KR 2.1.2

การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.2 การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media ผู้จัดทำโครงการ​ ศ.ดร.สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ​ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          1) ตีกรอบวิจัยที่สามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพและน่าสนใจ การสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและน่าสนใจจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานของนักวิจัยได้รับการอ้างอิงมากขึ้น โดยในการตีกรอบวิจัยนั้น ควรเลือกหัวข้อวิจัยที่เป็นปัญหาที่สำคัญ หรือปัญหาใหญ่ซึ่งมีนักวิจัยสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหากเลือกทำงานวิจัยที่เป็นปัญหาเฉพาะขนาดเล็กจำนวน Citation ก็น้อยตาม และงานวิจัยที่เลือกทำนั้นได้มีการศึกษาหรือวิจัยมาบ้างแล้ว ตามความเชี่ยวชาญและยังมีช่องว่างในการวิจัยอยู่ ทั้งนี้ควรตระหนักว่าการสร้างผลงานที่น่าสนใจและมีคุณภาพสูงสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น         2) ส่งผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor สูง การเลือกตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่มี Impact Factor (IF) สูงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานวิจัยนั้น ๆ ได้รับการอ้างอิงมากขึ้น โดย Impact Factor เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของวารสารว่ามีผู้อ่านและผู้ใช้งานมากน้อยเพียงใด การส่งผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor สูงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานนั้นได้รับการอ้างอิงมากขึ้น เนื่องจากค่า Impact Factor ของวารสารวิชาการนั้นคำนวณมากจากจำนวนครั้งของการ Citation ใน 1 ปี หารด้วยจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในปีนั้น ๆ         3) แชร์ผลงานของคุณ การแชร์ผลงานวิจัยในสื่อสังคมออนไลน์หรือเว็บไซต์ช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น เช่น ResearchGate, LinkedIn, Twitter หรือ Facebook เป็นต้น ซึ่งทางคณะ วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ควรเข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ข้อควรระวัง คือ ระวังเรื่อง License ของงานวิจัยที่จะแชร์ ควรจะแชร์แค่ link และรายละเอียดของงานวิจัย แต่ไม่ควรแชร์รูป หรือแนบบทความทั้งฉบับ เนื่องด้วยอาจติดลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์        4) การนำเสนอในงานประชุมวิชาการ การนำเสนอในงานประชุมวิชาการช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น โดยช่วยให้ผู้ที่เข้าร่วมงานประชุมวิชาการเห็นความสำคัญและคุณค่าของผลงานวิจัยที่ทำ และการนำไปสู่การอ้างอิงผลงานเมื่อเกิดการเผยแพร่ในภายหลัง        5) เข้าร่วมกลุ่มวิจัยและโครงการวิจัย การเข้าร่วมกลุ่มวิจัยและโครงการวิจัยช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น โดยการเข้าร่วมกลุ่มวิจัยและโครงการวิจัยนั้นจะช่วยให้ผู้วิจัยได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานวิจัยร่วมกับผู้อื่น และมีโอกาสเข้าถึงผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงของผลงานของผู้วิจัยได้        6) ใช้คำสำคัญ (Keywords) และชื่อบทความที่ถูกต้องในผลงาน การใช้คำสำคัญและชื่อบทความที่ถูกต้องในผลงานวิจัย จะช่วยให้ผู้ค้นหาสามารถหาผลงานของผู้วิจัยง่ายขึ้น นอกจากนี้การใช้คำสำคัญที่เหมาะสมในผลงานของผู้วิจัยยังสามารถช่วยให้ผลงานของผู้วิจัยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงของผลงานของผู้วิจัยได้        7) สร้างเครือข่าย (Networking) กับนักวิจัยอื่น การสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยอื่นช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น โดยในการสร้างเครือข่ายนั้น ผู้วิจัยสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่น และมีโอกาสเข้าถึงผลงานวิจัย เช่น การเชิญ speaker จากสถาบันอื่น มาแลกเปลี่ยนความรู้        8) การเขียนบทความปริทัศน์ การเขียนบทความปริทัศน์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่นักวิจัยสามารถใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงและเพิ่ม h index ของตนเองได้ โดยควรทำการเลือกหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการในวงการวิชาการ เพื่อให้มีผู้อ่านและผู้ใช้งานมากขึ้น นอกจากนี้ ยังควรเลือกวิธีการสร้างโครงสร้างบทความปริทัศน์เหมาะสมและช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยของผู้วิจัยอย่างเต็มที่ แต่ข้อจำกัดของการเขียนบทความปริทัศน์ คือ ผู้วิจัยจะต้องมีชื่อเสียงในวงการวิจัยในระดับหนึ่งจึงจะถูกเชิญให้เขียนบทความปริทัศน์ และบทความปริทัศน์ยังไม่สามารถนำไปใช้ในการขอตำแหน่งวิชาการในสายวิทยาศาสตร์อีกด้วย        9) การอ้างอิงบทความของตนเอง (Self-citation) การอ้างอิงผลงานตนเองหรือ Self-citation เป็นเรื่องที่มีข้อดีและข้อเสียเหมือนกับการอ้างอิงผลงานของผู้อื่น โดยข้อดีของ Self-citation คือช่วยเพิ่ม Citation และ h-index ของนักวิจัยเอง และช่วยสร้างความรู้สึกว่าผลงานของผู้วิจัยมีความสำคัญและมีผลกระทบในงานวิจัยที่ผู้วิจัยทำ อย่างไรก็ตามการ Self-citation นั้นไม่ควรเกิน 20% โดยอ้างอิงจาก https://clarivate.com/webofsciencegroup/essays/journal-self-citation-jcr/ อีกทั้งต้องเป็นการอ้างอิงที่ถูกต้องและมีความเหมาะสมโดยควรใช้ Self-citation เพียงแต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น เป็นผลงานที่สอดคล้องกับผลงานที่ผู้วิจัยต้องการตีพิมพ์ หรือเป็นผลงานที่มีความสัมพันธ์กับงานวิจัยเก่าของผู้วิจัย โดยการ Self-citation นั้นต้องมีเหตุผลและเป็นไปตามแนวทางวิชาการของวงการนั้น ๆ โดยเป็นงานวิจัยที่ทำต่อเนื่องกันมาเป็นชุด ๆ ห้ามอ้างอิงผลงานตนเองในบทความวิชาการที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นอันขาด ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากการสั่งสมประสบการณ์ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การดำเนินการโดยนำองค์ความรู้ตามที่กล่าวข้างต้นมาใช้โดยได้เลือกตีพิมพ์เฉพาะกับ Publisher ที่มีความน่าเชื่อถือและมีค่า Impact Factor สูง หลังจากตีพิมพ์ได้ลงรายละเอียดใน Social Media Platform ต่าง ๆ ของผู้วิจัย พบว่าได้ผลค่อนข้างดี มีผู้ตามไปอ่านบทความที่ตีพิมพ์มากขึ้น จำนวน citation มากขึ้น ได้รับคำเชิญให้เขียนบทความปริทัศน์จากสำนักพิพม์ต่าง ๆ และไปร่วมงานประชุมวิชาการในระดับนานาชาติที่เป็นการประชุมสำคัญของวงการวิจัยหลายครั้ง ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในหลายงานประชุมวิชาการ โดยทุกครั้งที่ตีพิมพ์ระมัดระวังไม่ให้ Self-citation เกิน 20% และตรวจเช็คบ่อยๆใน Scopus, Google Scholar ว่างานวิจัยด้านที่ผู้วิจัยทำนั้นยังเป็นงานวิจัยหลักที่มีผู้สนใจอยู่หรือไม่ มีการนำองค์ความรู้ข้ามสาขามาใช้เพิ่มเติมเพื่อให้องค์ความรู้ใหม่และน่าสนใจอยู่เสมอ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        จำนวน Citation 893 ครั้ง และ h-index เท่ากับ 15 โดยในปี 2565 มีจำนวน Citation 176 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นตามที่ต้องการทุกปีเมื่อดำเนินงานตามขั้นตอนที่ชี้แจงไว้โดยละเอียด  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่          ได้ตรวจสอบผลของการดำเนินการตามขั้นตอนมาเป็นเวลา 5 ปี พบว่าการเพิ่มขึ้นของ citation เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         แม้ว่าการดำเนินการตามแผนที่กล่าวมานี้ทำให้จำนวน Citation และ h-index เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่แนวโน้มของงานวิจัยที่เลือกทำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนอยู่เสมอให้ทันต่อประเด็นที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน กล่าวคือต้องตามกระแสของโลกให้ทัน โดยดูจากจำนวน Citation ต่อปีของตนว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอัตราอย่างไร ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย Read More »

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.3.7, KR 2.1.1, KR 2.1.2, KR 2.1.3, KR 2.1.4,KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.3, KR 2.5.1, KR 2.5.4 การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง ผู้จัดทำโครงการ​ 1) อ.ทพ. ณัฐวุฒิ ศุภชวโรจน 2) อ.ทพ. สิรวิชฐ์ เลิศชาตรีพงษ์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ผู้จัดทำโครงการ​​ 1) ผศ.ทญ.ดร. อุมาพร วิมลกิตติพงศ์ 2) ผศ.ทญ.จิรัฏฐ์ ศรีหัตถจาติ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           – ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : –ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : – วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การทำวิจัยจะทำงานร่วมกันเป็นทีม 2 คน โดยจะมีการแบ่งภาระงานกันชัดเจน เพราะถ้าทำวิจัยคนเดียวอาจทำให้ไม่สามารถส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ต่อเนื่องได้   – มีการสลับกันเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยผู้ร่วมวิจัยจะคอยช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษา ทำให้แบ่งเบา และดูแลทีมงานวิจัยได้อย่างทั่วถึง    – มีการวางโครงการวิจัยที่เหมาะสม และเป็นไปได้ โดยจะพิจารณาศักยภาพของทีมวิจัย เพื่อสร้างกรอบเป้าหมาย หัวข้อ ให้เหมาะสม และมีการดูแลความสัมพันธ์ในทีม เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย   – พิจารณาวารสารที่สนใจตีพิมพ์ตั้งแต่ต้น เพื่อให้มีเนื้อหา และรูปแบบงานวิจัยที่สอดคล้อง เพิ่มโอกาสในการได้รับการตีพิมพ์   – มีการแบ่งงานในทีมวิจัย โดยเฉพาะนักศึกษา โดยนักศึกษาโดยจะเป็นกำลังสำคัญในการที่จะช่วยดำเนินการทดลอง และทำให้เกิดผลขึ้นมา แต่ส่วนหลักของงานวิจัยเช่น การสรุปผลหรือการอภิปรายผล ทีมอาจารย์จะเป็นแกนหลัก 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    เนื่องจากนักศึกษาที่ร่วมทำการวิจัยเป็นชั้นปีที่เริ่มทำคลินิก มีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่าง ไม่ได้ทำวิจัยเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถทุ่มเทได้อย่างเต็มที่     อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ เป็นเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีอยู่ในมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องทำเรื่องขอใช้อุปกรณ์ ของสถาบัน ต้องวางแผนเพื่อจะให้นักศึกษาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและเสียเวลาที่จะใช้ในคลินิกของตัวเองที่จะต้องทำงานอยู่แล้วให้น้อยที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญ    การระบุปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งสำคัญ โดยทำให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนการวิจัย เพื่อให้แผนงานวิจัย ดำเนินได้เนื่อง และสำเร็จลุล่วงได้ 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    การพิจารณาผลงานที่ได้ และมีการปรึกษากันในทีม เพื่อต่อยอดในการเผยแพร่ผลงาน หรือส่งแข่งขันประกวดทั้งในงานวิจัย และนวัตกรรมในระดับอุดมศึกษา โดยจะพิจารณาถึงความตั้งใจของนักศึกษาร่วมด้วย จะมีการกระตุ้นทีมให้นำเสนอผลงานที่ตั้งใจทำ โดยในหลาย ๆ ครั้งพบว่า นักศึกษามีศักยภาพที่จะทำ และสามารถทำได้อย่างดี โดยทั้งนี้ความสัมพันธ์และทัศนคติที่ดี เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้มีความภูมิใจในผลงาน และพร้อมที่จะนำเสนอผลงาน เพื่อสร้างชื่อเสียงต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         – ควรพิจารณาการจัดสรรเวลาที่ชัดเจน โดยหากสามารถจัดช่วงเวลาของงานวิจัยอยู่ในช่วงที่นักศึกษาไม่ได้มีภาระหนักมาก สามารถให้ความสำคัญกับงานวิจัยได้เต็มที่ น่าจะทำให้ได้ผลงานตามที่ตั้งเป้าไว้        – การสนับสนุนด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะช่วยอำนวยความสะดวก และลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงต้นทุนการวิจัยที่จะลดลงอย่างมาก        – การมีสถาบันร่วมวิจัยที่เป็นทางการ อาจจะช่วยเพิ่มช่องทาง ในการติดต่อ หรือเพิ่มศักยภาพของงานวิจัยได้มากขึ้น 

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง Read More »

Scroll to Top