การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินภายในของศูนย์บริการวิชาการด้วย Google Sheet
รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.2.1, KR 3.4.1, KR 3.4.3, KR 3.4.4 การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินภายในของศูนย์บริการทางวิชาการ ด้วย Google Sheet ผู้จัดทำโครงการ ผศ.ดร.ธรรณพ อารีพรรค, คุณนงเยาว์ พุ่มประเสริฐ, คุณสุภาวิตา ตรุยานนท์ และ ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี ศูนย์บริการทางวิชาการ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ศูนย์บริการทางวิชาการเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการวิชาการแก่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีการดำเนินงานที่หลากหลาย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1. งานบริการทางวิชาการและหน่วยบริการทางวิชาการ 2. งานประกันคุณภาพด้านการบริการวิชาการ 3. งานอบรมหลักสูตรระยะสั้น และ 4.งานอบรมภายในสำหรับบุคลากร (Cyber U) ทั้งนี้ในการดำเนินงานของแต่ละส่วนงานดังกล่าว จะมีประเด็นด้านการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการรับและเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการต่างๆ ดังนั้นศูนย์บริการทางวิชาการ จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่รับหน้าที่ในการดำเนินการด้านการเงินภายในศูนย์ฯ ให้เก็บเอกสารหลักฐานการรับและจ่าย พร้อมทั้งออกเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการเก็บไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งนำเงินส่งทางมหาวิทยาลัยตามประเภทงานต่างๆ และส่งสรุปข้อมูลให้คณะใช้เป็นข้อมูลประกอบงานประกันคุณภาพและรายงานตามตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษา โดยการดำเนินนั้นจะจัดเก็บและบันทึกข้อมูลในรูปแบบของกระดาษเป็นส่วนใหญ่ โดยมีแผนภาพการดำเนินการเบื้องต้นดังรูปต่อไปนี้ จากรูปข้างต้นจะพบว่าเจ้าหน้าที่การเงินจะมีการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในรูปแบบกระดาษ แล้วจึงส่งต่อข้อมูลในรูปกระดาษเพื่อให้เจ้าที่สรุปข้อมูลบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม excel เพื่อดำเนินการสรุปข้อมูลต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินการ โดยสรุปได้ในเบื้องต้นดังนี้1. ตัวเลขจากเจ้าหน้าที่การเงินไม่สอดคล้องกับเจ้าหน้าที่สรุปข้อมูล2. ไม่สามารถติดตามข้อมูลต่างๆของเจ้าหน้าที่การเงินได้แบบออนไลน์และเรียลไทม์3. การดำเนินการต่างๆมีความล่าช้าเนื่องจากเอกสารค่อนข้างเยอะ4. ไม่สามารถสรุปข้อมูลได้แบบออนไลน์และเรียลไทม์ ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จะทำให้การดำเนินงานด้านการเงินและการติดตามข้อมูลต่างๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการจึงเสนอให้มีการใช้ Google Sheet เข้ามาใช้ในการจัดการงานด้านการเงินในการบันทึกข้อมูลการรับเงิน การเบิกจ่าย พร้อมทั้งใช้ในการออกใบสำคัญรับเงิน ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ ใบสำคัญจ่าย ใบอนุมัติเช็ค และใบอนุมัติถอนเงิน อีกทั้งสามารถใช้ในการสรุปข้อมูลต่างๆ โดยสามารถเรียกดูข้อมูลทั้งหมดได้พร้อมๆกันหลายๆในรูปแบบออนไลน์แบบเรียลไทม์อีกด้วย ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ จากการวิเคราะห์รูปแบบของงานด้านการเงินที่มีอยู่ในศูนย์บริการวิชาการนั้น ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการได้มีการใช้ Google Sheet เข้ามาใช้ในการจัดการงานด้านการเงิน โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่สำคัญดังต่อไปนี้ ความรู้ด้านการบันทึกบัญชีและการเงิน: การนำ Google Sheet มาใช้ในการบันทึกข้อมูลการรับเงิน การเบิกจ่าย และการจัดทำเอกสารทางการเงินต่างๆ เช่น ใบสำคัญรับเงิน ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ ใบสำคัญจ่าย ใบอนุมัติเช็ค และใบอนุมัติถอนเงิน ทำให้การบันทึกและจัดการข้อมูลทางบัญชีและการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ: การใช้ Google Sheet ซึ่งเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ทำงานแบบเรียลไทม์ ช่วยให้การเข้าถึงและแชร์ข้อมูลทำได้สะดวกรวดเร็ว ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูและแก้ไขข้อมูลพร้อมกันได้ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการติดตามข้อมูล ความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล: Google Sheet มีฟังก์ชันและเครื่องมือที่หลากหลายในการประมวลผลและสรุปข้อมูล ทำให้สามารถนำข้อมูลที่บันทึกไว้มาวิเคราะห์และจัดทำรายงานสรุปในรูปแบบต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและวางแผนงานของผู้บริหารได้ดียิ่งขึ้น ความรู้ด้านการทำงานเป็นทีม: การใช้ Google Sheet ยังช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม เนื่องจากสมาชิกในทีมสามารถเข้าถึง แก้ไข และปรับปรุงข้อมูลได้พร้อมกันแบบเรียลไทม์ ทำให้เกิดการสื่อสารและประสานงานที่ดี ลดความผิดพลาดและความล่าช้าในการทำงาน ด้วยความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการจึงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการนำ Google Sheet มาประยุกต์ใช้ในการจัดการงานด้านการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความโปร่งใส และการทำงานเป็นทีมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการทำงานแบบเดิมและยกระดับการดำเนินงานของศูนย์บริการทางวิชาการโดยรว ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : Google Sheet ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด บุคลากรในศูนย์บริการทางวิชาการ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการจัดประชุมบุคลากรภายในหน่วยงานเพื่อสอบถามถึงการทำงาน ปัญหา อุปสรรค รวมทั้งกำหนดพัฒนางาน และแนวทางในการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล โดยมีแผนสำหรับการปรับปรุงการทำงานด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชา ดังนี้ ส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าอบรมการใช้งานโปรแกรม Excel มอบหมายให้รองผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบให้รองรับการทำงานด้านการเงินของศูนย์ทางวิชาการโดยใช้ Google Sheet เนื่องจากมีหลักการทำงานเหมือน Excel แต่ Google Sheet สามารถเข้าใช้งานได้พร้อมกันหลายๆคนในรูปแบบออนไลน์ และสามารถเรียนดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย ทดลองนำมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินการแผนสำหรับการปรับปรุงการทำงานด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชา ดังนี้ บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมการอบรมเรื่อง พื้นฐานการจัดการข้อมูลด้วย EXCEL รุ่นที่ 1 จัดโดย สำนักงานพัฒนาบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต บรรยายโดย ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี รองผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาได้พัฒนาระบบการทำงานด้านการเงินของศูนย์ทางวิชาการบน Google Sheet เพื่อนำมาใช้ในการบันทึกข้อมูลการรับเงิน การเบิกจ่าย และการจัดทำเอกสารทางการเงินต่างๆ เช่น ใบสำคัญรับเงิน ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ ใบสำคัญจ่าย ใบอนุมัติเช็ค และใบอนุมัติถอนเงิน ทำให้การบันทึกและจัดการข้อมูลทางบัญชีและการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง โดยมีออกแบบ Sheet ต่างๆ และมีการผูกสูตรคำนวณเพื่อให้ข้อมูลในแต่ล่ะ Sheet เชื่อมโยงกัน เพื่อแสดงผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้ โดยออกแบบไว้ทั้งหมด 10 Sheet โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1) โครงการ: สำหรับใช้ในการบันทึกข้อมูลโครงการทั้งหมด ตัวอย่างเช่น รหัสโครงการ ชื่อโครงการ หน่วยงานที่ว่าจ้าง มูลค่างาน หัวหน้าโครงการ คณะวิทยาลัย ประเภท เปอร์เซ็นต์ งวดงานทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการกำหนดประเภทของโครงการต่างๆไว้อย่างชัดเจน ดังรูปต่อไปนี้ 2.2) รับ: ใช้ในการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรับเงินเข้าในบัญชี โดยจะมีการเชื่อมโยงรหัสโครงการทำให้สามารถทราบได้ทันทีว่ายอดเงินที่รับเข้ามาจะถูกหักเข้ามหาวิทยาลัยเป็นจำนวนเงินเท่าไ ตัวอย่างดังรูปต่อไปนี้ 2.3) ใบเสร็จรับ: ใช้สำหรับพิมพ์ใบสำคัญรับเงิน โดยผู้ใช้สามารถกรอกเลขรับจากข้อ2 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับพิมพ์ใบสำคัญรับเงิน ดังนี้ 2.4) จ่าย: ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลการเบิกจ่ายในโครงการต่างๆ ดังนี้ 2.5) เบิก: ใช้สำหรับพิมพ์ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ โดยผู้ใช้สามารถกรอกรหัสจ่ายจากข้อ4 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับพิมพ์ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ ดังนี้ 2.6) ใบสำคัญจ่าย: ใช้สำหรับพิมพ์ใบสำคัญจ่าย โดยผู้ใช้สามารถกรอกรหัสจ่ายจากข้อ4 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับพิมพ์ใบสำคัญจ่าย ดังนี้ 2.7) อนุมัติจ่ายเช็ค: ใช้สำหรับพิมพ์ใบขออนุมัติโอนเงินสำหรับออกเช็ค โดยผู้ใช้สามารถกรอกรหัสจ่ายจากข้อ4 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับใบขออนุมัติโอนเงินสำหรับออกเช็ค ดังนี้ 2.8) อนุมัติถอนเงิน: ใช้สำหรับพิมพ์ใบขออนุมัติโอนเงิน โดยผู้ใช้สามารถกรอกรหัสจ่ายจากข้อ4 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับใบขออนุมัติโอนเงิน 2.9) แยกประเภทรายได้: ใช้สำหรับดูสรุปรายได้แยกตามประเภทงานต่างๆ ดังนี้ 2.10) แยกคณะ: ใช้สำหรับดูสรุปรวมรายรับ-รายจ่ายแยกตามคณะ 3. ทดลองนำระบบการดำเนินการด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชาการบน Google Sheet มาใช้ในการปฏิบัติงานจริง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ จากการใช้งานระบบการดำเนินการด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชาการบน Google Sheet เป็นระยะเวลาหนึ่ง ทางศูนย์ฯ ได้ทำการตรวจสอบผลการดำเนินการและพบว่า ระบบใหม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในระบบเดิมได้เป็นอย่างดี การบันทึกข้อมูลการรับ-จ่ายเงินมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากขึ้น การออกเอกสารทางการเงินต่างๆ ทำได้รวดเร็วและมีความผิดพลาดน้อยลง และการสรุปรายงานทางการเงินสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ยังสามารถติดตามผลการดำเนินการในโครงการต่างๆได้แบบเรียลไทม์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบใหม่ได้ให้ข้อมูลว่า Google Sheet ใช้งานง่าย ทำให้การทำงานด้านการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ช่วยให้การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านไปใช้ระบบใหม่ บุคลากรบางส่วนยังต้องการเวลาในการปรับตัวและเรียนรู้การใช้งาน ซึ่งได้นำความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาตนเองด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนางาน และมีผลเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงความสามารถในการทำงานได้ดีขึ้น บรรลุเป้าหมายแผนพัฒนาบุคลากร เป็นรายบุคคล เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ จากการนำ Google Sheet มาใช้ในการจัดการงานด้านการเงิน ทำให้ได้ข้อสรุปความรู้ที่สำคัญ ดังนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เช่น แอปพลิเคชันบนคลาวด์อย่าง Google Sheet สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการอย่างรอบด้านเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์การทำงาน การให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นแก่บุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญในการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล การทำงานแบบออนไลน์และเรียลไทม์ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม การสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานยุคใหม่ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ในส่วนของระบบการดำเนินการด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชาการบน Google Sheet ในอนาคตจะมีการปรับปรุงทั้งส่วนการกรอกข้อมูลให้ง่ายขึ้น และปรับปรุงในส่วนการแสดงผลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการมากยิ่งขึ้น สุดท้ายนี้ศูนย์บริการทางวิชาการเชื่อในเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการทำงานและการตัดสินใจ โดยให้ความสำคัญกับการจัดเก็บ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีความชัดเจน โปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน เพื่อสงเสริมการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินภายในของศูนย์บริการวิชาการด้วย Google Sheet Read More »