ยุทธศาสตร์ที่ 1

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 :KR 1.4.1, KR 1.4.2, KR 1.4.5 อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          ตามหลักการอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานับเป็นหนึ่งในมาตรฐานหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรวมไปถึงมาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีความเป็นมืออาชีพทั้งในทางด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล โดยกำหนดไว้ว่าอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานั้นนอกจากจะต้องเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถเป็นเลิศในการจัดการเรียนและการสอน และมีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไปแล้วนั้น ยังต้องได้รับการพัฒนาทางวิชาการและวิชาชีพ โดยเน้นกระบวนการทำงานและการสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามได้ตามความคาดหมาย         ความสำคัญในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาไม่เพียงแต่เป็นการสนองนโยบายหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย รวมทั้งกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2565-2569 (แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่) แต่ยังเป็นวิธีการประเมินตนเองอย่างเป็นเป็นรูปธรรมในกระบวนการการทำงานว่าได้ทำสิ่งใดบ้าง อย่างไร และได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่         ดังนั้น ประเด็นสำคัญของการพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานั้นขึ้นอยู่กับการทบทวนวิธีการและและสะท้อนประสบการณ์ในกระบวนการสร้างและรักษามาตรฐานของการทำงานสู่ระดับการยอมรับในความเป็นมืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาตั้งแต่ในระดับสถาบันจนถึงระดับชาติ ซึ่งรวมถึงการสร้างการยอมรับและความน่าเชื่อถือให้กับวิชาชีพ สาขาวิชา รวมไปถึงหลักสูตรที่รับผิดชอบในทุกๆด้าน ตั้งแต่การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานฯและสาขาวิชาชีพ ดังนั้นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนาตเองสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนา ความรู้ ทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : เจ้าของความรู้ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : – วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การพัฒนาตนเองสู่ความเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจในความเป็นตัวตน บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะอาจารย์ผู้สอน การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การทำวิจัย และการบริการวิชาการ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอบถามความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ในหลักสูตรและสาขาวิชา เพื่อสร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศที่ดีในการการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ซึ่งการปฏิบัติภาระหน้าที่และการวางแผนการพัฒนาตนเองให้เข้ากับเกณฑ์ต่างๆนั้นจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป อาทิ การสร้างผลงานด้านการบริหารหลักสูตร ด้าการสอน ด้านการส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา โดยพิจารณาเกณฑ์ต่างๆไปทีละประเด็น จัดลำดับความสำคัญของงาน โดยประยุกต์งานประจำให้เหมาะสมกับเกณฑ์เหล่านั้น และดำเนินงานตามแผนการพัฒนาตนเองที่ได้กำหนดไว้ให้สำเร็จลุล่วง โดยวิธีการดำเนินการสามารถแบ่งงานออกเป็นด้านๆ ดังนี้   1. งานด้านการสอน อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาอาจารย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการออกแบบการสอน การวางแผนการสอน การประเมินผลการสอน ตามเกณฑ์ TQF และจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบและวิธีการสอนที่เหมาะสมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   2. งานด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษา โดยหน้าที่หลักคือการดูแลนักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นทำวิทยานิพนธ์จนเสร็จสิ้นกระบวนการที่นักศึกษาสามารถยื่นจบการศึกษาได้ อาจารย์ต้องวางแผนการทำวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษาในความรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ มีการให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะแนวทาง ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง พร้อมทั้งให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยของนักศึกษา ตลอดจนการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอและการให้ความสำคัญแก่นักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน   3. งานด้านการบริหารหลักสูตร อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องบริหารจัดการ กำกับดูแล ในฐานะผู้อำนวยการหลักสูตร ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยศึกษาเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ให้ชัดเจน รู้แจ้ง ทำความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตร จัดการเรียนการสอน และมาตรฐานการรับรองหลักสูตรปริญญาโททางการบริหารการศึกษาของคุรุสภา   4. งานด้านการบริการทางวิชาการ อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องมีการบริการทางวิชาการ เป็นส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา โดยอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องสละเวลา อุทิศตน สร้างเครือข่ายโดยให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำงานกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกสถาบัน โดยการใช้ความรู้ ความสามารถของตนในการช่วยเหลือ ส่งเสริม และให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตัวอาจารย์เองแล้วนั้น ยังเป็นการสร้างความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานภายในและภายนอกอื่นๆ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถเป็นเลิศในการจัดการเรียนและการสอน มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไปนั้น จะต้องมีผลงานด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการสอน ด้านการส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา ด้วยเหตุผลที่ว่าหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นหลักสูตรที่ต้องพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาการชีพเฉพาะด้านที่ลุ่มลึก โดยมุ่งหวังให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเองจากการศึกษาค้นคว้าวิจัย และสามารถนำองค์ความรู้และผลของการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพ ไปจนถึงการพัฒนาเยาวชน และสร้างความเข้มแข็งให้สังคม และประเทศชาติ โดยผลการดำเนินการสามารถแบ่งงานออกเป็นด้านๆ ดังนี้    1. งานด้านการสอน อาจารย์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการออกแบบการสอน การวางแผนการสอน การประเมินผลการสอน และจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบและวิธีการสอนที่เหมาะสมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยอาจารย์จะต้องกระตุ้นผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่นำไปใช้ได้จริงในการประกอบวิชาชีพ ผลที่ได้คือนักศึกษาทุกคนสามารถวัดผลการประเมินรายวิธิผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป    2. งานด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาอย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในบางกรณีที่นักศึกษามีข้อจำกัดบางประการ ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาชาวจีนที่เข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรจะต้องเรียนและทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งนอกจากจะต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ และคอยชี้แนะ แนะนำการทำวิทยานิพนธ์ที่ต้องเขียนเป็นภาษาไทยให้เป็นไปตามมารตฐานการวิจัยแล้วนั้น อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องคอยให้กำลังใจ กระตุ้น และคอยติดตามนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอไม่ให้ขาดการติดต่อซึ่งส่งผลให้นักศึกษาสามารถสอบผ่านวิทยานิพนธ์ได้ในระดับดีเยี่ยม สามารถนำบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับในระดับ TCI 1 จนได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2565 ทำให้นักศึกาสามารถจบการศึกษาตามกำหนดภายในระยะเวลา 2 ปีการศึกษา   3. งานด้านการบริหารหลักสูตร งานสำคัญของการบริหารหลักสูตรนอกเหนือจากการวางแผนการดำเนินงาน การจัดการดูแลหลักสูตรให้สามารถดำเนินงานไปอย่างราบรื่นแล้วนั้น หน้าที่ที่สำคัญคือการเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้ได้รับการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาจากคุรุสภา ทั้งนี้การได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรปีปรับปรุงปีการศึกษา 2560 และหลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2565 เพื่อให้ได้รับการรับรองอย่างต่อเนื่องถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด โดยการที่หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภาเท่านั้นที่จะทำให้นักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตร สามารถขอรับใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษาได้ เมื่อจบการศึกษาจากหลักสูตร โดยกระบวนการการพัฒนาหลักสูตรทั้งหมดนั้นจะต้องศึกษากฎเกณฑ์ระเบียบและข้อบังคับเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การขอรับรองหลักสูตรเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา ซึ่งปัจจุบันนี้หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาได้รับการรับรองหลักสูตรฯ จากคุรุสภาเป็นรอบที่ 2 เป็นที่เรียบร้อย โดยที่รอบที่ 1 เป็นการรับรองหลักสูตรฉบับปรับปรุงปี 2560 (ครอบคลุมปีการศึกษา 2560 – 2564) และรอบที่ 2 หลักสูตรฉบับปรับปรุงปีการศึกษา 2565 (ครอบคลุมปีการศึกษา 2565 – 2569) นั่นหมายถึงมหาบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา แผน ก ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษาจากคุรุสภา เพื่อไปสอบชิงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตอย่างแน่นอน  4. งานด้านการบริการทางวิชาการ การบริการทางวิชาการเป็นการส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องสละเวลา อุทิศตน สร้างเครือข่ายโดยให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำงานกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกสถาบัน โดยการใช้ความรู้ ความสามารถของตนในการช่วยเหลือ ส่งเสริม และให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตัวอาจารย์เองแล้วนั้น ยังเป็นการสร้างความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานภายในและภายนอกอื่นๆ อีกด้วย อาทิ การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (ภาคกลาง) เพื่อร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาทั้งองค์ ความรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาของประเทศไทย การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 ของมหาวิทยาลัยรังสิต การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และการได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินรายการงานรังสิตวิชาการ ในการเสวนาเรื่อง นวัตกรรมการศึกษาของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคปัจจุบัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนผู้ร่วมวิชาชีพให้มีการพัฒนาวิชาชีพและการบริหารงานทางด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาควรจะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมวิชาการ ดังนี้    1. การให้บริการวิชาการในฐานะการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความในวารสารต่างๆ อาทิ การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความของวารสารต่างๆ ในฐาน TCI อาทิ วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (TCI1), วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TCI1), วารสาร ASEAN Journal of Management & Innovation มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด (TCI2), การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สสอท., การนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติและงานบริหารการศึกษาสัมพันธ์ ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย    2. การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาโครงร่างการวิจัยเพื่อในการรับรองจริยธรรมการวิจัย     3. การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงานทางการศึกษาต่างๆ การตัดสินผลงานของครู เพื่อนำเสนอในงานรังสิตวิชาการ (RSU Academic Expo/Conference) ซึ่งการให้บริการทางวิชาการเหล่านี้นั้นถือเป็นการสร้างความร่วมมือทางวิชาชีพ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถาบันและหน่วยงานอื่นๆ อันก่อให้เกิดเครือข่ายทางวิชาชีพที่เข้มแข็ง การให้บริการวิชาการโดยเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อดําเนินแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และภารกิจตามมาตรา 5 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 โดยการจัดบริการวิชาการ โครงการโรงเรียนสุขภาวะ ตําบลหลักหก จังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ โดยเริ่มต้นพัฒนาจากผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) กับโรงเรียนก่อน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน เป็นใช้องค์ความรู้และความสามารถของอาจารย์ในการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทํางานให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันใน 3 ประเด็นหลักคือ    1) ร่วมสร้างแผนพัฒนาโรงเรียน (School Improvement Plan/ SIP)    2) ร่วมออกแบบกระบวนการทํางานในโรงเรียนให้เกิดความยั่งยืน และ    3) ร่วมเรียนรู้การทํางานเป็นทีมโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community/ PLC) ซึ่งการร่วมมือกันดังกล่าวนี้จะช่วยใหกลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากการรอรับนโยบาย และการสั่งการเป็นการมีส่วนร่วมรับผิดชอบการบริหารจัดการด้วยตัวเองมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนตามสภาพจริง ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะพัฒนาสุขภาวะของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ตําบลหลักหก เพื่อพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ให้เป็นโรงเรียนสุขภาวะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนในพื้นที่ตําบลหลักหก อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการที่สถาบันอุดมศึกษาจะเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ตลอดจนการให้คำแนะนำ ปรึกษา และชี้แนะผู้บริหารสถานศึกษาให้การบริหารสถานศึกษาได้อย่างราบรื่นและมีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติอีกด้วย 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    สรุปประเด็นสำคัญที่ได้ ดังนี้คือ 1. อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพ มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ และมีการพัฒนาตนเองทางวิชาการและวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ2. อาจารย์มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป3. อาจารย์มีเครือข่ายความร่วมมือในสาขาวิชาชีพ4. อาจารย์มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิและมีผลงานเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินผลประจำปีของมหาวิทยาลัย 5. อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการกำกับดูแลช่วยเหลือนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ6. อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการกำกับดูแลช่วยเหลือสังคมวิชาการ7. อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการทำโครงการช่วยเหลือครูในชุมชนและพัฒนาสังคมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีคุณภาพในการทำงานได้ดีขึ้น8. การได้รับรางวัลนักบริหารการศึกษาดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ประเภทอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ค่อยๆ สั่งสม และปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ต้องอาศัยเวลา กำลังกาย กำลังใจ และความอดทน และความเชื่อมั่นว่าอาจารย์ทุกคนจะเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาที่ประสบความสำเร็จได้หากมีความมุ่งมัน ตั้งใจ ขยัน อดทน และอุทิศตน

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา Read More »

เทคนิคการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.1.2, KR 1.1.4, KR 5.2.2 เทคนิคการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุมามาลย์ ปานคำ วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          จากวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม คือ มุ่งสร้างนักเทคโนโลยีสื่อสังคมที่มีคุณภาพเน้นความรู้ ลงมือปฏิบัติจริงและผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี ให้มีความทันสมัย มีความเป็นนวัตกรรม และตอบสนองความต้องการของสังคม          ปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสังคม หรือ โซเชียลมีเดีย (Social Media) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับคนในยุคดิจิทัลกลายเป็นพื้นที่ในการติดต่อสื่อสาร เผยแพร่ และทำกิจกรรมประเภทต่าง ๆ หนึ่งในนั้น คือ การทำงานหรือประกอบอาชีพ สามารถเป็นตัวช่วยในการทำงาน เช่น ผู้ประกอบการใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นพื้นที่ทางการค้าและการตลาด หรือที่เรียกว่า “ตลาดออนไลน์” ซึ่งเจริญเติบโตอย่างมาก ดังนั้น โซเชียลมีเดียจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานในยุคดิจิทัลของทุกคนง่ายขึ้น          ในปี พ.ศ. 2565 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ติ๊กต็อก, เพจเฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม และไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคาท์ (Line OA) ดังนั้น ผู้ประกอบในการยุคดิจิทัลควรมีความรู้เกี่ยวกับ Social Media Ads, Content, Search Ads, Google Ads และ SEO (Search Engine Optimization) เป็นต้น ซึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมีการปรับเปลี่ยนหลังบ้านอยู่ตลอดเวลา          หลักสูตรจึงร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้กับบุคคลภายนอกหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องการทำการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ ตอบสนองความต้องการของสังคมต่อไป ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : –ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media Technology: SMT) ร่วมกับ บริษัท ตานี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นศิษย์เก่าปริญญาโท SMT รุ่น 10 และนักศึกษาปริญญาเอก SMT รุ่น 1 จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้กับบุคคลภายนอกหรือผู้สนใจ โดยกำหนดจัดเป็นเดือนเว้นเดือน คือ ไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี มีการดำเนินการดังนี้           1. กำหนดวิทยากรและหัวข้อของหลักสูตรระยะสั้นให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือตามกระแสที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน           2. กำหนดลำดับของหัวข้อให้เป็นหลักสูตรระยะสั้นแบบต่อเนื่อง เช่น ยิงแอดปังด้วยเฟซบุ๊ก สร้างแบรนด์บน Tiktok รุ่นที่ 1 แล้วเปิดหลักสูตรระยะสั้นต่อไป คือ ระเบิดยอดขาย ยกกำลังสองด้วย Google Ads x LINE OA รุ่นที่ 1 เพื่อวางแผนหลักสูตรการอบรมให้ผู้อบรมกลุ่มเดิมมาอบรมในหลักสูตรระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง           3. กำหนดค่าลงทะเบียนอบรมหลักสูตรระยะสั้น 3,999 – 5,999 บาท โดยมีส่งเสริมการขายใช้กลยุทธ์การตั้งราคา Early Bird เพื่อให้ได้งบประมาณมาใช้ในการยิง Ads โฆษณาประชาสัมพันธ์หลักสูตรระยะสั้นนั้น ๆ           4. กำหนดจำนวนผู้อบรมอย่างน้อย 30 คน และจัดเตรียมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์           5. ทำหนังสือเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญตามวัน-เวลาที่กำหนดไว้ และจองสถานที่จัดอบรม รวมถึงประสานงานผู้เกี่ยวข้อง           6. สร้าง Content และรูปภาพ เพื่อประชาสัมพันธ์และยิง Ads โฆษณาบนเพจเฟซบุ๊ก Social Media Technology – ปริญญาโท-เอก ไปยังกลุ่มเป้าหมาย           7. สร้างไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคาท์ (Line OA) ของหลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม เพื่อส่งข้อมูลให้กับผู้สนใจเข้าร่วมอบรมหลักสูตรระยะสั้น  2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน   หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้กับบุคคลภายนอกหรือผู้สนใจตามแผนที่วางไว้ จำนวนทั้งหมด 7 หลักสูตร ดังนี้    1. ยิงแอดปังด้วยเฟซบุ๊ก สร้างแบรนด์บน Tiktok รุ่นที่ 1 ในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2565    2. ระเบิดยอดขาย ยกกำลังสองด้วย Google Ads x LINE OA รุ่นที่ 1 ในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2565    3. Creative Ad Design & Content Course เปลี่ยนคุณให้เป็นนักออกแบบมืออาชีพได้ทันที รุ่นที่ 1 ในวันที่ 24-25 กันยายน 2565    4. ยิงแอดบน เฟซบุ๊ก x Tiktok PLUS ONLINE STRATEGY CANVAS รุ่นที่ 2 ในวันที่ 29-30 ตุลาคม 2565    5. นำเข้าและขายสินค้าจากประเทศจีน รุ่นที่ 1 ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565    6. ยิงแอดบนเฟซบุ๊ก x tiktok รุ่นที่ 3 ในวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2566    7. ยิงแอดเข้มข้น เฟซบุ๊ก x Tiktok พร้อมเปิด Tiktok Shop รุ่นที่ 4 ในวันที่ 25 มีนาคม 2566 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    จากแผนการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้กับบุคคลภายนอกหรือผู้สนใจ โดยได้วางแผนและใช้กลยุทธ์ทางด้านทางการตลาดออนไลน์ต่าง ๆ สามารถสรุปผลได้ดังนี้    1. ยิงแอดปังด้วยเฟซบุ๊ก สร้างแบรนด์บน Tiktok รุ่นที่ 1 มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 30 คน     2. ระเบิดยอดขาย ยกกำลังสองด้วย Google Ads x LINE OA รุ่นที่ 1 มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 35 คน    3. Creative Ad Design & Content Course เปลี่ยนคุณให้เป็นนักออกแบบมืออาชีพได้ทันที รุ่นที่ 1 มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 31 คน     4. ยิงแอดบน เฟซบุ๊ก x Tiktok PLUS ONLINE STRATEGY CANVAS รุ่นที่ 2 มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 36 คน     5. นำเข้าและขายสินค้าจากประเทศจีน รุ่นที่ 1 มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 33 คน     6. ยิงแอดบนเฟซบุ๊ก x tiktok รุ่นที่ 3 มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 37 คน     7. ยิงแอดเข้มข้น เฟซบุ๊ก x Tiktok พร้อมเปิด Tiktok Shop รุ่นที่ 4 มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 31 คน      ผลการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ คือ ไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี และจำนวนผู้เข้าอบรม มากกว่า 30 คนต่อหลักสูตร ทั้งนี้ยังมีผู้อบรมหลักสูตรระยะสั้น ให้ความสนใจที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 คน อีกด้วย  ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           1. ควรมีการวางแผนที่ดีเกี่ยวกับ “หลักสูตรที่จะจัดอบรม” ต้องตอบสนองความต้องการและน่าสนใจโดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในธุรกิจหรืองานที่ทำในปัจจุบันจึงจะตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น Tiktok Shop, Google Ads, Facebook Ads, Line OA, การนำเข้าและขายสินค้าจากประเทศจีน เป็นต้น         2. วิทยากรต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และถ่ายทอดความรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้ตรงตามที่คาดหวังไว้ และเมื่ออบรมเสร็จแล้วยังมีช่องทางติดต่อเพื่อให้ผู้อบรมสามารถสอบถามเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อไปทดลองทำได้ เพื่อสร้างความพึงพอใจและการบอกต่อสิ่งดี ๆ ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตรระยะสั้นนั้น ๆ          3. ควรกำหนดวัน-เวลาที่เหมาะสม เช่น ไม่ตรงกับวันหยุดยาว หรือวันสำคัญต่าง ๆ และไม่ควรจัดอบรมในเดือน เมษายน ของทุกปี          ดังนั้น ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม ได้วางแผนว่าจะจัดอบรบหลักสูตรระยะสั้นเดือนละ 1 ครั้ง คือ ไม่น้อยกว่า 12 ครั้งต่อปี มีจำนวนผู้เข้าอบรมไม่น้อยกว่า 30 คน

เทคนิคการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น Read More »

Scroll to Top