KR 2.2.2

ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.3.1 ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล คณะดิจิทัลอาร์ต หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเทคโนโลยี ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีการติดต่อเชื่อมโยงกันมากขึ้น เรียกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วชนิดทวีคูณจนยากจะคาดการณ์ได้ว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น การศึกษาในยุคนี้จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ ไม่ใช่เพียงแค่ชั่วคราวหากแต่ต้องมีการดำเนินการให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ดังเช่น วิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 อันส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของทุกสถาบันการศึกษาทั่วโลกจนต้องทำให้มีการปรับตัวคือ ได้มีการนำการเรียนการสอนแบบออนไลน์เข้ามาใช้อย่างจริงจัง สถานศึกษาหลายแห่งแม้ยังไม่เคยใช้ต่างพยามดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบทั้งห้องเรียนการศึกษาทั่วไปและห้องเรียนการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนด้านศิลปะส่วนใหญ่ส่งเสริมเป็นการสอนสำหรับเด็กปกติ ขณะที่เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากยังขาดสื่อการเรียนรู้ด้านศิลปะ จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว การออกแบบสื่อการสอนออนไลน์และการผลิตสื่อการสอนแอนิเมชันเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส จึงนับเป็นการส่งเสริมให้ประชากรทุกคนควรได้รับการสนับสนุนทางการศึกษา “การศึกษาไทย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (ครูกัลยา. ๒๕๖๓)        ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพหลายครั้ง แต่ยังมีสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาต่อไปคือ การเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นให้ได้ผลดังที่ควรจะเป็น เพราะทุกความสำเร็จจะเกิดผลได้หากมีพื้นฐานที่ชำนาญมั่นคง การศึกษาในยุคนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นร่วมกันว่า ต้องสามารถสร้างและพัฒนาคนให้มีทักษะหลายด้าน มีความพร้อมที่จะเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีปกติสุข        “เป้าหมายการศึกษาควรกว้างกว่าเพื่อการทำมาหากิน” การศึกษามักจะเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ทักษะทำงานหาเงินมาบริโภค การจัดการศึกษาซึ่งเป็นการลงทุนพัฒนาคนที่สำคัญที่สุด ควรมีเป้าพัฒนาพลเมืองให้ฉลาดทางปัญญา ทางอารมณ์ และสังคม เป็นทั้งคนมีความสุข ความพอใจ และเป็นพลเมืองที่ดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ใช่มีเป้าแคบๆ แค่ให้เก่งในแง่ทำงานที่ประสบความสำเร็จมาก มีรายได้สูง แต่อาจเป็นคนเห็นแก่ตัวมากกว่าส่วนรวม ไม่มีความสุข ความพอใจอย่างแท้จริง และไม่ได้ช่วยสร้างให้สังคมดีขึ้นด้วย (รศ.วิทยากร เชียงกูร. ๒๕๖๒. กรุงเทพธุรกิจ.)  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : โครงการวิจัยความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   1. เสนอรับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ   2. เสนอแผน/กิจกรรมการทำงาน ส่วนงานผลิตสื่อการสอนศิลปะ สื่อเเอนิเมชันเสริมทักษะศิลปะ สื่อเสมือนจริง    3. จัดกิจกรรมภาคสนามด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล/สื่อเสมือนจริงในรูปชุดแบบเรียนวาดระบายสี AR Painting กลุ่มเป้าหมายโรงเรียนที่มีห้องเรียนการศึกษาพิเศษจำนวน 10 แห่ง   4. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ RSU Cyber    5. ดำเนินงานผ่านสถาบันวิจัย มรส.   2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    การดำเนินการ / การนำไปใช้– จัดทำสื่อการสอนศิลปะ สื่อแอนิเมชัน ชุดแบบเรียนวาดระบายสีสื่อเสมือนจริง พร้อมแอปพลิเคชัน– จัดส่งมอบครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ให้สถานศึกษาจำนวน 10 แห่ง– จัดกิจกรรมภาคสนาม การสอนศิลปะสำหรับเด็กพิเศษ อุปสรรตและปัญหาในการทำงาน    1. ระยะเวลาในการดำเนินงานยังคงเป็นช่วงที่สถานการณ์ระบาดโควิด-19 ยังมีความรุนแรง หน่วยงานในมรส.ส่วนใหญ่ปิดทำการ ทำให้การติดต่อ เกี่ยวกับเอกสาร การเบิกจ่ายมีความล่าช้า    2. คณะทำงานบางท่านตรวจพบการติดเชื้อโควิด-19 ต้องเข้ารับการรักษาตัวทำให้การดำเนินงานส่วนผลิตสื่อแอนิเมชันเกิดความล่าช้า และต้องแก้ไขหลายครั้ง    3. เนื่องจากเป็นช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 การติดต่อโรงเรียนในกลุ่มเป้าหมายเป็นไปด้วยความลำบาก และไม่สามารถจัดกิจกรรมภาคสนามตามกรอบระยะเวลาเดิมได้ ทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาใหม่    4. เนื่องจากเป็นทุนวิจัยแรกของมรส. ที่ได้รับจากแหล่งทุนนี้ ซึ่งมีข้อระเบียบปฏิบัติไม่เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น การเบิกจ่าย แหล่งทุนโอนเงินเข้าบัญชีโครงการ และต้องการให้ มรส.ออกใบเสร็จรับเงิน ซึ่งมรส.ไม่สามารถออกใบเสร็จได้เนื่องจากเงินไม่ได้โอนเข้าบัญชีของมรส. ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันวิจัยและสำนักงานฝ่ายการเงิน ให้เจ้าของโครงการโอนเงินเข้าบัญชีมรส.เพื่อให้มรส.ออกใบเสร็จ และมรส.จะดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้ทางโครงการ (ซึ่งมีความล่าช้ามาก และตรงกับช่วงที่มรส.ปิดทำการ) 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    1. การจัดการเรียนการสอนศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอาร์ต สื่อเสมือนจริงไปช่วยจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษในระดับชั้นประถมศึกษา    2. ผลงานสื่อการสอนของโครงการได้รับการตอบรับในระดับดีมากจากกลุ่มเป้าหมาย     3. ประสบการณ์การดำเนินการติดต่อ/การนำเสนองานด้านการศึกษาพิเศษ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice            1. งานวิจัยที่สนับสนุนด้านการศึกษาพิเศษยังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับการศึกษาทั่วไป         2. จุดเด่นของโครงการคือเน้นไปใช้จริงในห้องเรียนการศึกษาพิเศษ          3. ได้รับผลสัมฤทธิ์เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้          4. ได้รับคำชมเชยจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากแหล่งทุน ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

ทุนวิจัยภายนอกสายศิลปะ Read More »

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.3.7, KR 2.1.1, KR 2.1.2, KR 2.1.3, KR 2.1.4,KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.3, KR 2.5.1, KR 2.5.4 การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง ผู้จัดทำโครงการ​ 1) อ.ทพ. ณัฐวุฒิ ศุภชวโรจน 2) อ.ทพ. สิรวิชฐ์ เลิศชาตรีพงษ์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ผู้จัดทำโครงการ​​ 1) ผศ.ทญ.ดร. อุมาพร วิมลกิตติพงศ์ 2) ผศ.ทญ.จิรัฏฐ์ ศรีหัตถจาติ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           – ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : –ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : – วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การทำวิจัยจะทำงานร่วมกันเป็นทีม 2 คน โดยจะมีการแบ่งภาระงานกันชัดเจน เพราะถ้าทำวิจัยคนเดียวอาจทำให้ไม่สามารถส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ต่อเนื่องได้   – มีการสลับกันเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยผู้ร่วมวิจัยจะคอยช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษา ทำให้แบ่งเบา และดูแลทีมงานวิจัยได้อย่างทั่วถึง    – มีการวางโครงการวิจัยที่เหมาะสม และเป็นไปได้ โดยจะพิจารณาศักยภาพของทีมวิจัย เพื่อสร้างกรอบเป้าหมาย หัวข้อ ให้เหมาะสม และมีการดูแลความสัมพันธ์ในทีม เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย   – พิจารณาวารสารที่สนใจตีพิมพ์ตั้งแต่ต้น เพื่อให้มีเนื้อหา และรูปแบบงานวิจัยที่สอดคล้อง เพิ่มโอกาสในการได้รับการตีพิมพ์   – มีการแบ่งงานในทีมวิจัย โดยเฉพาะนักศึกษา โดยนักศึกษาโดยจะเป็นกำลังสำคัญในการที่จะช่วยดำเนินการทดลอง และทำให้เกิดผลขึ้นมา แต่ส่วนหลักของงานวิจัยเช่น การสรุปผลหรือการอภิปรายผล ทีมอาจารย์จะเป็นแกนหลัก 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    เนื่องจากนักศึกษาที่ร่วมทำการวิจัยเป็นชั้นปีที่เริ่มทำคลินิก มีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่าง ไม่ได้ทำวิจัยเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถทุ่มเทได้อย่างเต็มที่     อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ เป็นเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีอยู่ในมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องทำเรื่องขอใช้อุปกรณ์ ของสถาบัน ต้องวางแผนเพื่อจะให้นักศึกษาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและเสียเวลาที่จะใช้ในคลินิกของตัวเองที่จะต้องทำงานอยู่แล้วให้น้อยที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญ    การระบุปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งสำคัญ โดยทำให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนการวิจัย เพื่อให้แผนงานวิจัย ดำเนินได้เนื่อง และสำเร็จลุล่วงได้ 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    การพิจารณาผลงานที่ได้ และมีการปรึกษากันในทีม เพื่อต่อยอดในการเผยแพร่ผลงาน หรือส่งแข่งขันประกวดทั้งในงานวิจัย และนวัตกรรมในระดับอุดมศึกษา โดยจะพิจารณาถึงความตั้งใจของนักศึกษาร่วมด้วย จะมีการกระตุ้นทีมให้นำเสนอผลงานที่ตั้งใจทำ โดยในหลาย ๆ ครั้งพบว่า นักศึกษามีศักยภาพที่จะทำ และสามารถทำได้อย่างดี โดยทั้งนี้ความสัมพันธ์และทัศนคติที่ดี เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้มีความภูมิใจในผลงาน และพร้อมที่จะนำเสนอผลงาน เพื่อสร้างชื่อเสียงต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         – ควรพิจารณาการจัดสรรเวลาที่ชัดเจน โดยหากสามารถจัดช่วงเวลาของงานวิจัยอยู่ในช่วงที่นักศึกษาไม่ได้มีภาระหนักมาก สามารถให้ความสำคัญกับงานวิจัยได้เต็มที่ น่าจะทำให้ได้ผลงานตามที่ตั้งเป้าไว้        – การสนับสนุนด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะช่วยอำนวยความสะดวก และลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงต้นทุนการวิจัยที่จะลดลงอย่างมาก        – การมีสถาบันร่วมวิจัยที่เป็นทางการ อาจจะช่วยเพิ่มช่องทาง ในการติดต่อ หรือเพิ่มศักยภาพของงานวิจัยได้มากขึ้น 

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง Read More »

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept”

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.2, KR 2.5.2 เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : โครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ผู้จัดทำโครงการ​ อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุล วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​         หลายปีมานี้ยานพาหนะไฟฟ้ากำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในประเทศไทยหรือในตลาดโลก เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพาหนะทุกขนาด ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า,รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า, รวมถึงสกูตเตอร์ไฟฟ้า และในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีที่เหนือกว่าเครื่องยนต์สันดาปแบบดั้งเดิมทั้งในแง่ของการลดมลพิษ, ประสิทธิภาพของรถ,การประหยัดค่าใช่จ่ายทั้งในแง่การบำรุงรักษาและการชาร์จเทียบกับการเติมน้ำมัน      เป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่บริษัท Thai Frostech ได้พัฒนาและจำหน่ายสกูตเตอร์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Momen ได้เล็งเห็นการเติบโตของตลาด รวมถึงการเก็บเสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานจริงเพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานในกลุ่มผู้ใช้งาน สกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบยืนสมรรถนะสูง อย่างไรก็ตาม Momen ได้เล็งเห็นตลาดในกลุ่มของสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบนั่ง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มลูกค้าที่ต้องการรถสมรรถนะสูง ทั้งในแง่ของกำลังขับ ระบบความปลอดภัย ระยะทางสูงสุดต่อการชาร์จ รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นโจทย์ใหม่ที่ทาง Momen ต้องการเข้าไป      จากปัจจัยข้างต้น Momen จึงได้นำเสนอโครงการเพื่อขอเสนอรับทุน ยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกำลังดำเนินโครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ซึ่งจะเป็นสกูตเตอร์สมรรถนะสูง ที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่รักกิจกรรม โดยเรามีเป้าหมายที่จะสร้างรถสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบนั่งที่มีระบบขับเคลื่อนดีเยี่ยม มีความปลอดภัย ระยะทางสูงสุดต่อการชาร์จ สามารถถอดชิ้นส่วน เคลื่อนย้ายสะดวกใส่ในรถเก๋งได้ ปัจจุบันโครงการ Momen Mini Bike อยู่ในขั้นตอนการเตรียมผลิตต้นแบบ (Prototype) เพื่อนำไปทดสอบและปรับปรุง ก่อนผลิตและจำหน่ายจริง  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : https://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebaseความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. ศึกษาทุนด้านนวัตกรรม ยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม         1.1 ตรวจสอบคุณสมบัติ : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข้าเงื่อนไขและคุณสมบัติตามที่กำหนดในการสมัครโปรแกรม Prove of Concept” (POC) ดังกล่าวข้างต้น        1.2 พิจารณาผลงานปัจจุบันว่ามีความคล้องกับเงื่อนไขทุน และเจตนารมณ์ของโครงการหรือไม่ ซึ่ง Momen Mini Bike มีความสอดคล้องและเข้าเกณฑ์เพื่อรับทุนจากกองทุน TED FUND ในหลายด้าน ดังนี้ :              1)  “Prove of Concept (POC)”: Momen Mini Bike เป็นต้นแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาและนำไปสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับความต้องการของ TED FUND ในการสนับสนุน POC โครงการ            2) นวัตกรรมและเทคโนโลยี: Momen Mini Bike ใช้วัสดุอลูมิเนียม 7075, ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ, แบตเตอรี่ลิเธียม NMC, และระบบกล่องคอนโทรล Signwave ซึ่งเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอด            3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม: Momen Mini Bike ช่วยลดการใช้พลังงานทดแทน ลดมลพิษที่เกิดจากการขับขี่ และส่งเสริมการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมขนส่งที่สะอาด เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ รวมถึงส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม    2. เตรียมนำเสนอผลงาน        2.1 ทบทวนข้อมูลและเอกสาร: ตรวจสอบและทบทวนข้อมูลและเอกสารที่คุณมีอยู่ให้ครบถ้วนและถูกต้อง เช่น แผนธุรกิจ, แผนงานวิจัยและพัฒนา, ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง        2.2 จัดเตรียมสไลด์นำเสนอ: สร้างสไลด์นำเสนอ (PowerPoint หรือเครื่องมือนำเสนออื่น ๆ) เพื่อสื่อสารข้อมูลที่สำคัญในแต่ละด้านของโครงการ ให้เน้นความกระชับ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ        2.3 เนื้อหาสำคัญในการนำเสนอ :               • แนะนำทีมงานและความสามารถ: แสดงความสามารถของทีมงาน ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความกระตือรือร้นในการทำงาน             • อธิบายปัญหาที่โครงการต้องการแก้ไข: ชี้แจงปัญหาและความต้องการของตลาด และวิธีที่ Momen Mini Bike สามารถตอบสนองความต้องการนี้             • นำเสนอแนวความคิดของโครงการ: อธิบายวิธีการทำงานของ Momen Mini Bike และประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้             • แสดงผลการวิจัยและพัฒนา: นำเสนอผลของการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง  2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    2.1  อธิบายปัญหาอยางชัดเจน           ในกรณีของ Momen Mini Bike นั้นกำหนดปัญหาของสกูตเตอร์ในปัจจุบันไว้คือ         – Performance ประสิทธิภาพ เช่น ระบบขับเคลื่อน high performance มีน้อย, high end มีน้อย         – Design and Manufacturing การออกแบบและงานประกอบ         – Mobility การพกพาลำบาก         – ใช้ระยะเวลานานในการชาร์จไฟ         – ระยะทางในการขับขี่น้อย ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง (distance per charge)     2.2 นำเสนอแนวความคิดของโครงการเพื่อแก้ปัญหา           1. Performance : พิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับเคลื่อนและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาสกูตเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงและตรงกับความต้องการของผู้ใช้           2. Design and Manufacturing : ปรับปรุงการออกแบบและกระบวนการผลิตให้มีความเป็นระบบ ควบคุมคุณภาพสูง และให้สามารถประกอบและผลิตได้อย่างรวดเร็วและประหยัด           3. Mobility : พิจารณาการออกแบบให้สามารถพกพาได้ง่ายขึ้น อาจจะมีการใช้วัสดุที่น้ำหนักเบาและมีความแข็งแรง รวมถึงการออกแบบที่สามารถปรับขนาดหรือพับเก็บได้           4. การชาร์จไฟ : พิจารณาการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือนำเสนอวิธีการชาร์จที่เร็วขึ้น เช่น ใช้แหล่งจ่ายพลังงานที่มีความเร็วในการชาร์จเพิ่มขึ้น หรือวิธีการชาร์จแบบใหม่ที่สะดวกสบายและปลอดภัยขึ้น           5. ระยะทางขับขี่ต่อการชาร์จ : พิจารณาการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีความจุมากขึ้น เพื่อให้สามารถขับขี่ได้ระยะทางที่มากขึ้นต่อการชาร์จ 1 ครั้ง2.3 แสดงผลการวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน     ในการนำเสนอโครงการในรอบ POC ผู้นำเสนอควรมีตัวอย่างงาน ผลการวิจัยและพัฒนา ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อแสดงให้คณะกรรมการเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อ  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    โครงการได้รับคำชื่นชมในการนำเสนอที่โดดเด่น และเจ้าของโครงการมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง Momen Minibike อาจได้รับคำชมเรื่องการออกแบบเนื่องจากหลายปัจจัยดังต่อไปนี้ :    – ดีไซน์ที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์: Momen Mini Bike อาจมีการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร โดดเด่น และน่าสนใจ ทำให้คนสนใจ    – ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม: Momen Mini Bike นำเสนอความคิดใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการออกแบบ ทำให้มีความน่าสนใจและความคิดสร้างสรรค์    – ความสะดวกสบายและประสิทธิภาพ: การออกแบบของ Momen Mini Bike อาจสะท้อนถึงความสะดวกสบายในการขับขี่ ประสิทธิภาพในการใช้งาน และความปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่    – การพิจารณาเชิงตัวอย่างผู้ใช้: การออกแบบของ Momen Mini Bike นำเสนอโซลูชันที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ต่างๆ รวมถึงการพิจารณาเรื่องขนาด น้ำหนัก และรูปร่างของผู้ขับขี่    – การใช้วัสดุและส่วนประกอบที่มีคุณภาพ: การใช้วัสดุคุณภาพสูงและส่วนประกอบที่ทำงานได้ดี อาจทำให้ Momen Mini Bike ดูแล้วมีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ      อย่างไรก็ตามคณะกรรมการพิจารณาทุนได้ให้คำแนะนำ และชูจุดเด่นที่เรามีมากขึ้นได้แก่       – นำ Data ที่ได้จากเซ็นเซอร์ของรถ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น       – กรรมการพิจารณาตัดงบ จึงทำให้ไม่ได้งบเต็มจำนวนตามที่ขอ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice • Momen minibike ได้เพิ่มเติมจุดเด่นจากคำแนะนำของคณะกรรมการ เพื่อเพิ่มจุดเด่นและความแตกต่าง• โดยการเพิ่ม iOS, Android Application เพื่อใช้เช็คสถานะต่างๆของรถ• Testing & Quality Assurance• ระบบความปลอดภัยต่าง ๆ• ขอมาตรฐานอุตสาหกรรมและความปลอดภัย• เพื่อไม่ให้โครงการถูกตัดงบประมาณ ผู้เสนอโครงการควร• วิเคราะห์ความต้องการของโครงการ : สำรวจความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาและส่งเสริมโครงการ Momen Mini Bike ให้สำเร็จลุล่วง• วางแผนงบประมาณและต้นทุน : หาค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ โดยคำนึงถึงต้นทุนวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการทดสอบ การตลาด และการดำเนินงานอื่นๆ ให้สอดคล้องและไม่เกินวงเงินแต่ละหมวดหมู่• จัดทำงบประมาณเสนอขอทุน : จัดทำงบประมาณโครงการในรูปแบบที่เข้ากันได้กับข้อกำหนดของกองทุน TED FUND โดยแยกเป็นรายได้และรายจ่าย และคำนวณยอดขอรับทุน• ประเมินความเสี่ยงในงบประมาณ : วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับปรุงงบประมาณ และวางแผนในการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น• ตรวจสอบความสอดคล้องกับเกณฑ์และข้อกำหนดของกองทุน : ตรวจสอบว่างบประมาณและข้อมูลที่เสนอในการขอทุนสอดคล้องกับเกณฑ์และข้อกำหนดของกองทุน TED FUND รวมถึงการให้ความชัดเจนและครอบคลุม

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” Read More »

Scroll to Top