รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1

Transformative Learning (ปีที่ 2)

ผู้จัดทำโครงการ​

ดร.สมิตา กลิ่นพงศ์

คณะบริหารธุรกิจ

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

          การเรียนรู้ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในอดีตอาจมีอาจารย์ เป็นเจ้าของความรู้ เป็นศูนย์กลางของ วามรู้ทั้งหมด ทําให้การเรียนรู้เกิดขึ้นโดยมีศูนย์รวมความสนใจที่ผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่ในปัจจุบันนักศึกษาทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น  ทำให้รูปแบบการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนแปลงไป และสามารถตอบคําถามของผู้เรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้ และทําให้บรรยากาศการเรียนไม่น่าเบื่อนักศึกษาสามารถสนุกกับการเรียนของคนเองและเพื่อนๆ ได้

          ดังนั้นอาจารยผูสอนจึงไดนํารูปแบบของการจัดการเรียนการสอนตามนโยบายแผนยุทธศาสตรการพัฒนา
มหาวิทยาลัยในการสรางความเปนเลิศทางการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตดวยรูปแบบการเรียนการสอนใหทันสมัยและ
ทันตอการเปลี่ยนแปลง สอดคลองทฤษฎีการเรียนรูเพื่อการเปลี่ยนแปลงของเมซี่โรว (Mezirow) เปนวิธีการหนึ่งที่จะชวยกระตุน ใหผูเรียนไดคิดวิเคราะห โดยการจัดสภาพการเรียน ให้เผชิญกับวิกฤตการณที่ไมเปนไปตามมุมมองเดิมของตน เกิดการใครครวญอยางมีวิจารณญาณ สนทนาเชิงวิพากษจนนําไปสูการเรียนรูสิ่งใหม ภายใตหัวขอ Transformative Learning มาปรับใชในวิชาสอน

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 
          อาจารย์ผู้สอนได้นําความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)
ตามทัศนะของเมซิโรว์ (Mezirow) มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โดยให้นักศึกษาทําโปรเจคอะไรก็ได้ที่
ส่งเสริมและเสริมสร้างการททํางานเป็นทีม โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เมซิโรว์เสนอ 10
ขั้นตอน ได้แก่
1. การใหผูเรียนไดเผชิญกับวิกฤติการณที่ไมเปนไปตามมุมมองเดิมของตน
2. การตรวจสอบตนเอง
3. การประเมินสมมุติฐานเดิมของตนอยางจริงจัง
4. การเปดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง
5. การคนหาทางเลือกใหม
6. การวางแผนการกระทําใหม
7. การหาความรูและทักษะสําหรับการปฏิบัติตามแผน
8. การเริ่มทดลองทําตามบทบาทใหม
9. การสรางความสามารถและความมั่นใจในบทบาทและความสัมพันธใหม
10. การบูรณาการจนเปนวิถีชีวิตใหมของตน

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้ที่ฝั่งลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)

  • จ้าของความรู้/สังกัด ทฤษฎีเมซิโรว์ (Mezirow)

วิธีการดำเนินการ

  1. วิเคราะห์เนื้อหาวิชาที่สามารถนําหลักของ ทฤษฎีเมซิโรว์ (Mezirow) มาประยุกต์ใช้
    ได้แก่วิชา การสร้างทีมงานและการจูงใจ (HRM414) ปีการศึกษา 2/67
  2. พิจารณาเนื้อหาการสอนจากแต่ละบทว่าสามารถนํามาประยุกต์ใช้ตามทฤษฎีได้หรือไม่ โดยประยุกต์ใช้หลักการจากทฤษฏี
  3. ปรับวิธีการสอนและการสอบหมายงานโครงการให้สอดคล้องกับทฤษฎีเมซิโรว์ (Mezirow) โดยวิธีการ ดังนี้

วิธีการ

  • ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
  • เสริมสริางการสื่อสารที่ดี
  • ผสานความรู้จากหลายแหล่ง
  • สร้างโอกาสเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
  • ส่งเสริมการสะท้อนความคิด
  • สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้
  • ประเมินผลและให้คําแนะนํา

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

           ผลการดําเนินการ การนําไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทํางาน หลังจากได้นําหลักการดังกล่าวไปใช้ในรายวิชา มีตัวอย่างผลการดําเนินการ ดังนี้

จุดประสงค์ของวิชา
1. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการในการจูงใจเพื่อให้เกิดการทํางานที่มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงความสําคัญของการทํางานเป็นทีม
3. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และทดลองปฏิบัติตามเทคนิคการสร้างทีมงาน
4. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักในการสร้างทีมงาน

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

          เนื่องจากเป็นการออกแบบการจัดการสอน Transformative Learning  (ใช้งานปีที่ 2) ตามแนวทางของมหาวิทยาลัยและยังไม่มั่นใจว่าถูกต้องตามแนวทางของ Transformative Learning   หรือไม่ แต่ได้มีการปรับปรุงกิจกรรมที่จะทำให้นักศึกษาได้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้จริง ไม่ใช่แค่สอนหลักทฤษฎีการสร้างทีมงาน

เอกสารแนบ รายงาน PDCA โครงการ

Scroll to Top