ยุทธศาสตร์ที่ 3

การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR3.3.1/1 การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี นายธงชัย บุญเกิด นายพสุ กุนทีกาญจน์ นางสาวนิตยา ป้องศรี นายขุนคำ ปองรักษาชีวิต นางสาวไพวัลย์ ปัญญามูล สำนักงานทะเบียน สำนักงานการเงิน สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ ในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากสามารถช่วยให้การดำเนินงานต่างๆ มีประสิทธิภาพ เช่น ลดระยะเวลา ประหยัดทรัพยากร การดำเนินงานแบบดั้งเดิมที่ใช้ระบบเอกสารและการจัดการข้อมูลด้วยมือ (Manual) มักประสบปัญหาหลายประการ เช่น ความล่าช้าในการค้นหาและประมวลผลข้อมูล ความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อน การสูญหายของเอกสารสำคัญ และการสิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ทำให้เกิดการทำงานที่แยกส่วนและขาดการบูรณาการ                ด้วยเหตุนี้ การนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงาน จึงเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานในหลายมิติ ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในรูปแบบดิจิทัล การประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำ การแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานแบบเรียลไทม์ การลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร           ผู้ให้ความรู้เล็งเห็นว่างานบางส่วนของสำนักงานทะเบียน สามารถนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้และจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานดังที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ ในการถอดความรู้ครั้งนี้ จึงจะขอนำเสนอตัวอย่างงาน 2 ตัวอย่าง ได้แก่  1) งานระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล 2) งานระบบคำร้องขอเงินคืนกรณีสำเร็จการศึกษา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การพัฒนาระบบ ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย (กรณีศึกษาฐานข้อมูลบริการวิชาการ) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี นายธงชัย บุญเกิด นายพสุ กุนทีกาญจน์ นางสาวนิตยา ป้องศรี นายขุนคำ ปองรักษาชีวิต นางสาวไพวัลย์ ปัญญามูล วิธีการดำเนินการ ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานต่างๆ ให้เข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงาน รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พิจารณาความเป็นไปได้ในการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ขั้นตอนไหนทำได้ผ่านระบบ ขั้นตอนไหนต้องทำนอกระบบ ขั้นตอนไหนจำเป็นต้องมีหรือตัดออกได้ หากจำเป็นต้องมี จะปรับปรุงหรือเอาระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยอย่างไรเพื่อให้สามารถ 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร หากตัดออก ให้พิจารณาว่าตัดออกได้จริงๆ เพราะไม่จำเป็น หรือ ตัดออกแต่ต้องเพิ่มขั้นตอนอื่นหรือเอาระบบสารสนเทศมาทดแทน เพื่อให้สามารถส่งผลลัพธ์ต่อไปยังขั้นตอนถัดไปได้โดย 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร พิจารณาความคุ้มค่าในมุมต่างๆ เช่น ด้านการเงิน ด้านทรัพยากร ด้านความพึงพอใจ (ลดระยะเวลา เพิ่มความสะดวก)  สื่อสาร ทำความเข้าใจ และประสานงานเพื่อให้เกิดการใช้งานระบบสารสนเทศดังกล่าว 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การดำเนินงานในส่วนของงานระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล และงานระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษา มีแนวทางในการดำเนินการตามวิธีการดำเนินการที่กล่าวไว้ แต่มีความแตกต่างกันในขั้นตอนต่างๆ เช่น                ในการพิจารณาเกี่ยวกับระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล ระบบที่ใช้อยู่มีการรับคำร้องผ่านระบบออนไลน์อยู่แล้ว แต่พบว่ายังไม่สามารถชำระเงินค่าคำขอได้ทันที ประกอบกับเอกสารสำคัญทางการศึกษา มีขั้นตอนในการผลิตพอสมควร ตั้งแต่การเข้าไปค้นหาข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล พิมพ์เอกสาร เซ็นรับรอง ประทับตรา ซึ่งทำให้การขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ดังนั้น จึงมีแนวคิดในการนำ LINE OA: RSU Connect ซึ่งใช้ในการตรวจสอบผลการเรียน มาใช้เป็นช่องทางในการยื่นคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา และชำระเงินออนไลน์ได้ทันที จากนั้นเมื่อได้รับคำร้องมาที่ระบบ ทางเจ้าหน้าที่เพียงทำการตรวจสอบข้อมูล และยืนยัน ระบบจะทำการสร้างเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลพร้อมลงลายมือชื่อดิจิทัล และส่งกลับไปให้นักศึกษาได้เลย ซึ่งจะตอบโจทย์เรื่อง 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร ซึ่งระบบดังกล่าวหลังจากพัฒนาได้ใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่พบปัญหาในส่วนของนักศึกษาที่เกรดพึ่งออกครบแล้วอยากขอใบรับรองว่าจบการศึกษาในทันที กรณีนี้ สถานะในระบบยังไม่ได้ปรับเปลี่ยน เมื่อขอเข้ามาจึงยังมีสถานะกำลังศึกษาอยู่ แต่ปัจจุบันได้มีพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้รองรับการดำเนินการในกรณีดังกล่าวแล้ว           สำหรับในส่วนของระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษา ขั้นตอนที่ใช้ก่อนหน้านี้ นักศึกษาจะต้องไปหาอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้บริหารคณะเพื่อให้เซ็นใบคำร้อง จากนั้นจะมาที่สำนักงานทะเบียนเพื่อมาตรวจสอบว่าจบการศึกษาจริง ไม่มีหนี้ค้างหรือเงื่อนไขอื่นๆ เมื่อเรียบร้อยจะต้องไปติดต่อที่สำนักงานการเงินเพื่อให้ข้อมูลบัญชีเพื่อรอการโอนเงินค่าประกันคืน ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ขั้นตอนการไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้บริหารคณะนั้น ไม่มีความเกี่ยวโยงกับเงื่อนไขในการพิจารณาขอเงินค่าประกันคืน ประเด็นสำคัญคือ นักศึกษาจบการศึกษาจริงหรือไม่ และมีหนี้ค้างหรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่ต้องจัดการก่อนไหม โดยข้อมูลเหล่านี้มีจัดเก็บอยู่ในระบบแล้ว การมาติดต่อสำนักงานทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้จึงไม่จำเป็นเช่นกัน ดังนั้นนักศึกษาสามารถเข้าสู่ระบบคำร้องและระบบจะตรวจสอบได้ทันที หากไม่ติดอะไรสามารถให้ข้อมูลบัญชีเพื่อรอการโอนเงินค่าประกันคืน ซึ่งระบบจะส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับทางสำนักงานการเงินโดยตรง ซึ่งระบบดังกล่าวหลังจากพัฒนาได้ใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           ระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลมีการใช้งานมาประมาณ 8 เดือน มีการขอใช้งานมาไม่น้อยกว่า 4,415 รายการ แบ่งเป็น ใบรับรอง 2,087 รายการ ใบแสดงผลการเรียน 2,028 รายการ รวมมูลค่าไม่น้อยกว่า 400,000 บาท ซึ่งหลังจากนำระบบดังกล่าวเข้ามาใช้ จากการสอบถามนักศึกษา พบว่านักศึกษารู้สึกสะดวก กระบวนการขอเอกสารสำคัญมีความรวดเร็ว ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน สามารถให้บริการได้สะดวกและรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานได้ แต่อย่างไรก็ตามปริมาณการใช้งานระบบดังกล่าวในปัจจุบันยังใช้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นเมื่อเทียบกับการขอเอกสารสำคัญในรูปแบบกระดาษ ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเพื่อสร้างความรับรู้และความมั่นใจให้กับนักศึกษาในการขอเอกสารสำคัญในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งล่าสุดทางวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ปกติจะมีการขอเอกสารสำคัญในรูปแบบกระดาษให้กับนักศึกษาทั้งวิทยาลัย แต่ในตอนนี้มีการขอเป็นรูปแบบดิจิทัลแทนแล้ว ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคณะ/วิทยาลัย อื่นๆ ต่อไปได้ อันจะส่งผลให้ปริมาณการใช้งานเอกสารสำคัญในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยขั้นตอนการทำงานก่อนหลังนำระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลมาใช้แสดงดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1 ขั้นตอนการทำงานก่อนหลังนำระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลมาใช้ ระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษามีการใช้งานมาประมาณ 7 เดือน มีการใช้งานมาไม่น้อยกว่า 2,100 รายการ ซึ่งจากการสอบถามนักศึกษา พบว่านักศึกษาค่อนข้างพึงพอใจ เนื่องจากได้รับเงินคืนรวดเร็ว และลดขั้นตอนไปได้หลายขั้นตอน ในส่วนของผู้ปฏิบัติงานนั้น ระบบดังกล่าวช่วยลดการจัดเก็บเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถสืบค้นข้อมูลและดำเนินการคืนเงินให้นักศึกษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ           ดังนั้น บทสรุปความรู้หรือสิ่งที่ค้นพบจากการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน คือ สามารถช่วยให้การดำเนินงานต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งผลไปถึงความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ซึ่งการที่ระบบดังกล่าวสามารถตอบโจทย์การทำงานได้เป็นอย่างดี เป็นผลมาจากการเข้าใจกระบวนการทำงาน เมื่อวิเคราะห์และพิจารณาความเป็นไปได้รวมถึงผลลัพธ์และความคุ้มค่าที่จะเกิดขึ้น จะสามารถทราบได้ขั้นตอนไหนควรปรับหรือเปลี่ยนหรือนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้งาน โดยขั้นตอนการทำงานก่อนหลังนำระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษามาใช้แสดงดังภาพที่ 2 โดยขั้นตอนการทำงานก่อนหลังนำระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษามาใช้แสดงดังภาพที่ 2 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การดำเนินการครั้งนี้สำเร็จ คือ ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงจริงๆ ควรดำเนินการดังนี้ ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานต่างๆ ให้เข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงาน รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พิจารณาความเป็นไปได้ในการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ขั้นตอนไหนทำได้ผ่านระบบ ขั้นตอนไหนต้องทำนอกระบบ ขั้นตอนไหนจำเป็นต้องมีหรือตัดออกได้ หากจำเป็นต้องมี จะปรับปรุงหรือเอาระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยอย่างไรเพื่อให้สามารถ 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร หากตัดออก ให้พิจารณาว่าตัดออกได้จริงๆ เพราะไม่จำเป็น หรือ ตัดออกแต่ต้องเพิ่มขั้นตอนอื่นหรือเอาระบบสารสนเทศมาทดแทน เพื่อให้สามารถส่งผลลัพธ์ต่อไปยังขั้นตอนถัดไปได้โดย 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร พิจารณาความคุ้มค่าในมุมต่างๆ เช่น ด้านการเงิน ด้านทรัพยากร ด้านความพึงพอใจ (ลดระยะเวลา เพิ่มความสะดวก) สื่อสาร ทำความเข้าใจ และประสานงานเพื่อให้เกิดการใช้งานระบบสารสนเทศดังกล่าว                ซึ่งเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว ควรตัดสินใจร่วมกันทั้งในส่วนของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงย่อมสร้างผลกระทบบางอย่างทั้งในเชิงบวกและลบ ซึ่งเมื่อทุกคนเข้าใจและพร้อมจะเปลี่ยนแปลง แม้จะพบปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ ทุกคนจะร่วมด้วยช่วยกันในการแก้ไขต่อไป เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ โดยประเด็นสำคัญ ที่ต้องพิจารณาหลังจากนำระบบสารสนเทศมาใช้ คือ ความสเถียรของระบบสารสนเทศ ต้องสามารถทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจในความถูกต้องแม่นยำ ไม่เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมาให้ต้องแก้ไข โดยหากเกิดประเด็นดังกล่าว ต้องรีบแก้ไขปรับปรุงระบบสารสนเทศให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ                แต่อย่างไรก็ตามนโยบาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเอื้อหรือสนับสนุนสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง หากยังมีระเบียบหรือเงื่อนไขใดที่เป็นอุปสรรคต้องรีบดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งผู้ให้ความรู้เชื่อว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวจะสามารถเป็นแนวปฏิบัติที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำขั้นตอนวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อตัดสินใจในการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน

การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน Read More »

“Daily Note” ระบบแจ้งเตือนผลการวัดคุณภาพการรักษาผู้ป่วย ของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR ไม่ระบุ “Daily Note” ระบบแจ้งเตือนผลการวัดคุณภาพ การรักษาผู้ป่วย ของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก ผู้จัดทำโครงการ​ ทพ. ดร. กุญชร เกิดมณี วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​               การจัดการเรียนการสอนระดับชั้นคลินิก สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ให้มีคุณภาพครบทั้ง ความรู้ความสามารถในการรักษา มีจิตใจที่เมตตา และมีจริยธรรมในวิชาชีพ                 วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้เลือกวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบ “Comprehensive Dental Care” ที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย สามารถรับผิดชอบดำเนินการรักษาตามแผนที่วางไว้จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ด้วยตนเอง รวมถึง การติดตามผลการรักษาให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างยั่งยืน                 ในการประเมินความพร้อมของนักศึกษา วิทยาลัยฯ ได้ใช้การวัดและประเมินผลนักศึกษาขณะรักษาผู้ป่วย โดยให้อาจารย์ผู้ดูแลบันทึกข้อมูลลงในแบบให้คะแนนที่เรียกว่า “Daily Performance” ซึ่งมุ่งประเมินทั้งในมิติของความรู้ ทักษะ และจิตพิสัย ในทุกครั้งที่นักศึกษารักษาผู้ป่วย                 ด้วยจำนวนนักศึกษาและการปฎิบัติงาน 9 คาบต่อสัปดาห์(คาบละ 3 ชั่วโมง) ทำให้เกิดข้อมูลจำนวนหลายหมื่นรายการต่อภาคการศึกษา เป็นปัญหาหลักต่อการนำข้อมูลมาประเมินผลอย่างยิ่ง                 จากการดำเนินงานที่ผ่านมา วิทยาลัยฯ ได้พัฒนาระบบการบันทึกคะแนน“Daily Performance” เริ่มจากการบันทึกด้วยกระดาษมาเป็นระบบดิจิทัล ผ่าน google form เพื่อลดปัญหาการจัดเก็บเอกสาร และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งช่วยให้การประเมินผลทำได้ทันทีหลังการบันทึก ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มสามารถติดตามและตรวจสอบผลได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น                 อย่างไรก็ตามระบบการบันทึกคะแนน “Daily Performance”ผ่าน google form ยังคงพบปัญหาสำคัญคือ ขาดกลไกการแจ้งเตือนหรือยืนยันว่าคะแนนได้ถูกบันทึกเข้าสู่ฐานข้อมูล คะแนนนักศึกษาอย่างถูกต้องแล้ว ทำให้เกิดความยากลำบากในการตรวจสอบและติดตามคะแนนที่อาจมีความผิดพลาดหรือตกหล่นได้เช่น อาจารย์ลงคะแนนแล้วไม่ขึ้นในระบบ อาจารย์กรอกข้อมูลส่วนวันที่หรือเวลาผิด หรืออาจารย์เลือกชื่อนักศึกษาผิด ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพิจารณาเกรดของวิชาคลินิกที่มีความสำคัญยิ่ง                 การตรวจสอบและติดตามคะแนนด้วยวิธีการเดิมต้องใช้เวลามาก ในขณะที่นักศึกษาทันตแพทย์เองก็มีภาระการเรียนที่หนัก ทำให้มีเวลาว่างน้อยในการติดตามผลคะแนนดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ผู้จัดทำโครงการจึงได้พัฒนาต่อยอดเป็น “ระบบแจ้งเตือนการประเมินการปฎิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก”  หรือ “ Daily Note” เพื่อลดภาระในการติดตามตรวจสอบคะแนน และเพื่อให้มั่นใจว่าคะแนนได้ถูกบันทึกอย่างถูกต้อง ครบถ้วน                 ระบบแจ้งเตือนนี้จะส่งการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติไปยังนักศึกษาเมื่อมีการบันทึกคะแนนโดยอาจารย์ผู้ประเมินแล้ว ทำให้นักศึกษาสามารถสอบทานความถูกต้องของคะแนนได้ทันที และระบบยังสามารถตรวจสอบการให้คะแนนที่ผิดพลาดผิดวันผิดพลาดปฏิบัติงาน หากพบข้อผิดพลาด นักศึกษาสามารถแจ้งอาจารย์ผู้ประเมินได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทำการแก้ไขคะแนนให้ถูกต้อง กลไกดังกล่าวจะช่วยลดความเครียด และความวิตกกังวลของนักศึกษาเกี่ยวกับความถูกต้องของคะแนน ทำให้สามารถใช้เวลาไปกับการเรียนและฝึกปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และมีความสุขกับการทำงานในคลินิกมากขึ้น                 นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาแล้ว ระบบนี้ยังช่วยแบ่งเบาภาระของอาจารย์ผู้รับผิดชอบในการตรวจทานความผิดพลาดของคะแนน และลดความเสี่ยงที่คะแนนที่ผิดพลาดหรือตกหล่นส่งผลกระทบต่อผลการเรียน หรือการพิจารณาเกรดในภาพรวม ระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติจะทำให้กระบวนการติดตามและแก้ไขคะแนนเป็นไปอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด           สรุปได้ว่า ระบบแจ้งเตือนนี้จะช่วยยกระดับกระบวนการบันทึก ติดตาม และแก้ไขคะแนนประเมินการปฎิบัติงานคลินิกของนักศึกษาทันตแพทย์ ให้มีความถูกต้อง โปร่งใส สะดวกรวดเร็ว และเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลดีต่อทั้งตัวนักศึกษาเอง ต่อวิทยาลัยฯ รวมถึงต่อการผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคมต่อไปในอนาคต ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  ความรู้ด้านระบบสาระสนเทศและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การใช้ Google Services (Google Form, Google Sheets, Google Apps Script) เพื่อสร้างระบบการบันทึกและจัดการข้อมูลแบบดิจิทัล การออกแบบระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติ (Notification System) ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลออนไลน์ การพัฒนาระบบตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Data Validation) เพื่อลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล ความรู้ด้าน การบริหารจัดการการศึกษาทางทันตแพทยศาสตร์ หลักการ จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ “Comprehensive Dental Care” การออกแบบระบบการวัดและประเมินผล ที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพและเกณฑ์สภาวิชาชีพ กระบวนการติดตามและตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนในระดับคลินิก ความรู้เรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การ นำวงจรคุณภาพ PDCA (Plan-Do-Check-Act) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบงาน การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากผู้ใช้งานระบบทั้งอาจารย์และนักศึกษา การปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องตามหลักการของ Continuous Quality Improvement (CQI) ความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษา การ ลดความเครียดและความวิตกกังวลของนักศึกษาในกระบวนการประเมินผล การสร้างความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการประเมินผลการเรียนรู้ การส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความรับผิดชอบในการติดตามและพัฒนาผลการเรียนของตนเอง ความรู้ด้านการทำงานเป็นทีมและการจัดการความรู้ในองค์กร การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างทีมคณาจารย์ผู้พัฒนาระบบ การทำงานแบบบูรณาการข้ามสาขาวิชาเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมจากผู้พัฒนาสู่ผู้ใช้งานในวงกว้าง             การนำความรู้ทั้งห้าด้านมาประยุกต์ใช้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถพัฒนาระบบแจ้งเตือนการประเมินการปฎิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของทั้งนักศึกษาและอาจารย์ สอดคล้องกับบริบทการจัดการเรียนการสอนทันตแพทยศาสตร์ และก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน   ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University      (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/)      เจ้าของความรู้/สังกัด คณะกรรมการจัดการความรู้วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต อื่น ๆ (โปรดระบุ)                                                                    เอกสารการใช้งาน เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง Google Services (Google Form, Google Sheets, Google Apps Script) คู่มือการวัดและประเมินผลนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต การใช้ AI ช่วยในการเขียนโค้ดโปรแกรมระบบแจ้งเตือน ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)  เจ้าของความรู้/สังกัด           อาจารย์ทันตแพทย์ ดร กุญชร เกิดมณี รหัสบุคลากร 5890326  วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบแจ้งเตือนและการประยุกต์ใช้ Google Apps Script ประสบการณ์การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาระบบการบันทึกข้อมูลทางคลินิก อาจารย์ทันตแพทย์ วิธวินท์ เดโชศิลป์ รหัสบุคลากร 5990255  วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศและรับผิดชอบโดยอาจารย์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการศึกษา ประสบการณ์การใช้ Google Services การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูล Daily Performance อื่น ๆ (ระบุ)            ประสบการณ์จากการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก ข้อมูลย้อนกลับจากอาจารย์ผู้ใช้งานระบบในการประเมินนักศึกษา            การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์ประจำวิทยาลัยที่มีความชำนาญด้านการพัฒนาระบบสาระสนเทศและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการศึกษา วิธีการดำเนินการ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ การวิเคราะห์ฐานข้อมูล: ทำการวิเคราะห์ฐานข้อมูล Daily Performance รับผิดชอบโดยอาจารย์ทันตแพทย์ วิธวินท์ เดโชศิลป์ เพื่อศึกษารูปแบบทั้งหมดของความผิดพลาดของข้อมูลที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระบบ  การศึกษาปัญหาจากอาจารย์ผู้ประเมิน: รวบรวมข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นจากอาจารย์ในขณะทำการประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษา เช่นการเลือกวันผิด การเลือกรายชื่อนักศึกษาผิด หรือการไม่แน่ใจว่าข้อมูลถูกบันทึกเรียบร้อยแล้วหรือไม่ การสัมภาษณ์นักศึกษา: สัมภาษณ์นักศึกษาทันตแพทย์เกี่ยวกับปัญหาและความยากลำบากในการตรวจสอบติดตามข้อมูลคะแนนของตนเอง รวมถึงความต้องการในการได้รับการแจ้งเตือนเมื่อมีการบันทึกคะแนน การออกแบบระบบ การกำหนดโครงสร้างระบบ: ออกแบบระบบแจ้งเตือนที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล Daily Performance เดิม โดยไม่กระทบกระบวนการทำงานปกติ การกำหนดกลไกการแจ้งเตือน: ออกแบบระบบให้สามารถส่งการแจ้งเตือนอัตโนมัติไปยังนักศึกษาเมื่อมีการบันทึกคะแนน โดยระบุรายละเอียดของคะแนนที่ได้รับการบันทึก การกำหนดระบบตรวจสอบข้อผิดพลาด: ออกแบบให้ระบบสามารถตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลที่บันทึก เช่น การบันทึกคะแนนผิดวัน หรือผิดคาบปฏิบัติงาน การพัฒนาระบบ การพัฒนาโค้ด: พัฒนาโค้ดด้วย Google Apps Script เพื่อสร้างระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติที่ทำงานร่วมกับ Google Form และ Google Sheets การสร้างระบบเชื่อมโยง: พัฒนาระบบให้สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล Daily Performance และเมื่อได้รับการประเมินคะแนนปฏิบัติงานในคลินิกจากอาจารย์ โค้ดจะทำการส่งการแจ้งเตือนไปยังนักศึกษาผ่านทางอีเมล ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและหากต้องมีการแก้ไขรายละเอียดของคะแนน จะมีคำแนะนำส่งให้ทั้งอาจารย์ผู้ประเมิน และนักศึกษาเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง การพัฒนาระบบรายงาน: สร้างระบบรายงานสรุปที่นักศึกษาสามารถตรวจสอบคาบการปฏิบัติงานของตนเองได้แบบเรียลไทม์ การทดสอบระบบ การทดสอบเบื้องต้น: ทดสอบการทำงานของระบบในสภาพแวดล้อมควบคุมก่อนนำไปใช้จริง การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง: ทดลองใช้ระบบกับกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์จำนวนหนึ่งเพื่อประเมินประสิทธิภาพและรับฟังข้อเสนอแนะ การทดสอบสถานการณ์จำลอง: จำลองสถานการณ์ปัญหาที่พบจากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเพื่อทดสอบการทำงานของระบบในการแก้ไขปัญหา การนำไปใช้จริงและการติดตามผล การติดตั้งระบบ: นำระบบแจ้งเตือนไปใช้งานจริงในกระบวนการประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ การให้คำแนะนำผู้ใช้งาน: ชี้แจงและให้คำแนะนำการใช้งานระบบแก่อาจารย์และนักศึกษาผ่านทาง infographic ที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย การเก็บข้อมูลและติดตามผล: ติดตามการทำงานของระบบและรวบรวมข้อมูลป้อนกลับจากผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลและปรับปรุง การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ: ประเมินประสิทธิภาพของระบบในการลดข้อผิดพลาดและอำนวยความสะดวกในการติดตามคะแนน การรวบรวมข้อเสนอแนะ: รับฟังข้อเสนอแนะจากนักศึกษาและอาจารย์เพื่อนำมาปรับปรุงระบบ การพัฒนาต่อยอด: วางแผนการพัฒนาระบบในระยะต่อไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและฟีเจอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น              การดำเนินการพัฒนาระบบแจ้งเตือนนี้เป็นการต่อยอดจากระบบบันทึกคะแนน Daily Performance เดิมที่ได้พัฒนาไว้แล้ว โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่พบจากการใช้งานจริง และตอบสนองความต้องการของทั้งนักศึกษาและอาจารย์ในการติดตามและตรวจสอบคะแนนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การพัฒนาระบบแจ้งเตือนการประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ได้ดำเนินการผ่านกระบวนการดังนี้ การพัฒนาระบบโค้ดและการใช้เทคโนโลยี ใช้ Google Apps Script เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลคะแนน Daily Performance อาศัยเทคโนโลยี AI ช่วยในการเขียนและปรับแก้โค้ด แม้ผู้พัฒนามีความรู้ในทางเทคนิคการเขียนโค้ดไม่มากนัก แต่ AI สามารถเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้สามารถพัฒนาระบบที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนากลไกการตรวจจับข้อมูลใหม่ที่เข้าสู่ระบบผ่านการเขียนสคริปต์ที่ตรวจสอบข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาในฐานข้อมูลในช่วงเวลาที่กำหนด และส่งการแจ้งเตือนไปยังอีเมลของนักศึกษาโดยอัตโนมัติ การสร้างระบบตรวจสอบความผิดพลาด: พัฒนาอัลกอริทึมตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เช่น ตรวจสอบความสอดคล้องของวันที่ประเมินกับตารางการปฏิบัติงานของนักศึกษา ตรวจสอบชื่อและรหัสนักศึกษาที่ผิด ตลอดจนการให้คะแนนซ้ำ และล่าช้า ออกแบบรูปแบบอีเมลแจ้งเตือนให้มีข้อมูลสำคัญครบถ้วน เช่น วันที่ประเมิน คาบเรียน ชื่ออาจารย์ผู้ประเมิน และข้อเสนอแนะ เพื่อให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว การทดสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพ ทดสอบระบบในกลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์กลุ่มย่อย เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบการทำงานและระยะเวลาในการแจ้งเตือน ในช่วงทดสอบเบื้องต้น พบว่าการแจ้งเตือนมีความล่าช้าถึง 5-6 นาที ผู้พัฒนาจึงได้ปรับแก้โค้ดโดยเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบข้อมูลใหม่ และปรับปรุงประสิทธิภาพของฟังก์ชันการส่งอีเมล หลังการปรับปรุง สามารถลดระยะเวลาการแจ้งเตือนลงเหลือเพียง 2-3 นาทีหลังการบันทึกคะแนน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที ทดสอบระบบในสถานการณ์ที่มีการบันทึกคะแนนพร้อมกันจำนวนมาก เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถรองรับการใช้งานจริงได้โดยไม่มีปัญหา การขยายการใช้งานจริง เริ่มใช้งานระบบกับนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นคลินิกทั้งหมดในวิทยาลัยฯ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2567 จัดทำคู่มือการใช้งานแบบ infographic สำหรับนักศึกษาและอาจารย์ โดยอธิบายรูปแบบและการตรวจสอบข้อมูลจากอีเมลแจ้งเตือน รวมถึงขั้นตอนการแจ้งแก้ไขหากพบข้อผิดพลาด เปิดโอกาสให้มีการซักถามและเสนอแนะย้อนกลับมาทางผู้พัฒนา เพื่อให้ระบบตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด จัดให้มีช่องทางการรายงานปัญหาและข้อเสนอแนะสำหรับการใช้งานระบบ เพื่อให้สามารถปรับปรุงระบบได้อย่างต่อเนื่อง อุปสรรคและปัญหาในการทำงาน การใช้อีเมลเป็นช่องทางการแจ้งเตือนอาจมีความล่าช้าบ้างในบางกรณี เช่น ช่วงที่ระบบมีภาระงานสูง หรือปัญหาจากระบบ Google ของมหาวิทยาลัย แต่ระยะเวลา 2-3 นาทียังเป็นเวลาที่เหมาะสม ประสิทธิภาพของระบบอาจลดลงเมื่อฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้พัฒนาได้วางแผนการจัดการข้อมูลโดยแยกฐานข้อมูลตามชั้นปีการศึกษาเพื่อรักษาประสิทธิภาพของระบบในระยะยาว 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่  ผลการดำเนินงานเชิงปริมาณ การลดลงของข้อผิดพลาดในการบันทึกคะแนน: จากการเก็บข้อมูลพบว่าข้อผิดพลาดในการบันทึกคะแนนลดลงจาก 10% เหลือไม่เกิน 2% ต่อวัน หลังจากใช้ระบบแจ้งเตือน ซึ่งเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จำนวนการแจ้งเตือนต่อวัน: เฉลี่ยประมาณ 350-380 การแจ้งเตือนต่อวันในช่วงคลินิก โดยแต่ละการแจ้งเตือนมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ออกแบบไว้ อัตราความสำเร็จในการส่งการแจ้งเตือน: 8% ของการบันทึกคะแนนทั้งหมดได้รับการแจ้งเตือนสำเร็จ มีเพียง 0.2% ที่เกิดข้อผิดพลาดในการส่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาของระบบ Google sheet ระยะเวลาเฉลี่ยในการแก้ไขข้อผิดพลาด: ลดลงจากเดิมที่ใช้เวลาหลายวัน เหลือเพียง 1-2 ชั่วโมงหลังจากได้รับการแจ้งเตือน เนื่องจากนักศึกษาสามารถตรวจสอบและแจ้งอาจารย์ขอแก้ไขได้ทันที ผลการดำเนินงานเชิงคุณภาพ การลดความเครียดและความวิตกกังวลของนักศึกษา: จากการสัมภาษณ์นักศึกษาพบว่า ระบบแจ้งเตือนช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับความถูกต้องของคะแนนอย่างมีนัยสำคัญ นักศึกษาไม่ต้องกังวลว่าคะแนนจะถูกบันทึกผิดพลาดหรือตกหล่น การเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการประเมิน: ทั้งนักศึกษาและอาจารย์รายงานว่า ระบบแจ้งเตือนช่วยเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการประเมิน เนื่องจากทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างทันท่วงที การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเวลาของนักศึกษา: นักศึกษาสามารถวางแผนการเรียนและการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น เนื่องจากทราบผลคะแนนอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน ความพึงพอใจของอาจารย์: อาจารย์รายงานว่าระบบช่วยลดภาระในการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด และเพิ่มความมั่นใจว่าการประเมินของตนได้รับการบันทึกอย่างถูกต้อง ความรู้และบทเรียนที่ได้รับ การพัฒนาระบบที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Centered System): ระบบแจ้งเตือนนี้พัฒนาขึ้นจากการให้ความสำคัญกับความเครียดและความกังวลของนักศึกษาเป็นหลัก เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาระบบที่มุ่งเน้นการสนับสนุนการเรียนรู้และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน การใช้ AI เป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพในการพัฒนาระบบ: แม้ผู้พัฒนาจะมีความรู้ทางเทคนิคการเขียนโค้ดไม่มากนัก แต่การใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาทำให้สามารถสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพได้ แสดงให้เห็นว่า AI สามารถลดช่องว่างทางทักษะและเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสามารถพัฒนานวัตกรรมได้ การบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับกระบวนการทางการศึกษา: การพัฒนาระบบนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่แล้วของมหาวิทยาลัย (Google Services) มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในบริบทการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดทรัพยากร ความสำคัญของการออกแบบระบบที่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ใช้งาน (Empathetic Design): การพัฒนาระบบโดยคำนึงถึงความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะความเครียดและความกังวลของนักศึกษา ทำให้ได้ระบบที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงและสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ชัดเจน   การอภิปรายผล ระบบแจ้งเตือนนี้เป็นตัวอย่างของ “การสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน” (Innovation for Student Well-being) ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเครียดและเพิ่มคุณภาพประสบการณ์การเรียนรู้ การลดข้อผิดพลาดในการบันทึกคะแนนและการเพิ่มความโปร่งใสมีผลกระทบเชิงบวกโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษา เนื่องจากนักศึกษาสามารถมุ่งเน้นกับการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลกับความถูกต้องของการประเมิน การพัฒนาระบบนี้ยังส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความโปร่งใสและความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการศึกษาที่มีคุณภาพ การใช้ AI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบแสดงให้เห็นถึงโอกาสใหม่ในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความเชี่ยวชาญทางเทคนิคขั้นสูงเท่านั้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice การพัฒนาต่อยอดในอนาคต พัฒนาช่องทางการแจ้งเตือนที่หลากหลาย: ควรพิจารณาเพิ่มช่องทางการแจ้งเตือนผ่านแพลตฟอร์มอื่นนอกเหนือจากอีเมล เช่น LINE Notification API เพื่อให้การแจ้งเตือนรวดเร็วและเข้าถึงนักศึกษาได้มากขึ้น แม้อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ประโยชน์ที่ได้รับอาจคุ้มค่ากับการลงทุน สร้างแพลตฟอร์มติดตามคะแนนแบบเรียลไทม์: พัฒนาแพลตฟอร์มที่นักศึกษาสามารถเข้าถึงเพื่อดูคะแนนและความก้าวหน้าของตนเองได้ตลอดเวลา พร้อมกับระบบวิเคราะห์และให้คำแนะนำในการปรับปรุงผลการเรียน พัฒนาระบบการวิเคราะห์แนวโน้มและรูปแบบ: เพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของนักศึกษา และช่วยให้อาจารย์สามารถปรับกลยุทธ์การสอนให้ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้ดียิ่งขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินการประสบความสำเร็จ การให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Centered Approach): การพัฒนาระบบที่เริ่มต้นจากการเข้าใจและตอบสนองต่อความเครียดและความกังวลของนักศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบประสบความสำเร็จ เพราะตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเข้าถึงได้: การเลือกใช้ Google Services ที่มีอยู่แล้วในระบบของมหาวิทยาลัย ทำให้การพัฒนาและนำไปใช้เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ การนำ AI มาเป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพ: การใช้ AI ช่วยในการพัฒนาระบบแม้ผู้พัฒนามีความรู้ทางเทคนิคไม่มากนัก ทำให้สามารถสร้างนวัตกรรมได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การทดสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: การทดสอบกับกลุ่มนักศึกษาจริงและการรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ระบบที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง การสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วม: การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทั้งนักศึกษาและอาจารย์ในการใช้และพัฒนาระบบ ทำให้เกิดการยอมรับและการใช้งานอย่างแพร่หลาย การขยายผลและการถ่ายทอดความรู้ พัฒนาเป็นโมเดลต้นแบบสำหรับสถาบันการศึกษาอื่น: จัดทำเอกสารและคู่มือที่ครอบคลุมเพื่อให้สถาบันการศึกษาอื่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ แบ่งปันประสบการณ์ในเวทีวิชาการ: นำเสนอผลงานและประสบการณ์ในการพัฒนาระบบในการประชุมวิชาการด้านการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ พัฒนาเป็นชุดความรู้แบบบูรณาการ: รวบรวมความรู้และประสบการณ์จากการพัฒนาระบบเป็นชุดความรู้แบบบูรณาการที่เชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยี การศึกษาทางคลินิก และการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน การสร้างความยั่งยืน พัฒนาทีมงานเพื่อดูแลและพัฒนาระบบต่อเนื่อง: ฝึกอบรมและพัฒนาทีมงานเพื่อดูแลและพัฒนาระบบในระยะยาว เพื่อไม่ให้ระบบพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากเกินไป สร้างกลไกรับฟังความคิดเห็นและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: พัฒนากลไกในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบได้รับการปรับปรุงให้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป บูรณาการเข้ากับระบบประกันคุณภาพการศึกษา: ผสานระบบแจ้งเตือนเข้ากับกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน           โดยสรุป ระบบแจ้งเตือนการประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิกที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนานวัตกรรมที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Centered Innovation) ที่มุ่งเน้นการลดความเครียดและความกังวลของนักศึกษา ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการประเมินผล การผสานระหว่างความเข้าใจในบริบทการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม และการอาศัย AI เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนา ทำให้สามารถสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพและส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างชัดเจนต่อการจัดการเรียนการสอน การขยายผลและการพัฒนาต่อยอดจะช่วยให้ระบบนี้สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนต่อการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ต่อไป

“Daily Note” ระบบแจ้งเตือนผลการวัดคุณภาพการรักษาผู้ป่วย ของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก Read More »

Graduate Information Service System (GISS)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.3.1/1 Graduate Information Service System (GISS) ผู้จัดทำโครงการ​ ศ.ดร.สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน ผศ.ดร.พิชิต บุญครอง คุณศศิรดา พวงผกา คุณอธิษฐาน เกียรติไพศาล คุณอรรคพล ทิวรรณแก้ว บัณฑิตวิทยาลัย หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​         ในปีการศึกษา 2565 คณะกรรมการบริหารงานภายในบัณฑิตวิทยาลัย ได้มีการประชุมร่วมกันในการทบทวนโครงสร้างการบริหารงาน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 โดยมีผลของการทบทวนคือ การเพิ่มความเป็น Smart Organization ในการเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลการบริหารงานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาโดยมีการกระจายการบริหารงาน ภายในบัณฑิตวิทยาลัยเป็น 4 กลุ่มงานที่มีความแตกต่างกันในภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มงานมาตรฐานวิชาการและเลขานุการ กลุ่มงานบริการการศึกษา กลุ่มงานแนะแนวและบริการวิชาการ และกลุ่มงาน Graduate Information Service System (GISS) วัตถุประสงค์ของการจัดโครงสร้างดังกล่าวข้างต้น          เพื่อให้ลักษณะของการทำงานมีความชัดเจนในลักษณะของ 4C ภายในบัณฑิตวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอกที่สอดคล้องกับค่านิยมของมหาวิทยาลัยรังสิตในยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย นั่นคือ Creativity/ Collaboration/  Connectivity/  Compassion จากที่กล่าวข้างต้น และความสำคัญของข้อมูลซึ่งประกอบด้วยข้อมูลของอาจารย์และนักศึกษาที่มีจำนวนมากและเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บัณฑิตวิทยาลัยจึงมีแผนงานในการนำระบบสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานดังกล่าว โดยมีกลุ่มงาน GISS เป็นหน่วยงานภายในบัณฑิตวิทยาลัยที่มีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกสำหรับการดำเนินงานด้วยระบบสารสนเทศระหว่างหลักสูตรและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบัณฑิตวิทยาลัย ระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนามาเป็นเครื่องมือมีชื่อเรียกว่า “ระบบ Graduate Information Service System (GISS)” ซึ่งระบบนี้จะเป็นเครื่องมือในการลดกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาให้มีความสะดวกและรวดเร็ว        ในปีการศึกษา 2567 กลุ่มงาน GISS ได้ถูกมอบหมายจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยให้พัฒนาระบบ GISS ให้เป็นระบบที่สามารถช่วยให้องค์กรสามารถมุ่งไปสู่องค์การที่สามารลดการใช้กระดาษหรือไร้กระดาษ Paper less ในการทำงาน ดังนั้นกลุ่มงาน GISS จึงได้มีการปรับปรุงระบบ GISS เดิม ให้มีระบบการทำงานที่รองรับกับการทำงานของบุคคลากรภายในบัณฑิตวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะสามารถลดการใช้กระดาษให้ได้อย่างน้อย 90% ระบบ GISS ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบย่อย ได้แก่        1) ส่วนของงานพิจารณาเพื่อการรับเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของผู้สมัครเรียน        2) ส่วนงานพิจารณาทุนระดับบัณฑิตศึกษา        3) ส่วนงานตรวจรูปแบบการจัดพิมพ์ดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์        4) ส่วนของฐานข้อมูลอาจารย์ทั้งอาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา        5) ส่วนของงานเทียบเกณฑ์ภาษาอังกฤษ        6) ส่วนงานระบบสารบรรณภายในบัณฑิตวิทยาลัย        7) ส่วนของกลุ่มงานมาตรฐานวิชาการ        8) ส่วนงานแบบสอบถามความพึงพอใจของนายจ้าง        9) ส่วนงานบุคคลภายในบัณฑิตวิทยาลัย และ        10) ส่วนของฐานข้อมูลของนักศึกษาของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา โดยที่ 10 องค์ประกอบดังกล่าวมีการทำงานที่เชื่อมโยงในระบบที่นำไปสู่ระบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยที่มีการเปิดระบบให้หลักสูตร นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบัณฑิตวิทยาลัยสามารถเข้าถึงได้ตามขอบเขตของการเข้าถึง ซึ่งจะก่อให้เกิดการทำงานที่ลดการเดินทาง ลดเวลาและลดการใช้กระดาษ เช่น การรับส่งเอกสารและการสรุปความคิดเห็นระหว่างบัณฑิตวิทยาลัยและหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เป็นต้น อีกทั้งระบบยังได้รองรับการปรับเปลี่ยนผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งทำให้การดำเนินงานสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในเรื่องของการติดตาม การตรวจสอบ การค้นหาข้อมูลและการกำกับการบริหารหลักสูตร แผนงานที่วางไว้สำหรับการพัฒนาระบบ GISS มีความสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละช่วงเวลาของการใช้แต่ละงานในระบบ นั่นคือ – ส่วนของงานพิจารณาเพื่อการรับเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของผู้สมัครเรียน ได้รับการพัฒนาและใช้งานตั้งแต่ปลายปีการศึกษา 2562 เพื่อรองรับการรับสมัครนักศึกษา online ในช่วงเวลาของการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามกระบวนการของการรับสมัครที่เป็นไปตามบริบทของการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และทำให้เกิดความสะดวก(ลดการเดินทางและลดการใช้กระดาษ) และลดระยะเวลาในการพิจารณาการรับเข้าศึกษา ซึ่งในปีการศึกษา 2567 ได้ปรับปรุงระบบให้สามารถเชื่อมต่อกันระหว่างระบบรับสมัครของมหาวิทยาลัยและระบบ GISS เพื่อความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น พัฒนาเพิ่มในส่วนของการแจ้งผลการรับสมัครและการตอบรับเข้าศึกษาต่อทางอีเมลแบบอัตโนมัติให้ผู้สมัครทราบ – ส่วนงานพิจารณาทุนระดับบัณฑิตศึกษา ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนงานทุนระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งโดยปกติทางหลักสูตรจะต้องแจ้งขอปลดล็อคทุนต่อบัณฑิตฯ ด้วยการยื่นแบบฟอร์มพร้อมเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องกับส่วนลดหรือทุนนนั้น ๆ ซึ่งจะต้องจัดทำเป็น Hardcopy และรอคณบดีบัณฑิตอนุมัติจึงจะปลดล็อคในระบบทุนฯ ของ Softsquare และนักศึกษาจึงจะสามารถไปลงทะเบียนได้ แต่ด้วยระบบพิจารณาทุนฯ ที่พัฒนาขึ้นจะช่วยให้การทำงานง่ายมากขึ้นไม่ต้องจัดเตรียมเอกสารใด ๆ ที่เป็น Hardcopy สามารถดำเนินการขออนุมัติปลดล็อคจากระบบทุนฯ ได้เลย และทางเจ้าหน้าที่ของบัณฑิตฯ จะดำเนินการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องจากในระบบพิจารณาทุนฯ และดำเนินการปลดล็อคในระบบทุนฯ ของ Softsquare ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ได้มีการวางแผนการใช้งานระบบทุนฯ ในเทอม S/2568 เป็นต้นไป – ส่วนงานตรวจรูปแบบการจัดพิมพ์ดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ อยู่ระหว่างพัฒนาระบบตรวจฯ โดยวางแผนพัฒนาระบบ 2 เฟส เฟสที่ 1 มีเป้าหมายเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัยที่รับผิดชอบงานส่วนนี้ให้สามารถปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น สาเหตุที่ในเฟสแรกมีเป้าหมายช่วยเจ้าหน้าที่ฯ ก่อนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานจะมีเพียง 2 คนทำให้ช่วงเวลาที่มีวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ส่งเข้ามาตรวจสอบพร้อมกันจำนวนมาก จะทำได้ค่อนข้างช้าจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบขึ้นมาเพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น จึงเป็นการพัฒนาระบบเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อน โดยจะเริ่มใช้งานระบบฯ ภายในเดือนเมษายน 2567 ส่วนเฟสที่ 2 มีเป้าหมายในการพัฒนาระบบตรวจฯ ให้มุ่งเป้าช่วยนักศึกษาเป็นหลัก กล่าวคือจากเป็นระบบที่ช่วยเจ้าหน้าที่ตรวจรูปแบบการจัดพิมพ์ ถูกพัฒนาให้เป็นระบบที่สามารถช่วยจัดรูปแบบการจัดพิมพ์วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ให้นักศึกษาแทน ซึ่งการพัฒนาระบบฯในลักษณะนี้จะทำให้นักศึกษาสะดวกและสามารถทำให้นักศึกษาแจ้งจบได้เร็วขึ้นอีกด้วย – ส่วนของฐานข้อมูลของอาจารย์ทั้งในส่วนของอาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาได้รับการพัฒนา ทดสอบการใช้งานและเริ่มใช้งานตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 แต่ทั้งนี้ในการทำงานของระบบเดิมได้พบกับปัญหาที่ไม่สามารถเข้าไปใช้งานในระบบเดิมได้ จึงได้มีการพัฒนาระบบขึ้นอีกครั้งและคาดว่าจะใช้งานได้ภายใน S/2568 – ส่วนของงานเทียบเกณฑ์ภาษาอังกฤษเป็นการพัฒนาระบบเพื่อใช้สำหรับการเทียบเกณฑ์ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยทางหลักสูตรส่งผลภาษาอังกฤษเข้าในระบบ ซึ่งผลการเทียบเกณฑ์ฯ จะถูกพิจารณาโดย RELI เมื่อ RELIรับรองผลการเทียบเกณฑ์ฯ เรียบร้อยแล้วระบบฯ จะส่งผลการเทียบเกณฑ์ฯ ไปยังเจ้าหน้าที่หลักสูตรด้วยอีเมลซึ่งในการพัฒนาระบบนี้ ทางส่วนกลางของมหาวิทยาลัย สามารถดึงข้อมูลไปใช้งานได้ด้วยซึ่งระบบงานส่วนนี้ได้เปิดให้ใช้งานเรียบร้อยแล้ว – ส่วนงานระบบสารบรรณภายในบัณฑิตวิทยาลัยด้วยบัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานสนับสนุนที่ช่วยหลักสูตรตรวจสอบเอกสารทุกอย่างให้เป็นไปตามเกณฑ์หรือข้อบังคับตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา ฯ และ สำนักงานมาตรฐานวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิตกำหนด ทำให้มีเอกสารจำนวนมากที่นำมาใช้งานเพื่อให้เกิดความถูกต้องมากที่สุด ทำให้ระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีเป้าหมายในการลดการใช้กระดาษให้ได้มากที่สุด โดยวิธีการปฏิบัติงานทุกอย่างที่สามารถทำได้ให้ปรับเป็นการทำงานในระบบสารบรรณที่พัฒนาขึ้นระบบงานส่วนนี้วางแผนเริ่มใช้งานใน S/2568 – ส่วนของกลุ่มงานมาตรฐานวิชาการ ด้วยกลุ่มงานนี้มีหลายส่วนงานที่เป็นแกนหลักของข้อมูลต่าง ๆทั้งของอาจารย์และนักศึกษา จึงเป็นส่วนงานที่มีการใช้กระดาษเยอะมากที่สุด ระบบงานของกลุ่มงานส่วนนี้จึงพัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นแกนหลักสำหรับข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่วนงานอื่นสามารถดึงข้อมูลไปใช้งานได้ และเป็นการปรับการปฏิบัติงานให้อยู่ในระบบออไลน์มากขึ้น  สามารถปฏิบัติงานที่ไหนก็ได้ และสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยวางแผนให้พัฒนาระบบงานแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2567 และจะเริ่มใช้งานใน S/2568 – ส่วนงานแบบสอบถามความพึงพอใจของนายจ้างเดิมบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้จัดทำแบบสอบถามและส่งให้หลักสูตรประสานกับต้นสังกัดของนักศึกษา และรวบรวมข้อมูลส่งกลับบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อประมวลผลและใช้สำหรับ QA ของแต่ละหลักสูตร แต่สำหรับปีการศึกษา 2567 ได้มีการพัฒนาระบบให้ง่ายต่อการส่งแบบสอบถามและประมวลผลมากขึ้น ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับทางหลักสูตรยิ่งขึ้น – ส่วนงานบุคคลภายในบัณฑิตวิทยาลัยสำหรับงานส่วนนี้เป็นการบริหารจัดการภายในบัณฑิตวิทยาลัยสำหรับการขอนุมัติลาหยุดชดเชยกรณีที่มีการเข้ามาปฏิบัติงานส่วนรวมของหน่วยงานและการขอออกก่อนเวลา เพื่อช่วยลดปัญหาการติดตามแบบฟอร์มขอลาหยุดชดเชยหรือบันทึกข้อความเพื่อขออนุมัติออกก่อนเวลา ซึ่งระบบงานส่วนนี้จะช่วยให้สามารถขออนุมัติได้เร็วขึ้นและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปส่งหัวหน้างานและสำนักบุคคลได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยระบบงานส่วนนี้ได้เปิดการใช้ในเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 และจะใช้อย่างเป็นทางการในเทอม S/2568 – ส่วนของฐานข้อมูลของนักศึกษาของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษามีเป้าหมายเพื่อแสดงความก้าวหน้าของนักศึกษา ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาทราบ timeline ของตนเองว่าอยู่ตรงกระบวนการจุดไหน ยังมีกระบวนการไหนที่ยังตกหล่น ทำให้ทราบว่าขั้นต่อไปตนเองจะต้องทำอะไร ทำให้นักศึกษาสามารถวางแผนในการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาไปถึงเป้าหมายที่ตนเองวางไว้ได้ดีมากขึ้น คาดว่าจะสามารถใช้งานได้ใน S/2568 ด้วยความที่การพัฒนาระบบ GISS ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ในปีการศึกษา 2567 นี้ จึงมีการใช้ระบบ GISS ในการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาในส่วนของงานการพิจารณาการรับเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาก่อนเป็นอันดับแรก ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          ความรู้ที่เป็นประเด็นหลักในการพัฒนาระบบ GISS เพื่อเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเป็นเครื่องมือในการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่การรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษา การขึ้นทะเบียนอาจารย์ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา การบริหารงานในการทำวิจัย ของนักศึกษา และการบริหารจัดการงานภายในบัณฑิตวิทยาลัย ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :  เจ้าของความรู้/สังกัด บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย วิธีการดำเนินการ 1. กลุ่มงาน GISS ปรึกษาแนวทางและเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายเช่น Flow ขั้นตอนการทำงาน,เกณฑ์ข้อบังคับ, แบบฟอร์มต่างๆ ที่ใช้ภายในบัณฑิตวิทยาลัย เป็นต้น2. ออกแบบการทำงานของแต่ละระบบงานและกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานระดับต่างๆซึ่งสามารถแบ่งผู้ใช้งานระบบ GISS ออกเป็น2.1 ผู้ใช้งานฝ่ายหลักสูตร ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่หลักสูตร, ผู้อำนวยการหลักสูตร และคณบดี2.2 ผู้ใช้งานฝ่ายบัณฑิตวิทยาลัย ประกอบได้ด้วยเจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย,หัวหน้างานแต่ละฝ่ายของบัณฑิตวิทยาลัย และผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย2.3 ผู้ใช้งานของหน่วยงานอื่นๆ เช่น RELI2.4 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ3. ดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบ GISS โดยใช้ข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมจากทุกฝ่ายงานรวมถึงประสานงานขอข้อมูลจากหน่วยงานส่วนกลางของมหาวิทยาลัยเพื่อให้สามารถจัดการข้อมูลได้ถูกต้องและสอดคล้องกับกระบวนการทำงานมากที่สุด4. วางแผนการถ่ายทอดความรู้การใช้งานระบบ GISS แก่หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีระบบ Graduate Information Service System (GISS) เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน 2.1 การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนาเป็นระบบ Graduate Information ServiceSystem ที่สามารถนำมาใช้งานบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและบริหารการดำเนินงานภายในบัณฑิตวิทยาลัย มีส่วนงานที่เสร็จและสามารถใช้งานได้คือ 1)ส่วนของงานพิจารณาเพื่อการรับเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของผู้สมัครเรียน 2)ส่วนงานการเทียบเกณฑ์ภาษาอังกฤษ 3) ส่วนงานบุคคลภายในบัณฑิตวิทยาลัย 4)ส่วนงานประเมินความพึงพอใจของนายจ้าง ดังแสดงผังการทำงานของ 4 ส่วนงานนี้ในรูปที่ 2-5 รูปที่ 1 ภาพรวมระบบ Graduate Information Service System (GISS) รูปที่ 2 Flowchart ส่วนของงานพิจารณาเพื่อการรับเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของผู้สมัครเรียน รูปที่ 3 Flowchart ส่วนงานการเทียบเกณฑ์ภาษาอังกฤษ รูปที่ 4 ส่วนงานบุคคลภายในบัณฑิตวิทยาลัย รูปที่ 5 ส่วนงานแบบสอบถามความพึงพอใจของนายจ้าง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK         สืบเนื่องจากการนำประสบการณ์การทำงานในการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและการบริหารงานภายในบัณฑิตวิทยาลัย มาเชื่อมโยงกับความร่วมมือของผู้บริหารทั้งในบัณฑิตวิทยาลัย หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้เกิดระบบฐานความรู้เพื่อการบริหารจัดการในรูปแบบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชื่อ GraduateInformation Service System หรือ GISS ที่ต้องอาศัยข้อมูลและประสบการณ์การทำงานรวมถึงความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานการศึกษาและการบริหารจัดการ งานทั้งหมดที่นำมากล่าวถึง คือ         ในการพัฒนาระบบ GISS ขึ้นมาเพื่อใช้บริหารงานระดับบัณฑิตศึกษาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันในหลายส่วนงาน ร่วมกันให้ข้อมูล แชร์ประสบการณ์ที่พบเจอปัญหา การแก้ไขปัญหา รวมถึงการให้รายละเอียดของกระบวนการทำงานที่ชัดเจน จึงจะทำให้ระบบ GISS สามารถพัฒนาได้สำเร็จ ซึ่งใน Phase นี้เป็นการพัฒนาระบบขึ้นมาบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลที่ทุกส่วนงานให้ข้อมูลเพื่อให้ระบบ GISS สามารถตอบสนองการทำงานได้ในระบบที่ทุกส่วนงานพึงพอใจตามเป้าหมายของการพัฒนาระบบเพื่อความสะดวกรวดเร็ว และลดการใช้กระดาษ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          เพื่อให้ระบบ GISS มีควาสมบูรณ์และสามารถใช้งานตอบสนองการทำงานได้มากยิ่งขึ้น ใน Phase ต่อไปจะได้นำปัญหาที่พบระหว่างการใช้งานระบบ GISS ใน Phase 1 มาพัฒนา เพื่อให้การใช้งานราบรื่นมายิ่งขึ้นในลักษณะของการทำ PDCA

Graduate Information Service System (GISS) Read More »

คลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัล: โมเดลการจัดการความรู้เพื่อสร้างสุขภาพที่เข้าถึงได้ (Digital Sexual Health Clinic: A Knowledge Management Model for Accessible Well-being)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.1.1, KR 3.1.2/1, KR 3.2.1/1, KR 3.3.1/1, KR 3.4.1/1 และ KR 5.3.1/1 คลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัล: โมเดลการจัดการความรู้เพื่อสร้างสุขภาพที่เข้าถึงได้ (Digital Sexual Health Clinic: A Knowledge Management Model for Accessible Well-being) ผู้จัดทำโครงการ​ นายรชานนท์ สากล นายกวี ภัทรยุคลธร นางสาวอุมา คุ้มวงศ์ และนางสาวภัทราพร จันทรังษี สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ หลักการและเหตุผล / ความสำคัญ / ประเด็นปัญหา1.1 หลักการพื้นฐานของการให้บริการสุขภาพทางเพศดิจิทัล วัยรุ่นเป็นช่วงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQAI+) มักเผชิญกับความท้าทายด้านอัตลักษณ์และการยอมรับในสังคม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศ ความกังวลเรื่องการตีตราและความไม่สะดวกในการเข้ารับคำปรึกษาทางการแพทย์ อาจทำให้วัยรุ่นหลายคนไม่ได้รับการดูแลสุขภาพทางเพศที่เหมาะสมจากข้อมูลการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสถานศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น จังหวัดปทุมธานี พบว่าอัตราการติดเชื้อ เช่น เอชไอวี หนองใน และซิฟิลิส ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ ทั้งจากมุมมองของผู้ใช้บริการและระบบบริการเอง  ดังนั้น แนวทางการให้บริการสุขภาพทางเพศที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอยู่บนหลักการสำคัญดังนี้: 1.1.1 การเข้าถึงที่สะดวกและปลอดภัย – บริการสุขภาพต้องเปิดกว้าง ไม่เลือกปฏิบัติ และให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว1.1.2 การใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง – นำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้เพื่อให้บริการที่สะดวกและลดอุปสรรคในการเข้าถึง1.1.3 แนวทางที่เป็นมิตรและปราศจากการตีตรา – ออกแบบพื้นที่และระบบบริการให้เอื้อต่อวัยรุ่นทุกเพศสภาพ1.1.4 การดูแลแบบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพ – ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และนักจิตวิทยาที่มีความเข้าใจในประเด็นด้านเพศภาวะ 1.2 การประยุกต์ใช้แนวคิดทางทฤษฎีเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพการส่งเสริมสุขภาพทางเพศในวัยรุ่นไม่สามารถมุ่งเน้นเฉพาะด้านการรักษาเพียงอย่างเดียวแต่จำเป็นต้องพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพอย่างเป็นระบบ โดยใช้ "Health Promotion Model" ของ Pender เป็นแนวทางหลัก ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การรับรู้ผลประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ – สร้างความเข้าใจว่า การดูแลสุขภาพทางเพศตั้งแต่เนิ่น ๆช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือปัญหาจากการใช้ฮอร์โมนโดยไม่มีคำแนะนำที่ถูกต้อง  การลดอุปสรรคในการเข้ารับบริการ – ใช้เทคโนโลยีช่วยให้การรับคำปรึกษาง่ายขึ้นลดความรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องพบแพทย์โดยตรง อิทธิพลของปัจจัยทางสังคม – สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้วัยรุ่นกล้ารับบริการสุขภาพโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการตีตรา การพัฒนาทัศนคติในระดับบุคคล – กระตุ้นให้เกิดความตระหนักในความสำคัญของสุขภาพทางเพศไม่ใช่แค่เมื่อมีอาการป่วย แต่เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพโดยรวม 1.3 โมเดลการจัดการความรู้เพื่อสุขภาพทางเพศที่เข้าถึงได้“RSU New Gen x Pride Clinic” ถูกออกแบบให้เป็นต้นแบบของการให้บริการสุขภาพทางเพศ ที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง โดยใช้ โมเดลการจัดการความรู้ (Knowledge Management Model) ที่มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล – ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเพื่อพัฒนานโยบายการให้บริการที่เหมาะสม การพัฒนาองค์ความรู้ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย – สร้างเนื้อหาการให้ความรู้ที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับวัยรุ่นและใช้สื่อดิจิทัลให้เป็นช่องทางหลักในการเผยแพร่ข้อมูล การนำองค์ความรู้ไปใช้ในบริการจริง – พัฒนาแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยให้วัยรุ่นสามารถจองคิว นัดหมายแพทย์ ขอคำปรึกษาออนไลน์และเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพทางเพศได้สะดวก การประเมินผลและปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่อง – ใช้ข้อมูลจากผู้ใช้บริการมาพัฒนาระบบให้ตอบโจทย์ความต้องการของวัยรุ่นและกลุ่ม LGBTQAI+ 1.4 เทคโนโลยีกับการลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นหลีกเลี่ยงการเข้ารับบริการสุขภาพทางเพศคือ ความรู้สึกไม่มั่นใจ กลัวการถูกตีตรา และความยุ่งยากของกระบวนการรับบริการ ดังนั้น คลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัลจึงใช้ เทคโนโลยีเข้ามาเป็นสะพานเชื่อมต่อบริการสุขภาพกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีแนวทางดังนี้ การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล – พัฒนา ไลน์บัญชีทางการ (LINE Official Account) เพื่อช่วยให้วัยรุ่นสามารถนัดหมาย ปรึกษาแพทย์ และขอรับคำแนะนำเบื้องต้นได้ทันที บริการทางไกลและTelemedicine – เพิ่มทางเลือกให้สามารถเข้ารับคำปรึกษาผ่านวิดีโอคอลหรือ แชทโดยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล การให้บริการแบบไม่ต้องเปิดเผยตัวตน – ลดปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นรู้สึกอึดอัดในการเข้ารับบริการ เช่น การลงทะเบียนแบบไม่ระบุชื่อหรือการใช้ระบบจองคิวอัตโนมัติ  การใช้ AI หรือ Chatbot – นำปัญญาประดิษฐ์หรือระบบตอบข้อความอัตโนมัติเข้ามาช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง สรุป โมเดล “คลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัล: การจัดการความรู้เพื่อสร้างสุขภาพที่เข้าถึงได้” ไม่เพียงแต่เป็นการให้บริการทางการแพทย์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของวัยรุ่นและกลุ่ม LGBTQAI+ เท่านั้น แต่ยังเป็นต้นแบบของระบบสุขภาพที่เน้น “การจัดการความรู้ (Knowledge Management) “ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพบริการในระยะยาว  ช่วยให้วัยรุ่นเข้าถึงบริการทางสุขภาพทางเพศได้สะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตร  ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยลดอุปสรรคในการเข้ารับบริการ  นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของนักศึกษาและวัยรุ่นยุคใหม่  ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและลดอัตราการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในระยะยาว การจัดการองค์ความรู้ในคลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัล จึงเป็นแนวทางสำคัญในการทำให้สุขภาพทางเพศกลายเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ สะดวก และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของวัยรุ่นทุกคน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)– ข้อมูลจากสำนักงานสวัสดิการสุขภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต– ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค เขต 4 และ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี– ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก– การประยุกต์ทฤษฎีทางการพยาบาล– ทิศทางกลยุทธ์และนโยบาย โดย สภาการพยาบาล ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)เจ้าของความรู้/สังกัดประสบการณ์ตรงและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกฯและผู้รับบริการโดยตรงจากการปฏิบัติงานทางคลินิกและการให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพทางเพศในกลุ่มนักศึกษาทั่วไปและนักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศ ช่วงวัยรุ่น– นายรชานนท์ สากล (พยาบาลวิชาชีพ) ผู้จัดตั้งโครงการฯ / สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ– นายกวี ภัทรยุคลธร (พยาบาลวิชาชีพ) ผู้ปฏิบัติการ / สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ– นางสาวอุมา คุ้มวงศ์ (พยาบาลวิชาชีพ) ผู้ปฏิบัติการ / สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ– นางสาวภัทราพร จันทรังษี (พยาบาลวิชาชีพ) ผู้ปฏิบัติการ / สำนักงานสวัสดิการสุขภาพอื่น ๆ นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์, นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย, นางปราณี บุญญา, และทีมแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการดำเนินการ          การดำเนินโครงการ RSU New Gen x Pride Clinic เป็นการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพทางเพศ ที่ทันสมัยและเข้าถึงได้ง่าย โดยใช้ แนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นแนวทางหลัก เพื่อให้บริการที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง การดำเนินงาน มี 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การวางแผน การพัฒนาโครงสร้างและระบบบริการ การดำเนินกิจกรรมและให้บริการ การติดตามผล และการส่งเสริมความร่วมมือ โดยแต่ละขั้นตอนถูกออกแบบให้เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและพัฒนาไปสู่ระบบบริการที่ยั่งยืน1. การวางแผนและเตรียมการการพัฒนาและดำเนินโครงการเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด1.1 การจัดตั้งทีมงานและการบริหารจัดการโครงการ จัดตั้งทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักจิตวิทยา และผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทางเพศ เพื่อร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบ วางโครงสร้างและกระบวนการทำงานของคลินิกให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นและนักศึกษา จัดประชุมระหว่างทีมงานเพื่อกำหนดแนวทางให้บริการอย่างเป็นมิตรและไม่เลือกปฏิบัติ1.2 การพัฒนาองค์ความรู้และเตรียมบุคลากร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับแนวทางการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทางเพศ พัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของกลุ่ม LGBTQAI+ ออกแบบหลักสูตรอบรมสำหรับนักศึกษาแกนนำที่สนใจเป็นผู้ให้ความรู้ในระดับเพื่อนช่วยเพื่อน1.3 การจัดทำแผนและขออนุมัติโครงการ จัดทำแผนปฏิบัติการที่ครอบคลุมตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ งบประมาณ และตารางเวลาดำเนินงาน ประสานงานกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุมัติโครงการ 2. การพัฒนาโครงสร้างและระบบบริการ เพื่อให้บริการของคลินิกสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก ระบบดิจิทัลจึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือหลัก2.1 การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล พัฒนา ไลน์บัญชีทางการ หรือ LINE Official Account เป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงบริการ ออกแบบระบบจองคิวออนไลน์และปรับปรุงช่องทางการติดต่อให้มีความเป็นส่วนตัว พัฒนาบริการ เทเลเมดดิซีน (Telemedicine) ผ่านวิดีโอคอล เพื่อให้คำปรึกษาเบื้องต้น2.2 การจัดหาอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ จัดเตรียมชุดตรวจ HIV Self-Test Kit, ชุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, ถุงยางอนามัย และสารหล่อลื่น จัดหาวัสดุและอุปกรณ์สนับสนุนที่จำเป็นสำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา2.3 การสร้างระบบการให้บริการแบบบูรณาการ ประสานงานระหว่างทีมบุคลากรสหวิชาชีพเพื่อให้บริการที่ครอบคลุม จัดให้มีพื้นที่ให้บริการที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับกลุ่มเป้าหมาย 3. การดำเนินกิจกรรมและให้บริการคลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัลให้บริการในหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย3.1 การให้คำปรึกษาและตรวจคัดกรองโรค ให้คำปรึกษาออนไลน์ผ่าน LINE Chat และ Video Call บริการคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เบื้องต้น บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับเพศภาวะ3.2 การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค ให้บริการตรวจและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในสถานพยาบาลของมหาวิทยาลัย นัดหมายและส่งต่อผู้ป่วยไปยังคลินิกเฉพาะทางหากจำเป็น3.3 การแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ แจกจ่ายถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นในจุดให้บริการที่เข้าถึงง่าย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ฮอร์โมนอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ที่ต้องการ3.4 การอบรมและสร้างแกนนำนักศึกษา จัดการอบรมให้แกนนำนักศึกษาเพื่อเป็นตัวแทนในการให้ความรู้เรื่องสุขภาพทางเพศ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Learning)3.5 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ใช้โซเชียลมีเดียและสื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือหลักในการเผยแพร่ความรู้ จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องสุขภาพทางเพศในหมู่นักศึกษา 4. การติดตามและประเมินผล การดำเนินโครงการจะต้องมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ4.1 การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้ใช้บริการ ระดับความพึงพอใจ และผลการรักษา วิเคราะห์แนวโน้มการติดเชื้อและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย4.2 การติดตามผลการรักษาและให้คำปรึกษาต่อเนื่อง ติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการดูแลอย่างครบถ้วน ให้คำแนะนำต่อเนื่องเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลสุขภาพทางเพศ4.3 การนำผลการประเมินมาปรับปรุงระบบ ใช้ข้อมูลจากผู้ใช้บริการมาพัฒนาและปรับปรุงระบบให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ปรับปรุงแนวทางการให้บริการให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 5. การเสริมสร้างพลังอำนาจและเครือข่ายความร่วมมือ การดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จจำเป็น ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ5.1 การสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา สนับสนุนให้มีการจัดตั้งชมรมหรือกลุ่มนักศึกษาที่สนใจประเด็นสุขภาพทางเพศ ส่งเสริมบทบาทของนักศึกษาในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาและเผยแพร่ความรู้5.2 การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกับคณะและภาควิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขในท้องถิ่นเพื่อขยายบริการ5.3 การพัฒนาเครือข่ายสนับสนุนระดับประเทศและนานาชาติ ขยายความร่วมมือไปยังองค์กรด้านสุขภาพทางเพศและสิทธิมนุษยชน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดีจากหน่วยงานต่างประเทศ         สรุปแนวทางการดำเนินงานของ “คลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัล” มุ่งเน้น การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบบริการที่เข้าถึงได้ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นศูนย์กลาง พร้อมบูรณาการหลักการพยาบาลและสุขภาพสาธารณะเพื่อให้บริการที่ครอบคลุม ปลอดภัย และยั่งยืนต่อไปในอนาคต การสร้างเสริมพลังอำนาจ การมีส่วนร่วมของนักศึกษาและภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อน 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน2.1 การดำเนินการทดสอบต้นแบบของ RSU New Gen x Pride Clinic การพัฒนา RSU New Gen x Pride Clinic ในระยะต้นเน้นการทดสอบการให้บริการในรูปแบบ แอปพลิเคชันบัญชีไลน์ทางการ (LINE Official Account) เพื่อวิเคราะห์ ประสิทธิภาพของระบบ และ ความพร้อมของบุคลากร ในการให้บริการสุขภาพทางเพศแบบดิจิทัล โดยใช้กระบวนการทดสอบ Prototype Testing ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานจริง กระบวนการทดสอบต้นแบบนี้ใช้แนวทาง การพัฒนาวนรอบ (Iterative Development Approach) ซึ่งเน้น การทดลองใช้งาน (Trial Use) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) และการปรับปรุงระบบ ตามข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการ (User Feedback-Based Improvement) เพื่อให้แน่ใจว่าระบบสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ2.2 ตารางสรุปการทดสอบต้นแบบ: ประเด็นสำคัญและแนวทางแก้ไข2.2.1 ปัจจัยเชิงเทคนิคและการบริหารจัดการ หัวข้อ รายละเอียด ผลกระทบ / อุปสรรค แนวทางแก้ไข การจัดการข้อมูลและความปลอดภัย ระบบเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการยังไม่มีมาตรการความปลอดภัยเพียงพอ เสี่ยงต่อข้อมูลรั่วไหลและการบริหารจัดการข้อมูลที่ซับซ้อน ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Data Security Enhancement) โดยกำหนดระดับสิทธิ์การเข้าถึง (Access Control) ระบบนัดหมายและการบริหารบุคลากร มีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่เจ้าหน้าที่มีจำนวนจำกัด เกิดความล่าช้าในการให้บริการ และอาจมีบางกรณีที่ไม่ได้รับการดูแลทันที พัฒนาระบบ Online & Onsite Booking และเพิ่มเจ้าหน้าที่สนับสนุน การตอบคำถามนอกเวลาทำการ นักศึกษาส่วนใหญ่สอบถามข้อมูลนอกเวลางาน ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้ข้อมูลสำคัญ ใช้ Chatbot ตอบคำถามเบื้องต้น และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ในกรณีฉุกเฉิน การบริหารจัดการเคส (Case Management) ยังไม่มีระบบติดตามเคสที่เป็นระบบ เกิดปัญหาการตกหล่นของเคส หรือใช้เวลารอนานเกินไป พัฒนา Real-time Case Management System สำหรับติดตามและส่งต่อผู้ป่วย จำนวนแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ มีแพทย์เฉพาะทางเพียงบางวัน และไม่มีแพทย์โรคติดเชื้อประจำ ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับการรักษาทันเวลา ขยายเครือข่ายความร่วมมือ กับโรงพยาบาลและหน่วยงานภายนอก นักจิตวิทยาไม่เพียงพอ นักจิตวิทยามีเคสหนาแน่น การให้บริการด้านสุขภาพจิตล่าช้า ใช้แนวทาง Peer Counseling โดยฝึกอบรมพยาบาลให้สามารถให้คำปรึกษาเบื้องต้น ภาระงานพยาบาลเพิ่ม พยาบาลต้องดูแลหลายส่วน ทำให้การให้บริการล่าช้า ผู้ใช้บริการอาจได้รับคำแนะนำล่าช้า ปรับลดภาระงานที่ไม่จำเป็นและพัฒนา Task Delegation System 2.2.2 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี หัวข้อ รายละเอียด ผลกระทบ / อุปสรรค แนวทางแก้ไข ความล่าช้าในการพัฒนาระบบ ทีมพัฒนาเป็นนักศึกษา IT ที่ไม่มีความรู้ด้านการแพทย์ ระบบอาจไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริง ร่วมมือกับพยาบาลสารสนเทศและผู้เชี่ยวชาญ IT ข้อจำกัดในการให้ยา ยาบางชนิด เช่น ยาต้านฉุกเฉิน ยังไม่สามารถให้บริการได้ ผู้ใช้บริการต้องไปขอรับบริการที่อื่น ประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อขยายการให้บริการ ปัญหาการประชาสัมพันธ์ นักศึกษาบางรายยังไม่ทราบว่าคลินิกมีบริการด้านสุขภาพทางเพศ ทำให้มีผู้เสียโอกาสเข้ารับบริการ ใช้ช่องทาง TikTok, Instagram, LINE OA และกิจกรรมรณรงค์ 2.3 บทเรียนจากการทดสอบต้นแบบและแนวทางพัฒนาจากการทดสอบต้นแบบ RSU New Gen x Pride Clinic ในระยะแรก พบข้อดีและอุปสรรคที่สามารถ นำมาพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแนวทางการปรับปรุงในอนาคต ได้แก่2.3.1 ปรับปรุงระบบและโครงสร้างการให้บริการ เพิ่มบุคลากรสนับสนุน – ลดภาระงานของแพทย์ พยาบาล และนักจิตวิทยา โดยใช้ Chatbot และระบบอัตโนมัติ พัฒนาระบบบริหารจัดการเคส – ใช้ระบบติดตามผู้ป่วยแบบเรียลไทม์ เพื่อลดระยะเวลารอ ขยายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก – เพื่อรองรับบริการด้านสุขภาพทางเพศที่ครอบคลุมมากขึ้น ปรับปรุงแพลตฟอร์มและเทคโนโลยี ปรับปรุงระบบแจ้งเตือนในไลน์ – ใช้ API ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์ม เพิ่มระบบ Chatbot AI – ตอบคำถามเบื้องต้นเพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ เพิ่มระบบริชเมนูใน LINE OA – เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและลดอุปสรรคในการเข้ารับบริการ ใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์หลัก เช่น TikTok, Instagram และ กิจกรรมให้ความรู้ ขยายบริการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น LGBTQAI+ และนักศึกษาที่ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ฮอร์โมน  ลดอุปสรรคทางจิตวิทยาและสังคม – จัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและลดการตีตรา2.3.2 การพัฒนาระยะต่อไป: การขยายขอบเขตของคลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัล หลังจากการทดสอบต้นแบบ RSU New Gen x Pride Clinic ในระยะแรกเสร็จสิ้นแผนการพัฒนาระยะต่อไปมีเป้าหมายในการทำให้ระบบสมบูรณ์และครอบคลุมมากขึ้น โดยมีแนวทางดังนี้ ทดสอบ Web Service และริชเมนูใน LINE OA เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถนัดหมายออนไลน์ขอรับถุงยางอนามัย / ชุดตรวจ HIV / ชุดตรวจ HPV DNA แบบไม่พบหน้า แจ้งเตือนการกินยา รับใบรับรองแพทย์ รับผลตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ พัฒนาระบบติดตามการรักษาอัตโนมัติ เช่น AI Reminder และ Telehealth Follow-up สร้างโมเดลความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสุขภาพทางเพศ เพื่อลดช่องว่างในการให้บริการสรุป การทดสอบต้นแบบ RSU New Gen x Pride Clinic ช่วยให้สามารถระบุจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุงของระบบได้ชัดเจน ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนา คลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัล ที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้อย่างแท้จริง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK         การดำเนินโครงการ RSU New Gen x Pride Clinic ได้ผ่านกระบวนการออกแบบ ทดลองและปรับปรุงจนสามารถ พิสูจน์ความเป็นไปได้ (Feasibility) และประสิทธิผล (Effectiveness) ในการให้บริการสุขภาพ ทางเพศที่เข้าถึงได้จริง ผ่านการบูรณาการ องค์ความรู้ (Explicit Knowledge), เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Health), และแนวทางการทำงานแบบสหวิชาชีพ (Interprofessional Collaboration) กระบวนการ "CHECK" นี้ มุ่งเน้นการ วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน (Performance Analysis), การนำองค์ความรู้ไปใช้ (Knowledge Application), และการกำหนดแนวทางพัฒนาต่อเนื่อง (Future Direction) เพื่อให้โครงการสามารถขยายผลและสร้างผลลัพธ์เชิงระบบอย่างยั่งยืน 3.1 การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้3.1.1 ประสบการณ์ในการออกแบบและพัฒนาระบบ ทีมพัฒนาได้นำ ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (Pender’s Health Promotion Model)มาใช้เป็นแนวทางหลักในการออกแบบระบบสุขภาพทางเพศดิจิทัล ใช้แนวคิด "การออกแบบที่มุ่งเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design)"เพื่อให้แพลตฟอร์มตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการ Prototype Testing ในสภาพแวดล้อมจริง ช่วยให้ทีมพัฒนา มองเห็น Pain Point ได้เร็วขึ้นและปรับปรุงระบบให้เหมาะสม เช่น การจัดการสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล, การขาดแพทย์เฉพาะทาง,และการบริหารข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล3.1.2 ประสบการณ์ในการดำเนินงานจริง มีการพัฒนา ระบบ Case Management และ ระบบติดตามผู้ป่วยผ่านไลน์เพื่อลดระยะเวลารอคอยและเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ ขยายความร่วมมือกับ โรงพยาบาลปทุมธานี และหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อรองรับการรักษาเฉพาะทางและสนับสนุนทรัพยากร ปรับปรุง กระบวนการทำงานของทีมสหวิชาชีพ ให้มีการสื่อสารที่ดีขึ้น (Effective Communication)ลดข้อผิดพลาดในการส่งต่อและการบริหารจัดการผู้ป่วย 3.2 สรุปและอภิปรายผลการดำเนินงาน3.2.1 พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด นักศึกษาตระหนักถึง ความสำคัญของสุขภาพทางเพศ มากขึ้น มีอัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองสูงขึ้นและลดการใช้ยาด้วยตนเองโดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์ ความรู้สึกอึดอัดและการตีตราลดลง เนื่องจากบริการให้ความสำคัญกับ "ความเป็นส่วนตัว"และมีช่องทางการปรึกษาออนไลน์3.2.2 เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ ระบบ Online Booking, QR Code Scan, และ Chatbot หรือ AI ลดระยะเวลาการให้บริการและภาระงานของบุคลากร การเชื่อมต่อข้อมูล Real-time ผ่าน LINE Official Account ทำให้การบริหารจัดการเคสเป็นไปอย่างต่อเนื่อง3.2.3 การทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายสุขภาพ โครงการ สอดคล้องกับ KR 3.1.2/1 ของยุทธศาสตร์ที่ 3 (Smart Organization)ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร  ขยายเครือข่ายความร่วมมือกับ โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุข และ NGO ทำให้บริการมีความครอบคลุมและตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่ม LGBTQAI+3.2.4 การเปลี่ยนแปลงไปสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart Organization) มีการนำ Digital Health Solutions เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานของบุคลากร สอดคล้องกับ KR 3.3.1/1 ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร ข้อมูลที่รวบรวมได้ถูกนำไปใช้พัฒนาต่อยอด งานวิจัยและแนวทางปฏิบัติทางคลินิก3.2.5 การสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ (Image & Reputation) การให้บริการที่ครอบคลุมและเป็นมิตรต่อวัยรุ่น สนับสนุน O5.3 (การสร้างเสริมสุขภาวะของนักศึกษา) การประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดียและกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ทำให้ RSU เป็นต้นแบบของHealth Promoting University 3.3 บทสรุปองค์ความรู้ที่ค้นพบใหม่ “โมเดลคลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัล” ช่วยลดช่องว่างการเข้าถึงบริการ – แพลตฟอร์มออนไลน์ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถขอรับคำปรึกษาได้ง่ายขึ้น ลดอุปสรรคด้านความอายและการตีตรา “Key Success Factor” คือการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ – ทฤษฎีการพยาบาล, เทคโนโลยี, Data Science และ Cultural Competence เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ”ข้อมูลที่รวบรวมสามารถต่อยอดในระดับระบบ” – สถิติการใช้บริการและรายงาน (รง.506) มีประโยชน์เชิงระบาดวิทยา และสามารถนำไปพัฒนานโยบายสุขภาพวัยรุ่นได้ “ต้นแบบมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ” – โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางการให้บริการสุขภาพที่สามารถขยายผลไปยังสถาบันอื่น รองรับยุทธศาสตร์ Health Promoting University & Digital Health Transformation 3.4 สรุปผลลัพธ์และแนวทางพัฒนาในอนาคต โครงการ RSU New Gen x Pride Clinic ได้พิสูจน์ว่าเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพทางเพศของนักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQ+ แนวทางพัฒนาในอนาคต ได้แก่:– ขยายบริการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการดูแลเฉพาะทางมากขึ้น เช่น การดูแลสุขภาพ LGBTQ+, การให้คำปรึกษาด้านการใช้ฮอร์โมน– นำ AI และ Chatbot มาเสริมระบบติดตามผลการรักษาและการให้คำแนะนำเบื้องต้น– สร้างระบบเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อการบริหารจัดการผู้ป่วยและ การเฝ้าระวังโรคที่แม่นยำขึ้น – เพิ่มการประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านสื่อดิจิทัลและกิจกรรมในมหาวิทยาลัย เพื่อให้โครงการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น 3.5 บทสรุปสุดท้าย: CHECK = ความพร้อมสู่อนาคตของ Digital Sexual Healthการดำเนินโครงการในระยะ "CHECK" แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัย ในการเป็นต้นแบบของ SmartOrganization และ Digital Health Leader ที่สามารถ – สร้างสรรค์นวัตกรรมบริการสุขภาพทางเพศที่เข้าถึงได้– บูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญสหวิชาชีพ– ยกระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้นในระยะยาว “RSU New Gen x Pride Clinic: ก้าวสู่คลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัลที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับทุกคน” ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          โครงการ RSU New Gen x Pride Clinic ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นแนวทาง การเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Collaboration), การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Digital Health), การส่งเสริมสุขภาวะนักศึกษา (Student Well-being), และการบริหารโครงการให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability Management) แนวทาง “ACT” นี้เน้นไปที่ การดำเนินงานเชิงรุก (Proactive Implementation), การปรับปรุงคุณภาพบริการ (Service Optimization), และการพัฒนาองค์ความรู้ให้สามารถขยายผลได้ (Scalable Knowledge Management) โดยอ้างอิง Key Results (KR) และ OKRs ขององค์กร เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและความต่อเนื่อง 4.1 ขยายความร่วมมือและเสริมสร้างเครือข่าย (Collaboration and Communication)ตาม KR 3.1.2/1การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คลินิกสามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุม4.1.1 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก  ภายในมหาวิทยาลัย – จัดทำ โครงการบูรณาการกับคณะและวิทยาลัยต่างๆเพื่อออกแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทางเพศและการให้ความรู้ด้านสุขภาวะ ภายนอกมหาวิทยาลัย – สร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุข และNGOs เพื่อพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย และเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ 4.1.2 ปรับปรุงระบบการสื่อสารภายในทีมสหวิชาชีพ   จัดทำ “คู่มือแนวปฏิบัติ (Standard Operating Procedure – SOP)” สำหรับกระบวนการให้บริการและการจัดเก็บข้อมูล   ใช้ แพลตฟอร์มกลาง (Microsoft Teams, Google Meet, หรือ Intranet ของมหาวิทยาลัย) เพื่อให้บุคลากรสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและปรึกษาเคสได้อย่างรวดเร็ว 4.1.3 พัฒนา Digital Health Literacy สำหรับบุคลากร

คลินิกสุขภาพทางเพศดิจิทัล: โมเดลการจัดการความรู้เพื่อสร้างสุขภาพที่เข้าถึงได้ (Digital Sexual Health Clinic: A Knowledge Management Model for Accessible Well-being) Read More »

การบริหารจัดการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2564 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการที่ตอบสนองเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.นันทชัย ทองแป้น วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัจจัยที่สาคัญที่ทาให้มหาวิทยาลัยรังสิตมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วจนเติบโตเป็นมหาวิทยาลัยระดับต้นๆของประเทศและก็ติดอยู่ในระดับโลกถึงแม้อันดับจะไม่สูงมากนักก็คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นามหาวิทยาลัยที่เป็นผู้กาหนดวิสัยทัศน์และเป็นที่รวมจิตวิญญาณของทุกอย่างของมหาวิทยาลัยรังสิต ทิศทางการการดาเนินงานที่ชัดเจน บุคลากร            ในส่วนของระดับคณะหรือวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน สาหรับในส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมาอย่างต่อเนื่อง ในทิศทางที่ชัดเจน ดังนั้นยุทศาสตร์ซึ่งถือว่าเป็น Road Map ที่สาคัญที่ทาให้สามารถเดินได้มาจุดในปัจจุบัน          อย่างไรก็ตามจุดเริ่มต้นก่อนที่จะทาการกาหนดยุทธศาสตร์ จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตอยู่ตรงไหน? ภารกิจหลักของคณะ/วิทยาลัยคืออะไร ? คาตอบในเชิงยุทธศาสตร์ก็คือ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมาย โดยใช้การจัดการเป็นฐาน สาหรับวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นมีเป้าหมายคือ มหาวิทยาลัยรังสิตติด Top1000/โลกและ Top 10/ประเทศไทย รวมทั้งต้องการให้มหาวิทยาลัยรังสิตสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเองของประเทศไทยได้ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          การบริหารจัดการ คือกระบวนการในการวางแผน การจัดการองค์การ การสั ่งการ การควบคุมการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้โดยที่คณะ/วิทยาลัยเป็นหน่วยงานที ่มีหน้าที ่โดยตรงในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายโดยใช้การจัดการเป็นฐาน ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารและบุคลากรในทุกระดับจะต้องรู้และเข้าใจตรงกันก็คือ ความจริงของปัจจุบันและอนาคตและสิ่งที่ต้องพิจารณาในการนำพาคณะ/วิทยาลัยว่า ภูมิทัศน์ของโลกในศัตวรรษที่ 21 ในทุกมิตินั้นจะเป็นมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เป็นแบบเชิงเส้นอีกต่อไป ส่งผลทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะในทุกด้านไม่เหมือนเดิม รวมทั้งทักษะในการดำรงชีวิตก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้ถึงสภาพความจริงดังกล่าว รวมทั้งต้องศึกษาและวิเคราะห์ถึงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และทิศทางของมหาวิทยาลัยให้ชัดเจนและลึกซึ้งว่าเป็นอย่างไร สิ่งที่ส าคัญจะต้องศึกษาถึงสภาพปัจจุบันของมหาวิทยาลัย คณะ/วิทยาลัยรวมไปถึงอัตราการเติบโตในมิติต่างๆ ขององค์ประกอบที่สำคัญในระดับโลก ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศถึงสภาพอย่างลึกซึ้ง เพื่อนำไปใช้การบริหารจัดการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน          วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้รับการยกระดับจากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ในวันที่ 1 สิงหาคม 2559 และในวันที่ 16 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกระดับจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยท่านอธิการบดีให้นโยบายและทิศทางการด าเนินงานในด้านต่างๆของวิทยาลัยว่าให้คณะ/วิทยาลัยในแนวใหม่ที่สร้างนวัตกรรม ไม่ต้องยึดติดกับกรอบงานเอกสารแบบเดิม ไม่ว่านักศึกษาที่เข้ามาเป็นอย่างไร แต่จบออกไปให้มีคุณภาพ สอนให้นักศึกษามีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ สอนให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ และมีนวัตกรรม เน้นให้ทั้งบุคลากรและบัณฑิตที่จบออกไปเป็นคนที่มีสมรรถนะสูงทั้งในด้านวิชาการ วิชางานและวิชาคนทางวิทยาลัยได้นำเอาดำริทางด้านนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานของวิทยาลัยจากท่านอธิการบดีมาจัดทำเป็นโมเดลของรูปแบบของการบริหารจัดการแบบครบวงจรได้ดังรูป            พิจารณาจากรูปสามารถอธิบายโดยสรุปได้ดังนี้ วงจรของการบริหารจัดการวิทยาลัยหรือแม้แต่ มหาวิทยาลัยนั้น ถ้ามองแบบครบวงจรจะสามารถเขียนเป็นรูปแบบได้ดังรูปข้างบน โดยที่ปัจจัยสิ่งที่สำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเอกชนให้เกิดขึ้นนั้น ต้องมาจากงบประมาณ ซึ่งก็คือรายได้ซึ่งมาจาก 2 แนวทางคือจากผู้เรียนหรือนักศึกษา และจากรายได้จากแหล่งอื่นได้แก่ ทุนวิจัย การแต่งตำราหรือเอกสารทาง วิชาการ การนำผลงานวิจัยดำเนินการในเชิงพาณิชย์ หรือบริการวิชาการในรูปแบบต่างๆ จากรายได้ดังกล่าวก็จะนำไปใช้ในการจัดสรรในด้านต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งบุคลากรที่เก่งๆ และมีสมรรถนะสูง ทำให้ สามารถสร้างเครือข่ายในเชิงวิชาการ วิชางาน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นปัจจัยที่จะดึงดูด นักศึกษาเข้ามาได้มากทั้งจำนวนและคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพงานในทุกมิติรรวมทั้งได้บัณฑิตที่มีคุณภาพที่ดี สิ่งที่ตามมาคือ ชื่อเสียงของวิทยาลัยก็จะถูกเผยแพร่ออกไปทั้งในระดับในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผล ย้อนกลับทำให้ค่านิยมในการเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยมีจำนวนมากขึ้น ถ้าสามารถทำให้การพัฒนา ของวงจรดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก็จะส่งผลต่อการพัฒนาของของวิทยาลัย/ มหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างยั่งยืน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิธีการดำเนินการ           ทางวิทยาลัยได้นำนโยบายและทิศทางการพัฒนาดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการกาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการนำพาวิทยาลัยโดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ SWOT ในทุกมิติทั้งด้านคุณภาพและปริมาณทั้งในส่วนของงานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการและงานทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งศึกษาอัตราการเติมโตในด้านต่างๆ ดังกล่าวทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยในระดับประเทศได้นำเอาหลักเกณฑ์ในระดับประเทศมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยมุ่งที่จะพัฒนาให้อัตราการเจริญเติบโตในแต่ละปีให้มากกว่าเกณฑ์ดังกล่าวไม่ต่ากว่า 10-15เปอร์เซ็นต์          โดยทางวิทยาลัยได้ คิดคาขวัญประจาวิทยาลัยคือการเติบโตแบบก้าวกระโดด “Quantum Leap to the Innovation & Entrepreneurship Faculty” ด้วยปรัชญา (Philosophy) “นวัตกรรม จิตวิญญาณผู้ประกอบการ และ ความเป็นสากล ชนะทุกสิ่ง และนามาซึ่งความสาเร็จ” โดยมีปณิธาน (AIM)ว่า “มุ่งผลิตวิศวกรชีวการแพทย์สากลที่มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการเพื่อเติมเต็มระบบการดูแลรักษาสุขภาพให้กับสังคม”ด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) ในการนาวิทยาลัยก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อสังคมของอาเซียน”ที่มีอัตลักษณ์ในการ “ประพฤติอย่างมีคุณธรรม คิดอย่างมีนวัตกรรม ทำด้วยจิตวิญญาณผู้ประกอบการ”สาหรับทิศทางการบริหารจัดการวิทยาลัยนั้น ได้จัดโครงสร้างการบริหารจัดการ การวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานที่เน้นผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานเป็นสาคัญ ได้ใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยนจากคณะวิชาให้เป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์ พยายามสลายรอยต่อของรายวิชาเพื่อให้เกิดการบูรณาการแบบครบวงจร มุ่งปรับกระบวนทัศน์ใหม่ให้กับคณาจารย์ที่ต้องเปลี่ยนจากผู้สอนเป็นผู้ออกแบบกระบวนและอานวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่มุ่งไปที่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ไม่ใช่รายวิชาอีกต่อไป การดาเนินงานนั้นมุ่งเน้นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด มุ่งสู่การเป็นวิทยาลัยนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ          สำหรับหลักการที่สาคัญที่นามาใช้คือ ใช้กลยุทธ์การ Synergy ของทุกองคาพยพของวิทยาลัย โดยการปฏิบัติภารกิจใดๆต้องส่งผลทาให้มีผลต่อภารกิจหลักอื่นๆอย่างครบวงจร เช่นการทำวิจัย ต้องสามารถนำไปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม การพัฒนานักศึกษา การพัฒนาตาแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ การประชาสัมพันธ์เพื่อนาชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัย รวมทั้งการนาไปใช้ในการดาเนินการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน          จากการบริหารจัดการวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระยะเวลา 5 ปี ตามรูปแบบและแนวทางที่กล่าวมาพบว่าผลลัพธ์จากการบริหารจัดการที่เกิดขึ้นเป็นไปในทิศทางที่ดี เห็นได้จากการได้คะแนนการทางด้านประกันคุณภาพโดยภาพรวมเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยรังสิตตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มีทุนวิจัยและผลงานการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงงานวิจัยเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาสอบผ่านภาษาอังกฤษเกณฑ์มาตรฐาน CEFR มากกว่าร้อยละ 80 ผลงานในด้านต่างๆติดอันดับ 1-3 ของมหาวิทยาลัย บัณฑิตที่จบออกไปสามารถได้งานทาได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วด้วยเงินเดือนและรายได้ที่สูงที่สามารถยกระดับสถานะและคุณภาพชีวิตให้กับตนเองและครอบครัวได้ดีมากขึ้น สถิติการเป็นผู้ประกอบการของศิษย์เก่าที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ชื่อเสียงและเครดิตของวิทยาลัยได้รับการยอมรับต่อวงการวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระดับประเทศและต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้จานวนนักศึกษาแรกเข้าเกินเป้าหมายในทุกปี รวมทั้งอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 อยู่ในระดับที่สูงมากขึ้นในทุกปี          สำหรับพัฒนาการของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นมาได้มีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยสรุปจานวน แผนยุทธศาสตร์โยสรุปดังนี้แผนที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์ BME1.0 2545 -2554 เป็นยุทธศาสตร์ในระยะเริ่มต้นในเริ่มพัฒนาโดยเน้นการสะสมพลังและสร้างความพร้อมในทุกมิติทั้งในด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านการวิจัย และบริการวิชาการขณะนั้นเป็นหลักสูตรหนึ่งในคณะวิทยาศาสตร์แผนที่ 2 คือ ยุทธศาสตร์ BME2.0 2555-2559 ยุทธศาสตร์การเข้าสู่องค์กรแห่งการวิจัยจนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2559 ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกระดับจากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขึ้นเป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และ ในระยะเวลา 2 ปีถัดมาคือ ในวันที่16 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิตได้มีคาสั่งประกาศยกระดับจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์แผนที่ 3 คือ แผนยุทธศาสตร์ BME 3.0 2560-2564 ระยะการเข้าสู่วิทยาลัยแห่งนวัตกรรม และแผนที่ 4 คือ แผนยุทธศาสตร์ BME4.0 2564 -2569 เป็นต้นไป ระยะการการพัฒนาไปสู่วิทยาลัยแห่งผู้นวัตกรรมและประกอบการ อย่างเต็มรูปแบบ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดาเนินการ การนาเสนอประสบการณ์การนาไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ *          สรุปประเด็นสาคัญของแผนแนวคิดและยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อน วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้ดังนี้คือ1. การบริหารจัดการจะเน้นการโดยใช้เป้าหมายเป็นฐาน (Target Based Management) 2. เน้นการพัฒนาบัณฑิตโดยเน้นการเปลี่ยนจาก Formative/Informative Learning เป็น Transformative Learning โดยเน้นในด้านของการเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลง (Leadership, Change Agent Skill)3. ใช้ยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการบริหารจัดการภารกิจและคน4. เน้นการทาภารกิจทุกอย่างแบบมี Partnership5. มี Brain Bank ของคณะ/วิทยาลัย6. เน้นการผลักดันให้การพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ ที่เป็นเสาหลักของการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทย ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแนวทางหนึ่งของแนวปฏิบัติที่ดีในด้านของการบริหารจัดการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางของของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และหวังว่าการเผยแพร่แนวทางการบริหารจัดการดังกล่าวนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องที่สามารถนาเอาไปประยุกต์ใช้ตามแนวทางที่เหมาะสมต่อบริบทของแต่ละคนแต่ละองค์การต่อไป* ข้อมูลบางส่วนสามารถนามาจากแบบฟอร์มรายงานการดาเนินโครงการของสานักงานวางแผนได้ ในกรณีที่โครงการที่ดาเนินการมีประเด็นความรู้ที่สาคัญซึ่งนามาใช้ในโครงการ

การบริหารจัดการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Read More »

Authentic Learning for Smart Service Team

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2564 ยุทธศาสตร์ที่ 3 Authentic Learning for Smart Service Team ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.สมิตา กลิ่นพงศ์ สำนักงานพัฒนาบุคคล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัจจุบันในโลกมีการเปลี่ยนแปลงและรวดเร็ว การพัฒนาบุคลากรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้นจึงเป็นเรื่องจําเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจและโรคระบาด Covid_19 ในปัจจุบัน ทุกคนต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถทํางานในระยะใกล้กันได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม นับเป็นสิ่งที่ท้าทายของผู้บริหาร และบุคลากรทุกคนที่จะต้องเตรียมตนเองให้พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างรอบคอบรอบคอบและรอบด้านความรู้ที่เป็นประเด็นสําคัญที่นํามาใช้          สํานักงานพัฒนาบุคคลได้เล็งเห็นความสําคัญดังกล่าวจึงจัดโครงการพัฒนาบุคลากรตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ จึงได้สร้าง Smart Service Team ขึ้นเพื่อการเป็นขับเคลื่อนและพัฒนาระบบการทํางานในส่วนของการบริการนักศึกษาและบุคคลภายนอกที่มาติดต่อของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ใช้การพัฒนาบุคลากรด้วยวิธี Authentic Learning (การเรียนการสอนตามสภาพจริง) มาใช้ในการอบรม ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : อื่น ๆ (ระบุ) เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวบุคลากรที่มาทํางานใน Smart Service Team เช่น เรื่องของวิธีการให้บริการของแต่ละคน วิธีการแก้ปัญหาของแต่ละคน ที่มีการแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ ผ่านการบอกเล่าระหว่างกลุ่มทํางาน หรือ Social Media ที่เป็นช่องทางสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็ว คือ โปรแกรม Line วิธีการดำเนินการ จัดอบรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันเพื่อพัฒนาบุคลากรตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ หัวข้อการพัฒนาระบบการรับนักศึกษาใหม่ ณ โรงแรมซันธารา เวลเนสรีสอร์ท จ.ฉะเชิงเทราโดยให้แต่ละคณะส่งผู้แทนทั้งสายอาจารย์ และสายเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการรับนักศึกษา โดยการWorkshop แยกสายอาจารย์ และสายเจ้าหน้าที่สายอาจารย์จะเป็นการ workshop ในเรื่องของเนื้อหาหลักสูตรที่ทันสมัย โดนใจ สายเจ้าหน้าที่เน้นในเรื่อง ของการให้การบริการที่ดี การทํากระบวนการในเรื่องต่าง ๆ ให้สั้น กระชับมีความรวดเร็วมากขึ้น จัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ หัวข้อ “SMART SERVICE, TO MORE ENROLLMENT” (สําหรับเจ้าหน้าที่) การอบรมเป็น Workshop ในส่วนของเจ้าหน้าที่ ที่ทําหน้าที่ในเรื่องของการรับนักศึกษา ต่อยอดจากการอบรมครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการตกผลึกในเรื่องของการให้การบริการที่ดี และกระบวนการการทํางานต่าง ๆ เพื่อนําไปสู่การสร้าง Smart Service Team ต่อไป จัดอบรม เรื่อง การบริการสู่ความเป็นเลิศ สําหรับเจ้าหน้าที่ที่จะลงปฏิบัติหน้าที่ Smart Service Team จํานวน 20 คน โดยเป็นการเน้นเรื่องการบริการที่ดี /บุคลิกภาพ/ การใช้ภาษา เทคนิคการต้อนรับและขั้นตอนสูงการสร้าง Engagement / หลักการฟังให้ได้ใจความเพื่อการตอบสนองที่ถูกต้อง/ การแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความรู้สึกอันดีต่อผู้เข้ามาติดต่อ และการสร้างสายสัมพันธ์อันดีเพื่อสร้างความประทับใจอันยั่งยืน ปฏิบัติงานโดยจัด Smart Service Team เข้าทําหน้าที่ ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ ตั้งแต่มีนาคม – มิถุนายน 2564 วันละประมาณ 2-4 คน (หยุดภารกิจหน้างานตั้งแต่ วันที่ 10 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์ Covid –19 ทั้งนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ใน Online และ Line Smart Service Team เป็นหลัก) โดยมี ipad เป็นอุปกรณ์ที่ข้อมูลสําคัญที่จะต้องใช้ในการทํางานเช่น ข้อมูลการรับนักศึกษา ข้อมูลการลงทะเบียน ข้อมูลด้านการเงิน ข้อมูลเรื่องของหอพัก ฯลฯ สําหรับนักศึกษาเก่า และนักศึกษาใหม่ หรือ ผู้ที่กําลังจะตัดสินเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยรังสิต (Authentic Learning)  สร้าง Line สําหรับ Smart Service Team มีสมาชิก คือ Smart Service Team /ฝ่ายแนะแนวและรับนักศึกษา / สํานักงานทะเบียน / สํานักงานการเงิน / สํานักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ / สํานักงานพัฒนาบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารในกรณีที่เกิดปัญหาต่าง ๆ หรือสอบถามข้อมูล และเป็นฐานข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดปัญหาซ้ํา ๆ ซึ่งเป็นการบูรณาการการแก้ปัญหาในหลาย ๆ ภาคส่วน (Authentic Learning) 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน            สํานักงานพัฒนาบุคคลไดประเมินผลการดําเนินงาน โดยใชแบบประเมินใหผูใชบริการ คือ ผูปกครอง นักศึกษาและนักเรียนที่มาใชบริการ ณ โถงอาคาร 1 โดยมีผลประเมินดังนี้ ผูตอบแบบประเมิน มีจํานวน 106 คน เปนผูปกครอง จํานวน 16 คน เปนนักเรียนและนักศึกษา จํานวน 78 คน คิดเปนรอยละ 15.09 และ 84.91 ตามลําดับ             ผู้ตอบประเมิน มีความพึงพอใจทีมบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.65และมีความพึงพอใจในหัวข้อ ทีมบริการใช้วาจาสุภาพในการให้บริการ มากที่สุดจาก 4 หัวข้อ โดยมีค่าเฉลี่ย ที่ 4.72 ข้อเสนอแนะต่อการบริการของมหาวิทยาลัย อยากให้มีร้านกาแฟที่ตึก17 ครับ หรือไม่ก็ที่กินข้าว เซเว่นได้ยิ่งดีครับ อยากให้ตอบแชทไวกว่านี้หน่อยครับ ดีมากคะ ชัดเจนคะ บริการดีมากครับ พี่เดือนวิทยาลัยดนตรีคนนี้น่ารักมากๆ ครับ ช่วยเหลือทุกอย่าง เป็นห่วงเด็กๆทุกคนเลยครับ ดีเยี่ยมครับ Good             สํานักงานพัฒนาบุคคลได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้รับการแนะนํามา ตามความเหมาะสม 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK             การพัฒนาบุคลากรด้วยวิธี  Authentic Learning ผู้ที่ให้ความรู้ หรือ Coach ควรเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ภายใต้ประสบการณ์ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ข้อมูลความรู้ประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์จริง หรือโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสเชื่อมโยงกิจกรรมในการอบรมไปสู่ชีวิตการทำงานจริงของเขา  และจะขยายผลต่อ ยอดในการใช้การพัฒนาบุคลากรด้วยวิธี Authentic Learning ในโอกาสต่างๆ ต่อไป การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ *            จากการใช้วิธีการสร้าง Smart Service Team ด้วยการพัฒนาบุคลากรแบบ Authentic Learning คือการเปลี่ยนการอบรมจากการให้ความรู้เพียงอย่างเดียว เป็นการให้ความรู้พร้อมกับ การสร้างกระบวนการปรับทัศนคติในการเรียนรู้ความจริง Authentic Learning ควบคู่กันไป โดยเริ่มจากการอบรมให้ความรู้และใช้การทำ Workshop เพื่อให้ได้ข้อสรุปในเรื่องต่าง ๆ จากการใช้ความรู้เดิมของผู้เข้าอบรมเป็นหลัก และหาข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ร่วมกัน และนำข้อสรุปนั้น ๆ ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง  เช่น ปัญหาในเรื่องของกระบวนการรับสมัครนักศึกษา ที่นำไปสู่การสมัครเรียนแบบ Online ลดขั้นตอนการทำงานให้สั้นและกระชับลง หรือการทำงานเป็นทีมที่ไม่ได้แบ่งแยกว่าตัวเองมาจากสังกัดที่ไหนแต่เป็นการทำงานในนามของมหาวิทยาลัยรังสิต  ที่พร้อมจะเผชิญกับปัญหาและการแก้ไข ในเรื่องต่าง ๆ ด้วยกัน โดยในระยะแรก อาจจะมีปัญหาในเรื่องระบบการรับสมัครออนไลน์ ซึ่งทุกคนก็จะแจ้งปัญหาที่ตนเองได้รับ พร้อมกับผู้บริหารส่วนกลางที่มีส่วนช่วยกันแก้ไขระบบให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น           จากการใช้วิธีการสร้าง Smart Service Team ด้วยวิธี  Authentic Learning ทำให้สำนักงานพัฒนาบุคคลได้แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice * ข้อมูลบางส่วนสามารถนํามาจากแบบฟอร์มรายงานการดําเนินโครงการของสํานักงานวางแผนได้ ในกรณีที่โครงการที่ดําเนินการมีประเด็นความรู้ที่สําคัญซึ่งนํามาใช้ในโครงการ

Authentic Learning for Smart Service Team Read More »

การบริหารจัดการโครงการในระดับมหาวิทยาลัยให้ประสบผลสำเร็จ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2564 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการโครงการในระดับมหาวิทยาลัย ให้ประสบผลสำเร็จ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร ฝ่ายวิจัย หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การบริหารจัดการโครงการระดับมหาวิทยาลัยให้ประสบผลสำเร็จ  เป็นโครงการให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่ชุมชนหลักหก  ซึ่งเป็นเขตชุมชนในพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรังสิต สืบเนื่องจากวิกฤต COVID-19  มหาวิทยาลัยรังสิตได้มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนหลักหก  จึงให้ความช่วยเหลือชุมชน อำนวยความสะดวกในการเป็นศูนย์ฉีดวัคซีน  โฮมไอโซเลชั่น ผลที่เกิดชึ้นคือ เป็นชุมชนหลักหกมีการติดเชื้อน้อยมาก  เมื่อผ่านช่วงภาวะวิกฤตแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้มองเห็นปัญหาเรื่องรายได้ของคนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการสร้างอาชีพและรายได้แนวใหม่ตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างสุขภาวะ  และให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเข้าไปช่วยเหลือและฝึกฝน ร่วมกันคนในชุมชน ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกจำหน่าย  ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)   https://www.youtube.com/watch?v=F-U7VaC1iX4&list=PLcTvutIKrjekMO78ArSFb0bNdwo4HjVk8&index=14 VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.นเรฏฐ์  พันธราธร ฝ่ายวิจัย

การบริหารจัดการโครงการในระดับมหาวิทยาลัยให้ประสบผลสำเร็จ Read More »

คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (ระยะที่ 3)

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR2.2.3 การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ผู้จัดทำโครงการ​ คุณลมัย ประคอนสี สำนักหอสมุด หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ และแหล่งทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษา การค้นคว้าวิจัย การสร้างนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ของการเป็นผู้นำเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัย จัดหาแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่ครอบคลุมและสามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลาย ให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ด้านสร้างความเป็นเลิศทางวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม สำนักหอสมุดจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต ในปีการศึกษา 2563 ซึ่งต่อมาได้จัดทำเป็นฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University Intellectual Repository หรือ RSUIR) ขึ้นมาเพื่อรวบรวมจัดทำคลังจัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวให้ทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่มีประโยชน์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ และต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป โดยเริ่มใช้งานออนไลน์ได้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม จัดทำคลังจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตในรูปแบบดิจิทัล เผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตให้ทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต ให้คงอยู่และสามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลาย จากการปรับปรุงพัฒนาในระยะที่ 2 ของส่วนการสืบค้นเมนู Browse โดย ชื่อผู้แต่ง (Author)   ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject) ที่เป็นภาษาไทยไม่ได้ ได้รับความร่วมมือในจากโปรแกรมเมอร์เพื่อแก้ไขระบบการสืบค้นดังกล่าว ให้สามารถสืบค้นภาษาไทยได้แล้ว สาเหตุเนื่องมาจากตั้งค่า default ของ tomcat เป็น iso-8859-1 ซึ่งไม่รองรับภาษาไทย ต้องแก้ไขเป็น UTF-8 จึงสามารถอ่านค่าภาษาไทยได้ และจะพัฒนาปรับปรุงให้เป็นฐานข้อมูลที่พร้อมสำหรับการสนับสนุนการวิจัยต่อไป ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้         คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคลังจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศภูมิปัญญาของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัย มีจุดประสงค์ให้ทรัพยากรสารสนเทศได้รับการจัดเก็บในรูปดิจิทัล จะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นวิชาการให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอก และยังจะเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในระดับชาติ และนานาชาติในฐานะมหาวิทยาลัยทางด้านวิจัย และนวัตกรรม ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ที่เป็นคลังปัญญาในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่าง  ๆ และนำออกให้บริการในลักษณะเอกสารฉบับเต็ม (Full text) เช่น – คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย  (Chulalongkorn University Intellectual Repository ( https://cuir.car.chula.ac.th/community-list ) –  คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) ( http://repository.li.mahidol.ac.th/dspace/ ) วิธีการดำเนินการ การจัดทำแผนดำเนินงานการจัดทำคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยประจำปีเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงาน รวบรวมไฟล์ผลงานวิทยานิพนธ์/วิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต แยกตามคณะ/สาขาวิชา/ปีการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2566 ได้ดำเนินการลงรายการวิจัย/วิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2565 จากที่ได้รับตัวเล่มและซีดีจาก สถาบันวิจัย และบัณฑิตวิทยาลัย โดยดำเนินการแปลงไฟล์ใส่ลายน้ำสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยรังสิต ประสานงานกับทีมงานโปรแกรมเมอร์สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อดูแลด้านเทคโนโลยีในเรื่องการปรับปรุงการสืบค้น Server และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ ประชาสัมพันธ์โครงการ/ส่งเสริมการใช้ โดยการแนะนำผ่านการปฐมนิเทศนักศึกษา เป็นต้น ประเมินผลโครงการประจำปีการศึกษาตามรูปแบบ PDCA 2.Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน จากผลการดำเนินงานต่อจาก ระยะที่ 2 ในปีที่การศึกษา 2565 ได้ดำเนินแก้ไขปัญหาในการสืบค้นโดยใช้คำค้นที่เป็นภาษาไทยได้เรียบร้อยแล้ว และพบปัญหาเรื่องบัณฑิตวิทยาลัยแจ้งของดการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ที่เคยเผยแพร่แล้วเนื่องจากพบข้อมูลผิดไม่สามารถเผยแพร่ได้ มีการเพิ่มเติมในส่วนของแบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้งานฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต (RSUIR) ทำการลงรายการวิทยานิพนธ์ และงานวิจัยบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิตเพิ่มเติมจนถึงปีปัจจุบัน คือปีการศึกษา 2566 และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวมจำนวน 1,935 รายการ (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 545 รายการ) เพิ่มเติมการเชื่อมโยง (Link) URL งานวิจัย/วิทยานิพนธ์จากฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลบนหน้าจอสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (Web Opec) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จำนวน 545 รายการ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK            คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University Intellectual Repository หรือ RSUIR) เป็นฐานข้อมูลคลังปัญญามหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลให้ทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเป็นการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้คงอยู่ และสามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลาย  ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ และต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป           การแก้ไขข้อมูลที่ทางบัณฑิตวิทยาลัยทำบันทึกข้อความเพื่อแจ้งงดเผยแพร่รายการวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต และมหาบัณฑิตที่มีข้อมูลที่ไม่สามารถเผยแพร่ได้ ทำให้ต้องมีการนำรายการดังกล่าวออกจากฐานข้อมูล RSUIR จำนวน 2 รายการ และปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง จำนวน 1 รายการ ทางสำนักหอสมุดได้มีข้อตกลงกับทางบัณฑิตวิทยาลัยที่จะรับรายชื่อและไฟล์วิทยานิพนธ์ที่ทางบัณฑิตวิทยาลัยรับรองให้เผยแพร่ได้เท่านั้น           ในส่วนแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยรังสิตมีผู้ตอบแบบประเมินจำนวน 33 คน โดยแบ่งเป็นการศึกษาระดับปริญญาโท ตอบมากที่สุด 21 คน รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรี 11 คน และระดับปริญญาเอก 1 คน ตามลำดับ โดยข้อคำถามทั้ง 5 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีข้อคำถามดังนี้ ข้อมูลมีความถูกต้องตรงตามความต้องการ มีค่าเฉลี่ย 4.09 การเข้าถึงระบบทำได้ง่ายและรวดเร็วในการดาวน์โหลด มีค่าเฉลี่ย 4.48 มีความสะดวกและรวดเร็วในการแสดงผลข้อมูล มีค่าเฉลี่ย 4.60 เป็นแหล่งข้อมูลที่ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการวิจัย มีค่าเฉลี่ย 4.27 ความพึงพอใจของการใช้บริการโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.30          โปรแกรม DSpace เป็นโปรแกรม Open source มีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดี ง่ายต่อการลงรายการ การ upload ไฟล์เอกสารฉบับเต็ม การเข้าถึง ตลอดจนถึงสืบค้นและดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์/วิจัย/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแบบ “Full Text” ได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือเรื่องความไม่เสถียรของเว็บไซต์คลังทรัพยากรสารสนเทศฯ เนื่องจากต้องมีการ Run service ของ Server ทุกสัปดาห์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องแต่ได้รับการประสานงานจากโปรแกรมเมอร์จากสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยแนะนำให้บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบได้ทำการ Run service ของ Server ตลอดจนมีการพัฒนาบำรุงรักษาโปรแกรมฯ ในส่วนของการ Upgrade โปรแกรม DSpace ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด โปรแกรมเมอร์จากสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในขั้นตอนในการเรียนรู้การดำเนินงานในส่วนดังกล่าว ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           การพัฒนาคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต ทุกปีอย่างต่อเนื่อง และรวบรวมแหล่งทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ไฟล์เสียง (MP4) รูปภาพ รวมทั้งรวบรวมรายงานการค้นคว้าอิสระ (IS) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากหน่วยงานอื่น ๆ ที่อนุญาตให้เผยแพร่ เป็นต้น

คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (ระยะที่ 3) Read More »

ระบบสนับการประเมินคุณภาพภายใต้แนวคิด 4D with 3 Smart

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR3.4.1, KR3.4.4 ระบบสนับสนุนการประเมินคุณภาพภายใต้แนวคิด 4D with 3 Smart ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เอื้ออัชฌาสัย คุณพรรนิภา แดงเลิศ คุณธนัญชนก วารินหอมหวล คุณภัสราภรณ์ อริยะเศรณี คุณวราภรณ์ เกิดน้อย สำนักงานประกันคุณภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​             จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล จึงทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและการทำงานในปัจจุบัน ผู้คนในยุคดิจิทัลต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว ทันใจ การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลจึงต้องมีการวางแผนการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล หรือการบริหารงานทั่วไป จำเป็นต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็วและเป็นแบบเรียลไทม์ (ปุณณิฐฐา มาเชค, 2565) อีกทั้งแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ที่มุ่งเน้นทักษะที่สำคัญของประชากรในศตวรรษที่ 21 ในแปดด้าน โดยหนึ่งในด้านที่สำคัญ คือ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Computing and ICT Literacy) รวมถึงแผนยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบข้อมูล โดยปัจจุบันฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อววน.) ประกอบด้วย 3 ฐานข้อมูลหลัก ได้แก่ ฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษาฯ และมาตรฐานการอุดมศึกษา, ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และฐานข้อมูลด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ           จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการสู่องค์กรอัจฉริยะ (Smart Organization) ที่เน้น กระบวนการทำงานแบบ Smart Work และ Work Smart เพิ่มศักยภาพในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา สำนักงานประกันคุณภาพได้ปรับกระบวนการบริหารงานที่เน้นการทำงานเชิงรุก ตอบสนองทันที (Pro-Active) การใช้ทรัพยากรน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า (Less resources, but more results) และปรับระบบการทำงานให้เป็นระบบดิจิทัลมากขึ้นเพื่อเชื่อมโยงในหลายมิติ (Digitalization and hyperlink) ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการบริหารงานบุคลากรในหน่วยงานด้วยหลัก 4D for Smart Organization และนำไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จที่วัดผลได้ตาม Key Result ของแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานประกันคุณภาพ โดยสามารถยืนยันความสำเร็จของผลการดำเนินงานด้วยรางวัลชมเชยจากการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง 4D for Smart Organization ในโครงการแนวปฏิบัติที่ดี มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปีการศึกษา 2565 (RSU Good Practice Awards 2023)            เพื่อเป็นการพัฒนาความเป็น 4D for Smart Organization สำนักงานประกันคุณภาพจึงมุ่งเน้นความสำคัญในการเพิ่มสมรรถนะการปฏิบัติงานด้าน Smart Technology ไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากรให้เป็น Smart People และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้เป็น Smart Process ด้านการประกันคุณภาพ ซึ่งแต่เดิมกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7), รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับคณะวิชา, รายงานประเมินเบื้องต้นสำหรับการตรวจประเมิน ของคณะกรรมการประเมิน, ประกาศฯ มหาวิทยาลัยรังสิตที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน (Improvement plan) ในรูปแบบไฟล์เอกสาร ที่ต้องใช้พื้นที่จัดเก็บไฟล์เอกสารเป็นจำนวนมาก จึงได้พัฒนาระบบ Improvement plan: IP ขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการประเมินสามารถใช้ระบบ IP ในการสรุปรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา (ฉบับสมบูรณ์) ในวันที่ประชุมประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ซึ่งหลักสูตรและคณะวิชาสามารถดูรายงานผลการประเมิน และจัดทำรายงานแผนปรับปรุงการดำเนินงาน (Improvement plan) ผ่านระบบ IP ทดแทนการจัดทำแบบ Manual File รวมถึงสามารถออกรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา และนำส่งรายงานผลการดำเนินงานฯ ดังกล่าว ไปยังสำนักงานวางแผนและพัฒนา เพื่อสรุปผลการดำเนินงานประจำปีในแต่ละ Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ต่อไป ————————————————————-   ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้: ขั้นตอนการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP จากความเป็น 4D with 3 Smart ประกอบด้วย Dynamic Mission คือ มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในพันธกิจตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดในทุกปี โดยมีพันธกิจใหม่ด้านการดูแลระบบ Improvement Plan: IP ที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับคณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร, คณะวิชา, กรรมการและเลขานุการ และการรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 Dynamic Job Description คือ การปรับหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรตามพันธกิจใหม่ โดยมีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ร่วมกับโปรแกรมเมอร์ Dynamic IDP คือ การปรับแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลประจำปีการศึกษา โดยการเพิ่มเติมหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรเป็นรายบุคคล โดยผู้บริหารหน่วยงานได้พิจารณาและประเมินความรู้ ความสามารถของบุคลากรที่มีความเหมาะสมต่อการร่วมพัฒนา ดูแล เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การใช้งาน และเป็น Admin ระบบ Improvement Plan: IP Dynamic working result คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนการกำกับติดตามการดำเนินงาน ซึ่งจากเดิมสำนักงานประกันคุณภาพมีการติดตามการดำเนินงานของบุคลากรเป็นรายบุคคลผ่านแบบรายงานการปฏิบัติงานรายบุคคลประจำเดือน (Monthly Report) โดยเพิ่มเติมการนำเสนอ (ร่าง) การพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ในทุกสัปดาห์ผ่านที่ประชุมสำนักงาน และนำเสนอความก้าวหน้าต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพ ในปีการศึกษา 2565 (ซึ่งเป็นปีที่พัฒนาระบบ) จำนวน 4 ครั้ง           – ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565           – ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565           – ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566           – ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566     และเพิ่มสมรรถนะการปฏิบัติงานใน 3 ด้านที่สำคัญ ได้แก่      – Smart People คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ วางแผน มีทักษะในการสื่อสารและการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยเป็นผู้ร่วมพัฒนาและวิเคราะห์ระบบ Improvement Plan: IP ร่วมกับ Developer และทำหน้าที่เป็น User Requirement เพื่อวิเคราะห์ว่าระบบที่ออกแบบและพัฒนาต้องมีการทำงานอย่างไรและเงื่อนไขที่กำหนดลงไปในระบบมีอะไรบ้าง, ร่วมออกแบบและตรวจสอบระบบ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดและแนะนำหลักสูตร คณะวิชา และผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ในการใช้งานระบบ IP ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการเป็น Chang Agent      – Smart Process คือ การพัฒนากระบวนการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความเป็นระบบ และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร, คณะวิชา, กรรมการและเลขานุการ และการรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ทดแทนการจัดทำแบบ Manual File สู่กระบวนการแบบ Lean Process เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น เพราะระบบ IP สามารถคำนวณผลลัพธ์และค่าร้อยละให้อัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในตัวบ่งชี้เชิงปริมาณได้ และช่วยลดระยะเวลาในการจัดเก็บและค้นหาไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินได้ เพราะระบบ IP ได้รวบรวมไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ในที่เดียว เช่น คู่มือมาตรฐานฯ มรส.ฯประกาศ คำสั่งฯ แนวทางการประเมิน, รายชื่อคณะกรรมการประเมิน, รายงาน มคอ.7 และรายงาน SAR เป็นต้น            – Smart Technology คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน แม้ว่ามหาวิทยาลัยกำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงานประกันคุณภาพมีความประสงค์มุ่งพัฒนาระบบสนับสนุนการประเมินคุณภาพ ระบบ Improvement Plan: IP ขึ้นใช้เองโดยแยกจากส่วนกลาง เพื่อให้ทันต่อการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565 และเกณฑ์มาตรฐานฯ ฉบับ พ.ศ.2567) เพื่อให้การรายงานผลการดำเนินงานทั้งระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และระดับสถาบันเกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการเป็น Agile Technology ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) โดยนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 มาตีความสู่การดำเนินงาน และนำมาปรับใช้ในแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานประกันคุณภาพ พ.ศ.2565-2569 และแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานประกันคุณภาพ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) โดยนำแนวปฏิบัติของสำนักงานประกันคุณภาพที่ประสบความสำเร็จจากปีการศึกษาที่ผ่านมาในประเด็น 4D for Smart Organization มาดำเนินการต่อเนื่องและพัฒนาเพิ่มเติมใน 3 ด้าน คือ Smart People, Smart Process และ Smart Technology สู่การเป็น 4D with 3 Smart และพิสูจน์ความสำเร็จในการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ด้วยการเก็บข้อมูลผลการประเมินการใช้งานระบบจากตัวแทนของคณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร และคณะวิชา วิธีการดำเนินการ           สำนักงานประกันคุณภาพได้นำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP โดยผู้บริหารหน่วยงานให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย เช่น การสนับสนุนให้หลักสูตรและคณะวิชาที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ในตัวบ่งชี้ที่ได้คะแนน 4.00 ได้พัฒนาตนเองและจัดทำรายงาน KM แนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จและถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านระบบ RKMS ของมหาวิทยาลัย ภาพ: ตัวอย่าง Template รายงาน มคอ.7 ที่ระบุเกณฑ์การประเมินในระดับ 5.00 คะแนน โดยต้องจัดทำผลงาน KM แนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ และถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านระบบ RKMS ของมหาวิทยาลัย      นอกจากนี้ มีการส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเข้าร่วมอบรมแนวทางการจัดการความรู้ในทุกปีการศึกษา เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมมาประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จและองค์ความรู้ของบุคลากรตามพันธกิจใหม่ที่ได้รับมอบหมาย โดยเป็นผลมาจากการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีจากปีการศึกษาที่ผ่านมา สู่การจัดทำรายงานการจัดการความรู้ของปีการศึกษา 2566 โดยมีกระบวนการจัดการความรู้ของหน่วยงานใน 6 ขั้นตอน ดังนี้ การกำหนดความรู้ที่จำเป็น โดยผ่านการประชุมสำนักงานประจำสัปดาห์ เพื่อร่วมกันพิจารณาว่าความรู้ใดที่สำคัญและเป็นผลมาจากแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า เป็นเรื่องการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ที่เป็นผลมาจากการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ โดยการนำองค์ความรู้ที่ค้นพบ คือ การพัฒนาระบบที่มาจากการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของบุคลากร เช่น แผนการพัฒนาระบบ, ขั้นตอนการพัฒนาระบบ, แนวทางการจัดอบรมและประชาสัมพันธ์ระบบ, การให้คำปรึกษาการใช้งานระบบ และการเป็น Admin ดูแลระบบ เป็นต้น สู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ คือ การจัดทำ Model ขั้นตอนการพัฒนาระบบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพของหน่วยงานที่จะพัฒนาขึ้นในอนาคต การปรับปรุง/ ดัดแปลง/ การสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการใช้งาน โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และปรับปรุงข้อมูลที่จะปรากฏในระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อผู้ใช้งาน การประยุกต์ใช้ความรู้ในงานของตน โดยการนำความรู้ที่ได้จากการประชุมสำนักงาน/ ระดมความคิดเห็น และการให้ความรู้แบบ Coaching จากผู้บริหารหน่วยงาน รวมถึงการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองผ่าน Online Learning Platform เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาระบบ การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้ สำนักงานประกันคุณภาพได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart แล้วทำการประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักงานประกันคุณภาพ และแผนการพัฒนาบุคลากร ด้วยวิธีการสนับสนุนให้บุคลากรได้รายงานแผนการจัดทำระบบ, รายงานความคืบหน้า, การเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ และการประเมินผลการใช้งานระบบจากตัวแทนของคณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร และคณะวิชา ผู้ใช้งานระบบ โดยทุกขั้นตอนที่มีการพัฒนาได้มีการบันทึกและนำเสนอในรูปแบบ Model ขั้นตอนการพัฒนาระบบ ซึ่งถือเป็น “ขุมความรู้” ที่ได้จากประสบการณ์การทำงาน การจดบันทึกขุมความรู้และแก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งานและปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน           6.1 นำผลการสกัดความรู้ตามกระบวนการ 4D with 3 Smart มาบันทึกตามแนวทางของ RKMS           6.2 การเผยแพร่ความรู้ 4D with 3 Smart ที่ทำให้เกิดการพัฒนาระบบผ่านการจัดอบรมการใช้งานระบบ Improvement Plan: IP สำหรับคณะกรรมการประเมิน สำหรับหลักสูตร และคณะวิชา จำนวน 3 ครั้ง รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานทุกคนเป็นผู้ใช้งานระบบเพื่อการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 แล้วนำข้อค้นพบจากการใช้งานระบบมาประชุม/ ระดมความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา/ ปรับปรุง สำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566 ต่อไป 2.Prototype testing in an operational environment – DO สำนักงานประกันคุณภาพมีกระบวนการติดตามผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ผ่านแบบรายงานการปฏิบัติงานรายบุคคลประจำเดือน (Monthly Report) และการนำเสนอ (ร่าง) การพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ในทุกสัปดาห์ต่อที่ประชุมสำนักงาน และนำเสนอความก้าวหน้าต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพ ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ครั้ง และรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร คณะวิชา และรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 3 ครั้ง ในปีการศึกษา 2566 ซึ่งผลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ที่เป็นไปตาม KR ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 มีดังนี้ ความเชื่อมโยงผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ที่รายงานผลจากระบบ IP KR ของแผนยุทธศาสตร์ฯ มรส. พ.ศ. 2565-2569 ตัวบ่งชี้ระดับหลักสูตร KR 1.1.1 หลักสูตรมีความทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม ตบช.5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร KR 1.1.5 ผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรในระดับดีขึ้นไป ตบช.3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา KR 1.2.1 มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสอนมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ตบช.5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร KR 1.2.2 หลักสูตรที่เปิดดำเนินการสอนมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย พร้อมใช้ และจำนวนเพียงพอสอดคล้องกับเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ตบช.6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ KR 1.3.1 อัตราการได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปีหลังสำเร็จการศึกษามากกว่าร้อยละ 65 ของผู้สำเร็จการศึกษา ตบช.2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี KR 1.3.3 หลักสูตรมีผลการประเมินคุณภาพของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิและมาตรฐานการอุดมศึกษาจากผู้ใช้บัณฑิต ไม่ต่ำกว่าระดับดี ตบช.2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 KR 1.3.7 ระดับคุณภาพงานวิจัย/ งานสร้างสรรค์/ นวัตกรรม ของนักศึกษาและบัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญเอก ตบช.2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (ทั้งหลักสูตรระดับ ป.โท และ ป.เอก) ความเชื่อมโยงผลการดำเนินงานระดับคณะวิชา ที่รายงานผลจากระบบ IP KR ของแผนยุทธศาสตร์ฯ มรส. พ.ศ. 2565-2569 ตัวบ่งชี้ระดับคณะวิชา KR 1.2.4 กิจกรรม/โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์บรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จและวัตถุประสงค์ทุกข้อ ตบช.1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี เกณฑ์ข้อ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา KR 1.4.6 จำนวนผลงานการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน ตบช.5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ เกณฑ์ข้อ 5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง   ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี (People Process and Technology)     – ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงบุคลากร (People) โดยการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart และกำหนดเป้าหมายไว้ในแผนพัฒนาบุคลากร พบว่า บุคลากรมีความรู้ในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565) มากขึ้น โดยสามารถปรับปรุง Template มคอ.7 และรายงาน SAR ระดับคณะวิชา ที่ครอบคลุมกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา และประกาศ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562 และมีความเข้าใจในประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ซึ่งเมื่อบุคลากรมีความรู้ในตัวบ่งชี้และเกณฑ์ฯ แล้วจึงนำมาสู่การออกแบบระบบสนับสนุนการประเมินคุณภาพ Improvement Plan: IP และสามารถจัดทำคู่มือการใช้งานระบบ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ คู่มือสำหรับผู้ประเมินระดับหลักสูตร, คู่มือสำหรับผู้ประเมินระดับคณะวิชา และคู่มือสำหรับผู้ใช้งานระดับหลักสูตรและระดับคณะวิชา โดยสามารถเป็นวิทยากรในการจัดอบรมการใช้งานระบบ จำนวน 3 ครั้ง และมีผลการประเมินความพึงพอใจด้านวิทยากร ดังนี้ หัวข้อการจัดอบรม คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจด้านวิทยากร การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 4.87 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะวิชา ปีการศึกษา 2565 4.89 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ หลักสูตร และคณะวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน ปีการศึกษา 2566 4.92 ระดับดีมาก – ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงกระบวนการ (Process) บุคลากรสามารถการพัฒนากระบวนการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความเป็นระบบ และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการประเมิน, ผู้ใช้งานระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา, กรรมการและเลขานุการ และการรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 โดยสามารถจัดทำ Model ขั้นตอนการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ดังนี้ – ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงเทคโนโลยี (Technology) การพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์สำนักงานประกันคุณภาพ พ.ศ.2565-2569 ที่กำหนดเป้าหมาย 100% Comfort Faculty and Curriculum IP on time และสามารถดำเนินการได้บรรลุค่าเป้าหมาย 100% โดยเป็นระบบที่ผู้ประเมินทั้งระดับหลักสูตรและคณะวิชา สามารถจัดทำรายงานประเมินเบื้องต้นสำหรับการตรวจประเมิน สามารถช่วยคำนวณผลลัพธ์และค่าร้อยละให้อัตโนมัติ รวมทั้งสามารถสร้างรายงานผู้ประเมินฉบับสมบูรณ์ให้อัตโนมัติ นอกจากนี้หลักสูตร และคณะวิชาสามารถเข้าดูรายงานผลการประเมิน และจัดทำรายงานแผนปรับปรุงการดำเนินงาน (Improvement Plan) ผ่านระบบ ซึ่งระบบช่วยสร้าง Improvement Plan ระดับหลักสูตรและระดับคณะวิชาเบื้องต้นให้อัตโนมัติ และที่สำคัญระบบช่วยสร้างรายงานผลการดำเนินงานตาม KR ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อรายงานผลการดำเนินงานจากระบบส่งให้กับสำนักงานวางแผนและพัฒนา โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจด้านระบบ Improvement Plan: IP ดังนี้ หัวข้อการจัดอบรม คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจด้านระบบ การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 4.87 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะวิชา ปีการศึกษา 2565 4.85 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ หลักสูตร และคณะวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน ปีการศึกษา 2566 4.83 ระดับดีมาก 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ – การตรวจสอบผลการดำเนินการ ในด้านการติดตามผลการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง

ระบบสนับการประเมินคุณภาพภายใต้แนวคิด 4D with 3 Smart Read More »

กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3, 5 : KR 3.2.1 KR 5.2.1 กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จากสำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้จัดทำโครงการ​ อ.นภาพรรณ พงษ์พวงเพชร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานในระดับประเทศจาก  สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  จึงจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการดำเนินการของห้องปฏิบัติการ จากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติได้ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            การดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ                         ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : จากการลงมือปฏิบัติจริง วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ งทะเบียนเข้าร่วมอบรมจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยแม่ข่าย ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินการ ลงทะเบียนเพื่อขอรับเลขห้องปฏิบัติการใน เว็ปไซด์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ทำการประเมินห้องปฏิบัติการในระบบ จัดทำแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการ ดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการตามแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ ตามข้อกำหนดในระบบให้ได้มากที่สุด ปรึกษาวิทยากร เพื่อหาทางปรับเปลี่ยนแก้ไขหรือหาวิธีการทดแทนตามข้อกำหนด (สามารถปรึกษาศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้) ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการหลังการดำเนินการ ส่งภาพห้องปฏิบัติการ ก่อน-หลังดำเนินการ รวมทั้งแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการให้ทันตามกำหนด โดยก่อนและหลังดำเนินการต้องมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน กรรมการจากมหาวิทยาลัยแม่ข่ายพิจารณาการภาพถ่ายและแผนการยกระดับ หรือพิจารณาออนไลน์ เมื่อได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น ให้ส่งแผนการใช้งบประมาณสนับสนุนการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ สำหรับห้องปฏิบัติการใหม่ ให้จัดทำโปสเตอร์แสดงผลการดำเนินงาน และส่งบทคัดย่อให้ผู้ประสานงานโครงการ ให้ทันตามกำหนด เพื่อรับการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอการดำเนินงานในงานประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง กรณีที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง เพื่อนำเสนอระดับประเทศ  ให้จัดทำโปสเตอร์นำเสนอผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้ง 7 ด้านของข้อกำหนด โดยเน้นจุดเด่นในการดำเนินการให้มากที่สุด สำหรับห้องปฏิบัติการเก่า ให้เข้าร่วมอบรมในกิจกรรมการธำรงรักษาด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและการยกระดับความปลอดภัย และส่งแผนการดำเนินงานพัฒนาห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมให้ครบตามเอกสารแบบฟอร์มที่แจ้งมา และต้องส่งเอกสารให้ทันตามเวลากำหนดซึ่งระยะเวลาการส่งเอกสารไม่เกิน 1 สัปดาห์ ดังนั้นจึงควรจัดทำเอกสารไว้ล่วงหน้าหลังการอบรม เมื่อส่งเอกสารครบถ้วน จะได้รับทุนสนับสนุนห้องปฏิบัติการเต็มจำนวน 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน 1. นำไปใช้กับ ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ห้องปฏิบัติการมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความเรียบร้อย ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของห้องปฏิบัติการจากการได้ไปนำเสนอในระดับประเทศ2.บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามมาตรการห้องปฏิบัติการปลอดภัย3.บุคลากร นักศึกษา พนักงานทำความสะอาด มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัย  และมีขั้นตอนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม    3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK 3.1 การตรวจสอบผลการดำเนินการ  ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยการประเมินตนเองภายหลังการดำเนินการ ตามข้อกำหนด ในระบบ EspreL checklist  3.2  การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ 3.2.1  การได้รับเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในการประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง วันที่ 23 มกราคม 2567  ณ โรงแรม รามา การ์เด้นส์ 3.2.2ได้รับเชิญจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติให้เป็นวิทยากร ในการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับโรงเรียน รุ่นที่ 12 ณ จ.พระนครศรีอยุธยา  วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับเชิญจาก กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ศูนย์ พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สวทช.) จำนวน  2 กลุ่มห้องปฏิบัติการ  และห้องปฏิบัติการของการประปานครหลวง จำนวน 1 ห้องปฏิบัติการ ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์ระดับโรงเรียน ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 3.3 สรุปอภิปรายผล  บทสรุปความรู้                เมื่อทำตามขั้นตอนตามวิธีการดำเนินการ กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ    โดยครบถ้วน ผลที่ได้รับคือ ได้รับโล่รางวัลโล่ ห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่น ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินการยกระดับห้องปฏิบัติการ ได้รับทุนสนับสนุนการธำรงรักษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้น ปัจจัยในความสำเร็จของกลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นี้คือ  หัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้ดูแลห้องปฏิบัติการต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย สอดคล้องตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วนทุกองค์ประกอบ  องค์กรมีวัฒนธรรมความปลอดภัยและมีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย

กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) Read More »

Scroll to Top