KR 1.2.1

HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอน สู่ความเป็นเลิศ ผู้จัดทำโครงการ​ นพ.สมเกียรติ แสงอุไร คณะวิทยาศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​               ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสาคัญในทุกด้านของชีวิต การศึกษาเองก็ได้รับผลกระทบและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ธรรมชาติของนักศึกษาในปัจจุบันแตกต่างจากอดีตอย่างเห็นได้ชัด เพราะเติบโตมากับเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดและวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเดิม ส่งผลให้รูปแบบการเรียนการสอนจาเป็นต้องปรับตัวตามไปด้วย ซึ่งนักศึกษาต้องการความยืดหยุ่นในการเรียนที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น การเรียนผ่านวิดีโอ หรือการใช้แอปพลิเคชันการศึกษา รายวิชาของหมวดวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับปริบทของนักศึกษาในปัจจุบัน โดยพยายามนาเทคโนโลยีมาผสานกับการเรียนการสอน พัฒนาเนื้อหาให้ทันสมัย และเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนาไปใช้ได้จริงในสายวิชาชีพ อีกทั้งพยายามปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้กับนักศึกษา เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศสอดคล้องตามวัตถุประสงค์การสอนมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ทั้งนี้ได้นารายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) มาพัฒนาเพื่อเป็นต้นแบบในการยกระดับการเรียนการสอนในทุกมิติ โดยให้ชื่อโครงการว่า “HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศ” ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การพัฒนาสมรรถนะ (competency) ของนักศึกษา โดยมี 3 องค์ประกอบหลัก คือ• ความรู้ (knowledge)• ทักษะ (skill)• ทัศนคติ (Attitude) การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน (Transformative Learning)• ผ่านประสบการณ์ (experience)• นำามาคิดไคร่ครวญ (contemplative thinking)• สะท้อนการเรียนรู้ (reflection)• แลกเปลี่ยนกัน (rational discourse)• ใช้การสนทนา (dialogue) เพื่อให้ได้ข้อสรุป (conceptualization)• เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองจากภายใน (behavior change / inside out) ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด อ.นพ.สมเกียรติ แสงอุไร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการดำเนินการ วางแผนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษา ทั้งทางด้าน ความรู้ (knowledge), ทักษะ (skill) และ ทัศนคติ (Attitude) ผ่านกิจกกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เหมาะสมกับผู้เรียน ความรู้ (knowledge) พัฒนาทักษะการสอนเน้นกระตุ้นการคิดและการมีส่วนร่วมกับผู้เรียน โดยใช้ใช้คาถามปลายเปิดให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเตรียมการเรียนการสอน ร่วมทั้งนามาจัดกิจกรรมในระหว่างเรียนเพื่อช่วยให้การสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น Kahoot, Mentimeter เป็นต้น พัฒนาทักษะการสอนทั้งการใช้น้าเสียง การยกตัวอย่าง การเล่าเรื่อง (storytelling) เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย และฝึกชื่นชมนักศึกษา และให้กาลังใจอย่างเหมาะสม ผสมผสานการเรียนรู้ทั้งการเรียนในห้องเรียน (On-site) และ การเรียนออนไลน์ (Online) ผ่าน VDO บันทึกการสอนที่ถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับธรรมชาติของนักศึกษาในปัจจุบัน ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการเรียน นักศึกษาสามารถเลือกฟังเฉพาะหัวข้อที่ไม่เข้าใจ หรือหัวข้อที่จดตามในห้องบรรยายไม่ทัน เพราะได้วาง tag เวลาของแต่ละหัวข้อไว้ให้ รวมทั้งในช่วงท้ายยังเพิ่มเติมการสรุปบทเรียนเน้นประเด็นสาคัญของการเรียนในวันนั้น ซึ่งใช้เทคนิคการถ่ายผ่าน green screen เพื่อเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น การฟังบทสรุปช่วยให้นักศึกษาฝึกสะท้อนการเรียนรู้ (reflection) ว่าหลังจากฟังบรรยายสามารถจับประเดินสาคัญได้มากเพียงใด จัดให้มีกิจกรรม Tutorials session ในรูปแบบ active Learning ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยให้นักศึกษาช่วยกันลองทาโจทย์ปัญหาไปด้วยกัน ฝึกคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และชี้จุดอ่อนที่ต้องพัฒนาให้กับนักศึกษา ตัวอย่าง VDO บันทึกการสอน : https://youtu.be/uWmAnXKjb-Q ทักษะ (skill) เนื่องจากคู่รายวิชานี้ยังรวมถึงการเรียนในภาคปฏิบัติการ (เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PSO223) ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของ learning pyramid จึงยิ่งช่วยเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับนักศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเรียนภาคปฏิบัติการจะช่วยพัฒนาทักษะที่หลากหลาย ที่สามารถนาไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริงในสายวิชาชีพ เช่นo ทักษะในการอภิปรายผลการทดลองที่ต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราห์อย่างเป็นระบบo ทักษะในการทาปฏิบัติการซึ่งเป็นพื้นฐานการใช้งานอุปกรณ์ห้องปฏิการต่างๆ ที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพในอนาคตo ทักษะการนาเสนอผ่านกิจกรรม Conference ซึ่งถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุด เพราะนักศึกษาได้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้วยตนเอง ทาให้เข้าใจบทเรียนอย่างลึกซึ้งมากขึ้น   ทัศนคติ (Attitude) ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อปลูกฝังทัศนคติที่พึงประสงค์ให้กับนักศึกษา โดยออกแบบโครงการหรือกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับปัญหาที่พบในการเรียนการสอนที่ผ่านมา ได้แก่ ปัญหาที่ 1: นักศึกษาไม่เข้าห้องเรียน (on-site)          จากปัญหาในปัจจุบันที่นักศึกษามักไม่เข้าเรียน on-site และในขณะเดียวกันก็ไม่มีวินัยพอที่จะทบทวนบทเรียนในรู้แบบ online จึงมักทบทวนบทเรียนไม่ทันในการสอบแต่ละครั้ง ดังนั้นจึงหาแนวทางที่จะดึงดูดให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยเชิญชวนว่าหากเข้าฟังบรรยายครบทุกครั้งจะมอบเกียรติบัตรให้ ซึ่งเป็นเกียรติบัตรในรูปแบบ online ที่สามารถจัดทาได้ง่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย           พบว่าช่วยให้นักศึกษาพยายามเข้าชั้นเรียนกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านๆ มา และเมื่อผู้เรียนเหล่านี้สามารถติดตามเนื้อหาและทบทวนบทเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะส่งผลดีต่อคะแนนสอบ ส่งผลให้สามารถตระหนักถึงความสาคัญ และมีทัศนคติที่ดีต่อเข้าเรียน on-site และอยากเข้าชั้นเรียนมากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ปัญหาที่ 2: นักศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนสูง มักไม่ถูกกระตุ้นศักยถาพ โดยปกติแล้วผู้ดูแลรายวิชา (course coordinator) มักเฝ้าระวังและติดตามผลการเรียนของนักกศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนต่ามากกว่ากลุ่มอื่น เพื่อหาแนวทางพัฒนาให้มีศักยภาพให้ทัดเทียมเพื่อนๆ โดยมักไม่มีโครงการหรือกิจการรมการเรียรู้ใดที่มีเป้าประสงค์ในการกระตุ้นศักยถาพของนักศึกษามีสมรรถนะในการเรียนสูงทางรายวิชาตระหนักถึงความสาคัญในการดูและนักศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมในทุกกลุ่ม จึงจัดให้มีโครงการต้นแบบเพื่อกระตุ้นสักยภาพของนักศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนสูง โดยถ้าสามารถทาคะแนนได้เต็มในหัวข้อสรีรวิทยาของระบบประสาท และสรีรวิทยาของระบบหัวใจและหลอดเลือด จะมอบเกียรติบัตรพิเศษให้ ถึงแม้ นักศึกษากลุ่มนี้หลายคนอาจเคยได้คะแนนสูงสุดมาก่อน และได้รับคาชมเชยบ่อยครั้งจะเป็นเรื่องเคยชิน แต่การทาคะแนนได้เต็มยังต้องอาศัยความพยายามให้มากขึ้นอีกหลายเท่า นับเป็นการเพิ่มความท้าทาย ช่วยกระตุ้นศักยภาพของนักศึกษาในกลุ่มที่มีสมรรถนะในการเรียนสูงได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นแรงบรรดาลใจให้กับนักศึกษาทุกระดับ ช่วยให้นักศึกษาจะตระหนักถึงความจริงได้ว่า “ไม่ว่าจะมีสมรรถนะในการเรียนสูงเพียงใดหากต้องการความสาเร็จที่สูงขึ้น ก็ต้องพยายามอย่างเต็มที่” ปัญหาที่ 3: นักศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนต่ำ ขาดความเชื่อมันในตัวเองและขาดแรงบรรดาลใจในการเรียนรายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) ซึ่งจัดการเรียนการสอนเป็นสองรายวิชาต่อเนื่อง เดิมเป็นรายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ (PSO225) เพียงตัวเดียว ปัญหาที่พบคือมีนักศึกษาที่ไม่ผ่านรายวิชาสะสมอยู่จานวนมาก ในกลุ่มนี้ยังรวมถึงนักศึกษาที่ได้รับเกรด F ของรายวิชาที่เป็นวิชาบังคับก่อนหลังจากได้พูดคุยกับนักศึกษาเหล่านี้พบว่าส่วนใหญ่มักขาดความเชื่อมันในตัวเอง และขาดแรงบรรดาลใจในการเรียน พอใกล้สอบก็ไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือส่งผลให้จาเนื้อหาบทเรียนไม่ได้ จึงมักสอบไม่ผ่านในหลายรายวิชา ดังนั้นจึงมีโครงการเพื่อมุ่งพัฒนาทัศนคติ และสร้างความเชื่อมันในตัวเองให้กับนักศึกษาในกลุ่มนี้ โดยมีกระบวนการโดยสังเขปดังนี้ โครงการนี้สงวนให้เฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนต่า คือเคยได้รับ F หรือ W ในรายวิชานี้ และรวมทั้งกลุ่มที่ได้เคยได้รับ F ในรายวิชาที่เป็นวิชาบังคับก่อน ให้ทาการ re-exam เฉพาะการสอบครั้งที่ 3 และ 4 สารองไว้ตั้งแต่หลังการสอบครั้งนั้นๆ โดยไม่ต้องรอผลการตัดเกรด เมื่อสิ้นสุดรายวิชาให้นาคะแนนปกติทาการตัดเกรดก่อน หากสอบผ่านรายวิชาได้ตามปกติ จะไม่ใช้คะแนนในส่วนที่ re-exam ไว้ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแต่สามารถสอบผ่านโดยไม่ จาเป็นต้องใช้คะแนน re-exam สามารถได้รับเกรดตามปกติตามความสามารถของตนเอง นักศึกษาที่รวมคะแนนปกติแล้วได้รับเกรด F จะนาคะแนนจากการ re-exam ที่สารองไว้มาแทนที่ในการสอบครั้งนั้นๆ ซึ่งหากแทนที่เพียงแค่การสอบครั้งที่ 3 แล้วสามารถได้เกรด D ก็ไม่จาเป็นต้องทาการสอบ re-exam ในครั้งที่ 4 นักศึกษาที่ใช้คะแนนจากการ re-exam มาแทนที่จะได้รับเกรดไม่เกิน D หากมองเผินๆ จะคล้ายกับการ re-exam ตามปกติ แต่ในความจริงแล้วนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมากสอบ re-exam สะสมคะแนนไว้ทั้งที่ยังไม่ทราบว่าจะได้รับ F หรือไม่ หากเปรียบเทียบจะคล้ายกับการทาประกันชีวิตมากกว่า ด้วยกระบวนการนี้จะช่วยให้นักศึกษาซึ่งเดิมจะขาดความมั่นใจในการเรียน มีสมาธิในการอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น เพราะเขาจะรู้สึกว่าในทางที่ร้ายที่สุดก็ยังมีโครงการที่ยังให้โอกาสพวกเขาอยู่ และในกรณีที่สามารถสอบผ่านได้ด้วยตนเองจะยิ่งสร้างความเชื่อมันในตัวเอง (self-esteem) ให้กับนักศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับนักศึกษากลุ่มนี้เพราะไม่มีใครจะสร้างความเชื่อมั่นแทนคนอื่นได้ จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน             ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน จากการนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) ถือได้ว่าประสบผลสาเร็จเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในด้านผลการเรียน ที่พบว่าที่ดีที่สุดเท่าที่ เคยเปิดการเรียนการสอนรายวิชานี้มา ทั้งยังได้รับความพึงพอใจจากผู้เรียนดังแสดงในตัวอย่างจากแบบประเมินที่ได้รับจากนักศึกษา เช่น Physioเป็นวิชาที่เข้าใจนักศึกษาที่สุดตั้งแต่หนูเรียนในคณะนี้มาแล้วค่ะ จัดการสอบและจัดเวลาเรียนได้สมเหตุสมผล คิดถึงนักศึกษาและพูดกับนักศึกษาตรงๆในจุดที่ต้องแจ้ง อยากขอบคุณอาจารย์ทุกคนมากๆค่ะ วิชานี้คือวิชาที่ทาให้หนูได้รู้ว่ายังมีเหล่าอาจารย์ที่จริงใจและตั้งใจที่จะสอนนักศึกษาจริงๆ ใส่ใจทุกรายละเอียดดีเทล สไลด์สวย สอนดีทุกคนจริงๆค่ะ หนูประทับใจมากจริงๆค่ะ แบบมากๆจากใจ ปกติหนูไม่ชอบเรียนวิชาแบบนี้เลยค่ะ แต่วิชานี้เพราะอาจารย์สอนกันใส่ใจมากๆจริงๆเลยทาให้หนูมีแรงเรียนแล้วก็สอนเข้าใจด้วยค่ะ มันเลยง่ายขึ้นหน่อยสาหรับหนู ขอบคุณอาจารย์ทุกคนมากๆจริงๆนะคะ อยากมอบรางวัลโนเบลให้ค่ะ วิชานี้ในทั้งเรื่องการจัดการ การประสานงาน เนื้อหาที่เรียน รูปแบบการเรียนการสอน รวมถึงอาจารย์ทุกท่าน สาหรับผม ผมชอบมากที่สุดแล้วครับ รู้สึกอาจารย์ใส่ใจ เข้าใจนักศึกษา ให้ขาดได้ตามบริหาร ช่วงใกล้สอบก็มีวิดีโออัดให้โดยไม่ต้องเข้าเรียน ในไลน์ก็ยังคอยอัพเดทเรื่องต่างๆ เป็นไลน์กลุ่มเรื่องเรียนวิชาเดียว ที่มีแจ้งเตือนแล้วทาให้อยากกดเข้าไปอ่าน ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านมากครับ ชอบวิชานี้ที่สุดเท่าที่เรียนมา จริงๆ ครับ สู้ๆ ครับอาจารย์ทุกคน ขอบคุณอาจารย์หมวด สรีรวิทยาทุกคนค่ะ สอนดีมากๆเลยค่ะ เป็นวิชาที่รู้สึกยาก เพราะเป็นเรื่องกระบวนการต่างๆของร่างกาย มีขั้นตอนต่างๆ แต่อาจารย์หลายท่านทาให้เข้าใจ อธิบายได้ดี รวมถึงมี tutorial ขึ้นมาเพื่อเตรียมความพร้อมขอบคุณมากๆเลยค่ะ             หลังจากสิ้นสุดรายวิชาพบว่ามีนักศึกษาจานวน 35 คนที่เข้าเรียนครบทั้ง 50 ชั่วโมง (นับรวมตลอดการเรียนของทั้งรายวิชา PSO222 และ PSO223) และไม่มีนักศึกษาคนใดเลยที่ขาดเรียนเกินกาหนดของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่าในจานวนนี้มีนักศึกษาในกลุ่มที่มีสมรรถนะในการเรียนต่า (กลุ่มที่ได้รับเกรด F หรือ W มาก่อน) ได้รับเกียรติบัตร 12 คน (คิดเป็น 30%) หากนาข้อมูลไปเทียบกับผลการเรียนของนักศึกษาในกลุ่มนี้พบว่ามีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทาให้ศึกษาในกลุ่มนี้ตระหนักถึงความสาคัญของการเข้าเรียน และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน on-site มากขึ้น ผลสัมฤทธิ์จากโครงการ NEURO CHALLENGE และ CARDIO CHALLENGE           ถึงแม้ในปีนี้จะไม่มีนักศึกษาทันตแพทย์ที่มีสมรรถนะในการเรียนสูงคนใดสามารถทาคะแนนเต็มได้สาเร็จในรายวิชา PSO222 แต่หลังจากได้พูดคุยกับนักศึกษาในกลุ่มนี้พบว่าตัวโครงการได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับพวกเขาเพื่อกระตุ้นตัวเองให้มีศักยถาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ได้นาแนวปฏิบัติของรายวิชานี้ไปใช้กับรายวิชา สรีรวิทยา (PSO201) สาหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ในรายวิชานี้มีนักศึกษาสามารถทาคะแนนได้เต็มในระบบหัวใจและหลอดเลือด 1 คน ซึ่งนอกจากจะเป็นขวัญและกาลังใจต่อผู้ที่รับเกียติบัตรเองแล้ว ยังส่งผลต่อความภาคภูมิใจต่อเพื่อนร่วมคณะให้มีแรงบันดาลใจ มีความพยายามในการเรียนเพิ่มากขึ้น ผลสัมฤทธิ์จากโครงการ RESCUE PROJECT            เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ประสบผลสาเร็จเกินคาดหมาย จากนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 19 คน ในจานวนนี้สามารถตัดเกรดโดยใช้คะแนนของตนเองตามปกติมากถึง 15 คน ซึ่งผลดีอย่างมากต่อนักศึกษาในกลุ่มนี้ เพราะเป็นการช่วยเพิ่มความความมั่นใจ เพิ่มขวัญและกาลังใจให้กับตนเอง ช่วยเป็นเครื่องยืนยันว่าถึงแม้จะมีสมรรถนะในการเรียนต่าแต่ถ้ามีความพยายามก็สามารถทาสาเร็จได้ดังใจหวัง ซึ่งจากแบบประเมินของผู้เข้าร่วมโครงการพบว่าได้รับความพึงพอใจในระดับ 5 คะแนนเต็ม           อีกทั้งในจำนวน 4 คนที่ต้องใช้คะแนน re-exam เข้าทดแทน ยังพบว่ามี 3 คนที่ใช้เพียงคะแนน re-exam ของการสอบครั้งที่ 3 เท่านั้น ก็สามารถสอบผ่านได้โดยไม่จาเป็นต้องนัดสอบหลังจากการสอบครั้ง 4 จึงยังช่วยเพิ่มความความมั่นใจ เพิ่มขวัญและกาลังใจให้กับพวกเขาได้เช่นเดียวกัน เพราะเขาจะรู้สึกว่าด้วยความพยามของเขาเองอย่างเต็มทีเสริมกับความช่วยเหลือเพียงหนึ่งครั้งก็สามามารถผ่านไปได้             ในขณะที่นักศึกษาคนสุดท้ายจะยังคงสอบไม่ผ่านถึงแม้จะใช้คะแนน re-exam ทั้งสองครั้งแล้วก็ตาม ถือว่าโครงการนี้ยังมีอานาจจาแนกกลุ่มเด็กที่สมรรถนะในการเรียนระดับต่ามากถึงแม้จะให้โอกาสแต่ก็ยังขาดความพยายาม ชี้ปัญหาให้เขาได้ตระหนักและมุ่งพัฒนาเพื่อมีศักยภาพให้เพิ่มขึ้นในอนาคต               ทั้งนี้ในแต่ละขั้นตอนตลอดโครงการนี้นักศึกษายังได้พัฒนาทักษะในหลายด้านที่สอดคล้องกับ Transformative learning เช่นกระบวนการ brainstorming, reflection, rational discourse ช่วยให้ได้ผลลัพท์ทางการศึกษาที่ดีในระดับที่สร้างความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติของนักศึกษา จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อกระบวนการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรในอนาคตปัญหาและอุปสรรคที่พบ การประเมินผลการเรียนของรายวิชา PSO222 จะไม่มีการเรียนภาคปฏิบัติการ (ภาคปฏิบัติการจัดอยู่ในรายวิชา PSO223) ทาให้นักศึกษามีความกดดันระหว่างเรียนพอสมควร เพราะคะแนนจะมาจากการสอบเพียงสองครั้ง ร่วมกับคะแนน post-test ถ้าหากขาดความพร้อมในการทบทวนบทเรียนก่อนการสอบจะมีโอกาสสอบไม่ผ่านสูง เนื่องจากนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์มีการเรียนและการสอบในหลากหลายวิชา ทาให้บ่อยครั้งนักศึกษาเลือกที่จะไม่เข้าห้องเรียน และใช้เวลาสาหรับทบทวนเนื้อหาที่กาลังจะสอบ ส่งผลให้ในการสอบครั้งหลังๆ จะตามทบทวนเนื้อหาที่ไม่เข้าเรียนมาก่อนไม่ทัน               จะเห็นได้ว่าเมื่อเราดูแลรายวิชาให้ครอบคลุมในทุกด้าน และดูแลนักศึกษาอย่างทั่วถึงผ่านโครงการที่หลากหลายสอดคล้องเหมาะสมกับนักศึกษาในแต่ละสมรรถนะการเรียนรู้ ถึงแม้จะเป็นเพียงรายวิชาเดียวก็ให้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และทัศนคติของนักศึกษาไปในทางที่ดีขึ้นได้ หากนำแนวปฏิบัตินี้ไปปรับใช้ให้เหมาะกับปริบทของรายวิชาต่างๆ ตลอดหลักสูตร จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นช่วยสร้างบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางการศึกษาตรงตามวัตถุประสงค์การสอนมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK              การดำเนินงานของโครงการ “HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศ”สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) การนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับปริบทของนักศึกษาในปัจจุบัน โดยพยายามนาเทคโนโลยีมาผสานกับการเรียนการสอน เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ active Learning ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน อีกทั้งยังมีอีกหลายโครงการที่มุ่งพัฒนาทางด้านทัศนติ ซึ่งถือเป็นโจย์ยากในการปลูกฟังแนวคิดที่ถูกต้องเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอย่างยั่งยืน สร้างบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางการศึกษา และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสอนมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังจากผลการเรียน และผลจากการประเมินการเรียนการสอน สามารถสะท้อนความสาเร็จของโครงการได้เป็นอย่างดี โดยได้ถอดบทเรียนจากโครงการและนาไปปรับใช้กับรายวิชาต่างๆ ของหมวดวิชาสรีรวิทยา ตลอดจนยังนาแนวปฏิบัติมาใช้กับการเรียนการสอนรายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) ในปีการศึกษาปัจจุบัน รวมทั้งยังมีโอกาสร่วมแชร์แนวปฏิบัตินี้ในการประชุมพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ ประจาปีการศึกษา 2567 ซึ่งคณาจารย์แต่ละท่านสามารถนาข้อมูลไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับปริบทของรายวิชาตนเอง ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice             ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจะได้ประโยชน์จากโครงการ “HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศ”เพียงใด นอกจากรูปแบบโครงการที่หลากหลายและครอบคลุมกับนักศึกษาทุกกลุ่มแล้ว อีกสิ่งที่สาคัญไม่แพ้กันคือ ความตั้งใจของตัวนักศึกษาเอง ถึงแม้รายวิชานี้จะมุ่งพัฒนาการเรียนการสอนในทุกด้านเพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการเรียนให้กับนักศึกษาแต่ด้วยปริบทนักศึกษาในปัจจุบันแตกต่างจากอดีต ก็ไม่ง่ายนักที่จะเปลี่ยนทัศนคติให้กับนักศึกษาทุกคนได้ จาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในทุกรายวิชาตลอดหลักสูตรคอยช่วยกันหล่อหลอมเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความเป็นเลิศตามต้องการ            นอกจากการมุ่งพัฒนานักศึกษาแล้วสิ่งสาคัญอย่างยิ่งคือการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ควบคู่ไปด้วย จึงอยากให้ทางมหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสาคัญในการสร้างแรงจูงใจให้กับคณาจารย์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเต็มกาลังความสามารถ ในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกเลิกการแจกเกียรติบัตรอาจารย์สอนดีเด่น (ที่ได้รับเมื่อมีคะแนนประเมินจากนักศึกษาในระดับสูง) ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการสร้างแรงจูงใจเพื่อพัฒนาศักยภาพการสอนของคณาจารย์ หากมีแนวปฏิบัติอื่นใดที่ทางมหาวิทยาลัยเห็นว่าเหมาะสมในการสร้างแรงจูงใจแก่คณาจาย์สามารถนามาประกาศใช้เพิ่มเติม ย่อมส่งผลดีต่อนักศึกษาเพราะจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย

HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศ Read More »

การวิจัยนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหา เรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2 (The Research on Innovative learning Media with the Search Engine on antibacterial Drugs in pharmaceutical chemistry II)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 การวิจัยนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหา เรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2 (The Research on Innovative learning Media with the Search Engine on antibacterial Drugs in pharmaceutical chemistry II) ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้จัดทำโครงการ รศ.ดร.ภัททวัฒน์ มณีวัฒนภิญโญ นศภ.จารวี สุริโย นศภ.อรณัฏฐ์ หวยสูงเนิน นศภ.ณัฐกิตต์ เกตุพิมล ผศ.ดร.ภก.อภิรุจ นาวาภัทร และผศ.ดร.ภญ.สุชาดา จงรุ่งเรืองโชค วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาททางด้านการจัดการศึกษามากขึ้นโดยผู้วิจัยได้นำเทคโนโลยีและความทันสมัยของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาใช้ในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในปัจจุบันมีช่องทางในการศึกษาที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเว็บไซต์สื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคทางด้านการพัฒนาสื่อการสอน กลายมาเป็นเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึง และใช้งานได้อย่างสะดวก และสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในการจัดการเรียนการสอน หรือเป็นสื่อเสริมการเรียนรู้ได้           ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาสื่อการสอนในรูปแบบเว็บไซต์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นโดยออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ผ่านเบราว์เซอร์ Safari, edge หรือ Google chrome ซึ่งจะจำกัดการลงทะเบียนในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ด้วย E-mail ของทางมหาวิทยาลัยรังสิต เท่านั้น โดยสื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้การเรียนรู้ไม่ถูกจำกัดอยู่แต่ภายในห้องเรียน อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกในการทบทวนบทเรียน โดยที่ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหาได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่ตามต้องการ           วิชา Pharmaceutical chemistry II รหัส PHA 333 เป็นวิชาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มีรูปแบบเป็นการเรียนแบบบรรยาย 2 หน่วยกิต ซึ่งเนื้อหารายวิชา เกี่ยวข้องกับโครงสร้างยาหลายกลุ่ม ปฏิกิริยาเคมีพื้นฐานที่ใช้ในทางเภสัชกรรม การค้นพบยา การออกแบบและพัฒนายา ตัวยาจากแหล่งที่มาต่าง ๆ ได้แก่ ยาที่ได้จากธรรมชาติ ยากึ่งสังเคราะห์ ยาสังเคราะห์และผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ โดยแบ่งเนื้อหาตามฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและการนำไปใช้ ธรรมชาติทางเคมี คุณสมบัติทาง physical chemistry ของตัวยา อันตรกิริยาของยา และความสัมพันธ์ระหว่างสูตรโครงสร้างทางเคมีกับการออกฤทธิ์ของยา ทางทีมผู้วิจัยมีความประสงค์จัดทำนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนนี้ขึ้นเพื่อช่วยในการเรียน วิชา Pharmaceutical chemistry II ในหัวข้อกลุ่มยาต้านแบคทีเรีย เพื่อให้ผู้เรียนนั้นได้เข้าใจเนื้อหา และโครงสร้างกลุ่มยาต้านแบคทีเรียมากขึ้น มีแบบทดสอบก่อน และหลังใช้งานเว็บไซต์ว่าผู้เรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งในเว็บไซต์จะให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มยาต้านแบคทีเรียอ้างอิงจำนวนการแบ่งกลุ่มยาตามเอกสารคำสอนของอาจารย์ผู้สอนของรายวิชาเภสัชเคมี 2 รหัส PHA 333 มีการแสดงข้อมูลโครงสร้างทางเคมีของกลุ่มยาต้านแบคทีเรียต่างๆ มีข้อมูลพื้นฐานทาง pharmacology สามารถให้ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าชม และมีช่องคำค้นหาตามกลุ่มยาที่สนใจและต้องการหาข้อมูลนั้นได้           ดังนั้นสื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ควรทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และหรือใช้ร่วมกับการเรียนบรรยาย ซึ่งสื่อนี้ช่วยให้นักศึกษาสามารถนำทักษะมาใช้ในวิชา pharmaceutical chemistry II ได้ อีกทั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องชัดเจน โดยในการจัดทำสื่อเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และเป็นช่องทางในการทบทวนความรู้ทางเภสัชเคมีนี้มีแนวทางในประเมินผลโดยดำเนินงานในรูปของโครงการวิจัย ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            รายวิชา Pharmaceutical Chemistry II (PHA 333) เป็นรายวิชาหลักในหลักสูตรเภสัชศาสตร์สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะบรรยาย จำนวน 2 หน่วยกิต รายวิชานี้มุ่งเน้นการศึกษาทางด้านเคมีเภสัชกรรม โดยครอบคลุมองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมีของตัวยาหลากหลายกลุ่ม ปฏิกิริยาเคมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในทางเภสัชกรรม หลักการค้นพบยา การออกแบบและพัฒนายา ตลอดจนแหล่งที่มาของตัวยา ซึ่งอาจเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ยากึ่งสังเคราะห์ ยาสังเคราะห์ และผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ เนื้อหาของรายวิชาได้รับการจัดระเบียบตามกลุ่มเภสัชวิทยาของยา โดยเน้นการศึกษาคุณสมบัติเฉพาะของสารออกฤทธิ์ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ โครงสร้างทางเคมี สมบัติทาง physical chemistry อันตรกิริยาระหว่างยา ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางเคมีกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ซึ่งล้วนเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเภสัชกรในการวิเคราะห์ ประเมิน และบูรณาการข้อมูลทางเคมีของยาเพื่อสนับสนุนการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัยในเวชปฏิบัติ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชา Pharmaceutical Chemistry II จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หนึ่งในแนวทางที่มีประสิทธิภาพคือการพัฒนา website ที่รวบรวมข้อมูลทางเคมีของยาปฏิชีวนะ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับค้นหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมี กลไกการออกฤทธิ์ สมบัติทาง physical chemistry อันตรกิริยาระหว่างยา และข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์ของยากลุ่มนี้ Website ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ โดยช่วยให้สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งยังเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะของนักศึกษาในการสืบค้น วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ข้อมูลทางเคมีของยาในการศึกษาทางเภสัชกรรม นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับเภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ           ดังนั้นการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการศึกษาในรายวิชา Pharmaceutical Chemistry II ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาให้แก่นักศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก เพิ่มศักยภาพในการค้นคว้า และสนับสนุนการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์สามารถปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเภสัชกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการดำเนินการ           อาจารย์ประจำวิชา PHA 333 เภสัชเคมี 2 จะแนะนำเว็บไซต์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้เข้าร่วมวิจัยได้ทดลองใช้งานจริง จากนั้นมีแบบทดสอบก่อนเข้าเรียน (pre-test) ในเว็บไซต์ แบบทดสอบหลังเรียน (post-test) และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ให้ผู้เข้าร่วมวิจัย เป็นการขอความร่วมมือจากนักศึกษา และไม่มีผลต่อการวัดผลของรายวิชา โดยมีแนวทางในการดำเนินกิจกรรมและระเบียบวิธีวิจัย ดังนี้ ประชากร (Population : N) นักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเภสัชเคมี 2 (PHA 333) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 150 คน     กลุ่มตัวอย่าง (Sample : n) นักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเภสัชเคมี 2 (PHA 333) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567  จำนวน 110 หรือ 109 คน (คำนวณตาม Taro Yamane ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05) การสร้างและทดสอบเครื่องมือ ผู้วิจัยออกแบบสื่อการเรียนรู้สำหรับการใช้ใน วิชาเภสัชเคมี 2 (PHA333) ผู้วิจัยเตรียมเนื้อหา และออกแบบบทเรียนบน Microsoft Excel และทดลองใช้กับกลุ่มเล็กเพื่อนำความเห็นปรับปรุงสื่อการเรียนรู้ ผู้วิจัยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนรู้ (pre-test) เพื่อประเมินความเข้าใจ และทักษะด้านเคมีทางยา ผู้วิจัยชี้แจงผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับหัวข้อยาต้านแบคทีเรีย ในวิชาเภสัชเคมี 2 PHA 333 ห้องเรียนแจ้งกับผู้เรียนในคาบเรียน และให้ผู้เรียนใช้สื่อการเรียนรู้ช่วงว่างโดยใช้งานก่อน หรือหลังเรียนในคาบเรียน ผู้วิจัยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนรู้ (post-test) เพื่อประเมินความเข้าใจและทักษะด้านเคมีทางยาสำหรับหัวข้อยาต้านแบคทีเรีย หลังจากใช้สื่อการเรียนรู้ ช่วงว่างโดยใช้หลังเรียนในคาบเรียน โดยผู้วิจัยสร้างแบบประเมินความเห็นต่อสื่อการเรียนรู้สำหรับหัวข้อยาต้านแบคทีเรีย ในวิชาเภสัชเคมี 2 (PHA333)  โดยสร้างแบบประเมิน 1 ชุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่      ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ประกอบด้วยเพศ ปีที่เข้าเรียน และสาขาวิชา      ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความเห็นของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้โดยมีข้อคำถาม 18 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ความเห็นต่อเนื้อหา และแบบฝึกหัด 2) ความเห็นต่อสื่อการเรียนรู้ และความพึงพอใจโดยรวม 1 ข้อ แบบสอบถามเป็นแบบ Likert Scale มี 5 ระดับ เรียงจากระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดถึงระดับความพึงพอใจมากที่สุด      ส่วนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนรู้ จำนวน 1 ข้อ      ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content validity) จากอาจารย์เภสัชกรผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน โดยทุกข้อคำถามต้องมีค่า Index of item-Objective Congruence (IOC) 0.5-1.0 และหาความเชื่อมั่นของการหาความเชื่อมั่น แบบความสอดคล้องภายใน (Measure of Internal Consistency) ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เป็นความสอดคล้องกันระหว่างคะแนนรายข้อเป็นตัวแทนของคุณลักษณะเด่นเดียวกันที่ต้องการวัด วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coeffident: ) การให้คะแนนเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ยังใช้ได้กับแบบทดสอบที่ให้คะแนนแบบ 0, 1 การเก็บรวบรวมข้อมูล : เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) โดยได้จากแบบสอบถามความพึงพอใจ และ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) โดยได้จากแบบทดสอบ pre-test และ post-test การวิเคราะห์ข้อมูล : นี้ผู้วิจัยได้นำคะแนนที่ผู้ร่วมวิจัยได้ทำแบบทดสอบก่อน และหลังใช้งาน. เว็บไซต์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งจะประเมินได้ว่าผู้ร่วมวิจัยนั้นมีความเข้าใจหลังใช้งานนวัตกรรมมากหรือน้อยเพียงใด และนำ Index of item-Objective Congruence (IOC) 0.5-1.0 ในแบบสอบถามความพึงพอใจ มาประเมินผลข้อมูลว่าค่าความเที่ยงตรงของแบบประเมินความพึงพอใจค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test เพื่อหานัยสำคัญทางสถิติ มีการลงพื้นที่วิจัยภาคสนาม ในห้องห้องเรียนรายวิชา pharmaceutical chemistry II (PHA333) มหาวิทยาลัยรังสิต 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           โครงการวิจัย “นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหาเรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2” ได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้และเครื่องมือช่วยทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ในรายวิชา PHA 333 Pharmaceutical Chemistry II โดยเน้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ครอบคลุมโครงสร้างทางเคมี กลไกการออกฤทธิ์ และสมบัติของยาปฏิชีวนะกลุ่มต่าง ๆ ระบบนี้ได้รับการออกแบบให้สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา โดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (pre-test) จากนั้นศึกษาเนื้อหาและทำแบบทดสอบหลังเรียน (post-test) ผลการดำเนินโครงการพบว่า มีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งสิ้น 121 คน โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ คะแนนเฉลี่ย pre-test ก่อนการเรียนอยู่ที่ 3.00 คะแนน (จากเต็ม 6 คะแนน) ในขณะที่คะแนนเฉลี่ย post-test หลังจากการทบทวนเนื้อหาผ่านสื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น 5.15 คะแนน (จากเต็ม 6 คะแนน) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาผลคะแนนเป็นรายบุคคล พบว่า นักศึกษาที่ได้คะแนน post-test 5 คะแนน มีจำนวน 55 คน คิดเป็น ร้อยละ 45.45 นักศึกษาที่ได้คะแนนเต็ม 6 คะแนน มีจำนวน 56 คน คิดเป็น ร้อยละ 46.18 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจของนักศึกษาในเนื้อหาวิชาเภสัชเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อุปสรรคและปัญหาในการดำเนินงาน แม้ว่าผลลัพธ์ของโครงการจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา แต่ยังพบอุปสรรคและปัญหาบางประการในกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้ ความท้าทายในการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม การจัดทำฐานข้อมูลของยาปฏิชีวนะต้องอาศัยความถูกต้องของข้อมูลทางเคมีและเภสัชวิทยา ซึ่งจำเป็นต้องมีการทบทวนข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และใช้เวลาในการพัฒนาโครงสร้างข้อมูลให้เป็นระบบที่ใช้งานง่าย การพัฒนาโปรแกรมค้นหาให้สามารถดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำต้องอาศัยการทดสอบและปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง การใช้งานจริงของนักศึกษา นักศึกษาบางส่วนอาจไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ทำให้ต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้งานระบบ การทบทวนเนื้อหาผ่านสื่อออนไลน์อาจไม่ได้ผลดีเท่ากับการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาบางกลุ่ม ปัจจัยด้านความพร้อมของระบบและอุปกรณ์ ปัญหาทางเทคนิค เช่น ความเร็วในการเข้าถึงระบบ การรองรับจำนวนผู้ใช้งานพร้อมกัน และข้อผิดพลาดของโปรแกรม อาจส่งผลกระทบต่อประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษา อุปกรณ์ของนักศึกษาบางคนอาจไม่รองรับการใช้งานโปรแกรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่พบในการดำเนินโครงการ สามารถพิจารณาปรับปรุงในด้านต่อไปนี้ ปรับปรุงฟังก์ชันของระบบให้มีความเสถียรและใช้งานง่าย พัฒนาอินเทอร์เฟซให้เหมาะสมกับการใช้งานผ่านอุปกรณ์หลากหลายประเภท เพิ่มระบบช่วยเหลือผู้ใช้ เช่น คู่มือการใช้งานออนไลน์ หรือคลิปวิดีโอแนะนำ เพิ่มเนื้อหาหรือเครื่องมือเสริมการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ interactive หรือแบบจำลองโมเลกุล 3 มิติ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมีของยา เพิ่มแบบฝึกหัดหรือข้อสอบจำลองเพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินความเข้าใจของตนเองได้ก่อนการสอบจริง ปรับกลยุทธ์การส่งเสริมการใช้งานระบบ จัดกิจกรรมแนะนำการใช้งานสื่อการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาเภสัชศาสตร์รุ่นใหม่ที่เข้ามาเรียนในวิชา PHA 333 จัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้ใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาได้ดียิ่งขึ้น           โดยสรุป ผลการดำเนินโครงการนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ในการเพิ่มพูนความเข้าใจด้านเภสัชเคมีของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อพัฒนาและขยายขอบเขตของโครงการให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในระยะยาว 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           โครงการวิจัย “นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหาเรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2” ได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยเสริมการเรียนรู้และทบทวนเนื้อหาทางเคมีเภสัชกรรมเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะในรายวิชา PHA 333 Pharmaceutical Chemistry II โดยมีการตรวจสอบผลการดำเนินงานผ่านการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา รวมถึงการเก็บรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้งานสื่อการเรียนรู้นี้ การนำไปใช้จริงพบว่า นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 สามารถเข้าถึงและใช้โปรแกรมค้นหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งสิ้น 121 คน ซึ่งเริ่มต้นด้วยการทำ pre-test ก่อนใช้สื่อการเรียนรู้ และทำ post-test หลังจากการศึกษาเนื้อหา ผลการประเมินพบว่า คะแนนเฉลี่ยของ pre-test อยู่ที่ 3.00 คะแนน (เต็ม 6 คะแนน) และเพิ่มขึ้นเป็น 5.15 คะแนน (เต็ม 6 คะแนน) ใน post-test แสดงให้เห็นว่าสื่อการเรียนรู้นี้สามารถช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจของนักศึกษาในเนื้อหาได้อย่างมีนัยสำคัญ           นอกจากนี้ การสำรวจความคิดเห็นจากนักศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกต่อสื่อการเรียนรู้นี้ โดยให้ความเห็นว่าระบบสามารถช่วยให้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะได้สะดวก รวดเร็ว และช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม นักศึกษาบางส่วนยังพบปัญหาด้านเทคนิค เช่น ความยากในการค้นหาข้อมูลเฉพาะด้าน และข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงระบบ สรุปและอภิปรายผล จากผลการดำเนินโครงการ สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ โปรแกรมค้นหานี้ช่วยให้คะแนน post-test ของนักศึกษาเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 00 เป็น 5.15 คะแนน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสื่อการเรียนรู้นี้สามารถช่วยพัฒนาความเข้าใจและความสามารถในการจำแนกข้อมูลของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สัดส่วนนักศึกษาที่ทำคะแนนได้สูงขึ้นหลังใช้สื่อการเรียนรู้ ยืนยันถึงความเหมาะสมของเนื้อหาและความสามารถของโปรแกรมในการสนับสนุนการเรียนรู้ ข้อดีของการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน นักศึกษาสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ทุกที่ทุกเวลา ลดข้อจำกัดของการเรียนการสอนในห้องเรียน ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้แบบ self-directed learning ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) อุปสรรคและข้อจำกัด ปัญหาด้านเทคนิค เช่น การเข้าถึงระบบที่อาจไม่เสถียรในบางช่วงเวลา และข้อจำกัดของอุปกรณ์ของนักศึกษาบางส่วน นักศึกษาบางรายยังขาดความคุ้นเคยกับการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ทำให้ต้องมีระยะเวลาในการปรับตัว บทสรุปความรู้และความรู้ที่ค้นพบใหม่ จากโครงการวิจัยนี้ สามารถสรุปองค์ความรู้และข้อค้นพบใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในอนาคต ดังนี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยเสริมการเรียนรู้ในรายวิชาที่มีเนื้อหาจำนวนมาก สื่อการเรียนรู้แบบ interactive หรือระบบค้นหาแบบดิจิทัลสามารถช่วยลดภาระการจดจำข้อมูลของนักศึกษา และทำให้สามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น การออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างเป็นระบบ การใช้ pre-test และ post-test เป็นแนวทางที่ดีในการวัดผลการเรียนรู้ และสามารถใช้เป็นแนวทางพัฒนาเครื่องมือวัดผลทางการศึกษาอื่น ๆ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ         จากการดำเนินโครงการนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหาเรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2 พบว่ามีศักยภาพในการช่วยเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นในอนาคต ควรมีแนวทางการพัฒนาเพิ่มเติม รวมถึงระบุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ ดังนี้ 1. การปรับปรุงระบบให้สามารถค้นหาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น หนึ่งในข้อจำกัดของระบบปัจจุบันคือการค้นหาข้อมูลที่อาจยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างครอบคลุม ดังนั้น ควรพัฒนาระบบให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะการค้นหาตาม โครงสร้างทางเคมี หรือ กลไกการออกฤทธิ์ของยา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเภสัชเคมีของยาต้านแบคทีเรีย แนวทางการพัฒนา: ปรับปรุง algorithm การค้นหาให้สามารถดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ หมู่ฟังก์ชันทางเคมี หรือ ลักษณะโครงสร้างโมเลกุล ของยาได้ เพิ่มฟังก์ชัน การเชื่อมโยงข้อมูลทางเภสัชวิทยาและเภสัชจลนศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยาในร่างกายได้ง่ายขึ้น ออกแบบระบบที่สามารถ แสดงความสัมพันธ์ของยาในกลุ่มเดียวกัน เพื่อช่วยให้เข้าใจการเปรียบเทียบเชิงโครงสร้างและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 2. การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Artificial Intelligence (AI) หรือ Machine Learning (ML) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ AI และ ML สามารถช่วยให้ระบบค้นหาข้อมูลมีความแม่นยำมากขึ้น โดยสามารถเรียนรู้จากพฤติกรรมของผู้ใช้ และปรับปรุงการนำเสนอข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของนักศึกษา แนวทางการพัฒนา: ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาที่เกี่ยวข้องกับการค้นหา พัฒนา Chatbot อัจฉริยะ ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะในเชิงลึก และช่วยตอบคำถามของนักศึกษาแบบเรียลไทม์ ใช้เทคนิค Natural Language Processing (NLP) เพื่อทำให้การค้นหาข้อมูลโดยใช้ภาษาธรรมชาติมีความแม่นยำมากขึ้น Machine Learning-based Recommendation System ที่สามารถแนะนำข้อมูลหรือบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักศึกษาสนใจ 3. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น แอนิเมชัน หรือแบบจำลองโมเลกุล 3 มิติ การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และ แบบจำลอง 3 มิติของโครงสร้างยา สามารถช่วยให้นักศึกษาเข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ของยาได้ชัดเจนขึ้น แนวทางการพัฒนา: สร้าง แอนิเมชันแสดงกลไกการออกฤทธิ์ของยา ในระดับเซลล์หรือโมเลกุล เพื่อช่วยให้เห็นกระบวนการทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับยาต้านแบคทีเรีย พัฒนา โมเดลโครงสร้าง 3 มิติของยา ที่สามารถหมุนและปรับมุมมองได้ เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างเชิงพื้นที่ของโมเลกุล เพิ่ม interactive Learning Modules เช่น แบบจำลองเสมือนจริง (Virtual Reality, VR) หรือแบบจำลองเสริม (Augmented Reality, AR) เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสกับโมเลกุลยาในมิติที่สมจริงมากขึ้น 4. ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ นอกจากแนวทางการพัฒนาแล้ว ปัจจัยต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้โครงการบรรลุผลตามเป้าหมาย 4.1 การสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา การบูรณาการสื่อการเรียนรู้เข้าสู่หลักสูตรของรายวิชา PHA 333 Pharmaceutical Chemistry II อย่างเป็นระบบ การส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 4.2 ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี การพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ตโฟน การรักษาความเสถียรของระบบและเพิ่มขีดความสามารถของเซิร์ฟเวอร์ให้สามารถรองรับการใช้งานพร้อมกันของผู้ใช้จำนวนมาก 4.3 การมีส่วนร่วมของนักศึกษาและการรับผลการประเมินเพื่อการปรับปรุง ควรมีระบบ feedback mechanism เพื่อให้นักศึกษาสามารถให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม และนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ การส่งเสริมการเรียนรู้แบบ active Learning โดยให้มีแบบฝึกหัด ทดสอบความเข้าใจ และกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง

การวิจัยนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหา เรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2 (The Research on Innovative learning Media with the Search Engine on antibacterial Drugs in pharmaceutical chemistry II) Read More »

การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อยกระดับ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต สู่ความเป็นขุมพลังแห่งปัญญาเพื่อชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 1.2.4, KR 5.1.2 และ KR 5.3.2 การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อยกระดับ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต สู่ความเป็นขุมพลังแห่งปัญญาเพื่อชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.นันทชัย ทองแป้น วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            ทิศทางการบริหารจัดการวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้น ได้ใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยนจากคณะวิชาให้เป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์ มุ่งเน้นการบูรณาการทุกภาระกิจแบบครบวงจร โดยหลักการที่สำคัญที่นำมาใช้คือ การSynergy ของทุกองคาพยพทั้งคนและภารกิจของวิทยาลัย โดยเน้นในเรื่องการปฏิบัติภารกิจใดๆ ต้องส่งผลทำให้มีเกิดผลลัพธ์เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ต่อเนื่องในภารกิจอื่นๆต่อๆกันไปอย่างครบวงจร เช่น การบริการวิชาการ ต้องสามารถให้เกิดผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การพัฒนานักศึกษา การพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ การประชาสัมพันธ์เพื่อนำชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัย รวมทั้งการนำไปใช้ในการดำเนินการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ที่สำคัญที่สุดก็คือ สามารถนำไปสู่ความเป็นขุมพลังแห่งปัญญาเพื่อชี้นำสังคมโดยมีรูปแบบการทำงานโดยสรุปดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 ภารกิจของสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่            พิจารณาจากรูปที่ 1 จะเห็นว่าภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ (Great University) ได้นั้นต้องเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Learning University) และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเสาะแสวง (Inquiring University) โดยมีภารกิจหลักที่สำคัญคืองานสอน งานวิจัย และงานบริการวิชาการรวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยมีการทดลองแบบ Service Learning ที่เน้นการเรียนรู้ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยงกับเครือข่ายสังคมหรือภาค Real Sector ที่เกี่ยวข้องโดยมีจุดมุ่งหมายในการเป็นขุมพลังแห่งปัญญาเพื่อชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้           วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มีปรัชญาว่า“นวัตกรรม จิตวิญญาณผู้ประกอบการ และ ความเป็นสากล ชนะทุกสิ่ง และนำมาซึ่งความสำเร็จ” มีปณิธานในการมุ่งทำให้ “โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงานและโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน”และมีวิสัยทัศน์คือ ก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยมีคำขวัญประจำวิทยาลัยว่า “เรียนรู้จากประสบการณ์จริง”           วิทยาลัยฯ มีความเชื่อและได้มีหนึ่งในสมมติฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการเพื่อให้การพัฒนาในทุกมิติของหลักสูตรและวิทยาลัยฯประสบความสำเร็จคือ “การพัฒนาและใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ” โดยในเรื่องดังกล่าวนี้เรามีความเชื่อว่าหนึ่งในตัวแปรต้นหรือปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการก็คือ “งานบริการวิชาการ”และมีตัวแปรตามซึ่งหมายถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ก็คือ ความสำเร็จในการพัฒนานักศึกษาทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ทัศนคติและการมีงานทำและ/หรือการประกอบอาชีพส่วนตัว ความสำเร็จในการพัฒนาอาจารย์ทั้งในแง่คุณภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้ คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ ความสำเร็จในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ความสำเร็จในการพัฒนาวิชาชีพ ความสำเร็จในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ           โดยมีตัวแปรควบคุมคือ “งานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์.           ที่กล่าวมาโดยสรุปคือหนึ่งในแผนแนวคิดและยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ที่มุ่งใช้การบริหารจัดการจะเน้นการโดยใช้เป้าหมายเป็นฐาน (Target Based Management) ที่เน้นการพัฒนาบัณฑิตที่เปลี่ยนจาก Formative/Informative Learning เป็น Transformative Learning โดยมุ่งให้เป็นเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership, Change Agent Skill) โดยใช้ยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการบริหารจัดการ รูปที่ 2 แสดงยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการบริหารจัดการ เมื่อ S คือ ภาระงานบริการวิชาการ   R คือ ภาระงานวิจัย  และ T/L คือ ภาระงานสอน ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  แนวคิดในการการพัฒนาและใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ ยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง  องค์ความรู้ทางด้านการบริหารที่ประกอบด้วยหลักการการจัดการองค์กร องค์ความรู้ทางด้านการบริหารภารกิจการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา(การบริหารการศึกษา งานวิจัย งานบริการวิชาการ) องค์ความรู้ทางด้านการพัฒนางานบริการวิชาการและการใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ องค์ความรู้แบบองค์รวมในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของศตวรรษที่ 21 ยุคหลังโควิด-19 รวมทั้งยุดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 5 ที่เกี่ยวข้องกับมิติต่างๆทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์โดยเน้นในเรื่องของสภาพปัญหาและข้อจำกัด (Pain Point) ในทุกมิติขององคาพยพทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทยทั้งเรื่องของวิชาการ การวิจัย และงานบริการวิชาการ เรื่องของวงจรชีวิตของเครื่องมือและเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ เรื่องของคนและวิชาชีพเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ และการพัฒนา Career Path ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้กับประเทศไทยรวมทั้งการจัดการศึกษาและพัฒนาบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัยรังสิต การศึกษาดูงานจากสถาบันการศึกษาและ Real Sector รวมทั้งองค์กรในลักษณะอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) อื่น ๆ (ระบุ) เป็นความรู้ที่เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์การทำงาน องค์ความรู้อื่นๆ ที่ตกผลึกจากประสบการณ์การทำงานทางด้านการบริหารงานในระดับหมวดวิชา ระดับภาควิชา แระดับหลักสูตรระดับคณะและวิทยาลัยรวมทั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพรวมทั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งประเทศไทยมากว่า 30 ปี รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาให้กับภาค Real Sector ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Supply Chain ต่างๆ ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิธีการดำเนินการ           องค์ความรู้ทั้งหมดที่กล่าวมาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เป็นหลักสูตรอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์จนมีการเติบโตขึ้นเป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในปัจจุบัน โดยมีความเชื่อในเรื่องของใช้ยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการบริหารจัดการว่า กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะกับการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ก็คือ “เรียนรู้จากประสบการณ์จริง” และเชื่อว่าทิศทางการพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ จะต้องมีทิศทางความเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าและนวัตกรรมของโลก โดยที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี & นวัตกรรมจะต้องไม่เป็นความแปลกหน้า-แปลกแยกของนักศึกษาและบัณฑิต           ดังนั้นการวางเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ต้องตอบสนองโลกของความต้องการจริงที่เรียกว่า Demand Driven ซึ่งเป็นปณิธานของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ว่า เรามุ่งทำให้“โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงาน และโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน”โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการทำให้การพัฒนาในทุกมิติของวิทยาลัยฯ อยู่ในทิศเดียวกับความก้าวหน้าของโลก อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของโลกในปัจจุบันและอนาคตนอกจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในทุกด้านอย่างรวดเร็ว (Technology Disruption) ก็คือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) ซึ่งการรับมือกับสิ่งท้าทายเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้การปรับเปลี่ยนพลิกโฉมในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Re-inventing Innovation) ร่วมกับแนวคิด Glocalization (Think globally, Act locally) ที่เป็นการรวม Globalization และ Localization เข้าด้วยกัน นำไปสู่การพลิกโฉมความรู้และแนวปฏิบัติจากสังคมโลกสู่สังคมท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในสมมุติฐานของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ว่า “เครื่องมือในการพัฒนาในทุกมิติของหลักสูตรและวิทยาลัยฯให้ประสบความสำเร็จคือ การพัฒนาและใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ จึงถูกนำมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ภายใต้วิสัยทัศน์ “ก้าวสู่ วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยมีการดำเนินการโดยสรุปดังนี้ จัดตั้งศูนย์บริการวิชาการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ รูปที่ 3 ศูนย์บริการวิชาการวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ จำนวน 3 ศูนย์ ที่ใช้เป็นฐานในการให้บริการวิชาการกับสังคม วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้จัดตั้งศูนย์บริการทางวิชาการจำนวน 3 ศูนย์หลักเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการใช้งานบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ดังรายละเอียดโดยสรุปดังนี้ 1.1 ศูนย์นวัตกรรมและบริการวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Innovation and Service Center: BIS CENTER) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 (เริ่มเปิดสอนหลักสูตรตั้งแต่ปีการศึกษา2545) เดิมชื่อศูนย์วิจัย พัฒนาและบริการอุปกรณ์ชีวการแพทย์ (Biomedical Instruments Research Development and Services Center) ต่อมาในปีการศึกษา 2560 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์นวัตกรรมและบริการวิศวกรรมชีวการแพทย์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นศูนย์บริการที่ดำเนินกิจกรรมแบบครบวงจรของการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้มีความพอเพียงและมีความพร้อมใช้สำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนอยู่ตลอดเวลา ตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพ 1.2 ศูนย์การศึกษาและพัฒนามาตรฐานบริการสุขภาพนานาชาติ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2556 โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้บริการวิชาการทางด้านการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานบริการสุขภาพทั้งระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งกับการบริหารจัดการโรงพยาบาลโดยใช้มาตรฐานสากล เช่น JCI และ DNVGL เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการมุ่งเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ 1.3 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวารแพทย์ (BMERSU Technology Transfer Center:TTC) ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นในปีการศึกษา 2564 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในด้านการนำเอาผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักศึกษาที่มีศักยภาพไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงหรือนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งได้ร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์และมูลนิธิฟ้าหลังฝนรวมทั้งหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ในการให้บริการการทางวิชากาการทางด้านการยืมเครื่องมือแพทย์ไปใช้งานให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุในบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิตจังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ใช้เป็นศูนย์อำนวยการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในการช่วยดูแลนักศึกษาที่ป่วยในระยะที่ไม่รุนแรงและพักอยู่ที่บ้านหรือหอพักโดยใช้ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ที่พัฒนาขึ้นมาโดยวิทยาลัยฯ ทั้งนี้ศูนย์บริการวิชาการของวิทยาลัยทั้ง 3 ศูนย์ มีภารกิจใน 3 ลักษณะ คือ การให้บริการในด้านการยกระดับความรู้และทักษะการพัฒนาวิชางานและวิชาคนให้กับนักศึกษาและศิษย์เก่าทั้งในด้านการฝึกอบรม ให้ความรู้เพิ่มเติมและพัฒนาทักษะปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และด้านมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมทั้งการพัฒนาทักษะปฏิบัติและทักษะการเป็นผู้ประกอบการแบบให้เปล่า เพื่อรองรับโครงการต่างๆ ในการพัฒนาเช่น โครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชน โครงการวิศวกรรมชีวการแพทย์สัญจรที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 การให้บริการเพื่อสังคมแบบให้เปล่า โดยการจัดโครงการบริการวิชาการทางด้านการอบรมเพื่อยกระดับความรู้และทักษะปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และด้านมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมทั้งการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้มีความพอเพียงและมีความพร้อมใช้สำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนอยู่ตลอดเวลาตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation:HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ.ให้กับโรงพยาบาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพสต.) ในเขตจังหวัดปทุมธานีและโรงพยาบาลที่ห่างไกลความเจริญในต่างจังหวัด รวมทั้งเคยจัดโครงการให้บริการวิชาการในลักษณะนี้ให้กับโรงพยาบาลประเทศสปป.ลาวจำนวนกว่า 7 โรงพยาบาลตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-จนถึงปัจจุบัน การให้บริการวิชาการในเชิงพาณิชย์ทางด้านในด้านการฝึกอบรมเพื่อยกระดับความรู้และทักษะเพิ่มเติม พัฒนาทักษะปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และด้านมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมทั้งการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยี การดูแลรักษาสุขภาพให้มีความพอเพียงและมีความพร้อมใช้สำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนอยู่ตลอดเวลาตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation:HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ.ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ เนื่องจากศูนย์บริการทั้งสามศูนย์นี้ได้จดทะเบียนรับงานบริการวิชาการในเชิงพาณิชย์กับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยแต่ละปีได้ให้บริการวิชาการในลักษณะดังกล่าวในราคาสถานศึกษาให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศจำนวนหลายโรงพยาบาลรวมทั้งบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์จำนวนหลายบริษัท 2. ใช้ศูนย์บริการวิชาการทั้งสามศูนย์เป็นฐานในการดำเนินโครงการบริการวิชาการใน 3 ลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น           สำหรับโครงการบริการวิชาการทั้งสามลักษณะที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 โครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชน และโครงการวิศวกรรมชีวการแพทย์สัญจร 2.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชนเป็นโครงการบริการทางวิชาการสังคมแบบให้เปล่าที่ให้บริการกับสถานบริการการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในลักษณะโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้เครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพมีความพร้อมใช้ในการให้บริการกับประชาชนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation:HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ. รวมทั้งการจัดอบรมในเรื่องการใช้งาน การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเบื้องต้นให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องอีกทางหนึ่งด้วยโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการให้นักศึกษาและอาจารย์เรียนรู้ปัญหาจริงๆ ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการฝึกทักษะปฏิบัติ ฝึกการเรียนรู้วิชางานและวิชาคนโดยการปฏิบัติงานจริงในสถานการร์จริงรวมทั้งฝึกจิตวิญญาณในด้านการให้บริการประชะชาชนให้กับนักศึกษา 2.1.2 ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่จัดการเรียนการสอนแบบ Module ชื่อว่า Module วิศวกรรมคลินิก (Clinical Engineering) โดยมีอาจารย์ที่สอนในโมดูลนี้เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำและเป็นผู้นำในการดำเนินการโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของวิทยาลัยฯ 2.1.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Service Learning ในลักษณะของการออกไปให้บริการทำการตรวจเช็ค ทดสอบ บำรุงรักษา ซ่อมบำรุง สอบเทียบเครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลให้กับสถานบริการสุขภาพที่อยู่บริเวณรอบๆมหาวิทยาลัยรังสิตและในจังหวัดปทุมธานีรวมทั้งโรงพยาบาลในต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกลที่มีการร้องขอมายังวิทยาลัยฯ ผ่านนักศึกษาปัจจุบัน ผู้ปกครองของนักศึกษาหรือศิษย์เก่านอกจากนั้นยังได้ให้บริการกับโรงพยาบาลในประเทศสปป.ลาวจำนวนมากกว่า 7 โรงพยาบาลเพื่อเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาสุวรรณภูมิของมหาวิทยาลัยรังสิตอีกทางหนึ่งด้วย ที่สำคัญยิ่งก็คือ ทางวิทยาลัยได้รับความไว้วางใจและได้รับเกียรติจากกองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง ให้เข้าไปตรวจเช็คความพร้อมใช้รวมทั้งการทดสอบสอบเทียบและบำรุงรักษาเชิงป้องกันประจำปีให้กับเครื่องมือแพทย์ของกองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง เป็นระยะเวลากว่า 5 ปีติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติเช่นน้ำท่วมโรงพยาบาลในต่างจังหวัดเช่น กรณีของอำเภอบางสะพานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือโรงพยาบาลในจังหวัดอื่นๆที่เกี่ยวข้องเครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลได้รับความเสียหาย ทางวิทยาลัยฯได้รับการประสานงานเพื่อขอความช่วยเหลือจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (ที่มีMOUในระดับคณะ) ทางวิทยาลัยฯก็ได้ใช้โครงการดังกล่าวนี้ระดมศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าออกไปช่วยเหลือในการบำรุงรักษาเพื่อฟื้นฟูให้เครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลกลับมาใช้งานได้ปกติในเวลาที่รวดเร็วเพื่อที่ทางโรงพยาบาลจะกลับมาให้บริการประชาชนได้ตามปกติในระยะเวลาที่รวดเร็ว โดยจำนวนโรงพยาบาลในทุกระดับทั่วประเทศที่ได้ให้บริการทางวิชาการในโครงการดังกล่าวในระยะกว่า20 ปีที่ผ่านมาประมาณมากกว่า 50 โรงพยาบาล ถ้าคิดเป็นจำนวนครั้งประมาณมากว่า 100 ครั้ง 2.2 โครงการบริการทางด้านการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพในเชิงพาณิชย์ 2.2.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการนี้ดำเนินมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นโครงการบริการทางวิชาการในเชิงพาณิชย์กับสถานบริการการดูแลรักษาสุขภาพหรือสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ดำเนินการทางด้านการให้บริการวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ความรู้ความสามารถและทักษะของอาจารย์ให้เต็มประสิทธิภาพรวมถึงเป็นที่ฝึกและขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญของคณาจารย์กับประสบการณ์จริงโดยมีนักศึกษาเป็นผู้ช่วย เพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ในด้านการตรวจเช็ค ทดสอบ บำรุงรักษา ซ่อมบำรุง สอบเทียบเครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลให้กับสถานบริการสุขภาพเหล่านั้นเพื่อให้เครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพมีความพร้อมใช้ในการให้บริการกับประชาชนอยู่ตลอดเวลาซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ. หรือตามมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพในระดับนานาชาติเช่นมาตรฐาน JCI เป็นต้น 2.2.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเป็นการให้บริการในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นการให้บริการในโครงการนี้จึงต้องเป็นไปแบบมืออาชีพ มีเรื่องของระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมทั้งมาตรฐานมาเกี่ยวข้อง ดังนั้นในส่วนของนักศึกษาที่จะเข้าร่วมโครงการนี้เป็นนักศึกษาที่คัดเลือกมาจากทุกชั้นปีโดยจะมีการรับสมัครเป็นรุ่นๆ แต่ละรุ่นทำงานไม่เกิน 3 ปี โดยแต่ละคนจะต้องผ่านการคัดเลือกและทำสัญญาจ้างงานเป็นรายปีและเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจจะมีการออกหนังสือรับรองการผ่านงานให้ด้วย 2.2.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นการให้บริการในเชิงพาณิชย์ในด้านการตรวจเช็ค ทดสอบ บำรุงรักษา ซ่อมบำรุง สอบเทียบเครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลให้กับสถานบริการสุขภาพเหล่านั้น เพื่อให้เครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพมีความพร้อมใช้ในการให้บริการกับประชาชนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของระบบประเมินและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ. หรือตามมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพในระดับนานาชาติเช่นมาตรฐาน JCI เป็นต้น โดยการให้บริการจะเป็น 2 ลักษณะคือ การให้บริการเป็นรายปี ปีละ 1 ครั้งในทุกปีโดยการทำเป็นสัญญา และการให้บริการแบบ Walk in เข้ามาที่ศูนย์บริการของวิทยาลัยฯ โดยจะมีการจัดระบบการดำเนินการแบบมืออาชีพที่จะมีผู้ให้บริการที่ประกอบด้วยอาจารย์และ/หรือนักศึกษาจะ Standby อยู่ตลอดเวลา โดยในแต่ละปีจะมีจำนวนโรงพยาบาลในทุกระดับทั่วประเทศที่ได้ให้บริการทางวิชาการในโครงการดังกล่าวนี้ในแบบประจำรายปีปีละประมาณ 5 โรงพยาบาลและมีการให้บริการประจำวันในทุกวันทำการในระยะกว่า 17 ปีที่ผ่านมา 2.3 โครงการ Mini MBA การบริหารจัดการวิศวกรรมชีวการแพทย์ 2.3.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศัยภาพทางด้านการบริหารจัดการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้กับบัณฑิตซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจัดให้เรียนได้ในโครงสร้างของหลักสูตรแบบปกติ 2.3.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ ในระยะเริ่มต้นได้จัดโครงการนี้ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ก่อนจบการศึกษาต่อมาโครงการดังกล่าวนี้ได้มีการรับทราบถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จึงได้สมัครเข้ามาเรียนในโครงการดังกล่าวด้วย จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 40 คนต่อ 1 รุ่น 2.3.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นการอบรมหลักสูตรระยะสั้นในวันเสาร์-อาทิตย์เป็นระยะเวลาประมาณ100ชั่วโมงเกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการทัวไป หลักการบริหารจัดการบุคคล หลักการบริหารการตลาด หลักการบริหารการเงินและบัญชี การวางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ เป็นต้นและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทั้งหมดในการบริหารจัดการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ในสถานบริการการดูแลรักษาสุขภาพรวมทั้ง แนวทางการจัดทำและการบริหารธุรกิจทางด้านการวิศวกรรมชีวการแพทย์ 2.4 โครงการ N&B Innotech & Wellness Center 2.4.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือการนำเอาผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักศึกษาที่มีศักยภาพไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงหรือนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการให้บริการทางวิชากาการทางด้านการยืมเครื่องมือแพทย์ไปใช้งานให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุในบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิตจังหวัดปทุมธานี 2.4.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ อาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 รวมทั้งได้ร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์และมูลนิธิฟ้าหลังฝน รวมทั้งหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง 2.4.3 ลักษณะการดำเนินการโครงการนี้ ทั้งนี้การนำเอาผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักศึกษาที่มีศักยภาพไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงหรือนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการทางด้านการยืมเครื่องมือแพทย์ไปใช้งานให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุในบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิตจังหวัดปทุมธานี โดยในช่วงการแพ่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ใช้เป็นศูนย์อำนวยการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในการช่วยดูแลนักศึกษาที่ป่วยในระยะที่ไม่รุนแรงและพักอยู่ที่บ้านหรือหอพักโดยใช้ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ที่พัฒนาขึ้นมาโดยวิทยาลัยฯ 2.5 โครงการยกระดับสมรรถนะวิศวกรชีวการแพทย์ทางด้านวิศวกรรมคลินิก 2.5.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือการจัดการสอบเพื่อรับรองมาตรฐานสมรรถนะของวิศวกรชีวการแพทย์ในระดับ 4 ถึงระดับ 8 2.5.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตกับสมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย โดยได้รับการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพให้ใช้ศูนย์บริการของวิทยาลัยฯเป็นสถานที่สอบโดยมีอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญทั้งจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิตและจากสถาบันการศึกษาอื่นๆเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยผู้เข้ารับการสอบเป็นวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ 2.5.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นการจัดสอบมาตรฐานสมรรถนะของวิศวกรชีวการแพทย์ในระดับ4 ถึงระดับ 8 ของวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ 2.6 โครงการอบรมหลักสูตร Non Degreeทางด้านพัฒนาทักษะ Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ 2.6.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ ยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์โดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้าน Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ 2.6.2  ผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ 2.6.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นโครงการที่ได้บทุนสนับสนุนจากกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวตกรรม (กระทรวงอว.) เพื่อยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์โดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้าน Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ โดยโครงการดังกล่าวได้จัดอบรมต่อเนื่องกันจำนวน 2 รุ่น มีผู้จบการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน 2.7 โครงการอบรมหลักสูตร Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA) 2.7.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ ยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์โดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA) ให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ 2.7.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ 2.7.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นโครงการที่ได้บทุนสนับสนุนจากกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวตกรรม (กระทรวงอว.) เพื่อยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์โดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA) ให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ โดยโครงการดังกล่าวได้จัดอบรมต่อเนื่องกันจำนวน 2 รุ่น มีผู้จบการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน 2.8 โครงการ TRICOLOR ย่อมาจาก Tokai Rangsit International Collaboration on Resources for BME technologies, systems, and services เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น 2.8.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อร่วมกันพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิศวกรชีวการแพทย์ของประเทศไทยให้สามารถตอบสนองต่อการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในยุคของการดำเนินการยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนของโลก 2.8.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ อาจารย์จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก และวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องมือแพทย์จากบริษัทต่างๆในประเทศญี่ปุ่นทั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นและสาขาในประเทศไทย รวมทั้งวิศวกรชีวการแพทย์จากประเทศไทยที่ผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยรังสิตรุ่นละ 5 คน จำนวน 2 รุ่นต่อปี 2.8.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นโครงการที่ได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นผ่านมาทาง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก โดยการให้ทุนรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจัดอบรมและดูงานในสถานประกอบการจริงที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นโดยจัดโครงการดังกล่าวนี้จำนวน 4 รุ่นต่อเนื่องกันในระยะ 4 ปี มีผู้สำเร็จการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน 2.9 โครงการยกระดับและพัฒนาทักษะโดยการจัดอบรมแบบ Non Degree เรื่อง”Upskilled Biomedical Engineers for Transformation if Healthcare Technology Support ให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากต่างประเทศ จำนวน 20 ประเทศ 2.9.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ ยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์ในประเทศที่สนใจโดยการจัดอบรมหลักสูตรแบบ Non Degree เรื่อง “Upskilled Biomedical Engineers for Transformation of Healthcare Technology Support” 2.9.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ วิทยากรประกอบด้วยอาจารย์จากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิตและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่เกี่ยวข้อง ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นวิศวกรชีวการแพทย์จาก 15 ประเทศทั่วทุกภูมิภาคของโลกจำนวน 40 คน 2.9.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศในการจัดอบรมแบบออนไลน์หลักสูตรแบบ Non Degree เรื่อง Skilled Biomedical Engineers for Transformation of Healthcare Technology Support ระหว่างวันที่ 3-26 มิถุนายน 2567 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน 2.1 ผลลัพธ์โดยตรงจากการดำเนินงาน 2.1.1 โครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชน และโครงการวิศวกรรมชีวการแพทย์สัญจร ผลการดำเนินงานตามโครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชนแลโครงการวิศวกรรมชีการแพทย์สัญจรที่ได้ดำเนินการในระยะกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ได้ออกหน่วยให้บริการปีละประมาณ 5 ครั้ง รวมทั้งสิ้นกว่า 100 ครั้ง ครอบคลุมโรงพยาบาลและ/หรือสถานบริการการดูแลรักษาสุขภาพไม่น้อยกว่า 100 แห่ง มีนักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงจากโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 600 คน สามารถประหยัดงบประมาณให้กับภาครัฐได้ไม่ต่ำกว่า1,000,000 บาท ที่สำคัญก็คือหลังจากการจัดโครงการนี้ให้กับสถานประกอบการใดๆ ก็ตามเป็นระยะไม่เกิน 5ปีผ่านไป จะส่งผลกระตุ้นให้สถานประกอบการดังกล่าวสร้างบุคลากรขึ้นมาเพื่อเรียนรู้งานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์หรือบางสถานประกอบการจะทำการสรรหาวิศวกรชีวการแพทย์และในที่สุดก็สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านการดำเนินการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ 2.1.2   โครงการบริการทางด้านการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพในเชิงพาณิชย์ ผลการดำเนินงานตามโครงการนี้ตลอดระยะเวลากว่า 17 ปีที่ผ่านมาพบว่าสามารถช่วยเหลือโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีรายได้ไม่มากพอในการจ้างบริษัท Outsource ให้เข้าไปดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ปีละประมาณ 5 โรงพยาบาลและมีการให้การใช้บริการประจำวันในทุกวัน ทำการในระยะกว่า 17 ปีที่ผ่านมาโดยมีรายได้ผ่านศูนย์บริการของมหาวิทยาลัยรังสิตเฉลี่ยปีละประมาณ 350,000 บาท ส่งผลให้สามารถใช้ในการจ้างงานให้กับนักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียน สามารถใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือมาตรฐานสำหรับทดสอบและสอบเทียบเครื่องมือแพทย์เพื่อลดภาระงบประมาณของมหาวิทยาลัยบางส่วนได้ ที่สำคัญทางวิทยาลัยได้ใช้เป็นบริษัทจำลองสำหรับให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทางด้านการทำธุรกืจทางด้านการให้บริการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์อีกทางหนึ่งด้วย 2.1.3 โครงการMini MBA การบริหารจัดการวิศวกรรมชีวการแพทย์ ผลการดำเนินโครงการดังกล่าวตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ถืว่าประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจมีผู้ผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวจำนวนมากกว่า 400 คน และผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรนี้พบว่า สามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์จากที่เรียนไปใช้ในการปฏิบัติจนส่งผลต่อความก้าวหน้าในการทำงานอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้แหล่งงานจำนวนหลายบริษัทรวมทั้งโรงพยาบาลในภาครัฐได้ส่งพนักงานที่ต้องการส่งเสริมให้เป็นผู้บริหารในระดับต้นเข้าเรียนหลักสูตรดังกล่าวรวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้สมัครเข้ามาเรียนในโครงการดังกล่าวด้วยจึงทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น 2.1.4 โครงการ N&B Innotech & Wellness Center ผลการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า สามารถผนึกกำลังความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์กับคณะพยาบาลศาสตร์และมูลนิธิฟ้าหลังฝนนำเอาผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักศึกษาทางด้านระบบการแพทย์ทางไกล ไปใช้งานสำหรับ การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้านในช่วงการระบาดของโควิด-19 รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการทางด้านการยืมเครื่องมือแพทย์ไปใช้งานให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุในบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี 2.1.5 โครงการ ยกระดับสมรรถนะวิศวกรชีวการแพทย์ทางด้านวิศวกรรมคลินิก ผลการดำเนินงานของโครงการนี้พบว่าในระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา สามารถพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรชีวการแพทย์ของประเทศไทยให้สอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะวิศวกรชีวการแพทย์ระดับ 4-6 กว่า 100 คน 2.1.6 โครงการอบรมหลักสูตร Non Degree ทางด้านพัฒนาทักษะ Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ ผลการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวในระยะเวลา1ปีพบว่าสามารถจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้าน Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ โดยมีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 2 รุ่น มีผู้จบการอบรมทั้งสิ้นจำนวน80 คน ส่งผลทำให้ผู้ผ่านการอบรมเหล่านี้สามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์ไปยกระดับตนเองได้ทั้งทางด้านการประกอบอาชีพและรายได้ 2.1.7 โครงการอบรมหลักสูตร Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA) ผลการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวในระยะเวลา 1 ปี พบว่าสามารถจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบแบบ Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA) ให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ โดยโครงการดังกล่าวได้จัดอบรมต่อเนื่องกันจำนวน 2 รุ่นมีผู้จบการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน สำเร็จการอบรมส่วนหนึ่งสามารถใช้ชุดความคิด ชุดองค์ความรู้และทักษะในการพัฒนางาน สำคัญที่สุดก็คือผลทางอ้อมที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยที่ถือว่าวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุดความคิด ชุดองค์ความรู้และชุดทักษะ ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ ให้กับบุคลากรต้นแบบหรือแม่ไก่ให้กับประเทศไทย เพื่อไปขยายผลให้กับองค์กรและประเทศไทยต่อไปในอนาคต เป็นผู้นำและบรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในยุทธศาสตร์ทั้งในระดับโลก ยุทธศาสตร์ของประเทศไทยรวมทั้งยุทธศาสตร์ขององค์กรที่เกี่ยวข้องในเรื่อง GREEN and CLEAN Hospital หรือโครงการโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2.1.8 โครงการ TRICOLOR ย่อมาจาก Tokai Rangsit International Collaboration on Resources for BME technologies, systems, and services เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อยกระดับ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต สู่ความเป็นขุมพลังแห่งปัญญาเพื่อชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ Read More »

การพัฒนานักศึกษาผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 1.2.2, KR 1.2.3, KR 1.2.4, KR 1.3.1, KR 1.3.3, KR 5.1.1, KR 5.1.2, KR 5.1.3, KR 5.1.4 และ KR 5.1.5 การพัฒนานักศึกษาผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจ ผศ.อนันตศักดิ์ วงศ์กำแหง อ.กิตติพันธ์ รุ่งประเสริฐ และ ผศ.ดร.ศนิ บุญญกุล วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (TQF) กำหนดให้สถาบันการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผ่านการเรียนรู้ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว           การส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติไม่เพียงแต่ช่วยให้นักศึกษามีทักษะที่จำเป็นในวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณลักษณะเชิงบวกที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในสังคม เช่น การมีจริยธรรมในวิชาชีพ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความพร้อมในการทำงาน และสามารถปรับตัวในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างดี           วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มีความมุ่งมั่นที่จะมุ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์สำหรับทุกช่วงวัยของชีวิตแห่งอาเซียน เพื่อทำให้บัณฑิตคิดอย่างมีนวัตกรรม ทำด้วยจิตวิญญาผู้ประกอบการ มีสมรรถนะและโลกทัศน์ในระดับสากลจึงมีความจำเป็นในการที่จะต้องพัฒนาความพร้อมให้กับนักศึกษา พัฒนาความตระหนักและปลูกจิตสานึกและความรับผิดชอบและการค้นพบตัวเองให้กับนักศึกษา พัฒนาให้นักศึกษาเกิดความชอบในวิชาชีพและฝึกการทำงานเป็นทีมให้กับนักศึกษา ในการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 5 ด้าน ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านกการทำกิจกรรม มีความมุ่งมั่นที่จะนำผลงานวิจัย งานบริการทางวิชาการกับสังคม รวมทั้งด้านการผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่มีความรู้ควบคู่กับทักษะปฏิบัติในสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษามีคุณค่าและความสง่างาม ใฝ่รู้ ใฝ่ดี มีความรับผิดชอบและมีวินัย  อันเป็นคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์           จากที่มาและความสำคัญกล่าวมาข้างต้น คุณลักษณะของบัณฑิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ นักศึกษาต้องผ่านกิจกรรมต่างๆที่หล่อหลอมอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่อง  กระบวนการจัดการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมต้องเน้นให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงจากสถานการณ์จริงให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  ความรู้และประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนานักศึกษาผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ มีดังนี้ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (TQF) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการกำหนดคุณลักษณะและผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยกำหนด 5 มาตรฐานหลัก ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม, ความรู้, ทักษะทางปัญญา, ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ, และทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การบูรณาการการเรียนรู้กับกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นแนวทางที่นำการเรียนการสอนในห้องเรียนมาเชื่อมโยงกับกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบองค์รวม การปรับตัวและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นทักษะที่สำคัญที่จะช่วยให้นักศึกษาสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่าง ๆ ได้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้จากประสบการณ์การทำงาน   ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) อื่น ๆ (ระบุ) เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงาน ในระดับคณะและวิทยาลัย ความรู้จากงานที่รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา วิธีการดำเนินการ            วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีการจัดทำแผนกิจกรรมพัฒนานักศึกษาประจำปีการศึกษาทุกๆปี การวางแผนงานเป็นไปตามประเด็นยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย ดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 สร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต  ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านงานวิจัยและนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียง โดยมีคณบดีและกรรมการบริหารวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดนโยบาย มีรองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบด้านวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบดูแลด้านกิจการนักศึกษา รองฝ่ายวิเทศสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบด้านภาษา ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและบริการวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบด้านงานบริการวิชาการ โดยมีนักศึกษาจากสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และชมรมเครื่องมือแพทย์อาร์เอสยูเพื่อสังคมเป็นผู้ร่วมการจัดทำแผนงานและเป็นผู้ดำเนินการ นักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาครอบคลุมทั้งสติปัญญา สังคม อารมณ์รวมถึงด้านคุณธรรมจริยธรรม  เพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแผนพัฒนานักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักศึกษา ดังนี้ กิจกรรม “เรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่น” See it, Own it, Solve it and Do it ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมไหว้ครู มอบเสื้อชอปของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพด้านภาวะจิตใจ และอารมณ์ก่อนเข้าเรียน กิจกรรมปฐมนิเทศของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมประกวดแข่งขัน Start Up Thailand League กิจกรรมการพํฒนานักศึกษาให้เกิดความชอบในวิชาชีพและฝึกการทำงานเป็นทีมให้กับนักศึกษา ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมงานทำบุญปีใหม่ วิทยาลัยฯ และ วันคืนสู่เหย้าของศิษย์เก่าหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมงานทำบุญสงกรานต์ โครงการงานรับปริญญาแก่บัณฑิต กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา อบรมสัมมนาเรื่อง Cardiopulmonary Resuscitation (CPR) กิจกรรม Pre-BME Open House และกิจกรรมรังสิตวิชาการ กิจกรรมทำบุญปีใหม่ กิจกรรมพัฒนาความคิดแบบนวัตกรรมในการมุ่งทำความดีให้กับสังคม  ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: ชมรมเครื่องมือแพทย์อาร์เอสยูเพื่อสังคมร่วมกับศูนย์ BIS กิจกรรมฝึกทักษะปฏิบัติการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ กิจกรรมการให้บริการทางวิชาการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมสโมสรนักศึกษา ด้านกีฬา ครอบครัว BMI สัมพันธ์น้องพี่ และ BME SAT ของนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่าและค่ายอุปกรณ์ฯ กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กิจกรรมงานบริการวิชาการโดยผ่านศูนย์บริการวิชาการของวิทยาลัย กิจกรรมพัฒนาความเป็นวิศวกรชีวการแพทย์และความเป็นผู้ประกอบการ  ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: อาจารย์ และ ศูนย์ BIS กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กิจกรรมเสริมทางด้านภาษาต่างประเทศ กิจกรรมมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบตะวันตก (Table Manners/ Dining Etiquette) กิจกรรมนำเสนอผลงานของนักศึกษาในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ กิจกรรมงานประกวดผลงานนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ กิจกรรมการขอรับรองมาตรฐานการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน กิจกรรมการพัฒนาความเป็นสังคมครอบครัววิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิต ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมงานทำบุญปีใหม่ วิทยาลัยฯ และ วันคืนสู่เหย้าของศิษย์เก่าหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต กิจกรรมงานรับปริญญา              ในการจัดแผนงานได้วางแผนการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายการจัดสรรงบประมาณ การส่งเสริมคุณลักษณะของบัณฑิต รวมถึงผู้รับผิดชอบ โดยแผนจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ และ เป็นดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แผนจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน     ในการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้มักจะพบกับอุปสรรคหรือปัญหา โดยอุปสรรคหลักๆ และวิธีการแก้ไขมีดังนี้ การขาดแรงจูงใจหรือความสนใจจากนักศึกษา ปัญหา: นักศึกษาบางคนอาจไม่สนใจหรือไม่มีแรงจูงใจเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมต่ำและขาดความกระตือรือร้น การแก้ไข: การสร้างแรงจูงใจด้วยการออกแบบกิจกรรมที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับความสนใจของนักศึกษา การให้โอกาสนักศึกษาเลือกกิจกรรมที่ต้องการเอง ข้อจำกัดด้านเวลาและทรัพยากร ปัญหา: กิจกรรมบางอย่างต้องใช้ทรัพยากร เวลา หรือสถานที่ที่จำกัด ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำคัญ การแก้ไข: การวางแผนให้เหมาะสมและเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ปัญหา: การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอาจทำให้กิจกรรมไม่ได้คุณภาพหรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้ การแก้ไข: การเชิญวิทยากร หรือการร่วมมือกับภาคเอกชนอื่นๆ เพื่อเพิ่มบุคลากรและวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ความหลากหลายของความต้องการและความสนใจของนักศึกษา ปัญหา: นักศึกษาแต่ละคนมีความสนใจและความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้การจัดกิจกรรมไม่สามารถตอบสนองทุกคนได้ การแก้ไข: การสำรวจความต้องการและความสนใจของนักศึกษาก่อนเริ่มกิจกรรม และจัดให้มีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อรองรับนักศึกษาที่มีความสนใจแตกต่างกัน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ดำเนินการจัดทำ กิจกรรม/โครงการ ตามแผนงาน  ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง 5 ด้าน จำนวน 22 กิจกรรม/โครงการ โดยคณะกรรมการคณะทำงานกิจการนักศึกษาได้ตระหนักและให้ความสำคัญของวงจรคุณภาพ PDCA จึงได้ดำเนินการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการพัฒนาวิทยาลัยด้านการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต  และยุทธศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษา จัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ทางวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา  โดยเป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดในแผน ซึ่งอยู่ใน PDCA ของทุกกิจกรรมที่วิทยาลัยฯ จัดขึ้น ดังนี้  เป้าประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาสู่การจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษา บัณฑิตมีความสุขและความท้าทายและมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ มีความคิดในเชิงนวัตกรรมเห็นความเชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งการเรียน โลกแห่งการทำงานและโลกในอนาคตเป็นโลกเดียวกัน บัณฑิตมีความรู้และทักษะในด้านความเป็นสากลทั้งในด้านการสื่อสารและวัฒนธรรมจนกลายเป็นที่ความมั่นใจในตนเองสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมในอนาคต บัณฑิตมีทัศนคติ ความประพฤติอย่างมีคุณธรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการในการทำงาน ประกอบกิจการรวมทั้งการใช้ชีวิตในสังคม           จากเป้าประสงค์ของแผนการพัฒนานักศึกษา กำหนดแนวการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  รวมทั้งสิ้น  22 กิจกรรม มีการประเมินความพึงพอใจทั้งหมด 22 กิจกรรม ได้คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.64 คะแนน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ที่เป็นไปตาม พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดที่แสดงในแผนพัฒนานักศึกษา           จากการประเมินกิจกรรมหรือโครงการที่ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2566  พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ มีความพร้อมปรับตัว และประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัย  มีความตรงต่อเวลา  มีความพร้อมเพรียงให้ความสนใจในวัฒนธรรมองค์กร  มีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการด้านคุณธรรมจริยธรรมเป็นจำนวนมาก สามารถสรุปตามการกำหนดโมดูลการพัฒนานักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 ได้ดังนี้           นักศึกษาชั้นปีที่ 1 “เรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่น” การประเมินศักยภาพตัวเอง การเข้าใจผู้อื่น การปลูกฝังสํานึกรับผิดชอบ มีค่านิยมและจริยธรรมผู้ประกอบการ และมีความคิดในเชิงบวก โดยมีการให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของวิทยาลัย ปลูกจิตสำนึกการเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ เป็นผู้ช่วยให้กับรุ่นพี่ปี 2 เรียนรู้งานที่จะสืบสานต่อในอนาคต ซึ่งในปีการศึกษา 2566 นี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ขึ้นมาเรียนในชั้นปีที่ 2 โดยได้เรียนรู้งานต่างๆของรุ่นพี่ และได้รับผิดชอบการจัดงานต่างๆ ซึ่งทำได้อย่างดี  จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เรียนรู้ตนเอง และเข้าใจผู้อื่น และเต็มใจเข้าร่วมช่วยงานกิจกรรมของวิทยาลัย   กิจกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มี 4 กิจกรรม ดังนี้             วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ดำเนินการจัดทำ กิจกรรม/โครงการ ตามแผนงาน  ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง 5 ด้าน จำนวน 22 กิจกรรม/โครงการ โดยคณะกรรมการคณะทำงานกิจการนักศึกษาได้ตระหนักและให้ความสำคัญของวงจรคุณภาพ PDCA จึงได้ดำเนินการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการพัฒนาวิทยาลัยด้านการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต  และยุทธศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษา จัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ทางวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา  โดยเป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดในแผน ซึ่งอยู่ใน PDCA ของทุกกิจกรรมที่วิทยาลัยฯ จัดขึ้น ดังนี้  เป้าประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาสู่การจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษา บัณฑิตมีความสุขและความท้าทายและมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ มีความคิดในเชิงนวัตกรรมเห็นความเชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งการเรียน โลกแห่งการทำงานและโลกในอนาคตเป็นโลกเดียวกัน บัณฑิตมีความรู้และทักษะในด้านความเป็นสากลทั้งในด้านการสื่อสารและวัฒนธรรมจนกลายเป็นที่ความมั่นใจในตนเองสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมในอนาคต บัณฑิตมีทัศนคติ ความประพฤติอย่างมีคุณธรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการในการทำงาน ประกอบกิจการรวมทั้งการใช้ชีวิตในสังคม           จากเป้าประสงค์ของแผนการพัฒนานักศึกษา กำหนดแนวการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  รวมทั้งสิ้น  22 กิจกรรม มีการประเมินความพึงพอใจทั้งหมด 22 กิจกรรม ได้คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.64 คะแนน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ที่เป็นไปตาม พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดที่แสดงในแผนพัฒนานักศึกษา           จากการประเมินกิจกรรมหรือโครงการที่ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2566  พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ มีความพร้อมปรับตัว และประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัย  มีความตรงต่อเวลา  มีความพร้อมเพรียงให้ความสนใจในวัฒนธรรมองค์กร  มีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการด้านคุณธรรมจริยธรรมเป็นจำนวนมาก สามารถสรุปตามการกำหนดโมดูลการพัฒนานักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 ได้ดังนี้            นักศึกษาชั้นปีที่ 1 “เรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่น” การประเมินศักยภาพตัวเอง การเข้าใจผู้อื่น การปลูกฝังสํานึกรับผิดชอบ มีค่านิยมและจริยธรรมผู้ประกอบการ และมีความคิดในเชิงบวก โดยมีการให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของวิทยาลัย ปลูกจิตสำนึกการเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ เป็นผู้ช่วยให้กับรุ่นพี่ปี 2 เรียนรู้งานที่จะสืบสานต่อในอนาคต ซึ่งในปีการศึกษา 2566 นี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ขึ้นมาเรียนในชั้นปีที่ 2 โดยได้เรียนรู้งานต่างๆของรุ่นพี่ และได้รับผิดชอบการจัดงานต่างๆ ซึ่งทำได้อย่างดี  จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เรียนรู้ตนเอง และเข้าใจผู้อื่น และเต็มใจเข้าร่วมช่วยงานกิจกรรมของวิทยาลัย   กิจกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มี 4 กิจกรรม ดังนี้             นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กิจกรรมสำหรับนักศึกษาในชั้นปีที่ 2 จะพัฒนาต่อจากการเรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่นของชั้นปีที่ 1  เมื่อเรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่น จึงก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ การมีมนุษย์สัมพันธ์ มีทักษะในการทำงานเป็นทีมในวิทยาลัย สามารถสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร โดยมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เป็นสโมสรนักศึกษา ซึ่งจะรับผิดชอบงานกิจกรรมของวิทยาลัย  โดยผลงานของนักศึกษาวัดจากการจัดกิจกรรมดังกล่าว และพร้อมที่จะขึ้นสู่การทำงานในชมรมอาร์เอสยูเพื่อสังคมในชั้นปีที่ 3 จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 2  มีความปรารถนาอันแรงกล้า มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม โดยทุกกิจกรรมสำเร็จลุล่วง นักศึกษามีทัศนคติในการทำงาน รู้จักการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย รู้จักการทำงานร่วมกัน กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ซึ่งเป็นสโมสรนักศึกษารับผิดชอบในการจัดงานทั้งหมด 6 กิจกรรม ดังนี้   กิจกรรมงานทำบุญปีใหม่ วิทยาลัยฯ และ วันคืนสู่เหย้าของศิษย์เก่าหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมงานทำบุญสงกรานต์ โครงการงานรับปริญญาแก่บัณฑิต กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา อบรมสัมมนาเรื่อง Cardiopulmonary Resuscitation (CPR) กิจกรรม Pre-BME Open House และกิจกรรมรังสิตวิชาการ การอบรมสัมมนาเรื่อง Cardiopulmonary Resuscitation (CPR)             นักศึกษาชั้นปีที่ 3 กิจกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จะพัฒนาต่อจากโมดูลที่ 2  การเตรียมความพร้อมด้านคุณวุฒิวิชาชีพ 1 การพัฒนาภาษาอังกฤษ การมีภาวะผู้นำ มีความคิดเชื่อมโยง มีทักษะในการทำงานเป็นทีมในสังคม สามารถสร้างเครือข่าย การพัฒนานวัตกรรม การสร้างเสริมองค์ความรู้ และการสร้างแนวคิดธุรกิจให้กับนักศึกษา โดยมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทำงานให้กับชมรมอาร์เอสยูเพื่อสังคม ซึ่งจะรับผิดชอบงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ได้แก่ งานบริการวิชาการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ งานออกค่ายต่างๆ เป็นต้น มีการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการสื่อสารให้กับนักศึกษาทำให้นักศึกษาสามารถสอบผ่าน CEFR ระดับ B1 ได้ถึงร้อยละ 84.31 จากนักศึกษาที่เข้าสอบ โดยผลของนักศึกษาวัดจากการจัดกิจกรรมออกค่าย การทำงานเพื่อสังคม ที่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่ให้บริการ โดยให้มาบริการงานวิชาการในปีต่อๆ ไป กิจกรรมที่ชมรมอาร์เอสยูเพื่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีทั้งสิ้น 6 กิจกรรม ดังนี้ โครงการงานสานสัมพันธ์วิศวกรรมชีวการแพทย์ กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่า และเครือข่ายพันธมิตรทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ โครงการค่ายวิศวกรชีวการแพทย์สัญจร โครงการการอบรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา: บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่า ซึ่งดำเนินงานภายใต้รายวิชาทางด้านเครื่องมือแพทย์ โครงการบริการวิชาการแบบแบบมีรายได้ ซึ่งดำเนินงานภายใต้ศูนย์ BIS             จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที 3 มีภาวะความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อการจัดงานได้อย่างดีเยี่ยม มีความคิดเชื่อมโยง มีทักษะในการทำงานเป็นทีม และทักษะความเป็นผู้ประกอบการ และหน่วยงานภายนอกได้ให้ความไว้วางใจในการดำเนินงานบริการวิชาการในปีต่อไป            นักศึกษาชั้นปีที่ 4 กิจกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นพัฒนาต่อเนื่องจากนักศึกษาชั้นปีที่ 3 การเตรียมความพร้อมด้านคุณวุฒิวิชาชีพ  การขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ การพัฒนามาตรฐานภาษาอังกฤษ มีการทดลองทักษะการคิดสร้างสรรค์ การทดลองสร้างนวัตกรรม การทดลองสร้างแนวคิดธุรกิจใหม่ โดยมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสังคมภายนอกในรูปแบบการทำโครงงานสร้างนวัตกรรม การประกวดโครงงาน การแสดงผลงานวิชาการในงานประชุมวิชาการ และการแสดงนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในงานปัจฉิมนิเทศ           เมื่อนักศึกษามีโอกาสได้ออกไปฝึกฝนประสบการณ์ในวิชาชีพ ด้วยการบริการสังคม จะทำให้นักศึกษาได้มองเห็นแนวทางของการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม  สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที 4 มีความพร้อมในการเข้าร่วมการประกวดต่างๆ เพื่อสะสมเป็นผลงานของตนเอง  มีความพร้อมในการนำเสนอผลงานในระดับชาติ มีความมั่นใจที่จะก้าวเข้าสู่การทำงาน สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับน้องปี 3 ในด้านการบริการวิชาการสู่สังคม ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่จบการศึกษาสามารถมีงานทำอย่างรวดเร็ว กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้เข้าร่วมและจัดงานมีจำนวนทั้งสิ้น 9 กิจกรรม ดังนี้ โครงการสนับสนุนและส่งเสริมนักศึกษานำเสนอผลงานวิชาการและ Pitching Idea ในงานประชุมวิชาการเทคโนโลยีสุขภาพแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 (HTCON 2023) วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โครงการอบรมสัมมนาเรื่อง แนวทางการขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โครงการงานบริการวิชาการทางด้านการดูแลบำรุงรักษาเครืองมือแพทย์ ให้กับฝ่ายแพทย์หลวงพระบรม มหาราชวัง โดยปี 4 จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับปี 3 โครงการงานบริการวิชาการทางด้านการดูแลบำรุงรักษาเครืองมือแพทย์ ให้กับ คลินิกมูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ วัดสุทธาราม กรุงเทพ มหานคร โดยปี 4 จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับปี 3 โครงการส่งผลงานนักศึกษาประกวดงาน Thailand New Gen Inventors Award 2024 (I – New Gen Award 2024) ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2567 โดยผลงานที่ส่งประกวดมี 6 ชิ้นงาน มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4, 3, 2 และปีที่ 1 ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 21 คน โครงการส่งผลงานนักศึกษาเข้าร่วมประกวดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566” Thailand Research Expo 2023 ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 12 คน กิจกรรมเตรียมความพร้อมในการทำงาน โครงการปัจฉิมนิเทศ และ BME Innovation2024 & Job Fair กิจกรรมมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบตะวันตก (Table Manners/ Dining Etiquette) โดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ และวิทยาลัยการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต กิจกรรมการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและนักศึกษาในด้านวิชาชีพ และความเป็นนานาชาติ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่น            จากการจัดกิจกรรมให้ทั้ง 4 ชั้นปี ได้บรรลุตามเป้าประสงค์ของวิทยาลัย โดยนักศึกษาจบเป็นบัณฑิตมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ มีความคิดในเชิงนวัตกรรมเห็นความเชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งการเรียน โลกแห่งการทำงานได้ สามารถทำงานให้กับหน่วยงานได้อย่างดี บัณฑิตมีทักษะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ครบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยี ทักษะในด้านความเป็นสากลทั้งในด้านการสื่อสารได้ มีความมั่นใจในตนเองสำหรับการทำงาน และบัณฑิตมีทัศนคติ ความประพฤติอย่างมีคุณธรรมและสร้างชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต่างๆทำให้บัณฑิตบางคนได้งานก่อนจบการศึกษา ผลการประเมินตามคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.86  อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอบไปด้วย (1) ความซื่อสัตย์สุจริต ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 (2) ความมีนํ้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 (3) ความมีระเบียบวินัยในการทำงาน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.87 (4) ความขยันอดทน อุตสาหะ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.87 (5) การตรงต่อเวลา ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.73 2) ด้านความรู้ ประกอบไปด้วย (1) ความรู้ในสาขาวิชาที่เรียน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.80 (2) ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.73 (3) ความสามารถในการนำเสนองานที่ทำ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.73 (4) ความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 3) ด้านทักษะทางปัญญา ประกอบไปด้วย (1) ความสามารถในการเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนางาน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.73 (2) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่

การพัฒนานักศึกษาผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ Read More »

สุขหรรษา : กระบวนการนำพาให้นักศึกษากลับมาทำวิจัย

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 สุขหรรษา : กระบวนการนำพาให้นักศึกษากลับมาทำวิจัย ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร. คริชณะ ฉิมมณี และผศ.ดร. ชุติมา พิศาลย์ วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           นักศึกษาออนไลน์ คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัล ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต ที่เรียนผ่านระบบ LMS ของ Cyber University เป็นกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ค่อยได้เข้ามาที่มหาวิทยาลัยบ่อยนัก มีทั้งนักศึกษาที่อยู่ในกรุงเทพ ต่างจังหวัด และต่างประเทศ การเรียนการสอนดำเนินการ ผ่านระบบ LMS ของ Cyber University รูปแบบการเรียน คือ ช่วง 1 ปีแรกเป็นการเรียนรายวิชา เมื่อสิ้นสุดการเรียนรายวิชาต่าง ๆ นักศึกษาจะต้องเริ่มงานวิจัย ซึ่งตามแผนการเรียนนักศึกษาจะใช้เวลาในการทำวิจัย 2 ภาคเรียนในปีที่ 2 ที่ผ่านมาหลักสูตรพบปัญหาว่า ในช่วงการเข้าห้อง Chatroom นักศึกษายังมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้น แต่เมื่อเรียนจบ ก็ต่างคนต่างไป ไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกับหลักสูตร หยุดการเรียนรู้และหยุดการทำวิจัย หรือสำหรับบางคนที่เริ่มงานวิจัยไว้บ้างแล้วกลับหายไป การทำวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษาไม่มีความต่ออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้นักศึกษาให้เหตุผลต่าง ๆ เช่น เช่นเรื่องการจัดสรรเวลาทำงานกับเวลาเรียน การต้องโฟกัสกับการทำงานเพราะต้องหาเงิน บ้างก็มีครอบครัว เช่น แต่งงานหรือมีบุตร ทำให้ขาดแรงจูงใจในทำวิจัย การเรียนหยุดชะงัก จำนวนนักศึกษาคงค้างในหลักสูตรค่อนข้างสูง อัตราการจบการศึกษาของนักศึกษาตามเวลาของหลักสูตรไม่สามารถทำได้สำเร็จ           ช่วงเริ่มต้นหลักสูตรมีแนวทางในการแก้ปัญหากับกลุ่มนักศึกษาในกรุงเทพและปริมณฑลก่อน เกิดเป็นโครงการ “ศุกร์หรรษา” หรือภายหลังชื่อได้เปลี่ยนเป็น “สุขหรรษา”  ที่ต้องการแก้ปัญหาการหายตัวไปของนักศึกษาหลังจากเรียนจบรายวิชาสอน และสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษากลับเรียนจนสำเร็จ ในช่วงแรกอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยจะนัดพบนักศึกษาในวันศุกร์ตอนเย็นเพราะเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์ทำงาน นักศึกษาสามารถเคลียร์เวลาและสมองเพื่อโฟกัสกับหัวข้อวิจัยได้ดี จึงเรียกว่า “ศุกร์หรรษา” ซึ่งนัดกันทุกวันศุกร์ ในเวลาต่อ ๆมา นักศึกษาอาจสะดวกเป็นวันหยุดอื่น ๆ ก็จะไม่ได้กำหนดตายตัวว่าต้องเป็นวันศุกร์เท่านั้น โครงการนี้จึงถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นโครงการ “สุขหรรษา” แทน เพื่อให้การทำวิจัยเหมือนเป็นการแบ่งปันความสุขไปด้วยกัน นักศึกษาและอาจารย์ร่วมกันกำหนดวันและเวลาให้ทุกคนได้จัดเวลาว่างได้ตรงกัน อาจเป็นในเมืองตอน 2 ทุ่มวันธรรมดา หรือ บ่ายวันเสาร์ หรือจะออนไลน์ก็ได้ อาจนัดพบกันตามร้านกาแฟ ร้านฟาสต์ฟูด ทำให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด สามารถนั่งดื่มกินและคุยกันได้ ความเครียดที่ต้องมาคุยกันเรื่องวิจัยก็จะคลายลง           สำหรับนักศึกษาที่อยู่ต่างจังหวัด ทางหลักสูตรจัดให้มีโครงการ “สุขหรรษาสัญจร” นั่นคือ ใช้จังหวะเวลาที่อาจารย์ที่ปรึกษามีกิจธุระที่จะต้องไปยังจังหวัดนั้นก็จะแจ้งนักศึกษา และเชิญชวนนักศึกษาที่อยู่ในระแวกจังหวัดใกล้เคียงมาเข้าร่วม อีกทั้งมีการใช้การประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อติดต่อกับนักศึกษา           สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการและสร้างแรงจูงใจ คือ การถ่ายรูปลงใน Facebook ลงในกลุ่มไลน์ของหลักสูตร เพื่อทำให้นักศึกษาหลาย ๆ ท่าน เกิดการรับรู้ว่าเป็นกิจกรรมที่ทำต่อเนื่องเป็นประจำ คนเข้าร่วมจะเป็นสมาชิกหน้าเดิม ๆ ที่มีการเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ อาจมีสัญจรบ้าง มีกิจกรรม outing บ้าง มากกว่าการคุยวิจัยที่จริงจังแบบในห้องเรียน นักศึกษาที่เห็นภาพในสื่อต่าง ๆ ก็จะรู้สึกสนใจเข้าร่วม และต้องการมีหัวข้อวิจัยเหมือนเพื่อน ๆ จึงเริ่มเข้ามาร่วมโครงการไปเรื่อย ๆ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การให้คำปรึกษาวิจัยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรออนไลน์ การสร้างแรงจูงใจนักศึกษาที่อยู่ห่างไกลอาจารย์ที่ปรึกษา ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.ดร. คริชณะ ฉิมมณี และ ผศ.ดร. ชุติมา พิศาลย์ วิธีการดำเนินการ            หลักสูตรมีการประชุมหารือถึงปัญหานักศึกษาคงค้างสืบ พบสาเหตุสำคัญมาจากความไม่ต่อเนื่องในการทำวิจัยเพราะห่างหายไปหลักสูตรหลังจากเรียนจบรายวิชา และไม่ติดต่อกลับอาจารย์ที่ปรึกษา  หลักสูตรได้พยายามหาหนทางในการดึงนักศึกษาคงค้างเหล่านี้ให้กลับมา จึงเกิดเป็นโครงการสุขหรรษา เป็นลักษณะการทำงานแบบวัฏจักรเกิดขึ้นซึ่งสามารถแบ่งช่วงย่อยได้เป็น 3 ช่วง โดยมีรายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 1 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน            ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน เป็นต้นมา ทางหลักสูตรได้ลงมือดำเนินโครงการสุขหรรษาอย่างต่อเนื่อง โดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระ แต่ละคนจะประกาศผ่านช่องทางการติดต่อต่าง ๆ ไปยังนักศึกษาถึงวัน เวลา และสถานที่ที่จะนัดให้นักศึกษาเข้ามาพบอาจารย์เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทำวิจัย โดยแต่ละครั้งที่นัดจะกำหนดจำนวนนักศึกษาไว้ที่ 5-8 คน เพื่อให้นักศึกษาที่สนใจลงชื่อจองล่วงหน้าเพื่อเข้าร่วม การจัดสุขหรรษาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 3-9 ชั่วโมงแล้วแต่จำนวนนักศึกษา ตลอดระยะเวลาผ่านมาโครงการสุขหรรษาถูกจัดขึ้นเป็นประจำ (ตามเวลาเอื้ออำนวยต่อทั้งนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา) โดยเฉลี่ยแล้วเดือนละ 1 ครั้ง และมีบางครั้งที่นักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงกันรวมตัวกันได้ ก็จะแจ้งกลับมายังผู้อำนวยการหลักสูตรเพื่อให้ส่งอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษากลุ่มนั้นเดินทางไปจังหวัดที่นักศึกษารวมตัวกัน ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกโครงการนี้ว่า “โครงการสุขหรรษาสัญจร” ภาพบรรยากาศของโครงการดังแสดงในรูปที่ 2            โครงการทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ที่เน้นให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์เชิงบูรณาการ โดยเริ่มจากให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางด้านการจัดการเทคโนโลยี อาจจะพบจากที่ทำงาน หรือในชีวิตประจำวัน แล้วพยายามหาข้อมูลการแก้ปัญหาที่คล้ายคลึงกัน นำมาคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา มีเพื่อน ๆ ในหลักสูตรท่านอื่นเข้ารับฟังการคุยกันด้วย อาจารย์จะพยายามสอบถามให้นักศึกษาลองคิดว่า ปัญหาที่สนใจนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร ตรงไหนคือปัญหาที่แท้จริง เมื่อนักศึกษาเริ่มคิด ก็จะเกิดไอเดียในการทำวิจัยต่อมา มีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน บางงานสามารถร่วมทำกันเป็นกลุ่มในหัวข้อที่คล้ายกันได้ เป็นการส่งเสริมการทำงานวิจัยร่วมกัน ทำให้นักศึกษามีกำลังใจและมีแรงจูงใจในการทำวิจัย นักศึกษาส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในการประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI ได้อย่างต่อเนื่องตลอดมา ซึ่งผลลัพธ์เชิงประจักษ์ คือ นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ รูปที่ 2 ภาพบรรยากาศโครงการสุขหรรษา และสุขหรรษาสัญจร            หลังจากการนัดพบในโครงการสุขหรรษา หลักสูตรต้องลงภาพถ่ายในสื่อ social media ที่ทำให้เห็นอย่างกว้างขวาง อาจเป็นไลน์กลุ่ม หรือ เฟสบุค เพื่อเป็นการสร้างความรับรู้ให้กับนักศึกษาในหลักสูตร ให้เพื่อนช่วยกระตุ้นให้กลับมาทำวิจัยให้จบ นักศึกษาที่รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร จะเริ่มมีกำลังใจ เพื่อน ๆ และหลักสูตรช่วยกันติดต่อเพื่อนในรุ่นให้กลับมาทำวิจัยด้วยกัน หลักสูตรต้องสร้างการรับรู้โดยตลอดโดยเฉพาะตอนมีการสอบหัวข้อวิจัยหรือสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ ซึ่งภาพถ่ายของการทำงานอย่างต่อเนื่องของนักศึกษาในโครงการสุขหรรษา เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาที่คิดว่าตนเองไม่พร้อม ไม่มีความสามารถ ไม่มีหัวข้อวิจัย ให้รู้สึกว่า เมื่อเพื่อนทำได้ เราก็จะทำได้ และหลักสูตรไม่ได้ทอดทิ้งให้นักศึกษาแก้ปัญหาวิจัยเองตามลำพัง อย่างไรก็ดี โครงการสุขหรรษาก็ได้พบอุปสรรคในหลาย ๆ ด้าน คือ เรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งเวลาที่นัดหรือสถานที่อาจไม่เอื้ออำนวยต่อนักศึกษาทุกคน พบปัญหาการจราจร การพบปะแต่ละครั้งใช้เวลาค่อนข้างมากคือ 3 ชั่วโมงขึ้นไป (รวมเวลาเดินทาง) อาจารย์ต้องจัดสรรเวลาให้เอื้อต่อสมาชิกส่วนใหญ่จริง ๆ การเดินทาง การรับประทานอาหารก็จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายส่วนเกิน นักศึกษาเสียเวลารอรับคำปรึกษาจากอาจารย์ในหัวข้อวิจัยของตน ในการพบปะเวลา ไม่อาจจะให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาได้ทุกคน นักศึกษาต้องมารออาจารย์ให้คำปรึกษากับเพื่อน นั่งฟังงานของเพื่อนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัยของตน ทำให้ในระยะหลัง ๆ นักศึกษาก็จะไม่อยากเข้าร่วมเพราะเสียเวลา หรือต้องมารอ ช่วงโควิดที่ทำให้การพบปะกันแบบเจอหน้ากันไม่สามารถทำได้ ทำให้ต้องเปลี่ยนไปใช้วิธี online ผ่านโปรแกรม zoom ข้อดีเจอกันได้ง่ายขึ้น อาจารย์และนักศึกษาก็สามารถนัดกันได้บ่อยขึ้น อย่างไรก็ดีการพบกันแบบ online จะทำให้บรรยากาศความสนุกสนานจะลดลง นักศึกษาที่มาพบในแต่ละครั้งอาจเป็นคนละคนกับที่มาครั้งที่แล้ว การพูดคุยอาจจะไม่ต่อเนื่อง มีการถามปัญหาเดิม ๆ อาจารย์ต้องตอบสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ซึ่งเสียเวลา 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK จากอุปสรรคและปัญหาที่พบในโครงการมตลอดหลายปี หลักสูตรได้มีการทบทวนกระบวนการเพื่อแก้ปัญหาแต่ละด้าน คือ เรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย หลักสูตรใช้การสลับการพบปะเป็นแบบออนไลน์สลับกับแบบออนไซต์ การนัดพบกันมักจะเกิดขึ้นแบบเอื้อต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เช่น อาจารย์ต้องไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลอยู่แล้วก็สามารถนัดนักศึกษาที่ร้านกาแฟในโรงพยาบาล หรืออาจารย์ต้องไปทำธุระส่วนตัวที่ห้างสรรพสินค้าอยู่แล้วก็ถือโอกาสนัดนักศึกษาได้ และหลักสูตรได้ยืดหยุ่นเวลาทำงานให้กับอาจารย์โดยให้อาจารย์หยุดงานในวันทำงานปกติ แทนวันเสาร์อาทิตย์ที่อาจารย์ต้องไปนัดสุขหรรษากับนักศึกษา สำหรับนักศึกษาบางคนที่สะดวกพบอาจารย์ในวันปกติสามารถพบกันที่มหาวิทยาลัยในช่วงกลางวัน หรือช่วงเย็นของวันธรรมดาแทนได้ นักศึกษาเสียเวลารอรับคำปรึกษาจากอาจารย์ในหัวข้อวิจัยของตน ควรจัดจำนวนให้มีคนเข้ามาในแต่ละครั้งไม่เกิน 3 คน และควรเป็นกลุ่มที่ทำหัวข้อใกล้ ๆ กัน เพื่อทำให้การใช้เวลาแต่ละครั้งที่พบกันสั้นและทั่วถึง หากนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาอยากพบกันแบบออนไซต์ จะเลือกมาที่มหาวิทยาลัย โดยอาจารย์จะจัดสถานที่ที่ไม่เป็นห้องเรียน คือ ใช้ห้องประชุม เหตุผลเพราะห้องประชุมให้ความรู้สึกที่ผ่อนคลายกว่าห้องเรียน นักศึกษาได้ใช้โต๊ะตัวใหญ่ร่วมกัน ช่วยกันระดมความคิด เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดีย ในระยะหลังโควิด โครงการสุขหรรษา ใช้รูปแบบออนไลน์มากขึ้น มีการใช้โปรแกรม Zoom การอัดคลิปง่ายขึ้น บางครั้งอาจารย์เอาผลงานวิจัยของรุ่นพี่มาเล่าให้ฟัง เอาคลิปการสอบหัวข้อวิจัย หรือสอบป้องกันมาอธิบายให้ดูง่ายขึ้น อาจารย์รวบรวมคลิปที่อธิบายวิธีเขียนงานวิจัยอย่างเหมาะสม หรือตอบปัญหาประเด็นต่าง ๆ ที่นักศึกษาถาม เมื่อนักศึกษามีคำถามหรือปัญหาเดิม อาจารย์ก็สามารถให้นักศึกษาไปดูคลิปหรือคำอธิบายที่ได้รวบรวมไว้แล้วได้ ไม่เสียเวลาในการพูดคุยเรื่องเดิมๆ             ผลจากการทำโครงการสุขหรรษาพบว่า โครงการนี้ช่วยให้นักศึกษาที่ยังไม่มีโจทย์วิจัย เกิดแรงจูงใจ ให้กลับมาทำงานวิจัย ขณะที่ฟังเพื่อนกับอาจารย์ปรึกษางานวิจัยกัน ก็ผลักดันให้นักศึกษาเกิดทักษะวิจัยโดยไม่รู้ตัว ให้คิดตามเพื่อน ได้เกิดหัวข้อวิจัย เกิดการมีการเลียนแบบ และไม่รู้สึกโดดเดี่ยว นักศึกษาได้เริ่มต้นทำวิจัยอย่างมีเป้าหมาย และต่อเนื่อง เป็นผลให้สามารถสร้างผลงานตีพิมพ์ และจบการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ตลอดการทำโครงการหลักสูตรจำเป็นต้องมีการทบทวนวิธีการดำเนินการที่ช่วยปรับให้เวลาของอาจารย์ที่ปรึกษาและจำนวนนักศึกษาที่ขอรับการปรึกษามีความสมดุล และความสำเร็จของโครงการคือความทุ่มเทของทั้งอาจารย์และนักศึกษาที่จะต้องทำงานร่วมกันจนสำเร็จ การนำเสนอความก้าวหน้าในแต่ละครั้งที่พบอาจารย์ที่ปรึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญให้เพื่อนสมาชิกออนไลน์ของหลักสูตรสามารถเห็นความเป็นไปและสร้างแรงจูงใจ ดึงให้เขากลับเข้ามาทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง (Keep Doing – Keep Posting) ตัวอย่างการโพสภาพสุขหรรษาบนสื่อสังคมออนไลน์ ดังรูปที่ 3 รูปที่ 3 การโพสต์ภาพกิจกรรมสุขหรรษาลงในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างการรับรู้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           จากปัญหาและอุปสรรคที่ได้พบการในดำเนินโครงการมาโดยตลอด หลักสูตรได้พยายามทบทวนและหาทางแก้ไขเกิดเป็นแนวทาง S-O-F-A-R สำหรับโครงการสุขหรรษา ดังนี้ (S) Same idea / Small group: แบ่งกลุ่มนักศึกษาตามความสนใจ นักศึกษาที่สนใจ นักศึกษาที่มีความสนใจในหัวข้อใกล้เคียงกันเหมาะอย่างยิ่งที่จะนัดในเวลาเดียวกัน เพราะให้นักศึกษาเกิดไอเดียร่วมกัน และช่วยกันผลักดันงานวิจัยของกันและกัน (O) Open mind and be positive: นักศึกษาที่ยังไม่มีหัวข้อวิจัย ควรเข้าร่วมสุขหรรษาอย่างเปิดใจ เพื่อได้รับไอเดียที่เป็นประโยชน์จากอาจารย์และเพื่อน ๆ นักศึกษาต้องไม่รู้สึกเปรียบเทียบตนเองว่าด้อยกว่าเพื่อน ต้องให้กำลังใจตนเองว่าจะทำอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จแบบเพื่อนให้ได้ (F) Frequent meeting: รูปแบบการเข้าร่วมสุขหรรษาควรเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและค่อนข้างถี่ ความถี่ที่เหมาะสมที่สุดในช่วงเริ่มทำวิจัย คือ ทุก ๆ 1 สัปดาห์ โดยรูปแบบอาจเป็นออนไลน์สลับกับออนไซต์ (A) Alone but sure: หลังจากที่นักศึกษาได้หัวข้อวิจัยแล้ว ให้นักศึกษาติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษาแบบเดี่ยว จะทำให้นักศึกษาได้จดจ่อและมุ่งมั่นกับงานวิจัยของตน (R) Rearrange knowledge: หลักสูตรต้องมีการรวบรวมและจัดทำความรู้ต่าง ๆ ที่มักเป็นประเด็นในการทำวิจัย เป็นคลิปสั้น ๆ หรือเป็นบทความ รวบรวมคำถาม-คำตอบที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เพื่อให้นักศึกษาที่มีคำถามสามารถหาคำตอบได้เอง และไม่เสียเวลาถามซ้ำ 

สุขหรรษา : กระบวนการนำพาให้นักศึกษากลับมาทำวิจัย Read More »

Transformative Learning (ปีที่ 2)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 Transformative Learning (ปีที่ 2) ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.สมิตา กลิ่นพงศ์ คณะบริหารธุรกิจ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การเรียนรู้ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในอดีตอาจมีอาจารย์ เป็นเจ้าของความรู้ เป็นศูนย์กลางของ วามรู้ทั้งหมด ทําให้การเรียนรู้เกิดขึ้นโดยมีศูนย์รวมความสนใจที่ผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่ในปัจจุบันนักศึกษาทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น  ทำให้รูปแบบการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนแปลงไป และสามารถตอบคําถามของผู้เรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้ และทําให้บรรยากาศการเรียนไม่น่าเบื่อนักศึกษาสามารถสนุกกับการเรียนของคนเองและเพื่อนๆ ได้           ดังนั้นอาจารยผูสอนจึงไดนํารูปแบบของการจัดการเรียนการสอนตามนโยบายแผนยุทธศาสตรการพัฒนามหาวิทยาลัยในการสรางความเปนเลิศทางการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตดวยรูปแบบการเรียนการสอนใหทันสมัยและทันตอการเปลี่ยนแปลง สอดคลองทฤษฎีการเรียนรูเพื่อการเปลี่ยนแปลงของเมซี่โรว (Mezirow) เปนวิธีการหนึ่งที่จะชวยกระตุน ใหผูเรียนไดคิดวิเคราะห โดยการจัดสภาพการเรียน ให้เผชิญกับวิกฤตการณที่ไมเปนไปตามมุมมองเดิมของตน เกิดการใครครวญอยางมีวิจารณญาณ สนทนาเชิงวิพากษจนนําไปสูการเรียนรูสิ่งใหม ภายใตหัวขอ Transformative Learning มาปรับใชในวิชาสอน ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           อาจารย์ผู้สอนได้นําความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)ตามทัศนะของเมซิโรว์ (Mezirow) มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โดยให้นักศึกษาทําโปรเจคอะไรก็ได้ที่ส่งเสริมและเสริมสร้างการททํางานเป็นทีม โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เมซิโรว์เสนอ 10ขั้นตอน ได้แก่1. การใหผูเรียนไดเผชิญกับวิกฤติการณที่ไมเปนไปตามมุมมองเดิมของตน2. การตรวจสอบตนเอง3. การประเมินสมมุติฐานเดิมของตนอยางจริงจัง4. การเปดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง5. การคนหาทางเลือกใหม6. การวางแผนการกระทําใหม7. การหาความรูและทักษะสําหรับการปฏิบัติตามแผน8. การเริ่มทดลองทําตามบทบาทใหม9. การสรางความสามารถและความมั่นใจในบทบาทและความสัมพันธใหม10. การบูรณาการจนเปนวิถีชีวิตใหมของตน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝั่งลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด ทฤษฎีเมซิโรว์ (Mezirow) วิธีการดำเนินการ วิเคราะห์เนื้อหาวิชาที่สามารถนําหลักของ ทฤษฎีเมซิโรว์ (Mezirow) มาประยุกต์ใช้ได้แก่วิชา การสร้างทีมงานและการจูงใจ (HRM414) ปีการศึกษา 2/67 พิจารณาเนื้อหาการสอนจากแต่ละบทว่าสามารถนํามาประยุกต์ใช้ตามทฤษฎีได้หรือไม่ โดยประยุกต์ใช้หลักการจากทฤษฏี ปรับวิธีการสอนและการสอบหมายงานโครงการให้สอดคล้องกับทฤษฎีเมซิโรว์ (Mezirow) โดยวิธีการ ดังนี้ วิธีการ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เสริมสริางการสื่อสารที่ดี ผสานความรู้จากหลายแหล่ง สร้างโอกาสเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ส่งเสริมการสะท้อนความคิด สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ประเมินผลและให้คําแนะนํา 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน            ผลการดําเนินการ การนําไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทํางาน หลังจากได้นําหลักการดังกล่าวไปใช้ในรายวิชา มีตัวอย่างผลการดําเนินการ ดังนี้ จุดประสงค์ของวิชา1. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการในการจูงใจเพื่อให้เกิดการทํางานที่มีประสิทธิภาพ2. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงความสําคัญของการทํางานเป็นทีม3. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และทดลองปฏิบัติตามเทคนิคการสร้างทีมงาน4. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักในการสร้างทีมงาน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           เนื่องจากเป็นการออกแบบการจัดการสอน Transformative Learning  (ใช้งานปีที่ 2) ตามแนวทางของมหาวิทยาลัยและยังไม่มั่นใจว่าถูกต้องตามแนวทางของ Transformative Learning   หรือไม่ แต่ได้มีการปรับปรุงกิจกรรมที่จะทำให้นักศึกษาได้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้จริง ไม่ใช่แค่สอนหลักทฤษฎีการสร้างทีมงาน เอกสารแนบ รายงาน PDCA โครงการ เอกสารแนบ 1 เอกสารแนบ 2 เอกสารแนบ 3 เอกสารแนบ 4 เอกสารแนบ 5 เอกสารแนบ 6 เอกสารแนบ 7

Transformative Learning (ปีที่ 2) Read More »

แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบบูรณาการร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบบูรณาการร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมในการปรับตัวให้เท่าทันต่อรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะหลากหลายด้านต่อการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และจากผลสำรวจวิเคราะห์ความต้องการของตลาดแรงงานของ World Economy Forum (WEF) สรุปว่าทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st Century skills) 4 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสาร (communication skills) เป็นความสามารถในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 2) ทักษะการทำงานร่วมกัน (collaboration skills) เป็นความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การเป็นผู้นำและงานทำงานเป็นทีม  3) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking skills) เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา และ 4) ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (creative thinking skills) เป็นความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานและการคิดแก้ปัญหา            วิจารณ์ พานิช, (2555) อธิบายขยายความว่า ครูผู้สอนจะต้องออกแบบเนื้อหาสาระการเรียนรู้เชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) ที่สอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในทุกวิชาแกนหลัก’ โดยทุกรายวิชาผู้สอนจะต้องมีบทบาทในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีทักษะชีวิต การปรับตัวตามปรากฏการณ์ใหม่แห่งทศวรรษที่ 21            ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงมีความสำคัญในการตอบสนองต่อโลกความจริงใหม่ที่เกิดขึ้นตามมาอันเนื่องจากผลกระทบของการปั่นป่วนเทคโนโลยี (technology disruption) ที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ทำผู้เรียนแห่งทศวรรษที่ 21 จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมดิจิทัล (digital behavior) ที่ผู้เรียนจะต้องปรับตัวก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงนั้น ‘การดำเนินชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง การเรียนการสอนจะต้องเน้นการเรียนรู้โดยการลงมือทำหรือการฝึกฝน การฝึกฝนทักษะจึงมีความจำเป็นตลอดชีวิต’ การฝึกทักษะจึงเป็นเสมือนเครื่องมือเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการผลิตกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลกบนพื้นฐานความเป็นไทยและแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อความท้าทายปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21            จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ‘การจัดการเรียนรู้’ (learning management system: LMS) ของครูผู้สอนที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนจะช่วยพัฒนายกระดับสมรรถนะความสามารถของผู้เรียนให้สอดคล้องต่อการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงมีบทบาทความสำคัญต่อครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยครูผู้สอนจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนโดยการจัดกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และครูผู้สอนจะต้องปรับการสอนเป็นการสอนแบบมีส่วนร่วม (actively teach) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ตลอดเวลา การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่หลากหลากด้านต่อการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง การเรียนรู้โดยการเน้นให้ผู้เรียนลงมือทำหรือการฝึกฝน การฝึกฝนทักษะจึงมีความจำเป็นตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ดังที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2567) อธิบายว่าเป็นกระบวนการการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยครูผู้สอนทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (facilitator) สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำ เสมือนโค้ชและพี่เลี้ยง (coach and mentor) แสวงหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful learning) ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ มีความเข้าใจตนเอง ใช้สติปัญญา คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่บ่งบอกถึงการมีสรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21 มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ ที่บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย สำหรับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้หลากหลายวิธี เช่น แบบระดมสมอง (brainstorming) แบบบทบาทสมสมมุติ (role playing) แบบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (think-pair-share) แบบการสะท้อนความคิด (student’s reflection) แบบตั้งคำถาม (questioning-based learning) แบบใช้เกม (games-based learning) แบบกิจกรรมเป็นฐาน (active-based learning) แบบปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning) และแบบโครงงานเป็นฐาน (project-based learning) เป็นต้น สำหรับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (project-based learning) เป็นการจัดการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นและเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจนได้คำตอบในสิ่งที่ต้องการรู้หรือสงสัย ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ โดยบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานยังส่งเสริมกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะความคิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา คิดวิพากษ์ และรับผิดชอบต่อความสำเร็จของส่วนร่วม            สำหรับรายวิชาการคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ ซึ่งเป็นรายวิชากลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพตามหลักสูตรนิเทศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นรายวิชาที่มีลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (project-based learning) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำโครงงานปลายภาค (final project) เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงออกแบบ การกำหนดโจทย์การสร้างสรรค์และการสร้างสรรค์สื่อเพื่องานนิเทศาสตร์ โดยลักษณะของโครงงานปลายภาคมุ่งเน้นผู้เรียนเกิดสมรรถนะทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 คือทักษะความคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) ซึ่งเป็นหนึ่งทักษะที่จำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับทักษะการสื่อสาร (communication) ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (collaboration) และทักษะการคิดวิเคราะห์ (critical) หรือที่เรียกว่า 4C            อนึ่งแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ครั้งนี้ เพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ตอบสนองต่อโลกความจริงใหม่ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานแห่งการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะหลากหลายด้านต่อการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประกอบด้วยทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ และการพัฒนาผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  แนวคิด ADDIE model ตามแนวคิดของ Kruse (2007) มีขั้นตอนการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ (analysis) เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ความจำเป็น หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การออกแบบ (design) เป็นขั้นตอนการระบุกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ การเลือกสื่อ และวิธีการจัดการเรียนการสอน 3) การพัฒนา (development) เป็นขั้นตอนการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล 4) การนำไปใช้ (implementation) เป็นขั้นตอนการนำแผนการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรม และเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริง และ 5) การประเมินผล (evaluation) เป็นขั้นตอนการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ทุกระดับสำหรับการนำไปใช้ในครั้งต่อไป และแนวคิดการออกแบบการสอนเชิงระบบของ และ Dick, Carey and Carey (2005) โดยแนวคิดประกอบด้วยองค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมายการเรียนการสอน (identity instructional goals) เป็นขั้นการกำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวัง โดยวิเคราะห์การปฏิบัติงาน (analyze performance) และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (conduct needs assessment) 2) วิเคราะห์การเรียนการสอน (analyze instruction) เป็นขั้นการวิเคราะห์การดำเนินการอย่างไรให้บรรลุสำเร็จเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3) การวิเคราะห์ผู้เรียนและบริบท (analyze learners and context) 4) การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (write performance objective) เป็นขั้นการระบุความชัดเจนว่าผู้เรียนจะสามารถทำอะไรได้บ้างในด้านความรู้และการปฏิบัติ 5) การพัฒนาเครื่องมือประเมินผล (develop assessment instrument) 6) การพัฒนากลยุทธ์การสอน (develop instructional strategy) 7) การพัฒนาและเลือกสื่อการเรียนการสอน (develop and select instructional materials) 8) การออกแบบและประเมินผลระหว่างการเรียนการสอน (design and conduct formation evaluation of instruction) 9) ทบทวนการจัดการเรียนการสอน (revise instruction) และ 10) การออกแบบและการประเมินผลภายหลังการเรียนการสอน (design and conduct summative evaluation) แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ตามแนวคิดของ ดุษฎี โยเหลา และ คณะ ฯ (2557) เสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ไว้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน 2) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 3) ขั้นจัดกลุ่มความร่วมมือ 4) ขั้นแสวงหาความรู้ 5) ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ และ 6) ขั้นนำเสนอผลงาน ส่วน KM CHILD-PBL (2015) เสนอว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ไว้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การคิดเลือกหัวข้อ 3) การเขียนเค้าโครงของโครงการ 4) การลงมือปฏิบัติ 5) การนำเสนอโครงงาน และ 6) การประเมินผลโครงงาน และ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560) เสนอว่า ขั้นตอนการจัดการเรียนการเสนอแบบโครงงานเป็นฐาน ไว้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเสนอ 2) ขั้นวางแผน 3) ขั้นปฏิบัติ และ 4) ขั้นประเมินผล และ Katz & Chard (2005) อธิบายการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเริ่มโครงงาน (getting started) เป็นขั้นการกระตุ้นความคิด ครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจ 2) ระยะพัฒนาโครงงาน (project development period) เป็นขั้นการวางแผน ออกแบบ สำรวจ ทดลอง สืบค้นข้อมูล เพื่อหาคำตอบในหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจ 3) ระยะสรุปโครงงาน (concluding a project) เป็นขั้นการสรุปและทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ และนำเสนอผลงาน แนวคิดการคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดของ 0sbom (1963) อธิบายรูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของการแก้ไขปัญหาใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาความจริง (fact-finding) 2) การค้นหาความคิด (idea-finding) และ 3) การค้นหาคำตอบ (solution-finding) ส่วน Torrance (1986) ขยายความเพิ่มว่า การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ไว้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาความจริง (fact-finding) 2) การค้นพบปัญหา (problem-finding) 3) การค้นพบความคิด (idea-finding) 4) การค้นพบคำตอบ (solution-finding) และ 5) การยอมรับผลจากการค้นพบ (acceptance-finding) แนวคิดการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) ตามแนวคิดของ Stanford d. school และ แนวคิดของ การคิดเชิงออกแบบ (Double Diamond Design Process) ของ UK Design Council โดยมีแนวคิดที่ว่า การคิดเชิงออกแบบ (design thinking) มีการดำเนินการเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง (empathize) 2) ขั้นการตั้งกรอบโจทย์ (define) 3) ขั้นการสร้างความคิดและการคิดสร้างสรรค์ (ideate) 4) ขั้นการสร้างต้นแบบ (prototype) และ 5) ขั้นการทดสอบ (test) โดย 2 ขั้นตอนแรก คือขั้นการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง (empathize) และขั้นการตั้งกรอบโจทย์ (define) เป็นขั้นของการสร้างความเข้าใจและตีความปัญหาเพื่อการตั้งโจทย์ของโครงการ ขั้นที่ 3 ขั้นการสร้างความคิดและการคิดสร้างสรรค์ (ideate) เป็นขั้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลาย ๆ คนในทีมเพื่อสร้างคำตอบหรือทางเลือกวิธีการแก้ปัญหา และขั้นการสร้างต้นแบบ (prototype) และ 5) ขั้นการทดสอบ (test) เป็นขั้นตอนการพัฒนาต้นแบบและการทดสอบแนวคิดการสร้างสรรค์กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีคุณค่าต่อกลุ่มเป้าหมายก่อนนำไปใช้จริง สำหรับแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ (Double Diamond Design Process) ของ UK Design Council โดยมีแนวคิดจะแบ่งการดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการค้นหาข้อมูล (discover) 2) ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (define) 3) ขั้นการพัฒนาแนวคิด (develop) และ 4) ขั้นการพัฒนาเพื่อส่งมอบผู้ใช้ (deliver) โดยขั้นที่ 1 และ 2 คือการค้นหาข้อมูล (discover) และการวิเคราะห์ข้อมูล (define) เป็นขั้นการสร้างความเข้าใจและตีความประเด็นปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนาแนวคิด (develop) เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์ความคิดใหม่อันหลากหลายในการแก้ปัญหา และขั้นที่ 4 การพัฒนาเพื่อส่งมอบให้กับผู้ใช้ (deliver) เป็นขั้นตอนการทดสอบช่วงสุดท้ายก่อนจะนำนวัตกรรมไปใช้จริง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ วิธีการดำเนินการ         การดำเนินการแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยมีสาระสำคัญของขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้       ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) ศึกษา รวบรวบ วิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชารายวิชาการคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ โดยวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ (learning style) ความสามารถพื้นฐานการสื่อสาร ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสรรค์ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ในการนำไปออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์       ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย (R1) มาออกแบบและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์       ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) นำแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น (D1) ไปทดลองใช้ และประเมินประสิทธิผล       ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) นำผลการประเมินประสิทธิผลของแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ (R2) นำมาพัฒนา ปรับปรุง ก่อนนำไปใช้จริง และพัฒนาเป็นโมเดลในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน 6 ขั้นตอน ได้แก่                1) ขั้นให้ความรู้พื้นฐานกับผู้เรียน โดยผู้สอนนำเสนอแนวคิด หลักการ และเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน ให้เกิดความเข้าใจต่อการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน                2) ขั้นกระตุ้นความสนใจ เป็นขั้นการเสนอประเด็นโครงงานปลายภาค โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อสรุปเป็นประเด็นของโครงงานปลายภาค โดยผลสรุปโครงการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการ ในประเด็นของแนวคิด “Gen Z  คิดเปลี่ยนโลก เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”                3) ขั้นจัดกลุ่มความร่วมมือ นักศึกษาจัดตั้งกลุ่มสมาชิก กำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในการดำเนินโครงงานปลายภาค                4) ขั้นแสวงหาความรู้ โดยใช้การตั้งคำถามเป็นกรอบแนวคิดในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสวงหาความรู้ ได้แก่ 1) What ทำเรื่องอะไร 2) Why ทำทำไม มีปัญหาอะไร 3)  How วิธีการดำเนินการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ และ 4)  Impact ดำเนินการแล้วเกิดผลกระทบอะไร เพื่อนำไปสู่การวางแผนการดำเนินโครงงาน                5) ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ นักศึกษาเสนอแนวคิดโครงงาน (concept project) ได้แก่ 1) What ทำเรื่องอะไร 2) Why ทำทำไม มีปัญหาอะไร 3)  How วิธีการดำเนินการ และ 4)  Impact ดำเนินการแล้วเกิดผลกระทบอะไร                6) ขั้นนำเสนอผลงาน  โดยการเผยแพร่ผลงานในรูปของการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการสร้างสรรค์สื่อ “Gen Z  คิดเปลี่ยนโลก เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” การดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน ได้แก่                การดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ ในการจัดทำโครงงานปลายภาค ผู้สอนจะพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (creative problem solving) ให้กับผู้เรียน โดยใช้ระบบการคิด 2 แบบในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) การคิดแบบหลายแง่มุม (divergent thinking) และ 2) การคิดแบบหลอมรวม (convergent thinking) โดยทั้ง 2 แบบคิด มีสาระสำคัญ ดังนี้                1) การคิดแบบหลายแง่มุม (divergent thinking) เป็นการคิดในการสร้างไอเดียต่าง ๆ โดยการมองหาความเป็นได้ของแนวทางที่หลากหลาย มองแบบองค์รวม (holistic) ให้รอบด้านมากที่สุด เป็นการคิดเชิงเหตุผลจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อค้นหาแนวทางในการแก้ไขให้ได้มากที่สุด                2) การคิดแบบหลอมรวม (convergent thinking) เป็นการคิดเพื่อค้นหาแนวทางวิธีการที่เหมาะสมกับการนำไปดำเนินการและการลงมือปฏิบัติ ที่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม โดยการนำแนวทางที่หลากหลายในขั้นของการคิดแบบหลายแง่มุม (divergent thinking มาผสมสานหรือหลอมรวมให้เป็นแนวคิดเดียวที่เหมาะที่สุดที่ทำให้เกิดผลลัพธ์สอดคล้องตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้                การดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่                1) ขั้นการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง (empathize) โดยการใช้การคิดแบบหลายแง่มุม (divergent thinking) การแสวงความรู้แนวขยายโดยการทลายกรอบจากภายนอกเข้าหาภายใน ประกอบด้วยการทำคามเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา (content) สื่อ (media) กลุ่มเป้าหมายทางการสื่อสาร (target audience) และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาความเป็นได้หลาย ๆ แนวทาง และวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านโดยมองจากปัญหาของกลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง (human center) เพื่อนำไปสู่ขั้นการกำหนดปัญหาในการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ (define)                2) ขั้นการกำหนดปัญหา (define) การนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ในขั้นการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง (empathize) มาคิดแบบหลอมรวม (convergent thinking) เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขหรือเป้าหมายของการสื่อสารที่คาดหวัง                3) ขั้นการสร้างความคิดและการคิดสร้างสรรค์ (ideate) เป็นขั้นการนำปัญหาที่ต้องการแก้ไขที่กำหนดไว้ในขั้นการกำหนดปัญหา (define) โดยใช้การคิดแบบหลายแง่มุม (divergent thinking) เพื่อนำไปสู่การกำหนดโจทย์การสร้างสรรค์ (creative brief) เป็นการเขียนกรอบแนวคิดในการกำหนดประเด็นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) ความเป็นมาหรือเบื้องหลัง (background) 2) ปัญหา (problem) 3) วัตถุประสงค์การสื่อสาร (objective communication) 4) กลุ่มเป้าหมายทางการสื่อสาร (target audience) 5) แนวคิดหรือประเด็นการสื่อสาร  (what to say concept or key communication) 6) สนับสนุนแนวคิด (support) 7) อารมณ์และบรรยากาศ (mood and tone) และ 8) ความต้องการ (desire) โดยการเขียนสาระสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ของโจทย์การสร้างสรรค์ที่เกิดจากลของการวิเคราะห์ สังเคราะห์จนตกผลึกทางความคิดแล้ว และเขียนในรูปของประโยดสั้น ๆ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มนำไปเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยมีแนวทางในการเขียนโจทย์การสร้างสรรค์ (creative brief) ดังนี้                (1) ความเป็นมาหรือเบื้องหลัง (background) เป็นเขียนการระบุถึงความเป็นมาหรือความต้องการของโจทย์ที่ต้องการแก้ไข                (2) ปัญหา (problem) กำหนดประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์                (3) วัตถุประสงค์การสื่อสาร (objective communication) กำหนดผลการสื่อที่คาดหวังที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย เช่น การนำแนวคิด AIDA model มาเป็นแนวทางกำหนดเป็นวัตถุระสงค์ทางการสื่อสาร ได้แก่ 1) สร้างความรู้ สร้างความเข้าใจ หรือสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) 2) การสร้างความสนใจ หรือสร้างการมีส่วนร่วม (Interest) 3) สร้างความต้องการ สร้างทัศนคติ ความเชื่อ (Desire) และ 4) สร้างการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้น (Action) การกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารอาจกำหนดแค่ให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่ต้องกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารให้ครอบคลุมทั้ง awareness, interest, desire และ action ก็ได้ และวัตถุประสงค์การสื่อสารที่กำหนดไว้จะส่งต่อการออกแบบเนื้อหาและออกแบบสื่อจะต้องตอบวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่กำหนดไว้                (4) กลุ่มเป้าหมายทางการสื่อสาร (target audience) เป็นการระบุถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับสาร ได้แก่ 1) ประชากรศาสตร์ (demographic) เพศ อายุ รายได้ การศึกษา ฯลฯ  2) จิตวิทยา (psychographic) ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ ฯลฯ  3) การดำเนินวิถีชีวิต (lifestyle) สิ่งที่สะท้อนตัวตน

แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบบูรณาการร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ Read More »

การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 และ KR 2.1.1 การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ. ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           หัวใจสำคัญของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คือ การทำวิจัย แต่นักศึกษาส่วนใหญ่จะขาดทักษะและความรู้ที่เพียงพอต่อการทำวิจัย ตลอดจนความกลัวในเรื่องการใช้สถิติ และตัวเลขต่างๆ ที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการทำวิจัย           ซึ่งการวิจัยทางการศึกษานั้นเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นในเรื่องของกระบวนการค้นคว้า กระบวนการแสวงหาความรู้ การศึกษาหาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ด้วยวิธีการที่เป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน และมีจุดมุ่งหมาย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา/สถานศึกษา อันประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูอาจารย์ผู้สอน นักเรียน/นักศึกษา ผู้เรียน สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเนื้อหาสาระรายวิชา รวมถึงหลักสูตรที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแง่มุมต่างๆ          ซึ่งหากจะแบ่งตามเทคนิคการเก็บข้อมูลเป็นเกณฑ์อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาหาความจริงโดยใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์และขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรู้สภาพ เพื่อจำแนก เปรียบเทียบ สังเคราะห์ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ โดยใช้วิธีการทางสถิติมาช่วยอธิบาย หรือใช้ข้อมูลที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลขที่สามารถวัดได้ 2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Naturalism) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมอย่างลุ่มลึก เข้าใจความหมาย กระบวนการ ความรู้สึก นึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ เพื่อรู้ลึก รู้จริงในเรื่องที่ศึกษา โดยเน้นการพรรณา วิเคราะห์ และเชื่อมโยงเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และ 3. การวิจัยแบบ ผสมผสาน (Mixed-methods research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาและค้นหาความจริงหรือองค์ความรู้ใหม่โดย การบูรณาการหรือผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ครอบคลุม สมบูรณ์ ทั้งในเชิงลึกที่ให้ข้อมูลแบบละเอียดและการศึกษาเพื่อให้ได้ความเข้าใจแบบองค์รวมโดยการวิเคราะห์ ค่าหรือตัวเลขเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ด้วยวิธีการทางสถิติ และการออกแบบการวิจัยแบบ ผสมผสานจะมีระเบียบแบบแผนในการศึกษาวิจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาวิจัย           ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยทางการศึกษาต้องเริ่มที่ปัญหาวิจัย (Research problem) เป็นลำดับแรก โดยปัญหาวิจัยจะนำไปสู่การตั้งคำถามวิจัย (Research question) และวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objective) ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยทางการศึกษาควรคำนึงถึงตัวแปร (Variable) ที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในศาสตร์ทางด้านการการศึกษา เช่น ภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำ (Leadership) การประกันคุณภาพการศึกษา (Educational quality assurance) นโยบายและแผน (Policy and plan) การพัฒนากลยุทธ์ (Strategy) โมเดลหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และความเสี่ยงทางการศึกษา (Educational risk) เป็นต้น เมื่อกำหนดปัญหาวิจัยชัดเจนแล้ว การออกแบบการวิจัย ด้านต่างๆ จะตามมา ทั้งการออกแบบการวิจัย (Research design) แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง (Sampling design) และแบบแผนการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis design)           ทั้งนี้การวิจัยทางการศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณบางเรื่องอาจใช้สถิติพื้นฐาน (Basic statistics) เท่านั้น แต่บางเรื่องก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สถิติขั้นสูง (Advanced statistics) แต่ถ้าเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้สถิติเลยก็ได้ ดังนั้นการเลือกใช้สถิติจึงถูกนำไปใช้เป็นหลักในการวิจัยทางการศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่นิยมใช้ในการศึกษามีหลายประเภทขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัย โดยนักการศึกษาและนักสถิติมีบทบาทที่แตกต่างกันในการใช้สถิติเพื่อการวิจัย กล่าวคือนักสถิติ คือ ผู้ผลิต (Producer) ขณะที่นักการศึกษาคือผู้บริโภคหรือผู้ใช้ (Consumer/user) ดังนั้นการวิจัยทางการศึกษาจึงเน้นการนำสถิติไปใช้เพื่อตอบคำถามวิจัยที่สนใจศึกษาหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการศึกษามากกว่าที่การคิดค้นสูตรทางสถิติใหม่ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          การวิจัยทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) จําเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ทางสถิติ เมื่อผู้วิจัยออกแบบการวิจัย และออกแบบการสุ่มตัวอย่างแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนระเบียบวิธีวิจัย คือ การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมและถูกต้องตามแบบแผนการวิจัยที่กําหนดไว้ซึ่งต้องวิเคราะห์คําถามวิจัย ว่าควรใช้สถิติใด ในการวิเคราะห์ข้อมูล จะต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าคําถามวิจัยทางด้านการศึกษามีลักษณะอย่างไร คลุมเครือหรือบ่งชี้ชัดเจนถึงเทคนิคทางสถิติที่จะนํามาใช้วิเคราะห์หรือไม่ และควรพิจารณาถึงเจตนาของคําถามวิจัยว่าต้องการคําตอบอะไร การใช้สถิติในงานวิจัยทางการศึกษา ขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัยแต่ละเรื่อง เช่น ใช้สถิติเพื่อบรรยายหรือพรรณา (Descriptive statistics) ใช้สถิติเพื่อสรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปหากลุ่มประชากร (Inferential statistics) ใช้สถิติขั้นสูง (Advanced statistics) เพื่อตอบคําถามวิจัยที่ซับซ้อน การผสมผสานระหว่างการใช้สถิติเชิงบรรยายสถิติเชิงสรุปอ้างอิง และสถิติขั้นสูง (Mixed statistics) การใช้สถิติแบบไม่อาศัยค่าพารามิเตอร์ (Nonparametric statistics) เนื่องจากข้อมูลมีขนาดเล็กหรือมีระดับการวัดของตัวแปรที่สถิติแบบอาศัยค่าพารามิเตอร์ (Parametric statistics) ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ซึ่งสถิติที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา มีรายละเอียดดังตาราง  ตารางที่ 1 รายละเอียดของสถิติที่นิมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา การเลือกใช้สถิติ แนวทางโดยสรุป Analysis of Variance (ANOVA) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป เช่น คะแนนสอบจากการสอนด้วยวิธีการสอน 3 วิธี เป็นต้น ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณกับตัวแปรเชิงกลุ่ม โดยที่ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (1 ตัว) ส่วนตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม Needs Assessment Research Priority Needs Index (PNI) แบบปรับปรุง เป็นสูตรที่ปรับปรุงจากสูตร PNI แบบดั้งเดิม เป็นวิธีการหาค่าผลต่างของ (I – D) และหารด้วยค่า D เพื่อควบคุมขนาดของความต้องการจำเป็นให้อยู่ในพิสัยที่ไม่มีช่วงกว้างมากเกินไป และให้ความหมายเชิงเปรียบเทียบ เมื่อใช้ระดับของสภาพที่เป็นอยู่เป็นฐานในการคำนวณอัตราการพัฒนาเข้าสู่สภาพที่คาดหวัง PNImodified = (I – D) / D Multiple Regression Analysis (MRA) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ นำมาใช้เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรพยากรณ์ (X) หลายตัวที่มีต่อตัวแปรตามหรือตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัว (Y) (ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีเพียง 1 ตัว จะเรียกว่า Simple regression) Factor Analysis การวิเคราะห์เส้นทาง นำมาใช้เพื่อลดจำนวนตัวแปรให้น้อยลง โดยรวมกันเป็นองค์ประกอบ และใช้น้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) มาช่วยอธิบาย ตัวแปรแต่ละตัวในแต่ละองค์ประกอบ มี 2 ประเภท คือ Exploratory Factor Analysis (EFA) และ Confirmatory Factor Analysis (CFA) เป็นต้น Structural Equation Modeling (SEM)/ Linear Structural Relationship (LISREL) โมเดลสมการโครงสร้าง นำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงสาเหตุ หรือโมเดลสมการโครงสร้าง หรือเรียกว่าการวิเคราะห์ลิสเรล (LISREL analysis)  คือ Linear Structural Relationship หมายถึง โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น Path Analysis การวิเคราะห์เส้นทาง นำมาใช้ศึกษาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลโดยอาศัย แผนภาพเส้นทาง (Path diagram) และสมการโครงสร้าง (Structural equation) เป็นหลักในการวิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรเหตุ ที่มีต่อตัวแปรผลใน 2 ด้าน คือขนาดและทิศทาง และเป็นการอธิบาย ความสัมพันธ์ใน 2 แบบ คือ ทางตรง (Direct effect) และทางอ้อม (Indirect effect) ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝั่งลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช/สังกัดวิทยาลัยครูสุริยเทพ วิธีการดำเนินการ การเลือกใช้สถิติที่เหมาะในการวิจัยทางการศึกษา ผู้วิจัยจะต้อง ศึกษาแนวคิดของการใช้สถิติเบื้องต้นและสถิติขั้นสูงแต่ละประเภทในภาพกว้างก่อนว่า จะนำไปใช้กับข้อมูลที่มีลักษณะอย่างไร ตัวแปรอยู่ในมาตรการวัดระดับใด และเหมาะสมกับคำถามวิจัยแบบใด เมื่อผู้วิจัยตัดสินใจได้แล้ว จึงค่อยศึกษารายละเอียดในเชิงเทคนิควิธีของสถิติวิเคราะห์ประเภทนั้นในเชิงลึก (In-depth Study) เช่น การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ/หาความสัมพันธ์ สถิติที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น Correlation Analysis, t-test, F-test, ANOVA, ANCOVA, MANOVA เป็นต้น การสร้างสมการทำนาย เช่น Multiple Regression Analysis เป็นต้น การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร เช่น Structural Equation Modeling/ LISREL, Path Analysis เป็นต้น การหาองค์ประกอบของคุณลักษณะแฝง (Latent Trait) เช่น EFA, CFA เป็นต้น ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ใช้สถิตินอนพาราเมตริก เช่น – test, Two-way ANOVA เป็นต้น พิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่างว่ามีขนาดเล็กหรือใหญ่ เพราะถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กมากจะไม่สามารถใช้สถิติบางประเภทได้ เช่น การวิเคราะห์ LISREL ควรใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวน อย่างน้อย 25 เท่าของจำนวนตัวแปร เป็นต้น พิจารณาข้อจำกัดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล เช่น SPSS วิเคราะห์ได้ เฉพาะ EFA แต่หากผู้วิจัยต้องการทำสถิติที่สูงขึ้น คือ CFA ก็ต้องใช้โปรแกรม LISREL หรือ AMOS หรือถ้าข้อมูลที่เป็นตัวแปรอิสระ สามารถแบ่งได้อย่างน้อย 2 ระดับขึ้นไป โปรแกรมที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ก็ควรจะเป็น HLM หรือ MLwiN เป็นต้น สามารถเลือกใช้สถิติเพียงประเภทเดียว หรือผสมผสานกันก็ได้ในงานวิจัย 1 ชิ้น การเลือกสถิติเพียงประเภทเดียว อาจจะเหมาะสำหรับงานวิจัยขนาดเล็ก ที่ต้องการคำตอบวิจัยเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น การบูรณาการและผสมผสานสถิติหลายประเภท จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยที่มีหลากหลายมิติ ที่คำถามการวิจัยอาจมีหลายข้อที่ต้องการคำตอบที่แตกต่างกัน ใช้ระยะเวลา งบประมาณ และวิธีดำเนินการวิจัยหลายขั้นตอน ซึ่งในศาสตร์สาขาด้านการศึกษา มักจะเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research) 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน อาจารย์ที่ปรึกษาปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักศึกษาที่มีความไม่เข้าใจในการทำวิจัย ความกังวล/ความกลัวในเรื่องความรู้ทางสถิติที่ไม่เพียงพอ โดยการพูดคุยและชี้แนะการทำวิจัยที่ละขั้นตอนแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้ตัวอย่างงานวิจัยในประเด็นที่นักศึกษาสนใจ นำกลับไปอ่านทำความเข้าใจและย่อยข้อมูลตัวอย่างงานวิจัย แล้วกลับมารายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาภายใน 1 สัปดาห์ อาจารย์ที่ปรึกษาทดลองให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้การควบคุมดูแล โดยทำตามขั้นตอนในกระบวนการการทำวิจัยตั้งแต่การกำหนดปัญหานำวิจัย นำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยให้ชัดเจนก่อนว่านักศึกษาในฐานะผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไร ต้องการคำตอบอะไรจากผลการวิจัย ไม่ใช่การนำสถิติเป็นตัวตั้ง โดยยึดหลัก 5W1H คือ ต้องการศึกษาใคร (Who) ในประเด็นอะไร (What) ทำการศึกษาช่วงเวลาใด (เมื่อใด) (When) ศึกษาหน่วยงานใด (Where) ทำไมจึงต้องการศึกษาเรื่องนี้ (Why) และจะออกแบบหรือทำวิจัยอย่างไร (How) นักศึกษาในฐานะผู้วิจัยจะต้องเสนอประเด็นที่จะทำการวิจัยต่ออาจารย์ที่ปรึกษาโดยกำหนดเป็นคำสำคัญ (Key word) แล้วนำมาขยายความออกเป็นชื่อเรื่อง โดยสื่อให้เห็นถึงตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการจะศึกษา ระบุถึงประชากรหรือกลุ่มที่ต้องการศึกษา และระบุสถานที่ๆ ต้องการศึกษา นักศึกษาจะต้องกำหนดคำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจนจะนำไปสู่การเลือกใช้สถิติว่าตัวแปรจะอยู่ในมาตรการวัดระดับใด และเหมาะสมกับคำถามวิจัยแบบใด มีจำนวนตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีขนาดเล็กหรือใหญ่ เพราะถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กมากจะไม่สามารถใช้สถิติบางประเภทได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจจะใช้วิธีการเลือกกลุ่มประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง (Total Population Sampling) หรือการกำหนดจำนวนกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างให้ไม่น้อยกว่า 20-25 เท่าของตัวแปร ซึ่งในบางครั้งการเลือกสถิติที่ใช้นั้นผู้วิจัยอาจจะระบุสถิติไว้ประเภทหนึ่ง แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปไม่ได้ ผู้วิจัยจะต้องปรับเปลี่ยนสถิติที่จะใช้ทดสอบใหม่ เช่น ระบุไว้ว่าใช้ Multiple regression แต่ไม่สามารถรันข้อมูลออกได้ ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าจะสามารถใช้ ANOVA ในการรันข้อมูลและสามารถได้ผลการวิจัยที่เพียงพอสามารถตอบคำถามการวิจัยหรือไม่ นักศึกษาจะต้องทำงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยไม่ทิ้งช่วงระยะเวลาหรือหยุดทำงานวิจัยไปเป็นระยะเวลานาน ควรขอคำปรึกษาและแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเคร่งขรัด อาจารย์ที่ปรึกษาควรต้องศึกษาเพิ่มเติมและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในประเด็นใหม่ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และกระบวนการทำวิจัยใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องต้องช่วยหาทาออกให้แก่นักศึกษา ในบางกรณีที่นักศึกษากำหนดสถิติที่จะใช้ในงานวิจัยที่นำเสนอในโครงร่างฯ ต่อคณะกรรมการการสอบไปแล้วนั้น ไม่สามารถประมวลผลในโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากการ Error ของข้อมูล หรือจำนวนข้อมูลที่เก็บมาไม่เพียงพอต่อการประมวลผลทางสถิติบางประเภท ดังนั้นการช่วยหาทาออดให้นักศึกษาโดยการใช้สถิติประเภทอื่นทดแทนได้หรือไม่ อย่างไร อาจารย์ที่ปรึกษาต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักศึกษา ให้นักศึกษาเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง มั่นใจ ขยัน มีวินัย และอดทน จะทำให้งานวิจัยนั้นประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน กับอาจารย์ที่ปรึกษาท่านอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายในการให้คำแนะนำการทำวิจัย ตลอดจนการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับงานวิจัยของนักศึกษาแต่ละคน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ นักศึกษาในฐานะผู้วิจัยสามารถผลิตผลงานการวิจัย ได้ผลสอบผ่านในระดับดีมาก ผลงานการวิจัยได้รับการเผยแพร่ในฐานข้องมูล TCI 1 ขึ้นไป นักศึกษาได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต หน่วยงานต้นสังกัดของผู้วิจัยนำผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาไปใช้ในต่อยอดการบริหารจัดการหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การนำผลการวิจัยเรื่อง การส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 ไปต่อยอดจนได้รับรางวัลโรงเรียนสุขภาวะดิจิทัลระดับชาติ เป็นต้น การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในงานวิจัยทางการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จะทำให้ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นมีความเที่ยงตรง ถูกต้อง และแม่นยำ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้สถิติระดับที่สูงขึ้น เช่น ใช้สถิติขั้นสูงแทนสถิติพื้นฐาน จึงไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงระดับคุณภาพของงานวิจัยอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากผลการสังเคราะห์สถิติที่นิยมนำามาใช้ในการวิจัยทางการศึกษาที่นิยมใช้สถิติเชิงบรรยายนำมาใช้ในการวัด และวิเคราะห์ตัวแปรทางการศึกษาได้อย่างครอบคลุม นักวิจัยทางการศึกษาจึงต้องเลือกใช้ระเบียบวิธีทางสถิติที่เหมาะสมกับปัญหาการวิจัย เพื่อจะได้ข้อค้นพบที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยอย่างมีคุณภาพ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติความกลัวเกี่ยวกับเรื่องสถิติของนักศึกษา การทำความเข้าใจในเรื่องการใช้สถิติ ด้วยการให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติม ยกตัวอย่าง และสืบค้นข้อมูลเพิ่มขึ้น อาจารย์และนักศึกษาจะต้องทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ไม่ควรทิ้งช่วง/ขาดการติดต่อสื่อสารกันเป็นระยะเวลานาน ทำงานร่วมกันอย่างค่อยเป็นค่อยเป็นค่อยไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน step by step ความร่วมมือร่วมใจระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา ให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยปราศจากอคติ 

การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา Read More »

การดูแลนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR1.2.1 การดูแลนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.อัญชลี ชยานุวัชร ผศ.ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช ผศ.ดร.นิภาพร สกุลวงศ์ และ ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ 1.1 หลักการและเหตุผล     การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการศึกษาขั้นสูงที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การพัฒนาทักษะการวิจัย และการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ นักศึกษาในระดับนี้จึงต้องการการดูแลและให้คำปรึกษาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ 1.2 ความสำคัญ     การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนี้     1.2.1 ส่งเสริมความสำเร็จทางการศึกษา: ช่วยให้นักศึกษาสามารถวางแผนการศึกษา ดำเนินการวิจัย และสำเร็จการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ     1.2.2 พัฒนาทักษะการวิจัย: ให้คำแนะนำและสนับสนุนนักศึกษาในการพัฒนาทักษะการวิจัยที่จำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ     1.2.3 สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ: ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์     1.2.4. สนับสนุนการพัฒนาส่วนบุคคล: ให้คำปรึกษาและสนับสนุนนักศึกษาในการจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล และปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการศึกษา     1.2.5 เตรียมความพร้อมสู่การทำงานและโลกแห่งความเป็นจริง: ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต เช่น ทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการแก้ปัญหา 1.3 ประเด็นปัญหา     วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิตนั้น มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา 2) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา 3) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน และ 4) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามีขอบเขตที่ครอบคลุมทั้งด้านการให้คำปรึกษาทางวิชาการ การเรียนการสอน การวิจัย และยังรวมถึงการพัฒนาและให้ความช่วยเหลือส่วนบุคคล นอกจากนี้ นักศึกาของวิทยาลัยครูฯ นอกจากจะมีความหลากหลายทางด้านระดับวิชาชีพแล้ว ยังมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม การที่คณาจารย์จากทุกหลักสูตรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแบ่งปันแนวปฏิบัติในด้านนี้ จะช่วยให้ประเด็นปัญหาต่างๆที่เกี่ยวเนื่องได้รับการแก้ไขไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม     ปัญหาที่พบว่าเกี่ยวข้องกับการดูแลและการให้คำปรึกษานักศึกษา ได้แก่     1.3.1 ภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ที่ปรึกษามักมีภาระงานจำนวนมาก ทำให้มีเวลาในการให้คำปรึกษานักศึกษาอย่างจำกัด     1.3.2 ความแตกต่างของความต้องการ: นักศึกษาแต่ละคนมีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกัน การให้คำปรึกษาจึงต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล     1.3.3 การเข้าถึงแหล่งข้อมูล: นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการวิจัย     1.3.4 ปัญหาด้านสุขภาพจิต: นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอาจเผชิญกับความเครียดและความกดดันสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต     1.3.5 การสนับสนุนด้านการเงิน: นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาด้านการเงิน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา 1.4 แนวทางการแก้ไข     วิทยาลัยครูสุริยเทพ ได้ตระหนักว่า การดูแลและให้คำปรึกษานับเป็นหัวใจสำคัญในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จึงได้มีการหารือในเรื่องนี้ ในทุกระดับการประชุม ไม่ว่าระดับคณะและหลักสูตร เพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งโดยสรุปมีแนวทางการแก้ไขดังนี้     1.4.1 เพิ่มจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาให้เหมาะสม: เพื่อลดภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและเพิ่มเวลาในการให้คำปรึกษานักศึกษา     1.4.2 พัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา: จัดอบรมและพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษาแก่อาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่หลักสูตร เพื่อให้สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ     1.4.3 สร้างระบบสนับสนุนนักศึกษา: มีระบบข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานหรือศูนย์ให้คำปรึกษาที่ให้บริการด้านต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาด้านวิชาการ การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต และการให้คำปรึกษาด้านการเงิน     1.4.4 ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย: จัดกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์           1.4.5 สนับสนุนด้านการเงิน: จัดหาทุนการศึกษาและแหล่งทุนอื่นๆ เพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่มีปัญหาด้านการเงิน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ชยานุวัชร 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช 3) ดร.เตชาเมธ เพียรชนะ 4) ผศ.ดร. นิภาพร สกุลวงศ์ สังกัดวิทยาลัยครูสุริยเทพ วิธีการดำเนินการ                การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ การแก้ไขประเด็นปัญหาและพัฒนาระบบการดูแลและให้คำปรึกษาให้มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้นักศึกษาสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องนี้ จึงนับเป็นเรื่องสำคัญ           โดยวิทยาลัยครูสุริยเทพจัดให้มีกิจกรรม “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community-PLC)” ขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2523 โดยในครั้งแรกนั้น ได้เชิญผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มาเป็นทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ หรือ กระบวนกร (Facilitator) และได้เลือกหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่คณาจารย์และบุคลากรมีความเข้าใจในระดับน้อยและไม่ชัดเจน ได้แก่ การเขียนโครงการบริการวิชาการเพื่อเสนอขอรับทุนจากภายนอก การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เป็นต้น กิจกรรม PLC นี้ ยังคงจัดมาจนปัจจุบัน โดยมีการเลือกหัวข้อที่ตอบสนองการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยครูสุริยเทพและมหาวิทยาลัยรังสิต                ในการหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาก็เช่นกัน ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) ในวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2568 เวลา 9.30-12.30 น. โดยมีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากทุกหลักสูตรเข้าร่วม เพื่อพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขและเพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน โดยในครั้งนี้ มีดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ คณบดีวิทยาลัยครูสุริยเทพ ทำหน้าที่กระบวนกร ดำเนินรายการและถอดและบันทึกแนวปฏิบัติต่างๆที่เห็นพ้องร่วมกัน โดยการได้ปฏิบัติมาแล้วจนเกิดผลสำเร็จ 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                ปัญหาที่พบในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาและแนวปฏิบัติที่เห็นพ้องว่าเหมาะสมร่วมกัน ได้แก่ เวลาและสภาพแวดล้อมในการให้คำปรึกษานักศึกษาอย่างจำกัด เช่น อาจารย์มีจำนวนน้อย นักศึกษาอาศัยอยู่ต่างประเทศ นักศึกษามีหน้าที่การงาน ต้องใช้วิธีการปรึกษาทางการประชุมทางไกล โทรศัพท์ หรือมาขอคำปรึกษาในวันหยุดสุดสัปดาห์ ต้องใช้การวางแผนตารางปรึกษาหารือที่เหมาะสมสอดคล้องเห็นชอบกันทั้งสองฝ่าย นักศึกษาแต่ละคนมีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกัน การให้คำปรึกษาจึงต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับนักศึกษาแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาต่างชาติซึ่งมีความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและวิถีการใช้ชีวิต บางครั้งเมื่อนักศึกษามีปัญหา อาจจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ญาติ และเพื่อนสนิทของนักศึกษา เพื่อเข้าใจบริบทของปัญหาให้ดีขึ้น นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาต้องชี้แหล่ง เช่น ให้บรรณารักษ์ช่วยอบรมการใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการวิจัยของนักศึกษา อาจทำได้หลายวิธี เช่น เชิญบรรณารักษ์มาบรรยายในชั้นเรียน ตลอดจนการแนะนำการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการต่างๆ ที่ห้องสมุด และการให้นักศึกษาไปเรียนรู้การใช้ห้องสมุดด้วยตนเองผ่านรายงานหรือแบบฝึกหัดในรายวิชา เป็นต้น ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่หลักสูตรควรเข้าใจกระบวนการขอสอบ รูปแบบการเขียน การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยที่เหมาะสม ขั้นตอนการขอจริยธรรมในคน ขั้นตอนการยื่นขอจบ เป็นต้น เพื่อสามารถอธิบายชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่นักศึกษาได้ รวมไปถึงระเบียบต่างๆของบัณฑิตวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ ปัญหานักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเผชิญกับความเครียดและความกดดันสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการเรียน อาจารย์ในหลักสูตรและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องหมั่นสังเกตและใช้หลักจิตวิทยาในการสื่อสารพูดคุย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามักมีวัยวุฒิ จึงอาจต้องใช้หลักจิตวิทยาในการสร้างความคุ้นเคย ความไว้ใจ และยอมแลกเปลี่ยนเปิดเผยปัญหา ในเรื่องนี้ หากมีการจัดอบรมการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยอีกในอนาคต คณาจารย์เกือบทุกท่านจะเข้าอบรม นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาด้านการเงิน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา จะใช้วิธีให้คำปรึกษาด้านการแบ่งชำระค่าหน่วยกิต การยื่นคำร้องต่างๆ การหาและแนะนำแหล่งทุนเพื่อการศึกษา นักศึกษาที่ต้องการทำงานทั้งเพื่อหารายได้และประสบการณ์ คณาจารย์ควรแบ่งปันข้อมูลเรื่องแหล่งงานที่เหมาะสมให้นักศึกษาทราบ นับเป็นการสร้างโอกาสในการสร้างประสบการณ์ทางการประกอบอาชีพแก่นักศึกษา 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           แนวปฏิบัติในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งคณาจารย์ของวิทยาลัยครูสุริยเทพได้ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันนั้น ได้ถูกใช้มาอย่างน้อย 2-3 ปีการศึกษา พบว่ามีผลลัพท์ในเชิงบวกอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมดังนี้ นักศึกษามีการเรียนอย่างต่อเนื่อง ราบรื่น จบการศึกษาตามแผนที่วางไว้ ไม่มีการสะดุดหยุดเรียนกลางคัน นักศึกษามีความสุข มีความรักและผูกพันกับอาจารย์และวิทยาลัยครูฯ นักศึกษามีความมั่นใจและไว้ใจที่จะบอกเล่าปัญหาต่างๆกับอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเกิดผลดีในการแก้ปัญหาแต่เนิ่นๆ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มีคุณภาพมาตรฐาน เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างวิทยาลัยครูสุริยเทพกับผู้ปกครองของนักศึกษา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่มีโอกาสปรับทัศนคติในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           สิ่งสำคัญที่ค้นพบจากการแลกเปลี่ยนแบ่งปันในห้วข้อ การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ได้แก่ การปรับทัศนคติ การใช้หลักจิตวิทยาในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ การดูและ และให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา เรื่องนี้จึงควรใส่ใจ สร้างมาตรฐาน และพัฒนาให้ดีขึ้น ไม่เพียงเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good practice) แต่ให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice)

การดูแลนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต Read More »

การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1, 3 และ 5 : KR 1.2.1, KR 1.2.4, KR 3.1.1, KR 3.1.2/1, KR 3.4.1/1 และ KR5.1.2/1 การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.มนพร ชาติชำนิ ผศ.ดร.นิภา กิมสูงเนิน อาจารย์ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง และนางปราณี บุญญา สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในยุคปัจจุบัน ความท้าทายด้านสุขภาพในระดับชุมชนที่หลากหลายร่วมกับเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญของคุณภาพชีวิตที่ดี การพยาบาลชุมชนจึงมีบทบาทสําคัญในการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Wellness) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตจากข้อมูลการสํารวจในปี 2567 ตรวจพบปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น อ้วนลงพุง โรคเรื้อรัง และโรคหัวใจ รวมถึงปัญหาสุขภาพจิตอย่างความเครียด และซึมเศร้าที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตประสบปัญหาสุขภาพที่หลากหลาย เช่น(1) ประชากรวัยทํางานและผู้สูงอายุร้อยละ 79.63 มีภาวะน้ําหนักเกิน (2) ร้อยละ 42.59 มีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง (3) ร้อยละ 96.30 มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และ (4) ประชากรร้อยละ 53.70 ไม่เคยเข้ารับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียดและโรคซึมเศร้า ก็เป็นอีกประเด็นที่พบในกลุ่มเป้าหมาย โดยมีนักศึกษาถึงร้อยละ 68 รายงานว่ามีระดับความเครียดปานกลางถึงรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัว           การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดีในทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) มุ่งเน้น การบูรณาการการดูแลสุขภาพกาย ใจ และจิตวิญญาณเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงปัจจัยทั้ง ส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน เป้าหมายหลักคือการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคก่อนเกิดปัญหารุนแรง รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระยะยาว ประเด็นปัญหา  ภาวะน้ําหนักเกินและโรคเรื้อรัง ความชุกของภาวะน้ําหนักเกินและโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และโรคหัวใจ กําลังเป็นภัยคุกคามสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุสําคัญมาจากพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกําลังกาย และความเครียดสะสม สุขภาพจิตในกลุ่มวัยเรียนและวัยทํางาน ความเครียดและความกดดันในชีวิตประจําวัน ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่อาจพัฒนาไปสู่โรคซึมศร้าหรือภาวะคิดฆ่าตัวตาย จําเป็นต้องมีการดูแลด้านจิตใจอย่างครอบคลุม การขาดการคัดกรองและป้องกันโรค อัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็งเต้านม และการวัดความดันโลหิต ยังอยู่ในระดับต่ํา ซึ่งเป็นช่องว่างสําคัญในการป้องกันโรค แนวทางการพัฒนาโครงการ การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม: จัดกิจกรรมการพยาบาลที่ครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพกาย เช่น การให้ความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกําลังกาย และสุขภาพจิต เช่น การฝึกสติ (Mindfulness-Based Stress Reduction) การตรวจคัดกรองโรคเชิงรุก: เพิ่มการเข้าถึงการตรวจสุขภาพ เช่น การตรวจวัดความดันโลหิตและระดับ น้ําตาลในเลือด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ: รณรงค์การลดบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และส่งเสริมการออกกําลังกายที่เหมาะสมสําหรับแต่ละช่วงวัย การสนับสนุนสุขภาพจิต: สร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safe Space) สําหรับการพูดคุยปัญหาและให้คําปรึกษา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           โครงการนี้มีการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษานําความรู้จากการเรียนพยาบาลอนามัยชุมชนมาใช้ในสถานการณ์จริง พัฒนาแผนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เน้นการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน อีกทั้งนําทฤษฎีการพยาบาลมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ในกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตในกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ โครงการยังเป็นตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับเป้าประสงค์การสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษา  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่น ๆ ได้แก่ เอกสาร PDCA จากผลสําเร็จของโครงการ วิธีการดำเนินการ           แนวทางการพัฒนาโครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” สําหรับแม่บ้านมหาวิทยาลัยรังสิต จากการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ “โครงการแม่บ้านรังสิต หัวใจฟิต ชีวิตฟิน กินดีมีสุข”, “สุขภาพใจดี ชีวีมีสุข” และ “สูงวัยรู้ทัน เข้าใจ ห่างไกลภัยติดเตียง”, มีแนวทางการดําเนินการที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” ให้ครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของแม่บ้านรังสิต ก่อนออกแบบโครงการ ควรมีการเก็บข้อมูลสุขภาพของแม่บ้านมหาวิทยาลัยรังสิตโดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 รายวิชา BNS 481 ปฏิบัติการการพยาบาลอนามัยชุมชน ผ่านแบบสํารวจสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อกําหนดปัญหาหลักที่ต้องการแก้ไข เช่น โรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด) ภาวะเครียดจากการทํางานและชีวิตครอบครัว การขาดโอกาสในการออกกําลังกายและโภชนาการที่เหมาะสม และการดูแลสุขภาพจิต และการบริหารจัดการความเครียด 2. แนวทางดําเนินโครงการ (PDCA Model)(P) Plan – การวางแผน1. กําหนดเป้าหมายของโครงการ    o สร้างความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทุกมิติ    o ลดอัตราความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)     o พัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่ต่อเนื่องและยั่งยืน2. ออกแบบกิจกรรมที่ครอบคลุมสุขภาพแบบองค์รวม    o สุขภาพกาย: กิจกรรมออกกําลังกาย โภชนาการที่เหมาะสม การตรวจสุขภาพเบื้องต้น    o สุขภาพจิต: ฝึกสมาธิ ลดความเครียด เทคนิคจัดการอารมณ์    o สุขภาพสังคม: สร้างเครือข่ายการช่วยเหลือ สนับสนุนทางสังคม    o สุขภาพสิ่งแวดล้อม: การจัดการที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ3. กําหนดกลุ่มเป้าหมาย    o แม่บ้านและพนักงานในมหาวิทยาลัยรังสิต    o จํานวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ลงทะเบียน4. พัฒนาเครื่องมือประเมินสุขภาพ    o แบบสอบถามสุขภาพก่อน-หลังโครงการ    o การตรวจคัดกรองโรค (BMI, ความดันโลหิต, น้ําตาลในเลือด)5. เตรียมทรัพยากรและงบประมาณ    o ประสานงานกับคณะพยาบาลศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    o ขอสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยและองค์กรที่เกี่ยวข้อง 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน (D) Do – การดําเนินโครงการ ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถนํามาใช้ในโครงการ:กิจกรรมที่ 1: รู้ทันโรค ห่างไกลความเสี่ยง        • ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง       • ตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมคําแนะนําจากพยาบาล       • ใช้เครื่องมือประเมินพฤติกรรมสุขภาพกิจกรรมที่ 2: หัวใจฟิต ชีวิตฟิน       • ฝึกออกกําลังกายที่เหมาะสม เช่น การเดินเร็ว โยคะ เต้นแอโรบิก       • แนะนําโปรแกรมออกกําลังกายที่สามารถทําได้ที่บ้าน       • แนะนําเทคนิคการใช้เครื่องมือติดตามสุขภาพ เช่น สมาร์ทวอทช์ แอปพลิเคชันสุขภาพกิจกรรมที่ 3: กินดี มีสุข       • สาธิตการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ตามหลัก 2:1:1       • สอนการอ่านฉลากอาหาร และเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ       • เชิญนักโภชนาการมาให้คําแนะนําเกี่ยวกับเมนูสุขภาพกิจกรรมที่ 4: สุขภาพใจดี ชีวีมีสุข       • เทคนิคการบริหารความเครียดและการทําสมาธิ       • จัดเวิร์กช็อปการฝึกสติและการจัดการอารมณ์       • สนับสนุนเครือข่ายสังคมเพื่อให้กําลังใจกันและกันกิจกรรมที่ 5: สิ่งแวดล้อมดี ชีวิตมีสุข      • แนะนําแนวทางปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ      • การจัดสภาพแวดล้อมที่ช่วยลดความเครียด      • กิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อสุขภาพจิต 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดําเนินการ การนําเสนอประสบการณ์การนําไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่        • แบบสอบถามวัดความรู้และพฤติกรรมสุขภาพก่อน-หลังโครงการ        • วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพที่ได้จากการคัดกรอง        • วัดระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ        • ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพหลังโครงการ 1 เดือน และ 3 เดือน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice 1. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการสอนที่เน้นนวัตกรรม (O 1.2)• KR1.2.1 การพัฒนากิจกรรมเสริมการเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ        o ปรับปรุงโครงการโดยใช้ผลการประเมินเพื่อนํามาพัฒนาเนื้อหาการอบรม        o ขยายขอบเขตของกิจกรรมไปยังบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง        o ส่งเสริมให้แม่บ้านเป็น “แกนนําสุขภาพ” ในครอบครัวและชุมชน ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • KR1.2.4 การสร้างเสริมคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ผ่านโครงการที่มีผลลัพธ์ชัดเจน        o บูรณาการกิจกรรมด้านการพยาบาลและการดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน        o นักศึกษาพยาบาลสามารถเข้าร่วมโครงการและนําความรู้ไปพัฒนาแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน 2. การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือข้ามหน่วยงาน (O3.1, O3.4)• KR3.1.1 การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพผ่านความร่วมมือกับองค์กรภายในและภายนอก        o จัดตั้งกลุ่ม “แม่บ้านสุขภาพดี” เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการดูแลสุขภาพ        o ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์สําหรับการให้คําปรึกษาด้านสุขภาพผ่านคณาจารย์และบุคลากรทางการแพทย์ • KR3.1.2/1 การพัฒนาความร่วมมือระหว่างคณะและหน่วยงานเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี        o ส่งเสริมให้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมมือกันในโครงการส่งเสริมสุขภาพ เช่นศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัย        o ประสานงานกับศูนย์บริการสุขภาพชุมชน เพื่อสร้างโครงการดูแลสุขภาพเชิงรุกที่สามารถขยายสูระดับชุมชน • KR3.4.2 การพัฒนาทักษะของบุคลากรสายสอนให้มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพชุมชน        o สนับสนุนให้อาจารย์พยาบาลเข้าร่วมโครงการและพัฒนาทักษะด้านการพยาบาลชุมชน       o ให้บุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทในการอบรมเชิงปฏิบัติการและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสุขภาพ 3. การเสริมสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาโครงการที่มีคุณค่าต่อสังคม (O5.1)• KR5.1.2/1 การพัฒนาโครงการที่สร้างคุณค่าเชิงสังคมและยกระดับชื่อเสียงมหาวิทยาลัย        o จัดโครงการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสําหรับชุมชน        o ทํางานร่วมกับองค์กรภายนอก เช่น โรงพยาบาล คลินิก และหน่วยงานด้านสุขภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโครงการ         o จัดทํา Health Map ของแม่บ้านเพื่อช่วยติดตามสุขภาพและวางแผนการดูแลที่เหมาะสม บทสรุป          โครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพผ่านเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และองค์กรสุขภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและสามารถขยายผลไปยังชุมชนได้ในอนาคต การดําเนินโครงการนี้จะช่วยให้แม่บ้าน และบุคลากรในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาพยาบาลมีโอกาสพัฒนาทักษะที่สําคัญต่อการพยาบาลชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้านการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ การพัฒนาความร่วมมือข้ามหน่วยงาน และการยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน รูปภาพเพิ่มเติม

การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) Read More »

Scroll to Top