Author name: Pijitra

สมรรถนะทางการสอน

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 สมรรถนะทางการสอน : จากมุมมองรายวิชา Teaching Practicum in Bilinggual Schools VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media ผู้จัดทำโครงการ​ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชิโนกุล วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​        Singh and Richards (2006: 155) ได้ให้ความเห็นในการฝึกครูสอนภาษาที่สองว่า “การเรียนรู้ของครูมีความเกี่ยวเนื่องกับการค้นหาทักษะและความรู้ที่มิได้เกี่ยวข้องกับทักษะความรู้ทางภาษาเท่านั้น แต่รวมถึงการเรียนรู้ในความเป็นครูภาษาด้วย” ประเด็นที่ท้าทายในการสอนรายวิชา MBE 613 Teaching Practicum in Bilingual Schools ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับและรายวิชาใหม่ในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 และเริ่มเปิดสอนรายวิชาครั้งแรกในภาคการศึกษาปลาย 2565 คือ ทำอย่างไรที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้เนื้อหาในภาคทฤษฎี และทักษะในเชิงปฏิบัติ รวมถึงสัมผัสการเรียนรู้ในความเป็นครูไปพร้อมกัน ภายในเวลาจำกัด เนื่องจากหลักสูตรจัดเป็นการเรียนการสอนในรูปแบบโมดูล ผู้นำเสนอจึงได้นำแนวทางที่ได้เคยทำการวิจัยและทดลองใช้เป็นแนวทางการสอนวิธีวิทยาการสอนตามกรอบ 3 มิติ (Chinokul, 2021: 430) ดังภาพที่ 1 ภาพที 1: องค์ประกอบหลักใน 3 มิติ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอน (Chinokul, 2021: 430)     ความรู้และทักษะเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอน ทั้ง 3 มิติ ควรได้รับการฝึกฝนเริ่มจากรายวิชาวิธึวิทยาการสอนเพื่อที่นักศึกษาจะไม่ “หลงทาง” แต่จะเริ่มมุ่งมั่นในการเรียนรู้การเป็นครูที่ดีในวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง เพราะการสั่งสมทักษะสมรรถนะการสอนเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลา ในบางกรณีอาจต้องใช้เวลาตลอดวิชาชีพในความเป็นครูในการเรียนรู้ความเป็นครูการดำเนินการตามกรอบดังกล่าว ผู้นำเสนอได้ดำเนินการแล้วในรายวิชาวิธีวิทยาการการสอน ซึ่งผู้นำเสนอสอนในระดับบัณฑิตศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ได้แนะนำกิจกรรมที่คณาจารย์สามารถเลือกใช้ในการพัฒนากรอบแนวคิดใน 3 มิติ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ในความเป็นครู (Self as teacher) 2) ทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้ (Teaching skills shared in learning community) และ 3) ความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ (Connection in professional committees) โดยได้เผยแพร่ในบทความ Chinokul (2021)การนำแนวคิดดังกล่าวมาปรับให้เหมาะสมกับบริบทของรายวิชา ในหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของวิทยาลัยครูสุริยเทพมหาวิทยาลัยรังสิต โดยถือได้ว่าเป็นการดำเนินการซ้ำในบริบทที่แตกต่างReferences:•Chinokul, S. (2021). Exploring the role of identity construction, teaching skills, and professional discourse & awareness: A study from a language methodology course for EFL preservice teachers. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network, 14 (2), 427-450.•Singh, G., & Richards, J. C. (2006). Teaching and learning in the language teacher education course room: A critical sociocultural perspective. RELC Journal, 37(2), 149-175. https://doi.org/10.1177/0033688206067426   ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ประสบการณ์การเป็นอาจารย์นิเทศก์ การตีพิมพิ์บทความวิจัย และการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาโมเดลการเรียนการสอน การใช้รูปแบบการสอนและการจัดการเรียนรู้ เช่น • Chinokul, S. (2021). Exploring the role of identity construction, teaching skills, and professional discourse & awareness: A study from a language methodology course for EFL preservice teachers. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network, 14 (2), 427-450.• Chinokul, S. (2015). Classroom Observation: Self-Study of a Language Teacher Educator Supervising Pre-service Teachers. Journal of Education Studies, 43 (3) July-September, 2015, 1-21.• พรสวรรค์ ศุภศรี. “การพัฒนาโมเดลการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดแบบสะท้อนกลับและความสามารถด้านการสอนของนิสิตวิชาเอกการสอนภาษาอังกฤษ”. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2558ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, นักศึกษาในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา MBE 613 Teaching Practicum in Bilingual Schools ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับ ในภาคการศึกษาปลาย 2565 จำนวน 33 คน ซึ่งมีภูมิหลังในด้านความเป็นครู และ/หรือผู้เรียนในชั้นเรียนภาษาที่สอง วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   1) ผู้นำสนอได้ทบทวนกรอบแนวคิดใน 3 มิติ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ในความเป็นครู 2) ทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้ และ 3) ความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ และพิจารณาวัตถุประสงค์รายวิชา ทบทวนแนวทาง และนำข้อมูลมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงการมอบหมายงานที่ดำเนินการในรายวิชาและการจัดกิจกรรมนอกรายวิชา เพื่อให้ได้หลักฐานการเรียนรู้ที่สะท้อนการเสริมสร้างทักษะตามกรอบ ดังนี้Objectives of the Course1) design lesson plan, plan, teach and manage classroom learning and teaching2) observe teaching and learning and learning to make notes of the significant features as well as the environment from the perspectives of an observer3) monitor individual learning progress, construct tests and design assessment tools4) record of the lesson for the purpose of the students’ learning to teach5) evaluate, use the results, and report learning results to stakeholders, and6) reflect on teaching in teaching practicum in bilingual schools.   การบูรณาการหลักการในกิจกรรมที่เสริมสร้างอัตลักษณ์ในความเป็นครูในรายวิชา• ผู้สอนดำเนินการจัดเตรียมเนื้อหาสาระและกิจกรรมในรายวิชาได้แก่ หนังสือ บทความวิจัย Webinars Scenarios ที่ใช้เป็น inputs ในการเรียนการสอน จาก YouTube, Artifacts และเอกสาร worksheets กำหนดแนวทางที่จะพูดคุยกับผู้เรียนในการดำเนินกิจกรรมในประมวลรายวิชา   การกำหนดการมอบหมายงานที่เสริมสร้างอัตลักษณ์ในความเป็นครูในรายวิชา• จัดให้นักศึกษาทำ Weekly reflection of learning to teach, Reflections of lectures from Modules 1-4 , และ เลือกทำ Reflections from the assigned self-directed website• The language learner and Classroom management <https://coerll.utexas.edu/methods/>• Skills (Speaking, Writing, Reading and Listening) https://coerll.utexas.edu/methods/• Language (Vocabulary, Grammar, Pragmatics, and Culture) https://coerll.utexas.edu/methods/• Technology and Assessment https://coerll.utexas.edu/methods/   การบูรณาการหลักการในกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้• ผู้นำเสนอได้วางแผนและติดต่อสถานศึกษาและผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณาจารย์ที่ยินดีให้ความร่วมมือและขอจดหมายขอความอนุเคราะห์ลงนามโดยคณบดีวิทยาลัยครูสุริยเทพในการอนุญาตให้นักศึกษาเข้าสังเกตการณ์การสอน ได้แก่ การสอนภาษาอังกฤษของรายวิชาในสถาบันภาษา และการสอนภาษาจีนในรายวิชาของ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และการสอนภาษาจีนในรายวิชาที่จัดให้กับนักเรียนในโปรแกรมการเรียนในระบบสองภาษา กลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย• ในการดำเนินการสอนผู้นำเสนอได้พยายามเชื่อมโยงทฤษฎีและการปฏิบัติในชั้นเรียนจริง โดยเน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถาณการณ์การเรียนการสอน ได้แก่1) การสาธิตโดยผู้นำเสนอในฐานะผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนร่วมในฐานะผู้เรียน เช่น กิจกรรมการสาธิตการสอน การฝึกเทคนิคการสอนที่ใช้ในการเรียนรู้ในชั้นเรียนระบบสองภาษา และการศึกษาจากกรณีศึกษาที่ ผู้สอนคัดสรรมา กิจกรรมดังกล่าว ถือเป็น Teaching Scenarios ให้นักศึกษาได้มองเห็นการตัดสินใจและการใช้เหตุผลในการเรียนการสอนได้ชัดเจนขึ้น2) การกำหนดกิจกรรมให้นักศึกษาลงมือทำ เพื่อฝึกปฏิบัติ และการเรียนรู้เมื่อต้องปฎิบัติจริง เช่นการฝึกลงรหัส (Coding) ข้อมูลในการวิจัยเพื่อการเรียนการสอนจากวีดิทัศน์สั้นๆ จากห้องเรียนจริงที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ เป็นการใช้ข้อมูลจากากรสังเกตการณ์การสอนในห้อง3) การเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญ เช่น ร่วมออกแบบประเมินการสังเกตการสอนที่จะใช้ในการสังเกตการสอนจริงทั้งในการสังเกตการสอนในชั้นเรียนจริงและในการร่วมเป็นครูอาสาและผู้สังเกตการณ์การสอนโครงการ Volunteer Teaching4) การให้คำปรึกษานักศึกษาทั้งในและนอกชั้นเรียน โดยจัดเวลาให้อย่างพอเพียงและกำหนดนัดหมายล่วงหน้าอย่างชัดเจนตามที่ผู้สอนและผู้เรียนสะดวกในการปรีกษาหารือกันได้โดย ผ่านระบบ VooVMeeting และจัดช่องทางการสื่อสารและการส่งข้อมูลถึงกัน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ใน Line Group5) การสอนจุลภาค (Microteaching) และ การบันทึกการสอน เพื่อวิเคราะห์ในการมอบหมายการทำ Video Analysis6) ฝึกการทำ Reflection ที่มี Prompts เป็น Guidelines อย่างชัดเจน   การกำหนดการมอบหมายงานที่เสริมสร้างทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้• Class Assignments and Practices นักศึกษามีโอกาสในการฝึกสอน ผ่านกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้คิด ออกแบบสื่อการสอน ฝึกเทคนิคการสอน และการให้ผลป้อนกลับ• Task 1: Class Observation โดยนักศึกษาสามารถเลือกชั้นเรียนและสถาบันที่ต้องการเข้าศึกษา• Task 2: Micro Teaching Lesson Plan โดยนักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มในการกำหนด เนื้อหา วิธีสอน และจัดทำ Lesson plan โดยได้รับคำแนะนำจากผู้สอน    การบูรณาการหลักการในกิจกรรมที่เสริมสร้างความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ• มีการจัดมาตรฐานและการประเมินงานที่มอบหมาย สังเกตและประเมินผลงานของนักศึกษาครู และเน้นตัวอย่างที่เป็นงานที่ใช้จริงและมีความหมายต่อการเรียนรู้ การสังเกตการณ์การสอนของเพื่อนที่บันทึกในวีดิทัศน์เพื่อการปรับปรุงแนวทางการจัดการเรียนรู้• มีกิจกรรมความร่วมมือและการพูดคุยระหว่างกลุ่มครูที่ช่วยพัฒนาการสะท้อนคิด มีหัวข้อการเรียนรู้ในเชิงวิชาชีพ และการเติมเต็มศักยภาพของตนเอง• การสร้างระบบการพัฒนาเชิงวิชาชีพของตนเอง รวมถึงการเข้าร่วมองค์กรวิชาชีพ และการสร้างเครือข่ายฯความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพ และการเป็นสมาชิกวารสารในสาขาวิชา• นอกจากนี้ยังมีการจัดโครงการพิเศษนอกรายวิชาให้นักศึกษาได้เข้าร่วมโดยสมัครใจ ชื่อโครงการ Volunteer Teaching จัดที่ โรงเรียนสามโคก โดยประสานงานกับผู้อำนวยการหลักสูตรหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยสุครูสุริยเทพ   การกำหนดการมอบหมายงานที่เสริมสร้างความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ• Class final project: Teaching practice and lesson analysis from the video record หลังจากการสอน micro teaching มีการบันทึกวีดิทัศน์ และมีการมอบหมายงานที่เป็น final project ในการวิเคราะห์การสอนของตนและเพื่อน• Attending the optional activity students were encouraged to join the volunteer project initiated by the program มีการให้คำแนะนำนักศึกษาอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการในฐานะครูผู้สอน และผู้สังเกตการณ์ และดำเนินการโครงการ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        จากการดำเนินการในรายวิชา นักศึกษาได้มีโอกาสทบทวนความรู้และพัฒนาทักษะ ครอบคลุมในกรอบ 3 มิติ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ในความเป็นครู2) ทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้ และ 3) ความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ และผู้เสนอได้มีโอกาสจัดเตรียมและรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในบันทึกผลการเรียนรู้ และสารสนเทศเกี่ยวกับกิจกรรมในการดึงข้อมูลความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (tacit knowledge) ให้เห็นเป็นรูปธรรม มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เป็นความรู้ที่ชัดจน (explicit knowledge) มากขึ้น ได้แก่     2.1 ได้แบบสังเกตการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่เป็นผลงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน ประเด็นหัวข้อที่สังเกต ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของบทเรียน เนื้อหา การออกแบบกิจกรรม และ เอกสารประกอบการสอน ขั้นตอนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน ความร่วมมือของผู้เรียน และภาพรวมของการเรียนการสอน ในการได้มีโอกาสสังเกตการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนจริง นักศึกษาจะมีโอกาสทบทวนและซักถามเกี่ยวกับ Decision Making and Pedagogical Reasoning in Bilingual Teaching และฟังมุมมองความคิดของครู    2.2 ได้ตัวอย่าง lesson plans จัดทำโดยนักศึกษาที่ทำงานเป็นกลุ่ม ในระหว่างการเตรียมบทรียนและกิจกรรมมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในกลุ่มและได้รับคำแนะนำจากผู้สอนในรายวิชาดังนั้นจึงมีโอกาสในการทบทวน Decision Making and Pedagogical Reasoning in Bilingual Teaching มีการบันทึกการสอนในรูปแบบวีดิทัศน์ไว้ เพื่อใช้ ในการวิเคราะห์ จากการดำเนินการสอน Microteaching    2.3 ได้ตัวอย่างการวิเคราะห์การเรียนการสอนในระดับกลุ่ม และระดับบุคคล ที่สะท้อน Decision Making and Pedagogical Reasoning in Bilingual Teaching Practicum ของนักศึกษา ที่มีประสบการณ์การสอนและไม่มีประสบการณ์การสอน ในแบบวิเคระห์มีการกำหนด Prompts ที่นักศึกษาจะต้องมองย้อนกลับ และสะท้อนคิดในขั้นตอน และกระบวนการเตรียมการก่อน ระหว่าง และหลังการสอน ในส่วนที่จะต้องมี Decision Making and Pedagogical Reasoning in Bilingual Teaching    อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน1) เนื่องจากรายวิชานี้เป็นรายวิชาใหม่ในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสองระบบภาษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 เป็นรายวิชาบังคับและอยู่ระหว่าง Transition ในการเปิดการเรียนชั้นเรียนเต็มรูปแบบ จึงต้องมีการสื่อสารให้ นักศึกษาต่างชาติที่ยังไม่สามารถเดินทางมาได้ด้วยปัญหาเรื่องวีซ่า ให้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาถัดไป2) ในการเตรียมการมีเวลาจำกัดเนื่องจากเดิมรายวิชานี้กำหนดให้อาจารย์ที่จะโอนย้ายมาเป็นผู้รับผิดชอบแต่เนื่องจากอาจารย์ไม่สามารถมาร่วมงานได้ ผู้นำเสนอจึงได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบรายวิชานี้แทน3) การดำเนินการสอนในรายวิชาของหลักสูตรดำเนินการในรูปแบบของ Module จึงอาจเกิดความท้าทายในประเด็นเรื่องเวลาดำเนินการ ทั้งนี้ ผู้นำเสนอได้จัดเวลานอกชั้นเรียนให้คำปรึกษาการทำ Lesson Plans และ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเพียงพอที่นักศึกษาจะมีความมั่นใจในการสอนได้ก่อนการดำเนินการสอน4) วิชานี้เป็นรายวิชาบังคับจึงมีผู้เรียนจำนวนมาก จัดได้ว่า เป็น Large Class ของชั้นเรียนระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการฝึกปฏิบัติ มีความท้าทายในการบริหารจัดการอย่างมาก โดยเฉพาะในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning5) เนื่องจากเป็นรายวิชาใหม่ จึงอาจไม่มีการเตรียมทรัพยากรอย่างเพียงพอในการจัดของขวัญหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ซึ่งผู้สอนได้ดำเนินการด้วยตนเอง 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่       1) นักศึกษาได้รับความรู้จากการอ่านหนังสือ และเข้าร่วมชม Webinars รวมทั้งการอภิปรายในเนื้อหาเชิงทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน Bilingual Education ฝึกการสะท้อนคิดจากการอ่านและการฟังบรรยาย มีโอกาสร่วมกิจกรรมสาธิตในห้องเรียนที่ท้าทายเพื่อเชื่อมโยงทฤษฏีและการปฏิบัติ มีการร่วมกันจัดทำแบบบันทึก และนำไปใช้จริงใน Classroom Observation ของอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนในสถานที่จริง การทำ Lesson Plan และ Microteaching จัดทำ Video Recording และวิเคราะห์การสอนของตนเองและกลุ่มจากที่บันทึกไว้ (Video Analysis) และได้ร่วมกันวางแผนในการเป็นครูอาสาสมัครในการไปสอนนักเรียนที่โรงเรียน สามโคก ในโครงการของหลักสูตร   2) มีการตรวจสอบผลการดำเนินการในรายวิชาด้วย การประเมินผลในรายวิชา MBE613 Teaching Practicum in Bilingual Schools   3) มีการตรวจสอบผลการดำเนินการในรายวิชาด้วย หลักฐานจากภาพกิจกรรมในรายวิชา หลักฐานจาก Video Record การทำ Video Analysis และการทำ Reflections หลักฐานจากแบบประเมิน Classroom Observation   4) มีการตรวจสอบผลการดำเนินการกิจกรรมโครงการนอกชั้นเรียนการประเมินแบบทางการจากการร่วมกิจกรรม Volunteer Teaching Project การประเมินหลังจากการร่วมกิจกรรมด้วยภาพสรุป Word Cloud   5) มีการเผยแพร่โดยการนำเสนอความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมของนักศึกษาทั้งในส่วนของนักศึกษาที่อาสาเป็นครูผู้สอน และนักศึกษาที่ร่วมกิจกรรมในฐานะผู้สังเกตการณ์การสอนใน Volunteer Teaching Project ให้แก่นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาใหม่ได้รับฟังในวัน Orientation New Students ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         1) ในการดำเนินการในรายวิชาครั้งนี้ผู้นำเสนอใช้แนวทาง Active Learning เพื่อสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้       2) ผู้นำเสนอวางแผนจะเขียนบทความวิชาการเพื่อบีนทึก (Document) กิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่เป็นผลสะท้อน จากการทบทวน ความรู้และพัฒนาทักษะ ครอบคลุมในกรอบ 3 มิติ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ในความเป็นครู 2) ทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้ และ 3) ความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ เป็นข้อมูลการศึกษาในเบื้องต้นจาก Lesson Learned มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกับ Decision making และ Pedagogical reasoning ของครูที่วางแผนจัดเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยเพื่อส่งในการพิจารณาตีพิมพิ์ในวารสารวิชาการที่เหมาะสมต่อไป      3) ผู้สอนวางแผนดำเนินการวิจัยเพื่อตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ในรูปแบบการวิจัยในระยะต่อไป      4) ทั้งนี้ในการดำเนินการหาก มีการวางแผนอย่างต่อเนื่อง และมีการเก็บสะสมข้อความรู้ที่ได้จากรายวิชาอย่างเป็นระบบ น่าจะรวบรวมความรู้และหลักฐานการเรียนรู้ที่เกิดจากรายวิชา นำเสนอเป็นองค์ความรู้ในรูปแบบหนังสือประจำรายวิชาได้ต่อไป      5) ในอนาคตอาจมีการวางแผนร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรังสิตในการสังเกตการณ์การสอน และ/หรือ งานมอบหมายในรูปแบบอื่นเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ในการฝึกปฏิบัติทีจะสามารถสร้างรูปแบบการสอนจากบริบท และฐานความรู้ที่ฝังลึกจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยรังสิตได้ในอนาคต ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 1.2.3, KR 1.4.3, KR 1.4.5 การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลของนักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิตด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media ผู้จัดทำโครงการ​ อ.วัฒนี รัมมะพ้อ คณะบัญชี ​ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          การจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ในรายวิชาต่างๆ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเทคโนโลยีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้และสามารถสะท้อนคิดแนวทางการประยุกต์ความรู้ในสถานการณ์เสมือนจริงก่อนที่จะไปปฏิบัติงานจริงในวิชาสหกิจศึกษา หรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพบัญชี การพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ดังนี้1. เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน ในการใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยตรงผ่านกิจกรรมที่บูรณาการเข้าไปในการสอนรายวิชาต่างๆ ด้วยการชี้แจงถึงประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากประสบการณ์วิชาชีพ เช่น นักศึกษาจะได้รับรางวัลหากมีผลงานโดดเด่น การให้คะแนนที่ท้าทายและรวมคำนวณเป็นคะแนนการวัดและประเมินผลรายวิชา การได้รับวุฒิบัตรจากการเข้าร่วมเพื่อเป็น Profile ในการสมัครงานในโครงการสหกิจศึกษา การให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้นักศึกษาใช้ในการพัฒนาศักยภาพตนเองต่อไป รวมทั้งการทำ PLC หลังกิจกรรม2. การออกแบบการสอนแบบบูรณาการกิจกรรมอย่างสนุก ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ เช่น รายวิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี มีผลลัพธ์ที่คาดหวังว่านักศึกษามีความรู้ต่อไปนี้เมื่อเรียนวิชานี้ การจัดตั้งสำนักงานบัญชี ประเภทของบริการที่ตลาดต้องการจากสำนักงานบัญชี การวางแผนธุรกิจ คุณภาพการบริการ การบริหารทรัพยากรบุคคล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การเจรจาต่อรอง เป็นต้นดังนั้นการออกแบบกิจกรรมต้องสร้างสภาพแวดล้อมและสถานการณ์เสมือนจริงให้กับนักศึกษาสวมบทบาทเป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ได้ขบคิดแนวทางการเจรจาต่อรองและการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทางบัญชีของธุรกิจออนไลน์ เพื่อจัดเป็นกระบวนเรียนรู้การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์แก่นักศึกษา3. รูปแบบกิจกรรมที่ใช้ จะต้องมีบรรยากาศสนุกคล้ายสอดแทรกเกมส์แข่งขัน เพื่อสร้างแรงกดดันให้กับผู้เล่นเล็กน้อย โดยใช้เกณฑ์เวลา การมีส่วนร่วมในการทำงาน และคุณภาพผลงานกลุ่ม โดยจัดให้มีการประเมินความรู้ที่ได้ด้วยตนเอง และแบ่งปันระหว่างกลุ่มนักศึกษาซึ่งถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อย4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะต้องวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยเริ่มตั้งแต่การทำแผนการจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ และการเตรียมอุปกรณ์สถานที่ กำหนดการ เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปตามแผน และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, สมาคมสำนักงานบัญชีไทย ชมรมสำนักงานบัญชีจังหวัดปทุมธานี บริษัทพีพียูเอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด และบริษัท ฟินันเซียไซรัส จำกัด (มหาชน) วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   หลักสูตรได้วางแผนการปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลไว้ในแผนปฎิบัติการประจำปีการศึกษา 2565 โดยมุ่งให้การดำเนินงานหลักสูตรบรรลุเป้าหมายผลลัพธ์ (KRs) ตามวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ ตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น นอกจากนี้หลักสูตรมีความคาดหวังที่จะให้นักศึกษามีความพร้อมในการทำงานมากที่สุดก่อนจะเข้าสู่การเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา และสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรภายนอกที่ให้การฝึกหัดงานและร่วมมือกับคณะในสหกิจศึกษา ซึ่งจะทำให้ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาออกมามีคุณภาพในระดับที่องค์กรดังกล่าวยอมรับได้ และมีความตั้งใจที่จะรับนักศึกษาเข้าทำงานหลังเสร็จสิ้นสหกิจศึกษา การดำเนินงานมีขั้นตอนพอสรุปได้ดังนี้1. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรวิชาชีพบัญชี ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ได้ทำความร่วมมือกับสมาคมสำนักงานบัญชีไทย ชมรมสำนักงานบัญชีจังหวัดปทุมธานี บริษัท พี พี ยูเอ็นอินเทลลิเจนท์ จำกัด และบริษัท ฟินันเซียไซรัส จำกัด (มหาชน) โดยทำความเข้าใจในข้อตกลงเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะเทคนิคทางวิชาชีพบัญชีให้กับนักศึกษา2. คณบดี ได้จัดประชุมผู้บริหารขององค์กรวิชาชีพภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการข้างต้น เพื่อทำความเข้าใจเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ และหารือแนวทางการสอนที่จะทำให้นักศึกษาการเกิดการเรียนรู้ทักษะเทคนิคทางวิชาชีพ ทั้ง 5 ด้าน ตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (IES) กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี ได้แก่ คุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพบัญชี ความรู้ทางบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง การประยุกต์ความรู้ในการปฎิบัติและสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชี ความรับผิดชอบในงานและการทำงานเป็นทีม การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และทำอย่างไรให้นักศึกษามีความพร้อมมากที่สุดก่อนการปฏิบัติงานจริงในสหกิจศึกษา (จัดประชุมรวม 1 ครั้ง และแยกเป็นคู่ระหว่างหลักสูตรกับผู้บริหารองค์กรวิชาชีพ 2 ครั้ง) ซึ่งได้ข้อสรุปว่าต้องใช้กรณีศึกษาหรือโจทย์ที่พัฒนาจากการประสบการณ์จริง และการสร้างสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด นอกจากนี้ทางหลักสูตรโดยหัวหน้าหลักสูตร ได้ประสานขอความอนุเคราะห์จากคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา ในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้นำและการทำงานเป็นทีม เพื่อบูรณาเข้าไปในรายวิชาที่กำหนดด้วย3. คณะกรรมการหลักสูตร และคณบดี ได้ประชุมกำหนดรายวิชาที่เหมาะสมที่จะจัดให้มีการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ที่มีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลเข้าไปในรายวิชา โดยอาศัยความร่วมมือทางวิชาการที่มีกับองค์กรวิชาชีพบัญชีดังกล่าวทั้งหมด สรุปได้ดังนี้ วิชา ACC357 การอำนวยการทางการเงิน วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ และวิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี และได้รับความร่วมมือจากคณะกายภาพบำบัดในวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี โดยเน้น Soft Skills ตามผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา ซึ่งก่อนหน้าปีการศึกษานี้ทางหลักสูตรได้พยายามขับเคลื่อนนโยบายการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยลดการบรรยายและเพิ่มการเรียนรู้ โดยใช้การถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หรือ Practitioner เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ใช้เทคนิคการทลายกำแพงวิชาด้วยการทำ Integrated Courses วิชาภาษีอากร 2 กับวิชาการใช้โปรแกรมสำเร็จทางบัญชีด้วยการใช้กรณีศึกษาที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ต่อมาในปีการศึกษา 2563 ได้ใช้ผลการประเมินจากการทำ Integrated Courses ในการปรับปรุงหลักสูตรโดยพัฒนารายวิชาใหม่ ได้แก่ วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ โดยมุ่งให้นักศึกษารู้และเข้าใจการทำบัญชีธุรกิจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและการปฏิบัติทางภาษีถูกต้อง นอกจากนี้ใช้กิจกรรมกลุ่มย่อยในการสอนวิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี เพื่อสร้างประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการ และวิชา ACC457 การอำนวยการทางการเงิน โดยนำ Fintech ในรูปของแอพพลิเคชั่นทางการเงินที่นำมาใช้ในตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยความร่วมมือทางวิชาที่ทำกับบริษัท ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ในปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จรูปที่นำมาใช้ในการสอนมีทั้ง ERP และระบบ รวมทั้งการพัฒนา Soft Skills ในรายวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี4. การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จะดำเนินการร่วมกันระหว่างคณบดี อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ได้รับมอบหมายจากองค์กรวิชาชีพบัญชีที่ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับคณะบัญชี โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (มคอ. 3) ของรายวิชา ACC357 การอำนวยการทางการเงิน วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ วิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี และACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี ประกอบด้วยเนื้อหาสาระรายวิชาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้นักศึกษามีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด รวมทั้งวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ข้อสรุปอื่นในการจัดทำแผนการเรียนรู้ของนักศึกษาคือ บทบาทและความรับผิดชอบของทีมสอน (อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชากับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และทีมงานจากคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา) แต่ละรายวิชา ซึ่งประชุมกันทั้งหมดเฉลี่ย 3 ครั้งต่อรายวิชา5. ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะเป็นผู้ประสานงานกับทีมสอน และอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม โดยมีอาจารย์ผู้ช่วยปรมินทร์ งามระเบียบ และอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ได้รับมอบหมายให้มีส่วนร่วมในดำเนินงานกิจกรรมการเรียนรู้ และใช้งบประมาณโครงการพัฒนาในแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 ซึ่งคณะได้วางแผนไว้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        ผลการดำเนินงานแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น2.1 วิชา ACC357 การอำนวยการทางการเงิน (ภาค2/2565) 3 (3-0-6) หน่วยกิต จำนวนนักศึกษา 74 คน แบ่งการสอน สำหรับภาคทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารเงินและการลงทุน และการนำไปใช้ในการตัดสินใจ รวม 30 ชั่วโมง โดยที่ปรึกษาทางธุรกิจอิสระคือท่านอาจารย์เหรียญชัย นำชัยศรีค้า และ อาจารย์วัฒนี รัมมะพ้อ เป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา และ อีก 15 ชั่วโมง สำหรับฝึกการใช้แอพพลิเคชั่น Finansia HERO Version ใหม่ล่าสุด (เป็นโปรแกรมช่วยนักลงทุนในหลักทรัพย์) และการสร้างแรงบันดาลใจการทำ Personal Financial Management โดยที่ปรึกษาทางการเงินจากบริษัท ฟินันเซียไซรัส จำกัด (มหาชน) 2 ท่าน คือ คุณอภิสิทธิ์ ทรัพย์ทวีธนกิจ และคุณยุทธพล ศิริพานิชวัฒนา จากนั้นให้เวลานักศึกษาในการทดลอง Trade หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ 20 วัน โดยใช้ข้อมูลจริงในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเงินอีเล็กทรอนิกส์ ที่นักศึกษาสามารถทำการซื้อขายหุ้นเพื่อทำกำไรได้จริงในตลาดทุนเสมือนในวงเงินจำกัด 10 ล้านบาท และใช้ผลกำไรจากการ Trade เป็นตัววัดผลการเรียนรู้ในด้านทักษะปัญญา ความรับผิดชอบในงาน การติดตามผลงานของตนเอง และทักษะการคำนวณและการใช้เทคโนโลยี โดยจัดให้แต่ละคนที่มีผลกำไรดีมาถ่ายทอดการวางแผนการลงทุนให้กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ทางบริษัทจัดรางวัลมามอบให้5 รางวัล วิชานี้จะประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านที่ 2 และ 3 จากการสอบ 50% และผลการเรียนรู้ด้านอื่นที่เหลือ 50%2.2 วิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี (ภาค 2/2565) 3 (3-0-6) หน่วยกิต จำนวนนักศึกษา61 คน สอนโดยคณะกรรมการบริหารสมาคม สำนักงานบัญชีไทย ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และอาจารย์วัฒนี รัมมะพ้อ เป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา สอนโดยใช้กิจกรรมการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี 45 ชั่วโมง บวก 3 ชั่วโมง รวม 8 วันเริ่มตั้งแต่ทำความรู้จักกับสำนักงานบัญชี การจัดตั้งสำนักงาน การบริการทางวิชาชีพ การวางแผนธุรกิจ การเจรจาต่อรอง การบริการบุคลากร และคุณภาพการบริการทางวิชาชีพบัญชี มีการวัดผลการเรียนรู้ของแต่ละหัวข้อสอนที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้ทุกครั้ง รวม 100 คะแนนด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การทดสอบความรู้ การทำงานกลุ่มย่อยและการนำเสนอข้อสรุปของกลุ่ม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน เป็นต้น และคุณภาพผลงานคือแผนธุรกิจสำนักงานบัญชี ซึ่งทางหลักสูตรจัดให้มีการนำเสนอทุกกลุ่ม ใน 1 วัน และทางสมาคมสำนักงานบัญชีไทย จัดกรรมการสมาคมฯ มาเป็นกรรมการตัดสิน มอบรางวัลให้กับกลุ่มที่มีผลงานดีที่สุด2.3 วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ (ภาค 1/2565) 5 (3-4-8) หน่วยกิต จำนวนนักศึกษา 62 คน ประยุกต์ใช้กรณีศึกษาที่พัฒนาร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรกับผู้สอบบัญชี ซึ่งเป็นกรรมการในสมาคมสำนักงานบัญชีไทย และสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากร จึงแบ่งเนื้อหาสาระรายวิชาเป็นการสอนและฝึกทักษะการทำบัญชีธุรกิจแบบครบวงจรจนถึงการส่งงบการเงินเพื่อยื่นภาษีออนไลน์ให้กรมสรรพากร ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีทั้งระบบคลาวด์ และระบบ ERP ในการจัดทำบัญชีใช้เวลา รวม 60 ชั่วโมง ผู้สอน คือ อ.วัฒนี รัมมะพ้อ อ.ผู้ช่วยสอน ปรมินทร์ งามระเบียบและสอนเนื้อหาสาระสำคัญการปฏิบัติทางภาษีธุรกิจถูกต้อง ใช้เวลา 30 ชั่วโมง โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จากสมาคมฯ และ อีก 12 ชั่วโมงในการใช้กิจกรรมฐานปัญหาภาษีและบัญชีเคลื่อนที่ (การเตรียมพร้อมนักศึกษา 3 ชั่วโมง การเข้าฐานแรลลี่ 7 ชั่วโมง และ PLC 2 ชั่วโมง) โดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจากชมรมสำนักงานบัญชีจังหวัดปทุมธานี คณบดี และผู้รับผิดชอบรายวิชา ได้ร่วมกันออกแบบและดำเนินกิจกรรมฐานปัญหาภาษีและบัญชีธุรกิจแบบเคลื่อนที่ บูรณาการเข้ามาในแผนการเรียนรู้รายวิชา มีวัตถุประสงค์ที่จะให้นักศึกษาเรียนรู้ปัญหาในทางปฏิบัติทางบัญชีและภาษีอากรจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยแบ่งเป็น 7 ฐาน แบ่งเป็นฐานภาษีอากรทางธุรกิจ 6 ด้าน และฐานภาษีรวม 1 ฐาน มีการให้คะแนนในด้านความรู้ที่นำมาใช้ถูกต้อง ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาทางภาษีและทางบัญชี การทำงานร่วมกันเป็นทีม การนำเสนอเชิงโต้ตอบกับวิทยากรประจำฐาน ทางชมรมได้ส่งผู้สอบบัญชี และนักบัญชีประจำฐาน ๆ ละ 2 คน บางฐานจะมีอาจารย์วัฒนี และทางชมรมได้จัดผู้ดำเนินรายการ และอาจารย์ผู้ช่วยสอนทำหน้าที่อำนวยการการดำเนินกิจกรรมและจับเวลาที่ใช้ในแต่ละฐาน รวบรวมคะแนนจากฐานต่างๆ โดยผ่าน Google Sheet การดำเนินงานจบลงด้วยการทำ PLC และมอบรางวัลให้กับทุกทีม รวม 6 ทีม ตามลำดับคะแนน2.4 วิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี (ภาค 1/2565) 3 (2-2-5) หน่วยกิต จำนวนนักศึกษา 52 คน สาระรายวิชาจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรก เป็นทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่นPOWER BI การใช้ภาษาวิชัวร์เบสิก การเขียนโค้ชคำสั่งใน Excel เป็นต้น โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ณัฐธงชัย ตรีทวีวงศ์กุล ใช้เวลา 48 ชั่วโมงในห้องปฏิบัติการสารสนเทศทางการบัญชีของคณะบัญชี กับ อีกส่วนเป็น Soft Skills เน้นการพัฒนาภาวะผู้นำกับการทำงานเป็นทีมให้เป็นผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากทีมงานคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา 6 ท่านด้วยกัน โดยมีอาจารย์พิมลวรรณ ตรีพัฒนสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ และอาจารย์ผู้ช่วยปรมินทร์ งามระเบียบ เป็นผู้ร่วมดำเนินกิจกรรมกับทางทีมงาน การวัดผลแบ่งเป็นการสอบวัดผลความรู้ ทักษะปัญญา และทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล 80% และทักษะการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ 20% 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่        ผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน เป็นผลการดำเนินงานในรายวิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ  ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี ทั้งหมด 2 วิชาที่ดำเนินการสอนแล้วในภาค 1/2565  (รายงานไว้แล้วในมคอ. 5) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้รายวิชาดังนี้ 1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ  การเรียนรู้ด้าน : คุณธรรม จริยธรรม จากการสังเกตและติดตามพฤติกรรมของนักศึกษา  พบว่า นักศึกษาทุกคนทำได้ตามข้อกำหนดได้ตลอดภาคการศึกษา มีบางข้อน้อยกว่า 100% และมีเหตุผลแจ้งผู้สอน  ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดการเรียนรู้ด้าน : ความรู้ และ ทักษะทางปัญญา  สรุปได้ว่า นักศึกษาสามารถทำข้อสอบข้อเขียนได้คะแนนเกินครึ่งส่วนใหญ่  (90.16%) และการตอบคำถามหรือแสดงความเห็นในการอภิปรายกลุ่มได้  และโครงงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย อยู่ในระดับดีขึ้นไปทุกกลุ่ม  ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ถือว่าได้ตามมาตรฐานที่กำหนดการเรียนรู้ด้าน : ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ      สรุปได้ว่า จากการประเมินคุณภาพจากผลงานของนักศึกษา และการนำเสนอทางวาจา ให้คะแนน  (≥ 80%)  ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ถือว่าสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชีการเรียนรู้ด้าน : คุณธรรม จริยธรรม  นักศึกษาส่วนใหญ่นักศึกษาปฏิบัติตามข้อตกลงในชั้นเรียน มีการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ส่งงานตรงต่อเวลาการเรียนรู้ด้าน : ความรู้ และ ทักษะทางปัญญา  นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าทดสอบย่อยทั้ง 2 ครั้ง และสอบผ่านการทดสอบ  ในส่วนของรายงานและผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการสื่อสารการเจรจาต่อรอง และภาวะผู้นำของนักศึกษามีคุณภาพเป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาการเรียนรู้ด้าน : ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  ดูจากรายงานและผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการสื่อสารการเจรจาต่อรอง และภาวะผู้นำของนักศึกษามีคุณภาพเป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาการเรียนรู้ด้าน : ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดูจากรายงานและผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการสื่อสารการเจรจาต่อรอง และภาวะผู้นำของนักศึกษามีคุณภาพเป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา       การสัมภาษณ์นักศึกษาเพิ่มเติม จากการเรียนการสอนในรายวิชา รายวิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ  จากการที่รายวิชาจัดกิจกรรมในรายวิชา นักศึกษามีความพึงพอใจระดับดีมาก (4.71) และได้แสดงทัศนคติและความพึงพอใจโดยรวม ดังนี้1) เป็นกิจกรรมที่ดีมากค่ะ เพราะเป็นการทดสอบความเข้าใจของเราที่เรียนมา+กับประสบการณ์ในการทำงานของพี่ๆที่มาถ่ายทอดให้รับรู้และเข้าใจเพิ่มขึ้นค่ะ 2) ได้มีการทบทวนเรื่องที่ผ่านไปแล้ว ได้กลับมาเรียนรู้อีกรอบ 3) ชอบกิจกรรมนี้มาก ทำให้ปลดล็อคในสิ่งที่สงสัยที่ไม่กล้าถามในคลาส 4) ขอบคุณอาจารย์ประจำวิชาที่เล็งเห็นประโยชน์ และจัดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ ให้กับนักศึกษา ดีใจและพึงพอใจในกิจกรรมมากมาก เป็นประโยชน์และความรู้ ได้ความรู้ใหม่ ๆ ได้ทวนความรู้เดิม พี่ ๆ ที่มาใจดีและมีใจที่อยากจะแบ่งความรู้สู่น้องๆจริงๆ ขอบคุณมากๆค่ะ 5) อาจารย์และวิทยากรทุกท่าน อธิบายความรู้ใหม่ๆ อธิบายเรื่องภาษีได้เข้าใจง่ายมากๆค่ะ แล้วก็สนุกมากๆค่ะ ของรางวัลเยอะมากด้วยค่ะ ประทับใจ 6) ขอบคุณที่จัดกิจกรรมทำให้รู้อะไรเยอะมากขึ้นเลยครับ 7) ดีเยี่ยมครับ 8) สนุกมากคะ 9) เป็นโครงการที่ดีมากๆ ช่วยส่งเสริมความรู้นอกคลาสเรียนที่เพิ่มมากขึ้น, ชอบมาก, ได้ความรู้ดีมากค่ะ, ได้ความรู้ในการมาสอบเพิ่มค่ะ รายวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี จากการที่รายวิชาจัดกิจกรรมในรายวิชา นักศึกษามีความพึงพอใจระดับดีมาก (4.66) และได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ 1) รู้สึกดีที่ได้มาทำกิจกรรมนี้ค่ะได้คุยกับเพื่อนๆ ในคณะมากขึ้น 2) สนุกและได้รับความรู้เยอะมากๆ ดีใจที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ด้วย         สำหรับรายวิชา ACC332 ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี และ ACC357 การอำนวยการทางการเงินอยู่ในระหว่างการดำเนินการสอนในภาค 2/2565  ยังไม่แล้วเสร็จ แต่คาดว่านักศึกษาจะมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ 100%        นอกจากนี้ ทางหลักสูตรได้มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทำการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับความทันสมัย ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้การทำกิจกรรมที่บูรณาการเข้าไปในการสอน ความพึงพอใจที่ได้เรียนรู้แบบนี้  ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้  1) อยากให้อาจารย์แนะนำรุ่นน้องให้เลือกเรียนวิชาผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีมากขึ้นค่ะ เพราะส่วนตัวคิดว่าอาจารย์ทุกท่านที่มาสอนล้วนมีประสบการณ์ตรงและความชำนาญสูง สามารถนำประสบการณ์จากการทำงานจริง ๆ มาถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษาได้อย่างเข้าใจ และเทคนิคในการสอนดีมาก 2) ได้ปฏิบัติจริงทำให้เรียนสนุก  เห็นด้วยกับการเชิญอาจารย์ที่ทำงานโดยตรงจากการเป็นผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีมาสอนค่ะ  3) ขอให้ทำการสอนที่ดีแบบนี้ต่อไปค่ะ  ดีแล้วค่ะ  คิดว่าหลักสูตรที่ได้ศึกษามาเป็นประโยชน์มาก สามารถนำไปต่อยอดในชีวิตจริงได้ทันที  4) เป็นการเรียนการสอนที่สนุกและได้รู้จักแอฟทำบัญชีมากขึ้น  อาจารย์สอนเข้าใจและสอนสนุกมากค่ะ   ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          จากการทบทวนกระบวนการ และข้อสรุปความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมบูรณาการกับการสอน ทางหลักสูตรนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกรายวิชาดังกล่าว รวมทั้งการขยายไปสู่รายวิชาอื่นๆ ในปีการศึกษา 2566 แบ่งเป็นด้านต่างๆ มีดังนี้ 1. ด้านงบประมาณ ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตได้บรรจุลงในแผนประจำปี ในปีต่อไป เนื่องจากในปี 2565 ไม่ได้ตั้งงบประมาณในบางกิจกรรม แต่จำเป็นต้องใช้เงิน จึงต้องโยกงบประมาณ  ดังนั้นในปี 2566 จะต้องวางแผนกิจกรรมที่จะต้องใช้เงินงบประมาณจะต้องบรรจุลงในแผนปฏิบัติการโดยดูจำนวนเงินใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากปี 2565 เป็นเกณฑ์2. ด้านการจัดแผนการเรียนรู้รายวิชา ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตพิจารณาผลการประเมินการสอนและประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาจาก มคอ.5 และสรุปโครงการเพื่อนำมาวางแผนและปรับปรุงในการจัดทำมคอ.3 ปีต่อไป3. ด้านการปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตพิจารณารูปแบบของกิจกรรมที่บรรจุลงในรายวิชาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยดูจากการสะท้อนคิดของนักศึกษาว่ามีความพึงใจในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร เพื่อนำมาปรับปรุงเพื่อให้ตรงกับความต้องการหรือความสนใจของนักศึกษา อีกทั้งเพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะและศักยภาพของนักศึกษาในการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการตลาดงานในสถานการณ์ปัจจุบัน 4. ด้านวิทยากรผู้นำกิจกรรม ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตคาดว่าจะให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่บรรจุลงในรายวิชาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ในการจัดกิจกรรมได้เองในภายหน้า5. ด้านการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร ทางคณะได้เปิดโอกาสให้อาจารย์ประจำแสดงความสนใจที่จะสอนในรายวิชาใหม่ในหลักสูตร เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นผู้สอนร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก โดยเริ่มจากการเข้าสังเกตการณ์การสอน การศึกษาพัฒนาความรู้ของตนเองเพื่อเตรียมตัวในการสอนต่อไป ซึ่งทางคณะจะพิจารณาความพร้อมในการเตรียมตัวของอาจารย์ประจำก่อนที่จะมอบหมายให้เป็นผู้สอน 6. ด้านการพัฒนากรณีศึกษาทางบัญชี ทางคณะได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรวิชาชีพบัญชี 4 แห่งในปีการศึกษา 2565 โดยจัดให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ประจำกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจากองค์กรดังกล่าว เพื่อพัฒนากรณีศึกษาและพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์การขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้กรณีศึกษาสามารถนับเป็นผลงานทางวิชาการได้ และนำมาใช้ในการสอนนักศึกษาต่อไป ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

ทำอย่างไรจึงจะได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.2.1, KR 1.2.3, KR 1.4.3, KR 1.4.5 ทำอย่างไรจึงจะได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.อาภรณ์ ดีนาน ผศ.ดร.รัชนี นามจันทรา ผศ.ดร.วารินทร์ บินโฮเซ็น ผศ.ดร.น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ ผศ.ดร.ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ คณะพยาบาลศาสตร์​ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          คณะผู้จัดทำการจัดการความรู้เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.) สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เน้นการผลิตผู้นำทางคลินิกที่สามารถพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนทั้งในภาวะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง โดยบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการทำวิจัย อาจารย์ประจำหลักสูตรจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองด้านความเชี่ยวชาญทางคลินิก การวิจัย และตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้สามารถสอนและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาให้บรรลุตามความมุ่งหวังของหลักสูตรได้ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรที่ผ่านมา อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่สูงกว่าเกณฑ์คุณภาพตลอดมา แต่เกือบทั้งหมดเป็นการเผยแพร่ในระดับชาติ จึงได้ข้อเสนอแนะให้พัฒนาการเผยแพร่ผลงานในระดับนานาชาติซึ่งแสดงถึงคุณภาพของผลงานที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติให้มากขึ้น        ความรู้สำคัญที่นำมาใช้ คือ กระบวนการวิจัย การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และความรู้/แนวปฏิบัติจากคลังความรู้ของระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University ปีการศึกษา 2563เรื่อง “ทำอย่างไรที่จะได้รับการเผยแพร่บทความในวารสารนานาชาติ” ของ ผศ.ดร.มนพร ชาติชำนิ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเสนอกระบวนการปฏิบัติ 7 องค์ประกอบ ได้แก่1. มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สนใจทางด้านคลินิก2. กล้าและมีแนวคิดจะเขียนสื่อองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาของตนเองในรูปแบบเชิงบูรณาการระหว่าง art and science ในการใช้ภาษาอังกฤษที่จะนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยและสื่อออกมาให้คนอื่นได้เข้าใจด้วยภาษาอังกฤษ (To be valiantly accomplished)3. มีทีมวิจัยและเครือข่ายส่วนบุคคล4. แหล่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่บทความ5. อย่ายอมแพ้และอย่าถอดใจ6. Learning by doing7. ฝึกเขียน cover letter ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    ในปี พ.ศ. 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติมากขึ้น โดยใช้องค์ประกอบ 7 ประการข้างต้น ร่วมกับการดำเนินตามกระบวนการ ดังนี้1. ดำเนินการวิจัยตามความเชี่ยวชาญของตน ต้องเป็นงานวิจัยที่มีกระบวนการวิจัยที่มีคุณภาพ ทำเป็นทีม โดยทำกับเครือข่ายนักวิจัยต่างชาติ ต่างสถาบัน หรือกับสหสาขาวิชาชีพ และควรมีแหล่งทุนสนับสนุน เพื่อสามารถใช้สนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง2. มองหาวารสารเป้าหมายระดับนานาชาติ เลือกวารสารที่มีคุณภาพ อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับ เข้ากับประเด็นการศึกษาของเรา และพิจารณาระยะเวลาที่ใช้ในการตีพิมพ์บทความในวารสารนั้น ๆ ซึ่งจะระบุไว้ในแต่ละบทความ การเลือกวารสารเป้าหมายสามารถดูใน website: Scimago Journal Rank และเลือก subject areas ที่ตรงกับ area ของตน เช่น Nursing, Health Profession เป็นต้น (รายละเอียดดังไฟล์แนบ) และเลือกวารสารที่มีระยะเวลาที่ใช้ในการตีพิมพ์ไม่นาน3. เตรียมต้นฉบับบทความเป็นภาษาอังกฤษ การเตรียมต้นฉบับควรทำเป็นทีม และทำตามข้อกำหนด (guidelines) ของวารสารที่เลือก4. มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบการใช้ภาษาอังกฤษและคุณภาพของต้นฉบับบทความ ควรมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาช่วยดูความถูกต้องของการใช้ภาษาอังกฤษ และมีผู้เชี่ยวชาญช่วยพิจารณาคุณภาพของบทความเบื้องต้น ก่อนการ submit5. ติดตามแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของ peer review ตามกรอบเวลาที่วารสารกำหนด ผู้วิจัยควรติดตามผลการพิจารณาบทความจากวารสารอย่างสม่ำเสมอ และจัดสรรเวลาในการปรับแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของ peer review ให้เสร็จทันภายในกรอบเวลาที่วารสารกำหนด ให้มองข้อเสนอแนะและการปรับแก้ไขเป็นสิ่งท้าทาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่ายอมแพ้หรือถอดใจ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        ปี พ.ศ. 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตร พย.ม. มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดันานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล SCOPUS มากขึ้น โดยมีจำนวน 5 เรื่อง (ดังไฟล์ที่แนบมา) ดังนี้1. Chatchumni, M., Maneesri, S., & Yongsiriwit, K. (2022). Performance of the Simple Clinical Score (SCS) and the Rapid Emergency Medicine Score (REMS) to predict severity level and mortality rate among patients with sepsis in the emergency department. Australasian Emergency Care, 25(2), 121-125. https://doi.org/10.1016/j.auec.2021.09.002i2. Sirikulchayanonta, C., Sirikulchayanonta, V., Suriyaprom, K., and Namjuntra, R. (2022). Changing trends of obesity and lipid profiles among Bangkok school children after comprehensive management of the bright and healthy Thai kid project. BMC Public Health, 22, 1-10.3. Chatchumni, M., Eriksson, H., Mazaheri, M. (2022). Core components of an effective pain management education programme for surgical nurses: A Delphi technique. Int J Qual Stud Health Well-being, 17:1, 2110672. https://doi.org/10.1080/17482631.2022.21106724. Khuntee, W., Hanprasitkam, K., & Sumdaengrit, B. (2022). Effect of music therapy on postembolization syndrome in Thai patients with hepatocellular carcinoma: A quasi-experimental crossover study. Belitung Nursing Journal, 8(5), 396-404. http://doi.org/10.33546/bnj.22105. Witheethammasak, P., Deenan, A., Masingboon, K. (2022). A Causal Model of Asthma Control in Adults. Pacific Rim Int J Nurs Res, 26(4), 613-626.    ปัญหาและอุปสรรคที่พบ ได้แก่ ข้อจำกัดทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ข้อจำกัดด้านเวลา ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์สูง และการมีเครือข่ายจำกัด 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่          ได้ความรู้เชิงกระบวการในการเลือกวารสารเป้าหมายระดับนานาชาติที่จะลงตีพิมพ์ และกระบวนการในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้1. ดำเนินการวิจัยตามความเชี่ยวชาญของตน2. มองหาวารสารเป้าหมายระดับนานาชาติ3. เตรียมต้นฉบับบทความเป็นภาษาอังกฤษ4. มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบการใช้ภาษาอังกฤษและคุณภาพของต้นฉบับบทความ5. ติดตามแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของ peer review ตามกรอบเวลาที่วารสารกำหนด กระบวนการในการตีพิมพ์บทความ ประยุกต์องค์ประกอบที่จะช่วยให้การเผยแพร่ผลงานในระดับวิชาการประสบความสำเร็จ ได้แก่ การมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สนใจทางด้านคลินิก กล้าและมีแนวคิดจะเขียนสื่อองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาของตนเองด้วยภาษาอังกฤษ (To be valiantly accomplished) มีทีมวิจัยและเครือข่ายส่วนบุคคล มีแหล่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่บทความ อย่ายอมแพ้และอย่าถอดใจ และเรียนรู้พัฒนาตนเองจากการปฏิบัติ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          1. การเลือกวารสารเป้าหมายในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ อาจพิจารณาวารสารที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่หลายฉบับ ในสาขา Nursing ได้แก่ Pacific Rim International Journal of Nursing Research วารสารเล่มนี้พยายามช่วยเหลือนักวิจัยให้ได้ตีพิมพ์ โดยช่วยพิจารณาทั้งคุณภาพของงานวิจัย และความถูกต้องของภาษา มีผู้ทรงคุณวุฒิต่างชาติที่สามารถดูความถูกต้องทั้งเนื้อหาและภาษาได้ ใช้เวลาไม่นาน และค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ไม่สูง ควรรวบรวมรายชื่อวารสารใน area ที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ และตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อช่วยให้นักวิจัยในสาขามองหาวารสารเป้าหมายง่ายขึ้น        2. สถาบันควรให้การสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานในวารสารระดับนานาชาติ โดยควรจัดให้มีหน่วยงานช่วยเหลือเรื่องการใช้ภาษาและการเขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษ เช่น มี Writing Center เพื่อดูคุณภาพของผลงาน ก่อน submit และควรมีเงินทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่        3. การทำวิจัยควรทำเป็นทีม โดยสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยต่างชาติ ต่างสถาบัน หรือกับสหสาขาวิชาชีพ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ควรสร้างและคงเครือข่ายความร่วมมือในการทำวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนที่เป็นนักวิจัยต่างชาติ ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.2 การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media ผู้จัดทำโครงการ​ ศ.ดร.สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ​ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          1) ตีกรอบวิจัยที่สามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพและน่าสนใจ การสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและน่าสนใจจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานของนักวิจัยได้รับการอ้างอิงมากขึ้น โดยในการตีกรอบวิจัยนั้น ควรเลือกหัวข้อวิจัยที่เป็นปัญหาที่สำคัญ หรือปัญหาใหญ่ซึ่งมีนักวิจัยสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหากเลือกทำงานวิจัยที่เป็นปัญหาเฉพาะขนาดเล็กจำนวน Citation ก็น้อยตาม และงานวิจัยที่เลือกทำนั้นได้มีการศึกษาหรือวิจัยมาบ้างแล้ว ตามความเชี่ยวชาญและยังมีช่องว่างในการวิจัยอยู่ ทั้งนี้ควรตระหนักว่าการสร้างผลงานที่น่าสนใจและมีคุณภาพสูงสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น         2) ส่งผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor สูง การเลือกตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่มี Impact Factor (IF) สูงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานวิจัยนั้น ๆ ได้รับการอ้างอิงมากขึ้น โดย Impact Factor เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของวารสารว่ามีผู้อ่านและผู้ใช้งานมากน้อยเพียงใด การส่งผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor สูงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานนั้นได้รับการอ้างอิงมากขึ้น เนื่องจากค่า Impact Factor ของวารสารวิชาการนั้นคำนวณมากจากจำนวนครั้งของการ Citation ใน 1 ปี หารด้วยจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในปีนั้น ๆ         3) แชร์ผลงานของคุณ การแชร์ผลงานวิจัยในสื่อสังคมออนไลน์หรือเว็บไซต์ช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น เช่น ResearchGate, LinkedIn, Twitter หรือ Facebook เป็นต้น ซึ่งทางคณะ วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ควรเข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ข้อควรระวัง คือ ระวังเรื่อง License ของงานวิจัยที่จะแชร์ ควรจะแชร์แค่ link และรายละเอียดของงานวิจัย แต่ไม่ควรแชร์รูป หรือแนบบทความทั้งฉบับ เนื่องด้วยอาจติดลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์        4) การนำเสนอในงานประชุมวิชาการ การนำเสนอในงานประชุมวิชาการช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น โดยช่วยให้ผู้ที่เข้าร่วมงานประชุมวิชาการเห็นความสำคัญและคุณค่าของผลงานวิจัยที่ทำ และการนำไปสู่การอ้างอิงผลงานเมื่อเกิดการเผยแพร่ในภายหลัง        5) เข้าร่วมกลุ่มวิจัยและโครงการวิจัย การเข้าร่วมกลุ่มวิจัยและโครงการวิจัยช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น โดยการเข้าร่วมกลุ่มวิจัยและโครงการวิจัยนั้นจะช่วยให้ผู้วิจัยได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานวิจัยร่วมกับผู้อื่น และมีโอกาสเข้าถึงผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงของผลงานของผู้วิจัยได้        6) ใช้คำสำคัญ (Keywords) และชื่อบทความที่ถูกต้องในผลงาน การใช้คำสำคัญและชื่อบทความที่ถูกต้องในผลงานวิจัย จะช่วยให้ผู้ค้นหาสามารถหาผลงานของผู้วิจัยง่ายขึ้น นอกจากนี้การใช้คำสำคัญที่เหมาะสมในผลงานของผู้วิจัยยังสามารถช่วยให้ผลงานของผู้วิจัยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงของผลงานของผู้วิจัยได้        7) สร้างเครือข่าย (Networking) กับนักวิจัยอื่น การสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยอื่นช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น โดยในการสร้างเครือข่ายนั้น ผู้วิจัยสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่น และมีโอกาสเข้าถึงผลงานวิจัย เช่น การเชิญ speaker จากสถาบันอื่น มาแลกเปลี่ยนความรู้        8) การเขียนบทความปริทัศน์ การเขียนบทความปริทัศน์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่นักวิจัยสามารถใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงและเพิ่ม h index ของตนเองได้ โดยควรทำการเลือกหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการในวงการวิชาการ เพื่อให้มีผู้อ่านและผู้ใช้งานมากขึ้น นอกจากนี้ ยังควรเลือกวิธีการสร้างโครงสร้างบทความปริทัศน์เหมาะสมและช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยของผู้วิจัยอย่างเต็มที่ แต่ข้อจำกัดของการเขียนบทความปริทัศน์ คือ ผู้วิจัยจะต้องมีชื่อเสียงในวงการวิจัยในระดับหนึ่งจึงจะถูกเชิญให้เขียนบทความปริทัศน์ และบทความปริทัศน์ยังไม่สามารถนำไปใช้ในการขอตำแหน่งวิชาการในสายวิทยาศาสตร์อีกด้วย        9) การอ้างอิงบทความของตนเอง (Self-citation) การอ้างอิงผลงานตนเองหรือ Self-citation เป็นเรื่องที่มีข้อดีและข้อเสียเหมือนกับการอ้างอิงผลงานของผู้อื่น โดยข้อดีของ Self-citation คือช่วยเพิ่ม Citation และ h-index ของนักวิจัยเอง และช่วยสร้างความรู้สึกว่าผลงานของผู้วิจัยมีความสำคัญและมีผลกระทบในงานวิจัยที่ผู้วิจัยทำ อย่างไรก็ตามการ Self-citation นั้นไม่ควรเกิน 20% โดยอ้างอิงจาก https://clarivate.com/webofsciencegroup/essays/journal-self-citation-jcr/ อีกทั้งต้องเป็นการอ้างอิงที่ถูกต้องและมีความเหมาะสมโดยควรใช้ Self-citation เพียงแต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น เป็นผลงานที่สอดคล้องกับผลงานที่ผู้วิจัยต้องการตีพิมพ์ หรือเป็นผลงานที่มีความสัมพันธ์กับงานวิจัยเก่าของผู้วิจัย โดยการ Self-citation นั้นต้องมีเหตุผลและเป็นไปตามแนวทางวิชาการของวงการนั้น ๆ โดยเป็นงานวิจัยที่ทำต่อเนื่องกันมาเป็นชุด ๆ ห้ามอ้างอิงผลงานตนเองในบทความวิชาการที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นอันขาด ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากการสั่งสมประสบการณ์ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การดำเนินการโดยนำองค์ความรู้ตามที่กล่าวข้างต้นมาใช้โดยได้เลือกตีพิมพ์เฉพาะกับ Publisher ที่มีความน่าเชื่อถือและมีค่า Impact Factor สูง หลังจากตีพิมพ์ได้ลงรายละเอียดใน Social Media Platform ต่าง ๆ ของผู้วิจัย พบว่าได้ผลค่อนข้างดี มีผู้ตามไปอ่านบทความที่ตีพิมพ์มากขึ้น จำนวน citation มากขึ้น ได้รับคำเชิญให้เขียนบทความปริทัศน์จากสำนักพิพม์ต่าง ๆ และไปร่วมงานประชุมวิชาการในระดับนานาชาติที่เป็นการประชุมสำคัญของวงการวิจัยหลายครั้ง ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในหลายงานประชุมวิชาการ โดยทุกครั้งที่ตีพิมพ์ระมัดระวังไม่ให้ Self-citation เกิน 20% และตรวจเช็คบ่อยๆใน Scopus, Google Scholar ว่างานวิจัยด้านที่ผู้วิจัยทำนั้นยังเป็นงานวิจัยหลักที่มีผู้สนใจอยู่หรือไม่ มีการนำองค์ความรู้ข้ามสาขามาใช้เพิ่มเติมเพื่อให้องค์ความรู้ใหม่และน่าสนใจอยู่เสมอ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        จำนวน Citation 893 ครั้ง และ h-index เท่ากับ 15 โดยในปี 2565 มีจำนวน Citation 176 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นตามที่ต้องการทุกปีเมื่อดำเนินงานตามขั้นตอนที่ชี้แจงไว้โดยละเอียด  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่          ได้ตรวจสอบผลของการดำเนินการตามขั้นตอนมาเป็นเวลา 5 ปี พบว่าการเพิ่มขึ้นของ citation เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         แม้ว่าการดำเนินการตามแผนที่กล่าวมานี้ทำให้จำนวน Citation และ h-index เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่แนวโน้มของงานวิจัยที่เลือกทำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนอยู่เสมอให้ทันต่อประเด็นที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน กล่าวคือต้องตามกระแสของโลกให้ทัน โดยดูจากจำนวน Citation ต่อปีของตนว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอัตราอย่างไร ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

สื่อการสอนออนไลน์ ถูกใจวัยโจ๋

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 สื่อการสอนออนไลน์ ถูกใจวัยโจ๋ ผู้จัดทำโครงการ​ รองคณบดีฝ่ายบริหารและกรรมการจัดการความรู้วิชาการบริหารการศึกษา คณะเทคนิคการแพทย์ ผู้ให้ความรู้​​ คณาจารย์กลุ่มวิชาธนาคารเลือด คณะเทคนิคการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามากมาย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนไม่มีความเบื่อหน่าย นักศึกษาสามารถเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษา เทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น Kahoot, Canva, Socrative, ZipGrade และ ClassDojo เป็นต้น ซึ่งแต่ละ application ก็มีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้จะเลือกตามความเหมาะสม โดยคณาจารย์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเทคนิคการแพทย์ มีความประสงค์ที่จะทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 3 และ 4 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงนำเอา application kahoot มาประยุกต์ใช้กับนักศึกษาปีที่ 3 ในวิชา MTH341 และ space race ของ socrative มาประยุกต์ใช้กับการฝึกงานธนาคารเลือดของนักศึกษาปีที่ 4 เพื่อกระตุ้นความสนใจให้แก่นักศึกษาผ่านการเล่นเกมส์แข่งขันตอบคำถาม อีกทั้งยังเป็นการประเมินผลการเรียนว่านักศึกษามีความเข้าใจในบทเรียนมากน้อยเพียงใด ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, สังกัด กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต คณะเทคนิคการแพทย์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้คณาจารย์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต ได้ดำเนินการนำความรู้จากการใช้ application kahoot และ space race ของ socrative มาประยุกต์ใช้กับความรู้ทางด้านธนาคารเลือด โดยสามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 3 และ 4 โดยสรุปคือ นำ kahoot มาใช้กับการเรียนการสอนวิชา MTH341 กับนักศึกษาปีที่ 3 จำนวน 164 คน ที่ห้อง 7-100 และนำ space race ของ socrative มาใช้ในการฝึกงานนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน วิชาธนาคารเลือด ภาคการศึกษา 2/2565 มีจำนวน quiz ใน socrative ทั้งหมด 68 ข้อ แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น 15 กลุ่ม ทำ quiz ก่อน และหลัง 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        คณาจารย์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต ได้ดำเนินการนำ kahoot มาใช้กับการเรียนการสอนวิชา MTH341 กับนักศึกษาปีที่ 3 จำนวน 164 คน ที่ห้อง 7-100 การดำเนินการยังคงมีอุปสรรคบางประการ เช่น ห้องที่ใช้จัดกิจกรรมแคบเกินไป โจทย์ปัญหายาวเกินไป รูปภาพเล็กเกินไป นักศึกษาที่นั่งอยู่ด้านหลังมองไม่ค่อยเห็น  นอกจากนี้ยังได้นำ space race ของ socrative มาใช้ในการฝึกงานนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน วิชาธนาคารเลือด ภาคการศึกษา 2/2565 มีจำนวน quiz ใน socrative ทั้งหมด 68 ข้อ แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น 15 กลุ่ม ทำ quiz ก่อนและหลัง หลังจากดำเนินการมีข้อคิดจากนักศึกษาต่อการใช้ space race ของ socrative คือ การทำ quiz ครั้งแรก ยังไม่ได้คิดวิเคราะห์ เพราะต้องรีบหาคำตอบให้ทันเวลา แต่พอ quiz อีกรอบพร้อมเฉลยทำให้เข้าใจมากขึ้น 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่         ผลการประเมินจากนักศึกษาต่อการนำ kahoot มาใช้ในการติววิชา MTH341 พบว่าkahoot เหมาะกับการนำมาใช้ในการติววิชา MTH341 เป็น 3.98 เนื้อหาการติววิชา MTH341 โดยใช้ kahoot มีการจัดลำดับการนำเสนอที่เหมาะสมเข้าใจง่าย เป็น 4.23 การติววิชา MTH341 โดยใช้ kahoot ดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน เป็น 4.38 รูปแบบการติวสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็น 4.15 อาจารย์มีการเฉลยและอธิบายเนื้อหา และมีรางวัลเพื่อเสริมแรงอย่างเหมาะสม เป็น 4.47 ส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักคิดวิเคราะห์ เป็น 4.32 และความพึงพอใจของนักศึกษาโดยรวมสำหรับการติววิชา MTH341 โดยใช้ kahoot เป็น 4.09 แสดงถึงความพอใจของนักศึกษาที่ดีต่อการนำ kahoot มาใช้    สำหรับผลการประเมินจากนักศึกษาต่อการนำ socrative มาใช้ในการฝึกงานวิชาธนาคารเลือด พบว่าการใช้เมนู space race ของ application socrative มีรายละเอียดดังนี้1. ทำให้นักศึกษาได้อ่านหนังสือทางด้านธนาคารเลือดมากขึ้น มากน้อยเพียงใด เป็น 4.232.การใช้เมนู space race ของ application socrative ทำให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์โจทย์ทางด้านธนาคารเลือดมากขึ้น มากน้อยเพียงใด เป็น 4.383.หลังการใช้เมนู space race เมื่อมีการใช้เมนู quiz เพื่อให้นักศึกษาเลือกคำตอบอีกครั้ง และมีการเฉลย ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาด้านธนาคารเลือดมากน้อยเพียงใด เป็น 4.854.การใช้โปรแกรม microsoft whiteboard, paint เพื่อเขียนคำอธิบายประกอบคำถามและเฉลย ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาด้านธนาคารเลือด มากน้อยเพียงใด มีค่าคะแนนเแลี่ยเท่ากับ 4.545.นักศึกษาได้ประโยชน์จากการใช้สื่อการสอนออนไลน์ด้วย application socrative เพื่อสอนเนื้อหาทางด้านธนาคารเลือด มากน้อยเพียงใด เป็น 4.69ทั้งหมดนี้แสดงถึงความพอใจของนักศึกษาที่ดีต่อการนำ space race ของ socrative มาใช้ในการกระตุ้นการเรียนการสอนต่อนักศึกษาทางด้านวิชาธนาคารเลือด ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          ปรับสื่อการสอนใน kahoot และ socrative ให้มีความเหมาะสม ลงตัวมากขึ้น เช่น ปรับขนาดตัวหนังสือ และรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ปรับโจทย์ให้สั้นลง ปรับขนาดห้องให้ใหญ่ขึ้น เป็นต้น รวมไปถึงอาจมีการนำไปใช้ในวิชาอื่นเพิ่มมากขึ้น   ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.2 การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา (สืบเนื่องจากการคัดเลือกให้ได้รับโล่รางวัลนักบริหารการศึกษาดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2566 ประเภทอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย)KM: การสอนรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา (Professional Ethics for Educational Administrators) ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.ชัชชญา พีระธรณิศร์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          การบริหารจัดการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญและยึดถือเป็นมโนธรรมสำนึกของผู้บริหารการศึกษา การที่จะมีจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรมได้อย่างไรนั้น อยู่ที่การสร้างความตระหนักและจิตสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องมีจิตวิญญาณ อุดมการณ์ของผู้บริหารในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ…..จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556และตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2550 จึงเป็น มาตรฐานวิชาชีพวิชาชีพชั้นสูง จะต้องมีศาสตร์มากำกับและมีศิลป์ในการบริหาร ผู้บริหารจึงถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์การดำเนินการอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม หลักคุณธรรมสำหรับผู้บริหารในการครองตน การครองคน การครองงาน เป็นหลักสำคัญในการประพฤติปฏิบัติตนของผู้บริหารมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการบริหารงานในองค์การ การนำหลักสูตรไปใช้ การจัดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการเรียนการสอน ( สิน งามประโคน ,2561) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ในหมวด 7 จึงได้กำหนดไว้ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกำหนด ”        ในด้านจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรมผู้บริหารการศึกษา ชุติมา รักษ์บางแหลม (2559) จากวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และประเด็นปัญหาจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา พบว่า…ความยากลำบากที่ผู้บริหารต้องเผชิญกับปัญหาในการบริหารสถานศึกษาส่งผลกระทบระดับบุคคลทำให้เกิดความไม่สบายใจ ลำบากใจ และระดับองค์กร ขาดความสุขยุ่งยากใจในการบริหารงาน การอยู่ร่วมกัน ไม่อาจหาข้อยุติได้ง่ายจากข้อมูลที่มีอยู่ ต้องมีการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ ในการแก้ปัญหาต้องทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงการค้นหาทางเลือกและแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักจริยธรรมพื้นฐาน ความดีงาม ความถูกต้องและหลักจริยธรรมวิชาชีพ หลักการบริหารงาน รวมถึงการตัดสินใจเลือกทางเลือก ปฏิบัติตามทางเลือกและการประเมินผลทางเลือกระยะสั้นและยาว การเผชิญและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมของสถานการณ์ ตามน้ำหนัก ความโน้มเอียงของปัญหา บริบทและสภาพแวดล้อมขององค์กร สอดคล้องกับ จุฑามาส ศรีทองคำ (2562 ) ได้ศึกษา คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ พบว่า การเสื่อมโทรมดานคุณธรรมจริยธรรมของสังคมที่มาจากสาเหตุของการยึดวัตถุมากกวาความดี การแข็งขันเพื่อเอาชนะแทนการร่วมมือ การมองคนอื่นเป็นคู่แข่งมากกว่าเป็นพันธมิตร การศึกษาน่าจะให้ทางออกที่ดีต่อปัญหาดังกล่าว และผู้นำด้านการศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาน่าจะเป็นความหวังของการเป็นแบบอย่างที่ดีด้านจริยธรรมต่อครู นักเรียน และบุคคลอื่นในสังคมเพราะผู้บริหารเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและทิศทางของหน่วยงาน ควรจะมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในการบริหารงาน อีกทั้งยังต้องมีความสัมพันธ์กับบุคลากรในองค์การประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ผู้สอนในรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา จะต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับนักศึกษา มีทัศนคติที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นกระบวนการซึมทราบทางจริยธรรม (moral internalization) มี 3 กระบวนการที่เป็นอิสระจากกัน คือ 1.ความคิดทางจริยธรรม (moral thought) 2.ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral feeling) และ 3.พฤติกรรมทางจริยธรรม (moral behavior) (Hoffman ,1979) ในการนำไปใช้ตามแบบแผนพฤติกรรมที่คุรุสภากำหนด1.ความคิดทางจริยธรรม (moral thought)– การปรับทัศนคตินักศึกษาก่อนการเรียนรู้ ของอาจารย์ผู้สอน นอกจากหลักการแนวคิด ทฤษฎีในศาสตร์ความรู้ทางสาขาการบริหารการศึกษาแล้ว2.ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral feeling)– ศิลปะ ที่จะนำมาใช้การส่งเสริมการสอนนั้น ต้องส่งเสริมการมีอุดมการณ์ของการเป็นผู้นำหรือการสู่การเป็นผู้บริหารการศึกษาที่มีวินัย การวางแผน การจัดระบบ แบบแผน ความมุ่งมั่น อดทน การยึดหลักคุณธรรมและเมตตาธรรม ในการปฏิบัติตน(ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม)ก่อน และไปถึงบริหารงาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเปนที่ประจักษ์ และรวมถึง ความฉลาดทางอารมณ์3.พฤติกรรมทางจริยธรรม (moral behavior)– กิจกรรมเสริมทักษะเชิงปฏิบัติการด้านคุณธรรม จริยธรรม สู่การเป็นต้นแบบของภาวะผู้นำ การเพิ่มสมรรถนะ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเป็นผู้นำทางวิชาการ ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนควรมีปลูกฝัง การมีวินัย มีรูปแบบวิธีคิด (Mental Models)การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)สามารถสนองตอบต่อการแข่งขัน และ ทันสมัยเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก การประยุกต์หรือบูรณาการ การทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายต้องวางแผนและใช้กระบวนการ PDCA ในด้านการจัดดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน ของหลักสูตรนี้จึงดำเนินไปด้วยดีและสามารถได้ แนวทางสู่การปฏิบัติ และการนำไปปฏิบัติได้จริง    การดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ดังนี้เริ่มต้นจาก Plan1.การวางแผน (Plan) แนวทางปฏิบัติที่ดี(Best Practice)เตรียมการสอน 1.1 การเขียน มคอ 31.2. เตรียมเอกสารประกอบการสอน1.3 จัดทำประมวลการสอน /แผนการเรียนการสอน/สื่อการสอน และแหล่งค้นคว้าต่างๆ ให้สอดคล้องต่อบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก1.4 เตรียมกิจกรรมเชิงทักษะเพื่อส่งเสริมประสบการณ์จริง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   วิธีการดำเนินงาน การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง โดยวิธีการสอนในรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา จะใช้วิธีการสอนแบบผสมผสานดังนี้ 1. ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ (coach) หรือ โค้ช ที่เรียกว่า รูปแบบโค้ช “3Es” ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้การโค้ชของผู้สอนประสบความสำเร็จได้ ในการสร้างความยึดมั่นผูกพัน (Engage) การเสริมพลังการเรียนรู้ (Empower) และการสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ (Enliven)ผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษา (consultant)ถือได้ว่าเป็นวิธีการส่งเสริมและให้นักศึกษา ได้มีการสะท้อนคิด (Reflect)2. การสอนแบบอภิปราย: ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เชิงท้าทายในประเด็นต่างๆ3. การสอนแบบ Active Learning: มุ่งพัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ของจากกิจกรรมต่างในระหว่างการสอน ลงมือปฏิบัติจริงให้เกิดทักษะ มีการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์4. การสอนfacilitator): ผู้เป็นผู้อำนวยความสะดวก ในกิจกรรมต่างๆ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        DO2. การปฏิบัติ (Do) แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) การสอน    2.1 กิจกรรมเชิงปฏิบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมนักศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในเชิงประจักษ์    2.2 การคัดเลือกผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็น Best Practice ที่มีศิลปะในการบริหาร มาเป็นต้นแบบที่ดีในพฤติกรรมทางจริยธรรม    2.3 การบูรณาการ ด้านความคิด ประสบการณ์ และสาเหตุพฤติกรรมทางจริยธรรม    2.4 การกระตุ้นปัญญาทางความคิด ให้นักศึกษาในการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และในกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ทางการบริหารการศึกษา 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่        3. การตรวจสอบและติดตามผล(Check) แนวทางปฏิบัติที่ดี(Best Practice) มาตรฐานการสอน3.1 การบริหารจัดการประเมินหลังการสอน โดย การวิเคราะห์จากประสบการณ์ จากกิจกรรม (ลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ผู้บริหารในระดับนโยบาย และผู้บริหารในสถานศึกษา)และองค์ความรู้ต่างๆ จากการเรียนทั้ง5 Mudule ให้นักศึกษาอภิปรายร่วมและวิเคราะห์ เพื่อสู่แนวทางปฎิบัติ3.2 ผู้สอนประเมินและติดตามผล ด้วยวิธีการประเมินที่กำหนดอย่างเหมาะสม มีการประเมินการสอนโดย 3 ระยะ คือ ทดสอบความรู้ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน (โดยการเขียน Refection thinking) เพื่อเป็นการสะท้อนคิด จากการเรียน3.3 ด้านนักศึกษา ติดตามและประเมินผลด้านความรู้ จากการวิเคราะห์ สามารถนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ ได้3.4 การเขียนข้อสอบเชิงวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice        Act4. การปรับปรุงพัฒนา (Act) แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ประเมินผล   4.1 นำผลการประเมินการเรียนการสอน กิจกรรม นำมาปรับปรุง เพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรม   4.2 ด้านอาจารย์ นำผลการประเมินการเรียนการสอนกิจกรรม/ โครงการที่เกี่ยวข้อง มาประชุมหารือเพื่อปรับปรุงร่วมกันระหว่างอาจารย์ ในคณะกรรมการหลักสูตรระดับคณะ   4.3 ด้านนักศึกษา นำผลการประเมินจากการเรียนการสอน กิจกรรม/ โครงการรวบรวมเป็นข้อมูลย้อนกลับ เพื่อปรับปรุงให้เป็นรูปธรรมการตรวจสอบผลดำเนินการโดยให้ feedback โดยการทวนสอบ1. โดยการคิดวิเคราะห์ จากสถานการณฺฺฺจริง ลงพื้นที่พบผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา2. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในทุกกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน3. วิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับระดับความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดี ต่อความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา4. การนำความรู้ประสบการณ์ ในและนอกชั้นเรียน ไปพัฒนาสู่การปฏิบัติ (จากการวิเคราะห์ กระตุ้นปัญญาทางความคิด)     อุปสรรคปัญหาที่พบคือ การกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเชิงคิดวิเคราะห์ (นักศึกษาบางคนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น จุดนี้อาจารย์ ต้องแสดงบทบาท เป็นcoach ในสร้างความกระตือรือร้นเสริมพลังการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษา   ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

4D for Smart Organization

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.3.2, KR 3.4.1, KR 3.4.3, KR 3.4.4 4D for Smart Organization ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.สมศักดิ์ เอื้ออัชฌาสัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ คุณพรรนิภา แดงเลิศ คุณธนัญชนก วารินหอมหวล คุณภัสราภรณ์ อริยะเศรณี สำนักงานประกันคุณภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​         สังคมในปัจจุบันอยู่ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านทรัพยากร ความหลากหลายของบุคลากร ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือความก้าวหน้าในยุคดิจิทัล เป็นต้น ทำให้แนวคิดในการมุ่งพัฒนาบุคลากรในระดับปัจเจกบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถ ในภาระงานที่ตนเองรับผิดชอบนั้นอาจยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการบริหารหน่วยงานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ดังนั้นหากหน่วยงานจะพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการความรู้ภายในหน่วยงานและการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ ของหน่วยงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสามารถส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และมีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปฏิบัติงานภายในองค์กรได้อย่างมีความสุข        สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตมีการปรับรูปแบบการศึกษาและการบริหารงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์โลก ภายใต้หลักการบริหารองค์กรที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ 1.การสานพลังทุกภาคส่วน (Collaboration) เพื่อเป็นการยกระดับการทำงานไปสู่การร่วมมือกัน โดยจัดระบบให้มีการวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน 2. การสร้างความสำเร็จร่วม (Shared Achievement) การคิดค้นและแสวงหาวิธีการหรือแนวทาง (Solutions) เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานและการให้บริการ 3. การพัฒนาตนเองขององค์กร (Self-Development Organization) การปรับเข้าสู่การเป็นดิจิทัล (Digitization) และ 4. การปรับเปลี่ยนกระบวนการทางความคิด (Mindset) เพิ่มทักษะให้มีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง เพื่อสร้างคุณค่าหลัก (Core Value) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของทุกหน่วยงาน โดยปรับเปลี่ยนจากการทำงานรูปแบบเดิมมาสู่รูปแบบใหม่ เพื่อปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น        ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา สำนักงานประกันคุณภาพจึงปรับกระบวนการบริหารงานภายในหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารงานของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกตอบสนองทันที (Pro-Active) การใช้ทรัพยากรน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า (Less resources, but more results) ปรับระบบการทำงานให้เป็นดิจิทัลและเชื่อมต่อในหลายมิติ (Digitalization and Hyperlink) มากขึ้น อันส่งผลต่อคุณภาพการบริหารบุคลากรในหน่วยงาน การกำกับตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร คณะวิชา หน่วยงานสนับสนุน และสถาบัน  ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุความสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ที่มีการปรับจากรูปแบบของ KPI ไปสู่รูปแบบ Key Result นอกจากการอาศัยค่านิยมดังกล่าวแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องพัฒนา Mindset จาก Fixed Mindset ไปสู่ Growth Mindset เพื่อรองรับกระบวนการพัฒนาไปสู่การเป็น Smart Organization ในการนี้สำนักงานประกันคุณภาพจึงได้ทดลองดำเนินการกระบวนการดำเนินงานในลักษณะไม่หยุดนิ่ง (Dynamic) หรือติดในกรอบการทำงานเดิมๆ โดยเริ่มตั้งแต่ในส่วนของการมี Dynamic Mission, Dynamic IDP, Dynamic Job description และ Dynamic working result ในการนำไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จที่วัดผลได้ตาม Key Result ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : โดยนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 มาตีความสู่การดำเนินงานความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    วิธีดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยงานสำนักงานประกันคุณภาพโดยผู้บริหารหน่วยงานให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย เช่น ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายแนวทางการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2565 ในหัวข้อ “การจัดการความรู้กับการประกันคุณภาพ” ให้ความรู้แก่บุคลากรในสำนักงาน, สนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมอบรมแนวทางการจัดการความรู้ในทุกปีการศึกษา เป็นต้น แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมฯ มาประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จและองค์ความรู้ของบุคลากรในหน่วยงานเพื่อนำเสนอตามแบบฟอร์มการจัดการความรู้ โดยมีกระบวนการจัดการความรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้1. การกำหนดความรู้ที่จำเป็น โดยจัดประชุมหน่วยงานเพื่อร่วมกันพิจารณาว่าความรู้ใดที่สำคัญต่อกระบวนการดำเนินงานในช่วงของการเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ โดยการนำพันธกิจใหม่ (ที่มาของ Dynamic Mission กับ Dynamic Job Description) ที่ได้รับมอบหมายมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ ศึกษา แสวงหาความรู้จากภายนอกหน่วยงานแล้วนำความรู้หรือประสบการณ์ของบุคลากรรายบุคคลมาประชุม/ระดมความคิดเห็นร่วมกันเพื่อปรับปรุง Job Description รายบุคคล3. การปรับปรุง/ดัดแปลง/สร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการใช้งาน โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของสำนักงานประกันคุณภาพที่มีการปรับปรุงให้เป็นไปตามพันธกิจใหม่ (ที่มาของ Dynamic IDP) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและเพิ่มประสิทธิผลของผลลัพธ์การดำเนินงาน4. การประยุกต์ใช้ความรู้ในงานของตน โดยการนำความรู้ที่ได้จากการประชุม/ระดมความคิดเห็น และการให้ความรู้แบบ Coaching จากผู้บริหารหน่วยงานสู่การจัดทำเป็นองค์ความรู้ เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน (ที่มาของ Dynamic working result)5. การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้ สำนักงานประกันคุณภาพดำเนินการตาม 4D เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานตาม KR แล้วทำการประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายได้ครบถ้วนทุก KR6. การจดบันทึกขุมความรู้และแก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งานและปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน    6.1 นำผลการสกัดความรู้ตามกระบวนการ 4D มาบันทึกตามแนวทางของ RKMS    6.2 การเผยแพร่ความรู้ 4D ทั้งผ่านระบบ RKMS และผ่านการจัดอบรมสัมมนาหน่วยงานสนับสนุน โดยสำนักงานประกันคุณภาพ เช่น การนำ “ตัวอย่างแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานประกันคุณภาพ (แสดงตัวอย่าง Dynamic IDP ที่เชื่อมโยงกับ Dynamic Mission และ Dynamic Job Description และนำไปสู่ Dynamic working result)” ในการจัดอบรม “แนวทางการเขียนรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหน่วยงานสนับสนุน ปีการศึกษา 2565” เพื่อประกอบการรายงานในตัวบ่งชี้ที่ 2 แผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        สำนักงานประกันคุณภาพมีกระบวนการติดตามผลการปฏิบัติงานของบุคลากรรายบุคคลตามพันธกิจใหม่ ที่มีการปรับหน้าที่ ความรับผิดชอบงาน และตัวชี้วัดความสำเร็จของบุคลากรรายบุคคล โดยมีผลลัพธ์การดำเนินงานและผลการพัฒนาบุคลากร ดังนี้     ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงกระบวนการและเทคโนโลยี (Process and Technology)1. มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตามพันธกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (IQA) และการประเมินคุณภาพภายนอก (EQA) ได้แก่ พัฒนาระบบ improvement plan online (เป้าหมาย 100% comfort faculty and curriculum IP on time)เป็นระบบที่สามารถนำเข้ารายงาน มคอ.7, รายงาน SAR และผู้ประเมินสามารถอ่านและกรอกรายงานผลการประเมิน รวมถึงการแก้ไขรายงานการตรวจประเมินเบื้องต้นผ่านระบบฯ ได้ และสามารถรวบรวมรายงานผลการตรวจประเมินเบื้องต้นให้เป็นฉบับสมบูรณ์ โดยระบบจะสามารถประมวลผลในส่วน Comment ของกรรมการประเมินแล้วสร้างเป็น Default Improvement Plan เพื่อให้คณะสามารถ Login เข้าระบบฯ เพื่อกรอกข้อมูล Improvement Plan ให้เป็นฉบับสมบูรณ์ได้ทันที ซึ่งถือว่าเป็นระบบแบบ One Stop Service และสามารถเก็บรวบรวม Improvement Plan ได้ทุกปีการศึกษา พัฒนาระบบ EQA Online เพื่อสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน IQA และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก (เป้าหมาย มีระบบฐานข้อมูลตอบโจทย์การประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะพร้อมกัน) โดยมีการกำกับติดตามให้คณะวิชารายงานข้อมูลในระบบฯ ภายในระยะเวลาที่สำนักงานประกันคุณภาพกำหนด 2. พัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต โดยการจัดทำคู่มือ RQA63, RQA63+ และ RQA66(เป้าหมาย มีมาตรฐานที่ตอบเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา และบริบทมหาวิทยาลัยรังสิต)3. พัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับทุกกลุ่ม (อาจารย์ นักศึกษา และผู้ประเมิน) ผ่านช่อง YouTube สำนักงานประกันคุณภาพ (เป้าหมาย มีสื่อพัฒนาความรู้ QA ออนไลน์ใหม่ๆ จำนวน 10 เรื่องต่อปี ที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม)4. การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อให้คำปรึกษาตามประเด็นที่หลักสูตร/ คณะวิชา/ หน่วยงาน มีข้อสงสัยภายหลังการศึกษาแนวทางการรายงานจากสื่อออนไลน์ที่เผยแพร่ในช่อง YouTube สำนักงานประกันคุณภาพ (เป้าหมายคือกลุ่มที่ได้รับการบรรยายผ่าน Focus Group ร้อยละ 100 จะต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจในเกณฑ์และแนวทางการรายงานมากขึ้น)5. พัฒนา Website ใหม่ของสำนักงานประกันคุณภาพที่มีความหลากหลายของเมนูการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพในทุกระดับ ให้บริการการดาวน์โหลดคู่มือและแบบฟอร์มต่างๆ เอกสารหลักฐานต่างๆ ข่าวสารด้านการประกันคุณภาพ ตลอดจน Web link ที่เชื่อมโยงกับสถานี YouTube สำนักงานประกันคุณภาพและ Web link ที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง6. พัฒนาผู้ประเมิน IQA หน้าใหม่ร้อยละ 5-10 ของฐานผู้ประเมินทุกปีรองรับอนาคต (เป้าหมาย ผู้ประเมินหน้าใหม่มีศักยภาพเป็นกรรมการประเมินต่อเนื่องได้ 3 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50)7. พัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ที่ตอบโจทย์ Active Learning ภายใต้ภาคีความร่วมมือ สำนักงานประกันคุณภาพ สำนักงานมาตรฐานวิชาการ และ ITSC (เป้าหมาย คณาจารย์มากกว่าร้อยละ 60 มีผลประเมินการสอนเฉลี่ย 4.01 ขึ้นไป)8. ภาคีความร่วมมือระหว่างสำนักงานประกันคุณภาพ สำนักงานมาตรฐานวิชาการ และ HRD ในการจัดอบรมสัมมนาเตรียมความพร้อมการเป็น outcome based education และรองรับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรใหม่ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิใหม่ (เป้าหมาย หลักสูตรสามารถพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรตาม OBE และตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิใหม่ได้)9.จัดประเมินคุณภาพการศึกษาภายในผ่านระบบออนไลน์ (เป้าหมาย เพื่อลดความเสี่ยง Covid-19, ไม่มีข้อจำกัดจำนวนการเข้าร่วม, สามารถลดต้นทุน 20% และ มี Real time consult ผ่าน Line group ทำให้เกิด common standard10. ความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาสถาบันนานาชาติ (Institutional Quality Assurance Network: IQAN)11. การจัดทำคู่มือที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาและงานด้านวิชาการ เช่น คู่มือการสืบค้นบทความที่ได้รับการอ้างอิงในฐาน TCI และ Scopus, คู่มือการอ้างอิงสารสนเทศตาม APA 7th Edition, คู่มือประกอบการใช้งานระบบฐานข้อมูลต่างๆ อาทิ คู่มือฯ ระบบ EQA, คู่มือฯ ระบบ CHE QA Online และคู่มือฯ ระบบ DBS เป็นต้น      ผลลัพธ์การพัฒนาบุคลากร1. บุคลากรมีความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานตาม Dynamic Job Description ได้แก่ มีความรู้ในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2563 โดยทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการและเลขานุการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ไม่น้อยกว่า 30 ครั้งต่อปี และสามารถจัดทำ Template ทั้ง มคอ.7 SAR ระดับคณะ และ SAR ระดับสถาบัน ครอบคลุมมาตรฐานคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2563 และครอบคลุมเกณฑ์การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา มีความรู้ในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบสี่ โดยสามารถพัฒนา Template สำหรับการเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานฯ, ร่วมพัฒนาระบบ EQA Online และร่วมจัดทำรายงาน PA2-1, PA2-2 เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ มีความรู้ในระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของ สป.อว. (ระบบ CHE QA ONLINE) โดยสามารถวางโครงสร้างคณะและหลักสูตรในระบบ CHE QA ONLINE, สร้าง Username และ Password ทั้งในระดับหลักสูตรและระดับคณะ ครอบคลุมทั้งผู้กรอกรายงานและกรรมการประเมิน และสามารถจัดทำคู่มือประกอบการใช้งานระบบฯ ทั้งในระดับหลักสูตรและคณะวิชา รวมทั้งสามารถเป็นวิทยากรในการอบรมการใช้งานระบบฯ ทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะวิชา มีความรู้ตามเกณฑ์การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา โดยสามารถพัฒนา Template สำหรับการเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การจัดกลุ่มสถาบัน มีความรู้ตามการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก เช่น Webometrics, QS World University Ranking, THE World University Ranking และ U-Multirank โดยจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกต่างๆ ศึกษาและรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีของมหาวิทยาลัยอื่นๆที่ได้รับการจัดอันดับในด้านต่างๆที่ดีขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานที่เป็น Process Owner 2. บุคลากรมีทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานตาม Dynamic Job Description ได้แก่ มีทักษะการใช้งานระบบ EQA โดยสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบ (Admin) สามารถใช้งานระบบ EQA ในการกรอกผลการดำเนินงานของคณะ และสามารถเป็นวิทยากรอบรมแนวทางการใช้งานระบบ ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมจากคณะต่างๆ ได้ มีทักษะการใช้งานระบบฐานเอกสารกลาง DBS โดยสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบ (Admin) สามารถใช้งานระบบฯ ในการกรอกผลการดำเนินงานของระดับหลักสูตร ระดับคณะ ระดับหน่วยงานสนับสนุน และระดับสถาบัน และสามารถเป็นวิทยากรอบรมแนวทางการใช้งานระบบฐานเอกสารกลาง DBS ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมของระดับต่างๆ ได้ มีทักษะการใช้งานระบบ Web Admin โดยสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบ (Admin) Website สำนักงานประกันคุณภาพ และสามารถอัพเดทข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน มีทักษะการใช้งาน Microsoft Office/ Google Apps เพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและสามารถถ่ายทอดการใช้งานให้กับผู้ร่วมงานได้ มีทักษะการใช้งานภาษาอังกฤษ โดยสามารถอ่านและแปลบทความจากภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทยและสามารถเขียนบันทึกข้อความ คู่มือ แนวปฏิบัติ Template เป็นภาษาอังกฤษได้ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และออกแบบวิธีแก้ปัญหา โดยสามารถร่วมเสนอแนวทางดำเนินงานในวาระการประชุมกรรมการชุดต่างๆ เป็นผู้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพ ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ต่อคนต่อปี และสามารถวิเคราะห์และออกแบบปรับปรุงกระบวนการทำงานตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย 3. บุคลากรมีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานตาม Dynamic Job Description ได้แก่ มีสมรรถนะในการนำเสนอและการสื่อสาร โดยสามารถเป็นวิทยากรในการจัดอบรม เป็นผู้นำเสนอวาระการประชุม โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจในการทำหน้าที่เป็นวิทยากร/ผู้นำเสนอวาระการประชุมคะแนนประเมิน 3.51 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 5 ต่อเนื่องสามปีการศึกษา มีสมรรถนะในการทำงานเป็นทีม โดยสามารถสร้างสรรค์และวางแผนการทำงานเป็นกลุ่มภายใต้ภารกิจต่างๆ ของสำนักงานโดยเจ้าหน้าที่เองหรือร่วมกับผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานเป็นกลุ่มแล้วนำผลจากการตรวจสอบและการประเมินผลการดำเนินงานมาปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานเป็นกลุ่มภายใต้ภารกิจต่างๆ ของสำนักงานโดยเจ้าหน้าที่เองหรือร่วมกับผู้บังคับบัญชาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป มีสมรรถนะทางด้าน Digital Literacy ในขั้นเริ่มต้นถึงขั้นกลาง (ใช้นิยาม Digital Literacy ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569) โดยนำผลจากการพัฒนาสมรรถนะทางด้าน Digital ไปใช้ปรับปรุงงาน อย่างน้อย 1 งานต่อคน 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่         การตรวจสอบผลการดำเนินการ สำนักงานประกันคุณภาพมีกระบวนการติดตามผลการปฏิบัติงานของบุคลากรรายบุคคลตามพันธกิจใหม่ ที่กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จคือ รายงาน Job Description ประจำปีการศึกษาที่ Mapping กับ Dynamic Mission และรายงานการปฏิบัติงานรายบุคคลประจำเดือน (Monthly Report) เพื่อติดตามการพัฒนาตนเองของบุคลากรว่ามีผลการดำเนินงานอย่างไร มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากรอันส่งผลต่อภาพรวมของการพัฒนาหน่วยงานอย่างยั่งยืน     การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ ประสบการณ์จากการนำ 4D ไปใช้ พบว่าบุคลากรสำนักงานประกันคุณภาพมีการดำเนินงานภายใต้พันธกิจใหม่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จไว้ในแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรพบว่าหน่วยงานสามารถบริหารจัดการภาระงานที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามพันธกิจใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ มีการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้นเพื่อลดขั้นตอนและทรัพยากรแต่ได้ผลลัพธ์ที่มากขึ้น เช่น การจัดประเมินคุณภาพการศึกษาภายในผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมรับฟังผลการประเมิน และสามารถลดต้นทุนการใช้งบประมาณและทรัพยากรได้ถึง 20% ต่อปี อีกทั้งสามารถสร้างระบบ Real Time Consult ผ่าน Line Group เพื่อให้คำปรึกษาหรือตอบข้อคำถามระหว่างการตรวจประเมินได้อย่างทันท่วงที อันส่งผลต่อภาพรวมการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานในระดับหลักสูตร ระดับคณะ ระดับหน่วยงานสนับสนุน และระดับสถาบันที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสามปีการศึกษา ด้วยผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน อยู่ในระดับดีมาก (ปีการศึกษา 2562 คะแนนประเมิน 4.51, ปีการศึกษา 2563 คะแนนประเมิน 4.63 และปีการศึกษา 2564 คะแนนประเมิน 4.64)    บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ เนื่องจากสำนักงานประกันคุณภาพมีกระบวนการดำเนินงานภายใต้พันธกิจใหม่ตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดในทุกปี สิ่งสำคัญที่สุดของการพัฒนาหน่วยงานและบุคลากรคือการสร้างองค์ความรู้ที่มีในตัวบุคคลทั้งที่มีอยู่แล้วให้เกิดการพัฒนามากยิ่งขึ้น หรือการเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน การให้ความรู้แบบ Coaching จากผู้บริหารหน่วยงาน หรือการศึกษาจากผู้บริหาร/ คณาจารย์ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญผ่านการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา ตลอดจนการส่งเสริมให้บุคลากรศึกษาค้นคว้าแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ และแผนการดำเนินงานในแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สำนักงานประกันคุณภาพสามารถขับเคลื่อนกระบวนการดำเนินงานตามพันธกิจใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ข้อเสนอแนะ :  สืบเนื่องจากระบบการศึกษาและการบริหารองค์กรในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสำนักงานประกันคุณภาพเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ต้องมีการอัพเดทข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการและงานประกันคุณภาพ อีกทั้งยังได้รับมอบหมายในการกำกับดูแลพันธกิจใหม่ในทุกปี ดังนั้นสำนักงานประกันคุณภาพจึงมีแนวทางการดำเนินการพัฒนาบุคลากรและหน่วยงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ และการเป็น Smart Organization โดยยังคงดำเนินการตามกระบวนการ 4D (Dynamic Mission, Dynamic IDP, Dynamic Job description และ Dynamic working result) และมีการประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานเพื่อนำจุดอ่อน/ ปัญหา/ อุปสรรค ที่พบ หรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพันธกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนำไปปรับปรุง/ พัฒนา/ เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จที่วัดผลได้ตาม Key Result และเพื่อยืนยันความสำเร็จของกระบวนการดำเนินงานแบบ 4D ของสำนักงานประกันคุณภาพที่แสดงถึงค่าแนวโน้มของ Output Outcome ตาม Key Result ที่ดีตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569   ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

โมเดลรูปแบบการจัดการสอบ Online สำหรับชั้นเรียน 3 ประเภท

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.2, KR 1.4.4 โมเดลรูปแบบการจัดการสอบ Online สำหรับชั้นเรียน 3 ประเภท ผู้จัดทำโครงการ​ ณัฐพัชร์ หลวงพล ศูนย์บริการวิชาการ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตในสังคมโดยทั่วไป นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อินเตอร์เน็ต และอุปกรณ์สื่อสาร กลายเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของคนในสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ทั้งที่อยู่ในวัยเรียนถึงวัยทำงาน จำเป็นต้องมีทักษะทางดิจิทัล ในวงการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นต่อบุคลากรของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง การสอบเพื่อประเมินผลการเรียน เป็นกระบวนการส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในทุกสาขาวิชา ได้มีการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทำงานรวมถึงช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในขบวนการนี้ได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด   ปัญหาที่พบในยุคแรกๆ คือต้นทุนการลงทุนที่มีราคาสูง ระบบในขณะนั้นยังต้องอาศัยทักษะความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์การเขียนโปรแกรม และเทคโนโลยียังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่มาก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย รวมถึงซอฟแวร์ต่างๆ มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูง ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือสูง รองรับการประมวลผลบนคลาวน์ ระบบมีการออกแบบให้ง่ายในการเรียนรู้และใช้งาน มีเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงาน สามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่แล้ว ทำให้ต้นทุนในการนำมาประยุกต์ใช้ถูกลงอย่างมาก ประกอบกับข้อดีของระบบเหล่านี้เมื่อเทียบกับกระบวนการแบบดั้งเดิมคือ ความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงาน ลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง และลดพื้นที่การจัดเก็บ ง่ายต่อการสืบค้น โครงการนี้เป็นการศึกษารูปแบบการจัดสอบผ่านระบบออนไลน์ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ และลดขั้นตอนการทำข้อสอบ การคุมสอบ การจัดเก็บ และการจัดทำรายงานผลการสอบ โดยในการคุมสอบ (Proctoring) ใช้ระบบ SEB (Safe Exam Browser) เป็นตัวควบคุมสิทธิ์ในการใช้งานฟังก์ชั่นบนอุปกรณ์ในขณะสอบ ร่วมกับการใช้ระบบกล้องเพื่อช่วยการคุมสอบ (Proctoring) โดยเปรียบเทียบทั้งการใช้กล้องวงจรปิดภายในห้อง และกล้องจากจอคอมพิวเตอร์ เพื่อเปรียบเทียบมุมกล้อง คุณภาพของภาพ จุดเด่น และจุดด้อยของแต่ละวิธี รวมถึงความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ต เมื่อใช้งานพร้อมกันทั้งระบบ VDO streaming จาก zoom (หรือ Jitsi) และการทำข้อสอบผ่านระบบออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่างๆ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : วิธีการใช้ SEB เพื่อลดการทุจริตในการสอบ Online (https://www.youtube.com/watch?v=B2tM2f-QKII)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, จากการสำรวจความต้องการของอาจารย์ผู้สอน และข้อมูลจากการทดลองในกลุ่มตัวอย่าง   วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การสอบออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับระบบหลักๆ 2 ระบบ ได้แก่1. ระบบสร้างข้อสอบ บริหารจัดการและดำเนินการสอบ ตรวจข้อสอบ และจัดทำรายงานสรุป อาทิ Google Form, MS Form, Socrative, LMS, Examplus เป็นต้น2. ระบบคุมสอบ (Proctoring) และระบบ lock screen เพื่อป้องกันการทุจริตในระหว่างสอบ    พารามิเตอร์ที่ใช้ทดสอบในครั้งนี้ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (ในห้องปฏิบัติการ) ที่ติดตั้งสาย LAN ระบบปฏิบัติการ Windows, MacOS, iOS iPad (อุปกรณ์ส่วนตัวของนักศึกษา) โปรแกรม SEB สำหรับติดตั้งบนเครื่องที่ใช้สอบ เพื่อจำกัดสิทธิ์การใช้งานบางฟังก์ชั่น โปรแกรม Zoom สำหรับติดตั้งบนเครื่องที่ใช้สอบ เพื่อ Proctoring แบบ online streaming กล้องวงจรปิดสำหรับ Proctoring แบบ local ระบบสอบด้วย MS Form ระบบสอบด้วย Socrative      ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ศึกษา features และ optons ของ SEB สำหรับควบคุมการเปิดปิดฟังก์ชั่นของระบบปฏิบัติการ และรันทดสอบกับระบบ Windows, MacOS และ iOS 2. ค้นหาและคัดเลือกรายวิชาที่มีความสนใจจะทดลองใช้ระบบ จำนวน 2-3 รายวิชา3. ค้นหาห้อง computer lab เพื่อใช้เป็นห้องสาธิต4. สำรวจสถานที่ และความเหมาะสมโดยพิจารณาจาก สภาพของอุปกรณ์ จำนวนเครื่อง และวันเวลาว่างที่สามารถขอใช้งานได้ 5. ทำเอกสารเพื่อขออนุญาตใช้ห้องให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล 6. จัดทำ script สำหรับโปรแกรม SEB 7. ติดตั้งโปรแกรม SEB, Zoom และรันทดสอบ8. ประสานงาน Wisdom TV เพื่อขอยืมใช้กล้องวงจรปิด9. เก็บรวบรวมปัญหาที่พบ และดำเนินการแก้ไข10.ประสานอาจารย์ผู้สอน เพื่ออธิบายวิธีและขั้นตอนการสอบ ระบบที่ใช้ และนัดพบนักศึกษาในชั้นเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสอบ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    รายวิชาที่เข้าร่วมการทดลองระบบ1. วิชา ACC100     1.1 กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาคณะบัญชี จำนวน 120 คน(โมเดลที่ 1) การสอบโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ของมหาวิทยาลัย (ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)   สถานที่   ห้อง 19-317       -ระบบปฏิบัติการ Windows จำนวน 60 เครื่อง (แบ่งสอบเป็น 3 รอบ)    ช่วงวัน-เวลา       -วันที่ 4-6 ตุลาคม 2565 เวลา 10.30-12.00 น.2. วิชา BIO131      2.1 กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ จำนวน 247 คน(โมเดลที่ 1) การสอบโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ของมหาวิทยาลัย (ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)     สถานที่     ห้อง 19-317       – ระบบปฏิบัติการ Windows จำนวน 60 เครื่อง     ห้อง 19-319       -ระบบปฏิบัติการ MacOS จำนวน 150 เครื่อง(โมเดลที่ 2) การสอบโดยใช้อุปกรณ์ส่วนตัวของนักศึกษา (Onsite)     สถานที่     ห้อง 19-305       – ระบบปฏิบัติการ iOS จำนวน 37 เครื่อง     ช่วงวัน-เวลา       -วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เวลา 10.30-12.00 น.   2.2 กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาคณะทันตแพทย์ 117 คน        เนื่องจากมีนักศึกษาบางส่วนที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด จึงต้องใช้รูปแบบการจัดสอบแบบผสมผสาน (โมเดลที่ 3)(โมเดลที่ 3) การสอบแบบ Onsite + Online      สถานที่สอบ      ห้อง 19-317 30 คน ระบบ Windows      ห้อง 19-319 86 คน ระบบ MacOS      Online 1 คน ระบบ iOS (iPad)      ช่วงวัน-เวลา        – วันที่ 11 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00-15.00 น.โดยนศ.ที่สอบ online จะใช้ระบบ Zoom เพื่อให้อาจารย์สามารถสื่อสารกับนักศึกษาในระหว่างสอบ และใช้ SEB browser ควบคุมอุปกรณ์ในระหว่างสอบ เพื่อป้องกันการทุจริต  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่   สรุปผลการดำเนินงานวันที่ 4-6 ตุลาคม ใช้ห้อง 19-317 เนื่องจากจำนวนนักศึกษามีไม่เกิน 60 คนวันที่ 10 ตุลาคม ใช้ห้อง 19-317, 19-319, 19-305วันที่ 11 ตุลาคม ใช้ห้อง 19-317, 19-319    มาตรการเฝ้าระวังการทุจริตในระหว่างการคุมสอบ– ในห้อง 19-317 ที่มีขนาด 150 เครื่องใช้กล้องวงจรปิด 2 ตัว ติดตั้งบริเวณด้านหน้า และด้านหลังของห้อง ร่วมกับการเดินตรวจโดยอาจารย์ผู้คุมสอบ– ในห้อง 19-319 และนศ.ที่สอบออนไลน์ ใช้กล้องหน้าของเครื่อง ตรวจจับพฤติกรรมในขณะสอบผ่านระบบ Zoom ร่วมกับการเดินตรวจโดยอาจารย์ผู้คุมสอบ– เครื่องที่ใช้สอบจะติดตั้ง script เพื่อสั่งงานให้เปิดโปรแกรม SEB browser พร้อมกับเข้าสู่ Kiosk mode เพื่อให้สามารถทำข้อสอบได้เพียงอย่างเดียว และจะปลดล็อคได้เมื่อสอบเสร็จ     ระบบสอบที่ใช้– MS Form ใช้ในรายวิชา ACC100– Socrative ใช้ในรายวิชา BIO131     ปัญหาและอุปสรรคที่พบ1. ในช่วงการทดสอบระบบ พบปัญหาทางเทคนิคในการ login เข้าหน้าข้อสอบของ MS Form เนื่องจาก SEB browser ป้องกันการย้ายไปเว็บเพจอื่นในขณะสอบ (ไม่พบปัญหานี้ใน Google Form หรือระบบอื่น) และได้ทำการแก้ไขด้วยการปรับพารามิเตอร์ใน script ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์2. ในการเตรียมความพร้อมของเครื่องในห้องปฏิบัติการ มีความยุ่งยากเนื่องจากไม่สามารถสั่งติดตั้งผ่านเครือข่ายได้ เพราะไม่มีข้อมูล Mac Address ในส่วนกลาง จึงต้องทำการติดตั้ง script ที่ละเครื่อง และเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลง scipt ต้องทำการติดตั้งใหม่ที่ละเครื่อง3. ในขณะสอบ มีอุปกรณ์ที่ชำรุด เช่น คีย์บอร์ด หรือเมาส์ ใช้งานติดขัด4. การจองใช้ห้องปฏิบัติการล่วงหน้าช่วงก่อนเปิดเทอม มีข้อจำกัดเนื่องจากการจัดตารางการใช้ห้องจะทราบว่าห้องว่างหรือไม่ ต้องรอให้ทางคณะจัดตารางให้เสร็จก่อน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice            ข้อเสนอแนะ1. ในโมเดลที่ 1 ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการควรมีการเก็บข้อมูล Mac Address ของเครื่องในห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ระบบ remote เข้าไปติดตั้งชุดคำสั่งจากส่วนกลางให้ติดตั้ง scipt โดยอัตโนมัติ เพื่อลดขั้นตอนการเตรียมการ2. จากการทดลองครั้งนี้ ได้แนวคิดในการสร้างหน้าเว็บ portal ก่อนเข้าหน้าระบบสอบ จะทำให้ไม่ต้องแก้ไข scipt ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าเพจข้อสอบ และยังสามารถเก็บประวัติการเข้าของผู้สอบได้3. รูปแบบการสอบด้วยอุปกรณ์ส่วนตัวของนักศึกษา พบว่าเป็นโมเดลที่ดีที่สุด เนื่องจากนักศึกษามีความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ และสามารถนำไปใช้กับสถานที่ใดก็ได้ กรณีที่ห้องปฏิบัติการไม่ว่าง และการติดตั้ง script ทำได้ง่ายโดยการใช้ QR code สแกนในห้องสอบได้ทันที           แผนดำเนินการ1. พัฒนาระบบเซิร์ฟเวอร์ SEB Server ขององค์กร สำหรับการควบคุมจากส่วนกลาง เพื่อรองรับการใช้งานในจำนวนมากพร้อมๆกัน โดยสามารถสร้าง script และเรียกใช้งานผ่านเซิร์ฟเวอร์นี้ได้ทันที2. พัฒนาระบบ Jitsi Server ขององค์กร เพื่อใช้ร่วมกับ SEB browser ในการคุมสอบ (Proctoring) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นระบบ VDO conference (ฟรี)ในองค์กรได้ด้วย ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

รูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติสู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21​

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 1.2.3 รูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติสู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร. วิมลรัตน์ บุญเสถียร คณะพยาบาลศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลบุคคลซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ต้องถูกต้องแม่นยำและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด การจัดการเรียนรู้ของวิชาชีพส่วนใหญ่จึงมีชั่วโมงการฝึกปฏิบัติทั้งในห้องปฏิบัติการและสถานการณ์จริงมากกว่าการเรียนภาคทฤษฎี โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีความความรู้ มีทักษะที่จำเป็นทางวิชาชีพ และมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของพยาบาลยุคปัจจุบันตามที่ปรากฎในหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565 ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจทางคลินิก ทักษะการสื่อสารทั้งเชิงวิชาชีพและสังคม การเป็นผู้นำหรือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพให้กับผู้รับบริการ และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่ผ่านมาแม้จะมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเป็นระยะ จนนักศึกษามีความรู้และทักษะจำเป็นทางวิชาชีพที่สามารถประกอบวิชาชีพได้ตามมาตรฐาน แต่การพัฒนาสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรยังไม่ชัดเจน นักศึกษาจำนวนมากเป็นผู้ตามที่ดี แม้มีความรู้ความคิดและตัดสินใจทางคลินิกในระดับหนึ่ง แต่ขาดความมั่นใจในการสะท้อนคิดหรืออภิปรายร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากกังวลเรื่องความถูกผิดของความคิดเห็น นอกจากนี้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับด้านสังคมและความบันเทิง จึงจำเป็นต้องเพิ่มการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อให้เข้าใจ รู้เท่าทันข้อมูล รู้แหล่งค้นหา เลือกใช้ข้อมูลและใช้งานเทคโนโลยีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : บทความแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning Theory)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ  อาจารย์สอนภาคปฏิบัติคณะพยาบาลศาสตร์ได้ร่วมกันปรับรูปแบบการสอนภาคปฏิบัติ โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เพิ่มเติมจากสมรรถนะที่จำเป็นทางวิชาชีพ ดังนี้1. นำเสนอแนวคิดและแผนการพัฒนารูปแบบการสอนภาคปฏิบัติ เพื่อพิจารณาที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะพยาบาลศาสตร์2. ชี้แจงรายละเอียด แผน การดำเนินงาน และบทบาทหน้าที่รับผิดชอบตามตำแหน่ง (รองคณบดีฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหลักสูตร ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์แต่ละสาขา) ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร3. จัดเสวนาจำนวน 5 ครั้ง ดังนี้    ครั้งที่ 1 ย้อนรอยการจัดการเรียนการสอน เพื่อถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ผ่านมา และวิเคราะห์ SWOT เพื่อหาแนวทางการพัฒนาต่อไป    ครั้งที่ 2 ติดปีก… การจัดการเรียนการสอน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด วิธีการจัดการเรียนการสอน และนำประเด็นการจัดการเรียนการสอนที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของแต่ละสาขาวิชา    ครั้งที่ 3 การสร้าง competency และการวางกลยุทธ์การสอน เพื่อนำความรู้มาใช้ในการออกแบบการสอนภาคปฏิบัติ ให้นักศึกษามีสมรรถนะตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร    ครั้งที่ 4 โมเดลการเรียนรู้นอกกรอบ… สู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 เป็นการนำเสนอรูปแบบการสอนภาคปฏิบัติของแต่ละสาขา ที่มุ่งสร้างสมรรถนะด้านการตัดสินใจทางคลินิก การสื่อสารเชิงวิชาชีพและเชิงสังคม เทคโนโลยีดิจิทัล ภาวะผู้นำและการนำการเปลี่ยนแปลงให้แก่นักศึกษา หลังการนำเสนอมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำสู่การทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในวิชาที่สาขาเลือก 1 รายวิชา ที่เปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565    ครั้งที่ 5 ผลลัพธ์การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้… สู่การสร้างสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 เป็นการนำเสนอผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่แต่ละสาขาพัฒนาขึ้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้นำสู่การปรับ/พัฒนารูปแบบการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษา รวมทั้งปรับ/พัฒนาแบบประเมินผลที่เหมาะสมต่อไปก่อนการเสวนาแต่ละครั้งจะมีการดำเนินการ ดังนี้    3.1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง วิธีดำเนินการ กำหนดการ และผู้รับผิดชอบ ในคณะกรรมการบริหารหลักสูตร    3.2 ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้อาจารย์ในคณะฯ ทราบผ่านที่ประชุมและไลน์กลุ่ม    3.3 มอบโจทย์ให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์แต่ละสาขา ประชุมระดมความคิดเห็น หรือดำเนินการตามที่กำหนด    3.4 แต่ละสาขาสรุปข้อมูลและเตรียมการนำเสนอในการเสวนาเมื่อเสร็จสิ้นการเสวนาแต่ละครั้ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการจะสรุปข้อมูลและผลการประเมินเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ4. ถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่เหมาะสมในการสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ก่อนเผยแพร่ให้อาจารย์แต่ละสาขานำไปทดลองใช้ และประเมินผลเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป  2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละสาขาที่นำเสนอในการเสวนาครั้งที่ 4 มีความหลากหลายเนื่องจากมีรากฐานการพัฒนามาจากหลายแนวคิด จึงมีจุดเด่น และประเมินผลในประเด็นต่างกัน ดังนี้1. กลุ่มวิชาพื้นฐานและเสริมการพยาบาล พัฒนารูปแบบการสอนจากแนวคิดการสร้างพลังอำนาจ โดยกำหนด Structure empowerment (รูปแบบการสอน การเสริมแรง/ให้กำลังใจ สื่อการเรียนรู้ การให้โอกาส) และกลยุทธ์ เพื่อสร้างพลังอำนาจให้แก่นักศึกษา (Psychological empowerment) นำสู่ผลลัพธ์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล ได้แก่ แบบวัดเจตคติต่อการปฏิบัติการพยาบาล และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติของตนเอง ผลการประเมิน พบว่า คะแนนเจตคติต่อการปฏิบัติการพยาบาลก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบไม่แตกต่างกัน คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลของตนเองในภาพรวมและทักษะรายข้อ อยู่ในระดับดี (คะแนนระหว่าง 3.51-4.50) ในส่วนทักษะศตวรรษที่ 21 ตามที่กำหนดในหลักสูตรยังเกิดขึ้นไม่ชัดเจน จำเป็นต้องพัฒนาต่อเนื่องในรายวิชาอื่น2. สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ พัฒนา TRIC-PRO model ซึ่งประยุกต์จากกรอบความคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การดำเนินงานผ่านการสร้างสิ่งประดิษฐ์ทางการพยาบาลที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย โดยอาจารย์มีบทบาทเป็นที่ปรึกษา และใช้เทคนิคสะท้อนคิด เพื่อเสริมสร้างให้นักศึกษามีสมรรถนะตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการสร้างนวัตกรรมทางการพยาบาล ยังขาดเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะอื่นตามที่หลักสูตรกำหนด ผลการประเมิน พบว่า มีสิ่งประดิษฐ์ทางการพยาบาลที่น่าสนใจเกิดขึ้นหลายชิ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริง อย่างไรก็ตามการประเมินผลทักษะศตวรรษที่ 21 ตามที่กำหนดในหลักสูตรยังไม่ชัดเจน3. สาขาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ Case method ในรายวิชาทฤษฎี ต่อเนื่องไปยังวิชาปฏิบัติ ลด Content-based มุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์บนหลักการมากกว่ามุ่งวิธีการที่เป็นขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล คือ แบบประเมินคุณธรรมจริยธรรมเชิงวิชาชีพ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของคณะฯ ผลการประเมิน แม้การดำเนินงานจะเป็นไปตามรูปแบบที่วางไว้แต่ประสิทธิผลยังไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนด (อยู่ระดับพอใช้ 60-69%) อย่างไรก็ตามการประเมินข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า นศ.มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก มีความเป็นผู้นำ สื่อสารเชิงวิชาชีพได้ดีขึ้น สามารถประสานและทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้เหมาะสม แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เหมาะสมมากขึ้น รวมทั้งปฏิบัติงานในวิถีใหม่ที่แตกต่างจากเดิมแต่ยังอยู่ภายใต้หลักการ เช่น การทำเตียงรับผู้ป่วยโดยพับผ้าห่มรูปหัวใจเพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยหลังกลับจากการผ่าตัด การใช้ QR code ให้ผู้ป่วยดาวน์โหลดเอกสารการให้ความรู้ซึ่งสามารถทบทวนได้ทุกที่ทุกเวลาที่ผู้ป่วยต้องการ เป็นต้น4. สาขาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง และสนับสนุนสื่อวิดิทัศน์ หุ่น Simulator และอุปกรณ์ที่จำเป็นแก่นักศึกษา โดยอาจารย์ใช้เทคนิคสะท้อนคิดเพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และค้นหาคำตอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบจาก เกรด การแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายของนักศึกษาในกลุ่มย่อย พบว่า ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เกรดของนักศึกษายังคงเดิม ยังต้องปรับปรุงเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ และเพิ่มสมรรถนะในการอภิปรายเชิงลึกให้กับนักศึกษา รวมทั้งการพัฒนาสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ยังไม่ชัดเจน5. สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช พัฒนารูปแบบการสอนโดยผสมผสานหลายแนวคิดกับประสบการณ์การสอนภาคปฏิบัติที่ผ่านมา กับกรอบแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (4R+7C) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลใช้แบบประเมินคุณธรรมจริยธรรมเชิงวิชาชีพ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของคณะฯ โดยปรับข้อคำถามบางข้อให้เฉพาะเจาะจงในการประเมินสมรรถนะที่ต้องการ ผลการประเมินด้านสมรรถนะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตามที่กำหนดในหลักสูตรยังเห็นผลไม่ชัดเจน ต้องพัฒนาต่อไป6. สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ Project-based learning ในงานการพัฒนาชุมชนที่ดูแล โดยปรับบทบาทนักศึกษาให้เป็นผู้ริเริ่ม ผู้เลือก/ผู้ตัดสินใจ และผู้สอนเป็นผู้กระตุ้น ผู้ใช้คำถามให้นักศึกษาสะท้อนคิด และผู้ให้คำปรึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของคณะฯ โดยปรับข้อคำถามบางข้อให้เฉพาะเจาะจงในการประเมินสมรรถนะที่ต้องการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ด้านการเป็นผู้นำยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ นักศึกษายังคุ้นชินกับวัฒนธรรมที่มีอาจารย์เป็นผู้กำหนด/บริหารจัดการในการสอนภาคปฏิบัติ ยังไม่มั่นใจที่จะริเริ่ม แสดงความเห็น กังวลเรื่องความถูกผิดและการสร้างสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยทำมาก่อน แม้จะมีแนวคิดในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ทางกายพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้รับบริการในชุมชนแต่ไม่สามารถเป็นผู้นำให้เกิดการเปลี่ยนความคิดในการปรับพฤติกรรมของคนในชุมชนได้ 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    แม้แนวคิดเริ่มต้นในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละสาขาจะแตกต่างกันแต่ทุกรูปแบบมีแก่นของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่า แก่นของกระบวนการพัฒนานักศึกษาสอดคล้องตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential learning theory: ELT) ของ David A. Kolb ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติ ทบทวนและสะท้อนคิดสิ่งที่ปฏิบัติจนตกผลึกความคิด รับรู้ถึงความรู้ใหม่ที่ตนเองได้รับ และนำไปต่อยอดความรู้เดิมที่มีหรือนำไปปรับใช้ในสถานการณ์อื่นๆ หมุนเวียนเป็นวงจรไม่สิ้นสุด ดังนั้น ความรู้ที่เกิดขึ้นจะถูกเปลี่ยนแปลง ขยาย ต่อยอดตลอดเวลา ทำให้นักศึกษาพบเจอความรู้ใหม่ๆ และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การถอดบทเรียนเพื่อค้นหารูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของวิชาชีพในครั้งนี้ จึงมีรากฐานจากแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ผสานกับแก่นข้อมูลความรู้ที่ได้จากการอภิปรายในการเสวนา     สามารถสรุปเป็นรูปแบบการสอนภาคปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของวิชาชีพซึ่งคณะฯ จำเป็นต้องนำไปทดลองใช้ซ้ำในปีการศึกษาต่อไป โดยรูปแบบการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่เหมาะสมสามารถวาดเป็นแผนภูมิ ประกอบด้วยวงกลม 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความสัมพันธ์กัน1. วงกลมในสุด เป็นแก่นของกระบวนการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ ที่จำเป็นต้องเน้นที่ Core concepts มากกว่าวิธีการปฏิบัติ เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินของโรคมีการเปลี่ยนแปลงไป ร่วมกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้วิธีการปฏิบัติมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามหลักการของการดูแลบุคคลทั้งในระยะส่งเสริม ป้องกัน ดูแล และฟื้นฟูยังคงเดิม นักศึกษาจึงจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่เป็นแก่นของความรู้แท้จริงที่ถูกต้องแม่นยำ2. วงกลมชั้นที่ 2 เป็นกระบวนการพัฒนานักศึกษาจากประสบการณ์ที่ฝึกปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาเข้าถึงแก่นความรู้ที่จำเป็นในวิชาชีพ และสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (ทักษะการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจทางคลินิก ทักษะการสื่อสารทั้งเชิงวิชาชีพและสังคม การเป็นผู้นำหรือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพให้กับผู้รับบริการ และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล) โดยกระบวนนี้ประยุกต์มาจากแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ กระบวนการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่    2.1 Experiencing เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ โดยอาจารย์ผู้สอนเลือก/กำหนดประสบการณ์ที่จำเป็นต้องได้รับซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา ประสานบุคลากรสุขภาพในแหล่งฝึก และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริงทั้งในสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง โดยอาจารย์มีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ/ผู้ให้คำปรึกษา/ผู้เอื้ออำนวย และใจเย็นอดทนรอ เพื่อให้นักศึกษาผ่านประสบการณ์ครั้งนี้ก่อนก้าวสู่ระยะที่ 2 ต่อไป    2.2 Reviewing and Reflecting เป็นขั้นตอนที่นำประสบการณ์การปฏิบัติที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนจุดเด่น จุดด้อย ความรู้สึกของการปฏิบัติ ค้นหาแนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติครั้งต่อไป ซึ่งนักศึกษาต้องดำเนินการทั้งในระดับของตนเอง และระดับกลุ่มเพื่อนที่ฝึกปฏิบัติผ่านช่องทางการ Post-conference ในแหล่งฝึก และสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่ม หากเป็นประเด็นที่ไวต่อความรู้สึกอาจพูดคุยกับอาจารย์ผู้สอนตามลำพัง ขั้นตอนนี้อาจารย์ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นโดยใช้คำถามหรือใช้กระบวนการกลุ่มที่เหมาะสม ในบรรยากาศที่ยืดหยุ่น ผ่อนคลาย ไม่กดดัน ทำให้นักศึกษารู้สึกว่าอาจารย์เป็น safe zone ของนักศึกษา และแต่ละคนในกลุ่มเป็น safe zone ซึ่งกันและกัน เสริมพลังให้นักศึกษาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ช่วยให้นักศึกษาตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง ชี้แนะช่องทางการไปถึงเป้าหมาย ยกตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับการปฏิบัติของนักศึกษา ช่วยให้นักศึกษารับรู้ว่า “การไม่รู้ ไม่ผิด” “การไม่รู้ ไม่ทำให้เสียหน้า” “ทุกวันที่ฝึกปฏิบัติ คือ วันแรกที่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ” นอกจากนี้อาจารย์ต้องไม่ตัดสินนักศึกษาว่า ถูก/ผิด ได้/ตก แต่ควรสนับสนุนและเปิดโอกาสและเป็นผู้ฟังที่ดี สอดแทรกทัศนคติหรือจริยธรรมในการดูแลตามโอกาสที่เหมาะสม และสร้างวัฒนธรรมของการ Respect ซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างให้นักศึกษา “เกรงใจ แต่ไม่กลัว”    2.3 Thinking and Concluding เป็นขั้นตอนที่นักศึกษาต้องไตร่ตรอง แยกแยะ เปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มา เพื่อตกผลึกองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับในครั้งนี้ ขั้นตอนนี้อาจารย์มีบทบาทน้อยเนื่องจากการจัดวางองค์ความรู้ใหม่ต้องกระทำด้วยตัวของนักศึกษาเอง แต่ละคนจะใช้เวลาแตกต่างกัน หรือบางคนอาจไม่สามารถสรุปความรู้ใหม่ที่เรียนรู้ได้เลย อาจารย์ควรติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษาแต่ละคน และชี้แนะแนวทางให้นักศึกษาบางคนเพื่อให้สามารถตกผลึกองค์ความรู้ด้วยตนเองให้ได้    2.4 Acting (Tryout) เป็นขั้นตอนที่นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติซ้ำอีกครั้งบนพื้นฐานขององค์ความรู้ที่ตนเองค้นพบ จึงคล้ายกับเป็นการทดลองนำความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้นไปใช้จริง เพื่อพิสูจน์ว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ อาจมีการปรับเปลี่ยนความรู้ที่ใช้ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมุนวนเป็นวงจรไม่สิ้นสุด และเกิดองค์ความรู้ใหม่ตลอดเวลา แม้จะเป็นการปฏิบัติในทักษะเดิมก็ตาม3. วงกลมชั้นที่ 3 เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลในการส่งเสริมให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ภาคปฏิบัติของนักศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด การถอดบทเรียนจากการเสวนาผลการนำรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละสาขาไปทดลองใช้ สรุปปัจจัยที่มีอิทธิพลได้ดังนี้    3.1 Flexibility หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นมุ่งเน้นหลักการและผลลัพธ์ (เน้นหลักการ ไม่เน้นวิธีการ) ไม่ตัดสินถูกผิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของตนและส่งเสริม/กระตุ้นให้นักศึกษาไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ โดยอาจารย์ช่วยปรับให้เป้าหมายของนักศึกษาเข้ากับวัตถุประสงค์ของวิชาและวิชาชีพ สร่างบรรยากาศให้ทุกคนทำงานประสาน ช่วยเหลือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษารู้สึกปลอดภัยที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ในกระบวนการพัฒนาผู้เรียนจากประสบการณ์    3.2 Consistency อาจารย์อดทน ใจเย็น ให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรง อย่างไรก็ตามต้องมีเงื่อนเวลาและกำหนดระดับที่ชัดเจน ซึ่งอาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องเข้าใจและปฏิบัติในแนวทางเดียวกันด้วยความสม่ำเสมอ จริงจัง จนกลายเป็นค่านิยมที่ยึดถือ    3.3 Empowerment อาจารย์สนับสนุนให้นักศึกษารับรู้สมรรถนะของตนเอง สนับสนุนให้คิดวิเคราะห์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลผู้รับบริการในเรื่องที่ไม่เป็นอันตรายเพื่อสร้างความภาคภูมิใจและความมั่นใจในความสามารถของตนเอง สนับสนุนแหล่งประโยชน์/สื่อ/เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ผ่านวิธีการสอนที่หลากหลายเหมาะสมกับลักษณะวิชา เช่น การสร้างนวัตกรรม case method, project-based เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ สื่อสารความคิด ให้ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ ฝึกตัดสินใจในขอบเขตของวิชาชีพ และการเป็นผู้นำ/ผู้ตามที่ดี โดยอาจารย์ใช้คำพูด ท่าที ในการสร้างพลัง/เสริมแรงให้นักศึกษาก้าวไปสู่เป้าหมายที่คาดหวัง    3.4 Safe zone creation ความรู้สึกปลอดภัยจะเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้สอน อาจารย์สามารถสร้าง safe zone ระหว่างอาจารย์-นักศึกษา นักศึกษา-นักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติงานร่วมกันได้โดย อาจารย์สนับสนุน/ชี้แนะ/ให้คำปรึกษา/ให้กำลังใจเพื่อสื่อให้นักศึกษารับรู้ว่า “อาจารย์ช่วยเหลือ ไม่ใช่ประเมินได้-ตก หรือตัดสินถูก-ผิด” เป็น role model ทั้งทางวิชาชีพและการ respect ซึ่งกันและกัน (อาจารย์-นักศึกษา นักศึกษา-นักศึกษา อาจารย์-บุคลากรสุขภาพ นักศึกษา-บุคลากรสุขภาพ) ใจกว้าง ใจเย็น ควบคุมอารมณ์ในทุกสถานการณ์ที่พบในแหล่งฝึก สร้างวัฒนธรรมการรับรู้ว่า “ความไม่รู้ ไม่ใช่ความผิด แก้ไขได้ด้วยการค้นคว้า” “ทุกวันที่ฝึกปฏิบัติ คือ วันแรกที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ” “การปฏิบัติทั้งที่ไม่รู้ อาจทำให้เกิดความผิดที่ยากจะแก้ไข” ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่แต่ละสาขาพัฒนาขึ้นเป็นไปตามความคาดหวังเพียงส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งหมด คือ สร้างสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (ทักษะการตัดสินใจทางคลินิก ทักษะการสื่อสารเชิงวิชาชีพและสังคม ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ภาวะผู้นำและการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง) อย่างไรก็ตามผลจากการถอดบทเรียนในการเสวนาครั้งที่ 5 ทำให้คณะฯ ได้ (ร่าง) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่น่าจะเหมาะสมกับบริบทการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของคณะฯ แต่ควรมีการดำเนินการต่อเนื่อง ดังนี้1. เผยแพร่ (ร่าง) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณาจารย์ ทราบ เพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน2. พัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะด้านเทคนิคการสอนโดยใช้ Questioning, Reflecting กระบวนการกลุ่ม และเทคนิคการสร้างความรู้จากประสบการณ์3. มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนดบันไดสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของแต่ละชั้นปี และปรับปรุงแบบประเมินผลการสอนภาคปฏิบัติ ให้ครอบคลุมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้สาขานำไปทดลองใช้4. กำหนด/กระตุ้นให้ทุกสาขานำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่ได้จากการถอดบทเรียน ไปทดลองใช้ เก็บรวบรวมข้อมูล และนำเข้าสู่การเสวนาครั้งต่อไป ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 :KR 1.4.1, KR 1.4.2, KR 1.4.5 อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          ตามหลักการอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานับเป็นหนึ่งในมาตรฐานหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรวมไปถึงมาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีความเป็นมืออาชีพทั้งในทางด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล โดยกำหนดไว้ว่าอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานั้นนอกจากจะต้องเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถเป็นเลิศในการจัดการเรียนและการสอน และมีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไปแล้วนั้น ยังต้องได้รับการพัฒนาทางวิชาการและวิชาชีพ โดยเน้นกระบวนการทำงานและการสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามได้ตามความคาดหมาย         ความสำคัญในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาไม่เพียงแต่เป็นการสนองนโยบายหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย รวมทั้งกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2565-2569 (แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่) แต่ยังเป็นวิธีการประเมินตนเองอย่างเป็นเป็นรูปธรรมในกระบวนการการทำงานว่าได้ทำสิ่งใดบ้าง อย่างไร และได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่         ดังนั้น ประเด็นสำคัญของการพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานั้นขึ้นอยู่กับการทบทวนวิธีการและและสะท้อนประสบการณ์ในกระบวนการสร้างและรักษามาตรฐานของการทำงานสู่ระดับการยอมรับในความเป็นมืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาตั้งแต่ในระดับสถาบันจนถึงระดับชาติ ซึ่งรวมถึงการสร้างการยอมรับและความน่าเชื่อถือให้กับวิชาชีพ สาขาวิชา รวมไปถึงหลักสูตรที่รับผิดชอบในทุกๆด้าน ตั้งแต่การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานฯและสาขาวิชาชีพ ดังนั้นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนาตเองสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนา ความรู้ ทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : เจ้าของความรู้ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : – วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การพัฒนาตนเองสู่ความเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจในความเป็นตัวตน บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะอาจารย์ผู้สอน การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การทำวิจัย และการบริการวิชาการ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอบถามความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ในหลักสูตรและสาขาวิชา เพื่อสร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศที่ดีในการการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ซึ่งการปฏิบัติภาระหน้าที่และการวางแผนการพัฒนาตนเองให้เข้ากับเกณฑ์ต่างๆนั้นจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป อาทิ การสร้างผลงานด้านการบริหารหลักสูตร ด้าการสอน ด้านการส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา โดยพิจารณาเกณฑ์ต่างๆไปทีละประเด็น จัดลำดับความสำคัญของงาน โดยประยุกต์งานประจำให้เหมาะสมกับเกณฑ์เหล่านั้น และดำเนินงานตามแผนการพัฒนาตนเองที่ได้กำหนดไว้ให้สำเร็จลุล่วง โดยวิธีการดำเนินการสามารถแบ่งงานออกเป็นด้านๆ ดังนี้   1. งานด้านการสอน อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาอาจารย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการออกแบบการสอน การวางแผนการสอน การประเมินผลการสอน ตามเกณฑ์ TQF และจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบและวิธีการสอนที่เหมาะสมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   2. งานด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษา โดยหน้าที่หลักคือการดูแลนักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นทำวิทยานิพนธ์จนเสร็จสิ้นกระบวนการที่นักศึกษาสามารถยื่นจบการศึกษาได้ อาจารย์ต้องวางแผนการทำวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษาในความรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ มีการให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะแนวทาง ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง พร้อมทั้งให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยของนักศึกษา ตลอดจนการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอและการให้ความสำคัญแก่นักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน   3. งานด้านการบริหารหลักสูตร อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องบริหารจัดการ กำกับดูแล ในฐานะผู้อำนวยการหลักสูตร ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยศึกษาเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ให้ชัดเจน รู้แจ้ง ทำความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตร จัดการเรียนการสอน และมาตรฐานการรับรองหลักสูตรปริญญาโททางการบริหารการศึกษาของคุรุสภา   4. งานด้านการบริการทางวิชาการ อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องมีการบริการทางวิชาการ เป็นส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา โดยอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องสละเวลา อุทิศตน สร้างเครือข่ายโดยให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำงานกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกสถาบัน โดยการใช้ความรู้ ความสามารถของตนในการช่วยเหลือ ส่งเสริม และให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตัวอาจารย์เองแล้วนั้น ยังเป็นการสร้างความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานภายในและภายนอกอื่นๆ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถเป็นเลิศในการจัดการเรียนและการสอน มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไปนั้น จะต้องมีผลงานด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการสอน ด้านการส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา ด้วยเหตุผลที่ว่าหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นหลักสูตรที่ต้องพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาการชีพเฉพาะด้านที่ลุ่มลึก โดยมุ่งหวังให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเองจากการศึกษาค้นคว้าวิจัย และสามารถนำองค์ความรู้และผลของการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพ ไปจนถึงการพัฒนาเยาวชน และสร้างความเข้มแข็งให้สังคม และประเทศชาติ โดยผลการดำเนินการสามารถแบ่งงานออกเป็นด้านๆ ดังนี้    1. งานด้านการสอน อาจารย์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการออกแบบการสอน การวางแผนการสอน การประเมินผลการสอน และจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบและวิธีการสอนที่เหมาะสมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยอาจารย์จะต้องกระตุ้นผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่นำไปใช้ได้จริงในการประกอบวิชาชีพ ผลที่ได้คือนักศึกษาทุกคนสามารถวัดผลการประเมินรายวิธิผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป    2. งานด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาอย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในบางกรณีที่นักศึกษามีข้อจำกัดบางประการ ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาชาวจีนที่เข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรจะต้องเรียนและทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งนอกจากจะต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ และคอยชี้แนะ แนะนำการทำวิทยานิพนธ์ที่ต้องเขียนเป็นภาษาไทยให้เป็นไปตามมารตฐานการวิจัยแล้วนั้น อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องคอยให้กำลังใจ กระตุ้น และคอยติดตามนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอไม่ให้ขาดการติดต่อซึ่งส่งผลให้นักศึกษาสามารถสอบผ่านวิทยานิพนธ์ได้ในระดับดีเยี่ยม สามารถนำบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับในระดับ TCI 1 จนได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2565 ทำให้นักศึกาสามารถจบการศึกษาตามกำหนดภายในระยะเวลา 2 ปีการศึกษา   3. งานด้านการบริหารหลักสูตร งานสำคัญของการบริหารหลักสูตรนอกเหนือจากการวางแผนการดำเนินงาน การจัดการดูแลหลักสูตรให้สามารถดำเนินงานไปอย่างราบรื่นแล้วนั้น หน้าที่ที่สำคัญคือการเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้ได้รับการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาจากคุรุสภา ทั้งนี้การได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรปีปรับปรุงปีการศึกษา 2560 และหลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2565 เพื่อให้ได้รับการรับรองอย่างต่อเนื่องถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด โดยการที่หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภาเท่านั้นที่จะทำให้นักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตร สามารถขอรับใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษาได้ เมื่อจบการศึกษาจากหลักสูตร โดยกระบวนการการพัฒนาหลักสูตรทั้งหมดนั้นจะต้องศึกษากฎเกณฑ์ระเบียบและข้อบังคับเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การขอรับรองหลักสูตรเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา ซึ่งปัจจุบันนี้หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาได้รับการรับรองหลักสูตรฯ จากคุรุสภาเป็นรอบที่ 2 เป็นที่เรียบร้อย โดยที่รอบที่ 1 เป็นการรับรองหลักสูตรฉบับปรับปรุงปี 2560 (ครอบคลุมปีการศึกษา 2560 – 2564) และรอบที่ 2 หลักสูตรฉบับปรับปรุงปีการศึกษา 2565 (ครอบคลุมปีการศึกษา 2565 – 2569) นั่นหมายถึงมหาบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา แผน ก ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษาจากคุรุสภา เพื่อไปสอบชิงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตอย่างแน่นอน  4. งานด้านการบริการทางวิชาการ การบริการทางวิชาการเป็นการส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องสละเวลา อุทิศตน สร้างเครือข่ายโดยให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำงานกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกสถาบัน โดยการใช้ความรู้ ความสามารถของตนในการช่วยเหลือ ส่งเสริม และให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตัวอาจารย์เองแล้วนั้น ยังเป็นการสร้างความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานภายในและภายนอกอื่นๆ อีกด้วย อาทิ การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (ภาคกลาง) เพื่อร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาทั้งองค์ ความรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาของประเทศไทย การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 ของมหาวิทยาลัยรังสิต การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และการได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินรายการงานรังสิตวิชาการ ในการเสวนาเรื่อง นวัตกรรมการศึกษาของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคปัจจุบัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนผู้ร่วมวิชาชีพให้มีการพัฒนาวิชาชีพและการบริหารงานทางด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาควรจะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมวิชาการ ดังนี้    1. การให้บริการวิชาการในฐานะการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความในวารสารต่างๆ อาทิ การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความของวารสารต่างๆ ในฐาน TCI อาทิ วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (TCI1), วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TCI1), วารสาร ASEAN Journal of Management & Innovation มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด (TCI2), การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สสอท., การนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติและงานบริหารการศึกษาสัมพันธ์ ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย    2. การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาโครงร่างการวิจัยเพื่อในการรับรองจริยธรรมการวิจัย     3. การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงานทางการศึกษาต่างๆ การตัดสินผลงานของครู เพื่อนำเสนอในงานรังสิตวิชาการ (RSU Academic Expo/Conference) ซึ่งการให้บริการทางวิชาการเหล่านี้นั้นถือเป็นการสร้างความร่วมมือทางวิชาชีพ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถาบันและหน่วยงานอื่นๆ อันก่อให้เกิดเครือข่ายทางวิชาชีพที่เข้มแข็ง การให้บริการวิชาการโดยเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อดําเนินแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และภารกิจตามมาตรา 5 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 โดยการจัดบริการวิชาการ โครงการโรงเรียนสุขภาวะ ตําบลหลักหก จังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ โดยเริ่มต้นพัฒนาจากผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) กับโรงเรียนก่อน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน เป็นใช้องค์ความรู้และความสามารถของอาจารย์ในการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทํางานให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันใน 3 ประเด็นหลักคือ    1) ร่วมสร้างแผนพัฒนาโรงเรียน (School Improvement Plan/ SIP)    2) ร่วมออกแบบกระบวนการทํางานในโรงเรียนให้เกิดความยั่งยืน และ    3) ร่วมเรียนรู้การทํางานเป็นทีมโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community/ PLC) ซึ่งการร่วมมือกันดังกล่าวนี้จะช่วยใหกลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากการรอรับนโยบาย และการสั่งการเป็นการมีส่วนร่วมรับผิดชอบการบริหารจัดการด้วยตัวเองมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนตามสภาพจริง ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะพัฒนาสุขภาวะของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ตําบลหลักหก เพื่อพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ให้เป็นโรงเรียนสุขภาวะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนในพื้นที่ตําบลหลักหก อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการที่สถาบันอุดมศึกษาจะเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ตลอดจนการให้คำแนะนำ ปรึกษา และชี้แนะผู้บริหารสถานศึกษาให้การบริหารสถานศึกษาได้อย่างราบรื่นและมีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติอีกด้วย 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    สรุปประเด็นสำคัญที่ได้ ดังนี้คือ 1. อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพ มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ และมีการพัฒนาตนเองทางวิชาการและวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ2. อาจารย์มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป3. อาจารย์มีเครือข่ายความร่วมมือในสาขาวิชาชีพ4. อาจารย์มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิและมีผลงานเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินผลประจำปีของมหาวิทยาลัย 5. อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการกำกับดูแลช่วยเหลือนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ6. อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการกำกับดูแลช่วยเหลือสังคมวิชาการ7. อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการทำโครงการช่วยเหลือครูในชุมชนและพัฒนาสังคมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีคุณภาพในการทำงานได้ดีขึ้น8. การได้รับรางวัลนักบริหารการศึกษาดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ประเภทอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ค่อยๆ สั่งสม และปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ต้องอาศัยเวลา กำลังกาย กำลังใจ และความอดทน และความเชื่อมั่นว่าอาจารย์ทุกคนจะเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาที่ประสบความสำเร็จได้หากมีความมุ่งมัน ตั้งใจ ขยัน อดทน และอุทิศตน

Scroll to Top