ปีการศึกษา 2566

กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.4 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ อ.วัฒนา ศรีถาวร รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะบัญชี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต พ.ศ. 2563  นอกจากเป็นผู้มีความรู้ด้านเทคนิคทางวิชาชีพบัญชี สามารถประยุกต์และบูรณาการศาสตร์สาขาวิชาการบัญชีกับศาสตร์สาขาวิชาอื่นๆ ในการทำงานในสายงานบัญชีแล้ว บัณฑิตทุกคนจะต้องมีความตระหนักรู้ในคุณค่าวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดี และรู้ว่าการรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพมีความสำคัญอย่างไร รวมทั้งมีทักษะด้าน Soft Skills ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของคนยุคใหม่ แม้จะถูกเรียกว่า “Soft Skill” แต่กลับเป็นทักษะที่มีความสำคัญเหนือกว่า Hard Skills เพราะเป็นพลังบวกภายในที่จะช่วยให้การพัฒนาในทักษะด้านอื่น ๆ ดีขึ้นได้อย่างมั่นใจ ซึ่งจะทำให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทักษะดังกล่าวประกอบด้วยทักษะสำคัญในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ การสื่อสาร การแก้ไขปัญหา การทำงานแบบเป็นทีม การเจรจาต่อรอง การจัดการเวลาหรือจัดการตนเอง และภาวะผู้นำSoft Skills เป็นทักษะที่ช่วยให้นักศึกษาและบัณฑิตเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับผู้อื่นไปพร้อมกับการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในการทำงาน ซึ่งบริษัทและองค์กรชั้นนำทั่วโลกใช้เป็นข้อพิจารณาในการคัดเลือกคนเข้าทำงานโดยเฉพาะนักบัญชีในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทความรับผิดชอบจากการทำงานหลังสำนักงาน (Back Office) ไปสู่งานระดับบริหารเป็นหุ้นส่วนหรือทำงานเคียงคู่กับผู้บริหารระดับสูงในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลจึงทำให้ความรู้ด้านเทคนิควิชาชีพและทักษะเฉพาะงาน (Hard Skills) อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้การทำงานเติบโตก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง จำเป็นต้องใช้ Soft Skills ในการทำงานร่วมกันผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพสูงและมีความสุข หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาจึงได้มุ่งเน้น พัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ในด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม  มีความรับผิดชอบสูงต่อการทำงานและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี มีความคิดสร้างสรรค์และการนำการเปลี่ยนแปลง    และสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็น Soft skills ที่สำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันและต่อไป ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 10 Soft Skills ที่สำคัญกับการทำงานในยุคปัจจุบัน การบริหารจัดการเวลา (Time Management) ในบางครั้ง การทำงานจำเป็นต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน การวางแผนระยะเวลาในการทำงานและการจัดลำดับความสำคัญ เป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะหากไม่สามารถบริหารเวลาได้ อาจส่งผลต่อผลการเรียนและต่องานที่ตนรับผิดชอบไม่สามารถเสร็จตามกำหนดเวลาได้นั่นเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) ในปัจจุบันสังคมและเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักศึกษาต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) จึงเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งจะเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคง และพร้อมรับมือสำหรับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การสื่อสาร (Communication) แน่นอนว่างานทุกงานต้องอาศัยการสื่อสารร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะทั้งกับลูกค้าหรือเพื่อนร่วมงาน แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้นักศึกษาไม่กล้าที่จะสื่อสารทำให้เกิดปัญหาตามมาในการชีวิต การเรียน และการงาน ซึ่งการสื่อสารนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบ ตามแต่ละบริบทเราจะต้องรู้ก่อน ว่าเราจะสื่อสารเรื่องอะไร กับใคร และเลือกวิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความสามารถในการคิดสิ่งใหม่ ๆ ในแนวทางที่หลากหลาย ซึ่งทักษะนี้จะต้องอาศัยการเป็นคนช่างสังเกตุ เปิดกว้าง และศึกษาหาข้อมูลอย่างหลากหลาย เพื่อนำมาต่อยอดเป็นไอเดียใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์ในการต่อยอดธุรกิจ ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) จากผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะรูปแบบและวิธีการทำงานที่หลาย ๆ องค์กรต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นความสามารถในการปรับตัว และเตรียมพร้อมกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) การเป็นผู้ฟังที่ดี ช่วยให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่นกว่าที่คิด ช่วยให้เราสามารถรับสารต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และสื่อสารกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการตั้งใจฟังนั้น หมายรวมถึง การรับฟังอย่างเข้าใจ และการที่พยายามเข้าใจผู้อื่น (Empathy)  การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration) ในสังคมของการทำงานนั้น เรามักจะเจอผู้คนหลากหลายรูปแบบ ที่มีความแตกต่างกัน ในด้านต่าง ๆ บางคนอาจจะสามารถคุยกันได้อย่างถูกคอ หรือสื่อสารได้อย่างง่ายดาย แต่ในบางคนเราจำเป็นจะต้องอาศัยทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ปรับรูปแบบวิธีการทำงานเพื่อให้เข้ากับคนนั้น ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเจรจาต่อรอง (Negotiation) ทักษะนี้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นสายอาชีพงานขายเท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้ในการทำงานด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย อย่างเช่น การเจรจาต่อรองเพื่อให้โปรเจคที่คิดมา ได้รับการอนุมัติ หรือ การเจรจาไกล่เกลี่ยเมื่อทีมมีปัญหาที่เข้าใจผิดกัน เป็นต้น การทำหลายสิ่งพร้อม ๆ กัน (Multitasking) ทักษะสำคัญที่หลายองค์กรกำลังมองหานั่นก็คือความสามารถในการทำงานที่หลากหลาย ทักษะนี้จะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น ลดขั้นตอนและเวลาในการส่งผ่านงานไปสู่คนอีกคนหนึ่ง และทำให้พนักงานได้พัฒนาตนเองได้อย่างรวดเร็ว  จรรยาบรรณในการทำงาน (Work Ethic) การปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทฯ ความรับผิดชอบต่องานที่ทำและสังคม เป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนควรมี เพื่อเป็นการสร้างนิสัยที่ดีในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้พนักงานอีกด้วย  อ้างอิง : https://www.urbinner.com/post/what-are-soft-skillshttps://blog.jobthai.com/career-tipshttps://novoresume.com/career-blog/soft-skills    ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด อาจารย์วัฒนา ศรีถาวร คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต จากเป็นคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ และอาจารย์ที่ปรึกษาในการฝึกซ้อมนักศึกษาเข้าสู่การแข่งขันและการทำกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยได้รับรางวัลด้านการพูด การเขียน การแข่งกรณีศึกษาระดับประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี  (www.tfac.or.th และ https://apheit.org) วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ หลักสูตรได้จัดให้มีการประชุมและวางแผนการปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนานักศึกษาด้าน Soft Skills โดยบรรจุลงในแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา มาโดยตลอดตั้งแต่ระยะแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะฉบับเดิม ปี 2559-2564 จนถึงปีการศึกษา 2566 ซึ่งอยู่ในช่วงปี 2 ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ ปี 2565 – 2569  โดยมีวัตถุประสงค์ที่2 คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาศึกษามีคุณภาพและเป็นนวัตกรรมที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ผู้เรียน โดยกำหนดเป้าหมายผลลัพธ์ ไว้ในข้อ 1.2.4 กิจกรรม/โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตพึ่งประสงค์ จะบรรลุผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จและวัตถุประสงค์ทุกข้อ  ผลการดำเนินงานปรากฏในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร  ในองค์ประกอบ 3 นักศึกษา ตัวบ่งชี้ 3.1 ระบบและกลไกการรับนักศึกษาและการเตรียมความพร้อม ตัวบ่งชี้ 3.2 การพัฒนานักศึกษา และตัวบ่งชี้ 3.3 อัตราการคงอยู่อัตราสำเร็จการศึกษา และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร ซึ่งปรากฏผลในระดับดีมากอย่างต่อเนื่องตลอดระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2565 โดยเฉลี่ยองค์ประกอบนี้มีแนวโน้มค่าอันดับคะแนนสูงขึ้น ในระดับดีมากมาโดยตลอด สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การธุรกิจโดยจะเห็นได้จากภาวะการได้งานทำภายใน 1 ปีหลังสำเร็จการศึกษา มีค่าเท่ากับ 86.67%, 100.00%, 87.63%, 100% และ 100.00% ตามลำดับ และความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตจบใหม่ มีค่าเท่ากับ 4.36, 4.42, 4.37, 4.64, และ 4.61 ตามลำดับ การดำเนินงานมีขั้นตอนพอสรุปได้ดังนี้ การปรับทัศนคติในการเรียนในระบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและทำความรู้จักคณะบัญชีเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในระบบการจัดการเรียนการสอน และการปรับตนให้เข้ากับระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต และรู้จักหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนอาจารย์ประจำหลักสูตร ด้วยการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านการสร้างเสริมคุณลักษณะภายใน (Soft Skills) ที่ดี คณะกรรมการนักศึกษาและวินัยทำงานร่วมกับคณะกรรมการนักศึกษาคณะบัญชี จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษาใหม่ด้วยกัน ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง และระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ พร้อมกับเซ็นรับรองการสะสมจำนวนชั่วโมงการเข้าร่วมกิจกรรมด้านกิจการนักศึกษา เพื่อประเมินการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills  การสอดแทรกกิจกรรมการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills ในรายวิชาต่าง ๆ เช่น รายวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี วางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ Soft Skills ไว้ทั้งหมด 12 ชั่วโมง วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ ใช้กิจกรรมฐานบัญชีภาษีอากรเคลื่อนที่ จัดโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งได้สอดแทรกประสบการณ์การแก้ไขปัญหาการปฏิบัติทางภาษีของธุรกิจของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หรือ Practitioner ลงในฐานกิจกรรมต่างๆ  ตามประเภทของภาษีอากร ที่นักศึกษาจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขกรณีศึกษาและอภิปรายกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ประจำอยู่ในแต่ละฐาน และวิชา ACC255 จรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยการจัดกิจกรรมการแข่งขันสุนทรพจน์และเรียงความ เรื่อง การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชี พร้อมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เป็นคลิปวีดีโอกรณีศึกษาการกระทำผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยจัดทำเป็นงานกลุ่ม วิชา ACC253 หลักการบัญชีต้นทุน ACC254 การจัดการระบบสารสนเทศทางการบัญชี สองวิชานี้ใช้กิจกรรมที่บูรณาการโครงงานพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนการผลิตให้กับวิสาหกิจชุมชน ACC498 สหกิจศึกษา เป็นต้น การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ทำให้นักศึกษามีความแตกฉานในความรู้ด้านเทคนิควิชาชีพควบคู่ไปกับการพัฒนา Soft Skills ในด้านการทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบต่อตนเองและงานที่ทำร่วมกับผู้อื่น ความคิดสร้างสรรค์ การติดต่อสื่อสาร การเจรจาต่อรอง และการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการจัดการตนเอง การส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับประเทศ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ตอบโจทย์ความท้าทายความสามารถและศักยภาพของนักศึกษา หลักสูตรจะทำการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับการแข่งขัน ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Facebook Instagram และ line Group ของคณะบัญชี ช่องทางออฟไลน์ผ่านท่านอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา  เพื่อรับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแข่งขัน หลังจากนั้นดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาโดยคณะกรรมการฝ่ายวิชาการและอาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต เมื่อได้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการการแข่งขันแล้ว ทางคณะจะจัดอาจารย์ที่ปรึกษาการแข่งขันอาจารย์ผู้สอนติว เริ่มต้นด้วยการปฐมนิเทศการแข่งขันในเวทีต่างๆ โดยคณบดี เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการเข้าแข่งขันที่ไม่ใช่มีเพียงเพื่อชิงรางวัล แต่เป็นโอกาสในการสร้าง Profile ที่ดีให้กับตนเอง เพื่อใช้ประโยชน์ในการสมัครงาน เพราะจะได้รับการพัฒนาเป็นระยะนานนอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียนของวิชาต่างๆ ทางคณะโดย อ.วัฒนา ศรีถาวร ใช้การสร้างสถานการณ์จำลองของรูปแบบการแข่งขันเพื่อให้นักศึกษาคุ้นชินโดยมีรุ่นพี่และคณาจารย์ที่มีประสบการณ์มาถ่ายทอดบรรยากาศและถอดองค์ความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง การสร้างแรงกดดันให้กับนักศึกษาในการที่จะต้องค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การใช้เทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ จะจบลงที่การนำเสนอด้วยวาจาในทุกเวทีที่เข้าร่วม ดังนั้นกระบวนการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้การคิดวิเคราะห์ สถานการณ์ การค้นหาปัญหาทางธุรกิจ การวางกลยุทธ์เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา สุดท้ายนักศึกษาจะต้องเขียนรายงาน และนำเสนอด้วยวาจา ซึ่งพบว่าด้วยขั้นตอนที่ดำเนินการพัฒนานักศึกษาที่ใช้ ทำให้คณะบัญชีประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องโดยนักศึกษาได้รับรางวัลจากทุกเวทีการแข่งขันที่จัดโดยองค์การภายนอก ดังแสดงในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ถอดบทเรียนจากการดำเนินงานของคณะกรรมการหลักสูตรบัญชีบัณฑิตที่ผ่านมาเพื่อนำอุปสรรคปัญหามาปรับปรุงแผนการพัฒนานักศึกษาในปีถัดไป จะเป็นกิจกรรมที่ดีมากเพราะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อผลประเมินการดำเนินงานทั้งหมดที่มุ่งสู่การพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษา และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา   Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน  ผลการดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่าน 5 ปี ของนักศึกษาคณะบัญชีระดับปริญญาตรี การแข่งขันการประกวดพูดเพื่อสังคมที่ยั่งยืน “พจนศิลป์” จัดโดย มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)  – รางวัลชนะเลิศ “พจนศิลป์” ครั้งที่ 3 ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  – รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 “พจนศิลป์” ครั้งที่ 4 โครงการประกวดสุนทรพจน์และการเขียนเรียงความเรื่อง “การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชี” จัดโดยสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท) – รางวัลชนะเลิศการประกวดสุนทรพจน์และการเขียนเรียงความทางบัญชี โครงการ “การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาชีพบัญชี” ครั้งที่ 6 ครั้งที่ 7 ครั้งที่ 8 และ ครั้งที่ 10  – รองรางวัลชนะเลิศการประกวดสุนทรพจน์และการเขียนเรียงความทางบัญชี โครงการ “การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาชีพบัญชี” ครั้งที่ 9  การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ จัดโดย สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ – รางวัลชนะเลิศการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2564 – รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566 – รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565 – รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2563 – รางวัลชนะเลิศอันดับ 4 การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2562 การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัย จัดโดย สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท) – รางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 14 ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี – รางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 16 ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี – รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 15 – รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 13 – รางวัลชมเชย การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 12 รางวัลนักศึกษาพระราชทาน – รางวัลนักศึกษาทุนพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และปีการศึกษา 2562 – รางวัลเยาวสตรีไทยดีเด่น ประจำปี 2562 – รางวัลชมเชยนักศึกษาพระราชทานระดับอุดมศึกษา ภาคกลาง สถานศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2563 Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่  การตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการพัฒนานักศึกษาด้าน Soft Skills ในระดับปริญญาตรี ใช้ระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ เพื่อสร้างความมั่นใจในผลลัพธ์ที่เกิดจากผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน ได้ตรวจสอบผลของการดำเนินการตามขั้นตอนมาเป็นระยะเวลา 5 ปี พบว่าได้รับรางวัลระดับประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นไปตามแผนงานของหลักสูตรที่วางไว้ และได้ความรู้เชิงกระบวนการในเลือกเวทีการแข่งขันระดับประเทศให้ประสบความสำเร็จ โดยใช้ความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการในหลักสูตร คณาจารย์ในคณะ และความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากการแข่งขัน โดยไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคปัญหาที่จะเข้ามาโดยใช้ทักษะด้าน Soft Skills ในการบริหารจัดการตนเองและการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ องค์ประกอบที่ 2 คุณภาพบัณฑิต และองค์ประกอบที่ 3 ด้านนักศึกษา ย้อนหลัง 3 ปีมีดังนี้ ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ 2 องค์ประกอบที่ 3 2.1 คุณภาพบัณฑิต 2.2ภาวะการได้งานทำ 3.1การรับนักศึกษา 3.2การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3.3ผลที่เกิดกับนักศึกษา 2563 4.40 4.37 4.00 4.00 3.00 2564 4.65 5.00 4.00 4.00 4.00 2565 4.63 5.00 4.00 4.00 4.00 การดำเนินงานของหลักสูตรบัญชีบัณฑิตที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากกระบวนการจัดการความรู้ภายในหลักสูตรและคณะวิชาจากการประชุมระดมสมองอาจารย์ทุกครั้งก่อนที่จะดำเนินโครงการและหลังดำเนินการโครงการ  ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนานักศึกษา ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา และการติดตามผลการดำเนินงานตามเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ หลักสูตรฯ ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาทบทวนกระบวนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่สมควรปรับปรุงแก้ไข หรือสิ่งที่ควรเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อไป ซึ่งนำไปสู่การจัดทำแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice  จากการทบทวนกระบวนการที่มีต่อกระบวนการพัฒนานักศึกษาด้าน Soft Skills ในระดับปริญญาตรีทางหลักสูตรนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับปีการศึกษาต่อไป ดังนี้ ด้านการปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตจะต้องปรับเป้าหมายการพัฒนานักศึกษาด้าน Soft Skills ให้เหมาะสมผลลัพธ์การเรียนรู้ของแต่ละชั้นปี เพื่อให้การปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมที่จะบูรณาการในการสอนรายวิชาต่างๆ มีความทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น โดยขยายความร่วมมือกับองค์การวิชาชีพบัญชี หรือองค์การภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนานักศึกษา กระตุ้นให้เกิดการใฝ่รู้และความต้องการในการพัฒนาตนเองให้มากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาทุกคนที่จบหลักสูตรบัญชีบัณฑิตได้รับการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills และจะต้องทำการสำรวจความคิดเห็นจากนักศึกษาเพื่อสะท้อนความต้องการของนักศึกษาการพัฒนาตนเอง ความคิดเห็นของหัวหน้างานจากสถานประกอบที่ได้ให้การฝึกหัดงาน นำข้อมูลมาใช้การปรับปรุงกิจกรรมโครงการพัฒนานักศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาด ด้านการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยเปิดโอกาสให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาในการแข่งขันต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มจากการเข้าสังเกตการณ์จากเวทีการแข่งขัน การศึกษาพัฒนาความรู้ของตนเองเพื่อเตรียมตัวเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาต่อไป ด้านวิทยากรผู้นำกิจกรรม ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตจำเป็นต้องพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรให้สามารถดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองให้ได้มากขึ้น เพื่อจะได้สามารถจัดกิจกรรมได้เองในอนาคต ด้านการพัฒนารูปแบบการเข้าร่วมการแข่งขัน ควรให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าสู่กระบวนการแข่งขันในระดับประเทศเพื่อเป็นพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills เช่น การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศที่แต่ละสถาบันสามารถส่งเข้าร่วมการแข่งขันกี่ทีมก็ได้อย่างไม่จำกัดจำนวน เนื่องจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีเป็นการพัฒนานักศึกษาทั้งด้าน Soft Skills เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร การบริหารจัดการเวลา และความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอกลยุทธ์ทางธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาด้าน Hard Skills ที่สามารถนำความรู้จากวิชาที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำกรณีศึกษาไม่ว่าจะเป็นวิชาการเงินและการลงทุน วิชาการวิเคราะห์งบการเงิน และวิชาการตลาด เป็นต้น

กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต Read More »

สอนอย่างไรจึงจะทำให้นักศึกษานำความรู้สู่การปฏิบัติได้

สอนอย่างไรจึงจะทำให้นักศึกษา นำความรู้สู่การปฏิบัติได้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ. สมหญิง โควศวนนท์, อาจารย์ดวงใจ ลิมตโสภณ, อาจารย์ธนัสมัญญ์ เหลืองกิตติก้อง, อาจารย์วิมลวัลย์ วโรฬาร,อาจารย์ศศิพินทุ์ ศุภมนตรี บัวพล คณะพยาบาลศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เป็นสาขาวิชาทางวิชาชีพ การศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง วิชาที่กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นรับผิดชอบหลัก ได้แก่ วิชา  BNS 234 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น เป็นวิชาภาคทฤษฎี และ BNS 388 ปฏิบัติการการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น เป็นวิชาภาคปฏิบัติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น สามารถให้การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะสุขภาพดีและมีปัญหาสุขภาพได้ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลสุขภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัว การพิทักษ์สิทธิเด็ก รวมทั้งประเด็นปัญหากฎหมายและประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำความรู้จากการเรียนทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นได้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเด็ก วางแผนการพยาบาล และปฏิบัติการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยเด็กได้ ซึ่งนักศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา นอกจากนั้นนักศึกษายังจำเป็นต้องมีทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และมีภาวะผู้นำ ในการจัดการการพยาบาล ทักษะเหล่านี้เป็นสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และถูกกำหนดให้เป็นวัตถุประสงค์ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต           การจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ผ่านมา ในภาคทฤษฎีจะเน้นการบรรยายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีเนื้อหาค่อนข้างมาก แต่ก็พบปัญหาว่าการจัดสอบเพื่อวัดความรู้เพียงอย่างเดียว มีนักศึกษาสอบไม่ผ่าน 60% เป็นจำนวนมาก เมื่อนักศึกษาไปเรียนในวิชาปฏิบัติ ก็พบปัญหาว่า นักศึกษาไม่สามารถนำความรู้จากการเรียนภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้   ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น การประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น แนวคิดสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา           การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา (Case studies) เป็นเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและเชื่อมโยงเหตุการณ์สมมติหรือเหตุการณ์ที่มีเค้าโครงจากเรื่องจริงกับความรู้หรือทักษะที่ได้เรียนรู้ในรายวิชา โดยมีการกำหนดประเด็นคำถามเกี่ยวกับกรณีศึกษาและองค์ความรู้ที่ต้องนำมาใช้อย่างชัดเจน แต่ไม่มีการจำกัดคำตอบที่ถูกผิดหรือคำตอบที่แน่นอนเพียงคำตอบเดียว การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา (Case studies) ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และการอภิปรายสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น ได้สังเคราะห์และประเมินแนวทางการตอบสนองต่อเหตุการณ์สมมติอย่างมีหลักการ ได้พัฒนามุมมองความคิดของตนเองจากการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดของผู้อื่น อีกทั้งช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์คำตอบที่หลากหลายได้ ทำให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าเปิดเผยมุมมองของตนเอง           คณาจารย์ในกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นจึงเลือกใช้การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น โดยสร้างกรณีศึกษาที่มีเค้าโครงจากกรณีผู้ป่วยจริงที่สำคัญ พบบ่อย และต้องใช้ความรู้การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นในส่วนที่สำคัญร่วมกับการใช้กระบวนการพยาบาลในการแก้ปัญหากรณีศึกษา ซึ่งนักศึกษาต้องใช้ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา โดยให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดของผู้อื่น และร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาของกรณีศึกษา ด้วยวิธีการนี้ผู้สอนเชื่อว่าเมื่อนักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น นักศึกษาจะสามารถนำความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วยเด็กได้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น การประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น แนวคิดสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ อาจารย์ในกลุ่มวิชาประชุมประเมินและสรุปปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ผ่านมา และร่วมกันพิจารณาปรับรูปแบบการเรียนการสอนวิชา BNS 234 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเดิมเน้นการบรรยายเป็นหลัก มาเป็นการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา ด้วยเห็นว่าเป็นวิธีการที่นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยกรณีศึกษา และได้เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีมาอธิบายกรณีศึกษาและวางแผนการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาของผู้ป่วยกรณีศึกษา ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้การเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติการพยาบาล โดยจะแบ่งสัดส่วนเวลาของการเรียน ร้อยละ 50 (15 ชั่วโมง) เป็นการสรุปสาระสำคัญของแนวคิดทฤษฎีของการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และอีกร้อยละ 50 (15 ชั่วโมง) เป็นการแบ่งกลุ่มนักศึกษาเพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษา โดยอาจารย์ในทีมผู้สอนทุกคนเข้าสอนประจำกลุ่ม อาจารย์ในกลุ่มวิชาร่วมกันสร้างกรณีศึกษาที่สำคัญ พบบ่อย และครอบคลุมสาระสำคัญของการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น จำนวน 5 เรื่อง โดยใช้เค้าโครงเรื่องมาจากผู้ป่วยจริง พร้อมประเด็นคำถามให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ ค้นหาคำตอบ ประเด็นคำถามจะครอบคลุมการประเมินสภาพผู้ป่วย พยาธิสรีรวิทยาของโรค อธิบายการเกิดอาการ อาการแสดง และการตรวจพบ วิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย (ข้อวินิจฉัยการพยาบาล) การวางแผนการพยาบาล และการประเมินผล ทีมผู้สอนร่วมกันพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของกรณีศึกษา อาจารย์ในกลุ่มวิชาร่วมกันสร้างคู่มือการสอนโดยใช้กรณีศึกษา แนวคำตอบของประเด็นคำถามทั้ง 5 กรณี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอนการวิเคราะห์กรณีศึกษา แบ่งนักศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละประมาณ 17 คน ต่ออาจารย์ 1 คน แต่ละกลุ่มแบ่งนักศึกษาเป็น 3 กลุ่มย่อย ให้นักศึกษาทุกคนอ่านกรณีศึกษาและทบทวนความรู้ที่ต้องใช้มาล่วงหน้าก่อนเข้าห้องเรียน นักศึกษาอภิปรายกรณีศึกษาในชั้นเรียน แต่ละกรณีศึกษาใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง โดยจัดการเรียนรู้ ดังนี้ ผู้สอนนำเสนอกรณีศึกษาและประเด็นคำถาม กระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ นักศึกษาแต่ละกลุ่มย่อยคิดหาคำตอบตามประเด็นคำถามของแต่ละกรณีศึกษา โดยใช้ความรู้ที่ได้เรียนรู้ และค้นหาความรู้เพิ่มเติม นักศึกษาแต่ละคนนำเสนอคำตอบและข้อคิดเห็นต่อกลุ่มและอภิปราย แต่ละกลุ่มย่อยนำเสนอคำตอบต่อกลุ่มใหญ่ (17 คน) โดยผู้สอนเน้นย้ำกับผู้เรียนว่า การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาไม่ได้มุ่งหาคำตอบที่ถูกผิดเพียงคำตอบเดียว แต่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มุมมองและเหตุผลที่หลากหลายจากผู้เรียนคนอื่นๆ ผู้สอนรวบรวมคำตอบของผู้เรียน และหยิบยกคำตอบหรือเหตุผลที่น่าสนใจของผู้เรียนขึ้นมาอภิปรายร่วมกับผู้เรียน และสรุปคำตอบร่วมกัน ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา การเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เรียนรู้กับกรณีศึกษา และเพิ่มเติมประเด็นที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจหรือยังเข้าใจไม่ครอบคลุม ผู้เรียนทำการสะท้อนคิดการเรียนรู้ (Reflection) ในประเด็นสำคัญ เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา ทักษะที่ได้รับจากกิจกรรม แนวทางการนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล เป็นต้น ผู้เรียนสรุปรายงานกรณีศึกษาแต่ละเรื่องเป็นงานกลุ่ม   Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินการ ด้านนักศึกษา จากการให้นักศึกษาได้สะท้อนคิด พบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ ได้เรียนรู้การ ทำงานเป็นทีม การแบ่งหน้าที่กันทำงาน การแสดงความคิดเห็นและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น การสืบค้น และเกิดความสามัคคี ได้ฝึกวิเคราะห์ผู้ป่วยในกรณีศึกษา ทำให้เข้าใจพยาธิสภาพ อาการ การรักษา และการดูแลผู้ป่วยเด็กแต่ละโรคมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในขณะฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยได้ นักศึกษาพึงพอใจในผลงานของกลุ่ม และเห็นว่าการทำงานเป็นทีมทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างการสะท้อนคิดของนักศึกษา “จากการศึกษาทั้ง 5 สถานการณ์ มีการแบ่งเป็นกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่ม พบว่า ได้เขา้ใจถึงการวิเคราะห์โรคและอาการและอาการแสดงของโรคนั้น ๆ มากขึ้น สามารถแยกได้ว่า โรคนี้น่าจะเป็นโรคอะไรจากอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้เขา้ใจถึงกลไกของการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากยิ่งขึ้น โดยมีอาจารย์คอย แนะนำ และให้คำปรึกษา ให้ข้อมูล และความรู้ระหว่างเรียน และได้ทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ โดยมีประธาน รองประธาน สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเป็นอย่างดี” “สิ่งที่ได้คือการทำงานเป็นทีมร่วมกับเพื่อนและอาจารย์ เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ อาจารย์ให้แนวทางการทำงานกลุ่ม คือ ให้นักศึกษาแบ่งหน้าที่กัน มีประธาน และคนเรียบเรียงเนื้อหา ให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน และสมาชิกในกลุ่มได้ช่วยกันหาข้อมูล เสนอความคิดเห็น เพื่อตัดสินใจร่วมกัน ทำให้งานออกมาได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มคอยให้ความรู้ ข้อมูล และแนะแนวทางให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้อง” ด้านอาจารย์ผู้สอน ในการสอนสถานการณ์แรก นักศึกษาจะยังไม่คุ้นเคยกับการเรียนวิธีนี้ อาจารย์ เริ่มสอนให้วิเคราะห์หาความผิดปกติของผู้ป่วย เชื่อมโยงกับพยาธิสภาพของโรค นำสู่ปัญหาของผู้ป่วย การวางแผนการพยาบาล โดยนักศึกษาจะช่วยกันนำเสนอ อาจารย์สรุปและเพิ่มเติมให้ และ ให้นักศึกษาทำรายงานกรณีศึกษา นักศึกษาทุกคนจะมีรายงานทั้ง 5 เรื่อง เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ขณะขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล   ปัญหาและอุปสรรคที่พบ นักศึกษาบางคนไม่ได้เตรียมตัวในการอ่านสถานการณ์มาก่อน ทำให้ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการ อภิปรายกลุ่มได้ ห้องเรียนในการทำกลุ่ม คับแคบเกินไป จำนวนนักศึกษาในแต่กลุ่มค่อนข้างมาก กลุ่มละ17 คน ทำให้การอภิปรายแลกเปลี่ยนไม่ทั่วถึง Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล           การประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาโดยนักศึกษา พบว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้มากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น มีความพร้อมในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติมากขึ้น และพึงพอใจกับการเรียนการสอนในรายวิชาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการเรียนในรูปแบบเดิมที่เน้นการบรรยาย ดังข้อมูลในตาราง หัวข้อ รูปแบบบรรยาย (ปี64) Case studies (ปี65) Case studies (ปี66) Mean+SD ระดับ Mean+SD ระดับ Mean+SD ระดับ 1.นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ทั้งในแนวคิด เนื้อหา และกระบวนการ 4.5 + 0.57 ดี 4.6+0.53 ดีมาก 4.8+0.40 ดีมาก 2.นักศึกษามีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มนอกเหนือจากชั้นเรียน 4.4 + 0.61 ดี 4.6+0.54 ดีมาก 4.7+0.4 ดีมาก 3.การเข้าเรียนวิชานี้ทำให้มีความพร้อมในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ 4.4 + 0.64 ดี 4.6+0.55 ดีมาก 4.8+0.40 ดีมาก 4.ในภาพรวมนักศึกษาพึงพอใจกับการเรียนการสอนในรายวิชานี้ 4.5 + 0.55 ดี 4.6+0.58 ดีมาก 4.8+0.40 ดีมาก ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อการเรีนรู้โดยกรณีศึกษา – ดีมาก ๆ ค่ะเป็นวิชาที่ชอบมาก แต่อยากให้เพิ่มเวลาเรียนมากกว่านี้ค่ะ – การสอนแบบวิเคราะห์สถานการณ์โดยให้ผู้เรียนอภิปรายในกลุ่มย่อย และนำเสนอความคิดของกลุ่มย่อย และอาจารย์ช่วยสรุป ทำให้เข้าใจมากขึ้น นักศึกษาเสนอให้มีการสลับและเปลี่ยนกลุ่มพบอาจารย์ทุกคนเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ในมุมมองและวิธีคิดที่หลากหลายมากขึ้น การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาทำให้นักศึกษาเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ดีขึ้น รูปแบบนี้ได้เริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2565 ซึ่งพบว่าผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาสูงขึ้นจากระดับดีในปีการศึกษา 2564 (ค่าเฉลี่ย 4.4-4.5) เป็นระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.6) และในปีการศึกษา 2566 ผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาสูงขึ้นอีก มีค่าเฉลี่ย 4.7-4.8 ซึ่งอาจเป็นผลจากทีมอาจารย์มีทักษะการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาสูงขึ้น          บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่               การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา ดังนี้ นักศึกษาเกิดการเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สามารถประยุกต์ทฤษฎีในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาของกรณีศึกษา นำสู่การวางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของกรณีศึกษาได้ นักศึกษาสามารถศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาให้ในการอธิบายและวิเคราะห์กรณีศึกษาได้ การนำกรณีศึกษาที่มีเค้าโครงเรื่องมาจากผู้ป่วยจริง สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในการปฏิบัติการพยาบาล จึงเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์จริงเมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย สร้างความมั่นใจแก่นักศึกษาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นต่อไป นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม การแสดงความคิดเห็น และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานในทีม และเรียนรู้ว่าการทำงานเป็นทีมนำสู่ความสำเร็จและประสิทธิภาพของงานที่สูงขึ้น นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการใช้ข้อมูลสารสนเทศ จากการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อนำมาสนับสนุนการวิเคราะห์ ตัดสินใจ วินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาล และออกแบบการพยาบาลให้เหมาะสมกับกรณีศึกษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice สร้างกรณีศึกษาให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมสาระสำคัญของการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และมีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้เกิดความคิดวิเคราะห์ในหลายมิติ พัฒนารูปแบบการนำเสนอกรณีศึกษาให้น่าสนใจ เช่น คลิป VDO, Simulation ปรับเปลี่ยนการนำเสนอผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา เป็น one page / mapping / infographic จัดหาห้องเรียนที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับการทำงานกลุ่มของนักศึกษา  

สอนอย่างไรจึงจะทำให้นักศึกษานำความรู้สู่การปฏิบัติได้ Read More »

การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน

การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR1.1.1, KR1.2.1, KR1.2.2, KR1.2.3, KR1.2.4, KR1.3.1, KR1.3.3 และ KR1.4.6  รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ รศ. นันทชัย ทองแป้น วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ กระบวนทัศน์ในการการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยเนื่องด้วยอารยธรรมมนุษย์มีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง จาก “สังคมเกษตร” ที่เน้นการจัดการศึกษาแบบ Informative ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้รายวิชาเพื่อเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร(Information)โดยผลลัพธ์ของการเรียนรู้ก็คือเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ (Experts) สู่ “สังคมอุตสาหกรรม” ซึ่งเป็นยุคของการศึกษาแบบ Formative ที่เน้นในเรื่องของสังคมและคุณค่า (Socialization &Values)โดยผลลัพธ์ของการเรียนรุ้จะเน้นไปในด้านของวิชาชีพ (Profession) โดยให้สามารถควบคุมตัวเองได้ ควบคุมกันเองได้ในกลุ่มวิชาชีพ           ต่อมาเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โลกได้เปลี่ยนมาสู่ สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) และ “สังคมหลังยุคฐานความรู้” (Post Knowledge Based Society) ตามลำดับเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิทัศน์ในทุกมิติทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนกับโลกในยุคที่กล่าวมา จากเดิมที่เคยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี “อนาคตที่ค่อนข้างชัดเจน” สู่ “อนาคตที่เป็นไปได้ในหลากหลายทางเลือก” จากนั้นเปลี่ยนมาสู่ “อนาคตที่ค่อนข้างคลุมเครือ” “อนาคตที่ไร้ความชัดเจน” หรือ “VUCA World”(V ย่อมาจาก Volatility: U ย่อมาจากUncertainty: C ย่อมาจาก Complexity: และ A ย่อมาจาก Ambiguity) และในปัจจุบันเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งที่เคยผันผวนมาก ๆ หมดความน่าเชื่อถือ คนเราไม่ได้รู้สึกถึงความไม่แน่นอนอีกต่อไป แต่เพิ่มระดับเป็นความวิตกกังวลหรือเรียกว่าโลกยุค BANI (B = Brittle – ความเปราะบาง A = Anxious – ความวิตกกังวล N = Nonlinear – ความไม่เป็นเส้นตรง และ I = Incomprehensible – ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ หมายความว่าระบบต่าง ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นความไม่เป็นเส้นตรง สิ่งที่เคยคลุมเครือ กลายเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเข้าใจได้ ซึ่งระบบต่างๆในทุกมิติมีความซับซ้อนมากขึ้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นโลก “โลกที่ไม่พึงประสงค์” ซึ่งเต็มไปด้วยคลื่นวิกฤตเชิงซ้อนเป็นระลอก ๆ ตั้งแต่วิกฤตโควิด-19 วิกฤตซัพพลายเชนโลก วิกฤตพลังงาน วิกฤตอาหาร วิกฤตโลกรวน วิกฤตเงินเฟ้อ ที่อาจตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นต้น           ดังนั้นการจัดการศึกษาเพื่อที่จะผลิตบัณฑิตเพื่อให้รู้เท่าทัน หรือดำรงชีวิตหรือให้สามารถแข่งขันได้ในโลกยุคศตวรรษที่ 21หรือโลกยุค BANI นั้นจำเป็นต้อง เสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้เรียน ในบริบทของความเปราะบางโดยการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมและให้มีชุดความคิดในด้านความยืดหยุ่นในทุกมิติของการดำรงชีวิตมากขึ้นเนื่องจากในโลกที่ไม่เป็นเส้นตรง การใช้ชุดความคิดที่ตายตัวมักจะเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิต ถ้าไม่มีการคิดค้นสิ่งใหม่โดยหวังพึ่งพาแต่วิธีการเดิม ๆ ที่เคยทำมาจะทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้เร็วพอกับการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถแข่งขันได้ นอกจากนั้นการที่ต้องสร้างวิธีการพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆให้กับผู้เรียน เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) สำหรับ เข้ามาช่วยในการดำรงชีวิตในอนาคตเพราะบางครั้งการวางแผนระยะยาวอย่างละเอียดมากเกินไปอาจไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไป           จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตในยุคปัจจุบันนั้นจำเป็นต้องให้ผู้เรียนทำความเข้าใจ “โครงสร้างเชิงระบบ” (Systemic Structure) ที่สามารถแสดงกลไกความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และหยั่งรู้ถึง “ความคิดฐานราก” (Mental Model) ที่กำหนดโครงสร้าง กฎเกณฑ์ รูปแบบ ตัวขับเคลื่อน และผลลัพธ์ของปฏิสัมพันธ์ในเรื่องนั้น ๆ รวมถึงการพัฒนา “ปัญญา” (Wisdom) มิใช่แค่ “องค์ความรู้” (Knowledge) อย่างที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Wisdom for Sustainable Development) นั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจโลกในยุคปัจจุบันอย่างกระจ่างชัด แค่ลำพังขีดความสามารถในการคาดการณ์ (Anticipative Capacity) เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ จะต้องพัฒนา “ขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยน” (Transformative Capacity) โดยต้องเริ่มด้วย “การปรับเปลี่ยน Mindset” มากกว่าการเน้นยกระดับ Skillset หรือการพัฒนา New Skill เพียงอย่างเดียว           วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้มองเห็นว่าการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิตเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดและบทบาทของวิทยาลัยฯจากการเป็นแหล่งเรียนรู้เป็นแหล่งสร้างนวัตกรโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเลือกสร้างนวัตกรรมที่ตรงกับความฝัน (Passion) ของตนเองตามความถนัดและเป็นสิ่งที่ตนเองและโลกต้องการ นอกจากนั้นต้องเปลี่ยนจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการเรียนให้มีความรู้เป็นการเรียนเพื่อรู้เท่าทันและฉลาดรู้ทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการเรียนรู้เพื่อเป็นผู้นำในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงอย่างมีนวัตกรรมรวมทั้งให้ผู้เรียนเปลี่ยนกรอบความคิดละมุมมองจากการให้ความสำคัญเฉพาะกับตัวเองให้มีมุมมองใหม่ที่มองเห็นสังคมส่วนรวมสำคัญกว่าตนเอง           ระบบการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตที่เน้นการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership Attributes)โดยจัดการศึกษาในรูปแบบที่เรียกว่า Transformative Learning ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะหลักในวิชาชีพทั้งที่เป็นองค์ความรู้และทักษะในเชิงสากลและที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศไทย ซึ่งการจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานพลังกัน (Synergy) ในทุกมิติทั้งในเรื่องคนและภารกิจ เพื่อทำให้มิติต่างๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ การรับนักศึกษา สาระวิชาในหลักสูตร การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียน การบริหารและพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน รวมทั้งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ประสานพลัง (Synergy) กันเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           การจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตในรูปแบบที่เรียกว่า Transformative Learning ที่ต้องประสานพลังของมิติต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ระดับคลัสเตอร์ ระดับมหาวิทยาลัยรังสิตรวมทั้งเครือข่ายความร่วมมือทั้งระดับประเทศและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership Attributes) ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะหลักในวิชาชีพทั้งที่เป็นองค์ความรู้และทักษะในเชิงสากลและที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศไทยและโลกในยุค BANI ซึ่งการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องประยุกต์ใช้องค์ความรู้ดังต่อไปนี ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง องค์ความรู้ทางด้านการบริหารที่ประกอบด้วยหลักการการจัดการองค์กร องค์ความรู้ทางด้านการบริหารภารกิจการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา (การบริหารการศึกษา งานวิจัย งานบริการวิชาการ) องค์ความรู้ทางด้านการศึกษา ปรัชญาการศึกษา การสอน จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ การวัดและประเมินผล องค์ความรู้ทางด้าน 21st Century Skills องค์ความรู้แบบองค์รวมในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้นในอนาคตของศตวรรษที่21ของวิศวกรรมชีวการแพทย์โดยเน้นในเรื่องของสภาพปัญหาและข้อจำกัด (Pain Point) ในทุกมิติขององคาพยพทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทยทั้งเรื่องของวิชาการ การวิจัย เรื่องของวงจรชีวิตของเครื่องมือและเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ เรื่องของคนและวิชาชีพเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ และการพัฒนา Career Path ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้กับประเทศไทยรวมทั้งการจัดการศึกษาและพัฒนาบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัยรังสิต การศึกษาดูงานจากสถาบันการศึกษาและองค์กรในลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์การทำงาน องค์ความรู้อื่นๆที่ตกผลึกจากประสบการณ์การทำงานทางด้านการบริหารงานในระดับหมวดวิชา ระดับภาควิชา และระดับหลักสูตรระดับคณะและวิทยาลัย รวมทั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพรวมทั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งประเทศไทยมากว่า 30 ปี วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ องค์ความรู้ทั้งหมดที่กล่าวมาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ระบบการรับนักศึกษา การพัฒนาสาระหลักสูตรที่ต้องตอบสนองต่อทักษะสากลในศตวรรษที่21รวมทั้งต้องตอบสนองต่อความต้องการ (Demand) ของประเทศไทย การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การบริหารและพัฒนาอาจารย์ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา การวัดและประเมินผู้เรียน การบริหารและพัฒนาอาจารย์ รวมทั้งการพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ (Eco-System) โดยปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาจะต้องทำงานแบบประสานพลังกันเพื่อทำให้การจัดการศึกษาและการพัฒนาบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นเป็นไปในทิศทางที่ทำให้โลกของการเรียนรู้ โลกของการทำงาน และโลกแห่งอนาคต เป็นโลกเดียวกัน) โดยสามารถเขียนเป็นวงจรคุณภาพโดยสรุปได้ดังรูปที่ 1                                                 รูปที่ 1 วงจรคุณภาพของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์            พิจารณาจากรูปที่ 1 เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนดังนั้นกระบวนการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาบัณฑิตแบบองค์รวมจะเริ่มจากที่มาของรายได้หลักคือระบบการรับนักศึกษา รายได้รองมาจากงานวิจัยและงานบริการวิชาการในลักษณะต่างๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารและพัฒนาอาจารย์  โดยรายได้ดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในเรื่องของระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุน ใช้ในระบบการพัฒนาสาระวิชาในหลักสูตรระบบการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียน รวมทั้งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จากนั้นจึงใช้หลักการประสานพลัง (Synergy) ทั้งทรัพยากรบุคคลและภารกิจในการจัดการศึกษาแบบองค์รวม เพื่อผลิตงานวิจัยและบัณฑิตที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณเมื่อผลงานวิจัยงานบริการวิชาการและบัณฑิตมีคุณภาพก็จะส่งผลต่อชื่อเสียงของวิทยาลัยฯและจะเป็นปัจจัยย้อนกลับมายังค่านิยมทางด้านการศึกษาและการสนับสนุนทุนวิจัยให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปอย่างยั่งยืนไม่มีที่สิ้นสุด ในที่นี้จะกล่าวถึงการบริหารจัดการระบบต่างๆโดยสรุปดังนี้ ระบบการจัดทำสาระวิชาในหลักสูตร     การจัดทำสาระวิชาในหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นเป็นระบบที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก โดยการออกแบบและจัดทำสาระวิชาในหลักสูตรต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่สำคัญคือ ปัญหาของโลก และปัญหาของประเทศ(Pain Point) และมาตรฐานของวิชาชีพ ที่เหมาะสมกับยุคและสมัยของการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ของวิชาชีพ วงจรชีวิตของเทคโนโลยีในวิชาชีพ สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างองค์ความรู้และทักษะในระดับสากลและความต้องการของประเทศไทย โดยต้องให้สถานประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคมวิชาชีพมีส่วนร่วมในการจัดทำด้วย โดยสาระวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ ในยุคการแพทย์ที่เน้นการดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care : Corrective Medicine) ในระหว่างปีพ.ศ.2545-2560 ที่เน้นในเรื่องของการแก้ไขปัญหาในเรื่องการขาดแคลนบุคลากรและความพอเพียงและความพร้อมใช้รวมทั้งความปลอดภัยของผู้ป่วยที่เกี่ยวของกับเครื่องมือแพทย์ดังนั้นสาระวิชาของหลักสูตรในยุคนี้จะเน้นทางด้านการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมคลินิก (Clinical Engineering) และการวิจัยและพัฒนาต่อมาเป็นยุคตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 จนถึงปัจจุบันที่เน้นทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพหรือการแพทย์เชิงป้องกัน (Healthcare : Preventive Medicine) โดยทั้งสองยุคนั้น สิ่งที่เป็นที่ต้องการของประเทศไทยก็คือเรื่องของความมั่นคงทางด้านเรื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพโดยสาระวิชาในยุคปัจจุบันจะเน้นในเรื่องของทรานสฟอร์มเมชันทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ (Digital Transformation in Medical Device and Healthcare Technology) ควบคู่กับวิศวกรรมคลินิก โดยทั้งสองยุคนอกจากจะเน้นความรู้และทักษะทางด้าน Hard Skillsในวิชาชีพแล้วยังเน้นทางด้าน Soft Skills อีกทางหนึ่งด้วย การบริหารและพัฒนาอาจารย์รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุน สำหรับปัจจัยที่สำคัญต่อมาก็คือการจัดการในเรื่องของการบริหารจัดการบุคคลให้เหมาะสมกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่คาดหวังโดยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดโครงสร้าง บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุนวิชาการให้สอดคล้องกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ดังรูปที่ 3 โดยมีกระบวนการรับและพัฒนาบุคลากรโดยสรุปดังรูปที่ 2                                                                                                        รูปที่ 2 กระบวนการรับและพัฒนาบุคลากร           พิจารณาจากรูปที่ 2 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ประกอบด้วย ระบบการบริหารและพัฒนาอาจารย์ในลักษณะการประสานพลัง ในทุกมิติของภารกิจของอาจารย์ระดับอุดมศึกษาเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยและเป็นไปตามแผนพัฒนาวิทยาลัยสำหรับในส่วนของการบริหารจัดการและการพัฒนาอาจารย์จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ระบบการรับอาจารย์และแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร การบริหารอาจารย์ การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ที่ประกอบด้วย การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านภาระหน้าที่ในการพัฒนาคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ และการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทั้งนี้เพื่อให้อาจารย์มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนรู้การส่งเสริมและการพัฒนานักศึกษา           สำหรับปัจจัยที่สำคัญต่อมาก็คือการจัดการในเรื่องของการบริหารจัดการบุคคลให้เหมาะสมกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่คาดหวังโดยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดโครงสร้าง บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุนวิชาการให้สอดคล้องกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ดังรูปที่ 3                                                   รูปที่ 3 วิธีการการประสานพลังในการจัดการศึกษา           พิจารณาจากรูปที่ 3 สามารถอธิบายโดยสรุปได้ดังนี้           ในรูปที่ 3 จะเห็นว่าเป้าหมายของวิทยาลัยคือการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตตามยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงได้จัดแบ่งบุคลากรออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนการบริหารจัดการและส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นไปตามผลลัพธ์ ส่วนทีมพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ต้องประสานพลังกันกับงานวิจัยและบริการวิชาการ และส่วนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าโดยทั้งสามส่วนจะทำงานในลักษณะประสานพลังซึ่งกันและกัน สำหรับการจัดการในเรื่องของการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตนั้นก็จะใช้หลักการประสานพลังในภารกิจซึ่งกันและกันทั้งงานสอน งานวิจัยและงานบริการวิชาการ รวมทั้งงานทางด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีกลยุทธ์ที่สามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังรูปที่ 4                                                     รูปที่ 4 วิธีการการประสานพลังในการจัดการศึกษา           พิจารณาจากรูปที่ 4 เนื่องจากภูมิทัศน์ของโลกเปลี่ยนไปส่งผลทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนตามไปด้วย ท้ายที่สุดที่สำคัญก็คือทักษะที่ต้องการในการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ดังนั้นวิธีการการเรียนรู้ของผู้เรียนก็ต้องเปลี่ยน การเน้นการสอนไม่ได้ผล ต้องเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งผู้สอนและผู้เรียน อาจารย์ต้องไม่เน้นสอน แต่ต้องเน้นการออกแบบการเรียนรู้ เน้นสร้างแรงบันดาลใจ เน้นการเป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ไม่ใช่เป็นผู้สอน สำหรับกลยุทธ์และแนวทางในการจัดการการศึกษาและการพัฒนาบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์แบบองค์รวมโดยการประสานพลัง ทั้งคนและภารกิจเข้าด้วยกันโดยที่การทำภารกิจหนึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์และเชื่อมโยงไปยังอีกภารกิจที่เหลือด้วยโดยการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Outcome Based Learning)โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทั้งรูปแบบ Project Based LeaningและResearch Based Learning ที่เน้นการเรียนรู้และศึกษาปัญหาโจทย์วิจัยจาก Real Sector จากเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะของการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โดยกระบวนการโดยสรุปของการพัฒนาการจัดการศึกษาและการพัฒนาบัณฑิต เพื่อให้เป็นBrain Powerตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิตดังนี้ ชั้นปีที่ 1 เน้นในเรื่องการปรับ Mindset การสร้าง Passion และปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ See it, Own it , Solve it, Do it ควบคู่ไปกับความและทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐาน ชั้นปีที่ 2 จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Module โดยการสลายรายวิชาเพื่อเน้นการพัฒนาแนวคิดการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพแบบAnalog และแบบ Digital พร้อมๆกันกับเน้นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีม ชั้นปีที่ 3 จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Module โดยเน้นการพัฒนาแนวคิกการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพแบบอัจฉริยะ (Smart Medical Devices and Healthcare Technology) และการพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมคลินิก พร้อมๆกับการพัฒนา Mind Setในด้านความทะเยอทะยาน (Ambition) จิตสำนึกในด้านบริการโดยใช้ BIS-Center และชมรมเครื่องมือแพทย์ RSU เพื่อสังคมเป็นฐาน พร้อมทั้งเรียนรู้การศึกษาและหาแนวทางแก้ปัญหาจากสถานประกอบการจริงทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ชั้นปีที่ 4 จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Module โดยเน้นการพัฒนาแนวคิดการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษา Module Mini MBA การบริหารจัดการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ และการฝึกงานทั้งในและต่างประเทศตามความต้องการของนักศึกษา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางด้านนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการโดยใช้ห้องวิจัยของวิทยาลัยทั้ง 7 ห้องวิจัย BIS Center รวมทั้ง Technology Transfer Center (TTC) และสถานประกอบการจริงทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้           จากกระบวนการพัฒนานักศึกษาที่กล่าวมานั้นสิ่งที่สำคัญอีประการหนึ่งที่จะทำให้กลยุทธ์ในการจัดการศึกาและการพัฒนาบัณฑิตที่กล่าวมาประสบความสำเร็จคือการวัดและประเมินผล โดยทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการวัดและประเมินผลเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนเช่นการเปลี่ยนจากข้อสอบเป็นความลับ เป็นเปิดเผยมากขึ้น การเปลี่ยนจากสอบมีเฉพาะสอบวัดผลเป็นคนๆ เป็นการสอบวัดผลเป็นทีมด้วยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการวัดและประเมินจะเน้นการวัดคุณค่าของการพัฒนาแนวความคิดมากกว่าถูกหรือผิด การพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้           สิ่งหนึ่งที่วิทยาลัยได้ให้ความสำคัญในการดำเนินภารกิจตาม “ปณิธาน”ที่ว่ามุ่งทำให้“โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงาน และโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน” ก็คือเรื่องของ “ระบบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปที่ 1จะเห็นว่าระบบสนับสนุนการเรียนรู้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวส่งเสริมความสำเร็จในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนรวมทั้งการส่งเสริมบรรยากาศการทำงานของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน การพัฒนาระบบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนจะประกอบด้วยการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า Hardware และ Software เป็นสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ในรูปของความรู้สึกและบรรยากาศทั้งหมดที่เรียกว่า Eco – System สำหรับการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ผ่านมาสามารถกล่าวโดยสรุปได้แก่ สภาพแวดล้อมบริเวณรอบนอกวิทยาลัยประกอบด้วย สวนต้นไม้ ป้าย Backdrop ต่างๆ ที่นั่งพักผ่อน ห้องทำกิจกรรมของนักศึกษา ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ที่เป็น Hardware เพื่อทำให้บรรยากาศในห้องเรียนทุกห้องไม่ใช่เป็นบรรยากาศแห่งที่สอนหนังสือ แต่ต้องเป็นบรรยากาศที่สอดคล้องกับวิชาชีพคือวิศวกรชีวการแพทย์ ที่ประกอบด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้แก่ บรรยากาศการเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก บรรยากาศการเป็นศูนย์สำหรับการสอบเทียบ บรรยากาศในการเป็นศูนย์บำรุงรักษาที่ได้มาตรฐาน บรรยากาศของหอผู้ป่วยในรูปแบบต่างๆทั้งห้อง ICU ห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วยแบบต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพเป็นต้น ระบบสนับสนุนการเรียนรู้แบบ Online ที่เป็น Software ทางวิทยาลัยได้มุ่งทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้ของผู้เรียนสอดคล้องกับปรัชญาในเรื่องของเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการและเหมาะสมกับ Life Style ของผู้เรียนในทุก Generation ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านของการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองในการ“ก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยได้มีการพัฒนาระบบห้องวิจัย ระบบการเผยแพร่ผลงานวิจัย ระบบการนำผลงานวิจัยไปดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบการสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านงานบริการวิชาการที่สอดคล้องกับวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อรองรับการวิจัยของคณาจารย์ รวมทั้งนักศึกษาในทุกระดับทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก การรับนักศึกษา                  การดำเนินงานในด้านยุทธศาสตร์การรับนักศึกษานั้นจะกระกอบด้วยการประชาสัมพันธ์ การรับนักศึกษา โดยทั้งสองกระบวนการจะเน้นการใช้ผลงานในภาพรวมของวิทยาลัยฯที่กล่าวมาทั้งหมดในการประชาสัมพันธ์ทั้งเชิงรุกและเชิงตั้งรับในสื่อหลักและสื่อสังคมรวมทั้งการจัดกิจกรรมขึ้นทั้งในวิทยาลัยฯและนอกมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้ผู้สนใจที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ของหลักสูตรจำนวนมากขึ้น Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน  ผลลัพธ์ที่ได้ ในระดับหลักสูตร สามารถพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครบทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก มีทั้งแผนการเรียนภาษาไทยและแผนการเรียนนานาชาติ มาตรฐานทางด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์อยู่ในระดับดีเยี่ยมโดยสัดส่วนของคุณวุฒิปริญญาโทต่อปริญญาเอกของอาจารย์และสัดส่วนของตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์อยู่ในระดับดีเยี่ยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสืบค้นข้อมูลพบว่าตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ของอาจารย์วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตมีจำนวนสูงสุดในบรรดามหาวิทยาลัยของประเทศไทย จำนวนนักศึกษาแรกเข้าของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากในระยะเริ่มต้นรวมทุกชั้นปีจำนวนประมาณ 160 คน ปัจจุบันมีนักศึกษารวมทุกชั้นปีทุกระดับการศึกษาจำนวนประมาณมากกว่า 400 คน ผลงานทางวิชาการของนักศึกษาและอาจารย์ทั้งผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมรวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และที่เกี่ยวข้องในแต่ละปีการศึกษาเกิดขึ้นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงจำนวนมาก นักศึกษาและอาจารย์ของวิทยาลัยฯความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติได้รับรางวัลในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ บัณฑิตที่จบออกไปได้งานก่อนจบ และ จบไปแล้วไม่เกินระยะเวลา 2 เดือนได้งานครบ 100 เปอร์เซ็นต์ผู้ที่ทำงานในอัตราเงินเดือนเริ่มต้นที่สูงกว่ามาตรฐานของสกอ. รวมทั้งสามารถสอบเรียนต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในส่วนหลักสูตรนานาชาติหลักสูตรภาษาไทยและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับ 1-10 ของโลกเช่น Imperial College ของอังกฤษ เป็นต้น บัณฑิตมีความจงรักภักดีกับสาขาวิชา คณะฯและมหาวิทยาลัย ให้ความร่วมมือกับสาขาวิชาในด้านต่างๆด้วยดีตลอดมาตั้งแต่รุ่นที่ 1 จนถึงปัจจุบัน อัตราการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานของบัณฑิตที่ได้รับการพัฒนาในทิศทางดังกล่าวพบว่ามีการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานทั้งในเรื่องค่าตอบแทนและตำแหน่งในระดับดีมาก ศิษย์เก่าที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารในบริษัทแม่ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศออสเตรีย ทำงานเป็นวิศวกรที่ปรึกษาขององค์กรระหว่างประเทศทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นผู้บริหารในองค์กรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั้งระดับกลางและระดับดับสูง รวมทั้ง สามารถทำการเปิดบริษัทของตัวเองทางด้านอุปกรณ์การแพทย์ในขณะที่จบการศึกษาออกไปได้เพียง 2 ปีและบริษัทดังกล่าวมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับที่ดีในตลาดเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย ระดับคะแนนการประกันคุณภาพประจำปีเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยรังสิตต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 3 ปี ความพึงพอใจของนักศึกษาในทุกระดับการศึกษาในด้านระบบสนับสนุนการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมากตลอดมา จากการสอบถามนักศึกษาแรกเข้าพบว่า ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ทำให้เป็นที่ต้องการเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตคือความพร้อมของระบบสนับสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยฯ   ในระดับสถาบัน ผลงานและความสามารถในการแข่งขันของนักศึกษาและคณาจารย์สามารถทำชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตได้หลายๆผลงานในทุกปีการศึกษา ได้รับการยกระดับจากมหาวิทยาลัยรังสิตจากระดับหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้เป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ตามลำดับ   ในระดับวิชาชีพและระดับประเทศ มีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในผู้นำในการยกระดับวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้มีตัวตนในวิชาชีพของประเทศ นักศึกษาและบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านวิชาชีพของประเทศไทยและมีส่วนในการร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศในการเป็นหนึ่งในทีมงานที่มีคุณภาพในด้านการดูแลรักษาสุขภาพให้กับประชาชนอย่างมีมาตรฐานเท่าเทียมกับระดับสากล สามารถกำจัดและ/หรือลด Pain Point ทางด้านวิศวกรรมคลินิกและ/หรือความมั่นคงทางด้านเครื่องมือแพทย์ให้กับประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้นำในด้านการพัฒนาทางด้าน Digital Transformation ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางด้านการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทย   ในระดับอาเซียนและนานาชาติ เป็นผู้ผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และวางระบบบริหารจัดการงานเครื่องมือแพทย์ให้กับประเทศสปป.ลาวตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยจากการติดตามผลของความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานของบัณฑิตในประเทศสปป.ลาวตลอดมากกว่า 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีเยี่ยมโดยในปัจจุบันประเทศสปปป.ลาวได้นำเอาหลักและวิธีการที่ได้เรียนรู้จากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการรวมทั้งการปฏิบัติงานและที่สำคัญผู้บริหารที่เป็นรับผิดชอบงานเครื่องมือแพทย์ทั้งประเทศสปป.ลาวคือบัณฑิตจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตรวมทั้งได้รับทุนการศึกษาจากต่างประเทศให้มาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตอย่างต่อเนื่อง จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระดับนานาชาติของประเทสในย่านอาเซียน   อื่นๆ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นเป้าหมายแรกๆของบุคคลจากภายนอกที่ต้องการมาเยี่ยมชมดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิตเพราะปัจจัยที่สำคัญลำดับแรกๆก็คือต้องการมาเยี่ยมชมพร้อมของระบบสนับสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยฯ วิทยาลัยฯได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกเช่นสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สอบรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์จำนวนอย่างน้อย 3 มาตรฐานวิชาชีพคือ วิชาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ในโรงพยาบาล วิชาชีพการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ และวิชาชีพการผลิตเครื่องมือแพทย์เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญที่สุดในการได้รับการรับรองคือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนรู้เช่นอาคารสถานที่และอุปกรณ์เครื่องมือเป็นต้น ผลงานวิจัย ทุนสนับสนุนการวิจัย รวมทั้งคะแนนประกันคุณภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ติด3อันดับแรกของมหาวิทยาลัยรังสิตในตลอดระยะ 5 ปีที่ผานมา ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลถึงความสำเร็จนี้ก็คือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งรวมทั้งการทำวิจัยด้วยในทุกมิติที่ส่งผลทำให้การขอทุนวิจัย การผลิตผลงานวิจัยการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยรวมทั้งงานบริการวิชาการที่ทางวิทยาลัยได้ทำในลักษณะ Synergy ภารกิจนั่นเอง   อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน สำหรับความท้าทายของการดำเนินการตามแนวคิดและหลักการที่ได้กล่าวมมานั้นสามารถสรุปได้ดังนี้ ส่วนของบุคลากรสายอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่ ในระยะเริ่มต้น ที่จะต้องปรับแนวความคิดหรือชุดความคิด (Mindset) และหลังจากที่ผ่านทดลองงานหรือมีประสบการณ์ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปก็จะสามารถดำเนินการได้ราบรื่นมากขึ้น ส่วนของกฎระเบียบส่วนกลางต่างๆที่เกี่ยวข้องในทุกระดับทั้งระดับมหาวิทยาลัย และ/หรือระดับประเทศที่อาจจะเป็นข้อจำกัดหรืออุปสรรคเนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่หลากหลายรูปแบบดังนั้นจึงต้องใช้พลังงานของผู้บริหารระดับคระ/วิทยาลัยในการทำความเข้าใจ แก้ไขและปรับปรุงเป็นระยะๆอยู่ตลอดเพื่อให้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่  เนื่องจากภูมิทัศน์ของโลกในทุกๆมิติรวมทั้งนักศึกษาที่เข้าใหม่ในแต่ละรุ่น (Generation) มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางเกือบทุกมิติในทุกๆปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ในทุกๆปี ที่สำคัญที่สุดก็คือโลกหลังยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และโลกหลังยุคสังคมฐานความรู้ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของทางด้านการแพทย์จากการแพทย์เชิงตั้งรับ (Patient Care) เป็นการแพทย์เชิงรุกหรือเชิงป้องกัน (Healthcare หรือ Care for Citizen) ปรากฏการณ์ดังกล่าวทางวิทยาลัยฯได้ทำการตรวจสอบ ติดตามและเฝ้าระวังเพื่อรับมืออยู่ตลอดเวลาและมีการแก้ไข ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยและเป้าหมายบางของยุทธศาสตร์และการดำเนินกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลาทั้งในระยะ6 เดือนระยะ1 ปี ระยะ3 ปีและระยะ5 ปี โดยที่แกนหลักของยุทธศาสตร์คือการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบ Transformative Learning โดยมีหลักการ แผนงานและวิธีการดำเนินการและเป้าหมายดังรายละเอียดที่กล่าวมาข้างต้น จากการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนและวิธีการการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นซึ่งถือได้ว่าเป็นความรู้และวิธีการที่ค้นพบใหม่และพิสูจน์มาแล้วตลอดกว่า20ปีที่ผ่านมาพบว่าแนวคิดเกี่ยวกับวงจรคุณภาพ (รูปที่1) วิธีการการบริหารจัดการ (รูปที่2) และวิธีการการประสานพลังในการจัดการศึกษา (รูปที่3 และรูปที่4) ที่ได้คิดและจัดทำขึ้นมาและนำไปใช้ในการลงมือปฏิบัติงานจริงในระยะที่ผ่านมา โดยการปรับปรุงรายละเอียดบางประการอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงนั้น สามารถทำให้การบริหารจัดการงานการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตประสบความความสำเร็จตามเป้าหมายของผลลัพธ์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ของผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นที่ชัดเจน (ดังรายละเอียดในหัวข้อเรื่องผลลัพธ์ที่ได้) ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice  เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีหลายกลุ่มคณะ/วิทยาลัยทำให้แนวทางและยุทธศาสตร์การดำเนินการในการจัดการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ แต่ทุกรูปแบบสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายต่ำสุดของยุทธศาสตร์(Minimum Requirement) ของมหาวิทยาลัยได้ ในส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ก็ยังคงยึดถือแนวทางที่กล่าวมาและจะปรับปรุงในรายละเอียดบางส่วนอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของโลกและประเทศไทยในมิติต่างๆ  สำหรับการดำเนินการเพื่อให้สามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้นจริงๆแล้วในหลายคณะ/หลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรังสิตและ/หรือสถาบันการศึกษาของภาครัฐที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศไทยได้ใช้แนวทางบางส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน สาระเนื้อหาวิชาในหลักสูตร วิธีการวัดและประเมินผลอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้มีการอ้างอิงโดยตรง

การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน Read More »

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ Story Line สไตล์ นวัตกรรมเกษตร

เทคนิคการจัดการเรียนการสอน แบบ Story Line สไตล์ นวัตกรรมเกษตร ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ รองศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ เศรษฐฐิติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ สุรวาณิช, ดร.อาทิตย์ พงษ์ทิพย์,อ.ประณต มณีอินทร์, อ.ธนกร พรมโคตรค้า, อ.ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด คณะนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ จากสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนในรูปแบบการบรรยายเพียงอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์กับแนวทางการศึกษาของยุคเทคโนโลยีปัจจุบันอย่างแท้จริง เนื่องจากทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจเนื้อ หาได้อย่างลึกซึ้ง ไม่สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชิงสร้างสรรค์ได้ ไม่สามารถต่อยอดทางความคิดได้ และไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นทางคณะนวัตกรรมเกษตรจึงส่งเสริมให้มีการเรียนการสอน และการประมวลผลองค์ความรู้เชิง “บูรณาการ” โดยผนวกกันระหว่างการบูรณาการทางเทคนิคการสอน และบูรณาการด้านประมวลความรู้หรือการสอบ เน้นให้นักศึกษาสามารถเห็นความเชื่อมโยงกันของเนื้อหาวิชาซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ นำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการกับชีวิตประจำวัน และสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้ อีกทั้งการเรียนการสอนเชิงและการสอบประมวลผลเชิง “บูรณาการ” ตามแบบฉบับนวัตกรรมเกษตร ผู้เรียนจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะกับเกษตรกรและชุมชนเพิ่มขึ้นด้วย และเนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่การศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นที่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนและในทุกสถานที่ที่ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การเรียนการสอน และการประมวลผลองค์ความรู้เชิง“บูรณาการ” ที่คณะนวัตกรรมเกษตรดำเนินการนั้น เป็นการนำ เทคนิค Storyline Method ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนแบบ “บูรณาการ” เป็นหลัก ซึ่งการบูรณาการในที่นี้ คือ 1) การบูรณาการด้านเทคนิคการสอน เนื้อหารายวิชาในหลายๆวิชาในเทอมนั้นๆเข้าด้วยกัน การบูรณาการทางเทคนิคการสอนของคณะนวัตกรรมเกษตร เป็นการนำเทคนิคการสอนต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลายวิธีเข้ามาใช้ร่วมกันในการสอน โดยจะเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม และการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ที่สำคัญคือการใช้เทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-Based Learning) และเทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้จากการทดลอง (Project-Based Learning) ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงการให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์อื่นๆจากนอกห้องเรียน นอกจากนั้นยังมีกระบวนการประเมินผลพัฒนาการผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย กระตุ้นให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ การปฏิบัติ และการค้นคว้าด้วยตนเอง รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่นๆ และผู้เรียนคนอื่นสามารถร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น สำหรับการบูรณาการเนื้อหาในหลายๆวิชาเข้าด้วยกัน เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอนของคณะนวัตกรรมเกษตร เน้นการผสมผสานความรู้ที่ได้จากการเรียนในแต่ละรายวิชา โดยที่ผู้สอนจะมีการจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการขึ้นในรูปแบบของ Problem-Based Learning หรือ Project-Based Learning และให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากในรายวิชาต่างๆ มาใช้ประกอบในกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา และทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการนั้นๆ พร้อมทั้งมีการนำเสนอผลของกิจกรรมบูรณาการในรูปแบบของการสัมมนา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะของการนำเสนอผลงานและพัฒนาบุคลิกภาพไปในตัวเป็นการจัดการเรียนการสอนที่คณะนวัตกรรมเกษตรดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการปรับปรุงเทคนิครูปแบบให้เข้ากับยุคสมัยของสื่อสังคมและความสนใจของนักศึกษาเป็นหลัก  ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ : นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Storyline วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยจะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ เรียกว่า การกำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา   “บูรณาการ” เกิดจากผู้เรียนนำความรู้จากทุกรายวิชามาประมวลผลผ่านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ เชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำไปแก้ปัญหาและวางแผนจัดการด้านนวัตกรรมเกษตร โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำตลอดการทำกิจกรรม ซึ่งการนำความรู้จากทุกรายวิชามาเชื่อมโยงกัน จะมีรายวิชาหลัก (Main Project) และรายวิชารอง (Secondary Project) รวมอย่างน้อย 3 วิชา ผนวกกับข้อมูล/ข้อคิดเห็นของเกษตรกร (Data base) ที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น Data Science จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะกับเกษตรกรและชุมชน จึงทำให้เกิด “การสอบบูรณาการ” ซึ่งการสอบดังกล่าวผู้เรียนต้องนำเสนอผลงานบูรณาการในรูปแบบการสัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะกับเกษตรกรและชุมชนด้วย  ลักษณะเด่นของวิธีการสอน เป็นการกำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ โดยเน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง ซึ่งยังคงยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด และนอกจากนี้ยังยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างกลุ่ม  เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Head) ด้านอารมณ์ เจตคติ (Heart) และด้านทักษะปฏิบัติ (Hands) ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning)  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)เจ้าของความรู้ นำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.  2565-2569 มาตีความสู่การดำเนินงานความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)เจ้าของความรู้ถอดความรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอน แบบ Storyline Method หลังจากที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 วิธีการดำเนินการ คณะนวัตกรรมเกษตรได้ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนและการประเมินผล จึงได้นำรูปแบบการการสอบประมวลผลแบบบูรณาการมาใช้ตั้งแต่ปี 2557 และเห็นว่าเป็นวิธีการประเมินผลที่ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ สามารถประเมินผลได้ครอบคลุมทุกด้านและได้มีการปรับปรุงรูปแบบการสอบบูรณาการให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและสถาณการณ์ปัจจุบัน  จากการที่คณะนวัตกรรมเกษตร  ได้ดำเนินการสอบประมวลความรู้แบบบูรณาการมาเป็นเวลา 10 ปี มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ อาจารย์ประจำหลักสูตรจัดประชุมกำหนดวันสอบบูรณาการลงในปฏิทินกิจกรรมคณะ  ประชุมกลุ่มย่อยของอาจารย์ผู้สอนในแต่ละ รายวิชา ของแต่ละชั้นปี  โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะกำหนดให้มีการสอบบูรณาการในภาคการศึกษาที่ 2 ส่วนชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 สอบบูรณาการ ทั้งสองภาคการศึกษา ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะไม่มีการสอบบูรณาการ แต่จะเป็นการสอบสัมมนาและโครงการพิเศษ  อาจารย์ประจำกลุ่ม  กำหนดกรอบเนื้อหาวิชา (Storyline) ซึ่งเป็นการกำหนดหัวข้อเชิงบูรณาการ อาจเป็นกิจกรรมในรูปแบบของ Problem-Based Learning หรือ Project-Based Learning ซึ่งการกำหนดการสอบเชิงบูรณาการนี้จะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหาของหลายๆรายวิชา และผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดรายวิชาที่นำมาบูรณาการร่วมกัน แล้วประกาศให้นักศึกษาทราบ พร้อมยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นการเชื่อมโยงองค์ความรู้ของเนื้อหาวิชาและแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้  ชี้แจงเกณฑ์การประเมิน  กำหนดวันสอบบูรณาการ รูปแบบการเตรียมสื่อเพื่อนำเสนอ  ติดตาม สังเกตุการณ์ กระตุ้นและให้คำแนะนำแก่นักศึกษา ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงสอนให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการจำได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องท่องจำ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความเข้าใจ อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นกรรมการประเมินผลการสอบบูรณาการของนักศึกษา ตั้งคำถาม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับจากการนำเสนอมาปรับปรุง และจัดทำรายงานบูรณาการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นักศึกษานำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในทุกรายวิชา มาใช้ประกอบในกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สำหรับแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร วางแผนหรือบริหารจัดการระบบเกษตรให้มีความเหมาะสม ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตสูง มีการจัดการสุขภาพพืชได้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีความทันสมัย และทำให้การทำการเกษตรในปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย นักศึกษานำเสนอและอภิปรายผลของกิจกรรมบูรณาการในรูปแบบของการสัมมนา มีการตั้งคำถามจากผู้สอนหลายๆท่านและผู้เรียนคนอื่นๆ รวมถึงมีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆภายในห้องสัมมนา ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แบบบูรณาการไปใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปช่วยเหลือชุมชนและสังคม รวมถึงการนาความรู้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจต่อไป Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และสิ่งที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว  ผลการดำเนินงาน   Class GPA ของทุกรายวิชา สูงขึ้น จากการจัดการเรียนการสอนและการสอบเชิงบูรณาการแบบ Storyline พบว่าทุกรายวิชา นักศึกษามีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ปกติ นักศึกษาสามารถนำเสนอผลงานบรูณาการได้ สามารถตอบคำถามและเชื่อมโยงองค์ความรู้ในแต่ละส่วนของรายวิชาได้ เป็นอย่างดี และจากการสังเกต นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเตรียมการในการสอบบูรณาการ ทำความเข้าใจกับเนื้อหารายวิชา นักศึกษามีความสุข มีความภาคภูมิใจในการตอบคำถามอย่างเข้าใจ ทำให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมจากคะแนนและเกรดเฉลี่ยรวม (Calss GPA) สูงขึ้น เพราะนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง (Project-Based Learning) ซึ่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่นี้ ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำตลอดการทำกิจกรรม ผู้เรียนได้ฝึกการนำเสนองานทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม พร้อมมีการแลกเปลี่ยนความรู้ และข้อเสนอแนะจากผู้สอน และผู้เรียนคนอื่นๆ อีกทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะกับเกษตรกรและชุมชนอีกด้วย โดยกิจกรรมบูรณาการ เกิดจากผู้เรียนนำความรู้จากทุกรายวิชามาประมวลผลผ่านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ เชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำไปแก้ปัญหาและวางแผนจัดการด้านนวัตกรรมเกษตร โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำตลอดการทำกิจกรรม ซึ่งการนำความรู้จากทุกรายวิชามาเชื่อมโยงกัน จะมีรายวิชาหลัก (Main Project) และรายวิชารอง (Secondary Project) รวมอย่างน้อย 3 วิชา ซึ่งในแต่ละรายวิชามีการปรับปรุงให้ทันสมัยตามเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ ผนวกกับข้อมูล/ข้อคิดเห็นของเกษตรกร (Data base) ที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น Data Science จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะกับเกษตรกรและชุมชน จึงทำให้เกิด “กิจกรรมบูรณาการ” โดยกิจกรรมดังกล่าวผู้เรียนต้องนำเสนอผลงานบูรณาการในรูปแบบการสัมมนา และมีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนด้วย ดังนั้น จึงเป็นการประเมินนักศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกๆ รายวิชาอีกด้วย จากการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการมีลำดับขั้นตอนการเรียนการสอนตั้งระดับชั้นปีที่ 1 ถึงระดับชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นการการเรียนการสอนรายวิชาที่เป็นวิชาพื้นฐานเป็นลำดับแรกที่เป็นความเหมาะสมเอื้อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในระดับชั้นปีที่สูงขึ้นไป นอกจากนี้การเรียนรู้ของนักศึกษาใช้เป็นระบบเปิด ที่ไม่จำเป็นต้องมีการท่องจำบทเรียนเพียงอย่างเดียว นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น Ipad เป็นต้น หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ มาประกอบกับการเรียน ผ่านระบบการค้นคว้าข้อมูลทางระบบอินเตอร์เน็ตได้ด้วย ดังนั้น เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา นักศึกษาทุกคนจะต้องมีการสอบประมวลผลความรู้ที่ได้เรียนมาในรูปแบบการนำเสนอบรรยาย ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ คือ Tiktok เพื่อให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนและหลักสูตรก็ได้มีการปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันเพิ่มขึ้นด้วย  ส่งเสริมการทำวิจัยของนักศึกษา : การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่เป็นนวัตกรรม จะช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาของเราได้สำรวจและค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อจุดประกายความคิดนำมาเป็นโจทธิ์วิจัยเชิงบูรณาการได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จาก การที่นักศึกษา เข้าใจการเชื่อมโยงองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา แล้วนำมาตั้งโจทย์วิจัย หรือโครงการพิเศษ ตั้งสมมุติฐาน และหาวิธีพิสูจน์สมมุติฐาน บนพื้นฐานของความถูกต้องของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผ่านรายวิชาโครงการพิเศษ ซึ่งจะมีการประเมินองค์ความรู้จากอาจารย์ประจำหลักสูตร ตัวอย่างผลการดำเนินงานที่เห็นเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและการสอบแบบบูรณาการของคณะ และเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาคิดโจทย์วิจัยแบบบูรณาการ และงานวิจัยดังกล่าวได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นคือ “เรื่องผลของทริปโตเฟนร่วมกับแสง LED ต่อคุณภาพและสารสำคัญในเห็ดเมจิกภายใต้สภาพปลอดเชื้อ” (THE EFFECT OF TRYPTOPHAN IN COMBINATION WITH LED LIGHT ON THE QUALITY AND CONSTITUENTS OF MAGIC MUSHROOMS UNDER STERILE CONDITIONS) ส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา ; จากการที่ทางคณะได้จัดให้มีการสอบแบบบูรณาการ และมีการนำเสนอผลงานผ่านการสัมมนา เป็นผลทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การเรียงลำดับเนื้อ การเตรียมสื่อ บุคลิกภาพ ทำให้นักศึกษามีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ทำให้มีผลงานวิจัยของนักศึกษาที่ผ่านการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ และได้รับรางวัลเป็นประจำทุกปี เช่น  ปี 2564  ผลงานวิจัยเรื่อง “การให้ปุ๋ยน้ำหมักมูลหนอนไหมต่อการเจริญเติบโตและสารสำคัญในบัวบก”  : ของนางสาวปรัชยาพร ศรอินทร์ ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 7  มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทธยา  : ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับชมเชย ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของต้นและปริมาณสารประกอบฟีโนลิกรวมในใบกัญชา (Cannabis sativa)  : ของนายภูวณัฐ อินทนนท์ นายศิวกร จันทบาล ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาตรี ครั้งที่  7 มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทธยา  : ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับดีเด่น ผลงานวิจัยเรื่อง “การให้ปุ๋ยน้ำหมักมูลหนอนไหมต่อการเจริญเติบโตและสารสำคัญในบัวบก”  : ของนางสาวปรัชยาพร ศรอินทร์ ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 7  มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทธยา  : ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับชมเชย ปี 2566 ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลของ การให้กรดซาลิไซลิกทางใบต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสารสำคัญของพริกกะเหรี่ยง ”  : ของนายวทัญญู แก้วมณี  ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม : ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับดีมาก   ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลของรังสี UV-C ต่อปริมาณสาระสำคัญในเห็ดขี้ควาย Psilocybe cubensis “ ;  ของนายทัชพล วิชาชัย และธนัชยา เกณฑ์ขุนทด ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 9  มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทธยา  : ได้รับรางวัลการนำเสนอแบบบรรยายในระดับดีเด่น ส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของนักศึกษา ; สืบเนื่องจากข้อที่ 1.2  ทำให้นักศึกษาของคณะมีผลงานวิจัยที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของวารสารให้ตีพิมพ์บทความวิจัย  เช่น  ผลงานวิจัยเรื่อง “ ผลของปริมาณความเข้มข้นของสารแทนนินต่อการงอกเมล็ดพันธุ์กัญชา RSU 01”  ของ นางสาวชลธิชา จันทร์เทศนา  ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ให้ตีพิมพ์ ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 วารสารเพื่อการรับรองคุณภาพของ TCI ปัญหาอุปสรรค           เนื่องจากยังคงมีนักศึกษาอีกส่วนหนึ่งแต่เป็นส่วนน้อยที่ยังต้องการการพัฒนาศักยภาพเป็นพิเศษ  อาจารย์ประจำหลักสูตร จึงได้มีการประชุมเพื่อวางแผนและหาแนวทางในการประเมินผลในหลากหลายวิธีการเพื่อให้เหมาะกับศักยภาพของนักศึกษาให้สามารถเรียนรู้ได้ และสำเร็จการศึกษาได้ตามมาตรฐานคุณภาพที่คณะกำหนด   3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ การตรวจสอบผลการดำเนินงาน คณะนวัตกรรมเกษตร ได้มีการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและการสอบแบบบูรณาการ เป็นประจำทุกปี และถูกกำหนดอยู่ในปฏิทินกิจกรรมของคณะเพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการติดตามและประเมินผล การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ : ประสบการณ์จากการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลแบบบูรณาการ (Storylie)  พบว่า มีส่วนช่วยในด้านต่างๆดังนี้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์จะช่วยให้นักศึกษาได้รับเนื้อหาความรู้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยอาจารย์พยายามถ่ายทอดองค์ความรู้หรือเนื้อหาที่ยากให้เข้าใจง่ายๆโดยใช้นวัตกรรม ทำให้นักศึกษาสนใจและเข้าใจบทเรียนมากขึ้น ก่อให้เกิดความรู้และความคิดใหม่ในการแก้ปัญหา แทนการค้นหาคำตอบจากที่อาจารย์บอก   หลีกเลี่ยงการรับเนื้อหาความรู้มากมายในคราวเดียว โดยอาจารย์ที่จะเป็นผู้ย่อยข้อมูลให้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และการทำให้ข้อมูลสั้นกระชับลงจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจพื้นฐานได้เร็วขึ้น ช่วยตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษา– ถึงแม้ว่าเกรดและข้อสอบสามารถบอกอะไรบางอย่างได้ แต่ไม่ใช่ทุกอย่างเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้และความรู้ของนักศึกษา แนวคิดการสอนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ช่วยให้อาจารย์ตรวจสอบชั้นเรียนและรู้ดีขึ้นว่านักเรียนต้องเจอกับปัญหาใดเพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด ทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวา–วิธีการสอนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้นักศึกษารู้สึกตื่นเต้นและแตกต่าง กระตุ้นให้พวกเขากล้าพูดและมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           สืบเนื่องจากคณะนวัตกรรมเกษตร ได้ดำเนินการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน แบบ Storyline method มาปรับใช้กับการเรียนการสอนและการสอบประมวลความรู้ทางด้านนวัตกรรมเกษตรแบบบูรณาการมาตั้งแต่ปี 2557จนถึงปัจจุบัน นอกเหนือจากการสอบวัดองค์ความรู้ทางวิชาการของแต่ละรายวิชาซึ่งเป็นการประเมินความรู้แบบแยกส่วนหรือแยกเนื้อหา และได้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องหรือจุดด้อยต่างๆรวมถึงปรับรูปแบบการสอบประมวลผลให้เข้ากับสถาณการณ์ปัจจุบัน เช่น การสรุปเนื้อหาจากรายวิชาที่ได้เรียน เป็นอินโฟกราฟิกส์ (Infographics) ที่เข้าใจง่าย และสามารถเผยแพร่ความรู้จากนักศึกษาสู่ผู้สนใจด้านการเกษตร หรือเกษตรกรหัวก้าวหน้า เป็นการบูรณาการความรู้และส่งต่อสู่เกษตรกรผู้ใช้จริง ผ่านช่องทางออนไลน์ และการจัดหน่วยให้ความรู้แก่เกษตรกร แต่ยังคงดำเนินการตามรูปแบบของ Storyline method เพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ KR1.4.2 อาจารย์มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป  และ KR1.4.3 อาจารย์ผู้สอนมีผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ Story Line สไตล์ นวัตกรรมเกษตร Read More »

เทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน : การนำนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลสุขภาพในทุกบ้าน

เทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน : การนำนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลสุขภาพในทุกบ้าน ยุทธศาสตร์ที่ 1,2,3 : KR 1.3.6/1 KR2.3.1/1 KR3.1.2/1 KR3.2.2/1 KR3.3.2/1 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ รองศาสตราจารย์ ดร.มนพร ชาตชำนิ, อ.ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง คณะพยาบาลศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนัตศักดิ์ วงศ์กำแหง, อ.อนุชิต นิรภัย วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ เนื่องด้วย ศูนย์นวัตกรรมและบริการวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Innovation and Service Center: BIS CENTER) และห้องปฏิบัติการ Clinical Engineering Laboratory (CE)  and Medical Information and Management Technology Laboratory (MIMT) วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หน่วยบริการวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์  และวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต  ได้ร่วมบูรณาการจุดแข็งขององค์ความรู้ทางวิชาการของทั้ง 3 คณะ เพื่อสร้างงานบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน ในนามหน่วยบริการ N & B RSU Inno Tech and Wellness Centre ซึ่งเป็นรูปแบบการบริการวิชาการที่ได้เริ่มต้นโดย 2 คณะ คือ คณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ร่วมกันพัฒนาและสร้างนวัตกรรมและการบูรณาการเรียนการสอนรวมถึงการจัดหาเทคโนโลยีสุขภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพของตนเอง  ด้วยรูปแบบการเข้าถึงบริการบนพื้นฐานด้านวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม โดยนำทักษะทางการพยาบาลร่วมกับการบริการให้คำแนะนำการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการดูแลสุขภาพตนเอง พร้อมกับการบริการจัดหาสั่งซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ การบริการเช่า-ยืมใช้เครื่องมือแพทย์ชั่วคราว เช่น เครื่องผลิตออกซิเจนแบบ Home Use ที่นอนยางพาราลดโอกาสเกิดแผลกดทับ เครื่องวัดความดันโลหิต ฯลฯ และการให้บริการนี้เป็นทั้งการให้บริการแบบมีรายได้และการบริการวิชาการแบบไม่มีรายได้ และเป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ     ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การบูรณาการและพัฒนาจุดแข็งของทั้งสามคณะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ดังนี้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ: การบูรณาการนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาบริการด้านการดูแลสุขภาพ เช่นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย, ระบบข้อมูลทางการแพทย์, และเทคโนโลยีการสื่อสาร การบูรณาการทางวิชาการและวิจัย: การร่วมกันของคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์, คณะพยาบาลศาสตร์, และวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี ส่งผลให้มีการบูรณาการทางวิชาการและการวิจัยที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมทางด้านสุขภาพ. การให้บริการแบบมีรายได้: การบริการ N & B RSU Inno Tech and Wellness Centre เป็นที่มาของรายได้ผ่านการให้บริการทางด้านสุขภาพและการให้คำแนะนำทางการแพทย์ การฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา: การให้บริการแก่ประชาชนสามารถบูรณาการกับการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาทั้ง 3 คณะและนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ การตอบสนองความต้องการของประชาชน: การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพมีการพิจารณาให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในด้านการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ การร่วมมือระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี สามารถพัฒนานวัตกรรมทางด้านสุขภาพและการบริการด้านการดูแลสุขภาพในชุมชนได้อย่างครอบคลุมทั้ง 5 ข้อดังกล่าวเบื้องต้น ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)อื่นๆ ได้แก่ http://bme.rsu.ac.th/nbwellness/ วิธีการดำเนินการ การดำเนินงานของศูนย์บริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน (N & B RSU Inno Tech and Wellness Centre) เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2565 ได้แบ่งการบริการออกเป็น 2 มิติหลัก คือ 1) ด้านส่งเสริมและป้องกัน และ 2) ด้านการรักษาและฟื้นฟู ดังนี้: ด้านส่งเสริมและป้องกัน:    – ร่วมกับคลินิกเวชกรรม ม.รังสิต ดำเนินการโครงการ “การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และหัดเยอรมัน” เป็นการให้บริการแก่กลุ่มประชาชนและนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่และโรคหัดในพื้นที่ตำบลหลักหก และเครือข่ายรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิต    – จัดบริการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยเน้นการให้บริการแก่ประชาชนในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ด้านการรักษาและฟื้นฟู:    – ร่วมกับหน่วยบริการวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์และหน่วย N&B RSU Inno Tech and Wellness Centre เพื่อให้บริการที่มุ่งเน้นการรักษา ฟื้นฟู และป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังต่างๆ    – รับปรึกษาเรื่องแผลจากหน่วยตรวจโรคต่างๆ โดยไม่จำกัดเพศและอายุ และทำการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังต่างๆ โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผลและการป้องกันการเกิดแผลซ้ำ    – บูรณาการจัดการเรียนการสอนหัวเรื่อง “การดูแลผู้ป่วยที่มีแผล” ในรายวิชา BNE 323 การพยาบาลผู้สูงอายุ และ BNE 291 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน           การดำเนินงานของศูนย์บริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน (N & B RSU Inno Tech and Wellness Centre) ในปีการศึกษา 2565 เน้นการให้บริการและการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาผู้ป่วยในชุมชน โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ชุมชนได้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว                    ในปีการศึกษา 2566 มีการดำเนินการทั้งสองด้านอย่างต่อเนื่องและได้เป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต(ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ) รุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 และโครงการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการพยาบาล ระหว่าง ไทย-กัมพูชา เรื่อง “Upskills Training Program” สำหรับพยาบาลจากประเทศกัมพูชา 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                ผลลัพธ์จากการบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับการพัฒนานวัตกรรมทางด้านสุขภาพในรูปแบบที่ผสมผสานที่ทีมดำเนินงานได้มีความสำเร็จที่น่าประทับใจ โดยมีผลลัพธ์เชิงประจักษ์ 3 ชิ้นงานดังนี้: ระบบข้อมูลสุขภาพ (N&B Inno-Tech): การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพนี้ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ เลขที่ ว1.010493 ลงวันที่ 27 เมษายน 2566 เป็นการยืนยันถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งที่มีคุณค่าและมีความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบคัดกรองสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว:การพัฒนาระบบคัดกรองนี้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ เลขที่ ว1.010938 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 เป็นการสร้างเครื่องมือที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยและการดูแลสุขภาพอย่างเฉพาะเจาะจง นวัตกรรม Pillow – Pressure sore Protection: เป็นการพัฒนาหมอนที่มีความสามารถในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เพิ่มคุณภาพชีวิตและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้           ผลการดำเนินงานนี้อาจมีปัญหาหรืออุปสรรคบ้าง เช่น การนำไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลง หรือปัญหาในการปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกันและการสื่อสารอย่างเป็นระบบสามารถช่วยในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวและสร้างความสำเร็จในการใช้งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลสุขภาพและช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคและการบาดเจ็บในชุมชน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ การตรวจสอบผลการดำเนินการและการนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญในการประเมินความสำเร็จของโครงการ การสรุปและอภิปรายผลสามารถทำได้ดังนี้: การตรวจสอบผลการดำเนินการ:    – ผลการดำเนินการเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญจากโครงการนี้ เป็นผลของการทำงานร่วมกันระหว่างทีมในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสุขภาพ การนำเสนอบริการแก่ชุมชน และการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ของนวัตกรรมที่สร้างขึ้น การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้:    – การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้เห็นได้ชัดเจนจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการใช้งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีในชุมชนที่ได้แก้ปัญหาความต้องการของผู้เข้ามารับบริการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและมีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสม    – สามารถเป็นในรูปแบบของการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ เช่น การนำเสนอในการประชุม การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือการเขียนรายงานสรุปผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่:   3.1 การทำงานร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพ สามารถสร้างงานที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นได้   3.2 การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของชุมชน สามารถก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน   3.3 การบูรณาการกับการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาทั้ง 3 คณะ สามารถสร้างการเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เพื่อให้โครงการสามารถเป็น Good Practice และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต มีข้อเสนอแนะที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินการ ดังนี้ การสร้างพันธมิตรและเครือข่าย:    – สร้างพันธมิตรและเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรชุมชน และภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อสนับสนุนและขยายผลกระทบของโครงการให้กว้างขึ้น การพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยมีการกำหนดเกณฑ์เป้าหมายชัดเจน:    – จัดทำแผนกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการดำเนินการเพื่อระบุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถวัดผลและประเมินผลการดำเนินการได้อย่างชัดเจน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ:    – ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การสร้างความต่อเนื่อง:    – สร้างการดำเนินการที่มีความต่อเนื่อง โดยรวมถึงการสนับสนุนและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากร การส่งเสริมความรับผิดชอบสาธารณะ:    – มีการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจที่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบสาธารณะและความเชื่อมั่นในโครงการ 6.การจัดการภายใต้หลักการของการเป็นมาตรฐาน:    – สร้างระบบการจัดการภายใต้หลักการของการเป็นมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่สูงสุด การสร้างความยืดหยุ่น:    – สร้างโครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การแบ่งปันประสบการณ์และการเรียนรู้:    – สร้างกลไกสำหรับการแบ่งปันประสบการณ์และการเรียนรู้ระหว่างองค์กร ชุมชน และภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของโครงการ การตรวจสอบและปรับปรุง:    – ตรวจสอบผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและทำการปรับปรุงโครงการตามความต้องการและการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม การดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวจะช่วยให้โครงการมีความเป็นมาตรฐานและเป็น Good Practice ในการให้บริการและสนับสนุนในชุมชนและสังคมได้อย่างเต็มที่

เทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน : การนำนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลสุขภาพในทุกบ้าน Read More »

การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัย ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR2.1.3 KR2.2.1 KR2.2.2 KR2.2.3 KR2.3.1 KR2.3.2 KR2.4.1 KR2.4.2 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ รองศาสตราจารย์ นันทชัย ทองแป้น วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พศ.2559 และได้รับยกระดับจากคณะเป็นวิทยาลัยในวันที่ 16 กรกฎาคม 2561ทางวิทยาลัยฯได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยทั้งในระยะยาว (5ปี)และระยะสั้นที่รียกว่า Action Plan มาตลอดระยะเวลาโดยทิศทางที่สำคัญของแผนยุทธศาสตร์ในระยะ 5 ปีแรก (2560-2564) ได้มีทิศทางในการเป็น “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน” โดยการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์นั้นได้เน้นในเรื่องของการ Synergy ทั้งภารกิจและทรัพยากรมนุษย์และเมื่อสิ้นสุดแผนยุทธศาสตร์ในระยะ5ปีได้ทำการประเมินแผนพบว่าเราสามารถดำเนินการตามแผนงานจนสำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทุกมิติและหลังจากทำการประเมินสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกในทุกมิติแล้วจึงได้ระดมสมองกับผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วนทั้งบุคลากรสายอาจารย์และสายสนับสนุนการเรียนรู้ นักศึกษา รวมทั้งองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะที่ 2 (2565-2569) ขึ้นมาโดยในแผนนี้ได้มีทิศทางในการก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยสิ่งหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญมากที่เรียกว่า “ปณิธาน”ก็คือการมุ่งทำให้“โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงาน และโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน” และการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้นั้นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่วิทยาลัยให้ความสำคัญก็คือเรื่องของ “การพัฒนางานวิจัย”                    สืบเนื่องจากตั้งแต่เข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 เป็นต้นมาทั้งในตำแหน่งอาจารย์ประจำและผู้บริหารของภาควิชาและหลักสูตรจนมาเป็นคณบดีภาระงานหลักที่สำคัญมากอันหนึ่งของผู้ที่เป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาคือภาระงานวิจัย และภารกิจหลักอันนี้ก็จะเป็นยาขมของคณาจารย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความรู้และความเชี่ยวชาญของบุคลากร ที่สำคัญก็คือขาดผู้ที่เชี่ยวชาญจริงๆ มีประสบการณ์และบารมีจริงๆทางด้านการวิจัยและขาดแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะมาพัฒนาทิศทางการวิจัย พัฒนานักวิจัย พัฒนาทีมวิจัย ไม่มีทิศทาง ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการทำวิจัย ไม่มีการพัฒนาทีมวิจัยอย่างจริงๆจังๆ ไม่มีผลงานวิจัยเชิงประจักษ์มากนัก ไม่มีพี่เลี้ยงที่มีบารมีและประสบการณ์ในการขอหรือดึงทุนวิจัยเข้ามา จึงได้มีแนวความคิดและวางแผนงานในการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยฯขึ้นมาโดยเริ่มต้นจากศูนย์ในระยะเริ่มต้นในขณะที่ยังเป็นหลักสูตรหนึ่งในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบันที่ได้รับการยกระดับมาเป็นคณะและวิทยาลัยตามลำดับ โดยจุดมุ่งหมายและเป้าหมายที่ต้องการมากที่สุดที่ต้องไปให้ถึงให้ได้ก็คือในการที่จะพัฒนางานวิจัยอย่างจริงจังและครบวงจร พัฒนาทีมวิจัยที่เข้มแข็งและยั่งยืนสืบต่อกันเป็นทอดๆ มีทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งต่างๆอย่างยั่งยืนจากทั้งในระดับมหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง  จนกลายเป็นวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง ดังนี้ องค์ความรู้ทางด้านการบริหารที่ประกอบด้วยหลักการการจัดการองค์กร (หลักการ 4 M) องค์ความรู้ทางด้านการบริหารงานวิจัย องค์ความรู้ทางด้านการวิจัย การศึกษาดูงานจากสถาบันการศึกษาและองค์กรในลักษณะอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์การทำงาน องค์ความรู้อื่นๆที่ตกผลึกจากประสบการณ์การทำงานทางด้านการบริหารงานในระดับหมวดวิชา ระดับภาควิชา แระดับหลักสูตรระดับคณะและวิทยาลัยรวมทั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพรวมทั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งประเทศไทยมากว่า 30 ปี วิธีการดำเนินการ การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัย การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยได้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่1 เป็นระยะเริ่มต้นจากศูนย์แบบลองผิดลองถูก (ในขณะที่หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์)           ปีการศึกษา 2543 – 2547  ได้เริ่มจากการทำวิจัยทางด้านเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยจำนวน 90,000บาท มีผู้ช่วยวิจัย 1 คน มีจุดมุ่งหมายในการที่จะทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาเพื่อทดแทนการจัดซื้อจากต่างประเทศเพื่อที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยรังสิตและนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์เพื่อจำหน่ายในราคาถูกให้กับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศโดยมีระยะเวลาในการวิจัย 1 ปี ต่อมาได้รับทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยรังสิตเรื่องการพัฒนาเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และแสดงผลผ่านอินเตอร์เน็ต           ผลที่ได้รับ ได้ชุดเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และ เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และแสดงผลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมทั้งมีบริษัทเอกชน (บริษัทอินเทลเล็คท์)ได้เข้ามาขอทำความร่วมมือในการผลิตในเชิงพาณิชบ์ในระยะ 3 ปีกว่า300ชุดเพื่อนำไปจำหน่ายในราคาถูกให้กับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา รวมทั้งใช้ในการบริการวิชาการให้กับคณะครูอาจารย์ทั่วประเทศจำนวนหลายครั้ง ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติประจำปี 2544 ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นสาขาสิ่งประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับอุดมศึกษาจากสมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี2545 เป็นต้น ระยะที่ 2  ระยะกำลังพัฒนาเพื่อสานต่อ (ในขณะนั้นหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์)           ปีการศึกษา 2548 – 2558 เป็นระยะที่เริ่มมีเครดิตและชื่อเสียงทางด้านการวิจัยออกภายนอก โดยได้เริ่มทดลองขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก ในขณะที่ทีมวิจัยที่ได้เริ่มพัฒนาขึ้นมาก็เริ่มขอจากขอทุนวิจัยจากภายในมหาวิทยาลัยของสถาบันวิจัย ในแง่การตีพิมพ์ผลงานวิจัยนั้น ทางคณาจารย์ของภาควิชาได้นำผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จไปตีพิมพ์ทั้งในแบบProceeding และวารสาร ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติมากกว่าปีละ 20 ผลงาน มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา มีผลการประเมินการประกันคุณภาพในระดับภาควิชาทางด้านการวิจัยในระดับสูงมากในทุกปี ระยะที่3 ระยะการเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรม (ได้รับการยกระดับจากหลักสูตรเป็นคณะและวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ตั้งแต่ปีการศึกษา2558)                         ปีการศึกษา 2558 – 2564 ระยะนี้เป็นระยะที่มีความพร้อมมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ในการที่จะเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยแห่งการทำวิจัยและนวัตกรรมอย่างจริงจัง โดยมีพื้นฐานอยู่ที่ มีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทัศนคติของคณาจารย์และนักศึกษาที่ได้ผ่านการเตรียมความพร้อมมาเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม มีผลงานที่ผ่านมาว่าเราได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถทำวิจัยได้ประสบความสำเร็จสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานชาติจำนวนมากในแต่ละปี รวมทั้งมีทุนสนับสนุนการวิจัยที่มากพอสมควรในแต่ละปี มีผู้เชี่ยวชาญในด้านการวิจัยที่ได้สนใจเข้ามาร่วมงานเพิ่มมากขึ้นมาช่วยเป็นMentor ในด้านการชี้แนะแนวทาง การเป็นพี่เลี้ยงในด้านต่างๆ รวมทั้งได้รับอาจารย์ประจำวัยหนุ่มที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศอังกฤษที่มีประสบการณ์เป็นอาจารย์และเคยทำงานวิจัยมาจากต่างประเทศจำนวนหนึ่งมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบรรยากาศการพัฒนางานวิจัยของคณะ/วิทยาลัยฯรวมทั้งได้เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการทำงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมนอกจากนั้นได้ทำความร่วมมือทางวิชาการ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ โรงพยาบาลและสถานให้บริการทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพแหล่งทุนวิจัยและนวัตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเครือข่ายหาโจทย์วิจัย แหล่งทดสอบผลการวิจัยทางคลินิกแหล่งทุนวิจัย รวมทั้งแหล่งทุนเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมและใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการจริง ส่งผลทำให้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไปมาเป็นระยะที่เริ่มต้นเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยแห่งการวิจัย อย่างต่อเนื่องและต่อยอดไปเรื่อยๆจนกลายเป็นวิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรม มีผลงานวิจัยและผลการตีพิมพ์เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการรวมทั้งวารสารทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศต่อปีเป็นจำนวนมากรวมทั้งได้มีการต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการนำไปใช้งานได้จริง เริ่มมีการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ในลักษณะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ได้มีการนำเอาผลงานวิจัยไปใช้ในการให้บริการวิชาการ และใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขึ้นไปเรื่อยๆในทุกๆปี โดยการที่ทางคณะ/วิทยาลัยได้มีTrack วิจัยและจัดห้องวิจัยที่ชัดเจนเพื่อให้มีการจัดการเรียนการสอนและการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาในทุกระดับการศึกษา โดยนักศึกษาจะเวียนกันเข้าไปเริ่มรู้จักการทำวิจัยตั้งแต่ในชั้นปีที่2 เริ่มทำในชั้นปีที่3 และทำจริงจังในชั้นปีที่4โดยทางคณะ/วิทยาลัยจะประสานงานกับผู้รับผิดชอบในระดับมหาวิทยาลัยในการอำนวยความสะดวกในด้านเวลานอกเวลาทำการให้นักศึกษาและคณาจารย์ได้ทำการวิจัยได้เต็มที่เกือบ24ชั่วโมง โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังในเบื้องต้นก็คือบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของคณะ/วิทยาลัยจะเป็นบรรยายกาศของคณะ/วิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรมมากขึ้น คณาจารย์มีผลงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์รวมทั้งมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้น บัณฑิตที่จบออกไปมีคุณภาพและได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากลมากขึ้น นอกจากนั้นทางคณะ/วิทยาลัยได้ทำการพัฒนาศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและศูนย์นวัตกรรมและบริการวิศวกรรมชีวการแพทย์(ศูนย์BIS) เพื่อใช้เป็นฐานในการนำเอาผลงานวิจัยถ่ายทอดและมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมรวมทั้งใช้เป็นฐานในการให้บริการทางวิชาการทั้งในรูปแบบของเพื่อการศึกษาและเชิงพาณิชย์อีกทางหนึ่งด้วย โดยศูนย์ดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำหรับการพัฒนานักศึกษาในด้านการพัฒนานวัตกรรม งานบริการวิชการและการฝึกทักษะและจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการอีกทางหนึ่งด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายปลายทางที่สุดก็คือผลักดันให้คณะ/วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิตเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย นวัตกรรมและผู้ประกอบการตามแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯ เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ           มีการวางแผนในเชิงกลยุทธ์ มีความมุ่งมั่นและทุ่มเทเพื่อให้งานเป็นไปตามแผน โดยเริ่มต้นจากการทำเป็นตัวอย่างให้ดู พัฒนาEco-Systems การทำงานให้น่าทำงาน วางแผนพัฒนาทัศนคติการทำงานของบุคลากรเพื่อให้เป็นไปตามทิศทาง ที่เหมาะสม  มีการประเมินผล ให้รางวัลและการลงโทษในระดับต่างๆที่เหมาะสม โดยได้วางกลยุทธ์ในการพัฒนาที่ต้องวางพื้นฐานจากการสร้างเครดิตจากผลงานวิจัยแบบครบวงจรจากชิ้นเล็กๆไปหาใหญ่ เพื่อที่จะใช้เป็นฐานในการขอทุนวิจัยจากขนาดเล็กในระดับมหาวิทยาลัยไปหาทุนวิจัยขนาดใหญ่จากข้างนอกมหาวิทยาลัย สร้างทีมวิจัยจากขนาดเล็กๆ แล้วค่อยๆขยายขนาดของทีมวิจัยขึ้นมา แสวงหา ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมทีมวิจัยและให้ข้อเสนอแนะและความรู้กับทีมวิจัยมากขึ้น เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก กระตุ้นให้นักศึกษาได้ร่วมเข้ามาเป็นทีมวิจัยต่อเนื่องเป็นทอดๆกันในแต่ละรุ่นมากขึ้น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการทำวิจัยทั้งในด้านของสถานที่และเครื่องมือในการวิจัยที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งกระตุ้นให้มีการทำภาระกิจแบบSynergy คือการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยในลักษณะต่างๆทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ การนำผลวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน การใช้ผลการวิจัยมาใช้ในงานบริการวิชาการ และ ดำเนินการในเชิงพาณิชย์ ผู้ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดความสำเร็จ และบทบาทของบุคคลนั้น                     ผู้ร่วมงานที่ดีมีความรู้และทักษะพื้นฐานที่ดีในการทำวิจัยเพียงแต่ยังไม่รู้ทิศทางดังนั้นพอมีทิศทางในการวิจัยที่ชัดเจน มีนักวิจัยที่มีประสบการณ์มาช่วยชี้แนะ ใส่ทัศนคติที่ดีและถูกต้องในการทำวิจัยก็จะทำให้การพัฒนางานวิจัยของคณะ/วิทยาลัยให้ไปได้เร็วมากขึ้น และ การที่มีผู้บังคับบัญชาที่ดีในทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ท่านอธิการบดีผู้ก่อตั้งท่านดร.อรรถวิท อุไรรัตน์อธิการบดีได้ให้การส่งเสริม และสนับสนุนอย่างดียิ่งทำให้สามารถดำเดินแผนงานในแนวทางที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องตลอดมาทำให้การพัฒนางานเป็นไปตามแผนงานโดยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2.Prototype testing in an operational environment – DOผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                สำหรับผลการดำเนินงานการพัฒนาในวงรอบPDCAในแผนยุทธศาสตร์ระยะ5ปีใน2ระยะ(นับตั้งแต่ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะ/วิทยาลัย : 2558-2559 และ 2560 – 2565 ที่ผ่านมานั้น ได้พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในทุกมิติที่เรียกว่า ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และปณิธานของวิทยาลัยฯ โดยผลลัพธ์หรือความสำเร็จของผลการดำเนินงานสามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้2.1 Eco-Systems                ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม โดยที่วิทยาลัยฯได้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานของบุคลากรและนักศึกษาในทุกภาคส่วนรวมทั้งสอดคล้องและส่งเสริมการเรียนรู้ตามวิสัยทัศน์และปณิธานของวิทยาลัยโดยวิทยาลัยได้ทำการพัฒนาตามกระบวนการPDCAอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่ประกอบด้วย ห้องวิจัยและบรรยากาศการทำวิจัย ที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับการทำวิจัยและการจัดการเรียนการสอนไปพร้อมกันเหมือนกับมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพในต่างประเทศ ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านของการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองในการเป็น“วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน” สำหรับการดำเนินการในด้านนี้ทางวิทยาลัยฯได้ดำเนินการตามวงรอบPDCAการพัฒนาทำนองเดียวกับด้านการพัฒนาระบบสิ่งสนับสนุนด้านอื่นๆตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่กล่าวมาข้างต้นโดยได้มีการพัฒนาระบบห้องวิจัย ระบบการเผยแพร่ผลงานวิจัย ระบบการนำผลงานวิจัยไปดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบการสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านงานบริการวิชาการที่สอดคล้องกับวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อรองรับการวิจัยของคณาจารย์ รวมทั้งนักศึกษาในทุกระดับทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก 2.2 ผลงานวิจัย                ทุนสนับสนุนการวิจัย รวมทั้งคะแนนประกันคุณภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ติด 3 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยรังสิตในตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลถึงความสำเร็จนี้ก็คือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งรวมทั้งการทำวิจัยด้วยในทุกมิติที่ส่งผลทำให้การขอทุนวิจัย การผลิตผลงานวิจัยการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยรวมทั้งงานบริการวิชาการที่ทางวิทยาลัยได้ทำในลักษณะ Synergy ภารกิจนั่นเอง  ผลลัพธ์ของการสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในแต่ละปีการศึกษาได้มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในระดับสากลจำนวนประมาณไม่น้อยกว่า 20 ผลงานต่อปี ในแต่ละปีการศึกษามีผลงานการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประมาณไม่น้อยกว่า 5 ผลงานต่อปี โดยวิทยาลัยมีอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรรวม 62 ผลงาน ทุนสนับสนุนการวิจัยต่อปีทั้งจากภายในและภายนอกในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านบาท ส่งผลทำให้อาจารย์ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์สามารถพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการเกือบครบ100 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลทำให้มีความพร้อมจนสามารถเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว ส่งผลทำให้จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 160 คน เป็น 320-350 คน ในปัจจุบัน รางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรม รางวัล Start-Up ทั้งในระดับสถาบัน ระดับประเทศและระดับนานาชาติ ของคณาจารย์และนักศึกษาจำนวนมาก ผลงานวิจัยและนวัตกรรมบางส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ บางส่วนสามารถใช้งานในสถานการณ์จริง ได้อยู่ระหว่างการนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นเป้าหมายแรกๆของบุคคลจากภายนอกที่ต้องการมาเยี่ยมชมดูงานทางด้านนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยรังสิตเพราะปัจจัยที่สำคัญลำดับแรกๆก็คือต้องการมาเยี่ยมชมนวัตกรรมและแนวทางการพัฒนาของวิทยาลัยฯ วิทยาลัยฯได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกเช่นได้รับการรับรองจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (ศฟ.) Thailand Center of Excellence in Physics (ThEP) สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) ให้เป็นศูนย์วิจัยในเครือข่าย คะแนนประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในส่วนของการวิจัยและในภาพรวมทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ/วิทยาลัยเป็นอันดับหนึ่งในทุกปีการศึกษาตลอดมา ชื่อเสียงเรื่องการวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นำมาซึ่งการได้รับเชิญเพื่อทำความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับเครือข่ายทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการจริงภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ  อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           อุปสรรคหรือปัญหาที่สำคัญที่สุดในการทำงานก็คือทัศนคติในการทำงานของบุคลากร โดยทางผู้บริหารในทุกระดับของคณะ/วิทยาลัยได้มี Growth Mindset และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนโดยถือว่าทุกคนสามารถพัฒนาได้ ที่สำคัญก็คือผู้ที่มีทัศนคติในการทำงานที่ดีและเหมาะสมจะได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่และผู้ที่ไม่สามารถพัฒนาและแก้ไขทัศนคติการทำงานให้สอดคล้องกับแนวทางของคณะ/วิทยาลัยได้ก็จะมีมาตรการที่เหมาะสมในการทำให้มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น สำหรับปัญหาและอุปสรรคจากภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับตัวเราในการที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากภายนอกเกิดขึ้น 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           การพัฒนาในด้านการวิจัยนั้นสิ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณาประการหนึ่งก็คืออัตราการเจริญเติบโตของงานวิจัยเพราะเราต้องพัฒนาผลงานวิจัยอย่างน้อยต้องมากกว่าหรือเท่ากับอัตราการเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าของภายนอกทั้งในระดับประเทศหรือระดับสากลไม่เช่นนั้นจะทำให้การพัฒนาของเรานั้นอยู่กับที่หรือล้าหลัง ดังนั้นการบริหารจัดการการพัฒนางานวิจัย ให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน นั้นจะต้องประกอบด้วยการสำรวจตัวเอง (การทำSWOT) ในทุกๆด้าน การวางแผนงานและการวางเป้าหมายที่ดีและเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพขององค์กรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเป็นไปได้ในอนาคต การลงมือดำเนินงานอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง การสร้างเครดิตและผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ การประชาสัมพันธ์ผลงานที่เหมาะสม ที่สำคัญต้องมีการประเมินผลและทบทวนผลงานและเป้าหมายการดำเนินการเป็นระยะๆตามช่วงเวลาที่เหมาะสม (PDCA)                     อย่างไรก็ตามการพัฒนางานวิจัยไม่มีเรื่องของความสำเร็จที่แน่นอนตายตัว ไม่มีจุดหมายที่แน่นอนตายตัว เพราะทุกๆอย่างจะเปลี่ยนไปตามเวลา ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคและกาลเวลา แต่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแต่ละช่วงเวลาจะเป็นการยกระดับพื้นฐานของความแข็งแกร่งและศักยภาพในการพัฒนางานวิจัยมากขึ้น ความสำเร็จจริงๆของงานวิจัยก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในสถานการณ์จริงได้ มีการนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ และสามารถทำให้ภาคการผลิตมีความเชื่อถือในเครดิตและเข้ามาให้ความร่วมมือในด้านต่างๆแก่ทีมวิจัยอย่างจริงๆจังๆในทุกๆด้าน อันจะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ การนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เป็นไปอย่างครบวงจร ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีหลายกลุ่มคณะ/วิทยาลัย จากการดำเนินการในเรื่องการสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มาเป็นระยะเวลาหลายปีอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับทิศทางการเป็นไปของทุกมิติของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของสังคมไทย และสังคมโลกนั้นเราไม่สามารถแข่งขันได้เลยถ้าการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไม่มีการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบและยั่งยืนเพราะไม่รู้จะเอาองค์ความรู้ที่ไหนไปพัฒนาผู้เรียน สิ่งที่สำคัญก็คือเมื่อมีเทคโนโลยีที่สูงมากขึ้นเช่นปัญญาประดิษฐ์และการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆมากมายในปัจจุบันเช่น Chat GPT หรืออื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมาล้วนแล้วแต่จะสามารถแทนที่การจัดการเรียนและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมได้หมดสิ้น ดังนั้นการพัฒนาคณะ/วิทยาลัยให้เป็นคณะแห่งการวิจัยนั้นน่าจะเป็นแนวทางหลักแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการเอาชนะทุกสิ่งทุกอย่างของโลกในศตวรรษที่ 21 นี้            สำหรับการดำเนินการเพื่อให้สามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้นจริงๆแล้วการที่ผลงานการพัฒนาทางด้านการวิจัยในหลายๆปีที่ผ่านมาได้ออกสู่สายตาและเป็นที่รับรู้ทั้งในสื่อภายในสถาบัน สื่อสารมวลชนระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องน่าจะเป็นดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของการพัฒนาทางด้านผลงานวิจัยที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อยู่แล้ว อย่างไร ก็ตามในหลายคณะ/หลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรังสิตและหรือสถาบันการศึกษาของภาครัฐที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรบางองค์กรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศไทยได้ใช้แนวทางบางส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้มีการอ้างอิงโดยตรง

การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ Read More »

การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย

การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR2.2.3 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ราชศักดิ์ สมยานนทนากุล วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ จากแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ในด้านพัฒนางานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมตามบริบทของมหาวิทยาลัยรังสิตที่ตอบโจทย์การพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย ได้ส่งเสริมให้ทำงานวิจัยที่พัฒนาร่วมกันแบบสหวิทยาการ หรือเป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิชา และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยในรูปแบบการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการสร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ และสนับสนุนการทำงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย โดยเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบ่งปันความรู้ หาคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือร่วมกันทำโครงการวิจัยที่มีรายละเอียดซับซ้อน โดยเป้าหมายหลักของการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยประกอบด้วย 7 ประการ ได้แก่ การเชื่อมโยง (Connectivity) เครือข่ายเพื่อสร้างพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมโยงระหว่างผู้ที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น การประชุมวิชาการ การจัดกิจกรรมอบรมสัมมนา การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Exchange) เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกของเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการเรียนรู้ร่วมกัน ในองค์ความรู้ที่แตกต่างกันให้สามารถทำวิจัยร่วมกันได้ การสนับสนุนและร่วมมือ (Support and Collaboration) การสนับสนุนกันระหว่างสมาชิกในเครือข่าย ในเรื่องการให้คำปรึกษา เข้าร่วมโครงการวิจัยร่วมกัน หรือการแบ่งปันทรัพยากรที่สามารถช่วยเหลือในการทำงานวิจัย เช่น การใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ การสร้างพื้นที่เพื่อพัฒนาทักษะ (Capacity Building) การจัดอบรม สัมมนา หรือโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกในเครือข่าย ซึ่งเป็นการสร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญภายในโครงการวิจัย หรือ เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การสร้างพันธมิตรภาคสาธารณะและเอกชน (Public-Private Partnerships) การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างโครงสร้างการบริหาร (Governance Structure) การกำหนดระเบียบ การบริหารจัดการ การจัดการด้านการเงิน และผลงานทางวิชาการ เพื่อให้การดำเนินงานของเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ การสร้างและรักษาความน่าเชื่อถือ (Trust Building) การสร้างความเชื่อถือระหว่างสมาชิกภายในเครือข่าย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือร่วมไปถึงการทำข้อตกลงไม่เปิดเผยข้อมูลภายในโครงการ หรือ การนำผลที่ได้จากงานวิจัยไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตก่อน                ดังนั้น การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยมีประโยชน์มากในการสนับสนุนการพัฒนาด้านวิชาการและเทคโนโลยีช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ และสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งในการแก้ไขภาวะสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยเป็นกระบวนการ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University      (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase) เจ้าของความรู้/สังกัด  ปี 2563 ประเภทการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ชื่อเรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1, Q2https://lc.rsu.ac.th/km/knowledgebase/form/detail/784                                             ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ผู้ให้ความรู้                                                                           วิธีการดำเนินการ การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ในการทำวิจัยที่มีขอบเขตกว้างขวาง ในด้านพหุวิทยาการ ระยะเวลาดำเนินการ และ งบประมาณ โดยกำหนดวัตถุประสงค์เรื่องการมีจำนวนผลงานทางวิชาการซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ของเครือข่ายงานวิจัยให้ชัดเจน รวมถึงกำหนดแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว การสร้างความน่าเชื่อถือและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของเครือข่าย โดยการสร้างความโปร่งใส และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เข้าร่วม การเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมในเครือข่าย การสร้างพื้นที่ และ สภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประชุม อบรมสัมมนา เวิร์กช็อป หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่สร้างโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการงานวิจัยเกิดการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสนับสนุนการพัฒนาทักษะ เป็นการสร้างโอกาสให้กับสมาชิกในเครือข่ายในการพัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับงานวิจัย สร้างพันธมิตรและความร่วมมือกับองค์กรหรือผู้สนับสนุนอื่นเพื่อเสริมสร้างทรัพยากรและโอกาสในการวิจัย ทั้งเครือข่ายภายใน และภายนอกโครงการวิจัย การจัดการและบริหารความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์และการนำไปใช้ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง           การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายามมาก เนื่องจากต้องสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจกันระหว่างผู้เข้าร่วม แต่เมื่อมีการสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพแล้ว จะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่สำคัญและมีประโยชน์ในการพัฒนาวิจัยและสังคมอย่างมาก 2.Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                เนื่องจากผู้ให้ความรู้ มีประสบการณ์ในด้านการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยที่เน้นใช้ในงานวิจัยด้าน AI ทางการแพทย์ โดยเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาทรัพยากรและการแลกเปลี่ยนความรู้ในพื้นที่ได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ขั้นตอนและเหตุการณ์สำคัญที่สำคัญในการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ดังนี้ การสร้างโอกาส การผลักดันตนเองเข้าไปในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น เข้าร่วมการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ เข้าร่วมอบรม สัมมนา ในหลักสูตร หรือ หัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องในงานวิจัย การเข้าร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ตนเองเชี่ยวชาญ และ สร้างความสัมพันธ์เพื่อร่วมทำงานวิจัยเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วม หรือ การเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเป็นสมาชิกในคณะวิจัย การรวมกลุ่มคณะวิจัยเพื่อสร้างกลุ่มคณะวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน AI และการแพทย์เข้าด้วยกัน โดยพิจารณาจากการกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ โดยโจทย์งานวิจัยจะได้มาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Domain Expert) เช่น แพทย์เฉพาะทาง นักเทคนิคการแพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล โดยการเชิญประชุมกำหนดหัวข้อวิจัย จำนวนส่วนแบ่งทุนวิจัย และ การตีพิมพ์ผลงานวิชาการ การสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้ในงานวิจัย เป็นการรวบรวมข้อมูลมาสร้างระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ข้อมูลผู้ป่วยในด้านการรักษา ข้อมูลคลินิก ข้อมูลสัญญาชีพ ซึ่งอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และ รูปแบบที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจะเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้จากการรักษาผู้ป่วย ข้อมูลจากระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และ ข้อมูลผู้ป่วยจากระบบโรงพยาบาล การสร้างโมเดลและอัลกอริทึมที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ นั้นต้องพิจารณาจากโจทย์งานวิจัยว่าเป็นงานด้านใด เช่น การวิเคราะห์ภาพการสแกน ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยโรคหรือการพยากรณ์ผลลัพธ์ของการรักษา โดยการเลือกพิจารณาจากงานวิจัยในเรื่องเดียวกันที่เคยนำเสนอมาก่อนหน้า และนำมาพัฒนาต่อเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การตีพิมพ์ผลงานได้ในระดับสากล การทดสอบ การปรับปรุง โมเดลและอัลกอริทึม อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงสุดในการใช้งานจริง โดยผลการทดลองที่ได้จำเป็นต้องนำเสนอกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ หรือ เจ้าของโจทย์วิจัยเพื่อยืนยันผลการทดสอบโมเดล และ รับรองผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลว่าเป็นไปตามข้อปฏิบัติทางการแพทย์ หรือ หลักการทางวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการแพทย์ และ AI เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และการพัฒนาที่ยั่งยืน           ดังนั้น การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยในด้าน AI ทางการแพทย์จะเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถในการรักษาและดูแลสุขภาพของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่               ผลจากการดำเนินการตามแผนที่ได้กำหนดไว้ทำให้ได้ผลงานทางวิชาการร่วมกับเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ตัวอย่างเช่น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ดำเนินโครงการจัดตั้งคลินิกเทคนิคการแพทย์ โดยผู้ให้ความรู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่การติดตั้งระบบ Laboratory Information System ในทุกกระบวนการ เมื่อระบบติดตั้งใช้งานเรียบร้อย ทีมงานในโครงการจัดตั้งคลินิกเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ร่วมกันนำความรู้ที่ได้จัดทำผลงานวิจัยนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 1 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2560 Somyanonthanakul, R. and Gatedee, T. (April 2017) Design and Implementation of Laboratory Information System: A Case Study at the Medical Technology Clinic, Rangsit University. In Proceedings, RSU International Research Conference 2017 (RSUCON 2017), April 28 2017, Thailand                โรงพยาบาลลำพูน ทำโครงการดูแลผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง จึงได้ขอความร่วมมือมายังผู้ให้ความรู้เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์นำไปเป็นข้อมูลประกอบในการวางแผนดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ผู้ให้ความรู้ได้ข้อมูลและทำการวิเคราะห์ได้ผลลัพธ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการที่ตั้งไว้แล้ว ผู้ให้ความรู้ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าโครงการให้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่สำคัญจัดทำผลงานวิจัยนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 1 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2565 Gatedee, J., Jaiping, K., Yothinarak, A., Netsawang, J., Kasemsawasdi, S., Angsirikuland, S., Somyanonthanakul, R. (2022). Association Serum Uric Acid and Lipid Parameters in Patients at Lamphun Hospital, Thailand. The 17th International Joint Symposium on Artificial Intelligence and Natural Language Processing (iSAI-NLP 2022), 5-7 November 2022. Chiang Mai, Thailand. 152-157                โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วย COVID-19 ในช่วงที่มีการระบาดของโรคตามช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ให้ความรู้ได้เข้าไปร่วมงานทำงานในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเพื่อให้ ผู้รับผิดชอบโรงพยาบาลสนาม สามารถวางแผนเตรียมจำนวนเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยให้เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา หลังจากได้โครงการดำเนินการเสร็จสิ้น ผู้ให้ความรู้ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าโครงการให้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่สำคัญจัดทำผลงานวิจัยนำเสนอในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ จำนวน 2 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2564 และ 2565 Amasiri, Watchara, Kritsasith Warin, Karicha Mairiang, Chatchai Mingmalairak, Wararit Panichkikosolkuli, Krittin Silanun, Rachasak Somyanonthanakul, Thanaruk Theeramunkong, Surapon Nitikraipot, and Siriwan Suebnukarn. 2021. Analysis of Characteristics and Clinical Outcomes for Crisis Management during the Four Waves of the COVID-19 Pandemic, International Journal of Environmental Research and Public Health 18, no. 23: 12633.  Rachasak Somyanonthanakul, Kritsasith Warin, Watchara Amasiri, Karicha Mairiang, Chatchai Mingmalairak, Wararit Panichkitkosolkul, Krittin Silanun, Thanaruk Theeramunkong, Surapon Nitikraipot and Siriwan Suebnukarn. (2022). Forecasting COVID-19 cases using time series modeling and association rule mining. BMC Medical Research Methodology. 22:281 November 2022. Switzerland AG: Springer Nature. 1-18.                คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องการทำ Model AI เพื่อใช้กับผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จึงมีการจัดทำโครงการวิจัยเพื่อใช้ในการคัดกรอง ติดตามการรักษา ของผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก ผู้ให้ความรู้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการโดยรับผิดชอบในการวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากได้โครงการดำเนินการเสร็จสิ้น ผู้ให้ความรู้ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าโครงการให้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่สำคัญจัดทำผลงานวิจัยนำเสนอในวารสารวิจัยระดับนานาชาติจำนวน 1 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2566 Wararit Panichkitkosolkul, Rachasak Somyanonthanakul, Kritsasith Warin, and Siriwan Suebnukarn. (2023) The Discovery of Oral Cancer Prognostic Factor ranking using Association Rule Mining, European Journal of Dentistry. สรุปผลที่เกิดจากการดำเนินการ ลำดับที่ ปี ชื่อบทความวิจัย ประเภทบทความ Index 1 2566 Wararit Panichkitkosolkul, Rachasak Somyanonthanakul, Kritsasith Warin, and Siriwan Suebnukarn. (2023) The Discovery of Oral Cancer Prognostic Factor ranking using Association Rule Mining, European Journal of Dentistry. International Journal Scopus Q1 2 2565 Rachasak Somyanonthanakul, Kritsasith Warin, Watchara Amasiri, Karicha Mairiang, Chatchai Mingmalairak, Wararit Panichkitkosolkul, Krittin Silanun, Thanaruk Theeramunkong, Surapon Nitikraipot and Siriwan Suebnukarn. (2022). Forecasting COVID-19 cases using time series modeling and association rule mining. BMC Medical Research Methodology. 22:281 November 2022. Switzerland AG: Springer Nature. 1-18. International Journal Scopus Q1 3 2565 Gatedee, J., Jaiping, K., Yothinarak, A., Netsawang, J., Kasemsawasdi, S., Angsirikuland, S., Somyanonthanakul, R. (2022). Association Serum Uric Acid and Lipid Parameters in Patients at Lamphun Hospital, Thailand. The 17th International Joint Symposium on Artificial Intelligence and Natural Language Processing (iSAI-NLP 2022), 5-7 November 2022. Chiang Mai, Thailand. 152-157 International Conference IEEE 4 2564 Amasiri, Watchara, Kritsasith Warin, Karicha Mairiang, Chatchai Mingmalairak, Wararit Panichkikosolkuli, Krittin Silanun, Rachasak Somyanonthanakul, Thanaruk Theeramunkong, Surapon Nitikraipot, and Siriwan Suebnukarn. 2021. Analysis of Characteristics and Clinical Outcomes for Crisis Management during the Four Waves of the COVID-19 Pandemic, International Journal of Environmental Research and Public Health 18, no. 23: 12633. International Journal Scopus Q1 5 2560 Somyanonthanakul, R. and Gatedee, T. (April 2017) Design and Implementation of Laboratory Information System: A Case Study at the Medical Technology Clinic, Rangsit University. In Proceedings, RSU International Research Conference 2017 (RSUCON 2017), April 28 2017, Thailand RSU Conference –   ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยในด้าน AI ทางการแพทย์เป็นโครงการที่มีความสำคัญและมีศักยภาพที่จะเสนอแนวทางในอนาคตเพื่อให้เกิดการพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นการวางแผนที่ดีทำให้อนาคตที่การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยด้าน AI ทางการแพทย์ สามารถทำได้สำเร็จ ควรมีการเตรียมการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การสร้างศูนย์กลางการวิจัยที่เชื่อมโยงระหว่างสถาบันการแพทย์ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อสร้างพื้นที่ในการทำงานร่วมกันและแบ่งปันความรู้ สร้างระบบการสนับสนุนทุนในการวิจัยด้าน AI ทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมการทำงานวิจัยที่มีคุณค่าและมีนวัตกรรม จากหน่วยงานให้ทุน เช่น TCELS และ PMU-B การสร้างพื้นที่สำหรับ แลกเปลี่ยนความรู้ ประชุม สัมมนา และ เวิร์กช็อป ที่เกี่ยวข้องกับ AI ทางการแพทย์ เพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ สร้างโครงสร้างการฝึกอบรมที่เหมาะสมสำหรับนักวิจัยและผู้ที่สนใจในด้าน AI ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในงานวิจัยแพทย์ สร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและองค์กรทางการแพทย์ในระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้             ดังนั้น ผู้ให้ความรู้ขอให้ความสำคัญในเรื่องการหาโอกาส เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเครือข่ายพัฒนางานวิจัย เพราะการทำวิจัยโครงการขนาดใหญ่ ต้องอาศัยความรู้หลายศาสตร์ ในเวลา และ งบประมาณที่จำกัด การเตรียมความพร้อมและความเชี่ยวชาญให้กับตนเอง เพื่อรอโอกาสได้มีส่วนร่วมในโครงการวิจัยที่สำคัญจะทำให้การตีพิมพ์ผลงานวิจัยเป็นไปได้มาก

การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย Read More »

คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (ระยะที่ 3)

การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR2.2.3 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ คุณลมัย ประคอนสี สำนักหอสมุด หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ และแหล่งทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษา การค้นคว้าวิจัย การสร้างนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ของการเป็นผู้นำเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัย จัดหาแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่ครอบคลุมและสามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลาย ให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ด้านสร้างความเป็นเลิศทางวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม สำนักหอสมุดจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต ในปีการศึกษา 2563 ซึ่งต่อมาได้จัดทำเป็นฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University Intellectual Repository หรือ RSUIR) ขึ้นมาเพื่อรวบรวมจัดทำคลังจัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวให้ทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่มีประโยชน์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ และต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป โดยเริ่มใช้งานออนไลน์ได้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม จัดทำคลังจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตในรูปแบบดิจิทัล เผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตให้ทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต ให้คงอยู่และสามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลาย จากการปรับปรุงพัฒนาในระยะที่ 2 ของส่วนการสืบค้นเมนู Browse โดย ชื่อผู้แต่ง (Author)   ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject) ที่เป็นภาษาไทยไม่ได้ ได้รับความร่วมมือในจากโปรแกรมเมอร์เพื่อแก้ไขระบบการสืบค้นดังกล่าว ให้สามารถสืบค้นภาษาไทยได้แล้ว สาเหตุเนื่องมาจากตั้งค่า default ของ tomcat เป็น iso-8859-1 ซึ่งไม่รองรับภาษาไทย ต้องแก้ไขเป็น UTF-8 จึงสามารถอ่านค่าภาษาไทยได้ และจะพัฒนาปรับปรุงให้เป็นฐานข้อมูลที่พร้อมสำหรับการสนับสนุนการวิจัยต่อไป   ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้         คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคลังจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศภูมิปัญญาของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัย มีจุดประสงค์ให้ทรัพยากรสารสนเทศได้รับการจัดเก็บในรูปดิจิทัล จะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นวิชาการให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอก และยังจะเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในระดับชาติ และนานาชาติในฐานะมหาวิทยาลัยทางด้านวิจัย และนวัตกรรม ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ที่เป็นคลังปัญญาในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่าง  ๆ และนำออกให้บริการในลักษณะเอกสารฉบับเต็ม (Full text) เช่น        – คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย  (Chulalongkorn University Intellectual Repository           ( https://cuir.car.chula.ac.th/community-list )        –  คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)          ( http://repository.li.mahidol.ac.th/dspace/ )                                                                   วิธีการดำเนินการ การจัดทำแผนดำเนินงานการจัดทำคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยประจำปีเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงาน รวบรวมไฟล์ผลงานวิทยานิพนธ์/วิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต แยกตามคณะ/สาขาวิชา/ปีการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2566 ได้ดำเนินการลงรายการวิจัย/วิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2565 จากที่ได้รับตัวเล่มและซีดีจาก สถาบันวิจัย และบัณฑิตวิทยาลัย โดยดำเนินการแปลงไฟล์ใส่ลายน้ำสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยรังสิต ประสานงานกับทีมงานโปรแกรมเมอร์สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อดูแลด้านเทคโนโลยีในเรื่องการปรับปรุงการสืบค้น Server และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ ประชาสัมพันธ์โครงการ/ส่งเสริมการใช้ โดยการแนะนำผ่านการปฐมนิเทศนักศึกษา เป็นต้น ประเมินผลโครงการประจำปีการศึกษาตามรูปแบบ PDCA 2.Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน 1. จากผลการดำเนินงานต่อจาก ระยะที่ 2 ในปีที่การศึกษา 2565 ได้ดำเนินแก้ไขปัญหาในการสืบค้นโดยใช้คำค้นที่เป็นภาษาไทยได้เรียบร้อยแล้ว และพบปัญหาเรื่องบัณฑิตวิทยาลัยแจ้งของดการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ที่เคยเผยแพร่แล้วเนื่องจากพบข้อมูลผิดไม่สามารถเผยแพร่ได้ 2. มีการเพิ่มเติมในส่วนของแบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้งานฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต (RSUIR)3. ทำการลงรายการวิทยานิพนธ์ และงานวิจัยบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิตเพิ่มเติมจนถึงปีปัจจุบัน คือปีการศึกษา 2566 และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวมจำนวน 1,935 รายการ (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 545 รายการ)4. เพิ่มเติมการเชื่อมโยง (Link) URL งานวิจัย/วิทยานิพนธ์จากฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลบนหน้าจอสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (Web Opec) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จำนวน 545 รายการ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University Intellectual Repository หรือ RSUIR) เป็นฐานข้อมูลคลังปัญญามหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลให้ทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเป็นการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้คงอยู่ และสามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลาย  ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ และต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป          การแก้ไขข้อมูลที่ทางบัณฑิตวิทยาลัยทำบันทึกข้อความเพื่อแจ้งงดเผยแพร่รายการวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต และมหาบัณฑิตที่มีข้อมูลที่ไม่สามารถเผยแพร่ได้ ทำให้ต้องมีการนำรายการดังกล่าวออกจากฐานข้อมูล RSUIR จำนวน 2 รายการ และปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง จำนวน 1 รายการ ทางสำนักหอสมุดได้มีข้อตกลงกับทางบัณฑิตวิทยาลัยที่จะรับรายชื่อและไฟล์วิทยานิพนธ์ที่ทางบัณฑิตวิทยาลัยรับรองให้เผยแพร่ได้เท่านั้น          ในส่วนแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยรังสิตมีผู้ตอบแบบประเมินจำนวน 33 คน โดยแบ่งเป็นการศึกษาระดับปริญญาโท ตอบมากที่สุด 21 คน รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรี 11 คน และระดับปริญญาเอก 1 คน ตามลำดับ โดยข้อคำถามทั้ง 5 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีข้อคำถามดังนี้ ข้อมูลมีความถูกต้องตรงตามความต้องการ มีค่าเฉลี่ย 4.09 การเข้าถึงระบบทำได้ง่ายและรวดเร็วในการดาวน์โหลด มีค่าเฉลี่ย 4.48 มีความสะดวกและรวดเร็วในการแสดงผลข้อมูล มีค่าเฉลี่ย 4.60 เป็นแหล่งข้อมูลที่ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการวิจัย มีค่าเฉลี่ย 4.27 ความพึงพอใจของการใช้บริการโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.30          โปรแกรม DSpace เป็นโปรแกรม Open source มีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดี ง่ายต่อการลงรายการ การ upload ไฟล์เอกสารฉบับเต็ม การเข้าถึง ตลอดจนถึงสืบค้นและดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์/วิจัย/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแบบ “Full Text” ได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือเรื่องความไม่เสถียรของเว็บไซต์คลังทรัพยากรสารสนเทศฯ เนื่องจากต้องมีการ Run service ของ Server ทุกสัปดาห์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องแต่ได้รับการประสานงานจากโปรแกรมเมอร์จากสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยแนะนำให้บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบได้ทำการ Run service ของ Server ตลอดจนมีการพัฒนาบำรุงรักษาโปรแกรมฯ ในส่วนของการ Upgrade โปรแกรม DSpace ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด โปรแกรมเมอร์จากสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในขั้นตอนในการเรียนรู้การดำเนินงานในส่วนดังกล่าว ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice การพัฒนาคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต ทุกปีอย่างต่อเนื่อง และรวบรวมแหล่งทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ไฟล์เสียง (MP4) รูปภาพ รวมทั้งรวบรวมรายงานการค้นคว้าอิสระ (IS) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากหน่วยงานอื่น ๆ ที่อนุญาตให้เผยแพร่ เป็นต้น

คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (ระยะที่ 3) Read More »

ระบบสนับการประเมินคุณภาพภายใต้แนวคิด 4D with 3 Smart

ระบบสนับสนุนการประเมินคุณภาพภายใต้แนวคิด 4D with 3 Smart ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR3.4.1, KR3.4.4 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เอื้ออัชฌาสัย, คุณพรรนิภา แดงเลิศ, คุณธนัญชนก วารินหอมหวล, คุณภัสราภรณ์ อริยะเศรณี, คุณวราภรณ์ เกิดน้อย สำนักงานประกันคุณภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล จึงทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและการทำงานในปัจจุบัน ผู้คนในยุคดิจิทัลต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว ทันใจ การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลจึงต้องมีการวางแผนการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล หรือการบริหารงานทั่วไป จำเป็นต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็วและเป็นแบบเรียลไทม์ (ปุณณิฐฐา มาเชค, 2565) อีกทั้งแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ที่มุ่งเน้นทักษะที่สำคัญของประชากรในศตวรรษที่ 21 ในแปดด้าน โดยหนึ่งในด้านที่สำคัญ คือ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Computing and ICT Literacy) รวมถึงแผนยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบข้อมูล โดยปัจจุบันฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อววน.) ประกอบด้วย 3 ฐานข้อมูลหลัก ได้แก่ ฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษาฯ และมาตรฐานการอุดมศึกษา, ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และฐานข้อมูลด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ     จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการสู่องค์กรอัจฉริยะ (Smart Organization) ที่เน้น กระบวนการทำงานแบบ Smart Work และ Work Smart เพิ่มศักยภาพในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา สำนักงานประกันคุณภาพได้ปรับกระบวนการบริหารงานที่เน้นการทำงานเชิงรุก ตอบสนองทันที (Pro-Active) การใช้ทรัพยากรน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า (Less resources, but more results) และปรับระบบการทำงานให้เป็นระบบดิจิทัลมากขึ้นเพื่อเชื่อมโยงในหลายมิติ (Digitalization and hyperlink) ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการบริหารงานบุคลากรในหน่วยงานด้วยหลัก 4D for Smart Organization และนำไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จที่วัดผลได้ตาม Key Result ของแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานประกันคุณภาพ โดยสามารถยืนยันความสำเร็จของผลการดำเนินงานด้วยรางวัลชมเชยจากการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง 4D for Smart Organization ในโครงการแนวปฏิบัติที่ดี มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปีการศึกษา 2565 (RSU Good Practice Awards 2023)     เพื่อเป็นการพัฒนาความเป็น 4D for Smart Organization สำนักงานประกันคุณภาพจึงมุ่งเน้นความสำคัญในการเพิ่มสมรรถนะการปฏิบัติงานด้าน Smart Technology ไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากรให้เป็น Smart People และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้เป็น Smart Process ด้านการประกันคุณภาพ ซึ่งแต่เดิมกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7), รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับคณะวิชา, รายงานประเมินเบื้องต้นสำหรับการตรวจประเมิน ของคณะกรรมการประเมิน, ประกาศฯ มหาวิทยาลัยรังสิตที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน (Improvement plan) ในรูปแบบไฟล์เอกสาร ที่ต้องใช้พื้นที่จัดเก็บไฟล์เอกสารเป็นจำนวนมาก จึงได้พัฒนาระบบ Improvement plan: IP ขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการประเมินสามารถใช้ระบบ IP ในการสรุปรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา (ฉบับสมบูรณ์) ในวันที่ประชุมประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ซึ่งหลักสูตรและคณะวิชาสามารถดูรายงานผลการประเมิน และจัดทำรายงานแผนปรับปรุงการดำเนินงาน (Improvement plan) ผ่านระบบ IP ทดแทนการจัดทำแบบ Manual File รวมถึงสามารถออกรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา และนำส่งรายงานผลการดำเนินงานฯ ดังกล่าว ไปยังสำนักงานวางแผนและพัฒนา เพื่อสรุปผลการดำเนินงานประจำปีในแต่ละ Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ต่อไป ————————————————————-   ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้: ขั้นตอนการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP จากความเป็น 4D with 3 Smart ประกอบด้วย Dynamic Mission คือ มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในพันธกิจตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดในทุกปี โดยมีพันธกิจใหม่ด้านการดูแลระบบ Improvement Plan: IP ที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับคณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร, คณะวิชา, กรรมการและเลขานุการ และการรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 Dynamic Job Description คือ การปรับหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรตามพันธกิจใหม่ โดยมีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ร่วมกับโปรแกรมเมอร์ Dynamic IDP คือ การปรับแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลประจำปีการศึกษา โดยการเพิ่มเติมหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรเป็นรายบุคคล โดยผู้บริหารหน่วยงานได้พิจารณาและประเมินความรู้ ความสามารถของบุคลากรที่มีความเหมาะสมต่อการร่วมพัฒนา ดูแล เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การใช้งาน และเป็น Admin ระบบ Improvement Plan: IP Dynamic working result คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนการกำกับติดตามการดำเนินงาน ซึ่งจากเดิมสำนักงานประกันคุณภาพมีการติดตามการดำเนินงานของบุคลากรเป็นรายบุคคลผ่านแบบรายงานการปฏิบัติงานรายบุคคลประจำเดือน (Monthly Report) โดยเพิ่มเติมการนำเสนอ (ร่าง) การพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ในทุกสัปดาห์ผ่านที่ประชุมสำนักงาน และนำเสนอความก้าวหน้าต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพ ในปีการศึกษา 2565 (ซึ่งเป็นปีที่พัฒนาระบบ) จำนวน 4 ครั้ง           – ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565           – ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565           – ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566           – ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566     และเพิ่มสมรรถนะการปฏิบัติงานใน 3 ด้านที่สำคัญ ได้แก่      – Smart People คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ วางแผน มีทักษะในการสื่อสารและการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยเป็นผู้ร่วมพัฒนาและวิเคราะห์ระบบ Improvement Plan: IP ร่วมกับ Developer และทำหน้าที่เป็น User Requirement เพื่อวิเคราะห์ว่าระบบที่ออกแบบและพัฒนาต้องมีการทำงานอย่างไรและเงื่อนไขที่กำหนดลงไปในระบบมีอะไรบ้าง, ร่วมออกแบบและตรวจสอบระบบ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดและแนะนำหลักสูตร คณะวิชา และผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ในการใช้งานระบบ IP ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการเป็น Chang Agent      – Smart Process คือ การพัฒนากระบวนการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความเป็นระบบ และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร, คณะวิชา, กรรมการและเลขานุการ และการรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ทดแทนการจัดทำแบบ Manual File สู่กระบวนการแบบ Lean Process เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น เพราะระบบ IP สามารถคำนวณผลลัพธ์และค่าร้อยละให้อัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในตัวบ่งชี้เชิงปริมาณได้ และช่วยลดระยะเวลาในการจัดเก็บและค้นหาไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินได้ เพราะระบบ IP ได้รวบรวมไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ในที่เดียว เช่น คู่มือมาตรฐานฯ มรส.ฯประกาศ คำสั่งฯ แนวทางการประเมิน, รายชื่อคณะกรรมการประเมิน, รายงาน มคอ.7 และรายงาน SAR เป็นต้น            – Smart Technology คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน แม้ว่ามหาวิทยาลัยกำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงานประกันคุณภาพมีความประสงค์มุ่งพัฒนาระบบสนับสนุนการประเมินคุณภาพ ระบบ Improvement Plan: IP ขึ้นใช้เองโดยแยกจากส่วนกลาง เพื่อให้ทันต่อการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565 และเกณฑ์มาตรฐานฯ ฉบับ พ.ศ.2567) เพื่อให้การรายงานผลการดำเนินงานทั้งระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และระดับสถาบันเกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการเป็น Agile Technology ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) โดยนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 มาตีความสู่การดำเนินงาน และนำมาปรับใช้ในแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานประกันคุณภาพ พ.ศ.2565-2569 และแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานประกันคุณภาพ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)โดยนำแนวปฏิบัติของสำนักงานประกันคุณภาพที่ประสบความสำเร็จจากปีการศึกษาที่ผ่านมาในประเด็น 4D for Smart Organization มาดำเนินการต่อเนื่องและพัฒนาเพิ่มเติมใน 3 ด้าน คือ Smart People, Smart Process และ Smart Technology สู่การเป็น 4D with 3 Smart และพิสูจน์ความสำเร็จในการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ด้วยการเก็บข้อมูลผลการประเมินการใช้งานระบบจากตัวแทนของคณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร และคณะวิชา วิธีการดำเนินการ สำนักงานประกันคุณภาพได้นำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP โดยผู้บริหารหน่วยงานให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย เช่น การสนับสนุนให้หลักสูตรและคณะวิชาที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ในตัวบ่งชี้ที่ได้คะแนน 4.00 ได้พัฒนาตนเองและจัดทำรายงาน KM แนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จและถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านระบบ RKMS ของมหาวิทยาลัย ภาพ: ตัวอย่าง Template รายงาน มคอ.7 ที่ระบุเกณฑ์การประเมินในระดับ 5.00 คะแนน โดยต้องจัดทำผลงาน KM แนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ และถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านระบบ RKMS ของมหาวิทยาลัย      นอกจากนี้ มีการส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเข้าร่วมอบรมแนวทางการจัดการความรู้ในทุกปีการศึกษา เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมมาประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จและองค์ความรู้ของบุคลากรตามพันธกิจใหม่ที่ได้รับมอบหมาย โดยเป็นผลมาจากการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีจากปีการศึกษาที่ผ่านมา สู่การจัดทำรายงานการจัดการความรู้ของปีการศึกษา 2566 โดยมีกระบวนการจัดการความรู้ของหน่วยงานใน 6 ขั้นตอน ดังนี้ การกำหนดความรู้ที่จำเป็น โดยผ่านการประชุมสำนักงานประจำสัปดาห์ เพื่อร่วมกันพิจารณาว่าความรู้ใดที่สำคัญและเป็นผลมาจากแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า เป็นเรื่องการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ที่เป็นผลมาจากการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ โดยการนำองค์ความรู้ที่ค้นพบ คือ การพัฒนาระบบที่มาจากการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของบุคลากร เช่น แผนการพัฒนาระบบ, ขั้นตอนการพัฒนาระบบ, แนวทางการจัดอบรมและประชาสัมพันธ์ระบบ, การให้คำปรึกษาการใช้งานระบบ และการเป็น Admin ดูแลระบบ เป็นต้น สู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ คือ การจัดทำ Model ขั้นตอนการพัฒนาระบบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพของหน่วยงานที่จะพัฒนาขึ้นในอนาคต การปรับปรุง/ ดัดแปลง/ การสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการใช้งาน โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และปรับปรุงข้อมูลที่จะปรากฏในระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อผู้ใช้งาน การประยุกต์ใช้ความรู้ในงานของตน โดยการนำความรู้ที่ได้จากการประชุมสำนักงาน/ ระดมความคิดเห็น และการให้ความรู้แบบ Coaching จากผู้บริหารหน่วยงาน รวมถึงการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองผ่าน Online Learning Platform เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาระบบ การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้ สำนักงานประกันคุณภาพได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart แล้วทำการประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักงานประกันคุณภาพ และแผนการพัฒนาบุคลากร ด้วยวิธีการสนับสนุนให้บุคลากรได้รายงานแผนการจัดทำระบบ, รายงานความคืบหน้า, การเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ และการประเมินผลการใช้งานระบบจากตัวแทนของคณะกรรมการประเมิน, หลักสูตร และคณะวิชา ผู้ใช้งานระบบ โดยทุกขั้นตอนที่มีการพัฒนาได้มีการบันทึกและนำเสนอในรูปแบบ Model ขั้นตอนการพัฒนาระบบ ซึ่งถือเป็น “ขุมความรู้” ที่ได้จากประสบการณ์การทำงาน การจดบันทึกขุมความรู้และแก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งานและปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน           6.1 นำผลการสกัดความรู้ตามกระบวนการ 4D with 3 Smart มาบันทึกตามแนวทางของ RKMS           6.2 การเผยแพร่ความรู้ 4D with 3 Smart ที่ทำให้เกิดการพัฒนาระบบผ่านการจัดอบรมการใช้งานระบบ Improvement Plan: IP สำหรับคณะกรรมการประเมิน สำหรับหลักสูตร และคณะวิชา จำนวน 3 ครั้ง รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานทุกคนเป็นผู้ใช้งานระบบเพื่อการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 แล้วนำข้อค้นพบจากการใช้งานระบบมาประชุม/ ระดมความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา/ ปรับปรุง สำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566 ต่อไป 2.Prototype testing in an operational environment – DO สำนักงานประกันคุณภาพมีกระบวนการติดตามผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ผ่านแบบรายงานการปฏิบัติงานรายบุคคลประจำเดือน (Monthly Report) และการนำเสนอ (ร่าง) การพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ในทุกสัปดาห์ต่อที่ประชุมสำนักงาน และนำเสนอความก้าวหน้าต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพ ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ครั้ง และรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร คณะวิชา และรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 3 ครั้ง ในปีการศึกษา 2566 ซึ่งผลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ที่เป็นไปตาม KR ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 มีดังนี้ ความเชื่อมโยงผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ที่รายงานผลจากระบบ IP KR ของแผนยุทธศาสตร์ฯ มรส. พ.ศ. 2565-2569 ตัวบ่งชี้ระดับหลักสูตร KR 1.1.1 หลักสูตรมีความทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม ตบช.5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร KR 1.1.5 ผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรในระดับดีขึ้นไป ตบช.3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา KR 1.2.1 มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสอนมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ตบช.5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร KR 1.2.2 หลักสูตรที่เปิดดำเนินการสอนมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย พร้อมใช้ และจำนวนเพียงพอสอดคล้องกับเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ตบช.6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ KR 1.3.1 อัตราการได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปีหลังสำเร็จการศึกษามากกว่าร้อยละ 65 ของผู้สำเร็จการศึกษา ตบช.2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี KR 1.3.3 หลักสูตรมีผลการประเมินคุณภาพของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิและมาตรฐานการอุดมศึกษาจากผู้ใช้บัณฑิต ไม่ต่ำกว่าระดับดี ตบช.2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 KR 1.3.7 ระดับคุณภาพงานวิจัย/ งานสร้างสรรค์/ นวัตกรรม ของนักศึกษาและบัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญเอก ตบช.2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (ทั้งหลักสูตรระดับ ป.โท และ ป.เอก)   ความเชื่อมโยงผลการดำเนินงานระดับคณะวิชา ที่รายงานผลจากระบบ IP KR ของแผนยุทธศาสตร์ฯ มรส. พ.ศ. 2565-2569 ตัวบ่งชี้ระดับคณะวิชา KR 1.2.4 กิจกรรม/โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์บรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จและวัตถุประสงค์ทุกข้อ ตบช.1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี เกณฑ์ข้อ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา KR 1.4.6 จำนวนผลงานการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน ตบช.5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ เกณฑ์ข้อ 5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง   ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี (People Process and Technology)     – ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงบุคลากร (People) โดยการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart และกำหนดเป้าหมายไว้ในแผนพัฒนาบุคลากร พบว่า บุคลากรมีความรู้ในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565) มากขึ้น โดยสามารถปรับปรุง Template มคอ.7 และรายงาน SAR ระดับคณะวิชา ที่ครอบคลุมกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา และประกาศ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562 และมีความเข้าใจในประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ซึ่งเมื่อบุคลากรมีความรู้ในตัวบ่งชี้และเกณฑ์ฯ แล้วจึงนำมาสู่การออกแบบระบบสนับสนุนการประเมินคุณภาพ Improvement Plan: IP และสามารถจัดทำคู่มือการใช้งานระบบ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ คู่มือสำหรับผู้ประเมินระดับหลักสูตร, คู่มือสำหรับผู้ประเมินระดับคณะวิชา และคู่มือสำหรับผู้ใช้งานระดับหลักสูตรและระดับคณะวิชา โดยสามารถเป็นวิทยากรในการจัดอบรมการใช้งานระบบ จำนวน 3 ครั้ง และมีผลการประเมินความพึงพอใจด้านวิทยากร ดังนี้ หัวข้อการจัดอบรม คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจด้านวิทยากร การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 4.87 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะวิชา ปีการศึกษา 2565 4.89 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ หลักสูตร และคณะวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน ปีการศึกษา 2566 4.92 ระดับดีมาก – ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงกระบวนการ (Process) บุคลากรสามารถการพัฒนากระบวนการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความเป็นระบบ และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการประเมิน, ผู้ใช้งานระดับหลักสูตร และระดับคณะวิชา, กรรมการและเลขานุการ และการรายงานผลการดำเนินงานตาม Key Result ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 โดยสามารถจัดทำ Model ขั้นตอนการพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ดังนี้ – ผลลัพธ์การพัฒนางานในเชิงเทคโนโลยี (Technology) การพัฒนาระบบ Improvement Plan: IP ได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์สำนักงานประกันคุณภาพ พ.ศ.2565-2569 ที่กำหนดเป้าหมาย 100% Comfort Faculty and Curriculum IP on time และสามารถดำเนินการได้บรรลุค่าเป้าหมาย 100% โดยเป็นระบบที่ผู้ประเมินทั้งระดับหลักสูตรและคณะวิชา สามารถจัดทำรายงานประเมินเบื้องต้นสำหรับการตรวจประเมิน สามารถช่วยคำนวณผลลัพธ์และค่าร้อยละให้อัตโนมัติ รวมทั้งสามารถสร้างรายงานผู้ประเมินฉบับสมบูรณ์ให้อัตโนมัติ นอกจากนี้หลักสูตร และคณะวิชาสามารถเข้าดูรายงานผลการประเมิน และจัดทำรายงานแผนปรับปรุงการดำเนินงาน (Improvement Plan) ผ่านระบบ ซึ่งระบบช่วยสร้าง Improvement Plan ระดับหลักสูตรและระดับคณะวิชาเบื้องต้นให้อัตโนมัติ และที่สำคัญระบบช่วยสร้างรายงานผลการดำเนินงานตาม KR ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อรายงานผลการดำเนินงานจากระบบส่งให้กับสำนักงานวางแผนและพัฒนา โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจด้านระบบ Improvement Plan: IP ดังนี้ หัวข้อการจัดอบรม คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความพึงพอใจด้านระบบ การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 4.87 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะวิชา ปีการศึกษา 2565 4.85 ระดับดีมาก การใช้งานระบบ IP สำหรับ หลักสูตร และคณะวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน ปีการศึกษา 2566 4.83 ระดับดีมาก 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ – การตรวจสอบผลการดำเนินการ ในด้านการติดตามผลการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง 4D with 3 Smart นั้น สำนักงานประกันคุณภาพมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ รายงาน Job Description ประจำปีการศึกษาที่ Mapping กับ Dynamic Mission, Monthly

ระบบสนับการประเมินคุณภาพภายใต้แนวคิด 4D with 3 Smart Read More »

การเรียนรู้โดยนักศึกษามีส่วนร่วมผ่านการใช้ทักษะต่างๆ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 การเรียนรู้โดยนักศึกษามีส่วนร่วมผ่านการใช้ทักษะต่างๆ (Active Learning) ในรายวิชาทฤษฎีอาชญาวิทยา ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.พรรษพร สุวรรณากาศ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต อาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ได้สนับสนุนให้คณาจารย์วางแผนการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยในแต่ละรายวิชาต้องออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเอง แสดงศักยภาพ พัฒนาทักษะในชั้นเรียนได้อย่างสูงสุดโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในเนื้อหาสู่การเรียนรู้ที่แท้จริง ในรายวิชา CJA202 ทฤษฎีอาชญาวิทยา มีเนื้อหาครอบคลุมศาสตร์ทางอาชญาวิทยา พัฒนาการของทฤษฎี และความรู้ในเชิงสหวิทยาต่อการอธิบายปรากฏการณ์อาชญากรรมผ่านแนวคิด และทฤษฎีทางด้านอาชญาวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์รายวิชาคือ เพื่อให้เข้าใจฐานคติและแนวคิดที่เป็นต้นกำเนิดของศาสตร์ทางอาชญาวิทยา พัฒนาการของทฤษฎี ความรู้ในเชิงสหวิทยาของหลักการทางอาชญาวิทยาและธรรมชาติของสังคมกับอาชญากรรม เพื่อให้สามารถอธิบายปรากฏการณ์อาชญากรรมด้วยแนวคิดและทฤษฎีทางด้านอาชญาวิทยาได้ เพื่อให้เข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบอาชญากรรมที่น่าสนใจ อนึ่ง ประเด็นสำคัญที่ท้าทายการเรียนการสอนคือประเด็นการทำความเข้าใจทฤษฎีอาชญาวิทยาที่มีจำนวนมากหลากหลายทฤษฎี ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายทั้งในมิติผู้บรรยายต่อการถ่ายถอดบทเรียนสู่มิติของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อการทำความเข้าใจในแต่ละแนวคิดในการอธิบายสาเหตุประกอบอาชญากรรม การวางแผนการจัดการเรียนการสอนจึงมีกระบวนการที่ให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในแต่ละกิจกรรม ควบคู่ไปกับการวัดผลความรู้ที่ได้จากรายวิชา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้                    นอกเหนือจากการบรรยายเชิงทฤษฎี ยังมีการดำเนินการเรียนการสอนโดยกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม แบบการระดมสมอง (Brainstorming) แบบเน้นปัญหา/โครงงาน/กรณีศึกษา (Problem/Project-based Learning/Case Study) แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การศึกษา และการพัฒนาการเรียนรู้ในปัจจุบัน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University   (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase) เจ้าของความรู้/สังกัด   คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม          ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด ดร.พรรษพร สุวรรณากาศ วิธีการดำเนินการ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องดำเนินด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยอาจารย์ผู้สอนมีการวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้ กำหนดเนื้อหาที่ต้องเรียนในศาสตร์ทางด้านอาชญาวิทยา ทฤษฎีอาชญาวิทยาผ่านการบรรยายความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการอธิบายสาเหตุอาชญากรรม กำหนดเครื่องมือการวัดความรู้ ประกอบด้วย การออกแบบเนื้อหาการทดสอบความรู้ ประเมินผ่านการทดสอบย่อยโดยผู้สอน Pre Test, Post Test, Final Exam สอดแทรกแต่ละกิจกรรมในแต่ละช่วงของกลุ่มแนวคิดทางด้านอาชญาวิทยา ประกอบด้วย การระดมสมอง การเรียนรู้ด้วยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Play) วางแผนกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ – การเรียนรู้ผ่าน Case Study รวมถึงการค้นหาความรู้เพิ่มเติม สามารถค้นคว้าข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปัญหาในเชิงลึก และถ่ายทอดความรู้เป็นชิ้นงานการศึกษาได้อย่างสร้างสรรค์ ทักษะสารสนเทศ – มุ่งให้นักศึกษาอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตสื่อเพื่ออธิบายทฤษฎีอาชญาวิทยาได้อย่างสร้างสรรค์ ทักษะในการสื่อสาร – เข้าใจถึงการสื่อสารภายในกลุ่มในชั้นเรียน เรียนรู้ทักษะการสื่อสารกับกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม หรือผู้กระทำผิด ทักษะชีวิต – เรียนรู้ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม การสังเกตการเรียนรู้ การแสดงศักยภาพของนักศึกษาในแต่ละกิจกรรมในห้องเรียน เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ในอนาคต 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                จากการวางแผนการเรียนการสอนสู่การลงปฏิบัติ โดยในปีการศึกษา 2566 ได้มีนักศึกษาจำนวนทั้งหมด 98 คนในรายวิชาทฤษฎีอาชญาวิทยา อนึ่ง ในรายวิชาได้มีการดำเนินการบรรยายทฤษฎีอาชญาวิทยาประกอบการสอดแทรกกิจกรรม ผ่านกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น และมีผลการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ กิจกรรม กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น 1. การแสดงบทบาทสมมุตินักอาชญาวิทยาและผู้กระทำผิด การเรียนรู้ด้วยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Play) จากกรณีศึกษาที่หลากหลาย เรียนรู้ทฤษฎีเทคเนคการโยนความผิด และการสื่อสารกับผู้กระทำผิด พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสาร 2. การวิเคราะห์คดีดัง อาทิ ‘กราดยิงพารากอน’ ‘กำนันนก’ การเรียนรู้ แบบ Case Study ที่หลากหลายการวิเคราะห์สาเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ผลกระทบจากสถานการณ์ แนวทางป้องกันอาชญากรรม วิพากษ์ระบบงานยุติธรรมทางอาญา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในการวิเคราะห์ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล ค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยตนเอง 3. การระดมสมองในประเด็นปัญหาสังคมและอาชญากรรม การเรียนรู้โดยระดมสมอง อภิปรายภายในกลุ่ม ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาสังคมสู่การประกอบอาชญากรรม ในบทเรียนกลุ่มทฤษฎีโครงสร้างทางสังคมต่อการกระทำผิด ทักษะการเรียนรู้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ทักษะการสื่อสาร ต่อการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 4. Project Based นำเสนอชิ้นงานประยุกต์ใช้ทฤษฎีอาชญาวิทยาแต่การถ่ายทอดผ่านสื่อ การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ให้นักศึกษาผลิตผลงานสื่อสร้างสรรค์โดยไม่จำกัดแนวทางในการนำเสนอ ภายใน 15 นาที เพื่อประยุกต์ทฤษฎีที่เรียนสู่การถ่ายทอดรูปธรรม โดยมีข้อตกลงการดำเนินงานดังนี้ 1. จับกลุ่ม 8-10 คน 2. ส่งรายชื่อสมาชิกภายในสัปดาห์ที่ 2 ของการเรียน 3. ลักษณะการนำเสนอเนื้อหาได้อย่างสร้างสรรค์ โดยต้องมีการสอดแทรกการอธิบายทฤษฎีอาชญาวิทยา เช่น การแสดงสถานการณ์จำลอง นักศึกษาจำลองบทบาทคดีอาชญากรรม และมีการอธิภายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นๆ ท้ายคลิป หรือสอดแทรกระหว่างคลิปตามความเหมาะสม 4. ส่ง Plot เรื่อง และเลือกทฤษฎีที่ใช้อธิบายก่อนดำเนินการ เพื่อให้อาจารย์พิจารณาให้คำแนะนำก่อนสัปดาห์ที่ 9 ของการเรียน 5. ไม่ต้องจัดทำรูปเล่ม โดยส่งไฟล์ผลงานก่อนวันนำเสนอ อย่างน้อย 1 วันเข้าอีเมล phatsaporn.s@rsu.ac.th ทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ทักษะชีวิตในการทำงานเป็นทีม ทักษะสารสนเทศต่อการเผยแพร่ความรู้ 5. การวัดความรู้ Pre-Test, Post-Test และการสอบปลายภาค การออกแบบ Quiz และ Final Exam ทักษะการเรียนรู้ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่                    อาจารย์ได้มีการชี้แจงสัดส่วนของการประเมินผลตั้งแต่สัปดาห์แรกในชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษารับทราบข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน การประเมินผลการเรียนรู้ สัดส่วนของการประเมินผล 1.       สอบปลายภาค 30% 2.       การเข้าชั้นเรียน QUIZ และการมอบหมายงาน รวมถึงการอภิปรายปัญหาอาชญากรรมในชั้นเรียน 30% 3.       Project งานกลุ่ม 40%                    ทั้งนี้จากกิจกรรมต่างๆ ได้มีการตรวจสอบผลการดำเนินการดังนี้ การแสดงบทบาทสมมุตินักอาชญาวิทยาและผู้กระทำผิด – จากการแนะนำความรู้โดยอาจารย์ผู้สอน สู่การให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง โดยให้สลับกันเป็นอาชญากร และนักอาชญาวิทยา ทั้งนี้ การสังเกตพบว่านักศึกษามีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมาก มีการใช้ความรู้ที่เรียนมาเท่าทันเทคนิคการโยนความผิด และเข้าใจถึงการสื่อสารกับผู้กระทำผิดโดยไม่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน และสามารถถ่ายทอดสรุปผลการศึกษาการวิเคราะห์ผู้กระทำผิดได้อย่างสอดคล้องทฤษฎีอาชญาวิทยา การวิเคราะห์คดีดัง อาทิ ‘กราดยิงพารากอน’ ‘กำนันนก’ – จากการประเมินการนำเสนอพบว่า นักศึกษามีการนำทฤษฎีทางด้านอาชญาวิทยาเข้ามาวิเคราะห์ และมีการนำเสนอแนวทางป้องกันแก้ไขตามหลักวิชาการถูกต้องและทันสมัย การระดมสมองในประเด็นปัญหาสังคมและอาชญากรรม – จากกระประเมินโดยการสังเกตแต่ละกลุ่มในช่วงอภิปราย โดยอาจารย์เป็นผู้ฟังการนำเสนอความคิดเห็นนักศึกษาภายในกลุ่มแต่ละกลุ่ม หลังจากนั้นจึงเป็นการนำเสนอหน้าชั้นเรียน พบว่านักศึกษามีความสนใจ มีความกล้าแสดงออกที่จะแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการต่อปัญหาสังคม มีความเข้าใจปัจจัยทางสภาพแวดล้อมต่อการประกอบอาชญากรรม Project Based นำเสนอชิ้นงานประยุกต์ใช้ทฤษฎีอาชญาวิทยาแต่การถ่ายทอดผ่านสื่อ – จากการประเมินผลงานของนักศึกษาพบว่า สื่อที่นักศึกษาผลิตและนำเสนอมีความทันสมัยน่าสนใจอย่างสร้างสรรค์ และนักศึกษามีผลงานการนำเสนอหรือชิ้นงานที่มีลักษณะไม่ซ้ำกันในแต่ละกลุ่ม อาทิ การนำเสนอผ่าน webtoon การใช้บทบาทสมมุติในการนำเสนอ นำเสนอโดยผลิตเป็น Animation พบว่านักศึกษาดำเนินการเป็นอย่างดี มีการร่วมปรึกษากับอาจารย์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้อาจารย์ได้แนะนำความเห็น ความถูกต้องตามหลักวิชาการ การวัดความรู้ Pre-Test, Post-Test และการสอบปลายภาค – จากการทดสอบ Pretest และ Post-test ผ่านพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนน Post-test เพิ่มขึ้น และจากการสอบปลายภาคพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่สามารถจำและเขียนอธิบายทฤษฎีอาชญาวิทยาได้ อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้เขียนบรรยายบทวิเคราะห์คดีในข้อสอบ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อาจมีการผลักดันให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มทฤษฎีอาชญาวิทยา โดยอาจเป็นกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น นักศึกษาให้ความสนใจ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เป็นฝ่ายนำเสนอความคิดเห็นในบทเรียน และวิธีการจัดการเรียนรู้มากขึ้น           อนึ่งในแต่ละสัปดาห์ท้ายคาบเรียน อาจารย์ผู้สอนจะเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาหารือเนื้อหาทฤษฎีทุกครั้งเพื่อผลิตผลงานการนำเสนอชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ พบว่าแนวทางดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักศึกษาจะมีความกล้าแสดงออกที่จะปรึกษาหารือเนื้อหาความรู้มากขึ้น โดยมีนักศึกษาร่วมปรึกษาอย่างต่อเนื่องในแต่ละสัปดาห์การเรียน                    และระหว่างการเรียนทั้งภาคการศึกษา นักศึกษาสามารถปรึกษาหารืออาจารย์ที่ปรึกษาผ่าน Line Group หรือ Line อาจารย์ผู้สอนได้โดยตรง โดยอาจารย์จะมีการส่งข้อมูล สถานการณ์อาชญากรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ผลงานนักศึกษาส่วนหนึ่งจาก Project Based นำเสนอชิ้นงานประยุกต์ใช้ทฤษฎีอาชญาวิทยาแต่การถ่ายทอดผ่านสื่อ https://drive.google.com/drive/folders/1oq4rl9xMwvzKYjy2tzxVSrRg4mEWeMgu https://youtu.be/Jat4fL3s3Ig?si=UcU0sjCEFh5iwOh7 https://youtu.be/WbmnlgAt7Dk?si=MfNsNHyepEHvhtNy https://www.youtube.com/watch?v=Y3OkXjkeiIs ภาพบรรยากาศในชั้นเรียนและกิจกรรมการจำลองบทบาทสมมุติ

การเรียนรู้โดยนักศึกษามีส่วนร่วมผ่านการใช้ทักษะต่างๆ Read More »

Scroll to Top