึกษามีผลงานการนำเสนอหรือชิ้นงานที่มีลักษณะไม่ซ้ำกันในแต่ละกลุ่ม อาทิ การนำเสนอผ่าน webtoon การใช้บทบาทสมมุติในการนำเสนอ นำเสนอโดยผลิตเป็น Animation พบว่านักศึกษาดำเนินการเป็นอย่างดี มีการร่วมปรึกษากับอาจารย์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้อาจารย์ได้แนะนำความเห็น ความถูกต้องตามหลักวิชาการ การวัดความรู้ Pre-Test, Post-Test และการสอบปลายภาค – จากการทดสอบ Pretest และ Post-test ผ่านพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนน Post-test เพิ่มขึ้น และจากการสอบปลายภาคพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่สามารถจำและเขียนอธิบายทฤษฎีอาชญาวิทยาได้ อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้เขียนบรรยายบทวิเคราะห์คดีในข้อสอบ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อาจมีการผลักดันให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มทฤษฎีอาชญาวิทยา โดยอาจเป็นกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น นักศึกษาให้ความสนใจ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เป็นฝ่ายนำเสนอความคิดเห็นในบทเรียน และวิธีการจัดการเรียนรู้มากขึ้น           อนึ่งในแต่ละสัปดาห์ท้ายคาบเรียน อาจารย์ผู้สอนจะเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาหารือเนื้อหาทฤษฎีทุกครั้งเพื่อผลิตผลงานการนำเสนอชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ พบว่าแนวทางดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักศึกษาจะมีความกล้าแสดงออกที่จะปรึกษาหารือเนื้อหาความรู้มากขึ้น โดยมีนักศึกษาร่วมปรึกษาอย่างต่อเนื่องในแต่ละสัปดาห์การเรียน                    และระหว่างการเรียนทั้งภาคการศึกษา นักศึกษาสามารถปรึกษาหารืออาจารย์ที่ปรึกษาผ่าน Line Group หรือ Line อาจารย์ผู้สอนได้โดยตรง โดยอาจารย์จะมีการส่งข้อมูล สถานการณ์อาชญากรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ผลงานนักศึกษาส่วนหนึ่งจาก Project Based นำเสนอชิ้นงานประยุกต์ใช้ทฤษฎีอาชญาวิทยาแต่การถ่ายทอดผ่านสื่อ https://drive.google.com/drive/folders/1oq4rl9xMwvzKYjy2tzxVSrRg4mEWeMgu https://youtu.be/Jat4fL3s3Ig?si=UcU0sjCEFh5iwOh7 https://youtu.be/WbmnlgAt7Dk?si=MfNsNHyepEHvhtNy https://www.youtube.com/watch?v=Y3OkXjkeiIs ภาพบรรยากาศในชั้นเรียนและกิจกรรมการจำลองบทบาทสมมุติ

การเรียนการสอนเรื่องสวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง จากชีววิทยาองค์รวม

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 การเรียนการสอน เรื่อง สวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง … จากชีววิทยาองค์รวม ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้วางโครงการ ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ ผู้ให้ความรู้ ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม คณะวิทยาศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การจัดการเรียนสอนรายวิชาต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักที่งมุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความสามารถ(ability to do)ในด้านใดด้านหนึ่ง จนเกิดเป็นสมรรถนะทางการศึกษาด้านต่างๆ ซึ่งแตกต่างไปตามแต่ละเนื้อหา ทั้งด้านความรู้(cognitive domain) ด้านทักษะ (psychomotor domain) และด้านเจตคติ(affective domain)ในระดับต่างๆ การบูรณาการองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า จนนำไปสู่การประยุกต์ใช้ปฎิบัติในสถานการณ์จริง เป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถ (ability to do)ในด้านใดด้านหนึ่งจนเกิดเป็นสมรรถนะด้านต่างๆขึ้นในตัวผู้เรียน           จากแนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมโครงงาน (วิชา BIO131/ 132) เรื่อง “สวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง…จากชีววิทยาองค์รวม” ซึ่งเป็นสถานการณ์การเรียนรู้ที่กำหนดให้นักศึกษาได้บูรณาการองค์ความรู้ทางชีววิทยา เพื่อสรรค์สร้างงานศิลป์….เป็นสวนกระถางจากขยะเมล็ดผลไม้” ควบคู่ไปกับการ ฝึกทักษะการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดผลไม้ การเพาะเมล็ด การรดน้ำ ดูแลต้นกล้า รวมถึงฝึกทักษะการนำเสนอ การบันทึกภาพทางวิชาการ การใช้ application ต่างๆ ได้แก่ Line application ในการปรึกษาหารืออาจารย์ผู้สอน ทักษะการใช้ Padlet application สำหรับการรายงานความก้าวหน้าของโครงงาน ทักษะทำงานแบบบูรณาการภายใต้การแนะนำจากผู้สอนอย่างใกล้ชิดและมีความสุขแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาร่วมกัน สร้างเสริมคุณธรรมด้านความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ ได้แก่ การตรงต่อเวลา ขยัน อดทน รักษาสัจจะ และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนอีกด้วยประโยชน์ที่คาดว่าผู้เรียนจะได้รับจากกิจกรรมในโครงการนี้ นอกจากการการได้ฝึกทักษะการบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติจริงแล้ว ยังเป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้ความรู้ทางชีววิทยาเพื่อลดของเสียหรือของเหลือทิ้ง(เมล็ดผลไม้เหลือทิ้งจากการบริโภค) เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่กำหนดให้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG1) Economy) เป็นวาระแห่งชาติ โดยโครงงานนี้เป็นกิจกรรมตัวอย่างที่นักศึกษาสามารถทำได้จริง โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทำแล้วมีความสุข และผลผลิตที่ได้มาสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อการค้าได้อีกด้วย ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ • องค์ความรู้ทางชีววิทยา (อาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การแบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ)• L.E. (Learning Experience): นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้• การวางโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาสู่ชุมชน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase) – ผลงานเรื่อง ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม (L.E.: Learning Experience) เรื่อง สารอันตรายในน้ำมันทอดซ้ำ: ชุมชนวัดรังสิต(ภายใต้โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ประจำปี 2563) – ผลงานเรื่อง “โครงการจัดอบรม ปลูกผักกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม” – ผลงานเรื่อง “โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน” เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ (องค์ความรู้ เรื่อง L.E. (Learning Experience) นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้• แบบรายงานผลการจัดการความรู้ ปี การศึกษา 2563 :(https://lc.rsu.ac.th/km/files/form/form_10_2021_04_20_125535.pdf)• Clip: https://www.youtube.com/watch?v=E63-ar_lLs4 อื่น ๆ (โปรดระบุ) : E book ไม้ประดับจากขยะเมล็ดผลไม้(โดย ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม & ลาวัณย์ วิจารณ์) เป็นองค์ความรู้ที่ได้จาก การบริการวิชาการ โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ปี 2565 (รหัส โครงการ 650437 : Ornamental Gardening For Life (สรรสร้างพันธุ์พืชเป็นไม้ประดับ) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด : คณะวิทยาศาสตร์• ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม /สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ทางชีววิทยา (อาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การ แบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ• ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ /สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ : องค์ความรู้ 1_ L.E. (Learning Experience) นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ : องค์ความรู้ 2_ การวางโครงการบริการวิชาสู่ชุมชน อื่น ๆ (ระบุ) สมรรถนะ (Competency) ด้านการใช้ Padlet application ในการบริหารจัดการและการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ วิธีการดำเนินการ 1. แบ่งนักศึกษาออกเป็น 24 กลุ่มๆละ 3-4 คน2. กำหนดให้แต่ละกลุ่ม บูรณาการความรู้ทางชีววิทยา (อาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การแบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ) เป็นหลักในการเพาะเมล็ดผลไม้ เพื่อสรรค์สร้างงานศิลป์ เป็นสวนผลไม้กระถางขนาดเล็ก3. กำหนดระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 6 สัปดาห์ (ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.-13 มี.ค. 2567)4. มอบหมายแต่ละกลุ่มประชุม/ปรึกษาหา/ ร่วมกันคัดเลือกชนิดผลไม้ /เลือกซื้อ/รับประทานผลไม้และนำขยะเมล็ดผลไม้ใช้เป็นเมล็ดสำหรับเพาะต้นกล้า/เลือกซื้อวัสดุปลูก /ทำการเพาะเมล็ด/ดูแล/ออกแบบสรรคสร้างสวนกระถางเม,ดผลไม้เหลือทิ้งที่สวยงาม/ช่วยกันตกแต่งสวนกระถาง/รายงานผลดำเนินงานทุกขั้นตอน ผ่าน Padlet application (รายละเอียดการดำเนิน เอกสารแนบ ตัวอย่าง ผลงานของนักศึกษาทั้งหมด 92 คน (24 กลุ่ม โครงงาน)5. การดำเนินกิจกรรมของทุกกลุ่ม อยู่ภายในคำแนะนำอย่างใกล้ของปรึกษาอาจารย์ทั้ง onsite และ online (line application)6. ประเมินผลงานโดยคณาจารย์ และมอบรางวัลผลงานดีเด่น (onsite) 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ตัวอย่าง ผลงานของนักศึกษาทั้งหมด 92 คน (24 กลุ่ม โครงงาน)รายละเอียดศึกษาได้จาก ไฟล์ลิงค์ด้านล่าง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ การประเมินผลโครงการแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้1. ด้านการนำองค์ความรู้ทางชีววิทยามาประยุกต์ใช้ในการทำสวนกระถาง พบว่า กลุ่มโครงงานทั้ง 24 กลุ่ม สามารถนำองค์ความรู้ทางชีววิทยามาประยุกต์ใช้ในการเพาะกล้าผลไม้ และสามารถทำสวนไม้กระถาง ได้ตามวัตถุประสงค์การสอน ที่ได้กำหนดไว้2. ด้านความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการทำโครงงาน พบว่า• ร้อยละ 99 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับอาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การแบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสงมากขึ้น• ร้อยละ 96 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การนำเมล็ดผลไม้เหลือทิ้งจากการรับประทานผลไม้นานาชนิด ช่วยลดขยะจากการรับประทานผลไม้ได้• ร้อยละ 96 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า โครงการเพาะเมล็ดผลไม้เพื่อทำเป็นสวนไม้กระถางขนาดเล็กสามารถทำเป็นอาชีพได้ • ร้อยละ 99 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า โครงการนี้ทำให้สามารถนำองค์รู้ความรู้ทางชีววิทยามาปรับใช้ก่อทำให้เกิดงานศิลปะที่สามารถทำเป็นอาชีพได้• ร้อยละ 99 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า โครงการนี้ทำให้สามารถนำองค์รู้ความรู้ทางชีววิทยามาปรับใช้เพื่อลดปัญหาขยะเมล็ดผลไม้เหลือทิ้งจากการรับประทานได้           หลังจากครบกำหนดการส่งผลงาน ได้จัดกิจกรรมให้นักศึกษาสะท้อนความรู้สึก (refection) เกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมในโครงการนี้ 9 ประเด็น คือ ทำโครงงานนี้สนุก มีความสุข /ตื่นเต้นมากๆ เมื่อเห็นต้นไม้เติบโต /ตื่นเต้นมากๆเมื่อเห็นต้นไม้ของเราไม่งอกสักที /การนำองค์ความรู้ทางชีววิทยาไปสร้างสรรค์งานศิลปะได้/การนำองค์ความรู้ทางชีววิทยาสามารถขยะเมล็ดผลไม้ลดปัญหาโลกร้อนได้/เราควรนำขยะเมล็ดผลไม้ทำ มาทำเป็นสวนไม้กระถาง ตกแต่งไว้ที่บ้าน/เราควรฝึกผีมือนำขยะเมล็ดผลไม้ทำสวนไม้กระถาง เอาไว้ขายในอนาคต /เราควรฝึกฝีมือนำขยะเมล็ดผลไม้ทำสวนไม้กระถาง เพื่อให้เป็นของขวัญกับคนที่เรารัก/ควรจัดการเรียนการสอนแบบนี้อีก          โดยสอบถามความคิดเห็นว่า มีความคิดเห็นในระดับใด (เห็นด้วยอย่างยิ่ง/เห็นด้วย/ไม่แน่ใจ/ ไม่เห็นด้วย /ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ) กับข้อความทั้ง 9 ประเด็นข้างต้น ผลการสะท้อนความรู้สึก พบว่า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 นักศึกษาเห็นด้วยอย่างยิ่งและเห็นด้วย ในทุกประเด็น รายละเอียดความคิดเห็นของนักศึกษา ดังนี้           จะเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมในโครงการนี้ นอกจากสามารถกระตุ้นให้นักศึกษา ได้มีประสบการณ์ในการบูรณาการความรู้ทางชีววิทยา มาประยุกต์ใช้เพื่อสรรค์สร้างงานศิลป์ที่สวยงามแล้ว ยังทำให้นักศึกษามีความเข้าใจถึงองค์ความรู้เหล่านั้นอย่างชัดเจน สนุก ตื่นเต้นเร้าใจ และมีความสุข และที่สำคัญที่สุดคือ นักศึกษาทุกกลุ่มร่วมแรงร่วมใจ ทั้งขยัน อดทน มีวินัย ตรงต่อเวลาในการส่งผลงานที่ใช้เวลายาวนานถึง 6 สัปดาห์ และเมื่อมีปัญหาก็ร่วมกันแก้ไขจนทำให้ทุกกลุ่มสามารถผลิตผลงานสวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้งได้สำเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์การศึกษาครบทั้ง 3 ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านเจตคติ 3.รับผิดชอบด้านความในการทำโครงงาน พบว่า นักศึกษาทุกกลุ่ม มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ รายละเอียดพิจารณาจากการส่งผลงานทุกขั้นตอนผ่าน Padlet และขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา ทั้ง Onsite และผ่าน line application ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ (Learning Experience Model: L.E. Model) โดยใช้ผลการเรียนรู้จากโครงงานนี้ (ผลการเรียนรู้ในเรื่อง การเรียนการสอน เรื่อง สวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง…จากชีววิทยาองค์รวม” เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และต่อยอดทำวิจัย R&D เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ Model ดังกล่าว โดยใช้กระบวนการ induction approach ซ้ำๆในหลากหลาย case ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยดังกล่าว หากประสบความสำเร็จ จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถพิสูจน์ทดสอบโดยใช้กระบวนการ duction approach ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็น Good Practice ได้ในท้ายที่สุด          ในทางกลับกัน หากผลจากวิจัยดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะกลายเป็นโจทย์วิจัยชุดใหม่ที่รอการท้าทายให้นักวิจัยต้องคิดค้นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อสร้างและพัฒนาเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ และทำการพิสูจน์ทดสอบโดยใช้กระบวนการวิจัย R&D ทางการศึกษา ทั้งกระบวนการ induction approach และ duction approach ทำต่อเนื่องกันไปอย่างไม่จบสิ้น วิธีการดังกล่าวนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เกิด นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เป็น Good Practice ได้ในท้ายที่สุด ซึ่งในครั้งนี้ผู้สอนและผู้วางโครงการได้ดำเนินการจัดวิจัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การวิจัย R&D ในลำดับต่อไปในเวลาที่เหมาะสม

การทำ Design pitch ในการปฏิบัติวิชาชีพออกแบบภายใน

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 การทำ Design pitch ในการปฏิบัติวิชาชีพ ออกแบบภายใน ผู้จัดทำโครงการ​ อ.วริศว์ สินสืบผล และ อ.ถวัลย์ วงษ์สวรรค์ วิทยาลัยการออกแบบ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การนำองค์ความรู้เฉพาะทางจากวิชาแกนที่นักศึกษาได้เรียนมาใน 3 ชั้นปี นำมามาประยุกต์ใช้กับงานจากโจทย์ของผู้ประกอบการจริง โดยนักศึกษาจะได้เห็นถึงประเด็นต่างๆในการปฏิบัติวิชาชีพ และผลลัพธ์รวมไปถึงข้อคิดเห็นต่างๆที่สะท้อนจากตัวแทนองค์กรเจ้าของกิจการ หรือกลุ่มลูกค้าในอนาคต เพื่อนำไปปรับใช้ พิจารณา และพัฒนาระดับการเรียนรู้ของตนเอง และเตรียมความพร้อมสู่การสำเร็จการศึกษาและออกไปปฏิบัติวิชาชีพในอนาคต ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การนำความรู้แบบแยกส่วนระหว่างที่เรียนมา 3 ชั้นปีมาบูรณาการกันเพื่อจำลองการประกอบวิชาชีพ โดยในรายละเอียดคือการนำองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบ ความงาม การใช้งาน และการนำเสนอแนวความคิดเพื่อสร้างสรรค์เรื่องราวเพื่อเพิ่มมูลค่าในงานออกแบบ มาบูรณาการกับการสื่อสารโดยการทำภาพนำเสนอผลงาน (3D visualization for presentation) และ การพูดนำเสนอต่อหน้ากรรมการที่มาจากองค์กรผู้ประกอบการจริง รวมไปถึงการทำงานด้าน technical ในทางวิชาชีพโดยการทำแบบก่อสร้าง และการประมาณราคาเพื่อนำเสนองบประมาณของการก่อสร้างในแบบที่นักศึกษานำเสนอ ผ่านรายวิชา Professional practice หรือ วิชาการประกอบธุรกิจการออกแบบตกแต่งภายใน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้ในทางวิชาชีพที่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียน และความรู้ในเชิงปฏิบัติการจากเจ้าของโครงการ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :  เจ้าของความรู้/สังกัด  สาขาออกแบบภายใน วิทยาลัยการออกแบบ และทีมงานส่วนงานสถาปัตยกรรม9+*4คาเฟ่อเมซอน บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีกจำกัด (มหาชน) วิธีการดำเนินการ วิธีการดำเนินการ เริ่มจากการนำรายวิชา COD 107 การประกอบธุรกิจการออกแบบ เป็นการเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพออกแบบภายใน โดยนำโครงการออกแบบจริง เข้ามาเป็นโจทย์ให้นักศึกษาในรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการทำงาน และ รับข้อคิดเห็น คำแนะนำในฐานะเจ้าของโครงการจริง โดยได้รับการอนุเคราะห์จากทางทีมงานส่วนงานสถาปัตยกรรม คาเฟ่อเมซอน บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามาให้โจทย์ โดยมีรายละเอียดวิธีการดำเนินการดังนี้ จัดนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม และทำการแบ่งงานกันโดยจำลองเป็นเหมือนสำนักงานออกแบบ เพื่อทำการประกวดแบบแข่งกัน โดยทางทีมเจ้าหน้าที่จากคาเฟ่อเมซอน จะเป็นผู้ให้คะแนนตัดสิน เป็นการจำลองเหมือนการประกวดแบบในวิชาชีพ ทางทีมงานเจ้าของโครงการ ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการร้านคาเฟ่อเมซอน เพื่อให้นักศึกษาเป็นข้อมูลในการออกแบบ และพาเยี่ยมชมการออกแบบ และการจัดการพื้นที่ร้านคาเฟ่อเมซอนเพื่อเป็นกรณีศึกษา นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูล ตามความรู้กระบวนการออกแบบที่เรียนมา เพื่อเริ่มกระบวนการออกแบบ โดยทางอาจารย์ประจำวิชาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและตรวจงานตามขั้นต้อนต่างๆเบื้องต้น นักศึกษานำผลงานที่พัฒนาสุดท้ายนำเสนอแก่กลุ่มทีมงานส่วนงานสถาปัตยกรรม คาเฟ่อเมซอน บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และรับฟังข้อคิดเห็นและข้อแนะนำต่างๆ จากทางเจ้าของโครงการ ณ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต กลุ่มนักศึกษาทำการพัฒนาแบบสุดท้าย เพื่อทำการเขียนแบบก่อสร้าง และ BOQ เพื่อดูงบประมาณการก่อสร้างตามขอบเขตของรายวิชา และนำส่งอาจารย์ประจำวิชาเพื่อการประเมิน และสรุปผลงาน 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ได้รับผลลัพธ์ในเชิงการวัดผลที่น่าสนใจ เพราะกระบวนการนี้ทำให้เหมือนเป็นการวัดผลให้เห็นคุณภาพ และ ศักยภาพของนักศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมในการทำงานจริง เป็นเหมือนการเช็ค Pre-PLO ก่อนที่นักศึกษาจะเรียนในชั้นปีสุดท้าย อุปสรรค : 1. เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ทำให้มีข้อกำหนดเรื่องระยะเวลา และการนัดหมาย 2. โครงการมีรายละเอียดการดำเนินการพอสมควร แต่บุคคลากรมีเพียงอาจารย์ประจำวิชาทำให้การดำเนินการอาจจะติดปัญหาบ้าง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ ตรวจสอบผลลัพธ์จากความคิดเห็นของทางเจ้าของโครงการที่มีต่อผลงานของนักศึกษา และผลลัพธ์ที่ชิ้นงานของนักศึกษา โดยแบ่งเป็นไฟล์งานออกแบบ presentation files และ งานเขียนแบบก่อสร้าง และ BOQ (การประมาณราคาการก่อสร้าง) ส่วนในด้านองค์ความรู้ที่ได้เพิ่มจากการดำเนินการคือ วิสัยทัศน์ ทัศนคติ และวิธีการตัดสินให้คะแนนจากองค์กรภายนอกต่อการประกวดแบบ โดยองค์ความรู้นี้จะเป็นแนวทางในการเพิ่ม soft skill ของนักศึกษาในการนำเสนอผลงานในการประกอบวิชาชีพ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ควรมีการวางแผนงานล่วงหน้าที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความร่วมมือกับองค์กรภายนอก และมีการแบ่งงาน หรือจัดตั้งทีมงานที่เพียงพอต่อการดำเนินการ

ศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ : เสริมพลังอาจารย์ใหม่ สู่การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.4, KR 1.4.5 ศาสตร์การสอนและการเรียนรู้: เสริมพลังอาจารย์ใหม่ สู่การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.ชิดชไม วิสุตกุล และ ดร.พิบูลย์ ตัญญบุตร วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ ครูมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย คุณภาพการศึกษาจึงผูกพันกับคุณภาพของครูโดยตรง ครูใหม่เปรียบเสมือนต้นกล้าแห่งอนาคตของการศึกษา การเสริมพลังครูใหม่ให้มีศักยภาพและพร้อมสำหรับการสอนที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษาคือการผลิตกำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยมีภารกิจหลัก คือ การสร้างคนให้เปี่ยมด้วยความรู้ และมุ่งพัฒนาสร้างความรู้สู่ความเป็นเลิศ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา สังคมให้พึ่งตนเองได้ พัฒนาได้และแข่งขันได้ การสอน (Teaching) และการวิจัย (Research) จึงเป็นสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน ทิศทางการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcomes) การจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตามภารกิจหลักของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศสู่การศึกษายุค Thailand 4.0 ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบกระบวนการจัดการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างมาก ผนวกกับสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นและแพร่กระจาย ของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่นำมาสู่วิถีใหม่ในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษาจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยยึดมั่นอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์เยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ จึงนำมาสู่การปรับและการสร้างโครงสร้างใหม่ในทุกมิติของมหาวิทยาลัยรังสิต ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 เพื่อให้บัณฑิตมีความเป็นเลิศทั้ง “วิชาการ  วิชางาน  และวิชาคน”  โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์หลัก คือ “การศึกษาคือนวัตกรรมที่ไม่มีที่สิ้นสุด” มหาวิทยาลัยรังสิตมุ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ เน้นคุณภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล มีความเป็นเลิศทางด้านการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ และแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา ชี้แนะทางเลือก และสนองตอบความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศ (มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564)           คณาจารย์เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษา บทบาทของคณาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิตไม่ได้จำกัดอยู่แค่การถ่ายทอดความรู้ แต่ต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา “สมรรถนะด้านความเป็นอาจารย์” บนพื้นฐานของการค้นคว้าวิจัย สิ่งนี้จะช่วยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพ  มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งพัฒนาบุคลากรทุกระดับ โดยเฉพาะบุคลากรสายการสอน ด้วย “กรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์” ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์เพื่อส่งเสริมการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความรู้ (Knowledge) มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ (1.1) ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาของตน (1.2) ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 สมรรถนะ (Competencies) มี 4 องค์ประกอบย่อย คือ (2.1) ออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (2.2) ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล (2.3) เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน (2.4) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ และองค์ประกอบที่ 3 ค่านิยม (Values) มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ (3.1) คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (3.2) ธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอาจารย์ ซึ่งคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในแต่ละองค์ประกอบได้ กำหนดให้มีระดับของคุณภาพของแต่ละองค์ประกอบ จำนวน 4 ระดับ โดยในระดับที่ 1 ได้กล่าวถึงครูที่มีคุณภาพ (Beginner/Fellow Teacher) หมายถึง อาจารย์ที่เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของตนและประยุกต์ใช้ได้ มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การเรียนรู้เบื้องต้น สามารถออกแบบกิจกรรม จัดบรรยากาศ ใช้ทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงผู้เรียนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ สามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนำผลประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์ขององค์กร (สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท), 2566)  ในยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บทบาทของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์เฉพาะทางเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา ซึ่งหมายความว่าอาจารย์จำเป็นต้องมี “สมรรถนะด้านความเป็นอาจารย์” ควบคู่ไปกับ “ความเชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาชีพ” ในระดับอุดมศึกษาอันจะเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยรังสิต           ศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ เป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมสมรรถนะด้านความเป็นอาจารย์ พัฒนาศักยภาพของอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ใหม่ในระดับอุดมศึกษาที่ต้องเผชิญความท้าทายหลายประการ หนึ่งในนั้นคือ การขาดทักษะและความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ดังนั้น อาจารย์ใหม่จึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะและความรู้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้เข้าใจหลักการและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วม คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยหลักการนี้จึงเป็นที่มาของหลักสูตร “ศาสตร์การสอนและการเรียนรู้” ในความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาบุคคล และวิทยาลัยครูสุริยเทพ โดยในหัวข้อ “การจัดการเรียนรู้” และ “การวัดและประเมินผล” มีจุดมุ่งหมายให้ผู้สอนใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ตามหลักการ Active Learning ส่งเสริมให้อาจารย์ใหม่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์ผลงาน และเน้นการวัดผลเชิงพัฒนาการ ประเมินทั้งความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายและทันสมัย เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา โดยนำผลประเมินผลไปพัฒนาผู้เรียน ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาระบบการวัดประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ           การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยหลักสูตรนี้มุ่งเน้นพัฒนาอาจารย์ใหม่ให้นำความรู้และทักษะใหม่ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสู่การเป็นนักวิจัย โดยเน้นในเรื่อง การจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลผู้เรียน จะส่งผลดีต่อทั้งอาจารย์ใหม่ นักศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ใหม่จะได้พัฒนาทักษะและความรู้ในการจัดการเรียนรู้ เพิ่มประสิทธิภาพการสอน ส่งเสริมให้นักศึกษามีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ รวมถึงพัฒนาทักษะการวัดผลและประเมินผลอย่างเป็นระบบ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการสอน สำหรับนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น สามารถสร้างผลงาน หรือแก้ปัญหาด้วยทักษะการคิดขั้นสูงได้อย่างสร้างสรรค์ผลงานดียิ่งขึ้น อีกทั้งเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ สำหรับมหาวิทยาลัยรังสิตจะได้พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดี           “อาจารย์” คือ หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนอนาคตในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น “อาจารย์” จึงไม่ใช่เพียงผู้สอน แต่คือ “ผู้นำทางปัญญา” มหาวิทยาลัยรังสิตจึงให้ความสำคัญกับพัฒนา “สมรรถนะด้านความเป็นอาจารย์” ผ่านการค้นคว้าวิจัย พัฒนาทักษะการสอน ตลอดจนสร้างกลยุทธ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ด้วยความมุ่งมั่น “เพื่อพัฒนาอนาคตของชาติต่อไป”   ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้                    องค์ความรู้ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการนำมาใช้เพื่อในการพัฒนาหลักสูตรศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ : เสริมพลังอาจารย์ใหม่ สู่การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ หรือ V-I-M-P-S Model (จากความหมายในภาษาอังกฤษของแต่ละองค์ประกอบ มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า Very important แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า  “สำคัญที่สุด” โมเดลนี้ มุ่งหวังที่จะสร้าง “อาจารย์ยุคใหม่” ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยไปสู่คุณภาพ จากการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่เสมอ มีที่มาจากหลักการ หรือองค์ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ดังนี้ วิสัยทัศน์ : Vision : คือ การให้ความสำคัญกับการมุ่งพัฒนา “อาจารย์” ให้เป็น “ผู้นำทางปัญญา” ที่ขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทย ผ่านการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ เปี่ยมด้วยความรู้ ทักษะ และพร้อมรับมือกับทุกความท้าทายทุกสภาพปัญหา อุดมการณ์: Intention : คือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนา “สมรรถนะด้านความเป็นอาจารย์” บนพื้นฐานการค้นคว้าวิจัย ฝึกฝนทักษะการสอนที่ทันสมัยที่สอดคล้องกับหลักการ Active Learning พร้อมทั้งศึกษาและสร้างแนวทางการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียน ผ่านการส่งเสริมการเรียนรู้ในลักษณะของการค้นคว้าวิจัยสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย แบบแผน: Method : คือ การให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนา “อาจารย์ยุคใหม่” ที่เน้นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) และถ่ายทอดผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาทักษะการสอนที่ทันสมัย สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบของวารสาร RJES วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต ระยะเวลาการศึกษา: Period: คือ การให้ความสำคัญกับการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมกับระยะเวลา เนื่องจากความรู้ที่สมบูรณ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม                    5. ตัวชี้วัดความสำเร็จ: Success: คือ การให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการสอนของคณาจารย์ ความสำเร็จในการศึกษาของผู้เรียน ส่งเสริมให้คณาจารย์งานพัฒนาตนเองผ่านการทำผลงานทางวิชาการสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา สำหรับรายงานฉบับนี้ ขอนำเสนอแนวทางจาก 2 หัวข้อ คือ หัวข้อที่ 3 การจัดการเรียนรู้ และหัวข้อที่ 4 การวัดและประเมินผล ดังนี้ หัวข้อที่ 3 การจัดการเรียนรู้           อาจารย์ ดร.ชิดชไม วิสุตกุล ผู้รับผิดชอบ ได้ใช้หลักการของ V-I-M-P-S Model ในการออกแบบการฝึกอบรม ซึ่งพิจารณาแล้วว่าสอดคล้องกับกรอบแนวคิด 4C ที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ ได้แก่ Context (บริบท) Content (เนื้อหา) Curriculum (หลักสูตร) และ Conduct (การจัดการ) ผู้สอนสามารถใช้กรอบแนวคิดนี้เพื่อออกแบบและจัดการการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบท เนื้อหา หลักสูตร และผู้เรียน ดังนี้ Context (บริบท) เข้าใจบริบทของการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา หมายถึง การเข้าใจปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา เช่น วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย ลักษณะของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา เทคโนโลยีที่มีอยู่ ทรัพยากรที่มีอยู่ วิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา หมายถึง การเข้าใจความต้องการ ความสนใจ จุดแข็ง และข้อจำกัดของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา เข้าใจธรรมชาติของเนื้อหาวิชา หมายถึง การเข้าใจโครงสร้าง เนื้อหา และวิธีการคิดวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา Content (เนื้อหา) ออกแบบเนื้อหาวิชาให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบริบท หมายถึง การออกแบบเนื้อหาวิชาให้ตรงกับความต้องการ ความสนใจ จุดแข็งและข้อจำกัดของนักศึกษา คัดเลือกสื่อการสอนที่หลากหลายและเหมาะสม หมายถึง การเลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา รูปแบบการเรียนรู้ และลักษณะของนักศึกษา จัดลำดับเนื้อหาการสอนอย่างมีตรรกะ หมายถึง การจัดลำดับเนื้อหาการสอนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและเข้าใจง่าย Curriculum (หลักสูตร) ออกแบบหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ หมายถึง การนำผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรมาออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ กำหนดวิธีการประเมินผลที่หลากหลาย หมายถึง การเลือกใช้เครื่องมือการประเมินผลที่หลากหลาย บริหารจัดการเวลาและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง การจัดสรรเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด Conduct (การจัดการ) ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์ที่หลากหลาย หมายถึง การเลือกใช้กลยุทธ์การสอนที่หลากหลาย สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวย หมายถึง การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ประเมินผลและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การประเมินผลการจัดการเรียนรู้และปรับปรุงให้ดีขึ้น   หัวข้อที่ 4  การวัดและประเมินผล                    อาจารย์ ดร.พิบูลย์ ตัญญบุตร ผู้รับผิดชอบ ได้ใช้หลักการของ V-I-M-P-S Model ในการออกแบบการฝึกอบรม ซึ่งพิจารณาแล้วว่าสอดคล้องกับแนวคิดของ สมคิด บางโม (2553) ที่กล่าวว่า ระบบ (system) ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง การวิเคราะห์การฝึกอบรมในรูปของระบบจะช่วยให้มองเห็นว่าการจัดการฝึกอบรมนั้นมุ่งประโยชน์โดยส่วนรวม มิใช่มุ่งประโยชน์ของตัวบุคคล แนวความคิดเชิงระบบเชื่อว่าระบบประกอบด้วยปัจจัย5 ประการ โดยสามารถสรุปได้ว่า คือ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลิตผล 4) ข้อมูลย้อนกลับ 5) สิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งผู้รับผิดชอบได้ศึกษาและวิเคราะห์ระบบดังกล่าว สำหรับใช้ในการออกแบบการฝึกอบรม พบว่า สามารถใช้ในการออกแบบการฝึกอบรมให้เกิดประสิทธิภาพได้ ดังนี้1. ปัจจัยนำเข้า           1.1 พิจารณาข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้ารับการอบรม (อาจารย์ใหม่) ดังนี้           ความรู้พื้นฐาน: ระดับความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์ใหม่เกี่ยวกับการวัดและประเมินผล เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นอาจารย์ที่ไม่ได้มีประสบการณ์ หรือองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ และเป็นอาจารย์ใหม่ที่มีอายุงาน 1-5 ปี แรงจูงใจ: ความตั้งใจจริงและความสนใจในการเรียนรู้ทักษะการวัดและประเมินผล ความตั้งใจจริง: อาจารย์ใหม่ควรมีความตั้งใจจริงในการเรียนรู้ทักษะการวัดและประเมินผล เพราะเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการสอนที่มีประสิทธิภาพ เข้าใจถึงความสำคัญของการวัดและประเมินผล เพื่อนำมาพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และต้องการใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหาและรูปแบบการเรียนรู้ ความสนใจ: อาจารย์ใหม่ควรมีความสนใจใฝ่รู้เกี่ยวกับวิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ต้องการศึกษาและทดลองใช้วิธีการวัดและประเมินผลใหม่ๆ และสนใจที่จะพัฒนาทักษะการวัดและประเมินผลของตนเองอยู่เสมอ ทักษะการคิดวิเคราะห์: ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและตีความผลลัพธ์ ทักษะการสื่อสาร: ความสามารถในการอธิบายและสื่อสารผลการวัดและประเมินผล           1.2 วิทยากร           ความรู้: ความเชี่ยวชาญและความรู้ที่ลึกซึ้งด้านการวัดและประเมินผล ประสบการณ์: ประสบการณ์การสอนและการฝึกอบรมเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล ทักษะการสอน: ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการสื่อสาร: ความสามารถในการสื่อสารที่ชัดเจนและน่าสนใจ           1.3 สื่อการสอน           ความทันสมัย: เนื้อหาและตัวอย่างที่ทันสมัยและสอดคล้องกับแนวทางการวัดและประเมินผลปัจจุบัน ความหลากหลาย: การใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย เช่น บทบรรยาย การอภิปราย การศึกษากรณีตัวอย่าง การฝึกปฏิบัติ ความเหมาะสม: สื่อการสอนที่ตรงกับความต้องการและระดับความรู้ของผู้เข้ารับการอบรม           1.4 สถานที่           บรรยากาศ: สถานที่อบรมที่สะดวกสบาย และเอื้อต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์: อุปกรณ์ที่ทันสมัยและเพียงพอต่อการฝึกปฏิบัติ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์           1.5 ปัจจัยสนับสนุน           นโยบายของมหาวิทยาลัย: นโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะการวัดและประเมินผลของอาจารย์ งบประมาณ: งบประมาณที่เพียงพอสำหรับการจัดอบรม ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานพัฒนาบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต การสนับสนุนจากหน่วยงาน หรือวิทยาลัย: วิทยาลัยครูสุริยเทพสนับสนุนและส่งเสริมในการให้บริการวิชาการ อีกทั้งสนับสนุนให้ส่งอาจารย์ใหม่เข้ารับการอบรมเช่นกัน 2. ทักษะการคิดวิเคราะห์           ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล: อาจารย์ใหม่ควรมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินผล วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการของนักเรียนระบุปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ ประเมินประสิทธิภาพของการสอน ความสามารถในการตีความผลลัพธ์: อาจารย์ใหม่ควรมีทักษะการตีความผลลัพธ์ของการวัดและประเมินผล อธิบายความหมายของข้อมูล สรุปผลการวัดและประเมินผล นำผลการวัดและประเมินผลไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 3.ทักษะการสื่อสาร           ความสามารถในการอธิบายผลการวัดและประเมินผล: อาจารย์ใหม่ควรมีทักษะการอธิบายผลการวัดและประเมินผลให้นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้บริหารเข้าใจ อธิบายผลการวัดและประเมินผลอย่างชัดเจน สื่อสารผลการวัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการสื่อสารผลการวัดและประเมินผล: อาจารย์ใหม่ควรมีทักษะการสื่อสารผลการวัดและประเมินผล เพื่อใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นำเสนอผลการวัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ผลการวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงการสอน 4. กระบวนการ           4.1 วิธีการและเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ประกอบด้วย การบรรยาย: นำเสนอเนื้อหาทฤษฎีและแนวทางการวัดและประเมินผล การอภิปราย: แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับการวัดและประเมินผล การศึกษากรณีตัวอย่าง: วิเคราะห์กรณีตัวอย่างการวัดและประเมินผลในสถานการณ์จริง การฝึกปฏิบัติ: ฝึกฝนการออกแบบและใช้เครื่องมือวัดและประเมินผล           4.2 ระยะเวลา โดยกำหนดระยะเวลาในการฝึกอบรมที่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา ฝึกฝนทักษะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์           4.3 บรรยากาศ บรรยากาศการอบรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการคิดวิเคราะห์ 5. ผลลัพธ์           การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อาจารย์ใหม่สามารถออกแบบและใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลได้อย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและตีความผลลัพธ์การวัดและประเมินผลได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำผลการวัดและประเมินผลไปพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติ  อาจารย์ใหม่มีทักษะการวัดและประเมินผลที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการของผู้เรียน อาจารย์ใหม่มีทัศนคติที่ดีต่อการวัดและประเมินผล มองเห็นความสำคัญของการวัดและประเมินผลต่อการพัฒนาการเรียนการสอน ผลลัพธ์ต่อองค์กร คุณภาพการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยดีขึ้น ผู้เรียนได้รับการวัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม มหาวิทยาลัยมีระบบการวัดและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ  6. ข้อมูลย้อนกลับ           การประเมินผลการอบรม เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนกลับจากผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับเนื้อหา วิทยากร สื่อการสอน กระบวนการ และผลลัพธ์ การติดตามผล ติดตามผลการนำความรู้และทักษะไปใช้จริงของอาจารย์ใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนกลับจากนักศึกษาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล 7. สิ่งแวดล้อมภายนอก           สภาพการแข่งขัน มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องพัฒนาทักษะการวัดและประเมินผลของอาจารย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สภาพขององค์กรวัฒนธรรมขององค์การ วัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนา ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการอบรม           การจัดอบรมอาจารย์ใหม่ด้านการวัดและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ ข้อมูลย้อนกลับ และสิ่งแวดล้อมภายนอก การออกแบบและจัดการอบรมอย่างรอบคอบ จะช่วยพัฒนาทักษะการวัดและประเมินผลของอาจารย์ใหม่ ส่งผลดีต่อคุณภาพการเรียนการสอนและ อีกทั้งส่งผลดีต่อภาพรวมของมหาวิทยาลัย ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase)เจ้าของความรู้/สังกัด  ดร.ชิดชไม วิสุตกุล และ ดร.พิบูลย์ ตัญญบุตร สังกัด  วิทยาลัยครูสุริยเทพ อื่น ๆ (โปรดระบุ)  วิทยากรรับเชิญ ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด ดร.ชิดชไม วิสุตกุล และ ดร.พิบูลย์ ตัญญบุตร สังกัด  วิทยาลัยครูสุริยเทพ วิธีการดำเนินการ สำนักงานพัฒนาบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ วิทยาลัยครูสุริยเทพ โดยหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จัดอบรมหลักสูตร “ศาสตร์การสอนและการเรียนรู้” ให้กับอาจารย์ใหม่ที่มีอายุงาน 1-5 ปี  ได้กำหนดกรอบเวลาไว้ภายในปีการศึกษา 2566 มีการดำเนินการดังนี้ กำหนดวิทยากรและหัวข้อของหลักสูตรให้ครอบคลุมสมรรถนะด้านความเป็นอาจารย์ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องของกลุ่มเป้าหมาย โดยกำหนดกรอบเนื้อหาทั้งหมด 5 หัวข้อ ได้แก่ (1) ทฤษฎีการเรียนรู้ (2) จิตวิทยาความเป็นครู และจรรยาบรรณวิชาชีพครู (3) การจัดการเรียนรู้ (4) การวัดและประเมินผล และ (5) เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ กำหนดลำดับของหัวข้อให้เป็นไปตามกรอบเนื้อหา “ศาสตร์การสอนและการเรียนรู้” โดยหัวข้อที่ 1 ทฤษฎีการเรียนรู้ หัวข้อที่ 2 จิตวิทยาความเป็นครู และจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีกำหนดการจัดอบรมในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2566 และหัวข้อที่ 3 การจัดการเรียนรู้ และหัวข้อที่ 4 การวัดและประเมินผล มีกำหนดการจัดอบรมในช่วงพักระหว่างเทอม (Term Break) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2567 (สำหรับหัวข้อที่ 5 อยู่ในกระบวนการกำหนดวิทยากร) สำนักงานพัฒนาบุคคลประสานกับสำนักงานฝ่ายบุคคล เพื่อขอรายชื่ออาจารย์ใหม่ที่มีอายุงาน 1-5 ปี ของทุกวิทยาลัย/คณะวิชาทั้งมหาวิทยาลัย แล้วส่งบันทึกข้อความไปยังวิทยาลัย/คณะวิชาต่างๆ เพื่อทราบและดำเนินการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ กำหนดจำนวนผู้อบรมแบ่งเป็นหัวข้อละ 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งในแต่ละรุ่นมีผู้เข้าอบรมประมาณ 30-40 คน และจัดเตรียมห้องที่ใช้ในการอบรม ทำ QR code ไฟล์ที่ใช้ในการอบรมในแต่ละหัวข้อ แล้วส่งอีเมล์แจ้งไปยังผู้เข้าร่วมอบรม ดำเนินการอบรมตามวันและเวลาที่กำหนด ประเมินผลการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นการอบรม สรุปประเมินผลโครงการและรับข้อเสนอแนะในการปรับปรุง 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน หัวข้อที่ 3 การจัดการเรียนรู้           จัดอบรมวันที่ 28-29 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้อง 1-705 ชั้น 7 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ วิทยากรคือ อ.ดร.ชิดชไม วิสุตกุล และวิทยากรรับเชิญคือ ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 จัดอบรมวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00-16.00 น. รุ่นที่ 2 จัดอบรมวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00-16.00 น. มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่นให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วยเนื้อหา ได้แก่ หลักการและทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ คือ มีความรู้และทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวข้อที่ 4 การวัดและประเมินผล           จัดอบรมวันที่ 27 กุมภาพันธ์ และ 1 มีนาคม 2567 ณ ห้อง 1-702 ชั้น 7 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ วิทยากรคือ อ.ดร.พิบูลย์ ตัญญบุตร  โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 จัดอบรมวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00-16.00 น. รุ่นที่ 2 จัดอบรมวันที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-16.00 น. มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่นให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วยเนื้อหา ได้แก่ หลักการและทฤษฎีการวัดและประเมินผล การประเมินผลรูปแบบต่างๆ การให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เรียน การใช้ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐาน ซึ่งประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ คือ มีความรู้และทักษะในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถออกแบบการประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สามารถให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐาน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ โครงการจัดอบรมหลักสูตร “ศาสตร์การสอนและการเรียนรู้” หัวข้อที่ 3 การจัดการเรียนรู้ จัดขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 และ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้อง 1-705 ชั้น 7 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 61 คน และมีผู้ตอบแบบประเมินผลจำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 85.25 จากผลการประเมิน ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการโดยรวมในระดับมากที่สุด มีรายละเอียดดังนี้  เนื้อหาการอบรมตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการสอน (4.85) เนื้อหาการบรรยายมีความเหมาะสม (4.77) ระยะเวลาในการอบรมเหมาะสม (4.63) ได้รับความรู้ เรื่องทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน

การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เกมโมบายแอปพลิเคชั่น

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เกมโมบายแอปพลิเคชั่น ผู้จัดทำโครงการ​ อ.ภาวิณี เส็งสันต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการศึกษา มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้สอนและผู้เรียน ดังนั้น ระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน จึงได้ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนรู้ได้ในทุกสถานที่ทุกเวลา เหตุผลดังกล่าวผู้สอนจึงมีแนวคิดพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้เกมโมบายแอปพลิเคชันในวิชาเภสัชกรรมไทย เนื่องจากในรายวิชาดังกล่าวมีสมุนไพรหลากหลายชนิด รวมทั้งส่วนที่ใช้ของสมุนไพรมีหลายส่วนและวิธีการเตรียมเพื่อนำไปใช้มีหลากหลายวิธีซึ่งนักศึกษาจะต้องจดจำลักษณะ ส่วนต่างๆ สรรพคุณของพืช ตั้งแต่ ราก ต้น ใบ ดอก ผล และวิธีการนำมาใช้ รวมทั้งข้อควรระวัง ผู้สอนเล็งเห็นปัญหาของการเรียนรู้จึงต้องสรรหาวิธีการที่ทำให้ผู้เรียน สามารถจดจำพืชสมุนไพรต่างๆได้ง่ายและมีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการเรียน จึงได้จัดทำเกมโมบายแอปพลิเคชันขึ้นมา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้     การนำเอาเกมโมบายแอปพลิเคชันมาเป็นสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในรายวิชาเภสัชกรรมไทย มีความความน่าสนใจ ความท้าทาย เนื่องจากผู้เล่นเกมจะมีความกระตือรือร้นเพื่ออยากเอาชนะและทำคะแนนให้ได้มากที่สุด จึงทำให้เกิดทักษะในการจดจำพืชสมุนไพรในแต่ละชนิดได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้เล่นเกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน โดยผู้จัดทำคาดหมายว่าสื่อสนับสนุนการเรียนรู้นี้จะช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้และความพึงพอใจให้กับผู้เรียน นอกจากนี้ยังเป็นการบูรณการในการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการเรียนการสอนการแพทย์แผนไทยอีกด้วย ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : อื่น ๆ (โปรดระบุ) ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองการประกอบโรคศิลปะ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ 1.อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาเภสัชกรรมไทยวางแผนดำเนินการต่างๆร่วมกับผู้พัฒนาแอพพลิเคชัน 2.พัฒนาเกมโมบายแอพพลิเคชั่นโดยวิเคราะห์เนื้อหาที่นำมาใช้ให้สอดคล้องกับแผนการสอนในรายวิชา 3.นำเกมโมบายแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการเรียนการสอนในคาบเรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง 4.ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ 5.วิเคราะห์และสรุปผล 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน     อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาเภสัชกรรมไทยได้ดำเนินการนำเกมโมบายแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาเภสัชกรรมไทยกับนักศึกษาจำนวน 36 คน การดำเนินการยังคงมีอุปสรรคบางประการ เช่น รูปภาพไม่ชัดเจน อุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์แอนดรอยด์ ในเวอร์ชั่น 14 ขึ้นไปยังไม่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันได้ แต่สื่อสนับสนุนการเรียนรู้เกมโมบายแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นทำให้นักศึกษาสามารถจดจำ มีความรู้ความเข้าใจในพืชสมุนไพรดีขึ้น เนื่องจากแอปพลิเคชันดังกล่าวผู้เรียนสามารถทบทวนข้อมูลของสมุนไพรได้ด้วยตนเองตามความต้องการ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเล่นเกมในเนื้อหาหรือหัวข้อที่ตนเองต้องการ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนเกิดความท้าทายในการเล่นที่จะทำคะแนนให้ได้สูงและเพิ่มความสนใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น     ผลลัพธ์ของการนำเกมโมบายแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาเภสัชกรรมไทยกับนักศึกษาจำนวน 36 คน และให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น นักศึกษาทำคะแนนแบบทดสอบได้มากขึ้นเพิ่มขึ้นหลังการใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น ดังแสดงใน ภาพที่ 1, 2, และ 3 ภาพที่ 1 คะแนนแบบทดสอบด้านชื่อสมุนไพร ก่อนและหลังใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น ภาพที่ 2 คะแนนแบบทดสอบด้านสรรพคุณของสมุนไพร ก่อนและหลังใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น ภาพที่ 3 คะแนนรวมแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่     จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีความสนใจและสนุกสนานในการใช้เกมโมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเป็นอย่างดีทำให้กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน มีความใคร่รู้ชื่อสมุนไพร และสรรพคุณของสมุนไพรในแต่ละชนิด และการที่จะนำสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรประเภทต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice            ปรับขนาดของรูปภาพให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น มีความชัดเจนของรูปภาพ อัพเดทแอปพลิเคชันให้รองรับอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์แอนดรอยด์ ในเวอร์ชั่น 14 ขึ้นไปและเพิ่มเนื้อหาความรู้ของสมุนไพรให้ครบถ้วน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นๆเพิ่มมากขึ้น ภาคผนวก ลิงก์แนะนำการใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น https://drive.google.com/file/d/1b3AUJRgqsnP5N0SY1uqJlFYrEZwMQwHn/view?usp=sharing   ภาพบรรยากาศนักศึกษาใช้เกมโมบายแอพพลิเคชั่น

หนึ่งทศวรรษการประชุมทางไกลเพื่อการทำวิจัยของนักศึกษาในโรงพยาบาลชุมชน

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 หนึ่งทศวรรษการประชุมทางไกลเพื่อการทำวิจัย ของนักศึกษาในโรงพยาบาลชุมชน ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.พญ.วราภรณ์ แสงทวีสิน วิทยาลัยแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            จากการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 9  วันที่ 14-16  กันยายน 2558  มีการอภิปรายประเด็นการผลิตแพทย์ เพื่อให้มีความพร้อมที่จะเป็นนักวิจัย จะต้องมีการปลูกฝังให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการวิจัย องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยจะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้  ในการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วย การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ  แล้วจึงจะสรุปเป็นแนวทางการรักษา การนำไปประยุกต์ใช้                องค์ความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย ได้แก่ ระเบียบวิธีวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การเขียนโครงร่างงานวิจัย การได้ลงมือทำวิจัยจริง จึงได้บรรจุในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวและได้กำหนดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต(มคอ 2)  ฉบับ พ.ศ. 2555 ให้นักศึกษาแพทย์มีความรู้พื้นฐานการทำวิจัยทางการแพทย์ในชั้นปีที่ 6 ในโรงพยาบาลชุมชน เมื่อนักศึกษาแพทย์ออกไปฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในรายวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน 3 (PVM 621) ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัย ในการส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม                แม้ว่าจะมีการจัดการเรียนการสอน ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยให้นักศึกษาแพทย์รวมทั้งการใช้ชีวสถิติ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3-5 แต่เมื่อไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและทำการวิจัยจริงพบว่า มีอุปสรรคและปัญหาในการทำวิจัยอย่างมาก  ตั้งแต่การเขียนโครงร่างการวิจัย การตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย กลุ่มตัวอย่าง            การสร้างแบบเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกใช้สถิติ การแปลผลและการเขียนรายงาน ข้อจำกัดของอาจารย์แพทย์พี่เลี้ยงในโรงพยาบาลชุมชนที่จะเป็นที่ปรึกษาช่วยแก้ไขปัญหาการทำวิจัย อาจารย์ในภาควิชามีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น  โรงพยาบาลแต่ละแห่งอยู่ห่างไกลกัน ระยะเวลาการทำงานวิจัยมีเพียง 4 สัปดาห์ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานวิชาเวชศาสตร์ชุมชน 2 (CMD 621) ในเวลาเดียวกัน เกิดความเครียดกับนักศึกษา และทำให้ผลงานวิจัยไม่ได้เป็นที่น่าพอใจ ทางภาควิชาฯได้มีการทบทวนการจัดการเรียนการสอนอุปสรรคและปัญหาต่างๆ รวมทั้งผลการประเมินจากนักศึกษาและข้อเสนอแนะต่างๆ และจากอาจารย์แพทย์พี่เลี้ยงจึงได้จัดทำโครงการประชุมวิชาการทางไกลโดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา PVM 621 และมีอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาจากศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มาร่วมให้คำปรึกษา การทำวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการประชุมทางไกล (Teleconference)  ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้แก่นักศึกษาแพทย์ที่ทำงานวิจัยขณะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 ถึง 2566   ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้                    การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นการประชุมที่ผู้เข้าประชุมอยู่คนละสถานที่แต่สามารถประชุมร่วมกันได้  ผู้เข้าประชุมจะเห็นภาพ ข้อความต่างๆ ในเวลาเดียวกัน เพื่ออภิปรายร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ โดยอาศัยอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ ลำโพง เครื่องขยายเสียง และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสานเพื่อสนับสนุนการประชุมให้มีประสิทธิภาพ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวราภรณ์  แสงทวีสิน หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมและเวชศาสตร์ชุมชน วิทยาลัยแพทยศาสตร์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ การลงมือปฏิบัติจริง           เริ่มใช้ครั้งแรก วันที่ 1 พฤษภาคม  พ.ศ. 2558 กับนักศึกษาชั้นปีที่ 6 ของปีการศึกษา 2558-2559 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ ขอความช่วยเหลือจากกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ชื่อกระทรวงในขณะนั้น) โดยการติดต่อผ่านศูนย์คอมพิวเตอร์ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ช่วยประสานขอช่วงเวลาในการจัดประชุมวิชาการทางไกลเพื่อสนับสนุนการวิจัยของนักศึกษาแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พัฒนาห้องฝึกปฏิบัติการทักษะทางการแพทย์ชั้น 4 อาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ จัดหาโสตทัศนูปกรณ์ internet, WIFI สำหรับประชุมทางไกลกับนักศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ โรงพยาบาลพนมสารคาม โรงพยาบาลสนามชัยเขต โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว และโรงพยาบาลแปลงยาว เดินทางไปประสานงานและประชุมชี้แจงผู้อำนวยการ แพทย์พี่เลี้ยงที่ดูแลรับผิดชอบการเรียนการสอนและควบคุมการวิจัยของนักศึกษา เจ้าหน้าที่สารสนเทศ ณ โรงพยาบาลชุมชนแต่ละแห่งเพื่อเตรียมห้องสำหรับใช้ประชุมทางไกลให้กับนักศึกษา รวมทั้งการติดตั้งและสาธิตการใช้ Computer Program GIN Conference (Government International Network) ทดสอบความพร้อมการทำงานระบบสื่อสารการประชุมทางไกลจากห้องฝึกปฏิบัติการทักษะทางการแพทย์ชั้น 4 อาคารสถาบันร่วมผลิตแพทย์ฯ กับโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 4 แห่งก่อนนักศึกษาเปิดเทอม จัดปฐมนิเทศ ให้นักศึกษาติดตั้ง Computer Program GIN Conference (Government International Network) รวมทั้งสาธิตวิธีการใช้ และทดลองใช้ใน computer ส่วนตัวให้กับนักศึกษาก่อนออกภาคสนามทุกกลุ่ม รวมทั้งทบทวนการใช้ program SPSS จัดการประชุมทางไกลเพื่อการทำวิจัยในโรงพยาบาลชุมชน (วิชา PVM 621) โดยวิธี GIN Conference ในช่วงบ่ายวันจันทร์ โดยขอให้ยกเว้นการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน (วิชา CMD 621) ในช่วงเวลาประชุมทางไกลเพื่อการวิจัย ดังต่อไปนี้                        สัปดาห์ที่ 1 นักศึกษาเลือกเรื่องที่สนใจ 1 เรื่องต่อนักศึกษา 1 กลุ่ม (กลุ่มละ 2-3 คน) กำหนดชื่อเรื่องงานวิจัย จากปัญหาสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนที่ฝึกปฏิบัติงานที่ตนสนใจ โดยมีอาจารย์แพทย์ที่โรงพยาบาลเป็นที่ปรึกษา และเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal)                     สัปดาห์ที่ 2 วันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอโครงร่างการวิจัยในรูปแบบ PowerPoint ผ่านการประชุมทางไกล (GIN Conference) กับอาจารย์ผู้สอนภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันฯ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ และอาจารย์ที่ปรึกษาระบาดวิทยาและสถิติจากศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำเพิ่มเติม และนำไปปรับปรุงแก้ไข แล้วลงมือเก็บข้อมูล วิเคราะห์ รวบรวมผล                     สัปดาห์ที่ 3 วันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการวิจัย และอภิปรายผลการวิจัย ในรูปแบบ PowerPoint ผ่านการประชุมทางไกลกับอาจารย์ผู้สอนภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันฯ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ และอาจารย์ที่ปรึกษาระบาดวิทยา เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเพิ่มเติม และนำไปปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งการจัดทำรายงานต่อไป                     สัปดาห์ที่ 4 วันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานวิจัยที่ปรับปรุงแก้ไข ในการประชุมทางไกลกับอาจารย์ผู้สอนภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันฯ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ และอาจารย์ที่ปรึกษาระบาดวิทยา และส่งรายงานทาง electronic file ในรูปแบบ PDF   การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนขึ้นชั้นปีที่ 6 ในหลักสูตร (Course for extern preparation)เดือนเมษายน เริ่มปีการศึกษา 2562 และได้จัดต่อเนื่องทุกปีถึง ปีการศึกษา 2566 7.1 ทบทวนความรู้ที่เคยเรียนในชั้นปีที่ 3-5 เกี่ยวกับการวิจัยภาคทฤษฎี เช่น ระเบียบวิธีวิจัย ชีวสถิติ           7.2 แบ่งกลุ่มนักศึกษาทำ workshop มีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มให้ฝึกเขียนโครงร่างการวิจัย                 (Research  proposal)  และนำมาอภิปรายหมู่ ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน           แม้ว่าจะสามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้แต่ก็พบปัญหาระหว่างการดำเนินการหลายประเด็น และต้องปรับแก้ไข ดังต่อไปนี้ 1. สัญญาณ internet ไม่มีความเสถียร เนื่องจากโรงพยาบาลชุมชนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ส่งผลกระทบต่อระบบภาพและเสียง                 แก้ไขโดย การจัดหาอุปกรณ์ขยายสัญญาณเพิ่ม 2.ห้องที่ทำการประชุมทางไกลในโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งมีเสียงรบกวน เช่นเสียงประกาศตามสายภายในโรงพยาบาล                แก้ไขโดย  การจัดหาห้องใหม่สำหรับการประชุม ที่เป็นสัดส่วนและปราศจากเสียงรบกวน 3.ระยะการทำวิจัยในโรงพยาบาลชุมชนมีน้อยเกินไปและเป็นช่วงเวลาซ้อนกับการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน 2 (วิชา CMD 621) ที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติงานทั้งในเวลาราชการและการอยู่เวรนอกเวลาราชการค่อนข้างถี่ (บางแห่งอยู่วันเว้นวัน ทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงานวิจัยกับเพื่อนร่วมกลุ่ม)                แก้ไขโดย  การประชุมกับผู้อำนวยการและอาจารย์แพทย์โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ปรับการอยู่เวรให้เป็นวันเว้น 2 วัน เพื่อให้นักศึกษามีเวลาวันว่างตรงกัน มีเวลาปรึกษาทำงานวิจัยร่วมกัน ช่วงเวลาที่จัดประชุมทางไกลต้องเป็นเวลาที่ขออนุมัติจากกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ หากมีความจำเป็นต้องการเลื่อนจะต้องติดต่อขอล่วงหน้าเพื่อพิจารณาว่าจัดเวลาให้ได้หรือไม่ ไม่ซ้ำซ้อนกับเวลาของผู้อื่น ขาดประสบการณ์ ความชำนาญการใช้ program GIN conference ในช่วงแรกๆทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ           แก้ไขโดย  ขอเจ้าหน้าที่สารสนเทศของศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีมาประจำช่วงเวลาการประชุมทางไกลเพื่อช่วยแนะนำและแก้ไขปัญหา 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่  การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สามารถดำเนินการตามแผนการ และขั้นตอนต่างๆ ที่วางไว้ อาจารย์ภาควิชาฯสามารถติดตามความก้าวหน้าการทำวิจัยของนักศึกษา รวมทั้งการให้คำปรึกษา แนะนำและแก้ไขปัญหาของนักศึกษาได้อย่างรวดเร็วทันเวลา การประชุมทางไกลทำให้นักศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 4 แห่งในเวลาเดียวกันได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้คุ้มค่า นักศึกษามีเวลาทำงานวิจัยร่วมกับเพื่อนได้ และสามารถส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ครบตามเวลาที่กำหนดทุกกลุ่ม ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นชั้นปีที่ 6 ในหลักสูตร (Course for extern preparation) เดือนเมษายน ปีการศึกษา 2562-2566 เพื่อจัดทบทวนภาคทฤษฎีและ workshop การทำวิจัย อยู่ในเกณฑ์ดีมากและเพิ่มขึ้นทุกปี (4.65-4.83) 1 ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาในการทำวิจัยในชุมชน ปีการศึกษา 2558-2566 อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก (16-4.60) และการประชุมทางไกลเพื่อการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมากเช่นกัน (4.03-4.58) 2 จากการติดตามนิเทศ การประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และประเมินความคิดเห็นของอาจารย์แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนต่อการทำวิจัยของนักศึกษาหลังจากที่มีการประชุมทางไกลเปรียบเทียบกับในอดีตที่ไม่มี พบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและทำวิจัยได้ดีขึ้น และสำเร็จตามกำหนด และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาดูแลรักษา ป้องกัน สร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพให้แก่ประชาชนในชุมชน นักศึกษามีผลงานวิจัยที่ดี สามารถนำไปเสนอในงานประชุมวิชาการประจำปีของโรงพยาบาลราชวิถี และประชุมวิชาการประจำปีของมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นประจำทุกปี ปีละ 4-5 เรื่อง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ถึงพ.ศ. 25663 นักศึกษามีผลงานวิจัยที่ดี ที่ได้รับการคัดเลือกนำไปเสนอในงานประชุมวิชาการประจำปีระดับนานาชาติ International Medical Student Research Conference(IMRC) ครั้งที่ 1-4 (ปี พ.ศ. 2563-2566) ปีละ 2-4 เรื่อง และทุกเรื่องได้รับรางวัล3 นักศึกษาที่มีผลงานวิจัยที่ดี นำเสนอประกวดในโครงการดาวเด่นงานวิจัย ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และศูนย์แพทย์ศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ครั้งที่ 1-3 (ปีการศึกษา 2564-66) 3 การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้                การประชุมทางไกลเพื่อการทำวิจัยในโรงพยาบาลชุมชนของนักศึกษาแพทย์โดยใช้ระบบ GIN Conference ได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายมาอย่างดีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558–2561  ในปี 2562 ระบบการสื่อสารมีรูปแบบใหม่ๆเกิดขึ้น ได้แก่ Skype ทางภาควิชาจึงได้ทดลองใช้พบว่าการติดตั้ง application และการใช้งานได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า GIN conference                 ใน ปี พ.ศ. 2563 เป็นระยะเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด ทำให้การประชุมทางไกลมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น  มี program ต่างๆ ให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งทางภาควิชาฯได้เปลี่ยนมาใช้ระบบ zoom conference ในการประชุมทางไกลกับนักศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563- ปัจจุบัน ซึ่งพบว่า สะดวก รวดเร็วมากขึ้น กว่าในอดีต                  นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถ ส่งข้อมูล ขอคำปรึกษาเพิ่มได้โดยทาง LINE  และ email กับอาจารย์ ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้นักศึกษาได้รวดเร็ว ทำให้การวิจัยดำเนินไปได้ มีความคืบหน้าขึ้น ไม่ต้องรอถึงวันที่จะประชุมทางไกลครั้งต่อไป เช่น แบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติ                เนื่องจากการทำวิจัยของนักศึกษาแพทย์ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรแพทยศาสตรศึกษา ในรายวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน ให้ทำการวิจัยในโรงพยาบาลชุมชนควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติงานในชุมชนในรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชน 4 สัปดาห์ เรื่อยมาทำให้จำกัดเวลาการทำวิจัย และข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ เพราะการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลัง นักศึกษามีความเครียด อยากให้การทำวิจัยของนักศึกษาในชั้นคลินิกเสร็จสิ้นในชั้นปีที่ 5                ในปี พ.ศ. 2559 มีการประชุมสัมมนาปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 ให้เปลี่ยนการทำวิจัยในชั้นปีที่ 6 ไปอยู่ในชั้นปีที่ 4-5 เพื่อให้นักศึกษามีเวลาทำวิจัยมากขึ้น ดีขึ้น มีโอกาสเลือกแบบวิธีวิจัยได้หลากหลายมากขึ้น โดยมีอาจารย์ภาคคลินิกของวิทยาลัยแพทย์และศูนย์แพทย์ศาสตร์เป็นที่ปรึกษา ควบคุมการวิจัย   สรุปและอภิปรายผล                การวิจัยเป็นการนำไปสู่องค์ความรู้ที่ต้องการหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยทางการแพทย์ที่จะทำให้ได้องค์ความรู้ไปเป็นประโยชน์ในการดูแล รักษา สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อให้คนมีสุขภาพที่ดี  รวมทั้งสังคม สิ่งแวดล้อมที่ดี การให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์การทำวิจัยที่ถูกต้อง เป็นการปลูกฝังให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต จากอดีตถึงปัจจุบันมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ของการสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูลได้สะดวก รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้การทำวิจัยได้กว้างและลึกหากรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังเช่นการวิจัยในชุมชนของนักศึกษาที่มีการนำระบบการประชุมทางไกลมาใช้ ซึ่งระยะช่วงแรก เมื่อสิบปีที่แล้วยังไม่แพร่หลายอย่างเช่นในปัจจุบัน การเริ่มต้นในปี 2558 ต้องอาศัยเครือข่ายของกระทรวงฯ กรมฯ จนปัจจุบันระบบการใช้ internet ได้กว้าง ไกล มีหลากหลาย program ให้เลือกใช้และเข้าถึงง่ายจากอุปกรณ์ มือถือ  tablet นอกเหนือไปจากการใช้ computer  และสามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา                วิกฤติจากภาวะระบาดของโรคโควิด ตั้งแต่ปลายปี 2562 ต่อเนื่องยาวมาหลายปี  เป็นโอกาสที่ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารทาง internet ผ่านการประชุมทางไกลมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย สะดวก รวดเร็วมากอย่างก้าวกระโดด ซึ่งทำให้การประชุมทางไกลกับนักศึกษาช่วยการทำวิจัยในชุมชนได้มีประสิทธิภาพและผลลัพธ์ดีขึ้นมากตามลำดับ ได้ผลงานวิจัยที่ดีสามารถนำเสนอ เผยแพร่ได้ทุกปี และได้รับรางวัลทั้งในสถาบันและระดับนานาชาติ  อย่างไรก็ตามเนื่องจากการทำวิจัยในชุมชนของนักศึกษาแพทย์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรมีข้อจำกัดของเวลาและการเลือกวิธีการวิจัยแบบ prospective ได้ยาก จึงมีการทบทวนและปรับหลักสูตรใหม่ปี พ.ศ. 2562 มาทำการวิจัยในชั้นคลินิกปีที่ 4-5 แทนชั้นปีที่ 6  บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           การเรียนการสอนสามารถดำเนินการได้โดยการประชุมทางไกล ทั้งผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกันในเวลาเดียวกัน  สามารถรับผู้เรียนได้จำนวนมาก  ประหยัดการเดินทางทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย โดยการใช้ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย กับอุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ โดยมีการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะต้องเข้าใจเนื้อหาของหลักสูตรที่จะสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้ได้บัณฑิตตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  เพื่อนำไปกำหนดเป้าหมายการจัดการ การเรียนการสอนให้ชัดเจน มีการวางแผนที่ดี  มีทีมงาน เครือข่ายที่จะช่วยสนับสนุนแผนการสอน  มีการสื่อสาร สัมพันธภาพที่ดีในทีม มีการเรียนรู้และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้  มีการติดตามประเมินผล รับฟังความคิดเห็น ความต้องการของผู้เรียน อาจารย์ผู้ร่วมสอน และบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การสนับสนุนจากผู้บริหารทั้งเรื่องบุคลากร เช่น เจ้าหน้าที่โสตฯ และงบดำเนินการ                เอกสารอ้างอิง การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาแพทย์เตรียมความพร้อมก่อนขึ้นปฏิบัติงานชั้นปีที่ 6 (Course for extern preparation) ปีการศึกษา 2562-66 มคอ.6 รายวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน 3 (PVM 621) ปีการศึกษา 2558-2566 บันทึกรายงานการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาแพทย์ในการประชุมวิชาการและประกวดผลงานวิจัย              ประจำปีการศึกษา 2558-2566 ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมและเวชศาสตร์ชุมชน วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ทีมงาน “หนึ่งทศวรรษการประชุมทางไกลเพื่อการทำวิจัยของนักศึกษาในโรงพยาบาลชุมชน” ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมและเวชศาสตร์ชุมชนวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

การออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ในวิชาการทดสอบพิษวิทยาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 การออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด การศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ ในวิชาการทดสอบพิษวิทยา สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.ภญ.ธิดารัตน์ เพ็ชรมณี และ ดร.ภญ.นลินี ประดับญาติ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ ในปัจจุบันองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากกระบวนการศึกษาและวิจัยทำให้ค้นพบวิวัฒนาการใหม่ ๆ ทั้งด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ดังนั้นในบริบทของสถานศึกษาซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะและสร้างบุคลากรให้เกิดปัญญาจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้ทันต่อโลกและเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตลอดจนเกิดผลลัพธ์จากการเรียนในเชิงประจักษ์ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ปี 2561 ของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีการเปลี่ยนแปลงรายวิชาจากหลักสูตรเดิมโดยเพิ่มการเรียนการสอนรายวิชาวิชา PHA 552 (การทดสอบพิษวิทยา: Toxicology testing) สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5 สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ โดยมีเนื้อหา8ครอบคลุมหลักการและทฤษฎีของการทดสอบทางพิษวิทยาในการศึกษาวิจัยที่ไม่ได้ทำในมนุษย์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันความปลอดภัยในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่ ตามแนวทางของ ASEAN Common Technical Dossier (ACTD) การออกแบบการทดลองและแปลผลการทดสอบความเป็นพิษที่เกิดจากการให้ยาครั้งเดียว ความเป็นพิษที่เกิดจากการให้ยาซ้ำ ความเป็นพิษต่อยีน ฤทธิ์ก่อมะเร็ง และความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์และการพัฒนาของทารก เป็นต้น วิชานี้มีความสำคัญต่อการทำงานวิจัยและพัฒนายา รวมถึงการขึ้นทะเบียนยา ที่เภสัชกรจะต้องมีความเข้าใจ สามารถคัดเลือก วิเคราะห์และค้นหาข้อมูลการทดสอบพิษวิทยาในฐานข้อมูลได้ อีกทั้งวิชานี้สอนโดยอาจารย์หลายท่านในหมวดวิชาเภสัชวิทยา โดยอาจารย์แต่ละท่านจะสอนในหัวข้อที่ตนเองมีความถนัด และเนื้อหาของแต่ละหัวข้อไม่ได้เชื่อมโยงกัน ซึ่งแต่ละหัวข้อยังมีรายละเอียดเนื้อหาที่ซับซ้อนและยากต่อการทำความเข้าใจอันจะนำไปสู่ความสนใจในเนื้อหารายวิชาตลอดจนผลลัพธ์ที่จะเกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนของทั้งรายวิชาจึงมีความสำคัญ โดยมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของทั้งรายวิชา เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการเรียนที่ชัดเจน ผู้สอนก็มีเป้าหมายในการสอนที่ชัดเจนเช่นเดียวกับผู้เรียน และช่วยให้ผู้สอนจัดการรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่วิชาตั้งไว้ การจัดการเรียนรู้วิชานี้ จึงเป็นการประยุกต์แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ (outcome-based education) ในการเรียนการสอน ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           กระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบเดิมแบบเน้นการบรรยาย และด้วยลักษณะเนื้อหาที่ยากต่อการทำความเข้าใจ และบ่อยครั้งในกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้เกิดการบูรณาการหรือเน้นผลลัพธ์ที่จะเกิดต่อผู้เรียน ส่งผลทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และความจำในระยะสั้น ขาดการประมวลความรู้ และขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเนื้อหาอันส่งผลต่อทำให้คุณภาพและผลลัพธ์ของรายวิชาไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง ดังนั้นในรายวิชานี้จึงมีการใช้ประสบการณ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอน ตลอดจนผลการวัดและประเมินผลรายวิชาในปีการศึกษาที่ผ่านมาสำหรับพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบและวิธีการในการจัดการเรียนการสอน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้ที่เกิดจากการพัฒนาและปรับปรุงประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดต่อผู้เรียน ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.ภญ. ธิดารัตน์ เพ็ชรมณี และ อ.ดร.ภญ. นลินี ประดับญาติ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ กำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมายโดยเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา PHA 552 การทดสอบพิษวิทยา ในเทอม 1/2566 และ 1/2567 การสร้างและทดสอบเครื่องมือสำหรับกระบวนการเรียนและการสอนโดย ประชุมคณาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาเพื่อออกแบบการเรียนการสอนของรายวิชาและกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาเน้นผลลัพธ์ โดยใช้กระบวนการ ADDIE model ในการออกแบบการเรียนการสอน และประชุมร่วมกับอาจารย์ผู้สอน เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นผลลัพธ์ และกิจกรรมของรายวิชา ผู้วิจัยชี้แจงผู้เรียนเกี่ยวกับเป้าหมายของรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรทำได้หลังจบการเรียนวิชานี้ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผลลัพธ์ โดยมีการสื่อสารกับผู้เรียนตลอดรายวิชาผ่าน Microsoft Teams ผู้เรียนได้รับการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วย formative assessment ในกิจกรรมของรายวิชา ประเมินความเห็นต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนวิชา PHA 552 โดยสร้างแบบประเมิน 1 ชุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่     ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ประกอบด้วยเพศ และปีที่เข้าเรียน ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน โดยมีข้อคำถาม 22 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกระบวนการ ขั้นตอนการสอน และการประเมินผล 2) ด้านคุณภาพและเนื้อหาการเรียนการสอน 3) กิจกรรม case discussion 4) ด้านความเข้าใจเนื้อหาจากการทำ case discussion และความพึงพอใจโดยรวม 1 ข้อ แบบสอบถามเป็นแบบ Likert Scale มี 5 ระดับ เรียนจากระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดถึงระดับความพึงพอใจมากที่สุด ส่วนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของนักศึกษาต่อรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 1 ข้อ           การตรวจสอบคุณภาพแบบประเมิน ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอาจารย์เภสัชศาสตร์และมีความเชี่ยวชาญในด้านการศึกษาจำนวน 3 ท่าน ประเมินความเที่ยงตรง (IOC) ของเครื่องมือ ให้ผู้เรียนทำแบบสอบถาม และผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลผลการเรียนของนักศึกษา ของรายวิชา PHA 552 การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลผ่าน Microsoft Forms การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการลงพื้นที่ทำวิจัยภายในห้องเรียน 4-201B มหาวิทยาลัยรังสิต 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลลัพธ์ต่อผู้เรียนแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน มีทักษะในการสืบค้นข้อมูล การคิดวิเคราะห์ การบูรณาการองค์ความรู้และเกิดการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเป็นความรู้ ความจำในระยะยาวส่งผลทำให้ผลการวัดและประเมินรายวิชานี้มีค่าระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเรียนการสอนแบบเน้นการบรรยายในปีการศึกษาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเนื่องจากตารางเรียนของรายวิชาจัดในช่วง 15.00-17.00 น. ซึ่งผู้เรียนผ่านการเรียนรายวิชาอื่น ๆ มาตลอดทั้งวันและในกระบวนการเรียนการสอนโดยวิธีการดังกล่าวผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมตลอดคาบเรียนจึงอาจส่งผลให้ผู้เรียนมีความเหนื่อยล้า อันจะส่งผลต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดจากการเรียนรู้ได้           3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอน อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาได้ให้ผู้เรียนตอบแบบสอบถามผลการดำเนินกิจกรรมของรายวิชาซึ่งพบว่า รายวิชานี้และรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนได้รับการประเมินจากผู้เรียนในระดับที่ดี ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจคิดวิเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ ตลอดจนสังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษาและวิจัยทางด้านพิษวิทยาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในกระบวนการวิจัยและพัฒนาตลอดจนการขึ้นทะเบียนตำรับยา ผลลัพธ์จากการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ผลงานในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา (The 7thAsian Association of Schools of Pharmacy (AASP) Pharmacy Education Forum; The 7th AASP) และวารสาร Interprofessional Journal of Health Sciences (TCI2) ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนโดยเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ต่อผู้เรียนนี้จึงเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ที่ยั่งยืนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เนื่องจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์ต่อผู้เรียนทำให้ในกระบวนการเรียนสอนผู้เรียนต้องมีกิจกรรมทั้งการค้นคว้า การบูรณาการองค์ความรู้ตลอดชั่วโมงการเรียน และตารางเรียนของรายวิชาอยู่ในช่วง 15.00 – 17.00 น. ซึ่งผู้เรียนมีเรียนในรายวิชาอื่น ๆ มาตลอดทั้งวันอันจะส่งผลทำให้ผู้เรียนเกิดความเหนื่อยล้า ดังนั้นอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาได้ใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อปรึกษากับฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อปรับตารางเวลาเรียนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์และผลลัพธ์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุดในปีการศึกษาถัดไป ซึ่งฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ได้เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ต่อผู้เรียนดังกล่าวจึงได้พิจารณาปรับตารางเรียนรายวิชาให้เหมาะสมโดยจัดการเรียนการสอนรายวิชา PHA552 นี้ในภาคการศึกษาที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป หลักฐานและเอกสารประกอบ ผลงานวิจัยเรื่อง Evaluating Pharmacy Students’ Perceptions with Outcome-Based Learning in Toxicology Testing ตีพิมพ์ในวารสาร Interprofessional Journal of Health Sciences ฉบับที่ 22 (1) ฉบับเดือนมกราคม – มิถุนายน 2567

การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือวางองศาการถ่ายภาพรังสีเพื่อการรักษารากหันหลายคลองราก ไปสู่การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือโดยการวัดผลในผู้ใช้จริง

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1 การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือวางองศาการถ่ายภาพรังสีเพื่อการรักษารากฟันหลายคลองราก ไปสู่การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือ โดยการวัดผลในผู้ใช้จริง ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ทญ.ดร.ปิยะนุช กรรณสูต วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​                ในการรักษาทางทันตกรรมการรักษาคลองรากฟันเป็นหนึ่งในงานที่ทันตแพทย์ต้องให้การรักษาเป็นประจำเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่ลุกลามเข้าสู่คลองรากฟันหรือกำจัดหนองปลายรากฟัน ฟันทุกซี่จะมีส่วนของคลองรากฟันเป็นที่อยู่ของเส้นเลือดและเส้นประสาทอยู่ภายใน หากมีฟันที่ผุลุกลามหรือมีการติดเชื้อจากสาเหตุใดก็ตามทะลุไปถึงคลองรากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะต้องเปิดคลองรากฟันเพื่อเข้าไปกำจัดเชื้อและอุดคลองรากให้สมบูรณ์ให้ฟันซี่นั้นสามารถใช้งานต่อได้โดยปราศจากเชื้อโรค                ฟันของมนุษย์มีหลายรูปร่างและหลายหน้าที่เช่น ฟันตัดด้านหน้า ฟันกรามบดเคี้ยวด้านหลัง ซึ่งฟันแต่ละซี่จะมีจำนวนของคลองรากฟันไม่เท่ากัน ในฟันหลังเช่น ฟันกรามน้อย ฟันกราม มักจะประกอบไปด้วยมากกว่า 1 คลองรากฟัน ในการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อโรคนั้นมีความสำคัญมากที่จะต้องรักษากำจัดเชื้อโรคให้ครบทุกครองรากอย่างดีไม่ให้ยังคงเหลือของเชื้อโรคและลุกลามต่อไปได้อีก การรักษาคลองรากฟันนั้นประกอบไปด้วยหลายขึ้นตอนตั้งแต่การล้างให้สะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ และการอุดปิดคลองราก ใช้ระยะเวลาการรักษาอาจจะมากกว่าหนึ่งครั้งจนเสร็จ และต้องมีระยะเวลาในการติดตามผลการรักษาต่อเนื่องอีกหลายเดือน-ปี                รากฟันเป็นอวัยวะที่อยู่ในกระดูกเบ้าขากรรไกร การตรวจดูผลการรักษานั้นทำได้โดยวิธีเดียวคือการถ่ายภาพรังสีบริเวณรากฟัน เพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษาในขั้นตอนต่างๆ และดูผลสำเร็จของการรักษาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการตรวจดูอาการของผู้ป่วยและการตรวจทางคลินิก ดังนั้นในฟัน 1 ซี่ที่ประกอบไปด้วยหลายคลองรากฟัน การถ่ายภาพรังสีรากฟันมักจะมีโอกาสที่รากฟันหนึ่งจะบดบังอีกรากหนึ่งอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ผู้ถ่ายภาพรังสีต้องเอียงกระบอกรังสีหลบให้เกิดการถ่ายลักษณะเฉียง ๆ ให้ได้เห็นรากแบบไม่ซ้อนทับกัน การเอียงหลบของกระบอกรังสีนั้นทำโดยการคาดคะเนจากผู้ถ่ายภาพรังสีตามความถนัดของแต่ละบุคคล บ่อยครั้งยังมีการซ้อนทับกันของรากในภาพรังสี ต้องทำการถ่ายภาพรังสีหลายครั้งโดยเปลี่ยนมุมในการเอียงหลบเพื่อให้สามารถมองเห็นทุกคลองรากได้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีจากการเอ็กซ์เรย์ฟันหลายครั้งโดยไม่จำเป็น และเสียเวลาทำงานในการทำให้มีประสิทธิภาพในระยะเวลาจำกัด เนื่องจากมีการซ้อนทับกันของคลองรากทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงองศาในการถ่ายภาพรังสีจนกว่าจะเห็นคลองรากที่ไม่ซ้อนทับกัน โดยการคาดคะเนองศาต่าง ๆ มักเป็นการประมาณของแต่ละบุคคล ไม่มีความแน่นอน                จึงมีการคิดแก้ไขปัญหาความไม่แม่นยำของการวางกระบอกรังสีนี้ ด้วยเครื่องมือบางอย่างที่ช่วยเข้ามาส่งเสริมการถ่ายภาพรังสีในกรณีที่ต้องมีการเอียงกระบอกรังสีเพื่อให้รากฟันไม่ซ้อนทับกัน และลดการใช้เวลาในการถ่ายภาพรังสี รวมถึงการได้รับรังสีมากเกินความจำเป็นของผู้ป่วย  ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           อาจารย์จึงได้นำเอาสถิติของฟันแต่ละซี่มาวิเคราะห์ดูก่อนว่ามักจะต้องเอียงกระบอกถ่ายรังสีที่กี่องศาในการถ่ายภาพรังสีให้รากฟันไม่ซ้อนทับกัน โดยนำมาวิเคราะห์ที่ 20 25 30 35 องศาตามลำดับ แล้วมาจัดทำเครื่องมือชื่อ RSU shifter เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วางทาบอุปกรณ์จับฟิล์มที่ใช้ถ่ายรังสีในงานรักษาคลองรากทั่วไป โดยร่วมกับการจัดตำแหน่งกระบอกรังสี เป็นอุปกรณ์เสริมที่ยังไม่พบเครื่องมือลักษณะนี้มีการขายในท้องตลาดมาก่อน เครื่องมือนี้จะช่วยวางองศาความเอียงของกระบอกถ่ายรังสีได้แม่นยำในองศาที่เลือกโดยไม่ต้องทำการคาดคะเนเองตามความถนัดส่วนบุคคล โดยจากการทำวิจัยพบว่ามีการวางมุมที่ 20 องศาเป็นหลัก โดยทดสอบจากทันตแพทย์ทั่วไปที่ให้การรักษาคลองรากฟัน และทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมเอ็นโดดอนต์ หลังจากการทำวิจัยจึงได้เน้นผลิตเครื่องมือที่ 20 องศาเป็นหลัก ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผศ.ดร.ทญ. ปิยะนุช กรรณสูต วิทยาลัยทันแพทยศาสตร์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้              อาจารย์ได้สร้างนวัตกรรมของเครื่องมือ ชื่อ RSU shifter เป็นเครื่องมือที่ไว้วางตำแหน่งเอียงของกระบอกเครื่องถ่ายภาพรังสีที่ 20 องศา หลังจากวิเคราะห์แล้วว่าเป็นมุมที่มีประโยชน์ในการใช้งานให้ถ่ายภาพรังสีได้ไม่เกิดการซ้อนทับของคลองรากมากที่สุด เครื่องมือนี้มีน้ำหนักเบา จัดเก็บง่าย ทำความสะอาดง่าย และใช้งานง่าย สามารถใช้งานกับอุปกรณ์จับฟิล์มหลายชนิดที่มีใช้ตามท้องตลาดทั่วไป ได้ทุกแบบ ผู้ถ่ายภาพรังสีสามารถทำคนเดียวได้ และเครื่องมือยังมีความคงทนสูง สามารถฆ่าเชื้อและนำกลับมาใช้ซ้ำได้                หลังจากสร้างชิ้นงานนวัตกรรมขึ้นแล้ว อาจารย์ได้ทำการจดอนุมัติสิทธิบัตร และนำมาทำวิจัยเพื่อดูผลการใช้งานว่ามีประโยชน์และมีประสิทธิภาพเพียงใด รวมถึงรวบรวมข้อเสียจากการใช้งานมาต่อยอดปรับปรุงชิ้นงานนวัตกรรมให้เป็นประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ  2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                 ได้มีการทำวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ หาข้อบกพร่องและนำมาปรับปรุงชิ้นงานในหลายขึ้นตอน การผลิตชิ้นงานนั้นเริ่มจาก version ที่ 1 เป็นเครื่องมือตัวแรกชื่อ PLK jig ซึ่งเป็นเครื่องมือแรกที่ได้ทำการจดอนุมัติสิทธิบัตร และนำมาทำวิจัยโดยการใช้งาน จึงพบปัญหาหลายอย่างจนพัฒนามาเป็นเครื่องมือ RSU shifter ในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องมือชิ้นปัจจุบันได้ปรับปรุงข้อเสียของ version ที่ 1 ให้สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมือถ่ายภาพรังสีที่ใช้กันอยู่แล้วในคลินิก ลดการปนเปื้อนของน้ำลาย และใช้งานง่ายขึ้น โดยได้มีการทำวิจัยวัดผลและตีพิมพ์ไปแล้วเช่นกัน ใน World journal of dentistry ในปี 2021 ในบทความเรื่อง A Novel 20° X-ray Angle Shifter for Superimposed Canal Separation โดยทำการวิจัยเครื่องมือที่เอียง 20 องศาในฟันกราม                หลังจากการวัดผลการใช้งานด้วยงานวิจัย ปัจจุบันอาจารย์ก็ได้ทำงานวิจัยเพื่อประเมินเพิ่มเติมอีก โดยเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้และความแม่นยำของวิธีแบบดั้งเดิมจากการคาดคะเนโดยผู้ถ่ายภาพรังสึโดยไม่ใช้เครื่องมือ RSU shifter เปรียบเทียบกับการใช้เครื่องมือที่ได้ผลิต (horizontal shift technique) เป็นการวัดผลกับผู้ใช้อย่างแท้จริงว่าเป็นประโยชน์กับคนทั่วไปอย่างแท้จริงรึเปล่า และภาพรังสีที่ได้นั้นแตกต่างกันจริงหรือไม่ พบว่าการใช้เครื่องมือ RSU shifter สามารถลดระยะเวลาการถ่ายภาพรังสีได้ โดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์ อีกทั้งยังสามารถถ่ายภาพรังสีมุมเดิมในการติดตามการรักษาของรากฟันเดิมในครั้งถัด ๆ ไปได้เป็นอย่างดี ส่วนในกลุ่มผู้ถ่ายภาพรังสีที่มีความเคยชินกับการถ่ายแบบคาดคะเนด้วยตนเองแบบเก่านั้นพบว่า อาจจะยังไม่คุ้นชินกับเครื่องมือเท่าการกะประมาณด้วยตนเองซึ่งอาจจะไม่สามารถถ่ายภาพรังสีในมุมซ้ำเดิมได้ในระยะติดตาม แต่ทั้งนี้พบว่าการใช้เครื่องมือนี้ภาพรังสีที่ได้จะมีคุณภาพที่ดีขึ้นในการเปรียบเทียบ ติดตามผลการรักษา           เครื่องมือนี้ได้ถูกพัฒนาจาก version ที่ 1 มาเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน (10 ปี)  ได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องและแก้ไขมาจนปัจจุบัน ซึ่งเครื่องมือที่ได้ถือว่าเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน เปรียบเทียบผล recall ติดตามผลการรักษาได้ดีกว่าในฟันที่รักษาคลองรากฟัน          3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่             การสร้างงานนวัตกรรมเป็นงานวิจัยนั้น ทำให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้น ทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาว่างานมีข้อบกพร่องอะไร เมื่อผลวิจัยบ่งชี้ออกมาก็สามารถเอาไปแก้ไข้ชิ้นงานนวัตกรรมนั้นอีก เพราะสิ่งที่ประดิษฐ์แล้วได้ใช้งานก็นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงเป็นเครื่องมือที่ดีขึ้น และทำวิจัยกับเครื่องมือที่ปรับปรุงแล้วไปอีกทำให้ได้ชิ้นงานที่ใช้งานได้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง                    อีกทั้งยังทำให้อาจารย์เกิดผลงานทั้งงานนวัตกรรมและงานวิจัยในชิ้นงานเดียว พออาจารย์ลงมือทำให้จะเห็นแนวทางการต่อยอด รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานให้ต่อยอดชิ้นงานไปได้อีก สิ่งที่อาจารย์ได้คิดต่อไปอีกคือการทำผลิตภัณฑ์ที่เป็น set เครื่องมือที่ใช้ถ่ายภาพรังสี เนื่องจากในท้องตลาดมีการขายหลายรูปแบบ การใช้งานตามแต่ความถนัดของผู้ถ่ายภาพรังสี อาจารย์จึงคิดที่จะทำ set ของเครื่องมือที่รวบรวมทุกเทคนิคไว้ด้วยกัน ทั้งนี้คนในปัจจุบันชอบสิ่งที่มีความสะดวกสูง และมีความง่ายในการใช้งาน อาจารย์จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องมือที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ใช้งานง่ายขึ้นอีก ซึ่งแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาต่างๆนี้ก็ล้วนเกิดขึ้นจากการทดสอบการใช้งานจากงานวิจัยที่พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะให้คำแนะนำออกมาในทิศทางเดียวกัน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice               เวลาเป็นสิ่งที่เร่งรัดนักประดิษฐ์ การผลิตที่ใช้เวลานานก็อาจจะทำให้สิ่งประดิษฐ์นั้นล้าสมัย แต่ในมุมมองของนักวิชาการก็ถือเป็นการได้ประโยชน์ในการทำงานวิชาการมากกว่าการทำธุรกิจ และแน่นอนว่ายังเกิดประโยชน์อย่างสูงในส่วนของการเรียนการสอน และการใช้จริงกับผู้ป่วยในคลินิก                การทำวิจัยจากนวัตกรรมให้สำเร็จนั้น อาจารย์ได้แนะนำว่าให้สร้างนวัตกรรมแล้วส่งจดสิทธิบัตร เมื่อมีการจดสิทธิบัตรแล้วก็สามารถนำเครื่องมือไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงการนำมาทำวิจัยต่อ จะพบว่าของที่ประดิษฐ์ชิ้นนั้นมีประโยชน์ และได้ค้นพบว่าเครื่องมือที่ตนเองผลิตขึ้นมามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร จนมาถึงเครื่องมือชิ้นล่าสุดที่ค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ และมีประโยชน์กับนักศึกษามาก                การทำงานวิจัยและนวัตกรรมได้รับการสนับสนุนทุนจากมหาวิทยาลัยรังสิตในการส่งเสริมให้จัดทำชิ้นงาน แต่เวลาในการทำมีไม่มากเนื่องจากมีตารางการสอนที่ค่อนข้างเต็มเวลา อาจจะต้องใช้เวลานอกในการทำผลงานบ้าง แต่ต้องทำไปเรื่อย ๆ ไม่ทอดทิ้ง ก็จะได้ผลงานที่เป็นประโยชน์ออกมา ง่ายต่อผู้ใช้งานจริง และอยากให้ผู้ใช้ได้นำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษา           อย่างไรก็ตามอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ จะเป็นการดีถ้ามหาวิทยาลัยสามารถมีทีมที่สนับสนุนคอยชี้แนะให้ผลงานสามารถต่อยอดทางธุรกิจได้

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศพัฒนาการวัดและประเมินผลนักศึกษาทันตแพทย์ระดับชั้นคลินิค

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศพัฒนา การวัดและประเมินผลนักศึกษาทันตแพทย์ระดับชั้นคลินิก ผู้จัดทำโครงการ​ คณะกรรมการจัดการความรู้วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ผู้ให้ความรู้ ทพ.วิธวินท์ เดโชศิลป์ ทพ.ดร.ปกรณ์ ชื่นจิตต์ ผศ.ทพ.ดร.ทักษ์สิทธิ์ จรัสแสงไพศาล และ ผศ.ทพ.ปกิต ตุ้งสวัสดิ์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​             การจัดการเรียนการสอนระดับชั้นคลินิกให้นักศึกษาทันตแพทย์ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ให้มีคุณภาพครบทั้ง ความรู้ ความสามารถในการรักษา มีจิตใจที่เมตตา และมีจริยธรรมในวิชาชีพ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิตได้เลือกวิธีจัดการเรียนการสอนรูปแบบ “Comprehensive Dental Care” ที่มุ่งเป้าไปยังผลผลิตบัณฑิต ผู้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้อง เหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละราย สามารถรับผิดชอบดำเนินการรักษาตามแผนที่วางไว้จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ด้วยตนเอง ทั้งยังติดตามผลการรักษาให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพฟันให้ดีได้อย่างยั่งยืน                 ในการประเมินความพร้อมที่จะเป็นบัณฑิตทันตแพทย์ที่มีคุณภาพตามที่กล่าวไว้ จะมีเกณฑ์จบการศึกษา 2 ส่วนคือ จำนวนขั้นต่ำของกรณีผู้ป่วยที่มีความยากง่ายต่างระดับกันไป ให้มั่นใจได้ว่าบัณฑิตทันตแพทย์จะจบการศึกษาไปประกอบวิชาชีพได้โดยมีพื้นฐานความรู้รูปแบบ “Comprehensive Dental Care” ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทันตแพทย์ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต  และอีกส่วนเป็นคะแนนที่จะสะท้อนคุณภาพของวิธีการรักษาที่ประกอบไปด้วย ความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้รักษาได้ถูกต้อง ด้วยวัสดุ เครื่องมือ ที่ทันต่อเทคโนโลยีปัจจุบัน  การวางตัวและความมีมารยาทต่อผู้ป่วย  และการบริหารจัดการเวลาที่ใช้ในการรักษา ซึ่งวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญต่อขั้นตอนการวัดและประเมินผลนี้เป็นอย่างมาก  เพื่อให้แน่ใจว่าบัณฑิตทันตแพทย์ของมหาวิทยาลัยรังสิตจะต้องมีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักที่ได้วางไว้                จากผลการดำเนินการผลิตบัณฑิตมาร่วม 15 ปี เป็นที่น่ายินดีที่วิทยาลัยฯของเราเป็นโรงเรียนทันตแพทย์เอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ ด้วยการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นคลินิกในรูปแบบ “Comprehensive Dental Care” ได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับในวงการทันตแพทย์ศึกษาของประเทศ  และประชาชนโดยทั่วไป                ก่อนที่จะเกิดระบบจัดการได้อย่างลงตัว สามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นคลินิกได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด นักศึกษาสามารถทำงานได้ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดภายในเวลา 2 ปีของระดับชั้นคลินิก เป็นที่พอใจของผู้บริหารวิยาลัยฯ คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรผู้เกี่ยวข้องนั้น  วิทยาลัยฯ ได้ผ่านปัญหาสำคัญ 2 เรื่องคือ เรื่องการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ เรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ปัญหาที่ 1.  เรื่องการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้                วิทยาลัยจะต้องจัดเตรียมคณาจารย์ที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละสาขาของการรักษาทางทันตกรรม มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าผู้ชำนาญการที่รับรองโดยทันตแพทยสภา หรือไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโท เพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษาจะได้คุณภาพการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบ และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยมีสัดส่วนไม่เกิน อาจารย์ 1 ท่าน ต่อนักศึกษา 6 คน เป็นปัญหาการจัดหาอาจารย์ให้ได้ตามที่กล่าวด้วยสาเหตุของจำนวนคณาจารย์ในประเทศมีจำกัด และงบประมาณที่จำกัดของมหาวิทยาลัย                และด้วยการทำงานของนักศึกษาพร้อมกันทั้งหมดประมาณ 200 คน จะมีการนัดผู้ป่วยมารักษาโดยมีชนิดงานที่เป็นไปตามแผนการรักษาที่ได้วางไว้ ทำให้ในแต่ละคาบเวลา เกิดปัญหาการซ้ำซ้อนของชนิดงานที่เกินจำนวนอาจารย์ตรวจงานชนิดนั้นๆที่ได้วางตารางตรวจงานไว้ล่วงหน้าก่อนเปิดภาคเรียน จึงต้องให้นักศึกษาลงคิวนัดผู้ป่วยในแต่ละคาบไว้ล่วงหน้า  เป็นปัญหาของนักศึกษาที่ต้องนัดผู้ป่วยให้ได้พอดีกับโควตางานนั้นๆในแต่ละคาบ อีกทั้งการลงเวลานัดยังใช้แฟ้มเอกสารลงคิวด้วยการเขียน เกิดปัญหาต่อนักศึกษาเป็นอย่างมากในการแย่งคิวทำงาน และการนัดผู้ป่วยให้ลงพอดีคิว                การพัฒนาระบบลงคิวแบบออนไลน์ เกิดขึ้นจากปัญหาการระบาดของเชื้อโควิด 19 ทำให้ต้องมีมาตรการ social distancing เพื่อทดแทนการลงคิวแบบเขียนลงในกระดาษและนักศึกษาต้องมารวมกลุ่มเพื่อลงคิวกันทำให้เกิดความแออัดและเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ จึงเกิดแนวคิดที่จะระบบลงคิวแบบออนไลน์ขึ้นเพื่อใช้งาน                วิธีการ                ระบบลงคิวออนไลน์ ถูกพัฒนาขึ้นจาก Google sheets ที่เป็น online application ของ Google ผู้เข้าใช้ต้อง login ด้วย account ที่ออกให้โดยมหาวิทยาลัย (@rsu.ac.th) ทำให้มีความปลอดภัยในการใช้งานโดยบุคคลภายนอกองค์กรไม่สามารถเข้าใช้งานได้                นักศึกษาสามารถ login เข้ามาลงคิวปฏิบัติงานสาขาต่าง ๆ ได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้การบริหารจัดการคิวนักศึกษาและการแบ่งเวรตรวจการปฏิบัติงานคลินิกมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เป็นการประหยัดทรัพยากรทั้งกระดาษ เวลา บุคคล เมื่อเทียบกับวิธีการเดิมที่เขียนบนกระดาษ นอกจากนี้เอกสารที่ถูกบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทำให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ง่าย                นอกจากนี้มีการต่อยอดจากการระบบลงคิวของนักศึกษาสู่ระบบการจัดการแบ่งเวรอาจารย์ของแต่ละสาขาเพื่อลงตรวจการปฏิบัติงานคลินิก จากเดิมที่การแบ่งนักศึกษาให้อาจารย์แต่ละคนจะจัดสรรและเขียนบนกระดาษจากนั้นติดประกาศที่หน้าคลินิก โดยการจัดสรรนักศึกษาแต่ละคาบต้องมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบการจัดสรรทำหน้าที่คิดคำนวณสัดส่วนนักศึกษาที่เหมาะสมตามจำนวนอาจารย์ที่ลงปฏิบัติงานของแต่ละสาขาจากนั้นกระจายนักศึกษาให้อาจารย์แต่ละคน เมื่อข้อมูลการลงคิวของนักศึกษาอยู่ในระบบออนไลน์ทำให้สามารถเขียนเป็นอัลกอริทึมเพื่อคิดคำนวณสัดส่วนและแบ่งนักศึกษาให้กระจายไปยังอาจารย์แต่ละคนได้อัตโนมัติทำให้ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของอาจารย์ได้ และนักศึกษาสามารถตรวจสอบว่าตนเองต้องส่งงานกับอาจารย์ท่านใดได้ง่ายจากระบบออนไลน์                มีการพัฒนาเชื่อมต่อกับระบบให้คะแนนการปฏิบัติงานออนไลน์ (daily performance) ทำให้ระบบมีความสมบูรณ์มากขึ้นตั้งแต่นักศึกษาเริ่มลงคิวปฏิบัติงานไปจนกระทั่งลงคะแนนผลการปฏิบัติงานเพื่อประเมินผล                การพัฒนาปรับปรุง                ระบบมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา โดยรับ feedback จากผู้ใช้งานทั้งนักศึกษา และอาจารย์ โดยมีการสร้างกลุ่มไลน์ขึ้นเพื่อรับทราบและตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบ ทำให้ระบบมีความเสถียรขึ้นเป็นลำดับและปัญหาเชิงเทคนิคที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานลดน้อยลงอย่างมาก ประโยชน์ที่ได้รับ นักศึกษาไม่เสียเวลากับการรอลงคิวปฏิบัติงานคลินิกในแต่ละวัน ลดการรวมกลุ่มทำให้เกิด social distancing บันทึกข้อมูลเป็นออนไลน์ สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้กรณีเกิดปัญหา ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของอาจารย์ในการจัดสรรนักศึกษาที่ลงปฏิบัติงานคลินิก นักศึกษาสามารถเพิ่มลดคิวได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นระบบออนไลน์ไม่ต้องไปดูบนแผ่นกระดาษทำให้ไม่เกิดคิวว่างที่เกิดจากการยกเลิกกระทันหันของผู้ป่วย ปัญหาที่ 2.  เรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้                    ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะใช้ยืนยันการบรรลุผลการเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย แต่ด้วยมิติของเป้าหมายที่กำหนดให้ได้ทั้งความรู้ความสามารถและการได้ถึงจิตใจที่เมตตาเป็นมิตร และมีจริยธรรมในวิชาชีพ ทำให้การวัดและและประเมินผลต้องสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกด้าน ด้วยวิธีวัดที่เหมาะสม มีความเที่ยงตรง สามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนจนนักศึกษาสามารถบรรลุเป้าหมายและสอบผ่านเกณฑ์ได้ตามกำหนดเวลาในแต่ละภาคการศึกษา                วิทยาลัยฯได้เริ่มใช้การวัดและประเมินผลนักศึกษาขณะรักษาผู้ป่วยทันตกรรมทุกครั้งตามหัวข้อที่ตรงต่อเป้าหมายที่ต้องการ ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ และจิตพิสัย โดยให้อาจารย์ผู้ดูแลการรักษาเป็นผู้บันทึกข้อมูลลงในแบบให้คะแนน เรียกว่า “Daily Performance” และด้วยการทำงานของนักศึกษา 9 คาบต่อ 1 อาทิตย์ (คาบละ 3 ชั่วโมง) จึงเกิดเป็นข้อมูลในเอกสารจำนวนมาก ประมาณการเป็นจำนวนกว่าหมื่นรายการต่อภาคการศึกษา เป็นปัญหาต่อการนำข้อมูลมาประเมินผลอย่างยิ่ง ทั้งยังยากต่อการจะวิเคราะห์ให้เกิดข้อมูลที่จะใช้เป็นแนวทางปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน                อาจารย์ผู้ให้คะแนนก็มีความยากลำบากที่จะต้องเขียนบันทึกข้อมูลที่ตนเองประเมิน ให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวกันกับที่นักศึกษาทำงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ไม่ขาดตกบกพร่อง                วิทยาลัยฯได้มีความพยายามบริหารจัดการปัญหามาระยะหนึ่ง จนถึงเวลาที่ทีมอาจารย์ประจำของวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ รวม 4 ท่านตามรายชื่อ “ผู้ให้ความรู้แก่รายงานถอดประเด็นความรู้นี้”  ที่ได้เฝ้าสังเกตปัญหา  และพูดคุยปรึกษาหารือกันเป็นประจำ ถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไข จนสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศมาพัฒนาการวัดและประเมินผล โดยใช้ระบบ digital data ลงคะแนน “Daily Performance” โดยใช้งาน google service คือ google sheet และ google form                จนได้เห็นผลลัพธ์ของการพัฒนาที่ได้ตรงต่อประเด็นปัญหาอย่างชัดเจนใน 2 หัวข้อหลักดังนี้ การบันทึกในระบบ digital data ลดปัญหาการบันทึกด้วยการเขียน การรวบรวมข้อมูล การจัดแบ่งข้อมูลให้ใช้วิเคราะห์ได้ง่ายและรวดเร็ว ลดการคลาดเคลื่อนของข้อมูลเมื่อไม่ได้บันทึกทันที ข้อมูลอยู่ถาวรใน cloud ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารกองโต ลดสภาวะโลกร้อน การวัดและประเมินผลทำได้ทันทีหลังการบันทึก สามารถประเมินได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ระหว่างเรียน จนจบการเรียน นักศึกษารับทราบ summerize feedback ทันที อาจารย์ที่ปรึกษาและ ผู้บริหาร สามารถติดตามผลการเรียนรู้ในภาพรวมได้ทุกเวลา สามารถช่วยตักเตือน แนะนำ เพื่อให้ผลการเรียน ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ความช่างสังเกต การรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร และมีจิตอาสาที่พร้อมจะมีส่วนในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งดีๆที่จะช่วยพัฒนาองค์กร ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ จนเกิดงานที่มีคุณค่า จิตสำนึกของความเป็นครูที่ต้องการให้ศิษย์จบการศึกษาเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบ ในเวลาที่กำหน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้    คณาจารย์ประจำ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ รวม 4 ท่าน อาจารย์ ทันตแพทย์ วิธวินท์ เดโชศิลป์ รหัสบุคลากร   5990255  อาจารย์ ดร ทันตแพทย์ ปกรณ์ ชื่นจิตต์ รหัสบุคลากร 5890119 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ทักษ์สิทธิ์ จรัสแสงไพศาล รหัสบุคลากร 5990141 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ปกิต ตุ้งสวัสดิ์ รหัสบุคลากร   5990139  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ อาจารย์ทั้ง 4 ท่าน เริ่มปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาในชั้นคลินิก วิเคราะห์ปัญหาของวิธีวัดผลการฝึกปฏิบัติรักษาผู้ป่วยทันตกรรมด้วย “Daily Performance” ในกลุ่มคณาจารย์ผู้ตรวจงานในคลินิก นักศึกษา และ ผู้รับผิดชอบการประเมินผล โดยมีทีมทำงานที่อยู่ต่างสาขากัน ใกล้ชิดกันในขณะทำงาน มีโอกาสพูดคุยแบ่งปันความรู้ และแนวทางการแก้ไขตามความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นจุดเริ่มต้นงาน นำเสนอแนวทางที่ร่วมกันคิดต่อผู้บริหาร หลังการเห็นชอบจากผู้บริหาร เริ่มนำออกใช้จริง และเปิดรับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำกลับมาปรับปรุง 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                             เริ่มมีการใช้แบบให้คะแนนออนไลน์ในปีการศึกษา 2565 และได้เก็บรวบรวมปัญหาและมีการปรับใหญ่ในปีการศึกษา 2566 ทีมอาจารย์ทั้ง 4 ท่านยังคงเดินหน้าปรึกษาหารือกัน รับฟังปัญหา ข้อแนะนำและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง         3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK 1.นักศึกษาสามารถเข้าไปตรวจสอบการลงคะแนนปฏิบัติงานของตนเองเพื่อทบทวนปริมาณการลงปฏิบัติงานได้ทุกที่ ทุกเวลา2.อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลและช่วยวางแผนการทำงานในคลินิกของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาที่พบและการพัฒนาที่เกิดขึ้น ได้แก่ อาจารย์ลงคะแนนแล้วไม่ขึ้นในระบบ หรืออาจารย์ลืมลงคะแนน จึงแก้ไขโดยสร้างระบบให้นักศึกษาเช็คข้อมูลเองได้  อาจารย์กรอกข้อมูลส่วนวันที่หรือเวลาผิด แก้ไขโดยระบบขึ้นข้อมูลวันที่และเวลาให้อัตโนมัติ หรืออาจารย์เลือกชื่อนักศึกษาในผิด แก้ไขโดยสร้าง QR code ส่วนตัวของนักศึกษา และพัฒนาต่อยอดมาถึงระบบที่มี link ให้คะแนนตามข้อมูลการแบ่งโซน ในส่วนของการลงคิวปฏิบัติงานในคลินิกผ่านออนไลน์นั้น ทำให้นักศึกษาสามารถใช้ โทรศัพท์มือถือ ไอแพด หรือ คอมพิวเตอร์ในการลงนัด หรือเลื่อนนัดคนไข้ได้ตลอดเวลา แม้ในเวลาวันหยุด หรือเสาร์-อาทิตย์ ช่วยในการวางแผนและกระตุ้นการทำงานของนักศึกษา โดยให้นักศึกษาทำการประเมินหลังการใช้งาน 2 ครั้ง และพบว่า นักศึกษาลงคิวผิดพลาดและไม่เข้าใจวิธีการใช้งานในบางจุด จึงแก้ไขโดยมีการจัดประชุมออนไลน์เพื่อชี้แจงเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีปัญหาการดำเนินงานของโปรแกรมที่จะติดขัดเมื่อมีจำนวนผู้ใช้โปรแกรมพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยจำนวนนักศึกษามีปริมาณมากและช่วงเวลาที่เริ่มลงคิวพร้อมกัน จึงได้แก้ไขโดยการจำแนกและเพิ่มส่วนของการเก็บข้อมูลให้มากขึ้น ในบางครั้งมีนักศึกษาที่ลงคิวแล้วไปกดพลาดลบโดนข้อมูลของคนไข้นักศึกษาท่านอื่น จึงได้เพิ่มให้ทำการล็อคอินเข้าโดยใช้อีเมลเป็นการยืนยันตัวตนเพื่อให้สามารถตามการทำงานได้ว่าใครทำอะไร รวมถึงกรณีที่มีปัญหาใดๆก็สามารถตามหาต้นเหตุได้                 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice การสนับสนุนการทำงานเป็นทีมเพื่อแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ เนื่องจากการทำงานเป็นทีมจะสามารถเติมเต็มศักยภาพได้อย่างสูงสุด นำมาสู่การแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาต่อเนื่องยั่งยืน การสนับสนุนให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถนอกเหนือวิชาชีพของตนนำศักยภาพของตนเองมาใช้เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนได้

How to get publisged in Q1 journals? (ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3 How to get publisged in Q1 journals? (ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.เฟื่องฉัตร จรินทร์ธนันต์ ผศ.ดร.อภิชัย ศรีเพียร ดร.อุทัยพร สิงห์คำอินทร์ คณะเทคนิคการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​              เนื่องจากปัจจุบันการศึกษาและทำวิจัยเป็นอีกหนึ่งภาระงานทีมีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อองค์กร สำหรับทางด้านวิชาการ และการเรียนการสอน  บุคลากรบางท่านอาจจะยังไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารวิชาการต่าง ๆ การจัดการความรู้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1 โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์การตีพิมพ์อย่างมากมาย จะทำให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งอาจารย์และบุคลากรฝ่ายสนับสนุนด้านอื่น ๆ จะได้รับประโยชน์ ในแง่ของการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ซึ่งมีหลักปฏิบัติ ดังนี้ เลือกหัวข้อวิจัยโดยหัวหน้าทีมผู้วิจัย ทีมผู้วิจัยดำเนินการประเมิน โดยการทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดความเป็นไปได้ กำหนดสมมติฐาน หรือวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจน ออกแบบระเบียบวิธีวิจัยที่ตรงกับวัตถุประสงค์ ทันสมัย ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์และผลการทดลอง ขอจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรม รับรองความยินยอม และการรักษาความลับของผู้เข้าร่วมวิจัย รวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีการใช้สถิติที่ถูกต้องเหมาะสม พิจารณาเลือกลงตีพิมพ์ในวารสาร Q1 และวารสารที่มี impact factor สูง ร่างต้นฉบับโดยทำตามคำแนะนำจาก website ของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ การแก้ไขภาษาอังกฤษ และการทบทวนเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การออกแบบระเบียบวิธีวิจัย การทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดงานวิจัย การขอจริยธรรม           การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การเขียน และการสื่อสารในการทำงานที่เป็นทีม กระบวนการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การตรวจสอบภาษาอังกฤษ การสร้างเครือข่าย และการทำงานร่วมกัน การเรียนรู้ และการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผศ.ดร. จตุรวัฒน์ ปวีณวงศ์ชัย และ ดร.นิภาพร เทวาวงค์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้              คัดเลือกวารสารที่มีขอบเขตงานวิจัยตรงกับงานวิจัยของตน รวมทั้งมีการตรวจสอบ quartile และ impact factor จาก website เช่น scopus งานวิจัยที่จะลงใน Q1 ควรมีการทดลองที่หลากหลาย ใช้เทคนิคที่ทันสมัย จำนวน sample มากพอสมควร ตรวจสอบและจัดทำ manuscript ตามคำแนะนำของวารสารให้ถูกต้อง เขียน cover letter ถึง editor ด้วยประเด็นที่สำคัญ น่าสนใจ หลังจาก submit คอยติดตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการแก้ไขตามคำแนะนำด้วยความรอบคอบ หากถูก reject ไม่ควรท้อ ควรปรับปรุง และส่งวารสารอื่นที่ตรงกับขอบเขตงานวิจัยของตน 2. Prototype testing in an operational environment – DO      ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                 1. กำหนดวัตถุประสงค์ และการสรุปผลที่ชัดเจน โดยการเขียนบทคัดย่อที่มีความถูกต้องชัดเจน มีจุดน่าสนใจ การเขียนบทคัดย่อและ manuscript สำหรับการตีพิมพ์อาจมีอุปสรรคด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เลือกสถานที่ทำการปฏิบัติงานวิจัยที่เหมาะสม รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง สถานที่ทำการปฏิบัติงานวิจัยอาจมีไม่เพียงพอ จะต้องมีการวางแผนจัดสรรให้รอบคอบเพื่อไม่ให้กระทบกับการทำงาน ต้องมีการขอจริยธรรม Ethical Considerations และ IBC (Institutional Biosafety Committee) ให้เรียบร้อย ซึ่งการขอหนังสือรับรองดังกล่าวอาจใช้เวลานาน ดังนั้นการทำวิจัยจำเป็นต้องมีการวางแผนให้รอบคอบรัดกุม เพื่อให้การขอหนังสือดังกล่าวไม่เป็นการรบกวนเวลาปฏิบัติการวิจัย มีการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยเลือกใช้สถิติที่ถูกต้อง ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอาจจำเป็นต้องขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถิติโดยเฉพาะ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลการทดลอง พร้อมบันทึกเป็น Files ให้เรียบร้อย ซึ่งจะต้องมีการสำรองข้อมูลทั้งหมดให้ครบถ้วนเพื่อป้องกันการสูญหายของาข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของผลการทดลอง และความสามารถในการทำซ้ำได้ การจัดทำเอกสาร และการรายงาน เพื่อความโปร่งใส แบ่งสัดส่วนผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัย ซึ่งถ้าเป็นการแบ่งสัดส่วนอย่างไม่ยุติธรรมและเท่าเทียมอาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาได้ การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการปรับปรุงซ้ำ การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือเป็นการช่วยทบทวนให้ผลงานมีความถูกต้องมากขึ้น แต่ข้อเสียคือ ผู้ทรงคุณวุฒิควรมีจริยธรรมในการวิจัยที่ดีต่อผู้ร่วมงาน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และทิศทางงานวิจัยในอนาคต เพื่อจะได้การตีพิมพ์ในมาตราฐานที่ดี 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการจัดการความรู้งานวิจัยแต่ละสาขา การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนจะทำให้ผลงานการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือ และยอมรับจากวารสารทางวิชาการ และมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูงขึ้น ขอบเขตงานวิจัยตรงกับวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ การตีพิมพ์ผลงานในวารสารทางวิชาการที่ตรงสายงานจะทำให้ได้รับการแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผลงานและเป็นการปรับปรุงให้ผลงานนั้นมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น ทดสอบโดยการทำซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง และให้ผลเหมือนเดิม การทดสอบซ้ำและให้ผลการทดสอบเหมือนเดิม มีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล่าวคือ เมื่องานวิจัยได้รับการตีพิมพ์แล้ว และการทดสอบเป็นที่ยอมรับสามารถทำซ้ำได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าการทดสอบไม่สามารถทำซ้ำได้ จะถูกตั้งข้อสังเกตจากนักวิจัยจากทั่วโลกถึงมาตรฐานการวิจัยของตัวนักวิจัยเอง และอาจส่งผลร้ายแรงต่อนักวิจัยถ้างานวิจัยนั้นถูกถอดถอนจากวารสารทางวิชาการ (retraction) ทบทวนผลงานวิจัยว่าเป็นที่ยอมรับในวารสารที่จะส่ง ก่อนส่ง manuscript ให้วารสารทางวิชาการพิจารณา ผู้วิจัยจะต้องแน่ใจว่าผลงานวิจัยมีความครบถ้วนครอบคลุมวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่เสนอในตอนแรก เพื่อให้มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูงขึ้น ติดตามและแก้ไข เมื่อมีการตอบกลับจาก editor การแก้ไขตามคำแนะนำของ editor หรือ reviewer จะช่วยทำให้ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามบางครั้ง คำแนะนำดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ ทั้งนี้นักวิจัยจะต้องพิจารณาตามความถูกต้องและเหมาะสม ปรับรูปแบบผลงานชื่อ สถานที่ เพื่อรอการตีพิมพ์ซึ่งในแต่ละวารสารระยะเวลาการตีพิมพ์ไม่เท่ากัน เนื่องจากระยะเวลาการตีพิมพ์ของแต่ละวารสารทางวิชาการไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องมีการวางแผนว่าต้องการตีพิมพ์ในวารสารใด และปัจจุบันแหล่งทุนมักจะถามถึงผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้อาจจะนำเสนอในรูปแบบการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับความสำคัญต่างๆ เช่น T1 หรือ Q1 เป็นต้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ระหว่างทีมวิจัย ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร และนอกองค์กร จากประสบการณ์ในการตีพิมพ์ ควรมีการสนับสนุนทรัพยากรความรู้ หนังสือ เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อให้ได้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างแผนก หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมความเป็นผู้นำการทำงานวิจัยและการสนับสนุนการจัดการความรู้ให้ทีมวิจัย บันทึกแนวทางปฏิบัติการทดลองที่ดีที่สุด และบทเรียนที่ได้รับ ควรมีความปลอดภัย และการรักษาความลับของงานวิจัย ควรสนับสนุนให้เผยแพร่ผลการวิจัย และการมีส่วนร่วม

Scroll to Top