รางวัลชมเชย

การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาธุรกิจฯ อาหาร ผ่านกระบวนการปฏิบัติงานจริงของโครงการธุรกิจจำลอง บุญตะวัน

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาธุรกิจฯ อาหาร ผ่านการกระบวนการปฏิบัติงานจริง ของโครงการธุรกิจจำลอง บุญตะวัน ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร. วราพร ลักษณะลม้าย คณะเทคโนโลยีอาหาร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           เนื่องจากวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร คือ การสร้างนักศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบธุรกิจอาหาร การเรียนการสอนในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ถึงแม้ว่านักศึกษาจะได้รับความรู้ภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของแต่ละรายวิชาก็ตาม ปัญหาที่พบคือ นักศึกษาไม่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจึงได้ประชุมเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา โครงการจัดตั้งบริษัทจำลอง บุญตะวัน เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้ปฎิบัติงานจริงในการทำธุรกิจแปรรูปผักผลไม้ที่ล้นตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลเกษตร โครงการนี้ จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษา นอกเหนือจากการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในแต่ละรายวิชา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           เรื่อง การตลาด บัญชี และ การบริหารจัดการธุรกิจ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่นๆ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาด้วยตนเอง วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ ประชุมนักศึกษาชั้นปี 2 เพื่อสร้างความเข้าใจ วัตถุประสงค์ของบริษัท จำลอง บุญตะวัน และ การบูรณาการความรู้ของนักศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการบริษัทบุญตะวัน นักศึกษาแบ่งทีม แต่ละทีมประกอบด้วยนักศึกษา 4-5 คน ในภาคการศึกษา 1/2566 การฝึกปฏิบัติจริงจะเน้นเรื่อง การสร้างวินัย เช่น การตรงต่อเวลา และ การทำงานเป็นทีม รูปแบบของการฝึกงานดังนี้ นักศึกษาแต่ละทีมจะผลัดเวรกันไปขายผลิตภัณฑ์แปรรูปผลไม้ เช่น น้ำผลไม้ต่าง ๆ ที่ตลาดสัมมากร ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ โดยนักศึกษาจะต้องเรียนรู้การเบิกผลิตภัณฑ์ไปขายให้เพียงพอในแต่ละวัน และ การรายงานผลการขายทุกวัน ในระหว่างการขาย นักศึกษาจะได้รับโจทย์ให้ศึกษา เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และหัดพูดคุยกับผู้ซื้อ ชัดชวนให้ซื้อผลิตภัณฑ์บุญตะวัน เป็นต้น ในภาคการศึกษา ที่ 2 / 2566 การฝึกปฏิบัติจะเน้นเรื่อง การสร้างกลยุทธ์การขาย การจัดทำโปรโมชั่น การตั้งราคา เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติที่ใช้ความรู้ในภาคทฤษฎีเข้ามาปฎิบัติจริงมากขึ้นกว่าในภาคการศึกษา 1 / 2566 และการฝึกหัดการเจรจากับ คู่ค้าทางธุรกิจ (Business to Business)   2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                ผลการดำเนินงาน ภาคการศึกษาที่ 1 / 2566 พบว่า นักศึกษาทุกกลุ่มสามารถทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ นักศึกษามาตรงเวลา เบิกสินค้าไปขาย ตามระบบที่วางไว้ และ รายงานผลให้อาจารย์ที่รับผิดชอบวิชานี้  อย่างไรก็ตามพบว่า นักศึกษาหลายคน ยังขาดความกล้าที่จะพูดคุยกับลูกค้า แต่ในขณะเดียวกัน นักศึกษาอีกจำนวนหนึ่ง ที่แต่เดิมไม่กล้าพูดคุย กลับมีความกล้ามากขึ้น                ผลการดำเนินงานในภาคการศึกษาที่ 2 / 2566 แม้ว่าจะยังไม่จบภาคการศึกษา แต่เมื่อประเมินผลตั้งแต่เริ่มเปิดภาคการศึกษา นักศึกษา เริ่มเก็บข้อมูลและ วิเคราะห์ผู้ซื้อ ได้จำนวนหนึ่ง และ เริ่มคิดกลยุทธ์การขาย โดยการตั้งราคาให้เหมาะสม จัดทำ โปร รูปแบบต่าง ๆ และ สื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภค และ นักศึกษาได้ฝึกหัดการเจรจากับคู่ค้าทางธุรกิจ โดยนำสินค้าไปฝากขาย และ มีการเจรจาผลประโยชน์ที่จะได้รับ รวมทั้งการ ดูแลคู่ค้าของตนเอง ฝึกหัดการวางแผนงาน และการจัดระบบการเก็บเงิน และ นำสินค้าไปส่ง เป็นต้น               ปัญหาอุปสรรคการทำงาน คือ เวลาในการเรียนวิชาต่าง ๆ กระชั้นชิดกับการจัดทำกิจกรรม ในช่วงเวลา 11.30 – 12.30 ทำให้นักศึกษามีเวลาในการปฏิบัติได้น้อยในแต่ละสัปดาห์ เพราะ ต้องรีบไปเรียนให้ทัน           3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่                    การเรียนการสอนของหลักสูตร ธุรกิจฯอาหาร นั้น พบว่า การเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว และ การปฏิบัติในรายวิชาต่าง ๆ ใม่เพียงพอที่จะทำให้นักศึกษาเข้าใจการทำธุรกิจ นอกจากนั้นยังพบว่า นักศึกษาไม่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่เรียนในห้องเรียน มาใช้ในการปฎิบัติจริงได้       ดังนั้นการสร้างการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาคทฤษฎี และ ภาค ปฏิบัติ ในชั้นเรียน จะช่วยทำให้นักศึกษาเข้าใจการทำธุรกิจได้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ควรเริ่มกิจกรรมตั้งแต่นักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 เพื่อ สร้างกรอบความคิด การเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา และ ควรจะเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างโจทย์จากกิจกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ลองผิด ลองถูกจากการปฎิบัติจริง และเมื่อนักศึกษาได้เรียนภาคทฤษฎีก็จะมีความเข้าใจมากขึ้น และ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโจทย์ที่แตกต่างกันได้                                                     

การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาธุรกิจฯ อาหาร ผ่านกระบวนการปฏิบัติงานจริงของโครงการธุรกิจจำลอง บุญตะวัน Read More »

บูรณาการความรู้ด้านนวัตกรรมและวิจัยสู่ชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 บูรณาการความรู้ด้านนวัตกรรมและวิจัยสู่ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.นัฐพงษ์ มูลคำ และ อ.กัญจนพร โตชัยกุล คณะรังสีเทคนิค หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           คณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิตตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมวิจัย รวมถึงผลงานทางวิชาการในรูปแบบ นวัตกรรมวิจัย ที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา รวมถึงบูรณาการกับชุมชน โดยมุ่งเน้นนำเอาความรู้ผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน จึงได้จัดทำรายงานการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2566 ในหัวข้อ “บูรณาการความรู้ด้านนวัตกรรมและวิจัยสู่ชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน” ซึ่งจะสะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่จะนำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและงานวิจัยมาผสานเข้ากับบริบทของชุมชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้ หลักการและเหตุผล: โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่กระดูกมีความพรุน เปราะบาง และหักง่าย เกิดขึ้นเมื่อมวลกระดูกสูญเสียไปมากกว่าปกติ ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลง ดังนั้นโรคกระดูกพรุนจึงเป็นภัยเงียบที่คุกคามคุณภาพชีวิตและสร้างภาระให้สังคมไทย ความสำคัญ: โรคกระดูกพรุนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งผู้ป่วยอาจเผชิญกับอาการปวด กระดูกหักง่าย ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มากไปกว่านั้นทำให้เกิดภาระทางสังคมจากการที่กระดูกหักง่ายอาจนำไปสู่ความพิการ สูญเสียความสามารถในการทำงาน รวมถึงการรักษาโรคกระดูกพรุนมีค่าใช้จ่ายสูง ประเด็นปัญหา: ประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน รวมถึงการคัดกรองและรักษาโรคยังไม่ครอบคลุม มากไปกว่านั้นยังขาดการบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน แนวทางแก้ไข: รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกัน คัดกรอง และรักษาโรคกระดูกพรุน พัฒนาและขยายการคัดกรองและรักษาโรค รวมถึงบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน   ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้     ความรู้ที่นำมาใช้ในกิจกรรมนี้เป็นได้ออกเป็น 2 หัวข้อหลักๆได้แก่ องค์ความรู้จากงานวิจัยและการบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ องค์ความรู้จากงานวิจัย: งานวิจัยทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการรักษา พัฒนายา ส่งเสริมแนวทางป้องกัน ส่งเสริมนโยบายสาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิต ประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มพูนความรู้ รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและสร้างความน่าเชื่อถือ โดยคณะรังสีเทคนิคได้ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารทางแพทย์ระดับ Scopus Q1 ในหัวข้อ Osteopenia and Osteoporosis Screening Detection: Calcaneal Quantitative Ultrasound with and without Calibration Factor Comparison to Gold Standard Dual X-ray Absorptiometry” ซึ่งผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเครื่อง Quantitative ultrasound (QUS) ในการตรวจหาโรคกระดูกพรุน โดยมีข้อดีคือเป็นวิธีที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจความหนาแน่นของกระดูกส้นเท้า (calcaneous) โดยไม่มีการใช้รังสีจึงปลอดภัยต่อผู้ตรวจและผู้ปฏิบัติงาน  การบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน: ทีมวิจัยได้นำองค์ความรู้วิจัยดังกล่าวมาบูรณาการกับชุมชน ผ่านโครงการลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากโครงการ สสส ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต ในชื่อโครงการ “โครงการลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS” โดยมุ่งเป้าไปที่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนหลักหก ผ่านการส่งเสริมสุขภาวะให้ดีขึ้น ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  คณะรังสีเทคนิค วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ คณะรังสีเทคนิค: พลังแห่งองค์ความรู้ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน คณะรังสีเทคนิค มุ่งมั่นสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางวิจัยควบคู่ไปกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชน ผ่านกลยุทธ์ “3 ขั้นตอน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ดังนี้ ขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพ เล็งเห็นถึงความสำคัญของ “โรคกระดูกพรุน” ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชน คณะรังสีเทคนิคจึงทุ่มเทสร้างองค์ความรู้ทางวิจัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและการตรวจคัดกรองโรค ผ่านผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับ Scopus Q1 เกี่ยวกับ “ประสิทธิภาพของเครื่อง Quantitative ultrasound (QUS) ในการตรวจหาโรคกระดูกพรุน” (Moonkum et al., 2024) บูรณาการองค์ความรู้ สู่การยกระดับชุมชน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะนำองค์ความรู้ไปต่อยอดสร้างประโยชน์ คณะรังสีเทคนิคจึงได้ริเริ่มโครงการ “ลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS” ในชุมชนหลักหก โดยได้รับการสนับสนุนจากทุนวิจัยโครงการ สสส ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ผ่านกิจกรรมและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โครงการมุ่งเน้นให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน ควบคู่ไปกับการคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ผ่านการตรวจด้วยเครื่อง QUS ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ จะนำไปวิเคราะห์ ประเมินผล และสรุป เพื่อนำไปพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคต่อไป คณะรังสีเทคนิค มุ่งมั่นสร้าง “พลังแห่งองค์ความรู้” สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน มุ่งหวังให้ชุมชนหลักหกมีสุขภาพที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และนำไปสู่การขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ต่อไป   2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน               โครงการลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS ของคณะรังสีเทคนิค ได้ดำเนินการในชุมชนหลักหก ผลการดำเนินการ ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน มีการคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สุขภาวะของประชาชนในชุมชนดีขึ้น การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง ผลการคัดกรองเพื่อติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน ผลการคัดกรองเพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน ผลการคัดกรองเพื่อรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การคลาดแคลนอุปกรณ์ในการตรวจวัดมวลกระดูก เนื่องจากเครื่องวัดมีเพียงเครื่องเดียว ทำให้ผู้สนใจต้องรอคิวนาน          3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่  การตรวจสอบผลการดำเนินการ ติดตามผลลัพธ์ของโครงการ เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ผลลัพธ์หลังการเข้าร่วม ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิภาพของโครงการ นำข้อมูลมาใช้เพื่อพัฒนาโครงการในอนาคต การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปบทเรียนเรียนรู้จากการดำเนินโครงการ เน้นประเด็นสำคัญ เช่น ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข นำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ สรุปและอภิปรายผล     ทำให้คณาจารย์คณะรังสีเทคนิคมีคุณภาพและสามารถพัฒนาผลงานทางวิชาการ ร่วมถึงยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นที่รู้จักกว้างขว้างมากขึ้น รวมถึงคณาจารย์คณะรังสีเทคนิคสามารถบูรการความรู้ด้านงานวิจัยให้สอดคล้องกับชุมชน โดยยกระดับสุขภาพวะให้ดีขึ้นจากโรคกระดูกพรุนที่เป็นปัญหาใหญ่ต่อสังคมไทย จากการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน การใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย และการบูรณาการองค์ความรู้กับชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน   ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice จากโครงการลงพื้นที่ตรวจหาและคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วยเครื่อง QUS ของคณะรังสีเทคนิค มีข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการในอนาคต ดังนี้ 1.ขยายผลการดำเนินการ: ขยายพื้นที่การคัดกรองไปยังชุมชนอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนในวงกว้างได้รับประโยชน์ ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และภาคประชาสังคม เพื่อขยายผลการดำเนินการ พัฒนาระบบการติดตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรอง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 2.พัฒนาองค์ความรู้: ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในชุมชน พัฒนารูปแบบการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาประสิทธิภาพของเครื่อง QUS ในการคัดกรองโรคกระดูกพรุน 3.พัฒนาระบบการคัดกรอง: พัฒนาระบบการคัดกรองให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และสะดวก พัฒนาระบบการเก็บข้อมูลผู้ป่วยให้เป็นระบบ พัฒนาระบบการติดตามผลผู้ป่วย 4.สร้างเครือข่าย: สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ 5.สนับสนุนการวิจัย: สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการคัดกรองและรักษาโรคกระดูกพรุน การดำเนินการตามข้อเสนอแนะเหล่านี้ จะช่วยให้โครงการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยั่งยืน และสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ได้ เอกสารอ้างอิง Moonkum, N., Withayanuluck, T., Somarungsan, A., Sichai, N., Wongsiri, A., Chawkhaodin, W., . . . Tochaikul, G. (2024). Osteopenia and Osteoporosis Screening Detection: Calcaneal Quantitative Ultrasound with and without Calibration Factor Comparison to Gold Standard Dual X-ray Absorptiometry. Journal of Clinical Densitometry, 27(2), 101470.

บูรณาการความรู้ด้านนวัตกรรมและวิจัยสู่ชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน Read More »

การสร้างตัวตนบนเวทีวิชาการแก่หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพด้วยผลงานนวัตกรรมวิจัย

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR2.1.1, KR2.1.3, KR2.1.4, KR2.2.1, KR2.2.2, KR2.4.1, KR2.4.2, KR2.4.4, KR2.5.1, KR2.5.2, KR2.5.3 การสร้างตัวตนบนเวทีวิชาการแก่ หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ ด้วยผลงานนวัตกรรมวิจัย ผู้จัดทำโครงการ​ รศ .ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​             หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพมี theme ของตัวเองที่เป็นจุดเด่น จุดขายคือ “นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้” (accessible innovative biotechnology) บนหลักการที่เป็น appropriate technologyที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็น ทั้ง Problem-based research การวิจัยบนฐานของปัญหาและ output-based research การ วิจัยและพัฒนาบนฐานของผลได้ เพื่อสร้าง solution provider ให้กับภาคอุตสาหกรรม ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก หรือ less for more และมุ่งเป้าไปสู่การเพิ่มพูนทักษาในการเป็นผู้ประกอบการ หรือ entrepreneurial skills เป็นการบูรณาการ ฐานข้อมูล องค์ความรู้ และการประยุต์ใช้ ด้านการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ เข้าไว้ด้วยกันความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้1. กลุ่มวิชาเกษตร2. กลุ่มวิชาจุลินทรีย์อุตสาหกรม3. กลุ่มวิชาอาหารอนาคต4. กลุ่มวิชาทักษะการเป็นผู้ บระกอบกา ร ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase)เจ้าของความรู้/สังกัด รศ .ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล และ ผศ .ดร .กฤตกร รำจวนเกียรติ /หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตเทคโนโลยีชีวภาพอื่น ๆ (โปรด ระบุ) รายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรทล.บ.นวัตกรรมเกษตร รายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรทล.บ.ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร รายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร วท.บ.เทคโนโลยีอาหาร และรายวิชาต่าง ๆในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตเทคโนโลยีชีวภาพความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน ( Tacit Knowledge)เจ้าของความรู้/สังกัด รศ .ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล /หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตเทคโนโลยีชีวภาพ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้1. การเชื่อมโยงการเรียนการ สอน ข้ามหลักสูตรโดยแลกเปลี่ยนคณาจารย์ต่างสังกัดในการสอนรายวิชานอกหลักสูตรตนเอง2. การฟอร์มทีมวิจัย และการทำวิจัยร่วม (collaboative research) ระหว่างคณาจารย์ต่างหลักสูตร3. การเปิดตัว ตอบรับการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน4. การฟอร์ม ทีมวิทยากรจัดประชุมกลุ่มเฉพาะเรื่องร่วมกับ วช. โดยนักวิจัยต่างหลักสูตร5. การเปิดตัวตอบรับการเป็นกรรมการตัดสินการประกวดให้กับกรมการข้าว6. การเผยแพร่ผลงานร่วมระหว่างคณาจารย์ต่างหลักสูตร7. การเผยแพร่ผลงานนวัตกรรมวิจัยใน ทุก รูปแบบของผู้อำนวยการหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ8. การผลักดันผลงานนวัตกรรมวิจัย ของนักศึกษา ป.โท และนักศึกษา ป .ตรี 4+1 ส่งประกวดนวัตกรรมในเวทีต่างๆ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท9. การได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกของอาจารย์ในหลักสูตร10. การขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และ การขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร เลข อย.เพื่อให้จำหน่ายเชิงพาณิชย์ ผลงานนวัตกรรมวิจัยของอาจารย์ในหลักสูตร 2. Prototype testing in an operational environment – DOผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน1. การเชื่อมโยงการเรียนการสอนข้ามหลักสูตรโดยแลกเปลี่ยนคณาจารย์ต่างสังกัดในการสอนรายวิชานอกหลักสูตรตนเอง   1.1. วิชา CAB111 เป็นรายวิชาของหลักสูตรนวัตกรรมเกษตร ที่มีคณาจารย์ของวิทยาลัยร่วมสอนทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วยคณาจารย์จากหลักสูตรนวัตกรรมเกษตรจำนวน 2 คน และคณาจารย์ของหลักสูตรเทคโนโลยีอาหารจำนวน 4 คน และคณาจารย์ของหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพจำนวน 2 คน ร่วมกับรองอธิการและอธิการวิทยาลัย             1.2. วิชา FTH101 Inter เป็นรายวิชาของหลักสูตรเทคโนโลยีอาหาร ที่เพิ่งเปิดสอนครั้งแรกสำหรับนักศึกษานานาชาติ ในปี 2566 เทอม 2 ที่มีคณาจารย์ของวิทยาลัยร่วมสอนทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วยคณาจารย์ของหลักสูตรเทคโนโลยีอาหารจำนวน 4 คน คณาจารย์ของหลักสูตร ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร 1 คน และคณาจารย์ของหลักสูตร เทคโนโลยีชีวภาพจำนวน 1 คน ร่วมกับ คณบดีเทคโนโลยีอาหาร   2. การฟอร์มทีมวิจัย และการทำวิจัยร่วม (collaborative research) ระหว่างคณาจารย์ต่างหลักสูตร2.1. โครงการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมไข่ต้มจากพืชซอสพะโล วีแกนเก็บได้นาน ทุนสนับสนุนจาก บพข . ปี 2566 จำนวนทุน 695,849 บาท        ประกอบด้วย รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล สังกัดหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ : หัวหน้าโครงการ        ผศ.ธฤต อภิสิทธิวงศ์ สังกัดหลักสูตร เทคโนโลยีอาหาร : นักวิจัยร่วม 2.2.โครงการวิจัยเรื่อง ผลของการใช้สารแบคเทอริโอซินรวมกับสารสกัดจากพืชที่มีศักยภาพในการยืดอายุการเก็บรักษาลูกชิ้นหมู และการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร ของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในช่วงการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำโดยใช้เทคนิค Microbial Community  ทุนสนับสนุน จาก สถาบันวิจัย ม .รังสิต ปี 2565-2567จำนวนทุน 290,000 บาท        ประกอบด้วย ผศ.ดร.กฤตพร รำจวนเกียรติ สังกัดหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ : หัวหน้าโครงการ        อ. ธนัชชา เกณฑ์ขุนทด สังกัดหลักสูตรนวัตกรรมเกษตร : นักวิจัยร่วม 2.3. โครงการวิจัยเรื่องการผลิตผงมอลต์สกัดจากข้าวไทยทางการค้า ทุนสนับสนุนจาก วช . ปี 2567 โครงการวิจัยเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ประเภทโครงการนวัตกรรมจำนวนทุน 1,518,097 บาท        ประกอบด้วย รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล สังกัดหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ : หัวหน้าโครงการ        ดร.ณกมล จันทร์สม สังกัดหลักสูตรบริหารธุรกิจ : ที่ปรึกษาโครงการ 3.การตอบรับการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน 3.1. หนังสือเชิญ ไปเป็นวิทยากร จากวช.วช.เชิญ รศ .ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล เป็นวิทยากรในการอบรม “เทคนิคการเขียนและการนำเสนอบทความ ผลงานวิจัยในกิจกรรม Thailand Reserch Expo & Symposium 2024” ในวันที่ 23 มีนาคม 2567 3.2. หนังสือเชิญไปเป็นวิทยากรจากวช. วช.เชิญ รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล เป็นวิทยากรการบรรยายในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพให้แก่เยาวชนและนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ 3.3. หนังสือเชิญ ไปเป็นวิทยากร จาก วว.วว. เชิญ รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล เป็นวิทยากรในการ เผยแพร่ผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชงพาณิชย์ เพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร 3.4. หนังสือเชิญจากมหาวิทยาลัยเกษตรเสฉวน ประเทศจีน ในการนำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยีชีวภาพอาหาร 3.5. หนังสือเชิญจากมหาวิทยาลัยโซกะ ประเทศญี่ปุ่น ในการนำเสนอผลงานวิจัย การฉายรังสีอาหารจากพืช 3.6. หนังสือเชิญจาก TMATMA เชิญ นำเสนอผลงานนวัตกรรมในงาน TECHNOMART 2023 ครั้งที่ 1 วันที่ 31/5/66 และ ครั้งที่ 2วันที่ 29/6/2566 3.7. หนังสือเชิญจาก วช . เชิ ญให้นำผลงานไข่ต้มพืชสะดวกเก็บสะดวกกิน ร่วมงานแถลงข่าว Thailand Research Expo 2023 ในงานจัดแถลงข่าวของ วช . วันที่ 24/7/25663.8. หนังสือเชิญจากกรรมการผู้จัดการ SME Thailand ขอนำผลงาน Plantbase รศ .ยุพกนิษฐ์ ไปแสดงในตลาดนัดนวัตกรรม ในงาน Plant Based, Superfood และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร วันที่ 1-3/9/25663.9. หนังสือเชิญจาก Foodism Show 2023 เชิญ โดยบจก . อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เชิญศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการออกบูธ โชว์ผลงาน นวัตกรรมวิจัยอาหารแพลนต์เบส วันที่ 7-10 ธันวาคม 2566 4. การ ฟอร์ม ทีมวิทยากรจัดประชุมกลุ่มเฉพาะเรื่องร่วมกับ วช . โดยนักวิจัยต่างหลักสูตร นำโดยรศ .ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล4.1 งานมหกรรมวิจัยแห่งชาติปี 2566 หัวข้ออาหารอนาคตและกลุ่มงานวิจัยพร้อมใช้ ม.รังสิต 4.2 งานมหกรรมวิจัยแห่งชาติปี 2567หัวข้อมุ่งสู่ BCG ด้วยงานวิจัยวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยี อาหาร ม .รังสิต 5. การเป็นกรรมการตัดสินการประกวด ให้กับกรมการข้าว 6. การ เผยแพร่ ผลงานร่วมระหว่างคณาจารย์ต่างหลักสูตร6.1 การตีพิมพ์บทความวิจัยร่วมกันระหว่างคณาจารย์ต่างหลักสูตร6.1 Puangwerakul,Y, Soithongsuk, S.., Sajjabut, S. and Pewlong, W 2024 Effect of electron beam irradiation doses on quality and shelf life extension of non allergenic ready to eat plant based meat and egg JCST, 14January April 2024 Article19 https doi or 10 59796 jcst V14N1 2024 196.2 Puangwerakul,Y, Soithongsuk, S.., Sajjabut, S. and Pewlong, W.., Loikaeo, T and Chaisakdanukul, C 2023.Electron beam irradiation for shelf life extension of non allergen ready to eat plant based meat and egg.Conference Handbook of Educational Internationalization Promotion Conference Inaugural Conference of the Food Security Education and Technology Innovation Alliance November 16 17, Chengdu, China6.3 Loikaeo T.., Puangwerakul,Y.., Soithongsuk,S.., andApisittiwong,T 2024. Allergen free plant based fermented milk fortified with rice protein. Conference Handbook of Educational Internationalization Promotion Conference Inaugural Conference of the Food Security Education and Technology Innovation AllianceNovember 16 17, Chengdu, China6.4 Somsri, A.., Thongsen, N..,Saelao,P..,Lodthonglang, K..,Kenkhunthot, T.., Pilasomput, K.., Urairong, H and Rumjuankiat, K 2023). In vitro biocontrol potential of natural substance combination against microbial plant diseases. International Journal of AgriculturalTechnology. X X): XX XX6.5 Sonhom, N.., Rumjuankiat, K.., Visessanguan, W.., Techo, S.., Vilaichone, R.., Janyaphisan, T.., Roytrakul, S.., Jaresitthikunchai, J and Woraprayote, W Antimicrobialpotency of a putatively novel bacteriocin from Lactiplantibacillus pentosus MRK2 3 against Helicobacter pylori.. Microbial Pathogenesis In submission196.2 กการเผยแพร่ผลงานของทีมนักวิจัยารเผยแพร่ผลงานของทีมนักวิจัยแพลนต์เบสแพลนต์เบสของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรในเวทีวิชาการของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรในเวทีวิชาการร่วมกันร่วมกันระหว่างคณาจารย์ต่างหลักสูตรระหว่างคณาจารย์ต่างหลักสูตร6.2.1 เผยแพร่ผลเผยแพร่ผลงานภายนอก งานภายนอก :6.2.1.1 การเสวนาผลงานวิจัยนวัตกรรมอาหารแพลนต์เบสพร้อมใช้ จัดโดย วชการเสวนาผลงานวิจัยนวัตกรรมอาหารแพลนต์เบสพร้อมใช้ จัดโดย วช. ณ เวที ณ เวที High light Stage งานมหกรรมวิจัยแห่งชาติวันที่ งานมหกรรมวิจัยแห่งชาติวันที่ 7/8/25666.2.1.2 การ เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ของ คณา จารย์ วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร นำโดยท่านอธิการวิทยาลัยฯ ศ .ดร .พงษ์ศักดิ์ อังก สิ ทธิ์ เพื่อเผยแพร่ผลงานของอาจารย์ หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพและหลักสูตรเทคโนโลยีอาหาร ผ่านระบบออนไลน์ จัดโดย The Organizing Committee of China-ASEAN Education Cooperation Week ประเทศจีน วันที่ Aug28-Sep2,20236.2.2 เผยแพร่ผล งานภายใน6.2.2.1 การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบ่าย ในงานวันเกษตร ครั้งที่ 8 จัดโดยวิทยาลัย ฯ วันที่ 25/1/25676.2.2.1 การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบ่าย ในงานวันเกษตร ครั้งที่ 7 จัดโดยวิทยาลัย ฯ วันที่ 27/1/2566 7. การเผยแพร่ผลงานนวัตกรรมวิจัย ใน ทุก รูปแบบ ของผู้อำนวยการหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ7.1 การ เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมวิจัย ผ่านช่องทาง OFF LINE นอกจากนี้ผู้อำนวยการ หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพยัง ได้รับเชิญจากรายการ SME มีดีให้ดู ทาง ช่อง 5 เพื่อร่วม ประชุม ถึงแนวทางการผลักดันสินค้า SME ในวันที่ 14 มีนาคม 2567 และ ได้รับเชิญจาก วช . เพื่อ ออกบูธจัดแสดงสินค้านวัตกรรมวิจัยเพื่อการทดสอบตลาดเพิ่มเติมอีกสองงานคือ THAIFEX-ANUGA ASIA 2024 (28 พ .ค .-1มิ .ย .67) และ ได้รับเชิญจาก FOODISM SHOW 2024 (30 สค .-1 ก .ย .67) โดยตอบรับพื้นที่บูธเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 7.2 การ เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมวิจัย ผ่านช่องทาง ON LINE7.2.1 บทสัมภาษณ์ลงเวปไซต์และเฟสบุคเทคโนโลยีชาวบ้านและเส้นทางเศรษฐี7.2.2 YouTube UpSkill Thailand 2023 จักรวาลสร้างอาชีพ7.2.3 You Tube สร้างแบรนด์แพลนต์เบสแบบไม่ต้องเริ่มจากศูนย์7.2.4 YouTube ช่อง 7 ไข่ต้มพืช7.2.5 You tube ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต7.2.6 สัมภาษณ์สดรายการวิทยุ FM 92.5วิทยาศาสตร์น่ารู้สุดสัปดาห์ วันที่ 11 ตุลมคม 2566 เวลา 10.30-12.00 น.7.2.7 กรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/food/1052805 ผลงานวิจัย อาหารแพลนต์เบส ม .รังสิต7.2.8 TIKTOK ผลงานวิจัย อาหารแพลนต์เบส ม .รังสิต7.2.9 รายการ 168 Hours ช่อง 3 ผลงานวิจัย อาหารแพลนต์เบส ม .รังสิต ในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติปี 25667.2.10 https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1111557 8. การผลักดันผลงานนวัตกรรมวิจัยส่งประกวดนวัตกรรม วิจัย ในเวทีต่างๆ ระดับปริญญาตรีและปริญญาโททั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ8.1 การประกวดระดับนานานาชาติ การแข่งขัน VITAFOOD ASIA 2024 จัดโดย Informa market วันที่ 19-21/9/25678.1.1 ชื่อผลงาน ผง มอลต์สกัดจากข้าว ไทย ไร้สารก่อภูมิแพ้ โดยนักศึกษาป .โท นส .เหมือนฝัน เชียงกาผลการแข่งขัน เข้ารอบชิงชนะเลิศ จัดแสดงผลงานในงาน VITAFOOD ASIA2024 ศูนย์ประชุมไบเทค8.1.2 ชื่อผลงาน โปรตีนข้าวไทยไร้สารก่อภูมิแพ้ โดยนศ .4+1 นาย ตฤน และ คณะผลการแข่งขัน โล่รางวัลชมเชย ประกาศนียบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท8.2 การประกวดระดับชาติ การแข่งขัน I-NEW GEN AWARD ASIA 2024 จัดโดย วช . วันที่ 2-6/2/25678.2.1 ชื่อผลงาน ผง มอลต์สกัดจากข้าวไทย โดยนักศึกษา ป .โท น .ส .เหมือนฝัน เชียงกาและคณะ ผลการแข่งขัน รางวัลเหรียญทอง พร้อมประกาศนียบัตร8.2.2 ชื่อผลงาน เพนนีโอโปร :โปรตีนข้าวไทยไร้สารก่อภูมิแพ้ โดยนศ .4+1 นาย ตฤน และคณะผลการแข่งขัน รางวัลเหรียญทอง พร้อมประกาศนียบัตร 9. การได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก9.1 การได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก ของอาจารย์หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ ปีงบประมาณ พ .ศ .2566   9.2 การได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก ของอาจารย์หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ ปีงบประมาณ พ .ศ .2567 10. การ ขอ การ รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร เลข อย เพื่อให้จำหน่ายเชิงพาณิชย์10.1 ผลิตภัณฑ์ ไข่ผงจากพืช จากโครงการ ทุนวิจัย สวก @วว . เลขที่สัญญา CRP660503210010.2 ผลิตภัณฑ์ไข่ต้มจากพืชจากโครงการ ทุนวิจัย สวก @มก . เลขที่สัญญา CRP660503199010.3 ผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนข้าวชนิดใสจากโครงการ ทุนวิจัย สวก @มก . เลขที่สัญญา CRP6505031990 ไข่ผงจากพืช อย 13-2-03144-6-0023 ไข่ต้มจากพืช อย 13-2-03144-6-0011 เพนนีโอโปร: โปรตีนข้าวชนิดใส อย 13-2-03144-6-0021 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดำเนินการการ นำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและ อภิปราย ผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่         

การสร้างตัวตนบนเวทีวิชาการแก่หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพด้วยผลงานนวัตกรรมวิจัย Read More »

“CreativeYoung Designers Season 3” โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตศิลป์ไทย

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 “Creative Young Designers Season 3” โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ผู้จัดทำโครงการ​ อาจารย์ลัดดาวัลย์ สารพัฒน์ อาจารย์พชร รัตนคุปต์ และอาจารย์ลลิตา สีมันตร วิทยาลัยการออกแบบ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            ตามที่สาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ ได้ดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมการผลิตผลงานสร้างสรรค์ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านองค์ความรู้  นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้คณาจารย์และนักศึกษาของสาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ มีผลงานอย่างสรรค์อย่างต่อเนื่องนั้น และเพื่อเป็นการต่อยอดให้กับอาจารย์และนักศึกษาสามารถนำผลงานสร้างสรรค์ รวมถึงงานวิจัย นวัตกรรมทางด้านแฟชั่น  ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในโครงการจัดการความรู้ด้านทางด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หัวข้อโครงการความร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อชุมชน ในปีงบประมาณ 2566 เป็นการดำเนินงานด้านการออกแบบและพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือ กลุ่มทอผ้าภูริษาผ้าไทย ตำบลเมืองใหม่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือกับบริษัท ประชารัฐสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด  สนับสนุนการดำเนินการดำเนินโครงการความร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ของสาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ของชุมชน  รวมถึงการขยายช่องทางการตลาดเพื่อก่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนให้แก่นักศึกษาแฟชั่นในระดับอุดมศึกษา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            การออกแบบเครื่องแต่งกาย และเครื่องประกอบการแต่งกาย (Accessories) และการตัดเย็บ การตลาดด้านแฟชั่นการออกแบบที่มุ่งเน้นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่แล้วและเพิ่มกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ รวมถึงการนำผ้าขาวม้ามาออกแบบและตัดเย็บให้เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นไม่อยู่ในกรอบของเสื้อผ้าแบบเดิม ๆ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้ในชั้นเรียน และปราชญ์ชาวบ้าน ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด สาขาวิชาแฟชั่นดีไชน์ และ กลุ่มทอผ้าภูริษาผ้าไทย  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ 1) กิจกรรมเกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 2)  กิจกรรมมีการบูรณาการกับ  R การเรียนการสอน รายวิชาดังนี้ รายวิชาFAS490การกออกแบบแฟชั่นโดยร่วมมือกับผู้ประกอบการ FAS377 การตกแต่งพื้นผิวผ้า 3)  อื่นๆระบุ พัฒนาศักยภาพนักศึกษา – ประชุมออนไลน์กับผู้ประกอบการในเบื้องต้นถึงความต้องการของผู้ประกอบการ ในด้าน รูปแบบ กลุ่มลูกค้า   อัตลักษณ์ท้องถิ่น ลักษณะรูปแบบของผ้าว่ามีผ้าอะไรบ้าง โดยผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มก็คือผ้าสามฤดูที่ได้    แรงบันดาลใจจากเทือกเขาภูพานที่มีความอุดมสมบูรณ์ – นำข้อมูลประชุมและแบ่งงานนักศึกษาเป็นกลุ่มเลือกแรงบันดาลใจเป็นเทือเขาภูพานที่มีน้ำไหลผ่านสามฤดูความอุดมสบูรณ์– ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการนักศึกษาทดลองทอผ้าศึกษาฝ้ายที่นำมาทอชนิดต่างๆ ความพิเศษของฝ้ายในจังหวัดหนองบัวลำภูที่แตกต่างจากที่อื่นคือสี ที่มีสีน้ำตาลที่เกิดจากแร่ธาตุจากดินภูเขาที่ปลูก–   ศึกษาการย้อมสีธรรมชาติซึ่งได้จากพืชในท้องถิ่น เช่นคราม เป็นต้น–   พูดคุยและเลือกแบบที่นักศึกษาได้ออกแบบมาหลังจากที่ประชุมกันในรอบแรก และนำไปปรับปรุงอีกครั้ง–   ขึ้นต้นแบบ จำนวน 10 ชุด ปรับแก้เพื่อให้ได้ตามรูปแบบที่ดีไซน์–   ตัดเย็บชุดจริง จำนวน 10 ชุด–   ถ่าย LOOK BOOK–   จัดแสดงแฟชั่นโชว์ส่งมอบผลงานให้กับผู้ประกอบการ ณ พัฒนาแกลลอรี่ อาคารคุณหญิงพัฒนา–   จัดแสดงแฟชั่นโชว์ ณ งาน Sx Expo (Sustainability Expo) ในวันที่ 3 ต.ค 2566 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน นักศึกษาได้ลงพื้นที่พูดคุย ศึกษากระบวนการทอผ้าจากผู้ประกอบการ และพูดคุยความต้องการของผู้ประกอบการ รวมถึงการศึกษากลุ่มลูกค้าของมือ กลุ่มทอผ้าภูริษาผ้าไทย ตำบลเมืองใหม่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยนำผ้าทอมือ ผ้าขาวม้ามาออกแบบและตัดเย็บ จัดแสดงผลงานผ่านการเดินแฟชั่นโชว์ และผู้ประกอบการนำไปวางโชว์เพื่อจัดจำหน่ายโดยได้รับเป็นพรีออเดอร์จากผลงานที่นำไปโชว์ อุปสรรคและปัญหาในการทำงาน เนื่องจากผ้าทอมือความกว้างของหน้าผ้าจะไม่กว้างเหมือนผ้าที่ขายในท้องตลาดทั่วไปทำให้ต้องมีการดีไซน์การวางแบบตัดผ้าให้ได้ตามรูปแบบที่ออกแบบไว้นอกจากนี้ยังสามารถจัดวางลวดลายในการตัดต่อเพื่อให้เกิดความงามได้จากปัญหาหน้ากว้างไม่พอในการวางแพทเทิร์น          3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ หลังการดำเนินการเสร้จสิ้นลงสามารถติดตามผลได้จากสื่อออนไลน์ของกลุ่มภูริษาผ้าไทยกลุ่มทอผ้าสามารถนำต้นแบบไปต่อยอดจากรูปแบบเดิมที่โครงการได้ออกแบบไว้ไปต่อยอดโดยใช้ผ้าสีอื่นมาตัดเย็บ หรือนำเสื้อ กระโปรง กางเกง กระเป๋า นำไป mix & match กับเสื้อผ้าของทางร้านที่มีอยู่เดิม เพิ่มช่องทางการตลาดและขยายกลุ่มลุกค้าที่มีอยู่เดิม   หรือการนำเศษเหลือผ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษผ้า ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ในการทำงานโครงการระยะยาวจำเป็นต้องมีการวางแผนในเรื่องวัสดุผ้าที่นำมาใช้เนื่องจากการทอผ้าแต่ละครั้งมีจำนวนจำกัด สีเป็นการย้อมแบบธรรมชาติย้อมมือหากต้องการผ้าชนิดนั้นหรือสีนั้นต้องซื้อเพื่อไว้เลย และการคำนวณผ้าต้องดูตามหน้าผ้าของร้านเป็นหลักเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการตัดเย็บ รวมถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมการใช้วัสดุให้เหลือเศษน้อย หรือนำเศษวัสดุมาออกแบบต่อยอดให้เกิดเป็นชิ้นงานใหม่ขึ้นมา

“CreativeYoung Designers Season 3” โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตศิลป์ไทย Read More »

การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีแจ๊สด้วยแนวคิดสหวิชา สู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัย

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีแจ๊สด้วยแนวคิดสหวิชา สู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัย กรณีศึกษา “บทประพันธ์เพลงหัตถยุทธ ลีลา” และ “บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน” ประพันธ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร วิทยาลัยดนตรี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ แนวคิดสำหรับการประพันธ์เพลงไม่ได้มีข้อกำหนดว่า ต้องเกิดจากการศึกษาศาสตร์ดนตรีเพียงเท่านั้น แรงบันดาลใจจากการศึกษาศาสตร์ด้านอื่น ก็สามารถนำมาเชื่อมโยงเข้ากับเทคนิคการประพันธ์หรือแนวคิดหลักการทางดนตรีหรือทฤษฎีดนตรีเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน การศึกษาศาสตร์อื่นเพื่อขยายกรอบแห่งการสร้างสรรค์ทางดนตรีของผู้ประพันธ์ ก็เป็นสิ่งท้าทายสำหรับการสร้างบทประพันธ์ที่ผสมผสานขึ้นจากการศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อนำองค์ความรู้ หลักการ หรือเทคนิค นำมาสร้างคุณค่าให้กับบทประพันธ์ สำหรับประเด็นความรู้การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีแจ๊สด้วยแนวคิดสหวิชาสู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัย กรณีศึกษา “บทประพันธ์เพลงหัตถยุทธ ลีลา” และ “บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน” ประพันธ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร เป็นการศึกษาศาสตร์ด้านศิลปะและบุคคลสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ นำมาเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดทางดนตรีเพื่อสร้างนวัตกรรมการวิจัยที่เกิดจากแนวคิดสหวิชาการ สามารถอธิบายสาระได้ดังนี้ สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงหัตยุทธ ลีลา (Hattayut Leela) ประพันธ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดบทประพันธ์เพลงแจ๊สรูปแบบวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย 4 Episode สะท้อนศาสตร์และศิลป์ในมิติดนตรีแจ๊สที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาผลงานภาพวาดศิลปิน 4 คน จำนวน 4 ภาพ ซึ่งมีที่มาและความสำคัญดังนี้           เป็นที่ทราบกันดีว่าศาสตร์ด้านศิลปะสามารถช่วยกล่อมเกลาหรือบ่มเพาะจิตใจมนุษย์ให้สัมผัสกับอารมณ์ ความรู้สึก สะท้อนความเป็นตัวตนของมนุษย์ อีกทั้งศิลปะยังเป็นสื่อกลางเพื่อถ่ายทอดสาระสุนทรียภาพไปถึงบุคคลอื่นตามแต่เจตนารมณ์ของผู้ส่งสาระนั้น สุนทรียภาพข้างต้นก็มีความงดงามต่างกันออกไป โดยตัวแปรสำคัญด้านสุนทรียภาพก็ขึ้นอยู่กับอัจฉริยภาพของแต่ละบุคคลเช่นกัน ในปัจจุบันศาสตร์ด้านศิลปะก็แตกแขนงออกไปมากมาย ทั้งด้านวิจิตรศิลป์และด้านประยุกต์ศิลป์ ผลงานด้านทัศนศิลป์และดนตรีก็เป็นศาสตร์ด้านศิลปะแขนงหนึ่งอยู่คู่กับวิถีของมนุษย์มาช้านานให้มนุษย์ได้สัมผัสกับอารมณ์ ความรู้สึก ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ทางจิตใจในหลากหลายมิติ ทัศนศิลป์ แหล่งสุนทรียภาพแฝงไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและประสบการณ์จะถูกถ่ายทอดจิตวิญญาณผ่านไปยังมือของศิลปิน บรรจงสร้างสรรค์ผลงานผ่านฝีแปรงไปบนผืนผ้าใบแฝง ไว้ด้วยนัยคุณค่าศาสตร์และศิลป์ ภาพอันที่ทรงคุณค่าก็จะสะท้อนตัวตนของศิลปินให้มีความเด่นชัด เช่นเดียวกับดนตรีแจ๊ส แหล่งสุนทรียภาพแบบหนึ่ง สามารถสื่อถึงศาสตร์และศิลป์ในวิถีแบบนามธรรม ทั้งยังให้คุณลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ด้านการอิมโพรไวส์ เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินสะท้อนถึงอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง ที่มีต่อบทเพลงถ่ายทอดผ่านมือของศิลปินไปยังเครื่องดนตรีก่อเกิดสำเนียงมิติเสียงต่าง ๆ การอิมโพรไวส์เป็นองค์ประกอบสำคัญในดนตรีแจ๊สสามารถแสดงถึงทักษะ ประสบการณ์ และจิตวิญญาณของผู้บรรเลงได้เฉกเช่นเดียวกับภาพวาด รูปแบบการจัดวงแจ๊สขนาดใหญ่หรือเรียกว่าวงบิกแบนด์ ผสมผสานด้วยกลุ่มเครื่องเป่าและกลุ่มจังหวะที่เชื่อมโยงกันทำหน้าที่สร้างมิติเสียงและขับเคลื่อนบทเพลงด้วยรูปแบบวงแจ๊สขนาดใหญ่ สามารถสร้างมิติเสียงได้หลากหลายและมีผลโดยตรงต่อการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อิมโพรไวส์ในบทเพลง นักดนตรีที่ร่วมกันบรรเลงตลอดจนผู้อิมโพรไวส์จะร่วมกันสร้างสรรค์บทเพลง ให้ดำเนินไปตามแนวทางของผู้ประพันธ์กำหนดไว้   ทั้งสุนทรียภาพของภาพและดนตรีแจ๊ส มีสื่อกลางในการถ่ายทอดจินตนาการที่เหมือนกันนั่น คือ ผลงานถูกสร้างสรรค์ผ่านมือของศิลปิน ด้วยความเชื่อมโยงนี้ผู้ประพันธ์จึงมีความสนใจในประเด็นดังกล่าว โดยนำแรงบันดาลใจจากภาพมาสะท้อนเป็นการประพันธ์ในรูปแบบวงแจ๊สขนาดใหญ่หรือบิกแบนด์ ผ่านบทประพันธ์เพลง หัตถยุทธ ลีลา เพื่อสื่อถึงสุนทรียภาพทั้งในมิติภาพและดนตรีแจ๊สที่ต้องสร้างสรรค์ผ่านมือของศิลปิน ซึ่งผู้ประพันธ์กำหนดชื่อบทประพันธ์ “หัตถยุทธ ลีลา” ให้มีนัยแฝงด้วยแนวคิดผลงานถูกสร้างสรรค์ผ่านมือของศิลปิน   ส่วนกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน (Davis Phenomenon) ประพันธ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเพลงระลึกถึงไมล์ส เดวิส ในวาระครบรอบ 30 ปีการเสียชีวิต เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของไมล์ส เดวิสเชิงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊ส ซึ่งมีที่มาและความสำคัญดังนี้ ไมล์ส เดวิส (Miles Davis, 1926-1991) นักเล่นทรัมเป็ต นักประพันธ์เพลง บุคคลสำคัญต่อวงการดนตรีแจ๊สและมีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาดนตรีแจ๊สในหลายวิถีตั้งแต่ ดนตรีบีบ็อป ดนตรีคลูแจ๊ส ดนตรีฮาร์ดบ็อป ดนตรีโมดัลแจ๊ส และดนตรีฟิวชันแจ๊ส เขานำดนตรีแจ๊สพัฒนาเข้ากับยุคสมัย ผสมผสานกับทดลองนำแนวคิดต่างๆ มาขยายขอบเขตให้มิติเสียงดนตรีแจ๊สมีความหลากหลายขึ้น แม้เขาเสียชีวิตจะครบ 30 ปี ในปี ค.ศ. 2021 นี้ แต่แนวคิดที่เขาสร้างปรากฏการณ์ไว้ในดนตรีแจ๊สวิถีต่าง ๆ ได้กลายเป็นมรดกทางความคิดที่ถูกถ่ายทอดมาถึงดนตรีแจ๊สในปัจจุบัน ช่วงทศวรรษ 1940 ดนตรีบีบ็อปได้ก่อกำเนิดจากนักดนตรีแจ๊สชั้นแนวหน้า เช่น ชาร์ลี ปาร์คเกอร์ (Charlie Parker, 1920-1955) นักเล่นอัลโตแซกโซโฟน ดิซซี กิลเลสพี (Dizzy Gillespie, 1917-1993) นักเล่นทรัมเป็ต ได้ร่วมกันบรรเลงดนตรีแจ๊ส ณ สถานบันเทิง มินตันส์เพลย์เฮาส์มีเอกลักษณ์ด้านการแสดงด้วยรูปแบบวงขนาดเล็กและเน้นการอิมโพรไวส์เป็นสำคัญ ลีลาการบรรเลงแสดงถึงทักษะความเชี่ยวชาญของนักดนตรีที่บรรเลงร่วมกัน ไมล์ส เดวิสได้ร่วมงานกับชาร์ลี ปาร์คเกอร์ ในลีลาดนตรีบีบ็อป และสร้างความแตกต่างจากปาร์คเกอร์ด้วยแนวทำนองที่มีความหนาแน่นลักษณะจังหวะเบาบางกว่า แนวทางการบรรเลงของเดวิสเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจไปสู่วิถีแห่งดนตรีคลูแจ๊ส  ปี ค.ศ. 1957 เดวิสได้ออกผลงานชื่อ Birth of The Cool ด้วยรูปแบบวงเก้าชิ้น (Nonet) สังกัดค่าย Capital Records ผลงานชิ้นนี้ได้ผสมผสานเฟร็นช์ฮอร์น หรือทูบา เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า มักพบในวงออร์เคสตรานำมาร่วมสร้างสรรค์ และได้ สร้างกระแสแห่งวิถีดนตรีคลูแจ๊สให้ได้รับความนิยม ผลงานชิ้นนี้บันทึกเสียงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949-1950 โดยเดวิสได้ร่วมงานกับนักดนตรีที่สำคัญอย่าง กิล อีแวนส์ (Gill Evans,1912-1988) นักเรียบเรียงเสียงประสาน เจอร์รี มัลลีแกน (Gerry Mulligan, 1927-1966) นักเล่นบาริโทนแซกโซโฟน ลี โคนิตซ์ (Lee Konitz, 1927-2020) นักเล่นอัลโตแซกโซโฟน กันเธอร์ ชูลเลอร์ (Gunther Schuller, 1925-2015) นักเล่นเฟร็นช์ฮอร์น นักดนตรีเหล่านี้ยังนำแนวคิดของเดวิสไปสร้างสรรค์การประพันธ์เพลงในทิศทางตนเอง ทำให้ดนตรีคลูแจ๊สมีความหลากหลายยิ่งขึ้น ต่อมาช่วงทศวรรษ 1960 เดวิสได้กลับมาสร้างสรรค์วงแจ๊สขนาดเล็ก ด้วยการนำแนวทางการบรรเลงจากดนตรีบีบ็อปที่เขาเคยร่วมบรรเลงกับชาร์ลี ปาร์คเกอร์ในช่วงทศวรรษ 1940 มาพัฒนาให้มีความแตกต่างออกไปจากเดิมในวิถีแห่งดนตรีฮาร์ดบ็อป ที่มีกลิ่นอายดนตรีแอฟริกัน เช่น ริทึมแอนด์บลูส์ กอสเปล หรือบลูส์ และเน้นด้านการเรียบเรียงมากขึ้นกว่าดนตรีบีบ็อป เช่น วงห้าชิ้นที่ดีที่สุดของเขา (First Great Quintet) นักดนตรีร่วมบรรเลงประกอบด้วย จอห์น โคลเทรน (John Coltrane, 1926-1967) นักเล่นเทเนอร์แซกโซโฟน เรด การ์แลนด์ (Red Garland, 1923-1984)  นักเล่นเปียโน พอล แชมเบอส์ (Paul Chambers, 1935-1969) นักเล่นเบส และฟิลลี โจ โจนส์ (Philly Joe Jones, 1923-1985) นักเล่นกลอง   ปี ค.ศ. 1959 เดวิส ได้ร่วมสร้างสรรค์ดนตรีแจ๊สในวิถีดนตรีโมดัลแจ๊สในผลงานชื่อ Kind of Blues สังกัดค่าย Columbia ผลงานนี้มีเสียงประสานอันเป็นเอกลักษณ์ บทเพลง So What ได้สร้างกระแสดนตรีโมดัลแจ๊สด้วยเสียงประสานที่ต่างออกไป การดำเนินคอร์ดในบทเพลงนี้มีเพียง 2 คอร์ดและมีการเคลื่อนที่ช้าไม่เหมือนกับการดำเนินคอร์ดดนตรีบีบ๊อพ การอิมโพรไวส์มีแนวคิดต่างออกไปด้วยการเน้นการสร้างสรรค์จากโมดที่มีความสัมพันธ์กับเสียงประสานในบทเพลง กระทั่งทศวรรษ 1970 เดวิสได้นำดนตรีร็อกเข้ามาผสมผสานกับดนตรีแจ๊ส ส่งผลให้ดนตรีฟิวชันแจ๊สได้ก่อกำเนิดขึ้น ผลงานสำคัญที่เดวิสได้สร้างสรรค์ไว้ คือ ผลงานชื่อ Bitches Brew บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1970 สังกัดค่าย Columbia เดวิสได้นำเครื่องดนตรีไฟฟ้า เช่นเปียโนไฟฟ้าและออร์แกนตลอดจนคีย์บอร์ดเข้ามาแทนที่เปียโน รวมถึงการนำกีตาร์ไฟฟ้าที่อาจกล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของดนตรีร็อกเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย ทำให้มิติเสียงดนตรีแจ๊สกับดนตรีร็อกได้ถูกผสมผสานกันอย่างชัดเจน       จากที่กล่าวมาข้างต้นจะพบได้ว่า เดวิสได้ขยายขอบเขตดนตรีแจ๊สให้หลากหลายขึ้น ด้วยการทดลองแนวคิดหรือผสมผสานเครื่องดนตรีนำมาสร้างสรรค์ในทิศทางของตนเอง ส่งผลให้เกิดกระแสในดนตรีแจ๊สและเกิดเป็นวิถีทางต่างออกไป ผลงานของเดวิสเปรียบเสมือนโรงเรียนทางดนตรีแจ๊ส เหล่านักดนตรีแจ๊สที่เคยร่วมงานกับเขาได้กลายเป็นนักดนตรีแจ๊สสำคัญมากมาย เช่น จอห์น โคลเทรน นักเล่นเทเนอร์แซกโซโฟน บิล อีแวนส์ (Bill Evans, 1929-1980) เฮอร์บี แฮนคอก (Herbie Hancock, 1940-) ชิค คอเรีย (Chick Corea, 1941-) คีธ จาร์เร็ตต์ (Keith Jarrett, 1945-) นักเล่นเปียโน ไมค์ สเติร์น (Mike Stern, 1953-) จอห์น สโคฟิลด์ (John Scofield, 1951-) นักเล่นกีตาร์ เป็นต้น ไมล์ส เดวิส เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1991 และสำหรับในปี ค.ศ. 2021 จะเป็นวาระการครบรอบ 30 ปีของการเสียชีวิต ผู้ประพันธ์ (ผู้วิจัย) จึงมีความสนใจนำแนวคิดหรือแนวทางการสร้างสรรค์ของเขามาประพันธ์เพลงในรูปแบบดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการระลึกถึงนักดนตรีที่มีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊ส ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงหัตถยุทธ ลีลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดบทประพันธ์เพลงแจ๊สรูปแบบวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย 4 Episode สะท้อนศาสตร์และศิลป์ในมิติดนตรีแจ๊สที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาผลงานภาพวาดศิลปิน 4 คน จำนวน 4 ภาพ ได้แก่ 1. ชื่อผลงาน The Scream ผลงานจากศิลปิน เอ็ดวาร์ด มูงค์ (Edvard Munch, 1863-1944) สีสันในภาพแสดงอารมณ์และความรู้สึกภาพกระแสเอกซ์เปรชัน ศิลปะที่สำแดงพลังด้วยการใช้สีสันแสดงออกทางอารมณ์อย่างชัดเจน ไม่ซ้อนเร้น นอกจากนี้ผู้ประพันธ์นำสาระจากสมุดบันทึกของมูงค์มาเป็นแนวทางการประพันธ์เชื่อมโยงกับแนวคิดโมด กลุ่มเสียงกัด สะท้อนสีสันมิติเสียงจากเหตุการณ์หรืออารมณ์ความรู้สึกที่เกิดเรื่องราวขึ้นในภาพ 2. ชื่อผลงาน The Guitar Player ผลงานจากศิลปิน ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso, 1881-1973) ภาพกระแสคิวบิสม์ รูปทรงที่เกิดขึ้นในภาพเหล่านี้ถูกนำมาประติดประต่อประกอบเข้าด้วยกัน บางรูปอาจซ้อนทับกันหรือเหลื่อมซึ่งกันและกัน เส้นรูปทรงเหล่านี้แสดงถึงทิศทางการเคลื่อนไหว สะท้อนอารมณ์ต่าง ๆ ในช่วงเวลาต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้ผู้ประพันธ์จึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจเชื่อมโยงกับแนวคิดเชิงเทคนิคของดนตรีมินิมัลลิซึม ชื่อผลงาน Improvisation 28 ผลงานจากศิลปิน วาสซิลี คันดินสกี (Wassily Kandinsky, 1866-1944) แนวคิดภาพนี้เป็นการวาดโดยไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อนตามแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงาน Improvisation เฉกเช่นเดียวกับการอิมโพรไวส์ของนักดนตรีแจ๊สถูกนำมาสะท้อนแรงบันดาลใจแนวคิดดนตรีฟรีแจ๊ส ที่มักกำหนดกรอบแนวทางการบรรเลงไว้อย่างหลวม ๆ เพื่อให้สาระทางดนตรีฟรีแจ๊สเกิดขึ้นขณะบรรเลง นอกจากนี้ผู้ประพันธ์ได้นำแรงบันดาลใจจากรูปร่างลายเส้น มิติสีสัน และมิติช่องว่าง ที่ปรากฏในภาพมาเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดการประพันธ์ในแต่ละท่อน 4. ชื่อผลงาน Michael Jackson ผลงานจากศิลปิน แอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol, 1928-1987) แนวคิดป็อปอาร์ตสะท้อนให้เห็นกระแสจากประชานิยมที่เกิดขึ้นในสังคม ผู้ประพันธ์นำมาเป็นแรงบันดาลใจด้วยแนวคิดการคัดทำนองจากบทเพลงของไมเคิล แจ็กสัน ศิลปินนักร้องที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในกระแสดนตรีป็อปร็อก นำมาผสมผสานในการประพันธ์เพื่อเชื่อมโยงแนวคิดดนตรีแจ๊สและดนตรีป็อปร็อก สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน บทประพันธ์สะท้อนแรงบันดาลใจเพื่อระลึกถึงไมล์ส เดวิส ทั้งยังเป็นการตระหนักถึงบทบาทสำคัญเชิงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊สในหลายมิติทั้งด้านแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างบุคลากรทางดนตรีแจ๊สตลอดจนเป็นผู้นำดนตรีแจ๊สพัฒนาไปตามยุคสมัย กระทั่งก่อเกิดเป็นดนตรีแจ๊สลีลาต่าง ๆ มากมาย กล่าวได้ว่าเป็นมรดกอันมีค่าให้กับวงการดนตรีแจ๊สเป็นอย่างมาก แนวคิดทางดนตรีของเดวิสที่ผู้ประพันธ์ได้กำหนดแนวทางไว้ถูกนำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการสร้างสรรค์เพื่อสะท้อนแรงบันดาลใจดังกล่าว แนวคิดการประพันธ์ ผู้ประพันธ์นำแนวคิดทางดนตรีของเดวิสมาเป็นวัตถุดิบให้กับบทประพันธ์ด้วยแนวคิด สำคัญ 3 ประเด็นหลักคือ 1) แนวคิดดนตรีบีบ็อป 2) แนวคิดดนตรีโมดัลแจ๊ส และ 3) แนวคิดดนตรีฟิวชันแจ๊ส แต่ละประเด็นถูกนำมาสร้างสรรค์เพื่อให้บทประพันธ์ดำเนินไปตามแนวทางที่กำหนดทิศทางไว้ แนวคิดการประพันธ์ด้วยแนวคิดข้างต้นมีรายละเอียดเป็นดังนี้ แนวคิดดนตรีบีบ็อป ไมล์ส เดวิส ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางดนตรีกับชาร์ลี ปาร์คเกอร์ (Charlie Parker, 1920-1955) นักเล่นแซ็กโซโฟนคนสำคัญในวิถีดนตรีบีบ็อปช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1944-1948 อาจกล่าวได้ว่า ช่วงแรกของเดวิสนั้นได้รับอิทธิพลจากปาร์คเกอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่เขาได้เริ่มก่อตั้งวงดนตรีของตนเองขึ้น กระทั่งนำดนตรีแจ๊สพัฒนาไปตามยุคสมัยต่าง ๆ ในช่วงเวลาต่อมา แนวคิดดนตรีบีบ็อปถูกนำมาสะท้อนลงในท่อน A เพื่อเป็นการสื่อถึงช่วงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ดนตรีบีบ็อปจากปาร์คเกอร์ โดยผู้ประพันธ์นำแนวคิดดนตรีบีบ็อปมาสร้างสรรค์ซึ่งกำหนดให้การบรรเลงประกอบกลุ่มเครื่องจังหวะบรรเลงด้วยแนวคิดจังหวะสวิง (Swing) ที่มักพบได้บ่อยครั้งในดนตรีบีบ็อป ผู้เล่นกลองบรรเลงด้วยจังหวะสวิงผสมผสานกับผู้เล่นเบสบรรเลงด้วยแนวคิดวอล์กกิงเบสไลน์ (Walking Bass Line) ที่มีความโดดเด่นจากการบรรเลงด้วยโน้ตตัวดำเป็นส่วนใหญ่ แนวคิดดนตรีโมดัลแจ๊ส กล่าวได้ว่าผลงาน Kind of Blue บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1959 สังกัดค่าย Columbiaนำไปสู่วิถีแห่งดนตรีโมดัลแจ๊สมีความโดดเด่นด้านการเคลื่อนที่ของคอร์ดช้า สามารถเปิดโอกาสให้นักดนตรีมีความอิสระยิ่งขึ้นทั้งด้านการอิมโพรไวส์และด้านการบรรเลงประกอบ แนวคิดการดำเนินคอร์ดบทเพลง So What ในผลงานชิ้นนี้ของเดวิสมีการเคลื่อนที่ช้าประกอบด้วยคอร์ดเพียงเล็กน้อย ด้านการเคลื่อนที่มีลักษณะการดำเนินคอร์ดเคลื่อนที่สูงขึ้นครึ่งเสียงจากช่วงแรก จากนั้นจะกลับมายังการดำเนินคอร์ดเหมือนช่วงแรกอีกครั้งในช่วงท้าย แนวคิดดังกล่าวผู้ประพันธ์นำมาสะท้อนลงไปในการดำเนินคอร์ดช่วงการอิมโพรไวส์ของผู้เล่นทรัมเป็ตและผู้เล่นกีตาร์ไฟฟ้า เพื่อสื่อถึงแนวคิดการดำเนินคอร์ดที่ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดของเดวิสที่เขาสร้างสรรค์ไว้ในบทเพลง So What ที่มีความโดดเด่นในวิถีดนตรีโมดัลแจ๊ส แนวคิดดนตรีฟิวชันแจ๊ส ผลงานชื่อ Bitches Brew บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1970 สังกัดค่าย Columbia ผลงานชิ้นนี้ของเดวิสมีทิศทางไปในวิถีแห่งดนตรีฟิวชันแจ๊ส มีการนำเครื่องดนตรีไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจน ทั้งกีตาร์ไฟฟ้าหรือเปียโนไฟฟ้าได้เข้ามาร่วมกันสร้างมิติเสียง โดยเฉพาะบทบาทจากกีตาร์ไฟฟ้ากล่าวได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่โดดเด่นสำหรับดนตรีร็อก ถูกนำมาสร้างบทบาทสำคัญให้กับดนตรีฟิวชันแจ๊สของเดวิส การบรรเลงกีตาร์ไฟฟ้ามีการใช้อุปกรณ์แปลงเสียงกีตาร์ประเภทให้เสียงแตกพร่า เช่น โอเวอร์ไดรฟ์ (Overdrive) หรือดิสทอร์ชัน (Distortion) ช่วยสนับสนุนให้ผลงานมีความเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น นอกจากนี้ยังมีแนวคิดสำคัญอีกประการคือ การนำแนวคิดแวมป์ (Vamp) เข้ามาสอดแทรกในบทเพลงอยู่บ่อยครั้ง แวมป์เป็นแนวคิดการบรรเลงวนซ้ำ ๆ โดยมากมักมีบทบาทจากกลุ่มเครื่องจังหวะ จากแนวคิดข้างต้นของเดวิสผู้ประพันธ์นำมาสะท้อนลงในบทเพลงด้วยบทบาทจากกลุ่มเครื่องจังหวะผสมผสานกับกลุ่มเครื่องลม    การสร้างสรรค์แนวทำนอง ด้านการสร้างแนวทำนองและการดำเนินคอร์ด ปรากฏแนวคิดการใช้ตัวเลขเดือนเกิด- วันเกิด-ปีเกิดของเดวิสมาเป็นพื้นฐานเชื่อมโยงเข้ากับตัวโน้ต เพื่อสร้างเป็นวัตถุดิบให้กับกลุ่มโน้ตหลัก และกลุ่มโน้ตหลักนี้ถูกนำมาสร้างสรรค์ให้กับแนวทำนองและการดำเนินคอร์ด บทบาทกลุ่มโน้ตหลักสำหรับการสร้างสรรค์แนวทำนองปรากฏแนวคิดการไล่เรียงตามลำดับ ซึ่งการใช้แนวทางนี้มิติเสียงที่เกิดขึ้นนั้นถูกกำหนดไว้ด้วยตัวโน้ตจากกลุ่มโน้ตหลัก F-DF#-C#ADF# จึงจำเป็นต้องผสมผสานเข้ากับการใช้ช่วงเสียงควบคู่ไปกับลักษณะจังหวะหลากหลาย เช่น จังหวะขัด เพื่อสร้างสำเนียงแบบแจ๊ส การสร้างสรรค์แนวทำนองยังปรากฏแนวคิดเลียนแบบมิติเสียงสะท้อน โดยนำแนวคิดมาจากบทเพลง Bitches Brew ดังปรากฏในท่อน C แนวคิดนี้สร้างมิติเสียงซ้ำ ๆ และสนับสนุนให้มิติเสียงช่วงแนวทำนองท่อน C มีความแปลกใหม่ เนื่องจากการบรรเลงด้วยแนวคิดแวมป์มีเอกลักษณ์ด้านการบรรเลงวนซ้ำ ๆ ของกลุ่มเครื่องจังหวะมิติเสียงที่เกิดขึ้นจึงมีทิศทางคล้ายกัน การสร้างมิติเสียงแปลกใหม่เป็นสิ่งสำคัญสามารถสร้างความน่าสนใจ ตลอดจนช่วยให้บทบาทการบรรเลงแวมป์มีความหลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้การใช้ขั้นคู่เสียงต่าง ๆ ถูกนำมาผสมผสานไปกับแนวทำนองทั้งขั้นคู่เสียงกลมกลืนและกระด้าง การพิจารณาบทบาทขั้นคู่เสียงเหล่านี้นอกจากช่วยสนับสนุนแนวทำนองแล้ว ยังสามารถสร้างมิติเสียง อารมณ์ หรือบรรยากาศบทเพลง ให้มีความหลากหลาย เช่น บทบาทแนวทำนองกลุ่มเครื่องลม เป็นต้น                   การสร้างสรรค์การดำเนินคอร์ด ส่วนการสร้างสรรค์การดำเนินคอร์ด เป็นการนำกลุ่มโน้ตหลัก F-DF#-C#ADF# นำมาเชื่อมโยงเข้ากับคอร์ดต่าง ๆ แบ่งเป็น 2 ประเด็นสำคัญคือ 1) การบรรเลงไล่เรียงตามลำดับของกลุ่มโน้ตหลัก แนวคิดนี้จำเป็นต้องกำหนดชนิดคอร์ดให้ชัดเจน เพื่อสร้างมิติเสียงให้กับการดำเนินคอร์ด เช่น กรณีการดำเนินคอร์ดที่ปรากฏดังท่อน A นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องกำหนดทิศทางการบรรเลงให้สอดคล้องกับลีลาดนตรีแจ๊สต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการจัดวางแนวเสียงเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและสอดคล้องกับการดำเนินคอร์ดเหล่านี้ 2) นำกลุ่มโน้ตหลัก F-DF#-C#ADF# แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 FDF# ส่วนที่ 2 C#AD และส่วนที่ 3 F# เพื่อสร้างวัตถุดิบให้กับการดำเนินคอร์ดท่อน B และท่อน C ผสมผสานไปกับแนวคิดทางดนตรีโมดัลแจ๊สและดนตรี        ฟิวชันแจ๊สตลอดจนถึงแนวคิดแวมป์ หากพิจารณาภาพรวมแนวคิดการดำเนินคอร์ดทั้งหมด กล่าวได้ว่าเป็นการนำผลลัพธ์กลุ่มโน้ตหลักที่เชื่อมโยงกับตัวเลขเดือนเกิด-วันเกิด-ปีเกิดของเดวิส นำมาเป็นตัวกำหนดทิศทางให้กับการดำเนินคอร์ด จากนั้นจึงถูกนำมาพิจารณาเข้ากับขนิดคอร์ด    ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับลีลาทางดนตรี    แนวคิดแวมป์ การบรรเลงด้วยแนวคิดแวมป์ กล่าวได้ว่าเป็นเทคนิคสำคัญที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้อย่างเด่นชัด ผู้ประพันธ์นำแนวคิดการบรรเลงแวมป์มาจากแนวคิดทางดนตรีของเดวิส ซึ่งพบว่าแนวคิดการบรรเลงแวมป์ถูกสอดแทรกอยู่ในหลากหลายบทเพลงของเดวิส เช่น บทเพลง Milestones บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1958  สังกัดค่าย Columbia หรือบทเพลง Bitches Brew บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1969 สังกัดค่าย Columbia เป็นต้น แนวคิดการบรรเลงแวมป์ได้สร้างเอกลักษณ์ให้กับบทเพลงเหล่านี้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้ผู้ฟังจดจำบทเพลงเหล่านี้ได้สะดวกขึ้นจากการบรรเลงวนซ้ำ ๆ การพิจารณานำแนวคิดแวมป์มาใช้ในบทประพันธ์เพลง เดวิสฟินอมินอนพบว่าท่อน B และท่อน C มีการบรรเลงวนซ้ำจากกลุ่มเครื่องจังหวะสามารถสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับท่อนเพลงต่าง ๆ การบรรเลงวนซ้ำเสมือนเป็นการย้ำมิติเสียงที่ปรากฏขึ้นส่งผ่านไปยังผู้ฟังซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่กระนั้นการบรรเลงด้วยเทคนิคนี้จำเป็นต้องสร้างความแปลกใหม่หรือสร้างมิติเสียงให้มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นการบรรเลงวนซ้ำจากกลุ่มเครื่องจังหวะเป็นสำคัญ โดยมากบทบาทกลุ่มเครื่องจังหวะมักมีความโดดเด่นสำหรับการขับเคลื่อนมิติเสียงให้ดำเนินไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ หากบรรเลงวนซ้ำมากเกินไปอาจทำให้ผู้ฟังต้องการมิติเสียงที่มีความแปลกใหม่สอดแทรกเข้ามาผสมผสาน เพื่อสร้างความหลากหลายและไม่ทำให้แนวทางการบรรเลงด้วยเทคนิคแวมป์มีคุณค่าลดน้อยลงไป ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผศ.ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงหัตยุทธ ลีลา การศึกษาค้นคว้าข้อมูลประเด็นต่าง ๆ สำหรับการประพันธ์กำหนดประเด็นวิธีการดำเนินงานวิจัยและการประพันธ์เพลง แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นสำคัญ คือ พิจารณาคัดเลือกผลงานภาพ วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล กระบวนการสร้างสรรค์บทประพันธ์ ทั้ง 4 ประเด็นมีความสอดคล้องกันเพื่อให้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้รายละเอียดดังนี้ พิจารณาคัดเลือกผลงานจำนวน 4 ภาพ จากศิลปิน 4 คน โดยมีประเด็นแนวคิดการสร้างสรรค์หรือแรงบันดาลใจที่ผู้ประพันธ์ให้ความสนใจ สามารถเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดทางดนตรี ได้อย่างมีสาระ ผลงานที่ผู้ประพันธ์ให้ความสนใจได้แก่ 1) ผลงาน The Scream ของเอ็ดวาร์ด มูงค์ 2) ผลงาน The Guitar Player ของปาโบล ปิกัสโซ 3) ผลงาน Improvisation 28 ของวาซิลี คันดินสกี และ 4) ผลงาน Michael Jackson ของแอนดี วอร์ฮอล วิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาแนวคิดการสร้างสรรค์ ปรัชญาที่แฝงไว้ในภาพวาด ตลอดจนแรงบันดาลใจรวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญ แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประพันธ์รวบรวมมาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนมาเป็นแนวทางการศึกษา ทั้งนี้ผู้ประพันธ์นำแหล่งข้อมูลมาจากหนังสือ งานวิจัย บทความ โน้ตเพลง ข้อมูลจากเวบไซด์ เป็นต้น สังเคราะห์ข้อมูล ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่งผลให้สังเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ออกมาเป็นวัตถุดิบหลากหลาย ข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์เหล่านี้จะถูกนำมาเชื่อมโยงเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานนำไปเป็นแนวทางสู่การสร้างวัตถุดิบสำหรับการประพันธ์ต่อไป กระบวนการสร้างสรรค์บทประพันธ์ ผู้ประพันธ์กำหนดแนวทางไว้ดังนี้ 4.1 กำหนดกรอบแนวคิดการประพันธ์ และเทคนิคการประพันธ์ที่เหมาะสม4.2 สร้างสรรค์บทประพันธ์ตามกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้4.3 จัดเตรียมนักดนตรีให้เหมาะสมกับบทประพันธ์4.4. ฝึกซ้อมบทประพันธ์กับวงดนตรี ตลอดจนปรับแต่งบทประพันธ์ให้เหมาะสม4.5 บันทึกเสียงบทประพันธ์ทั้งหมด และผลิตเป็นแผ่น CD4.6 จัดพิมพ์โน้ตเพลงพร้อมอรรถาธิบายชุดบทประพันธ์เป็นรูปเล่ม4.7 เผยแพร่บทประพันธ์ด้วยการแสดงดนตรี และผลิตเป็นแผ่น DVD4.8 สรุปผลการดำเนินงาน และส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ส่วนกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน การศึกษาประเด็นต่าง ๆ ผู้ประพันธ์กำหนดประเด็นวิธีการดำเนินงานวิจัยและการประพันธ์เพลง แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นสำคัญ คือ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล และกระบวนการสร้างสรรค์บทประพันธ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ รวบรวมข้อมูล ดนตรีบีบ็อป ดนตรีคูลแจ๊ส ดนตรีฮาร์ดบ็อป ดนตรีโมดัลแจ๊ส และดนตรี ฟิวชันแจ๊ส ตลอดจนผลงานการประพันธ์ที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย เช่น หนังสือ งานวิจัย บทความ โน้ตเพลง เว็บไซต์ เป็นต้น วิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประพันธ์นำแนวคิดข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนมาเป็นแนวทางการศึกษา เพื่อให้ทราบถึงบริบทพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับไมล์ส เดวิส ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์แนวคิดผลงานการประพันธ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้ทราบถึงแนวทาง แนวคิด เทคนิค การประพันธ์ที่หลากหลายมิติ สังเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์เหล่านี้จะถูกนำมาเชื่อมโยงเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่แนวทางการสร้างสรรค์การประพันธ์ต่อไป กระบวนการสร้างสรรค์บทประพันธ์ ผู้ประพันธ์กำหนดแนวทางไว้ดังนี้ 4.1 กำหนดกรอบแนวคิดการประพันธ์ และเทคนิคการประพันธ์ที่เหมาะสม4.2 สร้างสรรค์บทประพันธ์ตามกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้4.3 จัดเตรียมนักดนตรีให้เหมาะสมกับบทประพันธ์4.4. ฝึกซ้อมบทประพันธ์กับวงดนตรี ตลอดจนปรับแต่งบทประพันธ์ให้เหมาะสม4.5 เผยแพร่บทประพันธ์ด้วยการแสดงดนตรี4.6 สรุปผลการดำเนินงาน และส่งรายงานการวิจัยสร้างสรรค์ฉบับสมบูรณ์4.7 เผยแพร่งานวิจัยสร้างสรรค์ในรูปแบบบทความวิจัย 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงหัตยุทธ ลีลา ด้านปัญหาและอุปสรรคหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ที่วางแผนไว้ต้องได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ได้รับผลกระทบคือการแสดงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบออนไลน์แทนการแสดงสดต่อสาธารณชน การรวมกลุ่มเพื่อการฝึกซ้อมร่วมกันทั้งหมดมีอุปสรรคเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องรอช่วงผ่อนปรนจากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้การฝึกซ้อมก็ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มเล็กเพื่อให้สามารถดำเนินไปตามเป้าหมายได้ตามลำดับ                     การใช้โปรแกรมเขียนโน้ตดนตรีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งต่อมิติเสียง จากจินตนาการของผู้ประพันธ์ส่งไปยังเหล่านักดนตรี ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดข้อจำกัดบางประการด้านมิติเสียงโปรแกรมเขียนโน้ตดนตรี ผู้ประพันธ์จึงมีความจำเป็นต้องใช้เสียงสังเคราะห์ที่มีความเสมือนจริงมาสื่อถึงมิติเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ให้นักดนตรีสามารถเข้าใจแนวทางการบรรเลง ด้วยขั้นตอนนี้หากอยู่ในสถานการณ์ปรกติสามารถรวมกลุ่มฝึกซ้อมได้จะช่วยประหยัดเวลาเพื่อให้นักดนตรีทราบถึงมิติเสียงหรือการบรรเลงได้                     ปัญหาด้านการบรรเลงด้วยแนวคิดหรือลีลาดนตรีต่าง ๆ เช่น กรณีการบรรเลงแนวคิดคอลเลคทีฟอิมโพรไวส์เซชัน ซึ่งผู้ประพันธ์กำหนดให้ท่อน A ของ Episode III: Improvisation 28 บรรเลงด้วยลีลาดนตรีฟรีแจ๊ส ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ยังส่งผลถึงช่วงเวลาในการบันทึกเสียงที่ไม่สามารถรวมกลุ่มได้ จำเป็นต้องใช้วิธีบันทึกเสียงแยกเครื่องดนตรีต่าง ๆ ออกมา การบรรเลงด้วยแนวคิดคอลเลคทีฟอิมโพรไวส์เซชันมีพื้นฐานจากแนวคิดอิมโพรไวส์ ไปพร้อมกัน การรับฟังกันและกันตลอดจนรับฟังมิติเสียงที่เกิดขึ้นพร้อมกับร่วมกันขับเคลื่อนมิติเสียงต่าง ๆ จากแนวคิดนี้สำหรับขั้นตอนการบันทึกเสียง ผู้ประพันธ์จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจร่วมกับนักดนตรีเนื่องจากไม่สามารถบันทึกเสียงแบบรวมกลุ่มได้ ส่งผลให้ต้องปรับเปลี่ยนวิธีแต่ยังสามารถสร้างมิติเสียงให้มีทิศทางเดียวกันกับแนวคิดคอลเลคทีฟอิมโพรไวส์เซชัน ด้วยการสร้างแนวทำนองอิมโพรไวส์ขึ้นมาเป็นต้นแบบและให้นักดนตรีบรรเลงให้สอดคล้องกับแนวคิดนี้ เช่น กรณีการบรรเลงคอลเลคทีฟอิมโพรไวส์เซชันร่วมกันระหว่างเทเนอร์แซ็กโซโฟนและทรอมโบน             ส่วนกรณีงานวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน ในส่วนของการปฏิบัติจริงด้านบทบาทเครื่องดนตรีผู้ประพันธ์พิจารณาบทบาทเครื่องดนตรีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสอดคล้องกับการจัดรูปแบบวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่หรือบิกแบนด์คือ กลุ่มเครื่องลมและกลุ่มเครื่องจังหวะ กลุ่มเครื่องลม มีบทบาทหน้าที่สำคัญด้านการบรรเลงแนวทำนอง สนับสนุนแนวทำนอง ตลอดจนสร้างสีสัน อารมณ์ หรือบรรยากาศ ขณะที่กลุ่มเครื่องจังหวะมีบทบาทสำคัญกับการบรรเลงด้วยแนวคิดแวมป์ เนื้อดนตรีที่ปรากฏมีลักษณะเนื้อดนตรีโฮโมโฟนีร่วมไปกับบทบาทเครื่องดนตรี หากพิจารณาภาพรวมทั้งหมดพบว่า ช่วงนำเข้าบทประพันธ์เสมือนเป็นการเชื้อเชิญผู้ฟัง ด้วยบทบาทจากเครื่องดนตรี 2 ชิ้นคือทรัมเป็ตและเปียโน จากนั้นจึงตามด้วยกลุ่มเครื่องลมและดำเนินเข้าสู่ท่อนต่าง ๆ โดยท่อน A ถึงท่อน C บทบาทกลุ่มเครื่องลมและกลุ่มเครื่องจังหวะทำหน้าที่บรรเลงร่วมกัน และบทประพันธ์เพลง เดวิสฟินอมินอน จบลงด้วยบทบาทจากกลุ่มทรัมเป็ต ด้านบทบาทเครื่องดนตรีบทประพันธ์เพลง เดวิสฟินอมินอน ผู้ประพันธ์พิจารณาบทบาทเครื่องดนตรีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสอดคล้องกับการจัดรูปแบบวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่หรือบิกแบนด์คือ กลุ่มเครื่องลมและกลุ่มเครื่องจังหวะ กลุ่มเครื่องลม มีบทบาทหน้าที่สำคัญด้านการบรรเลงแนวทำนอง สนับสนุนแนวทำนอง ตลอดจนสร้างสีสัน อารมณ์ หรือบรรยากาศ ขณะที่กลุ่มเครื่องจังหวะมีบทบาทสำคัญกับการบรรเลงด้วยแนวคิดแวมป์ เนื้อดนตรีที่ปรากฏมีลักษณะเนื้อดนตรีโฮโมโฟนีร่วมไปกับบทบาทเครื่องดนตรี หากพิจารณาภาพรวมทั้งหมดพบว่า ช่วงนำเข้าบทประพันธ์เสมือนเป็นการเชื้อเชิญผู้ฟัง ด้วยบทบาทจากเครื่องดนตรี 2 ชิ้นคือทรัมเป็ตและเปียโน จากนั้นจึงตามด้วยกลุ่มเครื่องลมและดำเนินเข้าสู่ท่อนต่าง ๆ โดยท่อน A ถึงท่อน C บทบาทกลุ่มเครื่องลมและกลุ่มเครื่องจังหวะทำหน้าที่บรรเลงร่วมกัน และบทประพันธ์เพลง เดวิสฟินอมินอน จบลงด้วยบทบาทจากกลุ่มทรัมเป็ต ปัญหาและอุปสรรค หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่กระบวนการสำหรับการจัดทำงานวิจัยสร้างสรรค์นี้ ล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 การรวมกลุ่มเพื่อฝึกซ้อมร่วมกันจำเป็นต้องดำเนินไปภายใต้มาตรการต่าง ๆ การแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเป็นทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาการรวมกลุ่มขนาดใหญ่ ผสมผสานไปกับการใช้ช่องทางออนไลน์สำหรับการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับเหล่านักดนตรี ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้ประพันธ์พบว่า การรวมกลุ่มสำหรับการฝึกซ้อมร่วมกันของนักดนตรีทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญ การสื่อสารกับเหล่านักดนตรีขณะฝึกซ้อมร่วมกันทั้งหมดสามารถช่วยสร้างความเข้าใจและแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยสถานการณ์โควิด

การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีแจ๊สด้วยแนวคิดสหวิชา สู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัย Read More »

การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากล

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            ปัจจุบันจริยธรรมการวิจัยในคน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับงานวิจัยที่มีคนเป็นส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เพราะการเผยแพร่งานวิจัยที่มีคนเป็นส่วนร่วม ในวารสารนานาชาติ ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จะมีการขอใบรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ของงานวิจัยชิ้นนั้นๆ และที่สำคัญถ้างานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยจะใช้เป็นผลงานในการยื่นขอตำแหน่งวิชาการ จำเป็นต้องแนบใบรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน จากคณะ-กรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนมาด้วย ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ข้อที่ (6) หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันที่มีการดำเนินการ            ด้วยความจำเป็นข้างต้นทางมหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต หรือ Rangsit University – Ethical Review Board (RSU-ERB) หรือ เรียกย่อๆว่า คณะกรรมการฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อออกใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ให้กับ อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือในวงการวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนในระดับนานาชาติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้หน่วยงานอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมในคนมาตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการฯ โดย The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) หรือที่เรียกสั้นๆว่า SIDCER-FERCAP เป็นหน่วยงานอิสระระดับนานาชาติ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมในคนให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก คณะกรรมการจริยธรรมในคนของหน่วยงานใดที่ได้รับการรับรองจาก SIDCER-FERCAP จะเป็นคณะกรรมการจริยธรรมในคนที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากล  ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับความน่าเชื่อถือ ความเป็นสากล ความเป็นที่รู้จักและยอมรับของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของมหาวิทยาลัยรังสิต คณะกรรมการฯ จึงได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้ SIDCER-FERCAP เข้ามาประเมินการดำเนินการ           ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการฯ ได้รับการรับรองการดำเนินการจาก SIDCER-FERCAP สำนักงานจริยธรรมการวิจัยจึงได้ทำการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมิน โดยมีจัดการความพร้อมทั้งทางด้าน สถานที่, คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ, เอกสารการประเมิน, Standard Operating Procedures หรือ SOP และระบบการดำเนินการของสำนักงานจริยธรรมการวิจัยที่จะคอยสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลัง ความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)อื่นๆ : ระเบียบวิธีดำเนินการมาตรฐาน (Standard Operating Procedures) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด  รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ 1. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ2. ขั้นตอนการเตรียม Standard Operating Procedures หรือ SOP3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการพิจารณาโครงการโดยคณะกรรมการฯ4. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรอง และการติดตามการปิดโครงการ5. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและการจัดการเอกสาร 1. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ในขั้นตอนนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ     1.1 คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ ในการคัดเลือกคณะกรรมการฯ นั้นคณะกรรมการฯ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้         – ทุกคนต้องมีใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในคนมาตรฐานของ GCP, SOP         – มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ของตนเป็นอย่างดี         – มีการเซ็นต์รับรองการปกปิดความลับ และ conflict of interest     1.2 สำนักงาน และงบประมาณ         – คณะกรรมการฯ มีสำนักงานเป็นของตนเอง คือสำนักงานจริยธรรมการวิจัยในคน ห้อง 504 ชั้น 5 อาคารอาทิตย์            อุไรรัตน์ และ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในส่วนของงานจริยธรรมการวิจัยจำนวน 2 คน คือคุณวุฒิศักดิ์ อยู่จำนงค์            และคุณเบญจพร เกาะแก้ว ดังแสดงในรูปที่ 1         – สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มีงบประมาณเป็นของตนเอง โดยได้ทำเรื่องขอแยกงบจากสถาบันวิจัย ตั้งแต่ปี 2566     1.3 การฝึกอบรม          สำนักงานจริยธรรมการวิจัยได้มีการจัดการอบรมในเรื่องหัวข้อจริยธรรมการวิจัยในคนในมาตรฐานของ GCP, SOP           เป็นประจำทุกปี 2. ขั้นตอนการเตรียม Standard Operating Procedures หรือ SOP        คณะกรรมการฯได้ปรับปรุง SOP ให้มีความทันสมัย และทำปฏิบัติได้จริง โดยมีการปรับปรุงเล่ม SOP version 2.0 เป็นเล่ม SOP version 2.1 ดังแสดงในรูปที่ 2 โดยเนื้อหาหลักที่แก้ไขหลัก เป็นแนวทาง และระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ ให้สามารถทำได้จริงตามที่ได้ระบุไว้ในเล่ม SOP 3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการพิจารณาโครงการโดยคณะกรรมการฯ        ในขั้นตอนนี้สำนักจริยธรรมการวิจัยได้จัดการอบรมให้ความรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์กับคณะกรรมการฯ เป็น ประจำทุกปี ดังแสดงในรูปที่ 3 เพื่อให้คณะกรรมาการฯ มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยในคนที่แม่นยำ สามารถที่จะนำเอาความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆมาพิจารณาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจารกนี้สำนักงานจริยธรรมการวิจัยยังได้ประชาสัมพันธ์การอบรมจริยธรรมการวิจัยในคนที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกให้คณะกรรมการฯได้ทราบ เพื่อกรรรมการที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมอบรมได้ 4. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมด้านการติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรอง และการติดตามการปิดโครงการ        สำนักงานจริยธรรมมีการใช้ระบบสารสนเทศในการติดตามโครงการที่ได้รับหนังสือรับรองแล้ว และโครงการที่ถึงกำหนดส่งรายงานการปิดโครงการ โดยจะมีการทำหนังสือติดตามส่งไปให้หัวหน้าโครงการ 1 อาทิตย์ ก่อนจะถึงกำหนด 5. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและการจัดการเอกสาร        สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มีระบบในการจัดการเอกสารอย่างมีระบบ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับความลับ โดยมีการแบ่งเอกสารออกเป็น active document คือ เอกสารของโครงการที่ยังไม่ปิดโครงการ และ inactive document คือเอกสารของโครงการที่ปิดโครงการแล้ว ซึ่งเอกสารต่างๆจะถูกเก็บในตู้เก็บเอกสาร ในห้องเก็บเอกสารภายในสำนักงานจริยธรรมการวิจัย โดยที่ห้องเอกสารนั้นจะมีการติดตั้งกุญแจ digital ซึ่งมีเพียงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นถึงจะทราบรหัสเปิดห้อง เพื่อป้องกันเนื้อหาในโครงการรั่วไหล ดังแสดงในรูปที่ 4 2. Prototype testing in an operational environment – DO          หลังจากที่สำนักงานจริยธรรมการวิจัยได้เตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัย ในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) แล้วนั้น ในวันที่ 28– 30 สิงหาคม 2566 คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ได้รับการตรวจรับรองคุณภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ณ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย ห้อง 1-505 และห้องประชุม 1-301 มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้        1. ศ. เกียรติคุณ ดร. พญ. จันทรา กาบวัง เหล่าถาวร, Survey Coordinator        2. ผศ. ดร. พญ. พรรณทิพา ว่องไว, Lead Surveyor        3. รศ. ดร. พญ. ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม, Local Surveyor        4. ดร. พญ. อรวรรณ ศิลปะกิจ, Local Surveyor        5. Dr. Sangeeta Desai, Foreign Surveyor From India        6. รศ.ดร. อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา Assistance Surveyor        7. กรรมการจากหน่วยงานรัฐ และเอกชน อีกจำนวน 15 คน           3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           หลังจากที่ จาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) ได้เข้ามาประเมินการดำเนินงานของคณะกรรมฯ ระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคม 2566 แล้วนั้น หลังจากการประเมินทาง SIDERFERCAP ได้ให้ระกาศนียบัตรการเข้ามาตรวจประเมินการดำเนินงานของคณะกรรมฯ ดังแสดงในรูปที่ 6 ใบ ประกาศนียบัตรนี้ไม่ได้แปลว่าคณะกรรมการฯ จะผ่านการประเมิน โดย SIDER-FERCAP จะส่งข้อแก้ไขต่างๆมาให้ ทางคณะกรรมการฯ แก้ไขเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 หลังจากแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้วคณะกรรมการฯ จะส่งข้อแก้ไข และ action planไปให้ทาง SICER-FERCAP พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้คณะกรรมการฯ อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขตามข้อเสนอแนะ และจัดทำ action plan เพื่อส่งกลับไปให้ทาง SIDER-FERCAP พิจารณา คาดว่าภายในเดือนมีนาคม 2567 จะส่งเอกสาร และ action plan กลับไปให้ SIDER-FERCAP ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         ถ้าคณะกรรมการฯ ได้ผ่านการรับรองจาก SIDER-FERCAP คณะกรรมการฯ จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรอง ซึ่งจะสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการวิชาการและการวิจัย

การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากล Read More »

กระบวนการและขั้นตอนการขอรับจดทะเบียนทรีพย์สินทางปัญญา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 กระบวนการและขั้นตอนการขอรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ผู้จัดทำโครงการ​ คุณณัฐวรรณ วาเรืองศรี สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในปัจจุบันเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามีบทบาทสําคัญอย่างมากในสถาบันการศึกษา มีการตื่นตัว ในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดรายได้กลับสู่สถาบันการศึกษาและบุคลากรที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยมหาวิทยาลัยรังสิตก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญและเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของมหาวิทยาลัย  ดังนั้นการใช้ประโยชน์ รวมถึงทั้งการให้ความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ แก่นักวิจัยเ ซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้ผู้อื่นแสวงหาประโยชน์จากผลงานนั้น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งใหม่ๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง           สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในเรื่องการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิต จากอดีตที่ผ่านมาจนถึง ณ.ปัจจุบัน พบว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัย มีการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญามีปริมาณค่อนข้างน้อย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุกระบวนและขั้นตอนในการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา มีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก ในเรื่องการจัดเตรียมเอกสารในการยื่น ซึ่งส่งผลให้การยื่นจดทะเบียนจนกระทั่งได้รับใบรับรองใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน  บางครั้งอาจมีมากถึง 3-5 ปี ดังนั้นหากมีหน่วยงานที่ให้คำปรึกษา ตั้งแต่การร่างคำขอและการทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีเครื่องมือที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้งาน และทำงานในทุกๆ สถานที่ได้ตลอดเวลา ก็จะเป็นการอำนวยความสะดวก และช่วยให้บุคลากรทำงานง่ายขึ้น และอาจทำให้มีการตื่นตัว ในเรื่องการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น   ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา (https://www.ipthailand.go.th/th/)   เว็บไซต์สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา (https://biip.rsu.ac.th/patent/)   วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ ผู้มีความประสงค์จะยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร  มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้      ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นคำขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (สำหรับบุคลากร มรส.) 1.ยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยเตรียมข้อมูลการประดิษฐ์ เนื้อหารายละเอียดตามไฟล์ข้อ 1- 6 และส่งเป็นไฟล์รูปแบบ word มายัง E-mail: bsic@rsu.ac.th ท่านสามารถศึกษา ตัวอย่างการเขียนคำขอสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร หรือ คำชี้แจงในการเตรียมคำขอ ได้ดังนี้ (ส่งไฟล์ Zip ให้ทางอีเมล์) แบบฟอร์ม Invention disclosure รายละเอียดการประดิษฐ์ รูปเขียน (ถ้ามี) ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์ หนังสือยืนยันประเภทในการยื่นคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์อนุสิทธิบัตร 2.สำนักงานฯ ตรวจสอบและแก้ไขความถูกต้องของคำขอ และส่งให้ผู้ประดิษฐ์ตรวจสอบ 3.หากไม่มีข้อแก้ไขเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ จะจัดทำเอกสารประกอบ (หนังสือโอนสิทธิ) ส่งให้ผู้ประดิษฐ์และคณะลงนาม (โดยคณะผู้ประดิษฐ์แนบสำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ท่านละ 1 ฉบับ โดยไม่ต้องลงวันที่กำกับ) 4.สำนักงานฯ รวบรวมเอกสารและส่งให้สำนักงานนิติการ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารลงนาม5.สำนักงานฯ ส่งเอกสารไปยังสำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญา6.สำนักงานฯ จะนำส่งสำเนาเอกสารการจดทะเบียนให้กับทางผู้ประดิษฐ์ทุกครั้ง และผู้ประดิษฐ์สามารถเช็คสถานะของผลงานของตนเองได้ที่เว็บไซต์ https://biip.rsu.ac.th/patent/  2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา ได้จัดทำเวปไซต์ของหน่วยงานขึ้นมา เพื่อให้บุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตได้เข้าไปอ่านรายละเอียดและการดาวน์โหลดเอกสาร รวมถึงกระบวนการในการจัดทำเอกสาร และการติดตามเอกสารในแต่ละขั้นตอน และในอนาคตทางสำนักงานฯ จะมีตัวแทนสิทธิบัตรที่จะช่วยในการของการจัดทำเอกสารให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อลดระยะเวลาในการได้รับใบรับรองทรัพย์สินทางปัญญาแบบสมบูรณ์                อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ซึ่งอาจส่งผลให้มีการยื่นจดทรัพย์สินยังมีปริมาณน้อย อาทิเช่น                -บุคลากรบางท่านไม่ทราบว่าในนามมหาวิทยาลัยรังสิต จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนด้านทรัพย์ทางปัญญา และไม่ต้องเดินทางไปดำเนินการด้วยตนเองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา                  -บุคลากรส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา สามารถเบิกค่าตอบแทนของผลงานได้และนำไปกรอกในข้อมูลประกันคุณภาพประจำปีการศึกษาเพื่อเพิ่มจำนวนค่าถ่วงน้ำหนักของผลงานด้านวิชาการได้           -บุคลากรที่เป็นผู้ประดิษฐ์ส่วนใหญ่มัก ไม่เข้าใจในเรื่องระยะเวลาและขั้นตอนการทำงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณการยื่นจดของทั้งประเทศ    3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่            ปัจจุบันทางสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำเว็บไซต์ https://biip.rsu.ac.th/patent/  ที่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีรายละเอียดของสถานะการจดทรัพย์สินทางปัญญา แบบ Real Time ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร   ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ปัจจุบันทางสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำเว็บไซต์ https://biip.rsu.ac.th/patent/  ที่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีรายละเอียดของสถานะการจดทรัพย์สินทางปัญญา แบบ Real Time ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร

กระบวนการและขั้นตอนการขอรับจดทะเบียนทรีพย์สินทางปัญญา Read More »

การสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ทางด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.2.3 การสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ทางด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ในผู้ที่มีภาวะลองโควิด (Long COVID) เพื่อต่อยอดการพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.ภญ.ธิติยา ลักคุณะประสิทธิ์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในปัจจุบันด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว ในระยะเฉียบพลันการติดโรคโควิด-19 มีผลกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันหลายอย่างที่เป็นสาเหตุให้เกิดกระบวนการอักเสบและเป็นเหตุให้การทำงานของอวัยวะหลายระบบล้มเหลวได้ ทั้งนี้ที่สำคัญการได้รับเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายหลังจากรักษาหายแล้ว แต่ผู้ได้รับเชื้อหลายรายยังมีอาการของบางระบบที่เป็นปัญหาและอุปสรรคของสภาวะสุขภาพ เนื่องจากระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เป็นผลให้อวัยวะนั้น ๆ ได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย เช่น อาการปอดบวม หรือ เนื้อปอดถูกทำลาย โดยระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในรักษา และการกำจัดเชื้อโควิดในร่างกาย หรือที่เรียกว่าภาวะลองโควิด (Long COVID) โดยกลุ่มอาการนี้สามารถพบได้ถึงร้อยละ 30-50 ทั้งที่มีสาเหตุหลักจาก เครียดสะสม หรือเป็นผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในระหว่างการรักษา เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โรคแฝง หรือบางรายอาจติดเชื้อโควิดซ้ำแต่คนละสายพันธุ์ พืชสมุนไพรไทยหลายชนิด ได้แก่ มะนาว ใบหญ้านาง ข่า พริกไทย ใบกัญชา ฯลฯ มีประวัติการใช้ตามภูมิปัญญาโดยใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารตลอดจนใช้สำหรับดูแลสุขภาพตลอดจนรักษาโรค ซึ่งมีผลการศึกษาในหลอดทดลองหลายการศึกษาที่สนับสนุนว่าพืชสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ลดกระบวนการอักเสบได้ ในบทบาทของการเป็นอาจารย์ผู้สอนของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตที่จะต้องมีภาระทั้งการสอน และการทำวิจัยควบคู่ไปด้วย ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการใช้พืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในการบำรุง ดูแล รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา โดยบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาในรูปแคปซูลที่สะดวกต่อการรับประทาน ซึ่งในเบื้องต้นมีผลกาวิจัยในหลอดทดลองที่สนับสนุนความปลอดภัยและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวซึ่งได้มีการเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติแล้ว ดังนั้นจึงมีโครงการศึกษาวิจัยประสิทธิผลในด้านการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยภาวะลองโควิด ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระดับคลินิกในมนุษย์เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไป ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           เรียนรู้การต่อยอดงานวิจัยเบื้องต้นเรื่อง การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม (In vitro antioxidant, anti-inflammatory, and anticancer activities of mixture Thai medicinal plants) ที่ได้ดำเนินการสำเร็จต่อยอดขยายไปสู่การออกแบบการศึกษาในมนุษย์ในเชิงลึกและบูรณาการมากขึ้น บริบทการดำเนินการวิจัยที่เน้นการทำงานเป็นทีม ที่ประกอบด้วยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขา เพื่อให้งานวิจัยสัมฤทธิ์ผลดีและประหยัดเวลาในการดำเนินงาน ดังนั้นการสร้างทีมวิจัยและเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวางแผนงานที่สามารถปรับให้เข้ากับบริบทของงานวิจัย ทั้งนี้ที่สำคัญคือการดำเนินงานวิจัยในปัจจุบันต้องมุ่งเน้นบูรณาการในการต่อยอดสร้างมูลค่าจากผลลัพธ์ของที่เกิดจากกระบวนการวิจัย และการวางแผนสำหรับเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ดร.ภญ.ธิติยา ลักคุณะประสิทธิ์ และ ผศ.ดร.ภก.อภิรุจ นาวาภัทร  วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ ตั้งคำถามวิจัยและทบทวนวรรณกรรม เขียนโครงร่างวิจัย ขอรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย เปิดรับสมัครอาสาสมัครร่วมโครงการ ดำเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้น บันทึกข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ จัดทำรายงานการวิจัย เตรียมเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน          มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยครบตามจำนวนที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต โครงการวิจัยดำเนินการศึกษาวิจัยแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา ตลอดจนได้ผลการศึกษานำร่องเกี่ยวกับประสิทธิผลและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่มีภาวะลองโควิด เป็นแนวทางกำหนดแผนดำเนินงานวิจัยสมุนไพรไทยในอนาคต และเป็นข้อมูลให้แก่บริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ปเพื่อใช้วางแผนพัฒนาการผลิตและการตลาดเพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มประชาชนที่จะได้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นี้ทั้งในและต่างประเทศ  นอกจากนี้ผลการวิจัยยังอยู่ในช่วงเตรียมบทความต้นฉบับสำหรับเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ          3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่            การดำเนินการวิจัยได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสื่อภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิต ผลการศึกษาวิจัยที่ได้จะนำไปสู่การเผยแพร่บทความวิจัยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยของสูตรตำรับยาสมุนไพรที่คิดค้นโดยนักวิจัยชาวไทย และเป็นข้อมูลที่สนับสนุนประสิทธิผลและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา โดยบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติในประเทศไทย อันจะสืบเนื่องไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นแหล่งของพืชสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบในการเตรียมผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และการประชาสัมพันธ์สู่สังคมภายนอกอื่น ๆ ทำให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องกับภาวะลองโควิด ได้มีช่องทางและทางเลือกในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในด้านการแพทย์ทางเลือกมากขึ้นด้วย ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice            การวิจัยทางคลินิกโดยใช้กลุ่มประชากรศึกษาเป็นมนุษย์มีข้อจำกัดหลายด้านทั้งด้านปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับโรคที่เป็นสมมติฐานในการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ในการดูแล รักษาสุขภาพ อายุ เพศ การดำเนินโรค ข้อจำกัดทางด้านจริยธรรมการวิจัย ตลอดจนเศรษฐานะอันจะส่งผลต่อความสะดวกในการเดินทางเพื่อให้สามารถเข้าร่วมโครงการวิจัยได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนสิ้นสุดโครงการวิจัย ดังนั้นในกระบวนการสร้างเครื่องมือและเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการวิจัย นักวิจัยควรมีการคำนวณกลุ่มประชากรศึกษาให้เหมาะสมอย่างเพียงพอ ตลอดจนการสร้างเกณฑ์การคัดเข้า หรือคัดออกของกลุ่มประชากรศึกษาต้องมีความรัดกุมเพื่อให้ประชากรศึกษาที่ตรงบริบทของงานวิจัยเพื่อให้ได้ผลการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนและเที่ยงตรง ดังนั้นการเตรียมการให้มีความพร้อมให้ครอบคลุมปัจจัยด้านต่าง ๆ จึงเป็นข้อควรคำนึงพื้นฐานสำหรับการดำเนินการวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์

การสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ทางด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย Read More »

กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3, 5 : KR 3.2.1 KR 5.2.1 กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จากสำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้จัดทำโครงการ​ อ.นภาพรรณ พงษ์พวงเพชร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานในระดับประเทศจาก  สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  จึงจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการดำเนินการของห้องปฏิบัติการ จากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติได้ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            การดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ                         ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : จากการลงมือปฏิบัติจริง วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ งทะเบียนเข้าร่วมอบรมจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยแม่ข่าย ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินการ ลงทะเบียนเพื่อขอรับเลขห้องปฏิบัติการใน เว็ปไซด์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ทำการประเมินห้องปฏิบัติการในระบบ จัดทำแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการ ดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการตามแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ ตามข้อกำหนดในระบบให้ได้มากที่สุด ปรึกษาวิทยากร เพื่อหาทางปรับเปลี่ยนแก้ไขหรือหาวิธีการทดแทนตามข้อกำหนด (สามารถปรึกษาศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้) ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการหลังการดำเนินการ ส่งภาพห้องปฏิบัติการ ก่อน-หลังดำเนินการ รวมทั้งแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการให้ทันตามกำหนด โดยก่อนและหลังดำเนินการต้องมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน กรรมการจากมหาวิทยาลัยแม่ข่ายพิจารณาการภาพถ่ายและแผนการยกระดับ หรือพิจารณาออนไลน์ เมื่อได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น ให้ส่งแผนการใช้งบประมาณสนับสนุนการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ สำหรับห้องปฏิบัติการใหม่ ให้จัดทำโปสเตอร์แสดงผลการดำเนินงาน และส่งบทคัดย่อให้ผู้ประสานงานโครงการ ให้ทันตามกำหนด เพื่อรับการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอการดำเนินงานในงานประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง กรณีที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง เพื่อนำเสนอระดับประเทศ  ให้จัดทำโปสเตอร์นำเสนอผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้ง 7 ด้านของข้อกำหนด โดยเน้นจุดเด่นในการดำเนินการให้มากที่สุด สำหรับห้องปฏิบัติการเก่า ให้เข้าร่วมอบรมในกิจกรรมการธำรงรักษาด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและการยกระดับความปลอดภัย และส่งแผนการดำเนินงานพัฒนาห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมให้ครบตามเอกสารแบบฟอร์มที่แจ้งมา และต้องส่งเอกสารให้ทันตามเวลากำหนดซึ่งระยะเวลาการส่งเอกสารไม่เกิน 1 สัปดาห์ ดังนั้นจึงควรจัดทำเอกสารไว้ล่วงหน้าหลังการอบรม เมื่อส่งเอกสารครบถ้วน จะได้รับทุนสนับสนุนห้องปฏิบัติการเต็มจำนวน 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน 1. นำไปใช้กับ ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ห้องปฏิบัติการมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความเรียบร้อย ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของห้องปฏิบัติการจากการได้ไปนำเสนอในระดับประเทศ2.บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามมาตรการห้องปฏิบัติการปลอดภัย3.บุคลากร นักศึกษา พนักงานทำความสะอาด มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัย  และมีขั้นตอนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม    3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK 3.1 การตรวจสอบผลการดำเนินการ  ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยการประเมินตนเองภายหลังการดำเนินการ ตามข้อกำหนด ในระบบ EspreL checklist  3.2  การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ 3.2.1  การได้รับเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในการประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง วันที่ 23 มกราคม 2567  ณ โรงแรม รามา การ์เด้นส์ 3.2.2ได้รับเชิญจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติให้เป็นวิทยากร ในการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับโรงเรียน รุ่นที่ 12 ณ จ.พระนครศรีอยุธยา  วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับเชิญจาก กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ศูนย์ พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สวทช.) จำนวน  2 กลุ่มห้องปฏิบัติการ  และห้องปฏิบัติการของการประปานครหลวง จำนวน 1 ห้องปฏิบัติการ ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์ระดับโรงเรียน ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 3.3 สรุปอภิปรายผล  บทสรุปความรู้                เมื่อทำตามขั้นตอนตามวิธีการดำเนินการ กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ    โดยครบถ้วน ผลที่ได้รับคือ ได้รับโล่รางวัลโล่ ห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่น ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินการยกระดับห้องปฏิบัติการ ได้รับทุนสนับสนุนการธำรงรักษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้น ปัจจัยในความสำเร็จของกลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นี้คือ  หัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้ดูแลห้องปฏิบัติการต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย สอดคล้องตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วนทุกองค์ประกอบ  องค์กรมีวัฒนธรรมความปลอดภัยและมีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย

กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) Read More »

แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย (กรณีศึกษาข้อมูลบริการวิชาการ)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.2.1 แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย (กรณีศึกษาฐานข้อมูลบริการวิชาการ) ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี ศูนย์บริการทางวิชาการ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           งานบริการวิชาการเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมและในด้านที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน และสังคมการให้บริการทางวิชาการอาจมีทั้งแบบที่มีรายได้หรือแบบให้เปล่า ซึ่งการให้บริการทางวิชาการนอกจากเป็นการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยเองยังได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งทำให้เกิดการบูรณาการระหว่าง การเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการบริการวิชาการนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต้องใช้ในการรายงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น รายงานด้านประกันคุณภาพ การประเมินประจำปี ซึ่งการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวต้องการความถูกต้องรวดเร็ว หากไม่มีระบบฐานข้อมูลกลาง จะทำให้ต่างคนต่างจัดเก็บ ทำให้ประเด็นเรื่องของความถูกต้องจำเป็นต้องตรวจสอบเพิ่มเติม และที่เป็นปัญหาหลักคือการรวบรวมข้อมูลนั้นทำได้ยาก ตลอดจนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน เมื่อรวบรวมมาแล้วจึงต้องนำมาจัดรูปแบบใหม่ จึงจะสามารถประมวลผลข้อมูลต่อได้                ผู้ให้ความรู้เล็งเห็นว่าการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต จะสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยจะพัฒนาในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน (Web application) ติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) เครื่องของผู้ใช้หรือเครื่องไคลเอนต์ (Client) ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายจะสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมผ่านเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม ระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิตที่พัฒนาขึ้นจะเป็นฐานข้อมูลกลาง ที่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้งานระบบในวงกว้าง มีการนำเข้าข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนของบุคลากรและหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัย โดยระบบดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทั้งในส่วนของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในการบันทึกและค้นคืนข้อมูลงานบริการวิชาการได้เป็นอย่างดี                                                                        ประเด็นข้างต้นเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่จะนำไปสู่แนวทางในการจัดทำระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย  ซึ่งควรเป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัย ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การพัฒนาระบบฐานข้อมูล       วชี้วัดด้านประกันคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับงานบริการวิชาการ          การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่น                       ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ ศึกษาตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพรวมไปถึงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ประสานงานกับสำนักงานบุคคลเพื่อขอปรับปรุงเกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพรวมไปถึงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย จัดทำระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลสำหรับงานบริการวิชาการ เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการประเมินบุคลากรประจำปีได้ทันที หากมีการบันทึกข้อมูลลงในระบบนี้ สื่อสาร ทำความเข้าใจ และประสานงานเพื่อให้เกิดการใช้งานระบบสารสนเทศดังกล่าว ประเมินผล ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การนำไปใช้หรือการลงมือปฏิบัติจริง ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น สามารถเข้าถึงได้จาก URL: http://asc.rsu.ac.th/servicedata ได้ถูกใช้งานครั้งแรกในปีการศึกษา 2564 และได้ใช้งานต่อเนื่องในปีการศึกษา 2565 ซึ่งระบบดังกล่าวมีการนำข้อมูล 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ตรงกับเกณฑ์การประเมินบุคลากรในข้อ 3.1 โครงการบริการวิชาการแบบมีรายได้ และ 3.2 โครงการบริการวิชาการเพื่อสนับสนุนงานประกันคุณภาพ ทางศูนย์บริการทางวิชาการซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงตามพันธกิจ จะเป็นผู้กรอกข้อมูลเข้าระบบตามกระบวนการในแต่ละปีการศึกษา เนื่องจากจำเป็นต้องตรวจสอบในส่วนของความถูกต้องของข้อมูลเป็นพิเศษ ส่วนที่ตรงกับเกณฑ์การประเมินบุคลากร 3.3 ได้รับเชิญเป็นวิทยากร อาจารย์พิเศษ กรรมการ อนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ 3.4 ได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานวิชาการ บุคลากรจะเป็นผู้กรอกเอง เนื่องจากทางศูนย์บริการทางวิชาการจะไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว และได้อำนวยความสะดวกในการจัดทำระบบให้กับบุคลากร ซึ่งข้อมูลในส่วนดังกล่าว ทางบุคลากรจะสามารถ Print จากระบบเป็นไฟล์หรือเป็นกระดาษ ตามแนวทางของหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           เนื่องจากในปี 2564 เป็นการเริ่มใช้ครั้งแรกและในการประเมินบุคลากรยังเปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถดำเนินการเองได้โดยไม่ผ่านระบบทั้งหมด ทำให้มีผู้ใช้งานเข้ามาใช้งานเพียงบางส่วน แต่เมื่อมีการกำหนดชัดเจนแล้วในปี 2565 จึงไม่เกิดปัญหาดังกล่าว           อุปสรรคอีกประการหนึ่ง คือระบบฐานข้อมูลบุคลากรยังไม่มีข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับสังกัดคณะ/หลักสูตร ทำให้ในช่วงพัฒนาไม่ได้พัฒนาในส่วนของการยืนยันผลการดำเนินงานในข้อ 3.3 และ 3.4 ได้ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ ผลการดำเนินการ มีข้อมูลที่บันทึกเข้าสู่ระบบ ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 จำนวนข้อมูลที่ได้รับการบันทึกเข้าสู่ระบบ จากตารางที่ 1 จะพบว่าในปีการศึกษา 2565 มีการใช้งานระบบและมีการบันทึกข้อมูลในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นสูงกว่าปีการศึกษา 2565 ทุกด้าน ผู้วิจัยในทำการประเมินผลการใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิตหลังจากหมดปีการศึกษา 2565 ซึ่งผู้วิจัยจะนำเสนอผลการประเมินในแต่ละข้อและในภาพรวม โดยรายงานคะแนนเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากผู้ประเมิน จำนวน 30 คน โดยผลการประเมินแสดง ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต  จากตารางที่ 2 ผลการประเมินผลการใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต อยู่ในระดับมากที่สุด  ( =4.66, S.D.=0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ประเมินมีความรู้สึกดีหรือมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเฉพาะด้านความสะดวกในการเริ่มใช้งานระบบเพราะไม่ต้องติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติม และด้านความสะดวกในการเข้าสู่ระบบ ด้วยบัญชีผู้ใช้ของมหาวิทยาลัย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเหมาะสมเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience) ในการใช้งานระบบ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดเท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 ดังนั้น บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบคือ ระบบสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูล จากส่วนกลาง มีความสำคัญ แต่หากไม่มีนโยบายหรือกฎเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยสนับสนุน ก็จะไม่ทำให้เกิดการใช้งานเท่าที่ควร และหากงานดังกล่าวไม่ใช้ภารกิจหลักด้วยแล้ว โอกาสที่บุคลากรจะใช้ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นยิ่งเป็นเรื่องที่ยากขึ้น แต่สำหรับกรณีที่นำเสนอ ทางมหาวิทยาลัยได้มีการปรับเกณฑ์การประเมินบุคลากร ซึ่งระบบสารสนเทศนี้ได้พัฒนาให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน ช่วยสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน และในอีกมุมหนึ่ง หน่วยงานกลางหรือศูนย์บริการทางวิชาการจะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ทำให้สามารถนำไปวางแผนปรับปรุงหรือส่งเสริมงานบริการวิชาการต่อไปได้  ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           นโยบายของมหาวิทยาลัยต้องชัดเจน และบังคับใช้อย่างเข้มงวด ส่งเสริมให้หน่วยงานหรือบุคลากรที่ยังไม่ใช้ระบบ เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อประโยชน์ทั้งส่วนตนและประโยชน์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรตระหนักถึงภารกิจด้านบริการวิชาการมากขึ้นด้วย           ในส่วนของระบบสารสนเทศ ในข้อ 3.3 และ 3.4 หากมีการพัฒนาเพิ่มเติมให้ทางคณะ/หน่วยงาน สามารถเข้ามายืนยันสิ่งที่บุคลากรบันทึกเข้าระบบได้ จะทำให้ข้อมูลที่อยู่ในระบบมีความถูกต้องและนำไปใช้อ้างอิงต่อได้           ดังนั้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย ควรมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้ชัดเจน ให้เห็นเป้าหมายก่อนว่าต้องการจัดเก็บไปเพื่ออะไร หากเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นหรือมีความสำคัญกับมหาวิทยาลัยด้วยยิ่งดี ข้อมูลที่จัดเก็บหากนำมาเชื่อมโยงกับการประเมินประจำปีได้ จะช่วยสร้างระบบกลไกในเชิงนโยบาย เพื่อให้เกิดการดำเนินการบันทึกข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งผู้บันทึกและส่วนของมหาวิทยาลัยที่จะนำข้อมูลไปใช้ สร้างระบบที่ช่วยให้ผู้บันทึกข้อมูลสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในงานอื่นๆ ของตนเองได้ จะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกได้ถึงความสำคัญของการดำเนินการมากกว่าการดำเนินการตามระบบกลไก

แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย (กรณีศึกษาข้อมูลบริการวิชาการ) Read More »

Scroll to Top