รางวัลดีเด่น

การเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง: ความท้าทายของการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ (Simulation-based learning: Challenges of nursing education)

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 การเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง : ความท้าทายของการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ (Simulation-based learning : Challenges of nursing education) ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.ณัฐพล ยุวนิช อ. นัสมัญญ์ เหลืองกิตติก้อง อ.ศศิพินทุ์ ศุภมนตรี บัวพล อ.นิธิมา คันธะชุมภู อ.ระวินันธ์ ธัชศิรินิรัชกุล และ อ.จรัสศรี อัธยาศัย คณะพยาบาลศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่าง ทฤษฎีและการปฏิบัติโดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาพยาบาลมีองค์ความรู้และทักษะทางการพยาบาลและนําไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้รับบริการ ครอบครัว และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและเกิดความปลอดภัย สภาการพยาบาลจึงได้กําหนดให้หลักสูตรพยาบาลศาสตร์จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีโดยมีชั่วโมงบรรยายและชั่วโมงฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการพยาบาล และภาคปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชน ตลอดจนให้ความสําคัญกับการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการพยาบาลมากขึ้น เพื่อเตรียมนักศึกษาให้มีความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จริง โดยเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถาบันการศึกษาการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. 2568 ได้กําหนดเพิ่มเติมให้สถาบันการศึกษามีห้องปฏิบัติการพยาบาลเสมือนจริง  ให้นักศึกษาฝึกฝนทักษะการปฏิบัติการพยาบาล การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจทางคลินิก โดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงทางการพยาบาลด้วยหุ่นจําลองผู้ป่วยเสมือนจริง ในแต่ละรายวิชาครอบคลุม 5 สาขาหลัก เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกําหนดและเป็นการเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาก่อนฝึกปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย           ในปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการพยาบาลศาสตร์มีแนวโน้มการใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) มาสร้างสถานการณ์จําลองในรูปแบบกรณีศึกษามากขึ้น ซึ่งการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงเป็นวิธีการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาพยาบาลได้ฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและควบคุมได้ ก่อนที่จะเข้าสู่การปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จําเป็นในการประกอบวิชาชีพพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ (Guerrero et al., 2024; Jiang et al., 2024; Nair et al., 2024) อีกทั้งยังมีประโยชน์ในแง่ของการเปิดโอกาสให้นักศึกษาพยาบาลได้ฝึกปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยที่พบเจอได้น้อยในสถานการณ์จริง เช่น ผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยที่มีโรคที่พบได้ยาก และ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โดยนักศึกษาสามารถฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จําลองได้หลายครั้งโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย (Diaz-Navarro et al., 2024) ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าการเรียนการสอนแบบการใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ (Saragih et al.,2024) ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ เพิ่มความมั่นใจให้นักศึกษาพยาบาล โดยการฝึกฝนทักษะการพยาบาลที่จําเป็นต่างๆ หลายครั้งจนเกิดความชํานาญและความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาล พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทางคลินิก สถานการณ์จําลองเสมือนจริงจะถูกออกแบบมาให้มีความหลากหลายและซับซ้อน ทําให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ การทํางานร่วมกันในสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทํางานเป็นทีมและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย การใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองในการฝึกปฏิบัติจริง เพิ่มความน่าสนใจในการเรียนรู้ สถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่ถูกออกแบบมาอย่างดี จะช่วยให้นักศึกษาเกิดความสนใจและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น           คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เห็นความสําคัญของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) และได้พัฒนามาโดยลําดับ ในปีการศึกษา 2566 คณะพยาบาลศาสตร์ได้ปรับการเรียนการสอนในบางสาขาวิชาจากวิธีบรรยายมาใช้กรณีศึกษาร่วมกับการอภิปรายในชั้นเรียนแบบกลุ่ม โดยได้รายงานเป็นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเรียนการสอน โดย ผศ. สมหญิง โควศวนนท์ และ คณะ เรื่อง “สอนย่างไรจึงจะทําให้นักศึกษานําความรู้สู่การปฏิบัติได้” ซึ่งได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนวิชา BNS 234 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น และสามารถให้การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะสุขภาพดีและมีปัญหาสุขภาพได้ ผลการใช้การเรียนการสอนรูปแบบกรณีศึกษาร่วมกับการอภิปรายในชั้นเรียนแบบกลุ่ม พบว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้มากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น มีความพร้อมในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติมากขึ้น และพึงพอใจกับการเรียนการสอนในรายวิชาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนรูปแบบนี้ยังมีข้อจํากัดในด้านการตัดสินใจทางคลินิก การปฏิบัติการพยาบาลเป็นทีม และการสื่อสาร 2 ทาง (Two-way communication) ระหว่างผู้ป่วยและนักศึกษาพยาบาล จึงมีข้อเสนอให้นํากรณีศึกษามาสร้างสถานการณ์จําลองเสมือนจริง โดยใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากกรณีศึกษาได้สมจริงมากขึ้น เช่น เห็นการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ การหายใจและการขยายของทรวงอก การหดตัวของรูม่านตาเมื่อมีปฏิกิริยาต่อแสง และอาการต่าง ๆ แบบ Real-time และสามารถพูดคุยกับหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูงได้ส่งเสริมให้มีการคิดวิเคราะห์ การสื่อสารเชิงวิชาชีพ การตัดสินใจในการให้การพยาบาลที่เหมาะสมอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดความมั่นใจในตนเองก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติ กับผู้ป่วยจริงในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชน (Jiang et al., 2024; Nair et al., 2024) ในปีการศึกษา 2567 คณะได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลองทางการพยาบาล และคณะผู้จัดทําได้ร่วมกับคณะกรรมการฯ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) ด้วยหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ในการเรียนการสอน 3 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และ 1 สาขาวิชาเสริม คือ การพยาบาลพื้นฐานและเสริมการพยาบาล โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้จากสถานการณ์จําลองที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงให้ได้มากที่สุดและหวังผลให้เกิดองค์ความรู้จากการลงมือปฏิบัติ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสารเชิงวิชาชีพ การตัดสินใจในการให้การพยาบาลที่เหมาะสมอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดความมั่นใจในตนเองก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชน ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้             การประยุกต์กระบวนการพยาบาล แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และการพยาบาลพื้นฐาน และแนวคิดรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการศึกษาทางการพยาบาล (Nursing Education Simulation Framework) ของ Jeffries (2005)           กระบวนการพยาบาล (Nursing process) กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินสภาพ การวินิจฉัยการพยาบาลหรือการกําหนดปัญหาทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผล กระบวนการพยาบาลช่วยให้พยาบาลมองปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการรายบุคคลแบบองค์รวมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์และเป็นการนําความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติบนพื้นฐานของการใช้เหตุผล การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาซึ่งส่งเสริมให้เกิดคุณภาพทางการพยาบาล (Toney-Butler &Thayer, 2023) Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework (Jeffries, 2005)เป็นแนวคิดจําลองการออกแบบและการประยุกต์ใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการเรียนการสอนทางการพยาบาล ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การอํานวยความสะดวกในการเรียนของผู้สอน โดยผู้สอนมีหน้าที่หลักในการสังเกต อํานวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สะท้อนคิด และสรุปผล การเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน การสอนในสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่มีการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้เรียน และผู้เรียน-ผู้สอน การออกแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง โดยคํานึงถึง การกําหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การสร้างสถานการณ์จําลองที่มีรายละเอียดและครอบคลุม การออกแบบสภาพแวดล้อม และการออกแบบเนื้อหาสถานการณ์จําลองเพื่อให้เหมาะสมกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการประยุกต์ใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการเรียนการสอนทางการพยาบาล ได้แก่ องค์ความรู้ (Knowledge) ทักษะปฏิบัติการพยาบาล (Nursing skill) ความพึงพอใจของผู้เรียน (Learner’s satisfaction) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) และความมั่นใจในตนเอง (Self-confidence) การจัดการเรียนการสอนมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนํา ขั้นปฐมนิเทศและชี้แจงรายละเอียด (Pre-briefing) 2) ขั้นดําเนินสถานการณ์ตามฉากที่กําหนด (Running scenario) และ 3) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Debriefing)           แนวคิดรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการศึกษาทางการพยาบาลของ Jeffries ช่วยให้นักศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และปฏิบัติการพยาบาลอย่างเต็มศักยภาพ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ต่อผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถประเมินผลและปรับปรุงความสามารถของตนเองเพื่อให้มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น (Jeffries, 2005)           จากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าว ทางคณะผู้จัดทําจึงพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ดําเนินการเรียนการสอนตามแนวคิดของ Jeffries 3 ขั้นตอน คือ สถานการณ์ตามฉากที่กําหนด และกําหนดให้นักศึกษาบูรณาการใช้กระบวนการพยาบาล ร่วมกับการสื่อสารเชิงวิชาชีพ การทํางานเป็นทีม ทักษะปฏิบัติการพยาบาลที่จําเป็น และหลักจริยธรรมทางการพยาบาล มาใช้ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยจําลองแบบองค์รวม ด้วยวิธีการนี้คณะผู้จัดทําเชื่อว่าเมื่อนักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และการพยาบาลพื้นฐาน นักศึกษาจะสามารถนําความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วยแบบองค์รวมได้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/) เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ. สมหญิง โควศวนนท์ และคณะ คณะพยาบาลศาสตร์ เรื่อง “สอนอย่างไรจึงจะทําให้นักศึกษานําความรู้สู่การปฏิบัติได้” อื่นๆ ได้แก่ 1) กระบวนการพยาบาลและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ใหญ่และ ผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และการพยาบาลพื้นฐานและ เสริมการพยาบาล และ 2) แนวคิดรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการศึกษาทางการพยาบาลของJeffries ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) อื่น ๆ (ระบุ) Simulation-based knowledge skills ของอาจารย์ วิธีการดำเนินการ วิธีการดําเนินการ แบ่งเป็น 4 ระยะระยะที่ 1: การสร้างกรณีศึกษา และการตั้งค่าหุ่นจําลองทางการพยาบาลตามกรณีศึกษา (Scenariocreating and high-fidelity manikin setting up)          ทีมผู้สอนสร้างกรณีศึกษา โดยคัดเลือกกรณีศึกษาจากผู้ป่วยจริงที่นักศึกษาได้ให้การดูแลในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล หรือชุมชน ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลของปีการศึกษา 2566 เมื่อคัดเลือกกรณีศึกษาที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาหรือบทเรียนที่จะใช้ในการเรียนการสอนทางห้องปฏิบัติการแล้ว ขั้นตอนถัดไปจะเป็นการดัดแปลงและปรับแก้ไขกรณีศึกษาเพื่อให้ค่าการแสดงผลลัพธ์ต่างๆ เข้ากันได้กับหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง ตัวอย่างของกรณีศึกษาและบทเรียนในห้องปฏิบัติการที่มีความสอดคล้องกันแสดงในตารางที่ 1           เมื่อได้กรณีศึกษาที่เหมาะสม ทางทีมผู้สอนจะนํามาเขียนสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (ตัวอย่างของสถานการณ์จําลองเสมือนจริงแสดงในภาคผนวก ก) โดยใช้แบบฟอร์มของ the International Nursing Association of Clinical Simulation and Learning (INACSL), Thailand Regional Interest Groups (RIGs) โดยมีหัวข้อย่อยในการเขียนสถานการณ์จําลองเสมือนจริง 10 หัวข้อ มีรายละเอียดดังนี้ ข้อมูลทั่วไป เป็นส่วนที่กําหนดข้อมูลทั่วไปของสถานการณ์จําลองเสมือนจริง เช่น ชื่อเรื่อง ภาควิชา ผู้เรียน ผู้พัฒนาบท คณะผู้วิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะ และวันที่พัฒนาสถานการณ์จําลอง เป้าหมายการเรียนรู้ (Goal) เป็นส่วนที่กําหนดเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ในการเรียนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objectives) เป็นส่วนที่กําหนดวัตถุประสงค์ย่อยในการเรียนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ซึ่งในแต่ละวัตถุประสงค์อาจสอดคล้องกับระยะของสถานการณ์จําลอง (หัวข้อ 8) ระยะเวลา ผู้สอนกําหนดระยะเวลาให้ชัดเจนในการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง โดยระยะเวลาจะแบ่งเป็น 3 ระยะตาม Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework (Jeffries, 2005) ได้แก่ ขั้นปฐมนิเทศและชี้แจงรายละเอียด (Pre-briefing) 2) ขั้นดําเนินสถานการณ์ตามฉากที่กําหนด (Running scenario) และ 3) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Debriefing) บทบาทในสถานการณ์จําลอง เป็นการกําหนดบทบาทของผู้เรียน (Learner’s role) และบทบาทผู้ช่วยในสถานการณ์จําลอง (Consideration role) รายละเอียดทั่วไปของสถานการณ์จําลอง ในหัวข้อนี้จะกําหนดรายละเอียดข้อมูลต่างๆของกรณีศึกษาที่คัดเลือกมาใช้ในสถานการณ์จําลองเสมือนจริง เช่น อาการสําคัญนําส่ง ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบันประวัติการเจ็บป่วยในอดีต และข้อมูลสําคัญอื่นที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์ที่ต้องตรียม เป็นการกําหนดอุปกรณ์ทางการแพทย์หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องในการใช้ในสถานการณ์จําลองเสมือนจริง เช่น ถังออกซิเจน ท่อช่วยหายใจ อุปกรณ์เช็ดตัวลดไข้ Labor set เป็นต้น รายละเอียดในแต่ละระยะในสถานการณ์จําลอง เป็นการกําหนดระยะต่างๆ ของสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ในระยะนี้จะมีการเขียนรายละเอียดของการแสดงผลลัพธ์ต่างๆ ในหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อย่อย 5 หัวข้อย่อย ได้แก่ 1) ระยะเวลาของสถานการณ์ 2) สภาวะผู้ป่วย (สภาพที่นักศึกษามองเห็นและสังเกตได้และจะนําไปปฏิบัติ 3) การปฏิบัติของผู้เรียน 4) บันทึกของ Facilitator 5) ระยะเวลาของการปฏิบัติ (นาที) ประเด็นการอภิปรายภายหลังสถานการณ์จําลอง (Debriefing) เป็นการกําหนดประเด็นในการอภิปราย และให้นักศึกษาสะท้อนคิดภายหลังเสร็จสิ้นสถานการณ์จําลองเสมือนจริง โดยใช้หลักการ GAS model [G = Gathering information, A = Analyze, S = Summarize] References และแหล่งอ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2: การทดสอบความน่าเชื่อถือของสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Validity testing)           เมื่อสร้างสถานการณ์จําลองเสมือนจริงและตั้งค่าแสดงผลลัพธ์ต่างๆ ในหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูงแล้ว ผู้สอนจัดเตรียมอุปกรณ์และจัดสภาพแวดล้อมให้เสมือนหอผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด หลังจากนั้นจะนําสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่สร้างขึ้นไปทดสอบ Alpha test และ Beta test ตามลําดับโดยมีรายละเอียดดังนี้ Alpha test: นําสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่สร้างขึ้นไปทดสอบกับผู้เรียน ซึ่งเป็นคณาจารย์ต่าง สาขาวิชา เพื่อทดสอบการ Run scenario ของสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้น และหลังสิ้นสุดสถานการณ์ จะอภิปรายร่วมกันกับผู้เรียนเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของสถานการณ์ ความยากง่าย และการนําไปใช้ หากมีข้อเสนอแนะหรือปรับปรุงแก้ไข ทางผู้สอนจะพิจารณาปรับแก้ตามข้อเสนอแนะตามความเหมาะสม Beta test: เมื่อปรับแก้สถานการณ์จําลองจากขั้น Alpha test แล้ว ผู้สอนจะนําไปทดสอบ Beta test โดยนําสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่ปรับปรุงไปทดสอบกับผู้เรียน ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มที่จะเรียนในห้องปฏิบัติการด้วยสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้น และหลังสิ้นสุดสถานการณ์จะอภิปรายร่วมกันกับผู้เรียนเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของสถานการณ์ ความยากง่าย และการนําไปใช้ เมื่อมีข้อเสนอแนะ หรือปรับปรุงแก้ไข ทางผู้สอนจะพิจารณาปรับแก้ตามข้อเสนอแนะตามความเหมาะสม หลังจากนั้นจะได้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่พร้อมใช้ในการเรียนการสอน ระยะที่ 3: การเตรียมความพร้อมและจัดสิ่งแวดล้อมในการดําเนินสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Scene setting up phase)          ผู้สอนจัดสภาพแวดล้อมให้เสมือนหอผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และจัดอุปกรณ์จําเป็นต่างๆ (ที่กําหนดในหัวข้อที่ 7 ของสถานการณ์จําลอง) ในการเรียนการสอนรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ระยะที่ 4: การนําไปใช้ในการสอนในห้องปฏิบัติการ (Implementing phase)          ระยะนี้เป็นขั้นการนําสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการพยาบาลศาสตร์ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะตาม Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework (Jeffries, 2005) ได้แก่ ขั้นปฐมนิเทศและชี้แจงรายละเอียด (Pre-briefing) 2) ขั้นดําเนินสถานการณ์ตามฉากที่กําหนด (Running scenario) และ 3) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Debriefing) ในระหว่างการ Run scenario ผู้สอนที่ทําหน้าที่ Facilitator จะหลีกเลี่ยงการแทรกแซงการปฏิบัติของนักศึกษา และจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีจําเป็นเท่านั้น ยกตัวอย่างกรณีการตอบสนองบางอย่างที่หุ่นไม่สามารถตอบสนองได้ เช่น การยกแขน ขา เป็นต้น หลังจบการ Run scenario จะพูดคุย เปิดโอกาสให้สะท้อนคิด และอภิปรายกับผู้เรียนถึงประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติในสถานการณ์จําลองเสมือนจริง และตลอดการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ ผู้สอนต้องรักษาบรรยากาศความปลอดภัยทางจิตสังคม (Psychosocial Safety Climate) ตลอดเวลาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และมีการตัดสินใจทางคลินิกอย่างเต็มศักยภาพ (Diaz-Navarro et al., 2024) ระยะที่ 5: การประเมินผล (Evaluating phase)          หลังจากสิ้นสุดสถานการณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่ขั้นตอนการสรุปผลการเรียนรู้ (Debriefing) โดยผู้สอนจะใช้ คําถามในการกระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนคิดและมีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการ Run scenario โดยคําถามจะเป็นไปตามกรอบ GAS model นอกจากนี้จะมีการทดสอบความรู้โดยการสอบข้อเขียนในหัวข้อที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จําลองอีกครั้ง 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่าผลของการเรียนในห้องปฏิบัติการวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และการพยาบาลพื้นฐาน มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาก่อนที่ใช้กรณีศึกษาหรือการเรียนการสอนแบบฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาล (Nursing skill training) ในห้องปฏิบัติการพยาบาลตามรูปแบบเดิม ดังตารางที่ 2 ในรายวิชา BNS 342 การผดุงครรภ์ 2 หลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอนและเว้นระยะเวลาการเรียนการสอนเป็นระยะเวลา 4 เดือน (เนื่องจากนักศึกษาขึ้นฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ) เมื่อนำผลการสอบมาวิเคราะห์รายบทพบว่า มีร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านในหัวข้อ การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เพิ่มมากขึ้นจากเดิม 32.53% เป็น 62.50% 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           การประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) พบว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้มากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น มีความพร้อมในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติมากขึ้น และพึงพอใจกับการเรียนการสอนในรายวิชาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการเรียนในรูปแบบเดิมที่ไม่มีการใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง ดังข้อมูลในตารางที่ 3 ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) อยากให้มีสถานการณ์หลายๆ สถานการณ์ค่ะ จะได้เรียนรู้ได้เพิ่มขึ้น ถ้าเป็นไปได้ อยากมีเวลาในการทําสถานการณ์ซ้ําเพื่อดูว่าจะทําได้ดีขึ้นไหม อภิปรายผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation- based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin)           ผลจากการเรียนการสอนด้วยการใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation- based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ชี้ให้เห็นว่านักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น โดยค่าคะแนนเฉลี่ยของการเรียนในห้องปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาก่อนที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม การเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติบนพื้นฐานขององค์ความรู้และมีการสะท้อนคิดเพื่อสรุปสาระสําคัญหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติผ่านการ Debriefing ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสะท้อนคิดถึงเหตุการณ์ในสถานการณ์ รวมถึงเหตุผลในการตัดสินใจในการปฏิบัติ ความรู้สึกขณะปฏิบัติ และมีภาพจดจําจากสถานการณ์ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ เกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง ทําให้เกิดเป็นความรู้ที่คงทนมากกว่าการฟังการบรรยาย การดูการสาธิต และการสาธิตย้อนกลับ           จากการสะท้อนคิดของนักศึกษาพบว่านักศึกษาเกิดความสนุกในการเรียน ไม่เครียดหรือกดดัน บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่นและรู้สึกปลอดภัย ทั้งนี้สามารถอธิบายประเด็นนี้ได้ว่ารูปแบบของการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ผู้สอนต้องรักษาบรรยากาศความปลอดภัยทางจิตสังคม(Psychosocial Safety Climate) ตลอดเวลาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และมีการตัดสินใจทางคลินิกอย่างเต็มศักยภาพ (Diaz-Navarro et al., 2024) และอาจารย์ที่สอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงได้ รักษากฏระเบียบข้อนี้อย่างเคร่งครัดและปฏิบัติอย่างสม่ําเสมอจึงทําให้บรรยากาศน่าเรียนและนักศึกษาเกิดความสนุกในการเรียน และอาจส่งผลต่อความพึงพอใจต่อนักศึกษาในการเรียนด้วยวิธีนี้ (Saragih et al., 2024) จากการสํารวจหลังการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงพบว่านักศึกษาเกิดความพึงพอใจต่อรายวิชามากขึ้น โดยผลจากการบูรณาการวิธีการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงต่อความพึงพอใจของผู้เรียนสอดคล้องกับการศึกษาของ Gaspar และ Banayat (2024) โดยสนับสนุนว่าการใช้ High-fidelity manikin ในการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงส่งผลให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับสูงและมีทัศนคติเชิงบอกต่อการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์ นอกจากนี้นักศึกษายังสะท้อนคิดให้เห็นว่าการเรียนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงทําให้มีทักษะการสื่อสารเชิงวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ และทักษะการตัดสินใจทางคลินิก ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการวิจัยที่ผ่านมาหลายเรื่อง (Gaspar & Banayat, 2024; Jiang et al., 2024; Nair et al.,2024; Diaz-Navarro et al., 2024; Saragih et al., 2024) นอกจากนี้ยังส่งผลให้นักศึกษามีความมั่นใจขึ้นก่อนที่จะไปฝึกปฏิบัติจริงที่สถานบริการสุขภาพ ในโรงพยาบาล หรือในชุมชน ซึ่งอธิบายได้ว่าการสอนในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ โดยสามารถลองผิดลองถูกได้และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเมื่อเกิดข้อผิดพลาด (Saragih et al., 2024) และการได้ปฏิบัติซ้ํา จากการแก้ไขข้อผิดพลาดเดิมทําให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น อาจารย์ผู้สอนด้วยวิธีการใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ในครั้งนี้ให้ข้อคิดเห็นผ่านการสะท้อนคิดว่าการสอนด้วยวิธีนี้มีความท้าทาย เป็นวิธีใหม่ที่ค่อนข้างดีและเห็นผลลัพธ์ชัดเจนจากคะแนนที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษา นอกจากการเตรียมสอนโดยวิธีการปกติแล้วอาจารย์ยังมีหน้าที่ในการจัดสิ่งแวดล้อมและตั้งค่าแสดงผลลัพธ์ต่างๆใน High-fidelity manikin ทั้งนี้ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น (Verkuyl et al., 2024) เป็นที่น่าสนใจว่าอาจารย์ที่ใช้วิธีการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงกล่าวถึงการควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ใจเย็น ไม่ดุว่านักศึกษาในขณะที่กําลังปฏิบัติในสถานการณ์จําลอง ทั้งนี้เป็นข้อกําหนดของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่ต้องรักษาบรรยากาศ           ความปลอดภัยทางจิตสังคม (Psychosocial Safety Climate) เพื่อให้นักศึกษากล้าคิดกล้าแสดงความคิดเห็น ลงมือปฏิบัติอย่างตั้งใจ และเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างอาจารย์และนักศึกษา (Ford et al., 2024) นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และมีการตัดสินใจทางคลินิกอย่างเต็มศักยภาพ (Diaz-Navarro et al., 2024)  บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่การเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงโดยใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง เป็นรูปแบบที่ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ ดังนี้ นักศึกษาเกิดการพัฒนาองค์ความรู้จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในสถานการณ์จําลอง ความรู้ที่เกิดขึ้น เป็นความรู้ที่คงทนมากกว่าการฟังจากการบรรยาย นักศึกษาเกิดการบูรณาการใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับความรู้เรื่องการสื่อสารเชิงวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์ การเคารพสิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทักษะจําเป็นทางการพยาบาล การทํางานเป็นทีมและการตัดสินใจทางคลินิก นักศึกษาเกิดความมั่นใจก่อนไปฝึกปฏิบัติการพยาบาลจริงในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชน นักศึกษามีความสุขขณะเรียน บรรยากาศในการเรียนไม่กดดัน มีความปลอดภัยทางจิตสังคม และส่งผลต่อความพึงพอในในระดับดีมากของรายวิชาที่บูรณาการการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง อาจารย์ได้เรียนรู้วิธีการสอนที่แตกต่างหลากหลาย เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการจัดเตรียมสถานการณ์จําลองให้มีความเสมือนจริงมากที่สุด อาจารย์มีการจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น เป็นไปในเชิงบวก และเรียนรู้การรักษาความปลอดภัยทางจิตสังคมซึ่งเป็นประโยชน์ในการนําไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนอื่นๆ โดยเฉพาะวิชาปฏิบัติการพยาบาล ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice สร้างกรณีศึกษาเพื่อใช้ในสถานการณ์จําลองให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมสาระสําคัญของการพยาบาล 5 สาขาหลัก และสาขาพื้นฐานและเสริมการพยาบาล โดยมีทั้งสถานการณ์ที่ซับซ้อนและไม่ซับซ้อนตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาการเรียนรู้ได้หลากหลายมิติ พัฒนาสถานการณ์จําลองแบบ Hybridge โดยอาจใช้ Standardized patient ร่วมกับการใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง เพื่อให้สถานการณ์จําลองมีความเสมือนจริงมากขึ้นและน่าสนใจ จากการสังเกตพบว่านักศึกษาหลายคนมีความโดดเด่นในการคิดและตัดสินใจในการปฏิบัติการในสถานการณ์ ขณะเดียวกันก็สะท้อนว่า นักศึกษาบางคนไม่สามารถคิดและตัดสินใจได้ รวมทั้งพร่องทักษะการปฏิบัติดังนั้นก่อนจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ควรจัดให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาลที่จําเป็นมาก่อน และมีกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเข้าเรียนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง เช่น ดู VDO การปฏิบัติทักษะต่าง ๆ ที่นักศึกษาต้องปฏิบัติในแต่ละฐานสถานการณ์จําลองเสมือนจริง และจัดเตรียมเอกสารความรู้ที่เกี่ยวข้อง จัดทําคู่มือปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงเพื่อให้ผู้สอนปฏิบัติได้ถูกต้องตาม Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาจารย์ผู้สอนในเรื่องการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ทั้งในรายใหม่ที่ยังไม่เคยอบรมและ re-skill ในอาจารย์ที่ได้รับการอบรมมาแล้ว เพื่อให้เกิดทักษะการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง และมีทักษะในการใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูงมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงมากขึ้น โดยอาจให้จับคู่กับอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนด้วยวิธีนี้ และให้ช่วยรับบทในสถานการณ์จําลองที่ไม่ซับซ้อน เช่น ญาติผู้ป่วย พยาบาลหัวหน้าเวร และแพทย์เวร เพื่อให้มีส่วนร่วมและเห็นกระบวนการในการเรียนการสอนตามหลักแนวคิดของ Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework ซึ่งจะทําให้อาจารย์มีประสบการณ์และสามารถใช้วิธีการสอนนี้ได้ด้วยตนเองในครั้งถัดไป ควรมีการติดตามผลลัพธ์ของการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงต่อความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยการวิจัยต่อไป ReferencesDiaz-Navarro, C.,

การเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง: ความท้าทายของการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ (Simulation-based learning: Challenges of nursing education) Read More »

เรียนรู้ผ่านกระบวน Active Learning สร้างชื่อเสียงไกลสู่ระดับชาติและนานาชาติ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 5.2.1 เรียนรู้ผ่านกระบวน Active Learning สร้างชื่อเสียงไกลสู่ระดับชาติและนานาชาติ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ ผศ.ดร.วศิณ ชูประยูร ผศ.ดร.ภาคภูมิ ชัยศิริประเสริฐ ผศ.ดร.ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี ผศ.วิไลลักษณ์ ตรีพืช ผศ.ดร.กานต์ ยงศิริวิทย์ ดร. ปภังกร พิชญะธนกร อ.สงบ ศศิพงศ์พรรณ และนางสาวสุรัตนา ขันธสอน วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ มหาวิทยาลัยรังสิตมุงเนนการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวทาง โดยใหนักศึกษาเปนศูนยกลางของการเรียนรู และเนนการพัฒนาทักษะผานกิจกรรมและการปฏิบัติจริง แทนการเรียนรูเชิงทฤษฎีเพียงอยางเดียว ความสําคัญของโครงการจึงการเปลี่ยนผานการเรียนรูจาก Lecture-based Learning ไปสู Active Learning ผานกิจกรรมที่สงเสริมการใชกระบวนการคิดเชิงวิจัย เชน Problem-based Learning, Project-based Learning และ Service Learning จะชวยเพิ่มศักยภาพของนักศึกษาใหสามารถแขงขันในระดับชาติและนานาชาติไดโดยมีประเด็นปญหา คือ ปจจุบันนักศึกษาสวนใหญขาดแรงบันดาลใจ ขาดประสบการณในการประยุกตใชความรูในเชิงปฏิบัติและการสรางผลงานที่สามารถแขงขันไดในระดับชาติและนานาชาติจึงไดเกิดขั้นตอนกระบวนการใน รูปที่ 1 กระบวนการวางแผนการพัฒนานักศึกษา ชั้นปที่ 1, 2 และ 3 ตั้งแตนักศึกษาเรียนเขามาศึกษาในชั้นปที่ 1 อาจารยจะปูความรูพื้นฐานพรอมไปกับการสรางแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพผานกิจกรรมในหองเรียน เริ่มใหสรางสรรคแนวคิดโครงการนวัตกรรมดวยกระบวนการวิจัยเบื้องตน ชั้นปที่ 2 พัฒนาโครงการนวัตกรรมผานกระบวนการวิจัยที่ตองอานเอกสารวิชาการคนหาแนวคิดเชิงวิชาการพัฒนาโครงการสงเขารวมการแขงขันระดับชาติ และ/หรือ ใหนําเสนอโครงการนวัตกรรมตอนองป 1ในงานปฐมนิเทศนักศึกษารุนตอไป และนักเรียนมัธยมในวัน RSU Open House ชั้นปที่3 เริ่มเขาสูกระบวนการวิจัยในการอาน Research Reference เพื่อนํามาคิด วิเคราะห สรุปประเด็นสรางสรรคงานวิจัยของตนเองเพื่อตีพิมพในงานประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติรวมกับอาจารยที่ปรึกษา ชวยสรางชื่อเสียงใหเปนที่รูจักและเปนที่ยอมรับ รูปที่ 1 กระบวนการวางแผนการสอนนักศึกษา ชั้นปที่ 1, 2 และ 3 ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การการเรียนรูเชิงปฏิบัติ Active Learning ผาน Problem-based Learning, Project-basedLearning, Service Learning ภายใตแนวคิดที่เนนผลลัพธของการเรียนรู การเรียนรูเชิงปฏิบัติที่นําไปสูการพัฒนาทักษะการสรางสรรคนวัตกรรมและงานวิจัย การเสริมสรางแรงบันดาลใจ ความสามารถในการแขงขันของนักศึกษาในเวทีระดับชาติและนานาชาติ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรูที่ฝงลึกอยูในตัวคน (Tacit Knowledge) เจาของความรู/สังกัด อาจารย ผูชวยอาจารย และเจาหนาที่ ประจําสาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัล วิธีการดำเนินการ วิธีการดําเนินการ รูปที่ 2 แสดงวิธีการดําเนินงานกับนักศึกษา ชั้นปที่ 1, 2 และ 3ที่มา: สรางภาพดวย Chat GPT ปที่ 1: Foundation and Inspirationการปูพื้นฐานและสรางแรงบันดาลใจผานการเรียนรูแบบ Project-based Learning & Active Learning• การใหความรูพื้นฐานผานวิชาพื้นฐานในชั้นปที่ 1 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร, ระบบสารสนเทศเบื้องตน, กระบวนการธุรกิจสําหรับระบบสารสนเทศ, วิทยาศาสตรและธุรกิจนวัตกรรมรายใหม, การคิดและการเขียนเชิงสรางสรรค, การออกแบบและพัฒนาเว็บ, คณิตศาสตรพื้นฐานสําหรับการลงทุน, การออกแบบอินโฟกราฟก, พื้นฐานการออกแบบกราฟก• นักศึกษาไดรับมอบหมายใหนําเสนอแนวคิดโครงงานขนาดเล็กที่เกี่ยวของกับสาขาวิชาของตนเอง เชน แนวคิดการพัฒนาแอปพลิเคชันตนแบบ หรือการออกแบบแนวคิดผลิตภัณฑใหม• แนวคิดโครงการมาจาการใช Problem-based Learning (PBL) เพื่อใหเกิดการคิดวิเคราะหและ การแกปญหาอยางเปนระบบ• เชิญผูเชี่ยวชาญหรือศิษยเกามาเปนวิทยากรเพื่อสรางแรงบันดาลใจและแชรประสบการณในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับสาขา• พัฒนาผลงานผานกระบวนการ Design Thinking ในการทํางานเปนทีมผานกิจกรรม Collaborative Learning และ Workshop ที่เนนการปฏิบัติจริงภายในชั้นเรียน ปที่ 2: Apply to Innovation Project and Competitionสงเสริมตอยอดโครงการในหองเรียนสูการพัฒนาโครงงานนวัตกรรมและสงเขารวมการแขงขันในระดับชาติ• การใหความรูผานวิชาชีพในชั้นปที่ 2 การใหความรูเชิงลึกและฝกปฏิบัติแบบครอบคลุมทุกดาน เชน การวิเคราะหและการออกแบบระบบสารสนเทศ การสื่อสารขอมูลและเครือขายคอมพิวเตอรระบบฐานขอมูล การพัฒนาโปรแกรมประยุกตบนเว็บ การจัดการระบบฐานขอมูลสําหรับองคกร การพัฒนาโปรแกรมประยุกตสําหรับใชกับอุปกรณเคลื่อนที่ ความมั่นคงระบบสารสนเทศ อินเทอรเน็ตของสรรพสิ่ง การบริหารโครงการระบบสารสนเทศ• นักศึกษาไดรับคําแนะนําในการพัฒนาโครงงานในรายวิชาที่เรียนผานกระบวนการ Design Thinking ที่เพิ่มกระบวนการวิจัยเบื้องตนมาดําเนินงาน อานทบทวนงานอางอิงทางวิชาการปรับปรุงและทดลองโครงการ• คณาจารยชวยใหคําปรึกษาในการพัฒนาโครงงานดวยความรูชั้นปที่ 2 และเตรียมแผนงาน การพัฒนาโมเดลธุรกิจ ฝกซอมการนําเสนอผลงาน มีการจัด Mock Pitching Sessions เพื่อใหฝกนําเสนอและรับคําติชมกอนลงสนามจริงในการแขงขัน ปที่ 3: Senior Project & National or International Researchสรางสรรคงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ พรอมนําเสนอผลงานวิชาการ• การใชกระบวนการวิจัย ผานวิชาในชั้นปที่ 3 เชน วิทยาการวิจัยดานนวัตกรรมดิจิทัล, ปริญญานิพนธ, วิชาชีพเลือก เพื่อเตรียมความพรอมในการทําวิจัย• นักศึกษาระดมไอเดียและเลือกหัวขอวิจัยที่มีศักยภาพ โดยไดรับคําแนะนําจากอาจารยที่ปรึกษา• นักศึกษาทํางานเปนรายบุคคล และหรือเปนกลุมวิจัย โดยมีการนําเสนอความคืบหนากับอาจารย์ที่ปรึกษาเปนระยะ• งานที่เขาเกณฑสงผลงานวิจัยเขารวมการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการตีพิมพในวารสารทางวิชาการ• นําเสนอใหเสนอเปนรายงานวิทยานิพนธ สําหรับงานที่ไมไดสงผลงานวิจัยเขารวมการประชุมวิชาการ 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดําเนินงานนักศึกษา ชั้นปีที่ 1ปีที่ 1: Foundation and Inspiration บรรยากาศต้อนรับน้องใหม่ ใครเป็นใครไปรู้จักกันให้มากขึ้นในช่วงพบปะทีมอาจารย์ รุ่นพี่ พร้อมกิจกรรมต่อเนื่องที่เตรียมไว้ให้น้อง ๆ โดยเฉพาะเลยค่ะ กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ โดยรุ่นพี่ศิษย์เก่าของเรา ขอขอบคุณ พี่ต้า นายจิรายุส ปรีชาเดช มาให้คําแนะนําต่างๆ กับ น้องๆ พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีประโยชน์มากมาย นักศึกษาลงพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชน ในโครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น สอนการทําสื่อดิจิทัล และความรู้ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี การไลฟ์ สด ขายของออนไลน์ พร้อมมอบอุปกรณ์ไลฟ์ สด ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมณีจินดา By ครูนก จ.ปทุมธานี นักศึกษาสาขานวัตกรรมดิจิทัล ได้รับทุนการสนับสนุนจากทางธนาคารออมสิน ในกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup GSB Micropreneur Academy ประจําปี 2567 ระดับมหาวิทยาลัย รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีม Mica ได้รับทุนสนับสนุน จํานวน 3,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีม Jajitech ได้รับทุนสนับสนุน จํานวน 2,000 บาท สรางแรงบันดาลใจนํานักศึกษาดูงานที่ Shibaura Institute of Technology ประเทศญี่ปุน ผลการดําเนินงานนักศึกษา ชั้นปีที่ 2ปีที่ 2: Apply to Innovation Project and Competition นําเสนอผลงาน โครงงาน นวัตกรรม ของชั้นปีที่ 2 ในงาน DIT Innovation & JOB Fairs ผู้เข้าร่วมกิจกรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง นักเรียนมัธยมศึกษา นางสาว จูเลีย ปิตุนกิน นางสาว สุเมธินี สุทธาเวศ นางสาว วัชราภรณ์ เทียนกระจ่างร่วมเป็นสมาชิกทีมรังสิตสามัคคี พร้อมด้วยคณะเทคโนโลยีอาหาร จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารจากพืชปลอดภัย ได้รับรางวัลชนะเลิศ Best of the best ระดับประเทศ ประเภท คิดดีในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจําปี 2566 นักศึกษาสาขานวัตกรรมดิจิทัล ได้พัฒนานวัตกรรม Wewy (เครื่องรดน้ําต้นไม้อัตโนมัติ) ที่ผ่านการอนุมัติทุนสนับสนุนจากทาง ธนาคารออมสิน ในโครงการ Smart Startup Company by GSB Startup เป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 200,000 บาท ผลการดําเนินงานนักศึกษา ชั้นปีที่ 3ปีที่ 3: Senior Project & National or International Research นักศึกษาปริญญาตรีส่งผลงานตีพิมพ์งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 2024 8thInternational Conference on Information Technology (InCIT), Chonburi, Thailand, 2024, doi: 10.1109/InCIT63192.2024 นักศึกษาปริญญาตรีสงผลงานตีพิมพงานประชุมวิชาการระดับชาติ2024 16th National Conference on Information Technology (NCIT), Chonburi, Thailand, 2024, Shibaura Institute of Technology Student Exchange & Research Exchange in Japan ภายหลังสําเร็จการศึกษา ได้ทํางานงานและ/หรือได้รับทุนการศึกษาต่อ ทํางานเป็นผู้ช่วยนักวิจัยและได้รับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท ไดทํางานในบริษัทที่มีชื่อเสียง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK • นักศึกษาทั้งชั้นปี แบ่งเป็นกลุ่มจํานวน 6 กลุ่ม มีความรู้และประสบการณ์ การส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน 100 % ได้รับรางวัล 2 กลุ่ม• พัฒนาระบบที่ปรึกษาทางวิชาการและเครือข่ายความร่วมมือในองค์กร รวมถึงระดับชาติและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมคุณภาพงานวิจัย เช่น Shibaura Institute of Technology, มูลนิธิเอิร์ทซีฟาวน์เดชั่น, บริษัทดูดีพ จํากัด, PPT Digital• การนําไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง พบว่าการใช้Active Learning ช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนางานของนักศึกษาได้อย่างมีนัยสําคัญ ตามผลงานในหัวข้อ 2 ผลการดําเนินการ การนําไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ปัจจัยสําคัญที่ทําให้การดําเนินการครั้งนี้ประสบความสําเร็จ การใช้แนวทาง Outcome-Based Education (OBE) ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา การสนับสนุนจากคณาจารย์และผู้บริหารที่ช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง การบูรณาการการเรียนรู้เชิงปฏิบัติเข้ากับโครงงานและการวิจัยเพื่อเสริมสร้างทักษะและความสามารถของนักศึกษา การมีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทั้งระดับชาติและนานาชาติที่ช่วยเปิดโอกาสให้นักศึกษามีเวทีแสดงผลงาน ระบบที่ปรึกษาทางวิชาการและการให้คําแนะนําเชิงลึกที่ช่วยพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของนักศึกษา ข้อเสนอแนะในการดําเนินการในอนาคต ควรเพิ่มการฝึกอบรมการวิจัยและการเขียนเชิงวิชาการ ให้แก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้มีเวทีเผยแพร่ผลงานมากขึ้น จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุน การพัฒนานวัตกรรมและการตีพิมพ์งานวิจัย จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นศูนย์กลางการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ ใช้แนวทางการประเมินผลแบบต่อเนื่อง (Continuous Assessment) เพื่อวัดผลลัพธ์ของการดําเนินงาน และปรับปรุงกลยุทธ์ตามผลลัพธ์ที่ได้รับ พัฒนาระบบศิษย์เก่า เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ทํางานให้กับศิษย์ปัจจุบัน ส่งเสริมให้มีMentorship Program ระหว่าง อาจารย์ ศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อพัฒนาแนวทางการทํางานวิจัยที่มีคุณภาพ

เรียนรู้ผ่านกระบวน Active Learning สร้างชื่อเสียงไกลสู่ระดับชาติและนานาชาติ Read More »

แนวทางการประเมินผู้เรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.3, KR 1.4.3 แนวทางการประเมินผู้เรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ผู้จัดทำโครงการ​ อ.วัฒนี รัมมะพ้อ ผศ.ดร.นิ่มนวล วิเศษสรรพ์ และอ.ปรมินทร์ งามระเบียบ คณะบัญชี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           หลักสูตรบัญชีบัณฑิตที่เปดดําเนินการสอนในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ตองไดรับการรับรอง ปริญญาตรีทางการบัญชีจากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภจึงจะมีผลใหผูสําเร็จการศึกษาสามารถเขาสูกระบวนการทางวิชาชีพไดตามกฎหมาย การรับรองปริญญาตรีทางการบัญชีจึงอยูในอํานาจและหนาที่ของสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ในการพิจารณาใหการรับรองจะใชหลักการความสอดคลองของหลักสูตรกับมาตรฐานการศึกษาระหวางประเทศ สําหรับผูประกอบวิชาชีพบัญชี ที่มุงเนนผลลัพธ           การเรียนรูประกอบดวย ความรูความสามารถเชิงเทคนิค ทักษะทางวิชาชีพ และคานิยม จริยธรรม และทัศนคติทางวิชาชีพเมื่อนํามาประกอบเกณฑมาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี เกณฑมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี และระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งเปนกฎหมายที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ สถาบันอุดมศึกษาจะตองดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพผูเรียนและผูสําเร็จการศึกษา ใหมีผลลัพธการเรียนรูที่หลักสูตรกําหนด การดําเนินการหลักสูตรจึงครอบคลุมภารกิจและเปาหมายคุณภาพ ในดาน การกํากับมาตรฐาน หลักสูตร นักศึกษา อาจารยผูรับผิดชอบหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการสิ่งสนับสนุน การเรียนรูรวมทั้งสิ่งอํานวยความสะดวก ซึ่งทั้ง 6 ดานนี้ เปนองคประกอบปจจัยความสําเร็จของการบริหาร หลักสูตรอยางมีคุณภาพ ที่เปนหลักประกันคุณภาพการศึกษาของบัณฑิตใหกับผูมีสวนไดสวนเสียกับหลักสูตร คุณภาพของผูเรียน และบัณฑิต เปนองคประกอบสําคัญที่มีการกําหนดไวในประเด็นยุทธศาสตรการ พัฒนาคณะบัญชี ประเด็นที่ 1 คือ การสรางความเปนเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิตของคณะบัญชี โดยมีวัตถุประสงคความเปนเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต 4 ขอ ดังนี้ หลักสูตรทันสมัยตอบสนองความตองการจําเปนของผูมีสวนเกี่ยวของ การจัดการเรียนสอนตองมุงใหเกิดผลสัมฤทธิ์ผลลัพธการเรียนรูที่หลักสูตรกําหนด คุณภาพของนักศึกษาและบัณฑิตตองเปนที่ยอมรับของตลาด และ คุณภาพของอาจารยที่นอกเหนือจากการมีคุณสมบัติตามเกณฑมาตรฐานหลักสูตร ยังมีความสามารถในการสอนดวยเทคนิคการสอนและการวัดและประเมินผลสัมฤทธการเรียนรูที่เหมาะสม มุงเนนที่ผลลัพธการเรียนรูของผูเรียน           ในทางปฏิบัติ คณะกรรมการหลักสูตรจะกําหนดเปาหมายตัวชี้วัดความสําเร็จในการจัดการเรียนการสอน ไวในแผนปฏิบัติการประจําปสอดคลองกับเปาหมายแผนยุทธศาสตรการพัฒนาคณะบัญชี ดังนั้นเพื่อใหการดําเนินงานหลักสูตรประสบความสําเร็จ และบรรลุเปาหมายดังกลาว คณะกรรมการหลักสูตรจะมีการออกแบบการดําเนินงานที่ขับเคลื่อนหลักสูตรไปสูเปาหมาย ทั้งในรูปแบบของกิจกรรมและโครงการ ซึ่งในที่นี้จะมุงเนนเฉพาะกิจกรรมหรือโครงการ ที่มุงสูการบรรลุเปาหมายตัวชี้วัดผลลัพธ KR 1.4.3 อาจารยไดรับการพัฒนาเทคนิคการสอนหรือการประเมินผลการเรียนรูของนักศึกษา และ KR 1.2.3 รอยละของผูเรียนในแตละรายวิชามีผลสัมฤทธิ์การเรียนรูไมต่ําวา ระดับคะแนน C ไมต่ํากวา รอยละ 80 ซึ่งมีกลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อน คือ อาจารยผูสอน หลักสูตรจึงตระหนักถึงความจําเปนที่ตองจัดความรูใหกับอาจารยผูสอนทุกคน ไดมีความเขาใจในหลักการวัดและประเมินผลลัพธการเรียนรู การวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน ควบคูกับการกําหนดผลลัพธการเรียนรูรายวิชา ซึ่งหลักสูตรไดเริ่มการพัฒนาอาจารยประจําหลักสูตรทุกคน ในดานนี้ตั้งแตปลายปการศึกษา 2565 จนถึงปจจุบัน และพบวาอาจารยประจําหลักสูตรทุกคน มีความเขาใจมากขึ้นและนําไปปฎิบัติไดดีขึ้นเปนลําดับ สงผลใหหลักสูตรบรรลุเปาหมายของ KR ดังกลาวทั้งสอง           จากการคัดเลือกผลงานเชิงประจักษการจัดการความรูของอาจารยประจําหลักสูตร ในปการศึกษา 2567 ทางคณะบัญชี จึงเห็นสมควรใหนําเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีในเรื่อง แนวทางการประเมินผูเรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู (RQF5) ของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค เพื่อแบงปนความรูที่เกิดจากกระบวนการทํางานเชิงคุณภาพของอาจารยประจําแบบ PACD ใน ดานการเรียนการสอน ประกอบดวยการกําหนดผลลัพธการเรียนรูรายวิชา การวางแผนการสอน กําหนดหัวขอสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลลัพธการเรียนรู ที่ผานมาตลอดระยะเวลา 3 ป ตั้งcตปการศึกษา 2565 – 2567 โดยเนนเฉพาะการวัดและประเมินผลลัพธการเรียนรู และการจัดทํารายงานผลการติดตามผลลัพธการเรียนรูของรายวิชา (RQF5) ที่ใชเปนตนแบบของคณะบัญชี เพื่อเสนอแนวทางการนําไปใชเปนเครื่องมือในการเตรียมความพรอมการบริหารทางวิชาการของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2568 เนื่องจากเปนหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิด Outcome Based Education ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  เทคนิคการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ เทคนิคการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้  ความรูแบบชัดแจง (Explicit Knowledge) ความรูจากคลังความรูของเว็บไซตระบบการจัดการความรู KM Rangsit University(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/)เรื่อง การบริหารจัดการ การศึกษาพยาบาลที่เปนเลิศ เจาของความรู/สังกัด ผศ.ดร.อําภาพร นามวงศพรหม และคณะ สังกัด คณะพยาบาลศาสตรเรื่อง การออกแบบการสอนแบบทลายกําแพงวิชาเจาของความรู/สังกัด อาจารยวัฒนี รัมมะพอ สังกัด คณะบัญชีเรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรูปแบบหองเรียนกลับทางเจาของความรู/สังกัด ดร.สัณหสิรี เมืองมาลย คณะเทคนิคการแพทยเรื่อง การสรางกระบวนการเรียนรูผานกิจกรรมจําลอง ในวิชา ผูประกอบการสํานักงานบัญชีเจาของความรู/สังกัด อาจารยวัฒนี รัมมะพอ และ อาจารยอัญชลี มณีทาโพธสังกัด คณะบัญชี อื่น ๆ : แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่มุงเนนผลลัพธการเรียนรูและเทคนิคการประเมินผูเรียน ความรูที่ฝงลึกอยูในตัวคน (Tacit Knowledge) เจาของความรู/สังกัด คณบดีคณะบัญชี, อาจารยวัฒนี รัมมะพอ มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการดำเนินการ คณะกรรมการหลักสูตร ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  โดย ปีการศึกษา 2566 เข้าสัมมนาวิชาการ หัวข้อ แนวคิดและหลักการ การจัดเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หลังจากที่มีประกาศเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ  พ.ศ.2565  จัดโดยคณะบัญชี ปีการศึกษา 2566  เข้าอบรมเชิงปฏิบัติ หัวข้อ การเขียนรายละเอียดหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ จัดโดยมหาวิทยาลัย  ปีการศึกษา 2566 เข้าสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ การบริหารหลักสูตรอย่างมีคุณภาพ จัดโดยคณะบัญชี ปีการศึกษา 2567 เข้าสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ การวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมรับการตรวจรับรองหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน จัดโดยคณะบัญชี ปีการศึกษา 2567 เข้าอบรม หลักสูตร การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (OBE) จัดโดยมหาวิทยาลัย คณบดีจัดประชุมกรรมการประจำคณะและอาจารย์ประจำคณะ โดยมีวาระเพื่อพิจารณา เรื่องแนวทางการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ของนักศึกษาทุกชั้นปี และจัดทำเป็นแนวปฏิบัติ เพิ่มเติมจากการทวนสอบ ต่อมาหลักสูตรได้นำสู่การปฏิบัติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565  และปรับปรุงวิธีการจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ รายชั้นปี คณบดีจัดประชุมคณะกรรมการประจำและอาจารย์ประจำคณะ โดยมีวาระเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา ให้เชื่อมโยงกับผลลัพธ์การเรียนรู้หลักสูตร ในแผนการจัดการเรียนรู้ RQF3 ในปีการศึกษา 2566 โดยคณบดี ได้ทำต้นแบบ RQF3 เป็นตัวอย่าง คณบดีจัดประชุมคณะกรรมการประจำและอาจารย์ประจำคณะ โดยมีวาระเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการรายงานผลการดำเนินการจัดการเรียนรู้ RQF5 ในปีการศึกษา 2566 โดยคณบดี ได้ทำต้นแบบ RQF5 เป็นตัวอย่าง อาจารย์ประจำ นำความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา อบรม และประชุมคณะกรรมการฯ มาใช้ในทางปฏิบัติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 โดยยกเว้น รายวิชาที่สอนโดยอาจารย์พิเศษ และรายวิชาที่สอนให้คณะวิชาอื่น 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินงาน                                                                                                               หลักสูตรได้มีการกำกับติดตามการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยวางแนวทางปฏิบัติดังนี้ อาจารย์ผู้สอน/ผู้รับผิดชอบรายวิชา (กรณีอาจารย์ผู้สอนเป็นอาจารย์พิเศษ) จะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการสอน และนำขึ้นระบบ TQF ของมหาวิทยาลัย เนื่องจากยังเป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต พ.ศ. 2563 จึงยังคงใช้ มคอ. 5 จนถึงปีการศึกษา 66 คณบดีได้นำเสนอให้มีการเพิ่มเติมผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาลงในแผนการดำเนินการสอน (มคอ.3) เพิ่มเติมจากมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามที่หลักสูตรกำหนด เพื่อให้การวัดและประเมินผลมีความชัดเจนมากขึ้นว่า “ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังหลังจากเรียนรายวิชานั้นแล้วนักศึกษาจะมีผลลัพธ์การเรียนรู้ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ทักษะความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งในปีการศึกษา 2566 ยังไม่บังคับแต่เป็นการขอความร่วมมือ หัวหน้าหลักสูตร จะเป็นผู้ตรวจทานความถูกต้องของการแผนการจัดการเรียนรู้ (มคอ. 3) ให้เป็นไปตามหลักสูตรกำหนด โดยเฉพาะวัตถุประสงค์รายวิชา คำอธิบายรายวิชา หัวข้อสอนที่จะต้องมีครบตามคำอธิบายรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา กลยุทธ์การสอน กลยุทธ์การวัดและประเมินผล และผลลัพธ์ผู้เรียน หากพบข้อผิดพลาด หรือมีข้อสังเกตใดๆ จะแจ้งให้อาจารย์ผู้สอน/ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการแก้ไข ก่อนเปิดภาคเรียน คณบดี ได้ทำต้นแบบของแผนการดำเนินการสอน ที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างผลลัพธ์เรียนรู้รายวิชา กับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร และผลลัพธ์ผู้เรียน นอกจากนี้การกำหนดกลยุทธ์การสอน และกลยุทธ์การวัดและประเมินผลผู้เรียนในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังนั้น จะต้องมีเหมาะสมสอดคล้องกัน ดังตัวอย่าง กระบวนวิชา ACC 421 การบัญชีขั้นสูง ภาคการศึกษาที่ 2/2566 ต่อไป 4. เมื่อมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ อย่างชัดเจนแล้ว อาจารย์ผู้สอนจะดำเนินการตามแผน พร้อมทั้งมีการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายใน1 วิชา เช่น การสังเกตตามสภาพจริงที่ปรากฏในชั้นเรียน  การใช้แบบทดสอบความรู้  การใช้เกณฑ์การประเมินแบบ Rubrics Score  เป็นต้น ทั้งนี้วิธีการประเมินที่ใช้จะต้องแจ้งให้นักศึกษาเข้าใจและรู้เป้าหมายในการพัฒนาตนเอง 5. การกระจายคะแนนในการประเมินผล จะต้องกำหนดให้ชัดเจน และเหมาะสมกับเวลาที่ใช้ไปในการสอนการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนั้น ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละด้านตามที่หลักสูตรกำหนด จะได้รับการจัดสรรคะแนนส่วนใหญ่ ในด้านทักษะความรู้และทักษะปัญญา ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 6. อาจารย์ผู้สอน ต้องออกแบบเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ ซึ่งอาจใช้มาตรวัดที่แตกต่างไปจากการให้คะแนน เช่น การให้ผ่าน หรือการไม่ให้ผ่าน เป็นต้น โดยต้องตั้งเกณฑ์ผ่านและแจ้งให้นักศึกษาทราบ ดังตารางที่ 1 ดังนั้นในการรายงานผลการประเมินผู้เรียน จึงมีตารางคะแนนการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และแสดงคะแนนของนักศึกษาเป็นรายบุคคล จำแนกตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้ ผลรวมของคะแนนที่ได้จากการประเมินผลจำแนกตามเครื่องมือวัดผลลัพธ์ นำไปใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียน (เกรด) ตามระบบการวัดและประเมินผลของมหาวิทยาลัย ผลรวมของคะแนน จำแนกตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ นำไปใช้ในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ผลการประเมิน จะเป็น ผ่าน หรือไม่ผ่าน 7. อาจารย์ผู้สอนรายงานผลการดำเนินการสอน (มคอ. 5) โดยคณบดีได้ออกแบบต้นแบบของการจัดทำรายงานฯ เพื่อเสนอต่ออาจารย์ทุกท่านในที่ประชุมคณะกรรมการประจำและอาจารย์ประจำคณะบัญชี (ดูตัวอย่างการรายงานจากเอกสารแนบท้าย)         อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน       หลังจากที่ได้มีการเรียนรู้จากต้นแบบที่คณบดี นำเสนอและเผยแพร่ให้อาจารย์ทุกท่านได้ศึกษาและทดลองทำ มีรายวิชาที่สอนโดยอาจารย์ประจำได้ดำเนินการตาม  ในส่วนของรายวิชาที่สอนโดยอาจารย์พิเศษ หรือ รายวิชาที่สอนโดยอาจารย์ประจำแต่เป็นการสอนให้กับคณะอื่น  ยังไม่มีการดำเนินการ  พบว่ามีอุปสรรค ดังนี้ อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำ ได้ดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ต้นแบบที่คณบดีได้นำเสนอ  แต่ในการรายงานผลการดำเนินการสอนในบางรายวิชา ยังคงรายงานในรูปแบบเดิมตาม มคอ.5  ทางหลักสูตรจึงเห็นว่าเป็นช่วงที่เริ่มศึกษาและทำความเข้าใจ ประกอบกับเวลาที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลมีมากขึ้นหากทำตามต้นแบบ  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรายงานผลให้ทันตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด รายวิชาที่สอนโดยอาจารย์พิเศษ จะดำเนินได้ยาก เพราะเป็นอาจารย์อาวุโส และบางรายวิชาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอาวุโส การที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบจะดำเนินการในส่วนของการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาก็ยังมีความเป็นไปได้ แต่ในการรายงานผลการดำเนินการสอน อาจทำได้ยาก 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           ในการประยุกต์ใช้ต้นแบบการวัดและประเมินผู้เรียน ขึ้นอยู่กับการออกแบบกระบวนวิชา ที่อาจารย์ผู้สอนจะแสดงในแผนการสอนรายวิชา โดยจะต้องลงรายละเอียดของวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด  ดังนั้นจากประสบการณ์การนำไปใช้ พบว่า อาจารย์หลายท่านสามารถทำได้และมีการพัฒนาทักษะการออกแบบกระบวนวิชา การสอนและการวัดประเมินผล มากขึ้น  โดยในปีการศึกษา 2567 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ได้มีนำ RQF3 มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการกำกับติดตามคุณภาพการสอนของอาจารย์ ซึ่งส่งผลไปยังการทำเอกสารแบบฟอร์มของการติดตามการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อแสดงคะแนนของนักศึกษาที่ทำได้ จำแนกเป็นรายบุคคลและรายด้านของผลลัพธ์การเรียนรู้ ในลักษณะ Metric รวมทั้งการสรุปผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน  เพื่อนำข้อสรุปนี้รายงานลงใน มคอ.5 จะทำให้ การรายงานผลการดำเนินการสอน กระชับขึ้นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชนืในการติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี ต่อไป           บทสรุปความรู้ที่ได้  คือ ปัจจัยความสำเร็จในเรื่องนี้ คือ การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับอาจารย์ประจำทุกคนในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา กลยุทธ์การสอน และการวัดประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่จะต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม และที่สำคัญเมื่อนำสู่การปฏิบัติต้องก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้และเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามความคาดหวัง           ในปีการศึกษาต่อไป คณบดี และหัวหน้าหลักสูตร มีแผนงานที่จะช่วยกันจัดทำระบบข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ทุกท่านในการป้อนข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา และใช้ในการติดตามพัฒนาการผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดกับนักศึกษาแต่ละคนได้           ความสำเร็จตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของการดำเนินงาน คือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนปฏิบัติการประจำปี บรรลุเป้าหมาย ทั้ง KR 1.4.3 และ KR 1.2.3  และได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษา องค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ 5.3 ในระดับดี คะแนน 4 มาโดยตลอดตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 จนถึงปี 2566 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ได้นำต้นแบบการออกแบบกระบวนวิชาของคณบดี ไปใช้ในทางปฏิบัติมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2565- ปี2567  เพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นตามที่หลักสูตรกำหนดโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ และการรายงานผลอย่างถูกต้อง  อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการสอนหลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2568  ให้เป็นไปในแนวทางที่ก่อให้เกิดความพร้อมในการรับตรวจ Post Audit ที่จะเกิดขึ้นในปีการศึกษา 2569 ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวง อว. กำหนด           ข้อเสนอแนะในอนาคต คือ หลักสูตรจะผลักดันให้อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน โดยเฉพาะอาจารย์ประจำ จะต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติการสอนให้เป็นไปตามแผน  และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้  ให้ถูกต้องตามหลักการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (OBE)  โดยมีการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ และเพื่อให้มีการรวมข้อมูลอยู่ในศูนย์ข้อมูลเดียวกัน อันจะทำให้การกำกับติดตามการดำเนินงาน และผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา จำแนกรายบุคคล เป็นไปได้อย่างเรียบร้อย    

แนวทางการประเมินผู้เรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต Read More »

Prevalence of malnutrition in hospitalized patient

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1/1 Prevalence of malnutrition in hospitalized patient ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.พิเศษ นพ.สมบูรณ์ ทรัพย์วงศ์เจริญ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัญหาโภชนาการในผู้ป่วยเป็นปัญหาสําคัญทางสาธารณสุข โดยเฉพาะผู้ป่วยใน ปัญหาทุพโภชนาการในผู้ป่วยส่งผลให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ภาวะแทรกซ้อนในการดูแลรักษา อัตราการตายเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนเกิดความจําเป็นในการใช้บุคลากรจํานวนมากขึ้น ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น การทําการสํารวจคัดกรอง ภาวะโภชนาการแรกเข้าโรงพยาบาลในผู้ป่วยทําให้สามารถแก้ไขดูแลด้านโภชนาการในผู้ป่วยดีขึ้น มีผลลัพธ์ทําให้การดูแลรักษาผู้ป่วยดีขึ้น ปัจจุบันระบบคัดกรองภาวะโภชนาการในโรงพยาบาลต่างๆ ยังใช้เป็นเอกสารบันทึกคัดกรอง ทําให้ไม่สะดวก เพิ่มภาระงานบุคลากร ตลอดจนไม่สามารถนําข้อมูลมาทําการวิเคราะห์และวางแผนงานในอนาคต ในแง่ประเด็นของความเหมาะสมของงานต่อจํานวนบุคลากร งบประมาณในระดับโรงพยาบาล ระดับจังหวัด ระดับประเทศ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ในประเทศยังมีไม่เพียงพอในการบูรณาการจัดการวางแผนนโยบายสาธารณสุขของประเทศ ทางหน่วยงานจึงได้นําปัญหานี้มาวางแผนทําโครงการ Big data Nutrition in hospitalized patient ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  ความรู้ที่นํามาใช้1. ความรู้ทางด้านโภชนาการที่มีผลต่อผู่ป่วย2. ความรู้ด้านการจัดการข้อมูล3. ความรู้ด้านการวิจัย4. ความรู้ด้านมาตรฐานการคัดกรองภาวะโภชนาการในประเทศไทย5. การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคัดกรองภาวะโภชนาการในผู้ป่วย ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัดอื่น ๆ (โปรดระบุ) มาจาก สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดําและทางเดินอาหารในประเทศไทย ความรู้ที่ฝั่งลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.นพ.สมบูรณ์ ทรัพย์วงศ์เจริญ สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และสถาบันร่วมผลิตแพทย์ – กรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต (ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลราชวิถี) วิธีการดำเนินการ 1. จัดทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์นําระบบคัดกรองภาวะโภชนาการในผู้ป่วยใน จากระบบเอกสารมาทําเป็นระบบ digital2. ทดลองในโรงพยาบาลราชวิถีจนประสบความสําเร็จ3. นําโปรแกรมไปติดตั้งในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ เฉพาะในส่วนของโรงพยาบาลที่มีความพร้อมด้าน IT4. จัดอบรมการใช้โปรแกรมทั่วประเทศระยะเวลา 2 ปี โดยมีโรงพยาบาลที่สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ 80 แห่ง จากโรงพยาบาล 154 แห่ง5. จัดทํา MOU นําข้อมูลของแต่ละโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยอ้างอิงการปกป้องข้อมูลแต่ละบุคคล PDPA โดยแต่ละโรงพยาบาลจะส่งข้อมูลมาที่โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อทําการวิเคราะห์ข้อมูลและส่งกลับไปที่ โรงพยาบาลแต่ละแห่ง โดยมีรายละเอียดในระดับขนาดโรงพยาบาล ระดับจังหวัด ระดับเขตระดับประเทศ6. จัดทํางานวิจัยระดับประเทศ 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           จัดทําโครงการเผยแพร่และติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อคัดกรองภาวะโภชนาการในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในส่วนภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก เริ่มตั้งแต่ปี 2565 – 2567 มี โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 150 โรงพยาบาล โดยทีมงานได้ออกไปสอนและทํา workshop ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค จนถึงปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่สามารถติดตั้งโปรแกรมคัดกรองภาวะโภชนาการ ได้ทั้งสิ้น 80 โรงพยาบาล จาก 150 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ และได้ทยอยส่งข้อมูลกลับมายังโรงพยาบาลราชวิถีเพื่อทําการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นของ prevalence ของภาวะทุพโภชนาการ ความสัมพันธ์ของภาวะทุพโภชนาการกับเรื่องค่าใช้จ่าย ภาวะแทรกซ้อน อัตราตาย และระยะเวลาวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการในแต่ละระดับ ได้ทั้งสิ้นประมาณ 100,000 ข้อมูล ปัญหาอุปสรรค ส่วนใหญ่เกิดจากความร่วมมือของแต่ละโรงพยาบาลที่จะส่งข้อมูลกลับมาให้ทางทีมโรงพยาบาลราชวิถีทําการวิเคราะห์ขาดแรงจูงใจ ภาระงานที่มากขึ้นของแต่ละโรงพยาบาลแต่ละแห่งที่จะส่งข้อมูลกลับมา 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           ผลการดําเนินการ ได้ทําการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งกลับมา นําเสนอผลงานนี้ในที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุขโดยปลัดกระทรวงฯ เป็นประธานในที่ประชุม และสรุปความเห็นว่าเป็นโครงการที่กระทรวงฯ จะได้ดําเนินการต่อ เพื่อเป็นข้อมูลของประเทศ (Big data) ในการวางแผนนโยบายสาธารณสุขเกี่ยวกับด้านโภชนาการ ในประเด็น งบประมาณ บุคลากร ตลอดจนแนวทางการป้องกันภาวะทุพโภชนาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคต่างๆ ในโรงพยาบาล โดยที่ความรู้นี้เป็นข้อมูลในระดับประเทศที่ยังไม่มีการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้มาก่อน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ข้อเสนอแนะ ให้กระทรวงสาธารณสุขออกเป็นนโยบายที่ทุกโรงพยาบาล จะต้องส่งข้อมูลผ่านระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทางโรงพยาบาลราชวิถีจัดทําขึ้น เพื่อนํามาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นประจําทุกปี เพื่อดูแนวโน้ม รวมทั้งปัญหาภาวะโภชนาการในผู้ป่วยในของประเทศไทย

Prevalence of malnutrition in hospitalized patient Read More »

“ซุปเปอร์ อสม.” นวัตกรชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนบนพื้นที่สูง

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1/1 “ซุปเปอร์ อสม.” นวัตกรชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนบนพื้นที่สูง ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.วิมลรัตน์ บุญเสถียร อาจารย์ปราณี ทัดศรี ผศ.วิลาวัลย์ อุดมการเกษตร คณะพยาบาลศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การเข้าถึงระบบสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ทุรกันดาร เป็นปัญหาสำคัญที่มีมายาวนาน เนื่องจากลักษณะพื้นที่ที่ทุรกันดาร เข้าถึงยาก รวมถึงความยากลำบากในการติดต่อสื่อสารกับสถานพยาบาลเนื่องจากปัญหาด้านการเดินทางและสัญญาณโทรศัพท์/อินเตอร์เน็ต แม้ทุกพื้นที่สูงจะมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชน แต่ช่วงฤดูฝนหลายพื้นที่ถูกตัดขาดจากเส้นทางสัญจรหลัก ทำให้ อสม. มีความลำบากในการปฏิบัติงาน ประกอบกับขาดโอกาสในการเพิ่มเติมความรู้และทักษะที่จำเป็นตามที่กระทรวงสาธารณสุขจัดให้ เมื่อประชาชนเจ็บป่วยจึงต้องดูแลตนเองตามวัฒนธรรมและความเชื่อของตน ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา           จากประเด็นปัญหาดังกล่าว นำมาสู่การพัฒนาโครงการวิจัยแรก ในปี พ.ศ. 2565 “การพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์ อสม. บนพื้นที่สูง” ซึ่งเป็นการวิจัยร่วมระหว่าง 3 สถาบัน ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (มรส.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.) และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จฬ.) โดยแต่ละสถาบันใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตนร่วมกันออกแบบการวิจัย โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มรส. ออกแบบหลักสูตร ชุดความรู้ในการพัฒนาสมรรถนะเพื่อยกระดับ อสม. ให้เป็น “ซุปเปอร์ อสม.” โดยต่อยอดความรู้และทักษะพื้นฐานที่มีความจำเพาะกับปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยบนพื้นที่สูง ประกอบด้วยชุดความรู้และทักษะด้านสุขภาพ 6 ด้าน ได้แก่ 1) การอนามัยแม่และเด็ก 2) การปฐมพยาบาล 3) การประเมินและการช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติ 4) การดูแลผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรัง 5) การดูแลผู้สูงอายุ และ 6) การรับมือกับโรคระบาด มจธ. ออกแบบกระเป๋าซุปเปอร์ อสม. สำหรับใส่เครื่องมือและยาจำเป็นพื้นฐาน รวมทั้งติดตั้งเสาสัญญาณวิทยุสื่อสารบนพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ และ จฬ. พัฒนาสื่อวิดิทัศน์ความรู้และทักษะปฏิบัติที่ใช้บ่อยสำหรับให้ซุปเปอร์ อสม. เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ผลการวิจัยทำให้ได้รูปแบบการพัฒนาซุปเปอร์ อสม. ที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานบนพื้นที่สูง และได้นวัตกรชุมชนจำนวน 27 คนจากพื้นที่ 11 ตำบล ที่มีสมรรถนะเหมาะสมตอบโจทย์สุขภาพในพื้นที่ รวมทั้งได้นวัตกรรมกระเป๋าเวชภัณฑ์ที่เหมาะกับการทำงานของซุปเปอร์ อสม.           ผลลัพธ์จากการวิจัยระยะแรก นำสู่การเปลี่ยนผ่านกระบวนการพัฒนาซุปเปอร์ อสม. จากนักวิจัยนอกพื้นที่สู่บุคลากรสุขภาพในพื้นที่ในการวิจัยระยะถัดมาในปี พ.ศ. 2566 “การศึกษากลไกในพื้นที่สำหรับขยายผลการพัฒนาซุปเปอร์ อสม. ในพื้นที่ทุรกันดาร” เพื่อสร้างนวัตกรชุมชนรูปแบบ “ซุปเปอร์ อสม.” ให้ครอบคลุมหมู่บ้านบนพื้นที่สูงให้มากที่สุด มีเป้าหมายเพื่อสร้างกลไกการพึ่งตนเองในการดูแลด้านสุขภาพอย่างมีคุณภาพ ผ่านการพัฒนาบุคลากรสุขภาพในพื้นที่ให้มีสมรรถนะในการพัฒนาซุปเปอร์ อสม. ได้ด้วยตนเองโดยมีทีมนักวิจัยเป็นพี่เลี้ยง ช่วยให้นวัตกรชุมชน “ซุปเปอร์ อสม.” มีสมรรถนะและปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน และมีการพัฒนาซุปเปอร์ อสม. รุ่นใหม่ ๆ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน นำไปสู่การพึ่งตนเองและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชาชนบนพื้นที่สูง ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  ความรู้ทางการพยาบาล ด้านการพยาบาลอายุรกรรมและศัลยกรรม การพยาบาลมารดาและทารก การพยาบาลเด็ก การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการพยาบาลผู้สูงอายุ แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning Theory) ของ David A. Kolb พีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Cone of Learning) ของ Edgar Dale และระบบพี่เลี้ยงตามโมเดล Mentoring for development ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้ทางการพยาบาล แนวคิด และทฤษฎีของการเรียนรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด  หลักสูตร ชุดความรู้ และทักษะการพยาบาล ของอาจารย์พยาบาล (ผู้วิจัย)  อื่น ๆ (ระบุ) ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ ของพยาบาลวิชาชีพในรพ.สต. วิธีการดำเนินการ ระยะแรก ปี พ.ศ. 2565 ดำเนินการโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) และนำแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ David A. Kolb ร่วมกับพีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Cone of Learning) ของ Edgar Dale มาใช้ในการยกระดับ อสม. ให้เป็น ซุปเปอร์ อสม. ผ่านกระบวนการพัฒนา 2 ระยะ ดังนี้          ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมการและพัฒนาสมรรถนะ อสม. เป็นระยะการทำความเข้าใจปัญหา ร่วมวางแผน สร้างความร่วมมือในพื้นที่ และร่วมพัฒนาสมรรถนะของ อสม. ผ่านการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกทักษะปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประสานงานเพื่อทำความเข้าใจปัญหา และสร้างกลไกและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ 2) การสำรวจพื้นที่จริง ระดมความคิด/แลกเปลี่ยนกับภาคีเครือข่าย เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาและกิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะ อสม. 3) สร้างหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะ อสม. และ 4) ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ อสม. โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกทักษะที่ได้รับการอบรม และศึกษาดูงาน/ฝึกทักษะบางด้านในโรงพยาบาลอำเภอ          ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาต่อยอดสมรรถนะด้านความรู้ ทัศนคติ ทักษะปฏิบัติ และทักษะการตัดสินใจผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติในสถานการณ์และบริบทจริง ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยง (พยาบาลวิชาชีพ/นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานที่ รพ.สต.) เพื่อพัฒนา อสม. ให้เป็นนวัตกรชุมชน (ซุปเปอร์ อสม.) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ปฏิบัติงานในสถานการณ์และพื้นที่จริงในฐานะ อสม. 2) เรียนรู้ขณะปฏิบัติงานในพื้นที่จริงกับพี่เลี้ยงหลังการฝึกปฏิบัติ และเรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อน อสม. พี่เลี้ยง และทีมวิจัย ทางออนไลน์ผ่านไลน์กลุ่ม 3) อภิปราย/ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกับพี่เลี้ยงและทีมวิจัยทุก 2-3 เดือน ทางออนไซด์และออนไลน์ 4) เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อสม. และ 5) ถอดบทเรียนกระบวนการเรียนรู้ของ อสม. และพี่เลี้ยง และการประเมินสมรรถนะของ อสม. ด้านความรู้ ทัศนคติในการดูแล และทักษะปฏิบัติเมื่อสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาสมรรถนะ          ระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2566 สร้างกระบวนการบ่มเพาะซุปเปอร์ อสม. โดยบุคลากรสุขภาพในพื้นที่ โดยประยุกต์ใช้ระบบพี่เลี้ยงตามโมเดล Mentoring for development โดยทีมวิจัยทำหน้าที่ Mentor บุคลากรสุขภาพในพื้นที่ทำหน้าที่ Mentee ในขณะเดียวกับบุคลากรสุขภาพจะรับหน้าที่เป็น Mentor ให้ซุปเปอร์ อสม. ด้วย การบ่มเพาะพี่เลี้ยงและซุปเปอร์ อสม. ผ่านการดำเนินงาน 4 กระบวนการ ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายและวางแผนร่วมกันผ่านการมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน 2) สร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความเข้าใจผ่านไลน์กลุ่ม 3) พัฒนาสมรรถนะแบบองค์รวมผ่านวิธีการหลากหลายต่อเนื่องตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะซุปเปอร์ อสม. ที่ได้จากการถอดบทเรียนระยะแรก  และ 4) เชื่อมโยง ประสานเครือข่ายและแหล่งประโยชน์ในพื้นที่เพื่อร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลลัพธ์ของการดำเนินงานทั้ง 2 ระยะ มีดังนี้ ยกระดับ อสม. ให้เป็นซุปเปอร์ อสม. จำนวน 57 คน ครอบคลุม 50 หย่อมบ้าน (ชุมชนบนพื้นที่สูง) จาก 17 ตำบลของจังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน เกิดทีมพี่เลี้ยงที่สามารถรับช่วงการดำเนินงาน และมีสมรรถนะในการพัฒนาซุปเปอร์ อสม. จำนวน 15 คน ผลการให้บริการของซุปเปอร์ อสม. พบว่า ให้บริการประชาชนที่เจ็บป่วยทั้งหมด 2,383 ครั้ง (นับเฉพาะช่วงเวลาของโครงการ) ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมายัง รพ.สต. ที่อยู่บนพื้นราบ คิดเป็น 1,211,863.70 บาท นอกจากนั้นซุปเปอร์ อสม. สามารถดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคลากรสุขภาพ รพ.สต. จำนวน 2,135 ครั้ง ตัดสินใจติดตามวัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้วในประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย และทำแผลให้ประชาชนก่อนรายงานผลให้บุคลากรสุขภาพทราบ ซึ่งช่วยลดภาระงานบางด้านให้บุคลากรสุขภาพ รวมถึงสามารถประเมินสภาพและประสานส่งต่อผู้ป่วยวิกฤตไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายทางรถ Ambulance และ Sky doctor ได้ทันเวลา จำนวน 13 ครั้ง ส่งผลให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ซุปเปอร์ อสม. สามารถพัฒนาโครงการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหา บริบท และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ร่วมกับบุคลากรสุขภาพจำนวน 17 โครงการ ตัวอย่างเช่น โครงการลดการติดจอเพิ่มพัฒนาการ โครงการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเด็กอายุ 0-5 ปี (มุ่งเน้นที่การมีความรู้และทักษะในการเช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี) โครงการดูแลเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ด้วยตัวเรา (เป็นโครงการร่วมของซุปเปอร์ อสม. และบุคลากรสุขภาพจาก 2 รพ.สต.) โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี “มึสุมึสะ” (เน้นปัญหาซึมเศร้า) เป็นต้น เกิด Learning Innovation Platform (LIP) ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ในบริบทพื้นที่สูง ในระยะเริ่มต้นทีมวิจัยรับผิดชอบเป็นผู้จัดการ (นายสถานี) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปัจจุบันมีบุคลากรสุขภาพในพื้นที่เข้ามามีส่วนเป็นผู้บริหารจัดการแทนทีมนักวิจัย ผลงานด้านชุดการเรียนรู้ ได้แก่ หนังสือ “รวมเรื่องเล่า เล่าเรื่องราว” จากการถอดบทเรียนประสบการณ์การทำงานในฐานะซุปเปอร์ อสม. จำนวน 25 คน ที่มาจาก 20 หมู่บ้าน 10 ตำบล ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสบเมย และอำเภอแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน คู่มือ “หลักสูตร ซุปเปอร์ อสม.” ซึ่งรวบรวมแนวคิด ความเป็นมา วัตถุประสงค์และโครงสร้างหลักสูตร รวมถึงแผนการเรียนรู้ และเนื้อหาสาระสำคัญที่จำเป็นของหลักสูตร สื่อสุขภาพ 3 ภาษา 6 ประเด็นโจทย์สุขภาพ จำนวน 40 คลิป 6 เพลง นวัตกรรม “ซุปเปอร์กระเป๋าเวชภัณฑ์” พร้อมคู่มือยาสามัญประจำบ้านและภูมิปัญญา                      ด้านปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ได้แก่ ข้อจำกัดในการหาแหล่งทุนสนับสนุนการเติมยาและวัสดุทางการแพทย์ในกระเป๋าเวชภัณฑ์ของซุปเปอร์ อสม. เนื่องจากยังไม่อยู่ในระบบการเบิกจ่ายของ สปสช. และสัญญาณโทรศัพท์/อินเตอร์เน็ตในบางพื้นที่ซึ่งส่งผลต่อการสื่อสารและการติดต่อประสานงานระหว่างกันซึ่งทีมวิจัยแก้ไขโดยการติดเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร อย่างไรก็ตามกรณีมีเคสผู้ป่วยจะยังไม่สามารถส่งภาพหรือวิดีโอเพื่อให้บุคลากรสุขภาพร่วมประเมินสภาพผู้ป่วยได้ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK     บทสรุปความรู้ที่ค้นพบจากการดำเนินงาน           ได้ความรู้เชิงกระบวนการในการสร้างความยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนบนพื้นที่สูงที่เป็นรูปธรรม ดังนี้ การดูแลสุขภาพประชาชนต้องเริ่มจากความต้องการของคนในพื้นที่ โดยมีคนในพื้นที่ที่เข้าใจบริบทและวัฒนธรรมของพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการหลัก เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ การสร้างสมรรถนะในการดูแลสุขภาพจำเป็นต้องใช้หลายวิธี ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงสะท้อนคิดสิ่งที่ปฏิบัติ และปรับปรุงการปฏิบัติ หมุนวนเป็นวงจรต่อเนื่อง จะทำให้ได้ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมใหม่ทุกครั้ง ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง การดูแลสุขภาพประชาชนบนพื้นที่สูงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ จำเป็นต้องประสานงานและได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายทุกระดับ ที่มีความรับผิดชอบแตกต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกัน และจำเป็นต้องผลักดันเข้าสู่ระดับนโยบายเพื่อได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ รางวัล Big Impact สร้างผลกระทบสูงต่อชุมชน ระดับดีเยี่ยม จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในงานนิทรรศการปิดโครงการวิจัยและเสนอผลงาน Appropriate Technology “เรียนรู้ เติบโต แบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ขยายผลสู่การพัฒนายั่งยืน” เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 จัดที่โรงแรมเซ็นทาราฯ ซุปเปอร์ อสม. 2 คน ได้รับรางวัล “นวัตกรชุมชน” ระดับดี จากงานประกวดและนิทรรศการ “ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้” ครั้งที่ 2 “เสริมพลังนวัตกร ด้วยนวัตกรรมเด่นสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 16 – 17 กันยายน 2567 จัดที่โรงแรม The Berkley Hotel Pratunam นักวิจัยจาก มจธ. 2 คน ได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่น ปีการศึกษา 2566 จากการดำเนินโครงการซุปเปอร์ อสม. มีการเผยแพร่ข่าวสารด้านสมรรถนะและความจำเป็นที่ต้องผลิต “ซุปเปอร์ อสม.” ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2567 หน้าเว็บหมวด “Likeสาระ”  ความต่อเนื่องยั่งยืนหลังเสร็จสิ้นโครงการ Learning innovation platform ยังคงมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยมีบุคลากรสุขภาพในพื้นที่ (พี่เลี้ยง) เป็นผู้จัดการ (นายสถานี) มีการใช้ประโยชน์จาก platform ในการปรึกษาเคสผู้ป่วยที่พบประกอบการตัดสินใจให้บริการหรือส่งต่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ดูแล ส่งข้อมูลความรู้ให้ซุปเปอร์ อสม. เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเสนอข่าวสารการยกระดับบ้านของซุปเปอร์ อสม. เป็นสถานีสุขภาพ เป็นต้น เกิดความร่วมมือในการหาแหล่งสนับสนุนเวชภัณฑ์และยาสามัญประจำบ้านจากวัด โบสถ์ โรงเรียน และ รพ.สต. ที่สามารถเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ได้ มีการขยายผลจากนโยบายของสาธารณสุขอำเภอ กำหนดให้บ้านซุปเปอร์ อสม. แต่ละหย่อมบ้าน เป็นสถานีสุขภาพชุมชน ซึ่งปัจจุบันจัดตั้งแล้วจำนวน 8 แห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนบนพื้นที่สูง ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินการประสบความสำเร็จ ความรับผิดชอบและความร่วมมือของภาคีเครือข่ายต่างระดับ และต่างสาขาวิชาชีพในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ได้แก่ ภาคประชาชน (ผู้นำชุมชน และ อสม.) บุคลากรของหน่วยงานสุขภาพในพื้นที่ (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคลากรจากสถาบันการศึกษาและนักวิจัยในพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะที่แตกต่างกัน การผลักดันการดำเนินงานเข้าสู่ระดับนโยบาย เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำที่มีแผนการดำเนินงานรองรับชัดเจน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ รวมทั้งมีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง การมีแหล่งทุนวิจัยสนับสนุนและให้โอกาสในการดำเนินงานระยะเริ่มต้นก่อนเปลี่ยนผ่านสู่บุคลากรสุขภาพในพื้นที่เพื่อความยั่งยืนต่อไป Link เอกสาร ภาพ สื่อ ที่เป็นผลจากการดำเนินงาน https://drive.google.com/drive/folders/1Ov-rlBWCnMWBfVOd7DiKkckB0U23L1n2?usp=sharing Link การเผยแพร่ ซุปเปอร์ อสม. ในสกู๊ปข่าวหนังสือพิมพ์แนวหน้า https://www.naewna.com/likesara/830450 Link VDO เผยแพร่โครงการ ซุปเปอร์ อสม. โดย บพท. https://youtu.be/ODTfIK4bZC8?feature=shared https://youtu.be/yEqTrYlrf-A?feature=shared https://youtu.be/yGlxffMdmpA?feature=shared

“ซุปเปอร์ อสม.” นวัตกรชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนบนพื้นที่สูง Read More »

การผลักดันงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าสู่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.3.2, KR 2.1.1 การผลักดันงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เข้าสู่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.ภก.เชาวลิต มณฑล วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           รายวิชา ปัญหาพิเศษ เป็นหนึ่งในรายวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นในด้านการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริงอย่างเป็นระบบ ในรายวิชานี้ นักศึกษาจะได้มีโอกาสศึกษา วิเคราะห์ และค้นคว้าประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญทางด้านเภสัชศาสตร์ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาความเข้าใจอย่างรอบด้านผ่านการเรียนรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เช่น ตำรา หนังสือ วารสารวิชาการ ฐานข้อมูล และเอกสารคำสอนต่าง ๆ กระบวนการเหล่านี้ช่วยให้นักศึกษาไม่เพียงแต่มีความเข้าใจเชิงลึกในศาสตร์ที่ศึกษา แต่ยังได้เรียนรู้ การตั้งสมมติฐาน การออกแบบงานวิจัย การวางแผนการทดลอง รวมถึงการแปลผลข้อมูล กระบวนการดังกล่าวยังช่วยปลูกฝังทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในวิชาชีพเภสัชกรรม นอกจากนี้ ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากรายวิชานี้ยังมีศักยภาพที่จะถูกพัฒนาต่อยอดสู่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยสร้างชื่อเสียงและเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาในเวทีวิชาการ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพ รายวิชา ปัญหาพิเศษ จึงไม่ได้เป็นเพียงการเรียนรู้ในห้องเรียน แต่เป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สร้างผลงานที่มีคุณค่า สร้างองค์ความรู้ใหม่ และเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในวิชาชีพกรรมอย่างแท้จริง ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ในรายวิชา ปัญหาพิเศษ ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานด้านเภสัชศาสตร์ เช่น การคำนวณทางเภสัชกรรม เทคนิคการชั่ง ตวง วัด ทฤษฎีต่าง ๆ ทางเภสัชศาสตร์ และความรู้ขั้นสูง เช่น เทคโนโลยีเภสัชกรรม เภสัชเคมี เภสัชเวท เภสัชวิทยา และเภสัชกรรมคลินิก ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการตั้งสมมติฐานและออกแบบงานวิจัย ตลอดจนกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นการตั้งสมมติฐาน การออกแบบงานวิจัย การวางแผนการทดลอง การทำการทดลอง การแปลผลข้อมูล และการสรุปข้อมูลอย่างเป็นระบบ นักศึกษายังได้พัฒนาทักษะการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เช่น ตำรา หนังสือ วารสารวิชาการ ฐานข้อมูล และเอกสารคำสอน นอกจากนี้ รายวิชายังส่งเสริมการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ พร้อมทั้งฝึกทักษะการสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น การเขียนรายงานผลการวิจัยและการนำเสนอผลงานให้แก่คณาจารย์และนักศึกษาด้วยกันเอง รวมถึงการพัฒนาผลงานวิจัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่ใช้ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชานี้ช่วยให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในวิชาชีพเภสัชกรรมและการวิจัยในอนาคตอย่างแท้จริง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต                                 วิธีการดำเนินการ คัดเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาและหัวข้อวิจัย           นักศึกษาคัดเลือกอาจารย์ที่ต้องการทำวิจัยด้วย และเข้าพูดคุยปรึกษาเพื่อคัดเลือกหัวข้อวิจัยที่ทั้งนักศึกษาและอาจารย์มีความสนใจร่วมกัน ก่อนเริ่มต้นการวิจัย จะต้องสืบค้นข้อมูล (ภาคการศึกษาที่ 2 ของชั้นปีที่ 4) เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่างานวิจัยที่จะดำเนินการไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่มีอยู่เดิม การเตรียมทรัพยากรสำหรับวิจัย           อาจารย์จัดหาและเตรียมสารเคมี อุปกรณ์ และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยให้นักศึกษา ก่อนเริ่มดำเนินการในภาคการศึกษาที่ 1 (ของชั้นปีที่ 5) ตลอดจนขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การดำเนินการวิจัย           ก่อนเริ่มการวิจัย อาจารย์ชี้แจงขั้นตอนการวิจัย รวมถึงเน้นประเด็นด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (lab safety) เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำการวิจัยได้อย่างปลอดภัย จากนั้นนักศึกษาดำเนินการวิจัยตามแผนที่วางไว้ โดยมีอาจารย์ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และสามารถเข้าปรึกษาอาจารย์ได้ตลอดเวลา           ในขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การเตรียมและเจือจางสารมาตรฐาน การใช้งานเครื่องมือที่มีความละเอียดสูง เช่น HPLC หรือการใช้ไมโครปิเปต จะมีอาจารย์ดูแลเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย           เมื่อนักศึกษาทำการวิจัยในแต่ละหัวข้อเสร็จสิ้น ต้องจัดการข้อมูลการทดลองให้เรียบร้อยภายในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์เพื่อป้องกันการตกหล่นของข้อมูล และก่อนเริ่มการทดลองในหัวข้อถัดไป อาจารย์และนักศึกษาจะพูดคุยวางแผนและแนวทางแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลจากการทดลองที่ผ่านมาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจภาพรวมของการวิจัย รายงานความก้าวหน้า การจัดทำรายงาน และการนำเสนอผลการวิจัย           นักศึกษารายงานความก้าวหน้าของงานวิจัยในช่วงปลายภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 5 พร้อมจัดทำรายงานและเตรียมการนำเสนอในปลายภาคการศึกษาที่ 2 การจัดทำบทความวิจัย           อาจารย์รับผิดชอบหลักในการร่างบทความวิจัย โดยใช้ข้อมูลที่จัดทำร่วมกับนักศึกษา พร้อมคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์และประสานงานจนบทความได้รับการตีพิมพ์ โดยนักศึกษาจะได้รับการระบุชื่อเป็นผู้ร่วมวิจัยในทุกบทความที่เกิดจากรายวิชานี้ เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษา 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           ผลการดำเนินการนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ซึ่งสามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ได้อย่างต่อเนื่อง โดยในทุกปีการศึกษา นักศึกษามีผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น ในปีการศึกษา 2562 เกิดบทความวิจัยจำนวน 2 เรื่องจากการวิจัยของนักศึกษาเพียงกลุ่มเดียว และในปีการศึกษา 2563 ได้บทความวิจัยจำนวน 2 เรื่องจากการดำเนินงานของนักศึกษา 2 กลุ่ม ขณะที่ปีการศึกษาอื่น ๆ มีผลงานตีพิมพ์อย่างสม่ำเสมอปีละ 1 เรื่อง ยกเว้นปีการศึกษา 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้นักศึกษาไม่สามารถเข้ามาดำเนินงานวิจัยในมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตบทความวิจัยในปีการศึกษาดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ในปีการศึกษา 2567 นักศึกษาได้ดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการจัดทำรายงานและการเตรียมนำเสนอ ซึ่งผลการวิจัยที่ได้ถูกส่งไปยังวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus เพื่อรอการพิจารณาตีพิมพ์ต่อไป           อุปสรรคสำคัญที่พบในการดำเนินงานวิจัย นอกจากข้อจำกัดด้านสถานการณ์ภายนอก เช่น การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว ยังรวมถึงภาระทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่มีเนื้อหาวิชาการปริมาณมาก ซึ่งส่งผลให้มีเวลาในการทำวิจัยอย่างจำกัด โดยเฉพาะในช่วงปลายภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 5 ที่นักศึกษาต้องเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ทำให้สูญเสียเวลาสำหรับการทำวิจัยบางส่วน ส่งผลให้ต้องเร่งดำเนินงานวิจัยเพิ่มเติมในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพื่อให้สามารถทำวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้งานวิจัยมีความคืบหน้าอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันก็ยังคงมีเวลาเพียงพอสำหรับการเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพ การสนับสนุนและการปรับแผนงานอย่างเหมาะสมจากอาจารย์ที่ปรึกษามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดผลกระทบจากข้อจำกัดดังกล่าว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานวิจัยจนประสบความสำเร็จ หลักฐานประกอบ ปีการศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2565 ปีการศึกษา 2566 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           การตรวจสอบผลการดำเนินการวิจัย ได้รับการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยมีการติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยเป็นระยะ ทั้งในรูปแบบการรายงานความคืบหน้า การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในแต่ละขั้นตอน ตลอดจนการนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบรายงานฉบับสมบูรณ์และการนำเสนอปากเปล่าในช่วงปลายภาคการศึกษา กระบวนการดังกล่าวไม่เพียงช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาคุณภาพของผลงานวิจัย แต่ยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการกับคณาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน อันนำไปสู่มุมมองที่กว้างขวางและรอบด้าน           ในด้านประสบการณ์การนำไปใช้ งานวิจัยที่นักศึกษาดำเนินการแสดงถึงศักยภาพในการต่อยอดทั้งในเชิงวิชาการและการปฏิบัติ ตลอดจนการสร้างสรรค์องค์ความรู้ที่สามารถนำไปพัฒนานวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติได้ ผลการสรุปและอภิปรายพบว่า ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นมีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ สามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus อย่างต่อเนื่องในทุกปีการศึกษา อุปสรรคสำคัญที่พบระหว่างการดำเนินงาน คือ ภาระทางการเรียนของนักศึกษา ส่งผลให้เวลาในการทำวิจัยมีข้อจำกัด อย่างไรก็ตาม อุปสรรคดังกล่าวได้รับการแก้ไขผ่านการสนับสนุนจากอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงการจัดสรรเวลาเพิ่มเติมในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง           บทสรุปของการดำเนินการนี้ คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าและศักยภาพในเชิงวิชาการ นอกจากนี้ กระบวนการเรียนรู้ในรายวิชายังช่วยพัฒนาทักษะที่สำคัญ เช่น การคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และการสื่อสารเชิงวิชาการ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญในอนาคต นอกจากนี้ บทความวิจัยที่ผลิตขึ้นยังช่วยเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษา และเป็นตัวชี้วัดคุณภาพที่สามารถใช้รับรองมาตรฐานของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในอนาคต ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยสนับสนุนและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้: การวางแผนล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ           ควรเริ่มกระบวนการวางแผนหัวข้อวิจัยร่วมกันระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้นักศึกษามีเวลาเพียงพอในการสืบค้นข้อมูล จัดเตรียมทรัพยากร และลดความเร่งรีบในช่วงเวลาการดำเนินการ การสนับสนุนทรัพยากรและเครื่องมือที่ทันสมัย           การจัดหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ทดลอง สารเคมี และฐานข้อมูลที่ทันสมัย รวมถึงการอัพเดตซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย การจัดสรรเวลาอย่างยืดหยุ่น           ควรพิจารณาจัดตารางเวลาที่เอื้ออำนวยต่อนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา การสนับสนุนเชิงจิตวิทยา           การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและส่งเสริมความมั่นใจในตนเองของนักศึกษา รวมถึงการให้คำปรึกษาและคำแนะนำจากอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้นักศึกษามีแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นในการดำเนินการวิจัย การกำหนดเป้าหมายและการติดตามผลที่ชัดเจน           การกำหนดเป้าหมายในแต่ละช่วงของการวิจัย พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้นักศึกษาเห็นความก้าวหน้าของงานวิจัยและสามารถปรับปรุงการทำงานได้ทันท่วงที การต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์           บางงานวิจัยที่นักศึกษาดำเนินการยังไม่สมบูรณ์หรือมีข้อจำกัดในบางประการ ซึ่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบสามารถขยายขอบเขตงานวิจัยให้กว้างขึ้น เพื่อตอบโจทย์ประเด็นวิจัยที่ยังคงค้างอยู่ ในกรณีเช่นนี้ ทีมวิจัยและคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการต่อยอดงานวิจัยดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์และความลึกซึ้งของผลงาน ตลอดจนพัฒนาให้งานวิจัยมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติต่อไป           ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักศึกษาและอาจารย์สามารถสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพของนักศึกษาในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพในอนาคต และบทความวิจัยที่พัฒนาขึ้นยังเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการตอบสนองนโยบายมหาวิทยาลัยที่จะเข้าสู่การจัดอันดับ QS World University Rankings ได้เป็นอย่างดี

การผลักดันงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าสู่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Read More »

การสร้างนวัตกรรมวิจัยให้แข่งขันได้เทียมบ่าเทียมไหล่กับมหาวิทยาลัยรัฐ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.2.1/1, KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.2, KR 2.4.3/1 และ KR 2.4.4/1 การสร้างนวัตกรรมวิจัยให้แข่งขันได้เทียมบ่าเทียมไหล่ กับมหาวิทยาลัยรัฐ ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจและได้วางแผนชีวิตในการเป็นครู สู่การพัฒนาเป็นโค้ช และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการสร้างผลงานนวัตกรรมการวิจัย   เพราะนอกเหนือจากภารกิจหลักในการสอนและทำงานวิจัยแล้ว  ยังมีโอกาสได้สร้างแรงบันดาลใจและผลักดันการสร้างนวัตกรรมการวิจัย ให้นักศึกษาเห็นถึงความสำคัญและความเชื่อมโยงที่เป็นรูปธรรมของวิชาพื้นฐานและวิชาชีพ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ research based learning เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตาตื่นใจและเกิดความต้องการที่จะอยากรู้ การสอนโดยสอดแทรกเนื้อหาจากการค้นพบจากงานวิจัย ทำให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้ามองเห็นภาพและนำไปสู่บรรยากาศที่สร้างแรงบันดาลใจ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการที่เป็นรูปธรรมเพื่อหาคำตอบจากรูปแบบการทำงานวิจัยตั้งแต่ชั้นปีที่ 1   การเปิดโลกการเรียนรู้นอกห้องเรียน  ทำให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้าได้รับโอกาสที่ท้าทายขีดความสามารถ จนสามารถทลายความกลัว และลบความรู้สึกต่ำต้อยให้หมดไปจากหัวใจ  ให้สามารถพัฒนาตนเอง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเทียมหน้าเทียมตานักศึกษาจากมหาวิทยาลัยภาครัฐ  ที่ไม่เพียงเป็นสร้างขวัญและพลังใจให้กับตนเอง  แต่ยังส่งต่อสู่นักศึกษารุ่นต่อมาได้อย่างต่อเนื่อง  จนมีผลงานที่ได้ถ้วยรางวัลและโล่รางวัลวิจัยและนวัตกรรมจากงานวิจัยในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 24 รายการ และเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรนวัตกรรมจากงานวิจัยตั้งแต่ปี 2562 ในการเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 14 รายการ และการได้รับโอกาสในเป็นตัวแทนประเทศไทยนำผลงานไปแข่งระดับนานาชาติจากการได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ถึง 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2568 มุ่งเป้าไปสู่การเพิ่มพูนทักษะในการปั้นนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมวิจัยและเทคโนโลยีของตนเอง ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  วิชาเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร (Food Biotechnology) วิชาความรู้เบื้องต้นทางนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีอาหาร วิชาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Research and Development of Innovation Biotechnology) ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล /วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร  วิธีการดำเนินการ ได้จัดการเรียนการสอนนวัตกรรมวิจัยในรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท โดยผู้สอนได้สอดแทรกลงในรายวิชา FTH342 Food Biotechnology หรือวิชาเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร และวิชา FTH 383 เทคโนโลยีข้าว ระดับปริญญาตรี ของคณะเทคโนโลยีอาหาร ที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 2 และวิชา CAB111 Introduction to Agricultural Innovation, Biotechnology and Food Technology หรือวิชาความรู้เบื้องต้นทางนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีอาหาร ระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาทั้ง 2 คณะ ทั้งคณะคณะนวัตกรรมเกษตรและคณะเทคโนโลยีอาหาร ของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหารเพื่อปูพื้นและสร้างความคุ้นเคยให้กับนักศึกษาทั้งสองคณะของวิทยาลัยตั้งแต่ขั้นปีที่ 1 และได้สอนวิชา BIT691 Research Methodology and Experimental Design ในระดับปริญญาตรีและโท เพื่อให้สามารถฟอร์มทีมนักศึกษาในการส่งแข่งให้มีทั้งป.ตรี และ ป.โท ได้ ได้ขอทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างนวัตกรรมการวิจัย ได้ส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดเวทีต่างๆ ผลงานสำคัญและงานที่ภาคภูมิใจ ผลงานการแข่งขันนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ผลงานที่ได้ถ้วยและโล่รางวัลวิจัยและนวัตกรรมจากงานวิจัยในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 24 รายการ และเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรนวัตกรรมจากงานวิจัยในการเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 14 รายการ มุ่งเป้าไปสู่การเพิ่มพูนทักษะในการเป็นผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของตนเอง 2. ผลงานการเป็นหัวหน้าโครงการได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย ได้รับทุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาผลงานอาหารจากพืชตั้ง แต่ปี 2562 และเชื่อมโยงกับผลงานวิจัยที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2542 รวม 60 โครงการ มูลค่าทุนรวม 31,782,789 บาท ดังแสดงในตารางที่ 3  (ตารางสีฟ้า)  มีความภาคภูมิใจที่ผลงานอาหารโปรตีนจากพืชหลังปี 2562 สามารถผลักดันส่งเข้าประกวดระดับชาติ และนานาชาติได้ในปัจจุบัน ตารางที่ 3  หัวหน้าโครงการวิจัย จำนวน 60 โครงการ ผลงานนวัตกรรมการวิจัยได้รับทุนภายนอกและมีการโอนค่าธรรมเนียมคืนสู่มหาวิทยาลัย หลักฐานการโอนค่าบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอกแก่มหาวิทยาลัย 10% ในปี 2567 รางวัลชมชนะเลิศ นวัตกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2567 รางวัลชนะเลิศนวัตกรรมข้าวไทย ปี 2565 รางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2564 รางวัลชมเชยนวัตกรรมข้าวไทย ปี 2567 รางวัล Bronze Award ปี 2565 รางวัล Silver Award ปี 2564 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา จากการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา อยู่ในระดับ 4-5 แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินการ สามารถขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกได้หลากหลายแหล่งทุน และได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับดี ได้รับการคัดเลือกให้เป็นงานวิจัยที่สามารถขยายสู่การร่วมออกจัดแสดงผลงานของแหล่งทุนในงาน FOOD  FAIR ใหญ่ๆ ได้ทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ  (สวก. และ วช.)  และบางโครงการรับการคัดเลือกเป็นผลงานที่มีความโดดเด่นจากแหล่งทุนภายนอก (บพข.) ให้นำเสนอเป็นงานวิจัยไฮไลต์ ผลงานวิจัยที่ส่งประกวดเวทีต่างๆ ระดับประเทศได้รับการพิจจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการตัดสินให้เข้ารอบและได้รับรางวัลครบทุกเวที ยังไม่มีประวัติส่งไปแข่งแล้วไม่ติดรางวัลใดกลับมา 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK 1.มีข้อเสนอแนะจากผู้เรียนให้เพิ่มเติมประเด็นการขยายผลสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ นักศึกษามีความประสงค์ที่จะทำวิจัยเชิงลึกในระดับปริญญาโท  และมีข้อเสนอแนะให้เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเพิ่มเติม 2.ได้คอนเนคชั่นจากแหล่งทุนเดิมในการขยายสู่แหล่งทุนภายนอกในเฟสต่อไปเพื่อให้สามารถสเกลอัปสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรมเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอาหารใหม่และอาหารฟังก์ชั่นซึ่งเป็นอาหารแห่งอนาคตที่รัฐบาลไทยเร่งการผลักดันเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3. ได้รับ Feed back จากการออกบูธจัดแสดงผลงานและการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ในการปรับปรุงงานวิจัยให้ตรงใจผู้บริโภคต่างประเทศเพื่อการส่งออกในอนาคต 4.มีผลงานถ้วยรางวัลและโล่รางวัลวิจัยและนวัตกรรมจากงานวิจัยในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 25 รายการ และเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรนวัตกรรมจากงานวิจัยในการเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 14 รายการ และผลงาน Update ในปี 2568 ได้ขยับระดับการส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดในเวทีระดับนานาชาติ จำนวน 3 เวทีคือ                4.1  เวที 2025 Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition (IPITEx 2025) จัดโดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช) ในงาน วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568 วันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568  รางวัลที่ได้รับ คือ รางวัลเหรียญทอง                4.2 The 3rd China-ASEAN Innovation and Entrepreneurship Competition Commitment Letter จัดโดย  Ministry of Science and Technology of the People’s Republic of China  ASEAN Secretariat ประเทศจีน และนำเสนอผลงาน (pitching) ณ ประเทศมาเลเซีย เดือนกรกฏาคม 2568 อยู่ในระหว่างรอประกาศผล ส่งแข่งโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)                4.2 The 5th World Science, Environment and Engineering Competition WSEEC 2025, Jakarta จัดโดย Fakultas Universitas Pancasila ประเทศอินโดนีเซีย และนำเสนอผลงาน (pitching) ณ ประเทศอินโดนีเซีย วันที่ 14-22 เดือนพฤษภาคม 2568 ส่งแข่งโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เรื่องที่ 1  งบประมาณทุนวิจัย เป็นที่ทราบกันดีว่า มหาวิทยาลัยเอกชน จะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านทุนวิจัยจากภาครัฐ  แต่จะใช้เงินรายได้จากจำนวนนักศึกษาเข้าเรียนที่ไม่แน่นอนมาจัดสรรทุนวิจัย  อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเข้าเรียนของนักศึกษาใหม่ มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยเอกชนจึงมีวงเงินจำกัดในการให้ทุนวิจัยแก่คณาจารย์ ทำให้งานวิจัยไม่ลึกและแคบรวมถึงไม่สามารถขยายสเกลสู่สหสาขาได้   และหากต้องการขอทุนระดับ 5 แสน ต้องมีการตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติระดับควอไทน์ 2 ขึ้นไป  ยังไม่มีการเทรดหรือการวัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยด้วยรางวัลการแข่งประกวดนวัตกรรม อาจเพราะไม่สามารถนำมาใช้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเหมือนบทความตีพิมพ์ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าผลงานนวัตกรรมวิจัยเป็นสิ่งที่จับต้องได้และมี impact ที่ส่งเสริมความเจริญของประเทศไทยได้ไม่ด้อยกว่าการตีพิมพ์บทความวิจัย สิ่งที่อยากนำเสนอต่อแหล่งทุนภายในคือ การเพิ่มออปชั่นการวัดความสำเร็จในการขอวงเงินวิจัยระดับ 5 แสนอัป ด้วยการใช้ผลงานการประกวดนวัตกรรมเพิ่มเติมจากผลงานตีพิมพ์ ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนแล้ว การขอทุนจากแหล่งทุนภายนอก มีการแข่งขันอย่างดุเดือดจากคณาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัยเอกชนด้วยกันและจากมหาวิทยาลัยภาครัฐด้วย  ดังนั้น นอกเหนือไปจากการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์และวิทยานิพนธ์จำนวนมากซึ่งเป็นบทบาทหลักของอาจารย์ประจำในการบริหารโครงการวิจัยหลักอยู่แล้ว   การที่ข้าพเจ้าได้รับทุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง  เพื่อทำงานวิจัยเพิ่มเติมจากงานวิจัยหลัก จึงเป็นความภาคภูมิใจ ที่ได้รับความเชื่อถือ และสามารถปิดทุนได้ครบสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ผู้ให้ทุน  ข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยที่มีการทำสัญญาทุนวิจัย จำนวน 60 โครงการ มูลค่าทุนรวม 31,782,789 บาท มีความภาคภูมิใจที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของแหล่งทุนโดยไม่รู้สึกกดดันแต่อย่างไร สิ่งที่อยากนำเสนอต่อแหล่งทุนภายในคือ การระบุวันที่ในใบเสร็จที่ใช้เคลียร์เงินทุนวิจัยตามงวด น่าจะมีการยืดหยุ่นให้นักวิจัยได้บ้าง เพราะนักวิจัยอย่างข้าพเจ้า มักจะทำวิจัยให้สำเร็จไปก่อนอย่างน้อย 80 % ก่อนขอทุนวิจัย เพื่อเป็นหลักประกันว่าสามารถควบคุมเวลาวิจัยได้ตรงตามช่วงรายงานความก้าวหน้า  ปัญหาคือใบเสร็จเก่าที่อยู่นอกกรอบเวลา ต้องถูกทิ้งไป ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เรื่องที่ 2 การแข่งขันประกวดผลงานในเวทีนานาชาติ มีสิ่งที่อยากนำเสนอ คือ เรื่องเวลา เพราะไม่สามารถเดินทางไปร่วมแข่งในรูปแบบออนไซต์ได้ ทำให้พลาดโอกาสการส่งผลงานแข่งในหลายเวทีที่ไม่ได้จัดแข่งแบบออนไลน์ ทั้งอาจารย์และนักศึกษาติดภาระกิจการเรียนการสอนที่ไม่ยืดหยุ่นในบางรายวิชาที่ไม่ให้คุณค่าการแข่งขัน ทำให้นักศึกษามีความเครียดและรู้สึกว่าการแข่งขันเป็นการบั่นทอนเกรดการเรียน เรื่องนโยบาย เพราะรางวัลจากการแข่งขันไม่สามารถนำมาใชประโยชน์อะไรในทางวิชาการของอาจารย์ได้เลย     กล่าวโดยสรุป ผลการดำเนินในปี 2567 ที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงจากผลงานการสร้างนวัตกรรมวิจัยที่ทำมาก่อนหน้าที่นำมาแสดง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่เห็นผลชัดเจนประการหนึ่งคือ ยอดนักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) เพิ่มจาก 1 คนในปี 2566 และ 0 คน ในปี 2567 เป็น 5 คน ในปี 2568 (รหัสจำลอง ป.โท ของนศ.ทั้ง 5 คน ประกอบด้วย 67911-00444, 67911-00302, 67921-00117, 67921-00113 และ 67921-112) และทั้งหมด เป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร ในระบบตรีควบโท  ที่มีความคุ้นเคยกับการสร้างวัตกรรมการวิจัยขณะที่กำลังศึกษาในหลักสูตร ตรงตามวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างนวัตกรรมวิจัย  และได้รับการอนุมัติทุน 50% จากมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การสร้างนวัตกรรมวิจัยให้แข่งขันได้เทียมบ่าเทียมไหล่กับมหาวิทยาลัยรัฐ Read More »

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.2.1/1 และ KR 2.5.1/1 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็น นักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.พิมลวรรณ ตรีพัฒนสิทธิ์ คณะบัญชี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้แบบใหม่อยู่เสมอ ความต้องการนักวิจัยรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนานักวิจัยจึงเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของคณะบัญชีในผลักดันอาจารย์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพด้านการวิจัย ให้มีโอกาสได้ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และให้เข้าสู่เส้นทางการเป็นนักวิจัยอาชีพและสร้างองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมบุคลากรให้มีความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานด้านการวิจัย กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน และพร้อมก้าวสู่อนาคต สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี การพัฒนาอาจารย์ด้านวิจัยจึงจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจในการริเริ่มพัฒนา โดยการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเอง พัฒนาทักษะความรู้และพัฒนาศักยภาพของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมให้ขอทุนสนับสนุนการวิจัยและสนับสนุนในการนำเสนอผลงานวิจัย และการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา           การพัฒนาอาจารย์นอกจากจะพัฒนาด้านการสอน ด้านการบริการวิชาการแล้ว การพัฒนาอาจารย์ด้านการวิจัยก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ดังนั้นการพัฒนาอาจารย์ด้านการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัยจึงถือเป็นอีกหนึ่งในภารกิจสำคัญของคณะบัญชี ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างนวัตกรรมงานวิจัย KR2.1.1 สัดส่วนอาจารย์ นักวิจัยที่มีงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรมต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด KR2.2.1/1 จำนวนเงินทุนสนับสนุน งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์ (รวมทั้งภายในและภายนอก) และ KR2.5.1/1 ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงานวิชาการ รวมทั้งการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  Training & Development: T&D กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กร ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง Set T&D Goals กำหนดเป้าหมายด้านการวิจัยให้สอดคล้องกับเส้นทางเติบโตของคณะ ด้วยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะบัญชี พ.ศ. 2565 – 2569 ระยะ 5 ปีเพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาด้านงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม Assessment หาจุดอ่อน (Gap) ของคณะบัญชีและอาจารย์ โดยสร้างระบบและกลไกส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัย การจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล พ.ศ. 2565 – 2569 เพื่อให้อาจารย์กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเองระยะ 5 ปี Training & Development Journey ออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เป็นการส่งเสริมสนุนการดำเนินงานด้านการวิจัย โดยการสนับสนุนส่งเสริมความรู้และทักษะด้านการวิจัย กำหนดแผนการพัฒนาความรู้และทักษะด้านวิจัย จัดอบรมให้ความรู้ reskill และ upskill เพื่อเตรียมพร้อมทักษะความสามารถต่อทุกการเปลี่ยนแปลง Choose Tools / Methods เลือกเครื่องมือให้ถูกต้อง ในการพัฒนาทักษะด้านการวิจัย โดยได้มีการจัดเตรียมระบบที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูล ระบบตรวจสอบการคัดลออกผลงาน ระบบฐานข้อมูลและโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ทางสถิติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องและการคัดลอกข้อมูล จึงมีระบบการเผยแพร่ข่าวสาร การอบรมสัมมนาด้านการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน ข่าวสารเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยของคณาจารย์  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลวิจัยออนไลน์   ระบบการตรวจสอบความถูกต้องของบทความ (Authentication) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย  ระบบการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนภายในและภายนอกสถาบัน ข้อมูลการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ข้อมูลเกี่ยวกับการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัย รวมถึงข้อมูลการจัดอบรมด้านวิชาการและการวิจัย  Work Environment สร้างวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเรียนรู้ในองค์กร โดยการสร้างแรงจูงใจ จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือให้เหมาะสม สร้างทีมวิจัยโดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้ให้คำแนะนำก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานวิจัยให้อาจารย์มีที่ปรึกษาตลอดการดำเนินงานวิจัย ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University     (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/) เจ้าของความรู้/สังกัด  ดร.ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ/คณะบัญชี อื่น ๆ  Training & Development กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กร ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง https://www.ftpi.or.th/en/2022/78527?fbclid=IwAR1vamM2nvif_KtM2wmBvar-p5EEoAWbfuX2M1Eiz_libpffE9Hdb12qdxo ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด ดร.ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ/คณะบัญชี วิธีการดำเนินการ           คณะบัญชีมีพันธกิจในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ  ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย  จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพการวิจัยของคณะ โดยนอกจากจะใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลสำหรับการพัฒนาหัวข้อและโครงร่างวิจัย  ยังใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาวารสารที่มีคุณภาพในการตัดสินใจเลือกตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับสากล รวมทั้งคณะบัญชีมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวกับแหล่งทุนให้อาจารย์ในคณะทราบโดยประกาศผ่านทางบอร์ดภายในคณะ การให้ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Line Application  คณะบัญชีมีการส่งเสริมการทำวิจัยโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ งานสัมมนาและอบรมต่าง ๆ เพื่อให้คณาจารย์ได้รับทราบข่าวสาร และสร้างความตื่นตัวให้กับอาจารย์  นอกจากนี้ยังมีระบบข้อมูล  SETSMART และจัดทำห้องสมุดของคณะที่รวบรวมวารสารทางวิชาการผลงานวิจัย สื่อสิ่งพิมพ์ และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ ทางการวิจัยให้แก่อาจารย์และนักศึกษา  ในปีการศึกษา 2566 คณะได้รับความอนุเคราะห์ในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมงานวิจัยจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้อาจารย์และนักศึกษาในระดับปริญญาโท  สามารถใช้ระบบสารสนเทศฯ ดังกล่าวในการสืบค้นข้อมูล บทวิเคราะห์  ข่าวสาร  ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยทางด้านการเงิน และตลาดทุน โดยสามารถสรุปขั้นตอนการดำเนินงานได้ดังนี้ ประชุมกรรมการประจำคณะและอาจารย์ประจำเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะบัญชี พ.ศ.2565–2569 ระยะ 5 ปี เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาคณะบัญชีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ประกาศใช้แผนเพื่อให้บุคลากรทุกคนได้รับทราบข้อมูลและเป้าหมายการพัฒนาคณะโดยทั่วกัน กำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล พ.ศ. 2565 – 2569 เพื่อให้อาจารย์กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเองระยะ 5 ปี โดยการกำหนดแผนการพัฒนาด้านวิจัยซึ่งประกอบไปด้วย การกำหนดเป้าจำนวนเงินทุนสนับสนุน งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์ (รวมทั้งภายในและภายนอก) และการกำหนดเป้าหมายร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงานวิชาการอย่างน้อยที่ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก 00 ต่อคน จัดทำแผนการพัฒนาความรู้และทักษะด้านวิจัย โดยการวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์งานวิจัย เพื่อเตรียมพร้อมทักษะความสามารถต่อทุกการเปลี่ยนแปลง ดำเนินงานตามแผน โดยเมื่ออาจารย์รับทราบและกำหนดเป้าหมายแล้ว จะต้องดำเนินการตามแผนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยรองคณบดีฝ่ายบริหารจะทำหน้าที่ติดตามผลการดำเนินงาน 2 ครั้งต่อปีการศึกษา เพื่อเป็นการเน้นย้ำและรายงานผลการปฏิบัติงานระยะครึ่งปี สรุปผลการดำเนินงาน โดยรองคณบดีฝ่ายบริหารจะทำหน้าที่สรุปผลการดำเนินงานจัดทำเป็นรายงานผลการเป้าหมายและผลงานเชิงประจักษ์การพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ประจำปีการศึกษา 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินการด้านงานวิชาการและงานวิจัยตามแผนตั้งแต่ปี พ.ศ.2565–2569 ระยะ 5 ปี สามารถสรุปได้ดังนี้                ด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566                คณะบัญชี มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวกับแหล่งทุนให้อาจารย์ในคณะทราบโดยประกาศผ่านทางบอร์ดภายในคณะ การให้ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Line Application โดยคณะมีการประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ งานสัมมนาต่าง ๆ เพื่อให้อาจารย์ได้รับทราบข่าวสาร และสร้างความตื่นตัวให้กับอาจารย์  นอกจากนี้ ยังมีระบบข้อมูลบริษัทจดทะเบียน  SETSMART และห้องสมุดของคณะที่รวบรวมวารสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย สื่อสิ่งพิมพ์ และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ ทางการวิจัยให้แก่อาจารย์ รังสิต มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย โดยสถาบันวิจัย (สวจ.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการดูแลและบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย ที่ทุกคณะวิชาสามารถเข้าถึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศ และนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยได้ ดำเนินการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ โดยทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันวิจัย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ และศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคสมัยใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตผลงานวิชาการ นอกจากนี้สถาบันวิจัย ยังเป็นศูนย์ให้คำปรึกษา โดยมีบริการให้คำปรึกษา บริการการจัดอบรมด้านวิชาการและการวิจัย  บริการข่าวสารข้อมูลด้านการวิจัยและมีสำนักงานจริยธรรม เป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำ ให้การสนับสนุน ในการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์                ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเรียนรู้ในองค์กร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566                สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรือการผลิตงานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ โดยมหาวิทยาลัยมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกหรือรักษาความปลอดภัยในการทำวิจัยหรือการผลิตผลงานสร้างสรรค์ โดยมีโปรแกรม อักขรวิสุทธิ์ และTurnitin เป็นเครื่องมือใช้ตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism Checker) เช่น วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ทั้งนักศึกษาและอาจารย์สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกนี้ เพื่อให้ประโยชน์ในด้านการวิจัย                การจัดกิจกรรมกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) คณะบัญชีมีความร่วมมือกับสมาคมบัญชีบริหารแห่งเอเซีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Management Accounting Association: APMAA) ในการจัดการประชุมทางวิชาการ และการสัมนาในรูปแบบออนไลน์ โดยในปี 2565 มีการจัดสัมมนา  International Conference – Indonesia Chapter (วันที่ 8-11 November 2022) และมีการจัดสัมนาในลักษณะออนไซต์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 มีแขกรับเชิญจากต่างประเทศ จำนวน 14 ท่าน จากประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย บังคลาเทศ เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ International Seminar Topic: Possibility of Research Collaborations between universities ทั้งอาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการเข้าฟังบรรยาย และมีส่วนร่วมในการจัดการสัมมนา รวมทั้งการร่วมจัดประชุมและสัมมนาวิชาการด้านการศึกษาทางการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูถัมภ์ โดยมีบุคลากรของคณะร่วมเป็นกรรมการจัดงาน และผู้ร่วมเสวนาในการสัมมนาวิชาการ กิจกรรมดังกล่าวเหล่านี้เป็นกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยที่คณะ เพื่อสนับสนุนให้คณาจารย์ในคณะมีความเติบโตทางการวิจัยและวิชาการ                ผลการดำเนินงานด้านการเผยแพร่ผลงานวิชาการะและงานวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566                โดยปีการศึกษา 2565 คณาจารย์ของคณะบัญชีมีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ  ซึ่งรวมอยู่ในทุนวิจัยตามสัญญารับทุนอุดหนุนวิจัยของอาจารย์ประจำคณะบัญชี โดยมีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการตีพิมพ์จำนวนทั้งสิ้น 15 บทความ แยกเป็นตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ (TCI 1 และ TCI2) จำนวน 8 บทความ การตีพิมพ์ในการประชุมระดับชาติ จำนวน 5 บทความ และการประชุมระดับนานาชาติ จำนวน 2 บทความ                โดยปีการศึกษา 2566 คณาจารย์ของคณะบัญชีมีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ  ซึ่งรวมอยู่ในทุนวิจัยตามสัญญารับทุนอุดหนุนวิจัยของอาจารย์ประจำคณะบัญชี โดยมีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการตีพิมพ์จำนวนทั้งสิ้น 20 บทความ แยกเป็นตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ (TCI 1 TCI2 และ Scopus) จำนวน 13 บทความ การตีพิมพ์ในการประชุมระดับชาติ จำนวน 3 บทความ และการประชุมระดับนานาชาติ จำนวน 4 บทความ โดยผลงานวิจัย ปี 2566 มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่มีระดับคุณภาพสูงขึ้น ผลการดำเนินงานด้านเงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์งานวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566                ปีการศึกษา 2565 คณะบัญชี มีจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง จำนวน 11 คน โดยมีเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบัน จำนวนรวมทั้งสิ้น 8 ทุนวิจัย เป็นทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 5 ทุนวิจัย (เงินทุนวิจัย 342,143บาท) และเป็นทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกในประเทศ 1 ทุนวิจัย และจากต่างประเทศ 2 ทุนวิจัย (เงินทุนวิจัย 221,425 บาท) รวมเงินทุนวิจัยทั้ง 8 ทุนวิจัย เป็นจำนวน 563,568 บาท           ปีการศึกษา 2566 คณะบัญชีมีจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ศึกษาต่อ] จำนวน 11 คน โดยมีเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในรวมทั้งสิ้น  655,406.50 บาท แบ่งเป็นทุนวิจัยจากสัญญาทุนปีการศึกษา 2566 จำนวน 308,647.50  บาท  และทุนวิจัยจากสัญญาทุน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 346,759.00 บาท ทุนวิจัยจากภายนอกสถาบัน รวมทั้งสิ้น 298,301.00 บาท แบ่งเป็นทุนวิจัยจากสัญญาทุนปี 2566 รวม  61,492.00 บาท และทุนวิจัยจากสัญญาทุนปี 2565 รวม  236,809.00 บาทเมื่อคำนวณจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในละภายนอกต่อจำนวนอาจารย์ประจำทั้งสิ้น 11 คน  เงินสนับสนุนทุนวิจัยเฉลี่ยรายบุคคลเท่ากับ   86,700.68 บาท และแปลงค่าจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามกลุ่มสาขาวิชาฯ ได้คะแนนเท่ากับ 5.00 คะแนน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           การตรวจสอบผลการดำเนินงานด้านการวิจัยพบว่าปี พ.ศ.2565-2566  การพัฒนาอาจารย์ด้วยการวิจัยนั้นบรรลุความสำเร็จทุกเป้าหมายและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างนวัตกรรมงานวิจัย KR2.1.1 สัดส่วนอาจารย์ นักวิจัยที่มีงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรมต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด KR2.2.1/1 จำนวนเงินทุนสนับสนุน งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์ (รวมทั้งภายในและภายนอก) และ KR2.5.1/1 ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงานวิชาการ  ดังนี้           ผลการดำเนินงานด้านการวิจัย ปีพ.ศ.2565-2566 บรรลุเป้าหมายเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และตัวบ่งชี้ที่ 2.3ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย ทำให้คณะบัญชีมีผลการประเมิน 5.00 คะแนน สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           การดำเนินงานด้านการวิจัยเพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 เพื่อให้คณะสามารถจัดทำแผนการดำเนินงานคณะได้ต่อไป เมื่อคณะมีการกำหนดแผนการดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว ให้มีการประกาศแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้อาจารย์สามารถนำไปกำหนดแผนการพัฒนาด้านการวิจัยให้สอดคล้องไปกับแผนการดำเนินคณะและมหาวิทยาลัย           การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงควรมีแผนการดำเนินงานและเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถออกแบบแผนการพัฒนาอาจารย์ด้านการวิจัยต่อไป การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนอกจากจะเน้นการอำนวยความสะดวกด้านสิ่งสนับสนุนงานวิจัยแล้ว ยังต้องมีการสร้างแรงจูงใจ และมีทีมวิจัยใจที่ดีมีพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำส่งผลการดำเนินงานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในปี 2567 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) กำลังเปลี่ยนโลกของการค้นพบและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ในการเริ่มต้นใช้ AI เพื่อการเรียนรู้และวิจัย ควรมีการพัฒนาเรียนรู้วิธีการใช้ AI tools เป็นผู้ช่วยนักวิจัยตัวน้อย ที่จะช่วยให้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์สนุกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้ AI อย่างรับผิดชอบ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ที่จะใช้ AI เป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมเพื่อโลกแห่งอนาคต ตารางแสดงผลงานวิจัยของอาจารย์ประจำ ประจำปีการศึกษา 2565

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง Read More »

การได้รับการรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP)

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 การได้รับการรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ ผศ.ดร.ฐิติ วิทยสรณะ นายวุฒิศักดิ์ อยู่จำนงค์ นางเบญจพร เกาะแก้ว สำนักงานจริยธรรมการวิจัย หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ในงานวิจัยที่เกี่ยงข้องกับคน ของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาจารย์ที่ต้องการใช้ผลงานวิจัยเพื่อยื่นของตำแหน่งวิชาการ โดยตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ข้อที่ (6) หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันที่มีการดำเนินการ มหาวิทยาลัยรังสิตจึงรังสิตจึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต หรือ Rangsit University – Ethical Review Board (RSU-ERB) หรือ เรียกย่อๆว่า คณะกรรมการฯ อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานจริยธรรมการวิจัย ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อออกใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ให้กับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ตลอดการทำงานที่ผ่านมา หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของคณะกรรมการฯ คือการได้รับความยอมรับการปฏิบัติงาน จากหน่วยงาน หรือสถาบันภายนอก ทั้งในระดับชาติและในระดับสากล โดยมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ได้รับการยอมรับระดับสากลนั้น คณะกรรมการฯต้องผ่านการรับรองมาตราฐานจากทางหน่วยงานที่มีชื่อว่า The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP) หรือเรียกย่อๆว่า SIDCER-FERCAP ซึ่งทางสำนักงานจริยธรรมการวิจัยและคณะกรรมการฯ ได้มีการวางแผนและเตรียมการเพื่อขอการรับรองมาตรฐานจาก SIDER-FERCAP โดยแผนการและการเตรียมการนั้นทางสำนักงานจริยธรรมการวิจัย ได้รายงานในแบบรายงานแนวปฏิบัติที่ดีตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เรื่อยมา ซึ่งสำนักงานจริยธรรมการวิจัยได้รับรางวัลชมเชยแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ 3 ปีซ้อนคือ ในปีการศึกษา 2564 เรื่อง “การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” ในปีการศึกษา 2565 เรื่อง “ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” และในปีการศึกษา 2566 เรื่อง “การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP)”           ในปีการศึกษา 2567 หลังจากได้นำเอาหลักการ และแนวปฏิบัติที่ได้ทำมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มาปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับการรับรองจากมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก SIDCER-FERCAP ถือเป็นคณะกรรมการจริยธรรมในคน จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก และแห่งเดียวในตอนนี้ได้ได้รับการรับรอง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ สำนักงานจริยธรรมการวิจัยในคน วิธีการดำเนินการ           เพื่อให้ได้การรับรองมาตราฐานจาก SIDCER-FERCAP นั้น ทางคณะกรรมการฯ ได้นำเอาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ที่ได้รับรางวัลชมเชยแนวทางปฏิบัติที่ดี 3 ปีซ้อนคือ ในปีการศึกษา 2564 เรื่อง “การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” ในปีการศึกษา 2565 เรื่อง “ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” และในปีการศึกษา 2566 เรื่อง “การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP)” ซึ่งจะกล่าวคร่าวได้ดังนี้ 1. การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต และขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 2 ปี โดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ชุดปัจจุบัน (แต่งตั้งเมื่อปี 2566)  ประกอบด้วยกรรมการภายหลักจำนวน 12 คน Lay person 2 คน และกรรมการสมทบจำนวน 70     1.2  มีการจัดตั้งสำนักงานจริยธรรมการวิจัย โดยใช้ห้อง 1/504 ซึ่งห้องนี้จะเป็นห้องที่ใช้เป็นสำนักงานจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะ มีการจัดหาอุปกรณ์สำนักงานสำหรับงานจริยธรรมการวิจัยในคน โดยเฉพาะ มีการจัดหาบุคลากรและเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานในส่วนของจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะ มีการจัดทำ Standard Operating Procedures หรือ SOP ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งปัจจุบันเป็น version ที่ 2.2 มีการพิจารณาข้อเสนอโครงการครอบคลุม 3 ระดับคือ Exempted, Expedited และ Full board มีการพิจารณาข้อเสนอโครงการระดับ Full board ทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน มีการติดตามการดำเนินงานของนักวิจัย หลังจากที่ได้รับใบรับรองจริยธรรมการวิจัย ทุกปี มีการจัดอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยให้กับอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทุกปี 2.การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP)”    2.1 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ   2.2 ขั้นตอนการเตรียม Standard Operating Procedures หรือ SOP   2.3 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการพิจารณาโครงการโดยคณะกรรมการฯ   2.4. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรอง และการติดตามการปิดโครงการ   2.5 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและการจัดการเอกสาร 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           คณะกรรมการฯ ได้รับการประเมินการปฏิบัติงานจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP)  ในวันที่ 28 – 30 สิงหาคม 2566 ณ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย ห้อง 1-505 และห้องประชุม 1-301 มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้ ศ. เกียรติคุณ ดร. พญ. จันทรา กาบวัง เหล่าถาวร, Survey Coordinator ผศ. ดร. พญ. พรรณทิพา ว่องไว,  Lead Surveyor รศ. ดร. พญ. ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม,  Local Surveyor                      ดร. พญ. อรวรรณ ศิลปะกิจ, Local Surveyor Sangeeta Desai, Foreign Surveyor From India รศ.ดร. อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา Assistance Surveyor กรรมการจากหน่วยงานรัฐ และเอกชน อีกจำนวน 15 คน รูปที่ 1 บรรยากาศในวันประเมินระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคม 2566           หลังจากได้รับการประเมิน กรรมการผู้ประเมินได้มีขอแนะนำต่างๆ ให้ทางคณะกรรมการฯแก้ไข ปรับปรุงเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตราฐานสากล ก่อนที่จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ เมื่อได้คำแนะนำจากกรรมการผู้ประเมินแล้ว คณะกรรมการฯจึงได้ทำการวางแผนงาน และแก้ไข ปรับปรุงตามคำแนะนำต่างๆ จนในวันที่ 6 กันยายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยระบบการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (National Ethics  Committee Accreditation System of Thailand :NECAST) ได้เสนอบทบาทในฐานะผู้ตรวจติดตามการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ภายหลัง SIDCER Recognition เพื่อเป็นการทบทวนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาทำการตรวจติดตามผลการแก้ไขของคณะกรรมการฯ รูปที่ 2 บรรยากาศในวันประเมินระหว่างวันที่ 6 กันยายน 2567 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK            หลังจากผ่านการประเมินติดตามการดำเนินงาน และการแก้ไขปรับปรุงของคณะกรรมการฯ แล้ว คณะกรรมการฯจึงได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานจาก SIDCER-FERCAP  อย่างเป็นทางการ และได้เดินทางไปรับโล่ห์การรับรองการปฏิบัติงาน ที่โรงแรม Everest Hotel กรุงกาฐมัณฑุ ประเทศเนปาล ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา รูปที่ 3 บรรยากาศการรับโล่ห์รางวัลที่โรงแรม Everest Hotel กรุงกาฐมัณฑุ ประเทศเนปาล ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 รูปที่ 4 โล่การรับรองการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ จาก SIDCER-FERCAP ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          การที่คณะกรรมการฯ ได้รับรองจาก SIDCER-FERCAP ในครั้งนี้นั้น ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จที่สำคัญคือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ คณะกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่รับหน้าที่พิจารณาโครงการที่ส่งเข้ามาให้พิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพตรงไป ตรงมา ตามหลักวิชาการ และมีกัลยณมิตรต่อนักวิจัย   เจ้าหน้าที่ในสำนักงานจริยธรรมการวิจัย ที่ช่วยให้การปฎิบัติงานของคณะกรรมการฯ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ที่ส่งโครงการเข้ามาขอการรับรอง ที่เข้าใจการทำงานของคณะกรรมการฯ          คณะกรรมการฯ ได้ผ่านการรับรองจาก SIDER-FERCAP ซึ่งถือว่าเป็นคณะกรรมการจริยธรรมในคน จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก และแห่งเดียวในตอนนี้ ที่ได้การรับรอง ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างมากในวงการวิชาการและวิจัย ดังนั้นการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ถือเป็น Best Practice หรือเป็นแบบอย่างที่ดีที่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จากสถาบันอื่นที่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก SIDCER-FERCAP มาเรียนรู้และเป็นแบบอย่างให้ปฏิบัติตาม ซึ่งได้มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนจากหลายสถาบันได้ติดต่อเข้ามาขอเยี่ยมชมการดำเนินงานของคณะกรรมฯ ตลอดจนการขอพูดคุยเพื่อขอทำ MOU กับคณะกรรมการฯ ในอนาคต

การได้รับการรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) Read More »

การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR3.3.1/1 การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี นายธงชัย บุญเกิด นายพสุ กุนทีกาญจน์ นางสาวนิตยา ป้องศรี นายขุนคำ ปองรักษาชีวิต นางสาวไพวัลย์ ปัญญามูล สำนักงานทะเบียน สำนักงานการเงิน สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ ในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากสามารถช่วยให้การดำเนินงานต่างๆ มีประสิทธิภาพ เช่น ลดระยะเวลา ประหยัดทรัพยากร การดำเนินงานแบบดั้งเดิมที่ใช้ระบบเอกสารและการจัดการข้อมูลด้วยมือ (Manual) มักประสบปัญหาหลายประการ เช่น ความล่าช้าในการค้นหาและประมวลผลข้อมูล ความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อน การสูญหายของเอกสารสำคัญ และการสิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ทำให้เกิดการทำงานที่แยกส่วนและขาดการบูรณาการ                ด้วยเหตุนี้ การนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงาน จึงเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานในหลายมิติ ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในรูปแบบดิจิทัล การประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำ การแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานแบบเรียลไทม์ การลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร           ผู้ให้ความรู้เล็งเห็นว่างานบางส่วนของสำนักงานทะเบียน สามารถนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้และจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานดังที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ ในการถอดความรู้ครั้งนี้ จึงจะขอนำเสนอตัวอย่างงาน 2 ตัวอย่าง ได้แก่  1) งานระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล 2) งานระบบคำร้องขอเงินคืนกรณีสำเร็จการศึกษา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การพัฒนาระบบ ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย (กรณีศึกษาฐานข้อมูลบริการวิชาการ) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี นายธงชัย บุญเกิด นายพสุ กุนทีกาญจน์ นางสาวนิตยา ป้องศรี นายขุนคำ ปองรักษาชีวิต นางสาวไพวัลย์ ปัญญามูล วิธีการดำเนินการ ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานต่างๆ ให้เข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงาน รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พิจารณาความเป็นไปได้ในการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ขั้นตอนไหนทำได้ผ่านระบบ ขั้นตอนไหนต้องทำนอกระบบ ขั้นตอนไหนจำเป็นต้องมีหรือตัดออกได้ หากจำเป็นต้องมี จะปรับปรุงหรือเอาระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยอย่างไรเพื่อให้สามารถ 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร หากตัดออก ให้พิจารณาว่าตัดออกได้จริงๆ เพราะไม่จำเป็น หรือ ตัดออกแต่ต้องเพิ่มขั้นตอนอื่นหรือเอาระบบสารสนเทศมาทดแทน เพื่อให้สามารถส่งผลลัพธ์ต่อไปยังขั้นตอนถัดไปได้โดย 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร พิจารณาความคุ้มค่าในมุมต่างๆ เช่น ด้านการเงิน ด้านทรัพยากร ด้านความพึงพอใจ (ลดระยะเวลา เพิ่มความสะดวก)  สื่อสาร ทำความเข้าใจ และประสานงานเพื่อให้เกิดการใช้งานระบบสารสนเทศดังกล่าว 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การดำเนินงานในส่วนของงานระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล และงานระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษา มีแนวทางในการดำเนินการตามวิธีการดำเนินการที่กล่าวไว้ แต่มีความแตกต่างกันในขั้นตอนต่างๆ เช่น                ในการพิจารณาเกี่ยวกับระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล ระบบที่ใช้อยู่มีการรับคำร้องผ่านระบบออนไลน์อยู่แล้ว แต่พบว่ายังไม่สามารถชำระเงินค่าคำขอได้ทันที ประกอบกับเอกสารสำคัญทางการศึกษา มีขั้นตอนในการผลิตพอสมควร ตั้งแต่การเข้าไปค้นหาข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล พิมพ์เอกสาร เซ็นรับรอง ประทับตรา ซึ่งทำให้การขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ดังนั้น จึงมีแนวคิดในการนำ LINE OA: RSU Connect ซึ่งใช้ในการตรวจสอบผลการเรียน มาใช้เป็นช่องทางในการยื่นคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา และชำระเงินออนไลน์ได้ทันที จากนั้นเมื่อได้รับคำร้องมาที่ระบบ ทางเจ้าหน้าที่เพียงทำการตรวจสอบข้อมูล และยืนยัน ระบบจะทำการสร้างเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลพร้อมลงลายมือชื่อดิจิทัล และส่งกลับไปให้นักศึกษาได้เลย ซึ่งจะตอบโจทย์เรื่อง 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร ซึ่งระบบดังกล่าวหลังจากพัฒนาได้ใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่พบปัญหาในส่วนของนักศึกษาที่เกรดพึ่งออกครบแล้วอยากขอใบรับรองว่าจบการศึกษาในทันที กรณีนี้ สถานะในระบบยังไม่ได้ปรับเปลี่ยน เมื่อขอเข้ามาจึงยังมีสถานะกำลังศึกษาอยู่ แต่ปัจจุบันได้มีพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้รองรับการดำเนินการในกรณีดังกล่าวแล้ว           สำหรับในส่วนของระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษา ขั้นตอนที่ใช้ก่อนหน้านี้ นักศึกษาจะต้องไปหาอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้บริหารคณะเพื่อให้เซ็นใบคำร้อง จากนั้นจะมาที่สำนักงานทะเบียนเพื่อมาตรวจสอบว่าจบการศึกษาจริง ไม่มีหนี้ค้างหรือเงื่อนไขอื่นๆ เมื่อเรียบร้อยจะต้องไปติดต่อที่สำนักงานการเงินเพื่อให้ข้อมูลบัญชีเพื่อรอการโอนเงินค่าประกันคืน ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ขั้นตอนการไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้บริหารคณะนั้น ไม่มีความเกี่ยวโยงกับเงื่อนไขในการพิจารณาขอเงินค่าประกันคืน ประเด็นสำคัญคือ นักศึกษาจบการศึกษาจริงหรือไม่ และมีหนี้ค้างหรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่ต้องจัดการก่อนไหม โดยข้อมูลเหล่านี้มีจัดเก็บอยู่ในระบบแล้ว การมาติดต่อสำนักงานทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้จึงไม่จำเป็นเช่นกัน ดังนั้นนักศึกษาสามารถเข้าสู่ระบบคำร้องและระบบจะตรวจสอบได้ทันที หากไม่ติดอะไรสามารถให้ข้อมูลบัญชีเพื่อรอการโอนเงินค่าประกันคืน ซึ่งระบบจะส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับทางสำนักงานการเงินโดยตรง ซึ่งระบบดังกล่าวหลังจากพัฒนาได้ใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           ระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลมีการใช้งานมาประมาณ 8 เดือน มีการขอใช้งานมาไม่น้อยกว่า 4,415 รายการ แบ่งเป็น ใบรับรอง 2,087 รายการ ใบแสดงผลการเรียน 2,028 รายการ รวมมูลค่าไม่น้อยกว่า 400,000 บาท ซึ่งหลังจากนำระบบดังกล่าวเข้ามาใช้ จากการสอบถามนักศึกษา พบว่านักศึกษารู้สึกสะดวก กระบวนการขอเอกสารสำคัญมีความรวดเร็ว ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน สามารถให้บริการได้สะดวกและรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานได้ แต่อย่างไรก็ตามปริมาณการใช้งานระบบดังกล่าวในปัจจุบันยังใช้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นเมื่อเทียบกับการขอเอกสารสำคัญในรูปแบบกระดาษ ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเพื่อสร้างความรับรู้และความมั่นใจให้กับนักศึกษาในการขอเอกสารสำคัญในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งล่าสุดทางวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ปกติจะมีการขอเอกสารสำคัญในรูปแบบกระดาษให้กับนักศึกษาทั้งวิทยาลัย แต่ในตอนนี้มีการขอเป็นรูปแบบดิจิทัลแทนแล้ว ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคณะ/วิทยาลัย อื่นๆ ต่อไปได้ อันจะส่งผลให้ปริมาณการใช้งานเอกสารสำคัญในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยขั้นตอนการทำงานก่อนหลังนำระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลมาใช้แสดงดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1 ขั้นตอนการทำงานก่อนหลังนำระบบคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลมาใช้ ระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษามีการใช้งานมาประมาณ 7 เดือน มีการใช้งานมาไม่น้อยกว่า 2,100 รายการ ซึ่งจากการสอบถามนักศึกษา พบว่านักศึกษาค่อนข้างพึงพอใจ เนื่องจากได้รับเงินคืนรวดเร็ว และลดขั้นตอนไปได้หลายขั้นตอน ในส่วนของผู้ปฏิบัติงานนั้น ระบบดังกล่าวช่วยลดการจัดเก็บเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถสืบค้นข้อมูลและดำเนินการคืนเงินให้นักศึกษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ           ดังนั้น บทสรุปความรู้หรือสิ่งที่ค้นพบจากการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน คือ สามารถช่วยให้การดำเนินงานต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งผลไปถึงความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ซึ่งการที่ระบบดังกล่าวสามารถตอบโจทย์การทำงานได้เป็นอย่างดี เป็นผลมาจากการเข้าใจกระบวนการทำงาน เมื่อวิเคราะห์และพิจารณาความเป็นไปได้รวมถึงผลลัพธ์และความคุ้มค่าที่จะเกิดขึ้น จะสามารถทราบได้ขั้นตอนไหนควรปรับหรือเปลี่ยนหรือนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้งาน โดยขั้นตอนการทำงานก่อนหลังนำระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษามาใช้แสดงดังภาพที่ 2 โดยขั้นตอนการทำงานก่อนหลังนำระบบคำร้องขอเงินค่าประกันคืนกรณีสำเร็จการศึกษามาใช้แสดงดังภาพที่ 2 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การดำเนินการครั้งนี้สำเร็จ คือ ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงจริงๆ ควรดำเนินการดังนี้ ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานต่างๆ ให้เข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงาน รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พิจารณาความเป็นไปได้ในการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ขั้นตอนไหนทำได้ผ่านระบบ ขั้นตอนไหนต้องทำนอกระบบ ขั้นตอนไหนจำเป็นต้องมีหรือตัดออกได้ หากจำเป็นต้องมี จะปรับปรุงหรือเอาระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยอย่างไรเพื่อให้สามารถ 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร หากตัดออก ให้พิจารณาว่าตัดออกได้จริงๆ เพราะไม่จำเป็น หรือ ตัดออกแต่ต้องเพิ่มขั้นตอนอื่นหรือเอาระบบสารสนเทศมาทดแทน เพื่อให้สามารถส่งผลลัพธ์ต่อไปยังขั้นตอนถัดไปได้โดย 1) ลดระยะเวลา 2) เพิ่มความสะดวก 3) ประหยัดทรัพยากร พิจารณาความคุ้มค่าในมุมต่างๆ เช่น ด้านการเงิน ด้านทรัพยากร ด้านความพึงพอใจ (ลดระยะเวลา เพิ่มความสะดวก) สื่อสาร ทำความเข้าใจ และประสานงานเพื่อให้เกิดการใช้งานระบบสารสนเทศดังกล่าว                ซึ่งเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว ควรตัดสินใจร่วมกันทั้งในส่วนของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงย่อมสร้างผลกระทบบางอย่างทั้งในเชิงบวกและลบ ซึ่งเมื่อทุกคนเข้าใจและพร้อมจะเปลี่ยนแปลง แม้จะพบปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ ทุกคนจะร่วมด้วยช่วยกันในการแก้ไขต่อไป เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ โดยประเด็นสำคัญ ที่ต้องพิจารณาหลังจากนำระบบสารสนเทศมาใช้ คือ ความสเถียรของระบบสารสนเทศ ต้องสามารถทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจในความถูกต้องแม่นยำ ไม่เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมาให้ต้องแก้ไข โดยหากเกิดประเด็นดังกล่าว ต้องรีบแก้ไขปรับปรุงระบบสารสนเทศให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ                แต่อย่างไรก็ตามนโยบาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเอื้อหรือสนับสนุนสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง หากยังมีระเบียบหรือเงื่อนไขใดที่เป็นอุปสรรคต้องรีบดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งผู้ให้ความรู้เชื่อว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวจะสามารถเป็นแนวปฏิบัติที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำขั้นตอนวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อตัดสินใจในการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน

การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน Read More »

Scroll to Top