ยุทธศาสตร์ที่ 2

ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.3.1 ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล คณะดิจิทัลอาร์ต หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเทคโนโลยี ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีการติดต่อเชื่อมโยงกันมากขึ้น เรียกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วชนิดทวีคูณจนยากจะคาดการณ์ได้ว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น การศึกษาในยุคนี้จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ ไม่ใช่เพียงแค่ชั่วคราวหากแต่ต้องมีการดำเนินการให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ดังเช่น วิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 อันส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของทุกสถาบันการศึกษาทั่วโลกจนต้องทำให้มีการปรับตัวคือ ได้มีการนำการเรียนการสอนแบบออนไลน์เข้ามาใช้อย่างจริงจัง สถานศึกษาหลายแห่งแม้ยังไม่เคยใช้ต่างพยามดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบทั้งห้องเรียนการศึกษาทั่วไปและห้องเรียนการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนด้านศิลปะส่วนใหญ่ส่งเสริมเป็นการสอนสำหรับเด็กปกติ ขณะที่เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากยังขาดสื่อการเรียนรู้ด้านศิลปะ จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว การออกแบบสื่อการสอนออนไลน์และการผลิตสื่อการสอนแอนิเมชันเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส จึงนับเป็นการส่งเสริมให้ประชากรทุกคนควรได้รับการสนับสนุนทางการศึกษา “การศึกษาไทย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (ครูกัลยา. ๒๕๖๓)        ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพหลายครั้ง แต่ยังมีสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาต่อไปคือ การเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นให้ได้ผลดังที่ควรจะเป็น เพราะทุกความสำเร็จจะเกิดผลได้หากมีพื้นฐานที่ชำนาญมั่นคง การศึกษาในยุคนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นร่วมกันว่า ต้องสามารถสร้างและพัฒนาคนให้มีทักษะหลายด้าน มีความพร้อมที่จะเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีปกติสุข        “เป้าหมายการศึกษาควรกว้างกว่าเพื่อการทำมาหากิน” การศึกษามักจะเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ทักษะทำงานหาเงินมาบริโภค การจัดการศึกษาซึ่งเป็นการลงทุนพัฒนาคนที่สำคัญที่สุด ควรมีเป้าพัฒนาพลเมืองให้ฉลาดทางปัญญา ทางอารมณ์ และสังคม เป็นทั้งคนมีความสุข ความพอใจ และเป็นพลเมืองที่ดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ใช่มีเป้าแคบๆ แค่ให้เก่งในแง่ทำงานที่ประสบความสำเร็จมาก มีรายได้สูง แต่อาจเป็นคนเห็นแก่ตัวมากกว่าส่วนรวม ไม่มีความสุข ความพอใจอย่างแท้จริง และไม่ได้ช่วยสร้างให้สังคมดีขึ้นด้วย (รศ.วิทยากร เชียงกูร. ๒๕๖๒. กรุงเทพธุรกิจ.)  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : โครงการวิจัยความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   1. เสนอรับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ   2. เสนอแผน/กิจกรรมการทำงาน ส่วนงานผลิตสื่อการสอนศิลปะ สื่อเเอนิเมชันเสริมทักษะศิลปะ สื่อเสมือนจริง    3. จัดกิจกรรมภาคสนามด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล/สื่อเสมือนจริงในรูปชุดแบบเรียนวาดระบายสี AR Painting กลุ่มเป้าหมายโรงเรียนที่มีห้องเรียนการศึกษาพิเศษจำนวน 10 แห่ง   4. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ RSU Cyber    5. ดำเนินงานผ่านสถาบันวิจัย มรส.   2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    การดำเนินการ / การนำไปใช้– จัดทำสื่อการสอนศิลปะ สื่อแอนิเมชัน ชุดแบบเรียนวาดระบายสีสื่อเสมือนจริง พร้อมแอปพลิเคชัน– จัดส่งมอบครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ให้สถานศึกษาจำนวน 10 แห่ง– จัดกิจกรรมภาคสนาม การสอนศิลปะสำหรับเด็กพิเศษ อุปสรรตและปัญหาในการทำงาน    1. ระยะเวลาในการดำเนินงานยังคงเป็นช่วงที่สถานการณ์ระบาดโควิด-19 ยังมีความรุนแรง หน่วยงานในมรส.ส่วนใหญ่ปิดทำการ ทำให้การติดต่อ เกี่ยวกับเอกสาร การเบิกจ่ายมีความล่าช้า    2. คณะทำงานบางท่านตรวจพบการติดเชื้อโควิด-19 ต้องเข้ารับการรักษาตัวทำให้การดำเนินงานส่วนผลิตสื่อแอนิเมชันเกิดความล่าช้า และต้องแก้ไขหลายครั้ง    3. เนื่องจากเป็นช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 การติดต่อโรงเรียนในกลุ่มเป้าหมายเป็นไปด้วยความลำบาก และไม่สามารถจัดกิจกรรมภาคสนามตามกรอบระยะเวลาเดิมได้ ทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาใหม่    4. เนื่องจากเป็นทุนวิจัยแรกของมรส. ที่ได้รับจากแหล่งทุนนี้ ซึ่งมีข้อระเบียบปฏิบัติไม่เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น การเบิกจ่าย แหล่งทุนโอนเงินเข้าบัญชีโครงการ และต้องการให้ มรส.ออกใบเสร็จรับเงิน ซึ่งมรส.ไม่สามารถออกใบเสร็จได้เนื่องจากเงินไม่ได้โอนเข้าบัญชีของมรส. ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันวิจัยและสำนักงานฝ่ายการเงิน ให้เจ้าของโครงการโอนเงินเข้าบัญชีมรส.เพื่อให้มรส.ออกใบเสร็จ และมรส.จะดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้ทางโครงการ (ซึ่งมีความล่าช้ามาก และตรงกับช่วงที่มรส.ปิดทำการ) 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    1. การจัดการเรียนการสอนศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอาร์ต สื่อเสมือนจริงไปช่วยจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษในระดับชั้นประถมศึกษา    2. ผลงานสื่อการสอนของโครงการได้รับการตอบรับในระดับดีมากจากกลุ่มเป้าหมาย     3. ประสบการณ์การดำเนินการติดต่อ/การนำเสนองานด้านการศึกษาพิเศษ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice            1. งานวิจัยที่สนับสนุนด้านการศึกษาพิเศษยังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับการศึกษาทั่วไป         2. จุดเด่นของโครงการคือเน้นไปใช้จริงในห้องเรียนการศึกษาพิเศษ          3. ได้รับผลสัมฤทธิ์เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้          4. ได้รับคำชมเชยจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากแหล่งทุน ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ Read More »

สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.2.1 สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development) ผู้จัดทำโครงการ​ อ.กัญจนพร โตชัยกุล ผศ.ดร นัฐพงษ์ มูลคำ คณะรังสีเทคนิค หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ แนวทางการสร้างนวัตกรรมวิจัยและขออนุสิทธิบัตร (นวัตกรรมทางด้านวัสดุป้องกันรังสี)         อุปกรณ์กันรังสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เป็นวัสดุที่ผลิตจากตะกั่วและมี Density ที่สูง ทำให้มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี มักใช้ในห้อง General X-ray, CT Scan, Cath Lab, X-ray C-arm, Operation Room หรือใช้ประกอบกับประตูกันรังสี ฉากกันรังสีภายในห้อง ตลอดจนฉากเลื่อนกันรังสีต่างๆ แต่เนื่องจากด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงและตะกั่วมีความเป็นพิษ จึงต้องการศึกษาคุณสมบัติของส่วนผสมสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบ (Iodine contrast media) และ epoxy resin ที่สามารถขึ้นรูปได้อย่างอิสระ รวมถึงศึกษาคุณสมบัติการในการดูดกลืนรังสีและพัฒนาไปสู่วัสดุที่ช่วยป้องกันรังสี          โดยสารทึบรังสีหมายถึงสารที่ใช้ในการตรวจทางรังสีวิทยาเพื่อให้เกิดความแตกต่างในการดูดกลืนรังสีระหว่างอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นที่อยู่ใกล้เคียง และสารทึบรังสีที่ใช้กันทางรังสีวินิจฉัยเป็นสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสี ซึ่งสามารถนำไปผสมในส่วนประกอบต่างๆ เพื่อขึ้นรูปสำหรับเป็นอุปกรณ์ป้องกันรังสี โดยเฉพาะผสมกับ epoxy resin ที่มีคุณสมบัติขึ้นรูปง่ายและส่วนผสมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นวัสดุกันรังสีดังกล่าวจะสามารถป้องกันรังสีในระดับพลังงานต่ำได้ และมีข้อดีในการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต น้ำหนักเบา ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถประยุกต์ขึ้นรูปในการสร้างเป็นอุปกรณ์ป้องกันรังสีในส่วนต่างๆของร่างกายได้ และผลลัพธ์สุดท้ายจะสามารถนำไปจดขออนุสิทธิบัตรที่ว่าด้วย เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อยและมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : –ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   1) อาจารย์ภายในคณะร่วมกันวางแผนดำเนินการต่างๆ สำหรับการแนวทางการเขียนขอทุนนวัตกรรมและสร้างผลงานนวัตกรรมที่สอดคล้องกับวิชาชีพรังสีเทคนิค   2) อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เตรียมสร้างผลงานนวัตกรรมรวมถึงขออนุสิทธิบัตร   3) เริ่มเตรียมบทความฉบับสมบูรณ์ (manuscripts) สำหรับส่งตีพิมพ์บทความ   4) อาจารย์ที่ได้รับการตีพิมพ์บทความและได้เลขอนุสิทธิบัติ จะมีการเปิดโอกาสให้อาจารย์ภายในคณะสามารถอภิปราย แลกเปลี่ยน ซักถาม ได้ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงานประโยชน์ต่อบุคลากร    1) เพื่อให้เป็นแนวทางการสร้างนวัตกรรมวิจัยและขออนุสิทธิบัตร    2) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างที่หลากหลายประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย    1) คณาจารย์คณะรังสีเทคนิคมีคุณภาพและสามารถพัฒนาผลงานทางวิชาการในรูปแบบนวัตกรรมวิจัย ร่วมถึงยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นที่รู้จักกว้างขว้างมากขึ้น    2) คณาจารย์คณะรังสีเทคนิคมีความรู้ด้านงานวิจัย และสอดคล้องกับแนวคิดงานวิจัยของมหาวิทยาลัย  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    การพาณิชย์: องค์ความรู้และเทคโนโลยีนี้ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมทางอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสี ทำให้เกิดต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Prototype) ในทางพาณิชย์ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนหรือหน่วยงานร่วมดำเนินการวิจัย    ภายในมหาวิทยาลัย: ความรู้เกี่ยวกับวัสดุป้องกันรังสีชนิดที่ปราศจากตะกั่ว ทำให้ได้วัสดุที่ผลิตจากสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันรังสีได้เทียบเท่าตะกั่ว ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมการสร้างวัสดุกันรังสีภายในประเทศและองค์ความรู้สามารถต่อยอดในงานวิจัยได้หลายด้านและสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้ทาง radiation protection ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและคณะรังสีเทคนิคในทางด้านวิชาการ: ความรู้เกี่ยวกับวัสดุป้องกันรังสีชนิดที่ปราศจากตะกั่ว ผลการศึกษาจะทำได้ได้วัสดุที่ผลิตจากสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันรังสีได้เทียบเท่าตะกั่ว ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมการสร้างวัสดุกันรังสีภายในประเทศและองค์ความรู้สามารถต่อยอดในงานวิจัยได้หลายด้าน และสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้ทาง radiation protection         ประโยชน์ในนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม: วัสดุป้องกันรังสีดังกล่าวเป็นชนิดที่ปราศจากตะกั่ว ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงการสร้างแนวคิดทางนวัตกรรม เพื่อพัฒนาไปใช้ในระดับคลินิกและเพิ่มประสิทธิภาพของนวัตกรรมของไทย โดยกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ได้แก่ ทีมผู้วิจัย, ภาคเอกชน, สหวิชาชีพที่อยู่ในสาขารังสีวิทยา รวมถึงสถานที่มีการใช้อุปกรณ์กันรังสี ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

สร้างนวัตกรรมงานวิจัย (Innovative Research and Development) Read More »

“คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย” สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2 “คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย” สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.เริงศักดิ์ แก้วเพ็ชร นางสาวกัญญ์กานต์ กุญโคจร นางสาวชวัลรัศมิ์ จตุเทน นายกิตติธัช ช้างทอง สถาบันศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคม ฝ่ายพัฒนาสังคมศิลปวัฒนธรรมและสิทธิประโยชน์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          มหาวิทยาลัยรังสิตจัดตั้งรายวิชาเรียน RSU184 คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย ทางสถาบันศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาสังคม ร่วมกับสถาบัน GEN.ED. มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้การเตรียมตัวสำหรับคนต่างรุ่น ในการเข้าสู่วัยสูงอายุ และสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ของประเทศไทย และสังคมโลก เข้าใจแนวคิดสูงวัยเชิงรุก (Active Aging) ซึ่งเป็นกรอบแนวนโยบายที่สร้างโดยองค์การอนามัยโลก ที่มุ่งเน้นในด้านสุขภาพกายและจิตที่ดี การมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและครอบครัว และการมีส่วนร่วมในสังคมเพื่อให้ผู้สูงอายุและคนต่างรุ่นได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมสูงวัยและสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคต พร้อมมีพื้นฐานในการเตรียมตัวทำธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้านกระบวนการคิด วิเคราะห์ การออกแบบธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม นำไปประกอบการใช้งานได้จริง และมีเข้าใจในปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและสามารถมีการจัดการการวางแผนอย่างเป็นระบบได้ดี แม้ท่ามกลางกระแสขอความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมแย่ลง รวมทั้งปัญหาโรคระบาดโควิค 19 โดยภาครัฐบาล มีมาตรการควบคุมการระบาดทั้งมาตรการปิดเมือง มาตรการรักษาระยะห่าง และภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซายาวนาน ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยรวมไปถึงพ่อค้ารายเล็กรายน้อยประเภทหาบเร่แผงลอยต้องเลิกขาย เนื่องจากขายไม่ได้เหตุเพราะกำลังซื้อไม่มี และส่วนหนึ่งต้องเลิกกิจการไปส่งผลกระทบหนักต่อกลุ่มคนเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่ขาดทักษะและผู้มีรายได้น้อย ขาดเงินออม มีภาระหนี้สูง จึงทำให้คนกลุ่มนี้ซึ่งโดยปกติมีรายได้น้อยอยู่แล้วก็ขาดรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงวิธีการรับมือกับวิกฤติและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ และไม่มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี         ผลการสำรวจจำนวนคนจนในปทุมธานี “คนจนเป้าหมาย” ในปทุมธานี คือ คนจนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เนื่องจากเป็นคนที่ได้รับการสำรวจว่าจน (survey-based) จาก ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และยังมาลงทะเบียนว่าจนอีกด้วย (register-based) จากข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ กระทรวงการคลัง สำหรับข้อมูลปี 2565 เป็นการบูรณาการข้อมูลระหว่าง จปฐ 2564 และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 จะพบว่า ความยากจนสามารถวัดได้ 5 มิติ ความยากจนสามารถวัดได้จากดัชนีความยากจนหลายมิติ หรือ ดัชนี MPI (Multidimensional Poverty Index) ที่พิจารณาจาก 5 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการรัฐ ซึ่งจะพบว่า ปัญหาของชุมชนตำบลหลักหก ยังคงเป็นเรื่องสุขภาพ และรายได้ คณะทำงานเร่งเห็นในการสร้างเสริม อาชีพ รายได้ ให้แก่ชุมชน โดยเริ่มจากชุมชนหลักหก จากการสำรวจปัญหา และวัตถุดิบรอบๆ ชุมชน คณะทำงานนักศึกษา มีความสนใจในกลุ่มชุมชนหลักหก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่รอบมหาวิทยาลัยรังสิต ปัญหาส่วนหนึ่งที่ค้นพบคือ ผักตบชวาในลำคลองของชุมชนตำบลหลักหกมีเป็นจำนวนมาก จนทำให้น้ำเกิดปัญหา น้ำเน่าเสีย มลภาวะทางอากาศ ชาวบ้านสูดดมเข้าไปทุก ๆ วัน ทำให้มีปัญหาในระบบการหายใจได้ คณะทำงานนักศึกษาจึงมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤติครั้งนี้ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ส่งเสริม อาชีพ รายได้ การกระจายโอกาสให้กับชุมชนหลักหก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงด้านอาชญากรรมต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการทำกระดาษสาจากผักตบชวาปลอดสารเคมี สีธรรมชาติ เพื่อใช้ในงานประดิษฐ์ ตกแต่งและงานฝีมือ จากการทำกระดาษสาผักตบชวาปลอดสารเคมีที่มีคุณภาพต่องานประดิษฐ์ มีความเหนียว ขนาดไม่บางหรือหนามาก เนื่องจากการขึ้นรูปเป็นดอกไม้ในการประดิษฐ์ จะต้องมีความเหนียว และขนาดพอดี ต่อยอดมาเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างรายได้ และสร้างแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างสุขภาวะ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤติครั้งนี้ โดยมุ่งเน้นทิศทางของการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ของแต่ละท้องถิ่นให้มีคุณภาพและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : รายวิชา RSU184 คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัยความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   1. ทีมอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาร่วมระดมความคิดดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของรายวิชาเรียนและให้สามารถเป็นโครงการที่ใช้งานได้จริง เกิดผลสัมฤทธิ์ระยะยาว จึงเริ่มต้นศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากรอบข้าง จึงได้เล็งเห็นปัญหาของชุมชนที่อยู่โดยรอบมหาวิทยาลัยรังสิต คือ ชุมชนหลักหก ได้เกิดปัญหา ผักตบชวาล้นคลอง ตามบทนำที่กล่าวไว้ข้างต้น การดำเนินงานของกลุ่มนักศึกษาได้เริ่มปรึกษาหารือเรื่องการจัดหาแกนนำชุมชนหลักหก โดยแกนนำนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง แกนนำชุมชนหลักหกมีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างไรบ้าง คณะทำงานนักศึกษาได้กำหนดคุณสมบัติดังนี้ แกนนำนักศึกษาและแกนนำชุมชนหลักหก ต้องมีคุณสมบัติพร้อมที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ดี และสามารถทำงานกับแกนนำของชุมชนได้ และต้องพร้อมที่จะเสืยสละเวลาทำเพื่อสังคมส่วนร่วมให้เกิดผลดีต่อชุมชนเป้าหมายได้อย่างสำเร็จ    2. จัดตั้งกลุ่มแกนนำ นำทีมนักศึกษา และกลุ่มแกนนำชุมชนหลักหกคณะทำงานนักศึกษาปรึกษาหารือเรื่องการคัดเลือกแกนนำนักศึกษา และแกนนำชุมชนหลักหก เพื่อที่จะดำเนินโครงการต่อเนื่อง    3. ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาจากผักตบชวาร่วมกันระหว่างคณะทำงานกับชุมชน จากนั้นอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษานำปัญหามาวิเคราะห์ว่าอยากจะทำอะไร แก้ไขปัญหานี้อย่างไร จึงได้เกิดเป็นแนวคิด “กระดาษสาจากผักตบชวา” เนื่องจากกระดาษสาเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ง่าย และมีต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำ หาได้ง่าย และยังสามารถต่อยอดจากกระดาษสาได้หลากหลาย    4. เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักศึกษาและชุมชนหลักหกให้เป็นวงกว้างในมหาวิทยาลัยรังสิต คณะทำงานลงมติในการจัดทำโปสเตอร์ เพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้กับนักศึกษาและชุมชนหลักหก โดยการจัดหาคนในวิชาเรียนออกแบบโปสเตอร์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับแกนนำนักศึกษาและแกนนำชุมชนหลักหก    5. คณะทำงานกลุ่มนักศึกษากำหนดบทบาทหน้าที่ของกลุ่มแกนนำนักศึกษาและแกนนำชุมชนหลักหก มีการพูดคุยถึงความถนัดของแต่ละแกนนำนักศึกษาและแกนนำชุมชนหลักหก ความพร้อม ความสนใจในการดำเนินโครงการ และตอบข้อซักถามและทำการทดสอบในการทำกระดาษสาผักตบชวาของกลุ่มแกนนำทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อวางกรอบการทำงาน ออกแบบกิจกรรมร่วมกับ    6. คณะทำงานกลุ่มนักศึกษาและแกนนำชุมชนหลักหก ร่วมศึกษาดูงานขั้นตอนการจัดทำกระดาษสาผักตบชวา พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างแกนนำนักศึกษา แกนนำชุมชน ณ ศูนย์ฝึกอาชีพมีชีวิต กศน. ต.หนองน้ำใจ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อนำมาทดลองทำกระดาษสาผักตบชวา และทำการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนหลักหกต่อไป    7. คณะทำงานกลุ่มนักศึกษา เข้ารับการการอบรมการให้องค์ความรู้ในด้านที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ระหว่างนักศึกษาและแกนนำชุมชนเบื้องต้น เพื่อนำมาปฏิบัติและถ่ายทอดต่อให้แก่ชุมชน โดยการอบรมการต่อยอดงานประดิษฐ์จากกระดาษสาผักตบชวา ให้เป็นดอกไม้ที่สวยงาม และมีความเป็นธรรมชาติปลอดสารพิษ พร้อมทั้งอบรมการจัดทำแผนธุรกิจเบื้องต้น ในการคำนวนหาต้นทุนของวัตถุดิบ อาทิ อุปกรณ์ที่จัดทำกระดาษสาผักตบชวา ค่าแรงต่างๆ จากการอบรม เรื่องการประดิษฐ์ดอกไม้จากกระดาษสาผักตบชวา กลุ่มแกนนำนักศึกษาและแกนนำชุมชนหลักหก    8. จัดทำกระดาษสาผักตบชวา หัวหน้าโครงการทำการชี้แจงการจัดทำกระดาษสาผักตบชวา โดยอธิบายถึงขั้นตอนการทำกระดาษสาผักตบชวา รวมถึงการแบ่งหน้าที่การดำเนินงานตามขั้นตอนการจัดทำกระดาษสาผักตบชวาร่วมกัน คณะทำงานนักศึกษา แกนนำชุมชน ชี้แจงขั้นตอนการทำกระดาษสาผักตบชวาให้ทุกคนได้รับทราบขบวนการแล้วนั้น ได้ทำการแบ่งหน้าที่ และลงมือทำ   9. การขึ้นรูปกระดาษสาจากผักตบชวาสำเร็จไปได้ด้วยดี ผลเป็นที่นักศึกษาและแกนนำชุมชนตั้งเป้าหมายไว้ เมื่อได้รูปร่างของกระดาษสาจากผักตบชวาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาหารือร่วมกันถึงข้อเสนอแนะ ข้อบกพร่องต่างๆ ในขั้นตอนการทำ รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ผสมในการขึ้นเป็นรูปกระดาษสาจากผักตบชวา ผลสรุปว่าทุกคนพอใจกับกระบวนการขั้นตอนการทำ รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ ทำให้การทดลองครั้งนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง    10. กลุ่มนักศึกษาร่วมกันประสานงานกับแกนนำชุมชนหลักหก ทำการประสานงานร่วมกับภาคท้องถิ่นในการจัดอบรมวิธีการทำกระดาษสาผักตบชวา การหารือร่วมกับตัวแทนชุมชนท้องถิ่นในการจัดอบรม ตามแผนการดำเนินงาน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ การใช้อุปกรณ์ สถานที่ และสร้างอาชีพ รายได้ให้กับท้องถิ่นจากการอบรม การหาภาคีเครือข่าย ประสานงานร่วมกับวัดบริเวณพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก    11. อาจารย์ผู้สอน กลุ่มนักศึกษา แกนนำชุมชน สรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ พร้อมส่งมอบโมเดลต้นแบบ กระดาษสาจากผักตบชวา พร้อมอุปกรณ์การขึ้นรูปกระดาษให้แก่ชุมชนได้ดำเนินงานต่อเป็นการสร้างสรรค์งานทางด้านงานวิจัยอีกทั้งสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชนให้มีความยั่งยืนต่อไป 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    จากการดำเนินงานโครงการการแก้ปัญหา ร่วมสร้างรายได้ แก่ชุมชนหลักหก ขับเคลื่อนโดยกลุ่มแกนนำนักศึกษาจากรายวิชาเรียน RSU184 คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย และกลุ่มแกนนำชุมชนหลักหก ผลการดำเนินการ นักศึกษาได้เรียนการทำงานร่วมกันของกลุ่มคน 3 วัย ซึ่งได้ผลสัมฤทธิ์ตรงตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาเรียนเป็นอย่างมาก นักศึกษาและคนในชุมชนส่วนใหญ่มีความถนัดในสิ่งประดิษฐ์ รวมทั้งมีความสนใจในการต่อยอดธุรกิจต่างๆ จึงมีความเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ในการจัดทำกระดาษสาผักตบชวา มีการสังเกตุ และการอยากทดลอง ในรูปแบบต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์    จากการทดลองกระดาษสาผักตบชวาประสบผลสำเร็จ แกนนำชุมชนหลักหก มีความสนใจในการประดิษฐ์ดอกกุหลาบ มากกว่าการจัดทำกระดาษสาผักตบชวา ตามความสนใจและความถนัดของตัวบุคคล โดยภาพรวมแกนนำนักศึกษา และแกนนำชุมชนหลักหก สามารถผลิตกระดาษสาผักตบชวาได้ในคุณสมบัติที่ต้องการ อาทิ ความเหนียว สี และลวดลายของกระดาษสา สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการผลิตกระดาษผักตบชวาจากการสังเกตุ การหาข้อบกพร่องต่างๆ จนสามารถทำกระดาษสาผักตบชวาสำเร็จสมบูรณ์พร้อมที่จะนำองค์ความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่นต่อไป คณะทำงานกลุ่มนักศึกษาทำการลงภาคสนามเพื่อทำการอบรมให้แก่ชาวบ้านชุมชนหลักหก ให้มีความรู้ความเข้าใจทุกขั้นตอน ให้ได้มาตรฐานกระดาษตามที่ต้องการ ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และสื่อต่าง ๆ อย่างมากมาย ด้านของปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการ คือระยะเวลาในการดำเนินโครงการน้อยเกินไปเนื่องจากรายวิชาเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 มีระยะเวลาการเรียนการสอนเพียง 4 เดือน ทำให้ระยะเวลาการดำเนินโครงการขาดความต่อเนื่องในระยะยาวนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินโครงการต่อได้ อีกทั้งความร่วมมือภาคท้องถิ่น ในเรื่องของผลประโยชน์ซับซ้อนในชุมชน 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่การเรียนรู้ของผู้เล่าเรื่องจากประสบการณ์ความสำเร็จดังกล่าว    การค้นคว้า ศึกษาการทำกระดาษสาจากผักตบชวาได้ผลสัมฤทธิ์ตรงตามวัตถุประสงค์ นักศึกษาและชุมชนสามารถแปรรูปผักตชวาที่เป็นปัญหาของชุมชนหลักหกออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เมื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาได้มองเห็นวัตถุดิบของชุมชนอีกอย่างหนึ่งคือ ต้นกล้วย ที่มีจำนวนมากในชุมชนหลักหก เมื่อนักศึกษามีความรู้ในการผลิตกระดาษสาแล้ว จึงได้ทำการทดลองนำเยื่อกล้วยมาเป็นกระดาษสาจากเยื่อกล้วยเพื่อสามารถเสร้างสรรค์ป็นงานประดิษฐ์ต่อไปได้ ผลสรุป ต้นกล้วย เยื่อกล้วย สามารถทำเป็นกระดาษสาได้ นักศึกษาจึงค้นพบองค์ความรู้ใหม่จากการทำวิจัยครั้งนี้คือ กระดาษสาจากเยื่อกล้วย ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice       โครงการสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่เกิดขึ้นจากรายวิชาเรียนควรได้รับความร่วมมือการสนับสนุนเริ่มจาก อาจารย์ บุคคลากรในคณะ/วิทยาลัย จนไปถึงระดับมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม เพื่อการดำเนินกิจกรรมนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อการพัฒนานักศึกษา และมหาวิทยาลัยสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาในด้านต่าง ๆ ต่อไป ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

“คนต่างรุ่นในสังคมสูงวัย” สู่งานวิจัยกระดาษสาผักตบชวา Read More »

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม ผู้จัดทำโครงการ​ อ.ดร.ภญ. นลินี ประดับญาติ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ บริบทหรือความเป็นมาของเรื่องที่เล่า          ในปัจจุบันด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 หรือภาวะมลพิษจากการกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (particulate matters 2.5; PM 2.5) ซึ่งทั้งสองปัจจัยทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว ในระยะเฉียบพลันการติดโรคโควิด-19 มีผลกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันหลายอย่างที่เป็นสาเหตุให้เกิดกระบวนการอักเสบและเป็นเหตุให้การทำงานของอวัยวะหลายระบบล้มเหลวได้ ส่วนฝุ่น PM 2.5 ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบ รวมทั้งมีผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าฝุ่นนี้เป็นปัจจัยต่อการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง พืชสมุนไพรไทยหลายชนิด ได้แก่ มะนาว ใบหญ้านาง ข่า พริกไทย ใบกัญชา ฯลฯ มีประวัติการใช้ตามภูมิปัญญาโดยใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารตลอดจนใช้สำหรับดูแลสุขภาพตลอดจนรักษาโรค ซึ่งมีผลการศึกษาในหลอดทดลองหลายการศึกษาที่สนับสนุนว่าพืชสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ลดกระบวนการอักเสบได้ ในบทบาทของการเป็นอาจารย์ผู้สอนทางด้านเภสัชวิทยาและพิษวิทยาที่จะต้องมีภาระทั้งการสอน และการทำวิจัยควบคู่ไปด้วย ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการใช้พืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในการบำรุง ดูแล รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา โดยบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาในรูปแคปซูลที่สะดวกต่อการรับประทาน ดังนั้นเพื่อสนับสนุนความปลอดภัยและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงได้มีการทำการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองเป็นเบื้องต้น ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการศึกษาวิจัยความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   วิธีการ/ขั้นตอน หรือกระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ        1. รวบรวมข้อมูล และทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ        2. ออกแบบการศึกษาที่รัดกุม ครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัยที่สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม        3. ดำเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้น และจัดทำรายงานการวิจัย        4. เผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ        5. นำผลการศึกษาที่ได้พัฒนาต่อยอดเพื่อศึกษาวิจัยต่อในระดับคลินิก และวางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงานเทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ    – กำหนดหัวข้อวิจัยที่ชัดเจน    – สร้างทีมวิจัย โดยชักชวนนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันพัฒนางานวิจัยที่สนใจ    – ขอทุนวิจัย และดำเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้นตามสัญญาทุน หากเกิดปัญหาหรืออุปสรรคจะขอคำปรึกษาจากทีมวิจัย และที่ปรึกษาโครงการวิจัยเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้    – เตรียมข้อมูลความพร้อมและทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ    – กำหนดของเขตการวิจัยที่ชัดเจ    – เลือกเครื่องมือในการดำเนินงานวิจัยที่เหมาะสม    – ดำเนินงานวิจัยตามกรอบแนวคิด และมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ละเอียดรอบคอบ    – เขียนบทความวิจัยเพื่อส่งตีพิมพ์ โดยเลือกวารสารวิชาการระดับนานาชาติคุณภาพสูงและอยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับเป็นอันดับแรก หากถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ จะนำข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิมาแก้ไขบทความวิจัย และส่งตีพิมพ์ในวารสารใหม่ที่คุณภาพลดหลั่นลงมาผู้ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดความสำเร็จ และบทบาทของบุคคลนั้น    – คณะนักวิจัยที่ร่วมดำเนินงาน    – ผู้บริหารของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต และบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป เป็นผู้สนับสนุนและให้โอกาสในการทำวิจัยอุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางในการแก้ปัญหา/อุปสรรคดังกล่าว     การศึกษาวิจัยนี้ใช้เซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของมนุษย์เป็นแบบจำลองในการศึกษา ปัญหาที่พบคือเซลล์เจริญเติบโตช้า ต้องเลี้ยงให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่สอดคล้องกันในแต่ละวิธีการศึกษาและแปลผลไปสู่การประยุกต์ใช้ในทางคลินิกผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น     ดำเนินการศึกษาวิจัยแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา ผลการวิจัยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เผยแพร่ผลงานผ่านสื่อสังคมและเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการวิจัยทางคลินิก 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่การเรียนรู้ของผู้เล่าเรื่องจากประสบการณ์ความสำเร็จดังกล่าว      เรียนรู้บริบทการดำเนินการวิจัยที่เน้นการทำงานเป็นทีม ที่ประกอบด้วยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขา เพื่อให้งานวิจัยสัมฤทธิ์ผลดีและประหยัดเวลาในการดำเนินงาน ดังนั้นการสร้างทีมวิจัยและเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้การดำเนินงานวิจัยในปัจจุบันต้องเน้นผลลัภย์ที่สร้างผลิตภัณฑ์และมูลค่าจากกวิจัย รวมทั้งการตีพิมพ์บทความวิจัยในปัจจุบันจะเน้นการศึกษาในเชิงลึกและเชิงบูรณาการศาสตร์หลายแขนง ทำปรับเปลี่ยนจากการดำเนินงานวิจัยในแนวกว้างเป็นการทำงานเชิงลึกและบูรณาการมากขึ้น เพื่อให้บทความวิจัยไม่ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์สมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติ) ของผู้เล่าเรื่อง      เกิดความเข้าใจแนวทางการดำเนินการวิจัยที่เน้นการสร้างทีมวิจัยที่มีคุณภาพ เน้นการดำเนินงานวิจัยที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สร้างผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าแทนที่แนวทางการวิจัยแบบเดิมที่สร้างองค์ความรู้เพียงมิติเดียว ตลอดจนการตีพิมพ์บทความวิจัย เกิดการเรียนรู้ความหลากหลายทักษะการทำวิจัยระหว่างผู้ร่วมวิจัย ทำให้เกิด การสั่งสมประสบการณ์การทำวิจัยในเชิงลึก บูรณาการองค์ความรู้และการมีบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ จึงได้รับเชิญให้พิจารณาบทความวิจัยจากวารสารต่าง ทำให้เป็นแนวทางในการสร้างงานวิจัยเรื่องอื่น ๆ ในอนาคตได้ ผลงานเชิงประจักษ์ของผู้เล่าเรื่อง คือ      ผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ BMC Complementary Medicine and Therapies ซึ่งอยู่ใน quartile 1 มีค่า impact factor 2.83 มีการแถลงข่าวเผยแพร่ผลงานวิจัย เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย และเตรียมโครงการวิจัยต่อยอดในระดับคลินิกต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          การดำเนินงานวิจัย สิ่งสำคัญที่สุดคือทำงานศึกษาข้อมูลให้มากสุดก่อนเริ่มต้นดำเนินการ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนอกจากจะทำให้นักวิจัยมีองค์ความรู้ที่กว้างแล้วยังทำให้สามารถค้นพบช่องว่างของงานวิจัยหรือข้อจำกัดของงานวิจัยอื่น ๆ ที่ผ่านมา (identify research gap) และทำให้ตั้งคำถามงานวิจัยที่เหมาะสมได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการเริ่มดำเนินโครงการวิจัยและออกแบบการทดลองที่สามารถตอบคำถามงานวิจัยได้ ในการดำเนินการวิจัยต้องมองภาพประโยชน์ของงานวิจัยที่จะเกิอดขึ้นว่าคืออะไร เพราะการมองเห็นคุณค่าที่ชัดเจน จะเป็นปัจจัยที่ทำให้นักวิจัยมีแรงขับเคลื่อนให้ก้าวผ่านปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงคือ เกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมในการดำเนินการวิจัยและคณะผู้ร่วมงานวิจัยก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดแนวคิดและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอภิปราย การตั้งคำถามที่สมเหตุสมผลที่ทำให้เกิดการค้นคว้าเพิ่มเติมการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลที่ได้จากการดำเนินการวิจัยที่จะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม Read More »

การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติอย่างมืออาชีพ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.1, KR 2.5.3 การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับ นานาชาติอย่างมืออาชีพ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ. ดร. คณิตศร เทอดเผ่าพงศ์ คณะบัญชี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​        ในการพัฒนาการร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างประเทศ จำเป็นต้องมีความรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้การทำงานในแต่ละขั้นตอนของแผนการดำเนินงาน รวมถึง Plan, Do, Check และ Action ประสบความสำเร็จ มีดังนี้       1. ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อวิจัยหรือประเด็นการวิจัยน่าสนใจ (Research knowledge) รวมถึงเข้าใจสภาวะปัจจุบันของการวิจัยในสาขานั้น ๆ การระบุช่องว่างการวิจัย และการกำหนดคำถามวิจัยที่ต้องการคำตอบ ความรู้นี้จะช่วยนำไปสู่ขั้นตอนการวางแผนและตรวจสอบว่าโครงการมีความเกี่ยวข้องและมีผลกระทบหรือไม่อย่างไร       2. ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างทีมงาน (Efficient collaboration between team members) การทำงานในโครงการวิจัยในระดับนานาชาติ ต้องการบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย รวมถึงเข้าใจพื้นหลัง ความเชี่ยวชาญ และเข้าใจถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมเนื่องจากเป็นการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายและหลายประเทศ ความรู้นี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ สร้างความไว้วางใจ และสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ      3. ความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์ (Software and application knowledge) เพื่อการทำงานร่วมกันและใช้เครื่องมือการจัดการโครงการในการแบ่งปันข้อมูล หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน นอกจากควรสามารถเขียนหรือกำหนดโปรโตคอลในการสื่อสารและการตัดสินใจเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกในทีมทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ      4. ทักษะการบริหารโครงการ (Project management skill) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งรวมถึงทักษะต่างๆ เช่น การวางแผน การจัดระเบียบ การมอบหมายงาน การติดตามความคืบหน้า และการปรับเปลี่ยนตามข้อเสนอแนะและข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากขั้นตอนการตรวจสอบ ทักษะเหล่านี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าโครงการจะเป็นไปตามแผนและทีมสามารถบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการวิจัยได้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : จากการทำงานในโครงการวิจัยร่วมกับต่างประเทศความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ขั้นตอนการวางแผนมีความสำคัญต่อความสำเร็จของความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติ เริ่มต้นด้วยการกำหนดขอบเขตของโครงการให้ชัดเจน รวมถึงเป้าหมายการวิจัย ระยะเวลา และงบประมาณ สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาความเชี่ยวชาญที่จำเป็นสำหรับโครงการและกำหนดผู้ทำงานร่วมกันที่มีศักยภาพ ซึ่งควรเป็นบุคคลที่สามารถนำเสนอมุมมองและมีทักษะทางการวิจัยที่จำเป็น เมื่อระบุผู้ทำงานร่วมกันที่มีศักยภาพแล้ว ให้ประเมินความเชี่ยวชาญและผลงานของผู้ร่วมงานนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ร่วมงานเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมกับโครงการ สร้างช่องทางการสื่อสารที่ชัดเจน เช่น การประชุมทางวิดีโอ อีเมล หรือซอฟต์แวร์การทำงานร่วมกัน และกำหนดโปรโตคอลสำหรับการแบ่งปันข้อมูล ผู้เขียน และการกำหนดเครดิต    นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบของสมาชิกในทีมแต่ละคน สุดท้าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนในทีมตระหนักถึงเป้าหมาย ลำดับเวลา และความคาดหวังสำหรับโครงการ ตลอดจนความรับผิดชอบของแต่ละคน 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    เมื่อวางแผนเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาเริ่มดำเนินการ โดยเริ่มต้นด้วยการกำหนดการประชุมออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเวลาและวันที่ที่เหมาะสมกับทุกฝ่าย ใช้การประชุมเหล่านี้เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความคืบหน้า ปัญหาอุปสรรค์ และวิธีการแก้ไขที่เป็นไปได้ กำหนดเนื้องาน กำหนดเวลา และกำหนดบุคลากรสำหรับงานแต่ละงาน เพื่อและให้แน่ใจว่าทุกคนเข้าใจหน้าที่ของตนเองได้อย่างชัดเจน ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการสร้างสรรค์และเครื่องมือจัดการโครงการเพื่อติดตามความคืบหน้าและสื่อสารกับสมาชิกในทีม นอกจากนี้ การตั้งตารางการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอกับสมาชิกในทีมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกในทีมได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอในการดำเนินงานของตน นอกจากนี้ การกำหนดโปรโตคอลสำหรับการสื่อสารและการตัดสินใจเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกในทีมทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ขั้นตอนตรวจสอบ      หัวหน้าโครงการวิจัยทำการตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอและการประเมินว่าโครงการกำลังเดินหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายหรือไม่ กำหนดตารางการรายงานอย่างสม่ำเสมอและใช้รายงานเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการติดตามความคืบหน้า และหากพบปัญหาหรือส่วนที่ต้องให้ความสนใจพิเศษเพิ่มเติม ควรให้การแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นด้วยความรวดเร็ว และเปิดรับข้อเสนอแนะและคำแนะนำจากสมาชิกในทีม ใช้ข้อเสนอแนะเหล่านี้ในการปรับปรุงโครงการตามความจำเป็น และให้แน่ใจว่าทุกคนในทีมรับทราบถึงการเปลี่ยนแปลง       นอกจากนี้ การประเมินว่าโครงการบรรลุเป้าหมายและทีมทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญด้วย หากเนื้องานตามโครงการไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้โครงการสามารถกลับมาเดินหน้าได้ต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการดำเนินการจากข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากขั้นตอนการตรวจสอบและใช้เพื่อขับเคลื่อนโครงการไปข้างหน้า ควรมีการปรับวิธีการหรืออาจปรับทีมงานตามความจำเป็น มีการติดตามความก้าวหน้า พร้อมทั้งเขียนรายงานความคืบหน้าและข้อเสนอแนะ ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยควรมีทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าโครงการจะสามารถบรรลุเป้าหมายการวิจัยและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และมีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ผลลัพธ์ และเรียนรู้จากปัญหาอุปสรรค หรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ทีมงานควรมีการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานระหว่างประเทศต่อไปอย่างสม่ำเสมอ โดยมองหาโอกาสในการแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบและหาโอกาสในการทำงานร่วมกันในโครงการในอนาคต         นอกจากนี้ ควรมีการบันทึกผลลัพธ์ของโครงการและแบ่งปันกับสมาชิกในทีม โดยรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีมแต่ละคน เอกสารนี้มีประโยชน์ในการประเมินโครงการและการสร้างความร่วมมือสำหรับโครงการในอนาคต ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติอย่างมืออาชีพ Read More »

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.3.7, KR 2.1.1, KR 2.1.2, KR 2.1.3, KR 2.1.4,KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.3, KR 2.5.1, KR 2.5.4 การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง ผู้จัดทำโครงการ​ 1) อ.ทพ. ณัฐวุฒิ ศุภชวโรจน 2) อ.ทพ. สิรวิชฐ์ เลิศชาตรีพงษ์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ผู้จัดทำโครงการ​​ 1) ผศ.ทญ.ดร. อุมาพร วิมลกิตติพงศ์ 2) ผศ.ทญ.จิรัฏฐ์ ศรีหัตถจาติ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           – ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : –ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : – วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การทำวิจัยจะทำงานร่วมกันเป็นทีม 2 คน โดยจะมีการแบ่งภาระงานกันชัดเจน เพราะถ้าทำวิจัยคนเดียวอาจทำให้ไม่สามารถส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ต่อเนื่องได้   – มีการสลับกันเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยผู้ร่วมวิจัยจะคอยช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษา ทำให้แบ่งเบา และดูแลทีมงานวิจัยได้อย่างทั่วถึง    – มีการวางโครงการวิจัยที่เหมาะสม และเป็นไปได้ โดยจะพิจารณาศักยภาพของทีมวิจัย เพื่อสร้างกรอบเป้าหมาย หัวข้อ ให้เหมาะสม และมีการดูแลความสัมพันธ์ในทีม เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย   – พิจารณาวารสารที่สนใจตีพิมพ์ตั้งแต่ต้น เพื่อให้มีเนื้อหา และรูปแบบงานวิจัยที่สอดคล้อง เพิ่มโอกาสในการได้รับการตีพิมพ์   – มีการแบ่งงานในทีมวิจัย โดยเฉพาะนักศึกษา โดยนักศึกษาโดยจะเป็นกำลังสำคัญในการที่จะช่วยดำเนินการทดลอง และทำให้เกิดผลขึ้นมา แต่ส่วนหลักของงานวิจัยเช่น การสรุปผลหรือการอภิปรายผล ทีมอาจารย์จะเป็นแกนหลัก 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    เนื่องจากนักศึกษาที่ร่วมทำการวิจัยเป็นชั้นปีที่เริ่มทำคลินิก มีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่าง ไม่ได้ทำวิจัยเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถทุ่มเทได้อย่างเต็มที่     อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ เป็นเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีอยู่ในมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องทำเรื่องขอใช้อุปกรณ์ ของสถาบัน ต้องวางแผนเพื่อจะให้นักศึกษาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและเสียเวลาที่จะใช้ในคลินิกของตัวเองที่จะต้องทำงานอยู่แล้วให้น้อยที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญ    การระบุปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งสำคัญ โดยทำให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนการวิจัย เพื่อให้แผนงานวิจัย ดำเนินได้เนื่อง และสำเร็จลุล่วงได้ 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    การพิจารณาผลงานที่ได้ และมีการปรึกษากันในทีม เพื่อต่อยอดในการเผยแพร่ผลงาน หรือส่งแข่งขันประกวดทั้งในงานวิจัย และนวัตกรรมในระดับอุดมศึกษา โดยจะพิจารณาถึงความตั้งใจของนักศึกษาร่วมด้วย จะมีการกระตุ้นทีมให้นำเสนอผลงานที่ตั้งใจทำ โดยในหลาย ๆ ครั้งพบว่า นักศึกษามีศักยภาพที่จะทำ และสามารถทำได้อย่างดี โดยทั้งนี้ความสัมพันธ์และทัศนคติที่ดี เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้มีความภูมิใจในผลงาน และพร้อมที่จะนำเสนอผลงาน เพื่อสร้างชื่อเสียงต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         – ควรพิจารณาการจัดสรรเวลาที่ชัดเจน โดยหากสามารถจัดช่วงเวลาของงานวิจัยอยู่ในช่วงที่นักศึกษาไม่ได้มีภาระหนักมาก สามารถให้ความสำคัญกับงานวิจัยได้เต็มที่ น่าจะทำให้ได้ผลงานตามที่ตั้งเป้าไว้        – การสนับสนุนด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะช่วยอำนวยความสะดวก และลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงต้นทุนการวิจัยที่จะลดลงอย่างมาก        – การมีสถาบันร่วมวิจัยที่เป็นทางการ อาจจะช่วยเพิ่มช่องทาง ในการติดต่อ หรือเพิ่มศักยภาพของงานวิจัยได้มากขึ้น 

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง Read More »

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept”

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.2, KR 2.5.2 เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : โครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ผู้จัดทำโครงการ​ อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุล วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​         หลายปีมานี้ยานพาหนะไฟฟ้ากำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในประเทศไทยหรือในตลาดโลก เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพาหนะทุกขนาด ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า,รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า, รวมถึงสกูตเตอร์ไฟฟ้า และในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีที่เหนือกว่าเครื่องยนต์สันดาปแบบดั้งเดิมทั้งในแง่ของการลดมลพิษ, ประสิทธิภาพของรถ,การประหยัดค่าใช่จ่ายทั้งในแง่การบำรุงรักษาและการชาร์จเทียบกับการเติมน้ำมัน      เป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่บริษัท Thai Frostech ได้พัฒนาและจำหน่ายสกูตเตอร์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Momen ได้เล็งเห็นการเติบโตของตลาด รวมถึงการเก็บเสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานจริงเพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานในกลุ่มผู้ใช้งาน สกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบยืนสมรรถนะสูง อย่างไรก็ตาม Momen ได้เล็งเห็นตลาดในกลุ่มของสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบนั่ง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มลูกค้าที่ต้องการรถสมรรถนะสูง ทั้งในแง่ของกำลังขับ ระบบความปลอดภัย ระยะทางสูงสุดต่อการชาร์จ รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นโจทย์ใหม่ที่ทาง Momen ต้องการเข้าไป      จากปัจจัยข้างต้น Momen จึงได้นำเสนอโครงการเพื่อขอเสนอรับทุน ยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกำลังดำเนินโครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ซึ่งจะเป็นสกูตเตอร์สมรรถนะสูง ที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่รักกิจกรรม โดยเรามีเป้าหมายที่จะสร้างรถสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบนั่งที่มีระบบขับเคลื่อนดีเยี่ยม มีความปลอดภัย ระยะทางสูงสุดต่อการชาร์จ สามารถถอดชิ้นส่วน เคลื่อนย้ายสะดวกใส่ในรถเก๋งได้ ปัจจุบันโครงการ Momen Mini Bike อยู่ในขั้นตอนการเตรียมผลิตต้นแบบ (Prototype) เพื่อนำไปทดสอบและปรับปรุง ก่อนผลิตและจำหน่ายจริง  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : https://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebaseความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. ศึกษาทุนด้านนวัตกรรม ยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม         1.1 ตรวจสอบคุณสมบัติ : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข้าเงื่อนไขและคุณสมบัติตามที่กำหนดในการสมัครโปรแกรม Prove of Concept” (POC) ดังกล่าวข้างต้น        1.2 พิจารณาผลงานปัจจุบันว่ามีความคล้องกับเงื่อนไขทุน และเจตนารมณ์ของโครงการหรือไม่ ซึ่ง Momen Mini Bike มีความสอดคล้องและเข้าเกณฑ์เพื่อรับทุนจากกองทุน TED FUND ในหลายด้าน ดังนี้ :              1)  “Prove of Concept (POC)”: Momen Mini Bike เป็นต้นแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาและนำไปสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับความต้องการของ TED FUND ในการสนับสนุน POC โครงการ            2) นวัตกรรมและเทคโนโลยี: Momen Mini Bike ใช้วัสดุอลูมิเนียม 7075, ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ, แบตเตอรี่ลิเธียม NMC, และระบบกล่องคอนโทรล Signwave ซึ่งเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอด            3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม: Momen Mini Bike ช่วยลดการใช้พลังงานทดแทน ลดมลพิษที่เกิดจากการขับขี่ และส่งเสริมการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมขนส่งที่สะอาด เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ รวมถึงส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม    2. เตรียมนำเสนอผลงาน        2.1 ทบทวนข้อมูลและเอกสาร: ตรวจสอบและทบทวนข้อมูลและเอกสารที่คุณมีอยู่ให้ครบถ้วนและถูกต้อง เช่น แผนธุรกิจ, แผนงานวิจัยและพัฒนา, ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง        2.2 จัดเตรียมสไลด์นำเสนอ: สร้างสไลด์นำเสนอ (PowerPoint หรือเครื่องมือนำเสนออื่น ๆ) เพื่อสื่อสารข้อมูลที่สำคัญในแต่ละด้านของโครงการ ให้เน้นความกระชับ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ        2.3 เนื้อหาสำคัญในการนำเสนอ :               • แนะนำทีมงานและความสามารถ: แสดงความสามารถของทีมงาน ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความกระตือรือร้นในการทำงาน             • อธิบายปัญหาที่โครงการต้องการแก้ไข: ชี้แจงปัญหาและความต้องการของตลาด และวิธีที่ Momen Mini Bike สามารถตอบสนองความต้องการนี้             • นำเสนอแนวความคิดของโครงการ: อธิบายวิธีการทำงานของ Momen Mini Bike และประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้             • แสดงผลการวิจัยและพัฒนา: นำเสนอผลของการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง  2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    2.1  อธิบายปัญหาอยางชัดเจน           ในกรณีของ Momen Mini Bike นั้นกำหนดปัญหาของสกูตเตอร์ในปัจจุบันไว้คือ         – Performance ประสิทธิภาพ เช่น ระบบขับเคลื่อน high performance มีน้อย, high end มีน้อย         – Design and Manufacturing การออกแบบและงานประกอบ         – Mobility การพกพาลำบาก         – ใช้ระยะเวลานานในการชาร์จไฟ         – ระยะทางในการขับขี่น้อย ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง (distance per charge)     2.2 นำเสนอแนวความคิดของโครงการเพื่อแก้ปัญหา           1. Performance : พิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับเคลื่อนและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาสกูตเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงและตรงกับความต้องการของผู้ใช้           2. Design and Manufacturing : ปรับปรุงการออกแบบและกระบวนการผลิตให้มีความเป็นระบบ ควบคุมคุณภาพสูง และให้สามารถประกอบและผลิตได้อย่างรวดเร็วและประหยัด           3. Mobility : พิจารณาการออกแบบให้สามารถพกพาได้ง่ายขึ้น อาจจะมีการใช้วัสดุที่น้ำหนักเบาและมีความแข็งแรง รวมถึงการออกแบบที่สามารถปรับขนาดหรือพับเก็บได้           4. การชาร์จไฟ : พิจารณาการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือนำเสนอวิธีการชาร์จที่เร็วขึ้น เช่น ใช้แหล่งจ่ายพลังงานที่มีความเร็วในการชาร์จเพิ่มขึ้น หรือวิธีการชาร์จแบบใหม่ที่สะดวกสบายและปลอดภัยขึ้น           5. ระยะทางขับขี่ต่อการชาร์จ : พิจารณาการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีความจุมากขึ้น เพื่อให้สามารถขับขี่ได้ระยะทางที่มากขึ้นต่อการชาร์จ 1 ครั้ง2.3 แสดงผลการวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน     ในการนำเสนอโครงการในรอบ POC ผู้นำเสนอควรมีตัวอย่างงาน ผลการวิจัยและพัฒนา ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อแสดงให้คณะกรรมการเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อ  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    โครงการได้รับคำชื่นชมในการนำเสนอที่โดดเด่น และเจ้าของโครงการมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง Momen Minibike อาจได้รับคำชมเรื่องการออกแบบเนื่องจากหลายปัจจัยดังต่อไปนี้ :    – ดีไซน์ที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์: Momen Mini Bike อาจมีการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร โดดเด่น และน่าสนใจ ทำให้คนสนใจ    – ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม: Momen Mini Bike นำเสนอความคิดใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการออกแบบ ทำให้มีความน่าสนใจและความคิดสร้างสรรค์    – ความสะดวกสบายและประสิทธิภาพ: การออกแบบของ Momen Mini Bike อาจสะท้อนถึงความสะดวกสบายในการขับขี่ ประสิทธิภาพในการใช้งาน และความปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่    – การพิจารณาเชิงตัวอย่างผู้ใช้: การออกแบบของ Momen Mini Bike นำเสนอโซลูชันที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ต่างๆ รวมถึงการพิจารณาเรื่องขนาด น้ำหนัก และรูปร่างของผู้ขับขี่    – การใช้วัสดุและส่วนประกอบที่มีคุณภาพ: การใช้วัสดุคุณภาพสูงและส่วนประกอบที่ทำงานได้ดี อาจทำให้ Momen Mini Bike ดูแล้วมีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ      อย่างไรก็ตามคณะกรรมการพิจารณาทุนได้ให้คำแนะนำ และชูจุดเด่นที่เรามีมากขึ้นได้แก่       – นำ Data ที่ได้จากเซ็นเซอร์ของรถ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น       – กรรมการพิจารณาตัดงบ จึงทำให้ไม่ได้งบเต็มจำนวนตามที่ขอ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice • Momen minibike ได้เพิ่มเติมจุดเด่นจากคำแนะนำของคณะกรรมการ เพื่อเพิ่มจุดเด่นและความแตกต่าง• โดยการเพิ่ม iOS, Android Application เพื่อใช้เช็คสถานะต่างๆของรถ• Testing & Quality Assurance• ระบบความปลอดภัยต่าง ๆ• ขอมาตรฐานอุตสาหกรรมและความปลอดภัย• เพื่อไม่ให้โครงการถูกตัดงบประมาณ ผู้เสนอโครงการควร• วิเคราะห์ความต้องการของโครงการ : สำรวจความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาและส่งเสริมโครงการ Momen Mini Bike ให้สำเร็จลุล่วง• วางแผนงบประมาณและต้นทุน : หาค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ โดยคำนึงถึงต้นทุนวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการทดสอบ การตลาด และการดำเนินงานอื่นๆ ให้สอดคล้องและไม่เกินวงเงินแต่ละหมวดหมู่• จัดทำงบประมาณเสนอขอทุน : จัดทำงบประมาณโครงการในรูปแบบที่เข้ากันได้กับข้อกำหนดของกองทุน TED FUND โดยแยกเป็นรายได้และรายจ่าย และคำนวณยอดขอรับทุน• ประเมินความเสี่ยงในงบประมาณ : วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับปรุงงบประมาณ และวางแผนในการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น• ตรวจสอบความสอดคล้องกับเกณฑ์และข้อกำหนดของกองทุน : ตรวจสอบว่างบประมาณและข้อมูลที่เสนอในการขอทุนสอดคล้องกับเกณฑ์และข้อกำหนดของกองทุน TED FUND รวมถึงการให้ความชัดเจนและครอบคลุม

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” Read More »

การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดออกแบบ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดออกแบบ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา นายปราโมทย์ ไกรยัน วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​         ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า เราอยู่ในยุคที่เรียกว่า สังคมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy and Society) ซึ่งเป็นแนวคิดของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ความรู้ การศึกษา วิจัย การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม และการสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าหรือบริการซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ รวมทั้งมีการใช้สินค้าหรือบริการเหล่านั้นอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย        การวิจัยการออกแบบ (Design Research) จึงเป็นกระบวนทัศน์การวิจัยที่เป็น “นวัตกรรมการวิจัย” แห่งศตวรรษ 21 ที่มุ่งไปสู่ “สังคมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ “การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม” ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับ “การคิดออกแบบ” (Design Thinking) ในทุกๆ ขั้นตอน โดยผู้วิจัยจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงปรัชญาการออกแบบ (Philosophy of Design) ที่เป็นระบบความเชื่อที่ใช้ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ หรือการเข้าถึงวิธีคิดและหลักการที่ใช้ในการออกแบบ หรืออาจเป็นการเข้าถึงผลงานทางความคิดที่ได้จากการออกแบบ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง (Insights) และมองเห็นถึงวิธีคิดในการออกแบบได้อย่างลึกซึ้ง       จากที่มาและความสำคัญของแนวคิดดังกล่าวข้างต้น ผู้เล่าเรื่องตระหนักว่า ทักษะการคิดออกแบบ เป็นทักษะการคิดในระดับสูงที่มีตัวร่วมหรือเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างความสามารถทางปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการที่สำคัญ อาทิ กระบวนการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ การค้นหาและทดลองวิธีการแก้ปัญหา รวมทั้งกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ยึดมนุษย์เป็นสำคัญ ผู้เล่าเรื่องจึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลโดยบูรณาการการคิดออกแบบร่วมกับกระบวนการวิจัยผ่านผลงานการสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัล เรื่อง “อาหารจากพืช”        ผู้เล่าเรื่องได้บูรณาการกระบวนการคิดออกแบบในงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัล เรื่อง “อาหารจากพืช” โดยมีรายละเอียด 5 ขั้นตอนดังนี้       ขั้นที่ 1 การสร้างความเข้าใจอารมณ์และความรู้สึก (Empathize) เป็นความสามารถในการเข้าถึงและเข้าใจความรู้สึก ปัญหา สถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเกิดจากการมีประสบการณ์ต่างๆ โดยลักษณะของความเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้มี 2 มิติคือ มิติทางจิตใจ และมิติทางปัญญา ซึ่งเป็นหัวใจของกระบวนการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ หรือการให้กลุ่มเป้าหมายออกแบบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและความต้องการของโจทย์ร่วมกัน ซึ่งในการสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัล เรื่อง “อาหารจากพืช” ผู้เล่าเรื่องมีวิธีการสร้างความเข้าใจ 3 วิธีการหลักๆ คือ การศึกษาข้อมูลและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การศึกษาสื่อเดิม และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารจากพืช       ขั้นที่ 2 การกำหนดปัญหา (Define) เป็นขั้นตอนของการนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นแรกมาใช้ประโยชน์ มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดปัญหาหลักซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทีมออกแบบในการทำความเข้าใจในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ผลของการวิเคราะห์ต้องเน้นการแก้ปัญหาของผู้ใช้เป็นสำคัญ เป็นขั้นตอนสำคัญที่สะท้อนถึงวิสัยทัศน์และความคิดของการนักแบบ ซึ่งควรมีทางเลือกของการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ไม่ควรแคบหรือกว้างเกินไป และควรมีความยืดหยุ่นตามบริบท ซึ่งผู้เล่าเรื่องได้สรุปและกำหนดประเด็นปัญหาและความต้องการออกเป็น 2 ด้านคือ ปัญหาและความต้องการด้านสื่อ และปัญหาและความต้องการด้านเนื้อหา      ขั้นที่ 3 การสร้างความคิด (Ideate) เป็นกระบวนการคิดนอกกรอบเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา โดยต้องคิดหา ทางเลือก (Alternative) ที่มีความหลากหลายผ่านมุมมองต่างๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในงานสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัล เรื่อง “อาหารจากพืช” ผู้เล่าเรื่องได้นำเสนอความคิดเชิงสร้างสรรค์สำหรับการแก้ไขปัญหาในรูปแบบของโจทย์การสร้างสรรค์ (Creative brief) และมีการออกแบบเนื้อหาโดยใช้แนวคิดผู้รับสารเป็นศูนย์กลาง (Audience-Centric) เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งมีการออกแบบสื่อ (Media design) รูปแบบของตัวละคร และฉากที่ต้องใช้ประกอบสำหรับสื่อการ์ตูนดิจิทัลอีกด้วย      ขั้นที่ 4 การสร้างต้นแบบ (Prototype) เป็นขั้นตอนของการสร้างแบบจำลองของงานต่างๆ เพื่อทดสอบว่างานดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำไปพัฒนาเพื่อใช้งานจริงได้หรือไม่ ซึ่งผู้เล่าเรื่องได้จัดทำต้นแบบของหน้าปก ตัวละคร และต้นแบบโครงสร้างของเนื้อหา      ขั้นที่ 5 การทดสอบ (Test) เป็นขั้นตอนของการนำต้นแบบและผลงานที่สร้างสรรค์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มเป้าหมายประเมินคุณภาพของสื่อที่ออกแบบและสร้างสรรค์ ซึ่งการทดสอบเป็นโอกาสที่ทำให้ผู้เล่าเรื่องเกิดการเรียนรู้ที่สำคัญถึงวิธีการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สื่อให้ตรงกับความต้องการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายได้  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยการออกแบบทางการศึกษา (Design Research in Education)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ : ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. บ่งชี้ความรู้ ผู้เล่าเรื่องรับรู้และตระหนักว่าความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลแนวใหม่คือ “การคิดออกแบบ” ซึ่งต้องนำมาใช้ควบคู่กับการทำงานวิจัยออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ    2. สร้างและแสวงหาความรู้ ผู้เล่าเรื่องมีการแสวงหาความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) จาก ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย หัวหน้าสาขาวิชามัลติมีเดีย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ และความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) จากเอกสารเนื้อหาความรู้จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการคิดออกแบบกับงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ    3. จัดการความรู้ให้เป็นระบบ ผู้เล่าเรื่องมีวิธีการจัดการความรู้ที่ได้รับมาให้เป็นระบบโดยจัดเก็บและจำแนกไฟล์เอกสารที่สืบค้นมาให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการค้นหาภายหลัง   4. ประมวลและกลั่นกรองความรู้ ผู้เล่าเรื่องได้สรุปและบันทึกความรู้ให้อยู่ในรูปแบบที่สั้น กระชับ และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ทั้งในรูปแบบของเอกสาร และ power point   5. การเข้าถึงความรู้ นักศึกษาที่เรียนในรายวิชา MMD 412 การวิจัยมัลติมีเดีย สามารถเข้าถึงความรู้ดังกล่าวได้โดยผู้เล่าเรื่องได้ส่งมอบความรู้ดังกล่าว (upload) ผ่านทาง Google classroom ของรายวิชาการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ผู้เล่าเรื่องได้นำประสบการณ์ดังกล่าวไปถ่ายทอดอย่างไม่เป็นทางการให้กับอาจารย์ต่างสถาบัน รวมทั้งบอกเล่าความสำเร็จและสิ่งที่ควรคำนึงถึงให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของสาขาวิชามัลติมีเดีย เพื่อนำไปต่อยอดในการจัดทำโครงการก่อนรับปริญญา (Senior project) ต่อไป    6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ผู้เล่าเรื่องได้นำประสบการณ์ดังกล่าวไปถ่ายทอดอย่างไม่เป็นทางการให้กับอาจารย์ต่างสถาบัน รวมทั้งบอกเล่าความสำเร็จและสิ่งที่ควรคำนึงถึงให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของสาขาวิชามัลติมีเดีย เพื่อนำไปต่อยอดในการจัดทำโครงการก่อนรับปริญญา (Senior project) ต่อไป   7. การเรียนรู้ ผู้เล่าเรื่องเกิดการเรียนรู้ดังนี้       7.1 การมีประสบการณ์ร่วม ทำความเข้าใจและเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเมื่อเราฟังเสียงดังกล่าว จะทำให้เราค้นพบ “สิ่งใหม่” ที่เป็นนวัตกรรมเล็กๆ ที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นคุณค่าของนักออกแบบและสร้างสรรค์สื่อส่งมอบให้กับผู้ใช้งานอย่างแท้จริง       7.2 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) สามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราได้นำแนวคิด กระบวนการหรือขั้นตอนใหม่ๆ มาทดลองใช้ และผลแห่งความสำเร็จที่เกิดอย่างเป็นรูปธรรม ย่อมทำให้เกิดการยอมรับและปรับเปลี่ยนวิธีการแบบเดิมๆ นำมาซึ่งวิธีดำเนินการวิจัยที่มีคุณภาพและทันสมัยมากยิ่งขึ้น       7.3 ผู้เล่าเรื่องนำประสบการณ์ที่ได้รับไปถ่ายโอนความรู้เชิงประสบการณ์และให้คำแนะนำนักศึกษาสาขาวิชามัลติมีเดีย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ในการสร้างสรรค์สื่อ ก่อให้เกิดผลสำเร็จนำมาซึ่งความภาคภูมิใจที่ได้มองเห็นนวัตกรรมเล็กๆ เกิดขึ้นในงานสร้างสรรค์สื่อของนักศึกษา  2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    1. ต้นแบบ (Prototype) จากหนังสือการ์ตูนดิจิทัล แนวคิดการออกแบบหน้าปก (แบบที่ 1)  : การผจญภัยและการออกตามหาอาหารเพื่อสุขภาพในโลกที่เต็มไปด้วยอาหารการเปลี่ยนแปลงรูปร่างสีสันจากการรับประทานอาหาร ผ่านตัวละครทั้ง 4 แนวคิดการออกแบบหน้าปก (แบบที่ 2) : โลกทั้งใบกลายเป็นสีเขียวด้วยการเปลี่ยนพืช ผัก ผลไม้ และธัญพืชให้กลายเป็นอาหาร หรือที่เรียกว่า Plant based Food ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม      2. อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน            การบูรณาการแนวคิดการคิดออกแบบ (Design thinking) กับงานวิจัยสร้างสรรค์สื่อในระยะแรกยังมีความสับสนในการบูรณาการซึ่งผู้เล่าเรื่องต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับกระบวนการและขั้นตอนของการคิดออกแบบให้ชัดเจนจึงจะสามารถบูรณาการขั้นตอนของการคิดออกแบบเข้ากับการวิจัยสร้างสรรค์สื่อได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้เล่าเรื่องขอสรุปว่าเป็นการวิจัยที่เรียกว่า R-D-R (Research-Development and Research) ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมเล็กๆ ที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้ใช้สื่อได้อย่างชัดเจน  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่     1.  การสร้างสรรค์สื่อที่ใช้กระบวนการคิดออกแบบเป็นฐาน (Design Thinking based) ก่อให้เกิดนวัตกรรมเล็กๆ ที่ตอบโจทย์และสนองความต้องการของผู้ใช้สื่อได้อย่างแท้จริง เนื่องจากการสร้างสรรค์สื่อรูปแบบเดิมไม่ได้เน้นที่การทำความเข้าใจถึงปัญหาของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ใช้สื่ออย่างลึกซึ้ง ซึ่งต่างจากการสร้างสรรค์สื่อแนวใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการคิดออกแบบซึ่งผู้วิจัยต้องทำศึกษาและทำความเข้าใจผู้ใช้สื่ออย่างลึกซึ้งและรอบด้าน อีกทั้งยังต้องมีการนำต้นแบบไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายก่อนสร้างสรรค์สื่อฉบับสมบูรณ์ ทำให้ผู้สร้างสรรค์มีการปรับแก้เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้สื่อได้อย่างเป็นรูปธรรม     2. การสร้างสรรค์สื่อโดยใช้แนวคิดผู้รับสารเป็นศูนย์กลาง (Audience-Centric) การทำให้สื่อที่สร้างสรรค์มีคุณค่าและประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้รับสาร ผู้สร้างสรรค์ควรมีกระบวนการทดสอบ (Test) ต้นแบบและผลงานสื่ออย่างต่อเนื่องโดยผู้ใช้ ซึ่งจะทำให้ผู้สร้างสรรค์สามารถปรับปรุงผลงานสื่อให้มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการที่แท้จริงของผู้รับสารหรือผู้ใช้งานได้ ซึ่งผู้เล่าเรื่องพบว่า ผลงานที่สร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัล เรื่อง “อาหารจากพืช” มีสื่อชิ้นเล็กๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบสื่อหลักให้ตอบสนองความต้องการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น นั่นคือ มีการสร้างสรรค์วิดีโอคลิปสั้นเกี่ยวกับ “แนะนำร้านอาหารประเภท Plant based Food” “แหล่งที่จำหน่ายวัตถุดิบเกี่ยวกับ Plant based Food” และ “เมนูอาหาร Plant based Food” เป็นต้น ซึ่งตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้รับสารอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          1. เนื่องจากกระบวนการที่สำคัญของการสร้างสรรค์สื่อแนวใหม่ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจอารมณ์และความรู้สึก (Empathize) ที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นหัวใจของกระบวนการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นสำคัญ ดังนั้นผู้วิจัยควรศึกษาวิธีการสร้างคำถามเพื่อใช้สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth interview) ซึ่งจะทำให้เก็บรวบรวมข้อมูลได้ข้อมูลที่สะท้อนถึงความเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุมทุกด้าน         2. ผู้วิจัยและสร้างสรรค์ควรศึกษาถึงวิธีการเล่าเรื่องข้ามสื่อ (Transmedia storytelling) เพิ่มเติมและสร้างสรรค์ที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้นเพื่อให้ผู้รับสารสามารถเข้าถึงสื่อและเนื้อหาที่ต้องการสอดคล้องตามพฤติกรรมดิจิทัลของผู้รับสารได้ ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดออกแบบ Read More »

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2, KR 5.2.1 สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ ผู้ให้ความรู้ ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม คณะวิทยาศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปัญหาในระดับโลก ระดับประเทศ และในระดับชุมชน ล้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกระดับ การป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ และรวมถึงการปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ ที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในระดับชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคม สมาชิกในชุมชนไม่เพียงแต่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนหรือชุมชนที่เกี่ยวเนื่อง การสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้คนในชุมชนหันมาร่วมมือกัน ป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกันปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยตนเองจึงเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น ๆ สอดคล้องกับแนวคิดของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ใส่ใจกับการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานดังกล่าวมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมหลักสูตร“สิ่งแวดล้อมศึกษาสู่การพัฒนาชุมชน” ให้กับบุคลากรและผู้สนใจทั้งในหน่วยงานรัฐ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และสถานศึกษา เพื่อให้นำความรู้จากหลักสูตรดังกล่าวถ่ายทอดสู่ชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการพัฒนาชุมชนนั้น ๆ ต่อไป จึงได้ริเริ่มโครงการ“สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน”ขึ้นในมหาวิทยาลัย โดยเน้นการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ (Learning Experience) องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของชุมชน เช่น ด้านการจัดการน้ำและน้ำเสีย มลพิษทางอากาศ การจัดการของเหลือทิ้ง(ขยะ) การสร้างคามตระหนักในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในบ้านของตน และร่วมถึงการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมชุมชน เป็นต้น ให้แก่ชุมชนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย ตามนโยบายของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนในพื้นที่โดยรอบ การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมดังกล่าว มุ่งหวังให้ประชาชนในชุมชนและเยาวชน เกิดการรับรู้(awareness) ถึงสถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชนของตน เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้มีคุณภาพเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้ได้ และคาดหวังว่าชุมชนจะนำความรู้ดังกล่าวขยายผลต่อคนในชุมชนของตนและเครือข่ายต่อไปในอนาคต สำหรับการวางโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน สำหรับปีการศึกษานี้ (2565) ทางคณะทำงานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ได้รับการติดต่อประสานงานจากโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิเศษโดยเฉพาะ (ไม่น้อยกว่า 300 คน ) โดยโรงเรียนมีเป้าหมายหลัก คือ ต้องการให้นักเรียนทุกกลุ่มสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุข เต็มศักยภาพ โดยไม่มองว่าใครแตกต่าง มีการเสริมทักษะเฉพาะด้าน รวมถึงการส่งนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษไปฝึกงาน เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมอื่นและเพื่อนคนอื่นได้โดยง่าย ซึ่งผลจากการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครู โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ได้ข้อสรุปว่า ทางโรงเรียนมีเป้าหมายที่จะพัฒนาครูให้มีเทคนิควิธีในการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยการปลูกพืชลดมลพิษสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสรรค์สร้างไม้ประดับเพื่อเพิ่มมูลค่า สำหรับถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน ทั้งด้านวิชาการและเพิ่มโอกาสในการสร้างงานและสร้างอาชีพให้กับนักเรียนบางส่วนที่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ โดยเริ่มจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าของนักเรียนผ่านร้านค้าของโรงเรียนในอนาคต ซึ่งทั้งหมดเป็นกิจกรรมหลักในกโครงการ อนุรักษ์พันธุ์กรรมพืช ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ได้จัดกิจกรรมให้กับโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ทั้งสิ้น 3 โครงการ คือ 1) จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักสลัดกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม 2) จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง Ornamental Gardening For Life และ 3) จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช นอกจากนั้นยังมีหน่วยภายนอกที่สนใจ ขอเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย คือ และบุคลากรจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(ลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และประชาชนในชุมชนวัดรังสิต ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุม จังหวัดปทุมธานี ซึ่งในครั้งนี้ขอนำเสนอ การจัดการความรู้ เรื่อง จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักสลัดกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : 1) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)2) องค์ความรู้ด้านการถ่ายทอดความรู้แบบผสมผสาน (onsite & online จากโครงการบริการปีการศึกษา 2565 รหัสโคงการ 640382 เรื่อง ลดมลพิษสิ่งแวดล้อมในบ้าน ชุมชนวัดรังสิต)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, 1) ประสบการณ์ตรง ด้านการเพาะเมล็ดผักสลัด และการย้ายต้นกล้าผักสลัด (ผศ. ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม) 2) ประสบการณ์ตรง ด้านการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ (Learning Experience: L.E. : ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์) วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. คณะทำงานโครงการสิ่งแวดล้อมสึกษาฯ ม.รังสิต ประชุมร่วมกับผู้อำนวนการโรงเรียน เพื่อวางโครงการร่วมกัน (13 กค.2565)    2. ประชุม คณะทำงานคณะทำงานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาฯ ม.รังสิต เพื่อกำหนดวันเวลาจัดกิจกรรมและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ จำเป็นในการจัดกิจกรรม    3. ติดต่อประสานงาน ดำเนินกิจกรรม ตามมาตรฐานสถานการณ์ โควิด ผ่าน line application    4. จัดกิจกรรมในวันที่ 23 กค.2565 เวลา 08.00 -12.00 ณ ห้องปฏิบัติการชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.รังสิต วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถปฏิบิติได้ภายใต้คำแนะนำ 5. จัดให้มีการทดสอบก่อนและหลัง การดำเนินกิจกรรม 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ผลดำเนินการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 สามารถปฏิบัติการเพาะเมล็ดผักสลัด ภายใต้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน การนำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของโครงการเรื่อง การปลูกผักสลัดกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คณะครูจากโรงเรียนพิบูลฯ ได้เรียนรู้ถึงเทคนิคในการเพาะเมล็ดผักสลัด และการย้ายต้นกล้าผักสลัด โดยนำความรู้เหล่านนี้ใช้เป็นกิจกรรม การเรียนการสอนและสนับสนุนโครงการ อพ.สธ.ของโรงเรียน รวมไปถึงต่อยอดเพื่อการค้า สร้างอาชีพให้กับนักเรียนที่ไม่พร้อมในการศึกษาต่อ อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงานไม่มี 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    ผลจากการดำเนินโครงการข้างต้น จะเห็นได้ว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 สามารถเพาะเมล็ดผักสลัดและย้ายต้นกล้าผักสลัดได้อย่างถูกต้อง ทุกขั้นตอน ภายใต้คำแนะนำของวิทยากร(ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม) ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ กล่าวได้ว่า เป็นเพราะ กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่เกิดจาก ความต้องการที่แท้จริง ของผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากกิจกรรมนี้ เป็นการวางโครงการร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมและทีมวิทยากร ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นนวัตกรรม หรือความรู้ใหม่เกี่ยวกับการวางโครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่าที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการนั้นๆ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          นำนวัตกรรม หรือความรู้ใหม่เกี่ยวกับการวางโครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่า ที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ไปทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ซ้ำ ตามหลักการ Induction และ Deduction ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป จะได้องค์ความรู้ใหม่ที่มีโอกาสที่เป็นไปได้ทั้ง Good practice หรือ Best practice หรือเกิดเป็นโจทย์วิจัยอีกมากมาย ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน Read More »

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม”

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.5.2 การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.พิเศษ นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญา อาจารย์พิเศษ ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การทำวิจัย และนวัตกรรมก็มีลักษะเหมือนกันจะต่างกันที่แนวคิด การทำวิจัยจะมุ่งเป้าหมายเฉพาะเรื่องนั้นๆ ( Specific) ส่วน นวัตกรรม คือการเอาหลายๆ ปัจจัย หลายๆ ศาสตร์ มาร่วมกันเพื่อตอบโจทย์คำถาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในการทำวิจัย หรือ นวัตกรรม คือ 1.การฟัง การฟังนั้นควรฟังอย่างเปิดใจ Active Listening และ 2.การตั้งคำถาม ซึ่งคำถามจะแสดงให้รู้ถึงความคิดของผู้ถาม และควรตั้งคำถามที่เปิดโลกทัศน์ คำถามที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี ควรมีการจดบันทึก จดเฉพาะสิ่งสำคัญ          ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการในการทำวิจัย และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ดี ทั้งการทำนวัตกรรมและการทำวิจัย เป็นสิ่งที่ประกอบกันของกระบวนการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยจะช่วยสนับสนุนของกันและกันงานวิจัยจะสนับสนุนนวัตกรรมและนวัตกรรม อาศัยงานวิจัยในการพัฒนาในขั้นต่อไป ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ประสบการณ์ของเจ้าของความรู้ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, เปรียบเทียบขบวนการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ในปัจจุบันนั้น การมุ่งเน้นทั้ง 2 ขบวน เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้พัฒนาความคิดใหม่จากกระบวนการที่อาจารย์และรุ่นพี่ทำกันมาโดยเปิดการสร้างจินตนาการและความคิดที่เฉพาะเป็นประเด็นที่สนใจ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    การทำวิจัย หรือ นวัตกรรม นั้นควรมีการตั้งคำถามที่ดี ต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเราจะทำอะไร จะไปที่ไหน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงความคิดและเหตุผล รู้จักตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน สามารถ เล่าเรื่อง และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายๆ Story telling        การสร้างและพัฒนางานนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ ได้ จากวิธีคิด มีวิธีคิด 6 วิธี คือ      1. หลุดจากกรอบแห่งโลกความจริง                  2. สร้างสรรค์จากความฝัน      3. เปลี่ยนจุดอ่อนเป็นไอเดีย                               4. ต่อให้ติดพิชิตความต่าง      5.มองมุมกลับ ปรับมุมมอง เหมือนลูกเต๋า      6. ตัวเลขมหัศจรรย์ ซึ่งเราควรรับมือโดยการสร้างเป้าหมายใหม่ๆ อย่างรวดเร็วในโลกแห่งการแข่งขัน และควรเลือกสิ่งที่เราถนัดสร้างสมรรถนะ (Core Competency) หลักในการเอาชนะคู่แข่งคือ       1) การคิดอย่างเป็นระบบเป็นกระบวนการคิด โดยใช้การคิดแบบเป็นขั้นตอนใช้ สุ จิ ปุ ริ      2) จัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา      3) พัฒนากระบวนการคิด Mindset ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ฝังลึกทำให้เกิดทัศนคติและประสบการณ์      4) ควรมีการยืดหยุ่นปัญหา โดยใช้ Active Listening จะทำให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์      5) การปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน      6) นักศึกษาแพทย์ควรมีพรสวรรค์และพรแสวง      7) เครื่องมือในการทำงานควรมีการวางแผนเชิงกลยุทธ      8) การดำเนินงานแบบเป็นขั้นตอน ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาทำแต่งานที่เร่งด่วนเฉพาะหน้าตลอดเวลา 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ปรากฏการณ์ เล็กๆ บางอย่างเราคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้น เช่น Black Swan Phenomenon แต่ถ้าเกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ยากเกินความควบคุมได้ เช่น การเกิดโรคโควิด ก็เปรียบเสมือนปัญหาที่พบในการทำงาน เพราะฉะนั้นในการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ นั้นเราต้องจัดลำดับขั้นตอน เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะปัญหาในปัจจุบันมีลักษณะ VUCA ; V : Volatile (เปลี่ยนแปลงง่าย) U : Uncertained (ไม่มั่นคง,ไม่แน่นอน) C : Complex (ซับซ้อน) และ A : Ambiguity (กำกวม ความคลุมเครือ) 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่     1. คนเราจะประสบผลสำเร็จได้ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวให้ปฏิบัติตามได้ แต่ต้องเริ่มด้วยความพยายาม และมีความสนใจในสิ่งนั้น    2. ขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาสของชีวิต พร้อมรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือป้าหมายที่วางไว้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice หลักในการทำงาน และเป็นกลไกนำไปสู่ความสำเร็จนั้น ควรใช้หลักของพระพุทธเจ้าสอน คือ อิทธิบาท 4 คือ         ฉันทะ คือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน หาพรสวรรค์ ความถนัดให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำในสิ่งนั้นๆ         วิริยะ คือ การลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ มีความขยันมั่นเพียร ไม่ย่อท้อ         จิตตะ คือ โฟกัสที่จุดมุ่งหมาย มีความมุ่งมั่น่อยู่กับสิ่งที่ทำ         วิมังสา คือ การศึกษาจากคนที่เคยสำเร็จมาเป็นต้นแบบ

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” Read More »

Scroll to Top