KR 1.4.2

การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.2 การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา (สืบเนื่องจากการคัดเลือกให้ได้รับโล่รางวัลนักบริหารการศึกษาดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2566 ประเภทอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย)KM: การสอนรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา (Professional Ethics for Educational Administrators) ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.ชัชชญา พีระธรณิศร์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          การบริหารจัดการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญและยึดถือเป็นมโนธรรมสำนึกของผู้บริหารการศึกษา การที่จะมีจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรมได้อย่างไรนั้น อยู่ที่การสร้างความตระหนักและจิตสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องมีจิตวิญญาณ อุดมการณ์ของผู้บริหารในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ…..จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556และตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2550 จึงเป็น มาตรฐานวิชาชีพวิชาชีพชั้นสูง จะต้องมีศาสตร์มากำกับและมีศิลป์ในการบริหาร ผู้บริหารจึงถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์การดำเนินการอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม หลักคุณธรรมสำหรับผู้บริหารในการครองตน การครองคน การครองงาน เป็นหลักสำคัญในการประพฤติปฏิบัติตนของผู้บริหารมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการบริหารงานในองค์การ การนำหลักสูตรไปใช้ การจัดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการเรียนการสอน ( สิน งามประโคน ,2561) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ในหมวด 7 จึงได้กำหนดไว้ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกำหนด ”        ในด้านจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรมผู้บริหารการศึกษา ชุติมา รักษ์บางแหลม (2559) จากวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และประเด็นปัญหาจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา พบว่า…ความยากลำบากที่ผู้บริหารต้องเผชิญกับปัญหาในการบริหารสถานศึกษาส่งผลกระทบระดับบุคคลทำให้เกิดความไม่สบายใจ ลำบากใจ และระดับองค์กร ขาดความสุขยุ่งยากใจในการบริหารงาน การอยู่ร่วมกัน ไม่อาจหาข้อยุติได้ง่ายจากข้อมูลที่มีอยู่ ต้องมีการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ ในการแก้ปัญหาต้องทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงการค้นหาทางเลือกและแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักจริยธรรมพื้นฐาน ความดีงาม ความถูกต้องและหลักจริยธรรมวิชาชีพ หลักการบริหารงาน รวมถึงการตัดสินใจเลือกทางเลือก ปฏิบัติตามทางเลือกและการประเมินผลทางเลือกระยะสั้นและยาว การเผชิญและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมของสถานการณ์ ตามน้ำหนัก ความโน้มเอียงของปัญหา บริบทและสภาพแวดล้อมขององค์กร สอดคล้องกับ จุฑามาส ศรีทองคำ (2562 ) ได้ศึกษา คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ พบว่า การเสื่อมโทรมดานคุณธรรมจริยธรรมของสังคมที่มาจากสาเหตุของการยึดวัตถุมากกวาความดี การแข็งขันเพื่อเอาชนะแทนการร่วมมือ การมองคนอื่นเป็นคู่แข่งมากกว่าเป็นพันธมิตร การศึกษาน่าจะให้ทางออกที่ดีต่อปัญหาดังกล่าว และผู้นำด้านการศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาน่าจะเป็นความหวังของการเป็นแบบอย่างที่ดีด้านจริยธรรมต่อครู นักเรียน และบุคคลอื่นในสังคมเพราะผู้บริหารเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและทิศทางของหน่วยงาน ควรจะมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในการบริหารงาน อีกทั้งยังต้องมีความสัมพันธ์กับบุคลากรในองค์การประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ผู้สอนในรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา จะต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับนักศึกษา มีทัศนคติที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นกระบวนการซึมทราบทางจริยธรรม (moral internalization) มี 3 กระบวนการที่เป็นอิสระจากกัน คือ 1.ความคิดทางจริยธรรม (moral thought) 2.ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral feeling) และ 3.พฤติกรรมทางจริยธรรม (moral behavior) (Hoffman ,1979) ในการนำไปใช้ตามแบบแผนพฤติกรรมที่คุรุสภากำหนด1.ความคิดทางจริยธรรม (moral thought)– การปรับทัศนคตินักศึกษาก่อนการเรียนรู้ ของอาจารย์ผู้สอน นอกจากหลักการแนวคิด ทฤษฎีในศาสตร์ความรู้ทางสาขาการบริหารการศึกษาแล้ว2.ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral feeling)– ศิลปะ ที่จะนำมาใช้การส่งเสริมการสอนนั้น ต้องส่งเสริมการมีอุดมการณ์ของการเป็นผู้นำหรือการสู่การเป็นผู้บริหารการศึกษาที่มีวินัย การวางแผน การจัดระบบ แบบแผน ความมุ่งมั่น อดทน การยึดหลักคุณธรรมและเมตตาธรรม ในการปฏิบัติตน(ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม)ก่อน และไปถึงบริหารงาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเปนที่ประจักษ์ และรวมถึง ความฉลาดทางอารมณ์3.พฤติกรรมทางจริยธรรม (moral behavior)– กิจกรรมเสริมทักษะเชิงปฏิบัติการด้านคุณธรรม จริยธรรม สู่การเป็นต้นแบบของภาวะผู้นำ การเพิ่มสมรรถนะ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเป็นผู้นำทางวิชาการ ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนควรมีปลูกฝัง การมีวินัย มีรูปแบบวิธีคิด (Mental Models)การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)สามารถสนองตอบต่อการแข่งขัน และ ทันสมัยเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก การประยุกต์หรือบูรณาการ การทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายต้องวางแผนและใช้กระบวนการ PDCA ในด้านการจัดดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน ของหลักสูตรนี้จึงดำเนินไปด้วยดีและสามารถได้ แนวทางสู่การปฏิบัติ และการนำไปปฏิบัติได้จริง    การดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ดังนี้เริ่มต้นจาก Plan1.การวางแผน (Plan) แนวทางปฏิบัติที่ดี(Best Practice)เตรียมการสอน 1.1 การเขียน มคอ 31.2. เตรียมเอกสารประกอบการสอน1.3 จัดทำประมวลการสอน /แผนการเรียนการสอน/สื่อการสอน และแหล่งค้นคว้าต่างๆ ให้สอดคล้องต่อบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก1.4 เตรียมกิจกรรมเชิงทักษะเพื่อส่งเสริมประสบการณ์จริง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   วิธีการดำเนินงาน การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง โดยวิธีการสอนในรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา จะใช้วิธีการสอนแบบผสมผสานดังนี้ 1. ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ (coach) หรือ โค้ช ที่เรียกว่า รูปแบบโค้ช “3Es” ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้การโค้ชของผู้สอนประสบความสำเร็จได้ ในการสร้างความยึดมั่นผูกพัน (Engage) การเสริมพลังการเรียนรู้ (Empower) และการสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ (Enliven)ผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษา (consultant)ถือได้ว่าเป็นวิธีการส่งเสริมและให้นักศึกษา ได้มีการสะท้อนคิด (Reflect)2. การสอนแบบอภิปราย: ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เชิงท้าทายในประเด็นต่างๆ3. การสอนแบบ Active Learning: มุ่งพัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ของจากกิจกรรมต่างในระหว่างการสอน ลงมือปฏิบัติจริงให้เกิดทักษะ มีการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์4. การสอนfacilitator): ผู้เป็นผู้อำนวยความสะดวก ในกิจกรรมต่างๆ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        DO2. การปฏิบัติ (Do) แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) การสอน    2.1 กิจกรรมเชิงปฏิบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมนักศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในเชิงประจักษ์    2.2 การคัดเลือกผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็น Best Practice ที่มีศิลปะในการบริหาร มาเป็นต้นแบบที่ดีในพฤติกรรมทางจริยธรรม    2.3 การบูรณาการ ด้านความคิด ประสบการณ์ และสาเหตุพฤติกรรมทางจริยธรรม    2.4 การกระตุ้นปัญญาทางความคิด ให้นักศึกษาในการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และในกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ทางการบริหารการศึกษา 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่        3. การตรวจสอบและติดตามผล(Check) แนวทางปฏิบัติที่ดี(Best Practice) มาตรฐานการสอน3.1 การบริหารจัดการประเมินหลังการสอน โดย การวิเคราะห์จากประสบการณ์ จากกิจกรรม (ลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ผู้บริหารในระดับนโยบาย และผู้บริหารในสถานศึกษา)และองค์ความรู้ต่างๆ จากการเรียนทั้ง5 Mudule ให้นักศึกษาอภิปรายร่วมและวิเคราะห์ เพื่อสู่แนวทางปฎิบัติ3.2 ผู้สอนประเมินและติดตามผล ด้วยวิธีการประเมินที่กำหนดอย่างเหมาะสม มีการประเมินการสอนโดย 3 ระยะ คือ ทดสอบความรู้ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน (โดยการเขียน Refection thinking) เพื่อเป็นการสะท้อนคิด จากการเรียน3.3 ด้านนักศึกษา ติดตามและประเมินผลด้านความรู้ จากการวิเคราะห์ สามารถนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ ได้3.4 การเขียนข้อสอบเชิงวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice        Act4. การปรับปรุงพัฒนา (Act) แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ประเมินผล   4.1 นำผลการประเมินการเรียนการสอน กิจกรรม นำมาปรับปรุง เพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรม   4.2 ด้านอาจารย์ นำผลการประเมินการเรียนการสอนกิจกรรม/ โครงการที่เกี่ยวข้อง มาประชุมหารือเพื่อปรับปรุงร่วมกันระหว่างอาจารย์ ในคณะกรรมการหลักสูตรระดับคณะ   4.3 ด้านนักศึกษา นำผลการประเมินจากการเรียนการสอน กิจกรรม/ โครงการรวบรวมเป็นข้อมูลย้อนกลับ เพื่อปรับปรุงให้เป็นรูปธรรมการตรวจสอบผลดำเนินการโดยให้ feedback โดยการทวนสอบ1. โดยการคิดวิเคราะห์ จากสถานการณฺฺฺจริง ลงพื้นที่พบผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา2. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในทุกกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน3. วิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับระดับความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดี ต่อความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา4. การนำความรู้ประสบการณ์ ในและนอกชั้นเรียน ไปพัฒนาสู่การปฏิบัติ (จากการวิเคราะห์ กระตุ้นปัญญาทางความคิด)     อุปสรรคปัญหาที่พบคือ การกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเชิงคิดวิเคราะห์ (นักศึกษาบางคนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น จุดนี้อาจารย์ ต้องแสดงบทบาท เป็นcoach ในสร้างความกระตือรือร้นเสริมพลังการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษา   ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา Read More »

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 :KR 1.4.1, KR 1.4.2, KR 1.4.5 อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          ตามหลักการอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานับเป็นหนึ่งในมาตรฐานหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรวมไปถึงมาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีความเป็นมืออาชีพทั้งในทางด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล โดยกำหนดไว้ว่าอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานั้นนอกจากจะต้องเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถเป็นเลิศในการจัดการเรียนและการสอน และมีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไปแล้วนั้น ยังต้องได้รับการพัฒนาทางวิชาการและวิชาชีพ โดยเน้นกระบวนการทำงานและการสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามได้ตามความคาดหมาย         ความสำคัญในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาไม่เพียงแต่เป็นการสนองนโยบายหลักของการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย รวมทั้งกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ.2565-2569 (แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่) แต่ยังเป็นวิธีการประเมินตนเองอย่างเป็นเป็นรูปธรรมในกระบวนการการทำงานว่าได้ทำสิ่งใดบ้าง อย่างไร และได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่         ดังนั้น ประเด็นสำคัญของการพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษานั้นขึ้นอยู่กับการทบทวนวิธีการและและสะท้อนประสบการณ์ในกระบวนการสร้างและรักษามาตรฐานของการทำงานสู่ระดับการยอมรับในความเป็นมืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาตั้งแต่ในระดับสถาบันจนถึงระดับชาติ ซึ่งรวมถึงการสร้างการยอมรับและความน่าเชื่อถือให้กับวิชาชีพ สาขาวิชา รวมไปถึงหลักสูตรที่รับผิดชอบในทุกๆด้าน ตั้งแต่การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานฯและสาขาวิชาชีพ ดังนั้นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนาตเองสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนา ความรู้ ทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : เจ้าของความรู้ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : – วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การพัฒนาตนเองสู่ความเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจในความเป็นตัวตน บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะอาจารย์ผู้สอน การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การทำวิจัย และการบริการวิชาการ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอบถามความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ในหลักสูตรและสาขาวิชา เพื่อสร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศที่ดีในการการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ซึ่งการปฏิบัติภาระหน้าที่และการวางแผนการพัฒนาตนเองให้เข้ากับเกณฑ์ต่างๆนั้นจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป อาทิ การสร้างผลงานด้านการบริหารหลักสูตร ด้าการสอน ด้านการส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา โดยพิจารณาเกณฑ์ต่างๆไปทีละประเด็น จัดลำดับความสำคัญของงาน โดยประยุกต์งานประจำให้เหมาะสมกับเกณฑ์เหล่านั้น และดำเนินงานตามแผนการพัฒนาตนเองที่ได้กำหนดไว้ให้สำเร็จลุล่วง โดยวิธีการดำเนินการสามารถแบ่งงานออกเป็นด้านๆ ดังนี้   1. งานด้านการสอน อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาอาจารย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการออกแบบการสอน การวางแผนการสอน การประเมินผลการสอน ตามเกณฑ์ TQF และจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบและวิธีการสอนที่เหมาะสมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   2. งานด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษา โดยหน้าที่หลักคือการดูแลนักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นทำวิทยานิพนธ์จนเสร็จสิ้นกระบวนการที่นักศึกษาสามารถยื่นจบการศึกษาได้ อาจารย์ต้องวางแผนการทำวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษาในความรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ มีการให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะแนวทาง ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง พร้อมทั้งให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยของนักศึกษา ตลอดจนการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอและการให้ความสำคัญแก่นักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน   3. งานด้านการบริหารหลักสูตร อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องบริหารจัดการ กำกับดูแล ในฐานะผู้อำนวยการหลักสูตร ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยศึกษาเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ให้ชัดเจน รู้แจ้ง ทำความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตร จัดการเรียนการสอน และมาตรฐานการรับรองหลักสูตรปริญญาโททางการบริหารการศึกษาของคุรุสภา   4. งานด้านการบริการทางวิชาการ อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องมีการบริการทางวิชาการ เป็นส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา โดยอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องสละเวลา อุทิศตน สร้างเครือข่ายโดยให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำงานกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกสถาบัน โดยการใช้ความรู้ ความสามารถของตนในการช่วยเหลือ ส่งเสริม และให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตัวอาจารย์เองแล้วนั้น ยังเป็นการสร้างความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานภายในและภายนอกอื่นๆ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถเป็นเลิศในการจัดการเรียนและการสอน มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไปนั้น จะต้องมีผลงานด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการสอน ด้านการส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา ด้วยเหตุผลที่ว่าหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นหลักสูตรที่ต้องพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาการชีพเฉพาะด้านที่ลุ่มลึก โดยมุ่งหวังให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเองจากการศึกษาค้นคว้าวิจัย และสามารถนำองค์ความรู้และผลของการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพ ไปจนถึงการพัฒนาเยาวชน และสร้างความเข้มแข็งให้สังคม และประเทศชาติ โดยผลการดำเนินการสามารถแบ่งงานออกเป็นด้านๆ ดังนี้    1. งานด้านการสอน อาจารย์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการออกแบบการสอน การวางแผนการสอน การประเมินผลการสอน และจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบและวิธีการสอนที่เหมาะสมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยอาจารย์จะต้องกระตุ้นผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่นำไปใช้ได้จริงในการประกอบวิชาชีพ ผลที่ได้คือนักศึกษาทุกคนสามารถวัดผลการประเมินรายวิธิผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป    2. งานด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาอย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในบางกรณีที่นักศึกษามีข้อจำกัดบางประการ ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาชาวจีนที่เข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรจะต้องเรียนและทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งนอกจากจะต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ และคอยชี้แนะ แนะนำการทำวิทยานิพนธ์ที่ต้องเขียนเป็นภาษาไทยให้เป็นไปตามมารตฐานการวิจัยแล้วนั้น อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องคอยให้กำลังใจ กระตุ้น และคอยติดตามนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอไม่ให้ขาดการติดต่อซึ่งส่งผลให้นักศึกษาสามารถสอบผ่านวิทยานิพนธ์ได้ในระดับดีเยี่ยม สามารถนำบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับในระดับ TCI 1 จนได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2565 ทำให้นักศึกาสามารถจบการศึกษาตามกำหนดภายในระยะเวลา 2 ปีการศึกษา   3. งานด้านการบริหารหลักสูตร งานสำคัญของการบริหารหลักสูตรนอกเหนือจากการวางแผนการดำเนินงาน การจัดการดูแลหลักสูตรให้สามารถดำเนินงานไปอย่างราบรื่นแล้วนั้น หน้าที่ที่สำคัญคือการเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้ได้รับการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาจากคุรุสภา ทั้งนี้การได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรปีปรับปรุงปีการศึกษา 2560 และหลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2565 เพื่อให้ได้รับการรับรองอย่างต่อเนื่องถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด โดยการที่หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภาเท่านั้นที่จะทำให้นักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตร สามารถขอรับใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษาได้ เมื่อจบการศึกษาจากหลักสูตร โดยกระบวนการการพัฒนาหลักสูตรทั้งหมดนั้นจะต้องศึกษากฎเกณฑ์ระเบียบและข้อบังคับเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การขอรับรองหลักสูตรเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา ซึ่งปัจจุบันนี้หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาได้รับการรับรองหลักสูตรฯ จากคุรุสภาเป็นรอบที่ 2 เป็นที่เรียบร้อย โดยที่รอบที่ 1 เป็นการรับรองหลักสูตรฉบับปรับปรุงปี 2560 (ครอบคลุมปีการศึกษา 2560 – 2564) และรอบที่ 2 หลักสูตรฉบับปรับปรุงปีการศึกษา 2565 (ครอบคลุมปีการศึกษา 2565 – 2569) นั่นหมายถึงมหาบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา แผน ก ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษาจากคุรุสภา เพื่อไปสอบชิงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตอย่างแน่นอน  4. งานด้านการบริการทางวิชาการ การบริการทางวิชาการเป็นการส่งเสริมหรือการให้การสนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องสละเวลา อุทิศตน สร้างเครือข่ายโดยให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำงานกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกสถาบัน โดยการใช้ความรู้ ความสามารถของตนในการช่วยเหลือ ส่งเสริม และให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตัวอาจารย์เองแล้วนั้น ยังเป็นการสร้างความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานภายในและภายนอกอื่นๆ อีกด้วย อาทิ การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (ภาคกลาง) เพื่อร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาทั้งองค์ ความรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาของประเทศไทย การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 ของมหาวิทยาลัยรังสิต การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และการได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินรายการงานรังสิตวิชาการ ในการเสวนาเรื่อง นวัตกรรมการศึกษาของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคปัจจุบัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนผู้ร่วมวิชาชีพให้มีการพัฒนาวิชาชีพและการบริหารงานทางด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาควรจะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมวิชาการ ดังนี้    1. การให้บริการวิชาการในฐานะการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความในวารสารต่างๆ อาทิ การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความของวารสารต่างๆ ในฐาน TCI อาทิ วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (TCI1), วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TCI1), วารสาร ASEAN Journal of Management & Innovation มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด (TCI2), การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สสอท., การนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติและงานบริหารการศึกษาสัมพันธ์ ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย    2. การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาโครงร่างการวิจัยเพื่อในการรับรองจริยธรรมการวิจัย     3. การได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงานทางการศึกษาต่างๆ การตัดสินผลงานของครู เพื่อนำเสนอในงานรังสิตวิชาการ (RSU Academic Expo/Conference) ซึ่งการให้บริการทางวิชาการเหล่านี้นั้นถือเป็นการสร้างความร่วมมือทางวิชาชีพ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถาบันและหน่วยงานอื่นๆ อันก่อให้เกิดเครือข่ายทางวิชาชีพที่เข้มแข็ง การให้บริการวิชาการโดยเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อดําเนินแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และภารกิจตามมาตรา 5 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 โดยการจัดบริการวิชาการ โครงการโรงเรียนสุขภาวะ ตําบลหลักหก จังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ โดยเริ่มต้นพัฒนาจากผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) กับโรงเรียนก่อน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน เป็นใช้องค์ความรู้และความสามารถของอาจารย์ในการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทํางานให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันใน 3 ประเด็นหลักคือ    1) ร่วมสร้างแผนพัฒนาโรงเรียน (School Improvement Plan/ SIP)    2) ร่วมออกแบบกระบวนการทํางานในโรงเรียนให้เกิดความยั่งยืน และ    3) ร่วมเรียนรู้การทํางานเป็นทีมโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community/ PLC) ซึ่งการร่วมมือกันดังกล่าวนี้จะช่วยใหกลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากการรอรับนโยบาย และการสั่งการเป็นการมีส่วนร่วมรับผิดชอบการบริหารจัดการด้วยตัวเองมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนตามสภาพจริง ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะพัฒนาสุขภาวะของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ตําบลหลักหก เพื่อพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ให้เป็นโรงเรียนสุขภาวะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนในพื้นที่ตําบลหลักหก อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการที่สถาบันอุดมศึกษาจะเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ตลอดจนการให้คำแนะนำ ปรึกษา และชี้แนะผู้บริหารสถานศึกษาให้การบริหารสถานศึกษาได้อย่างราบรื่นและมีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติอีกด้วย 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    สรุปประเด็นสำคัญที่ได้ ดังนี้คือ 1. อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพ มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ และมีการพัฒนาตนเองทางวิชาการและวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ2. อาจารย์มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป3. อาจารย์มีเครือข่ายความร่วมมือในสาขาวิชาชีพ4. อาจารย์มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิและมีผลงานเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินผลประจำปีของมหาวิทยาลัย 5. อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการกำกับดูแลช่วยเหลือนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ6. อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการกำกับดูแลช่วยเหลือสังคมวิชาการ7. อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการทำโครงการช่วยเหลือครูในชุมชนและพัฒนาสังคมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีคุณภาพในการทำงานได้ดีขึ้น8. การได้รับรางวัลนักบริหารการศึกษาดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ประเภทอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           การเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ค่อยๆ สั่งสม และปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ต้องอาศัยเวลา กำลังกาย กำลังใจ และความอดทน และความเชื่อมั่นว่าอาจารย์ทุกคนจะเป็นอาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษาที่ประสบความสำเร็จได้หากมีความมุ่งมัน ตั้งใจ ขยัน อดทน และอุทิศตน

อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา Read More »

Scroll to Top