การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน
การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR1.1.1, KR1.2.1, KR1.2.2, KR1.2.3, KR1.2.4, KR1.3.1, KR1.3.3 และ KR1.4.6 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ รศ. นันทชัย ทองแป้น วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ กระบวนทัศน์ในการการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยเนื่องด้วยอารยธรรมมนุษย์มีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง จาก “สังคมเกษตร” ที่เน้นการจัดการศึกษาแบบ Informative ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้รายวิชาเพื่อเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร(Information)โดยผลลัพธ์ของการเรียนรู้ก็คือเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ (Experts) สู่ “สังคมอุตสาหกรรม” ซึ่งเป็นยุคของการศึกษาแบบ Formative ที่เน้นในเรื่องของสังคมและคุณค่า (Socialization &Values)โดยผลลัพธ์ของการเรียนรุ้จะเน้นไปในด้านของวิชาชีพ (Profession) โดยให้สามารถควบคุมตัวเองได้ ควบคุมกันเองได้ในกลุ่มวิชาชีพ ต่อมาเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โลกได้เปลี่ยนมาสู่ สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) และ “สังคมหลังยุคฐานความรู้” (Post Knowledge Based Society) ตามลำดับเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิทัศน์ในทุกมิติทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนกับโลกในยุคที่กล่าวมา จากเดิมที่เคยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี “อนาคตที่ค่อนข้างชัดเจน” สู่ “อนาคตที่เป็นไปได้ในหลากหลายทางเลือก” จากนั้นเปลี่ยนมาสู่ “อนาคตที่ค่อนข้างคลุมเครือ” “อนาคตที่ไร้ความชัดเจน” หรือ “VUCA World”(V ย่อมาจาก Volatility: U ย่อมาจากUncertainty: C ย่อมาจาก Complexity: และ A ย่อมาจาก Ambiguity) และในปัจจุบันเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งที่เคยผันผวนมาก ๆ หมดความน่าเชื่อถือ คนเราไม่ได้รู้สึกถึงความไม่แน่นอนอีกต่อไป แต่เพิ่มระดับเป็นความวิตกกังวลหรือเรียกว่าโลกยุค BANI (B = Brittle – ความเปราะบาง A = Anxious – ความวิตกกังวล N = Nonlinear – ความไม่เป็นเส้นตรง และ I = Incomprehensible – ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ หมายความว่าระบบต่าง ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นความไม่เป็นเส้นตรง สิ่งที่เคยคลุมเครือ กลายเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเข้าใจได้ ซึ่งระบบต่างๆในทุกมิติมีความซับซ้อนมากขึ้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นโลก “โลกที่ไม่พึงประสงค์” ซึ่งเต็มไปด้วยคลื่นวิกฤตเชิงซ้อนเป็นระลอก ๆ ตั้งแต่วิกฤตโควิด-19 วิกฤตซัพพลายเชนโลก วิกฤตพลังงาน วิกฤตอาหาร วิกฤตโลกรวน วิกฤตเงินเฟ้อ ที่อาจตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นต้น ดังนั้นการจัดการศึกษาเพื่อที่จะผลิตบัณฑิตเพื่อให้รู้เท่าทัน หรือดำรงชีวิตหรือให้สามารถแข่งขันได้ในโลกยุคศตวรรษที่ 21หรือโลกยุค BANI นั้นจำเป็นต้อง เสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้เรียน ในบริบทของความเปราะบางโดยการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมและให้มีชุดความคิดในด้านความยืดหยุ่นในทุกมิติของการดำรงชีวิตมากขึ้นเนื่องจากในโลกที่ไม่เป็นเส้นตรง การใช้ชุดความคิดที่ตายตัวมักจะเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิต ถ้าไม่มีการคิดค้นสิ่งใหม่โดยหวังพึ่งพาแต่วิธีการเดิม ๆ ที่เคยทำมาจะทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้เร็วพอกับการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถแข่งขันได้ นอกจากนั้นการที่ต้องสร้างวิธีการพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆให้กับผู้เรียน เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) สำหรับ เข้ามาช่วยในการดำรงชีวิตในอนาคตเพราะบางครั้งการวางแผนระยะยาวอย่างละเอียดมากเกินไปอาจไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไป จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตในยุคปัจจุบันนั้นจำเป็นต้องให้ผู้เรียนทำความเข้าใจ “โครงสร้างเชิงระบบ” (Systemic Structure) ที่สามารถแสดงกลไกความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และหยั่งรู้ถึง “ความคิดฐานราก” (Mental Model) ที่กำหนดโครงสร้าง กฎเกณฑ์ รูปแบบ ตัวขับเคลื่อน และผลลัพธ์ของปฏิสัมพันธ์ในเรื่องนั้น ๆ รวมถึงการพัฒนา “ปัญญา” (Wisdom) มิใช่แค่ “องค์ความรู้” (Knowledge) อย่างที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Wisdom for Sustainable Development) นั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจโลกในยุคปัจจุบันอย่างกระจ่างชัด แค่ลำพังขีดความสามารถในการคาดการณ์ (Anticipative Capacity) เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ จะต้องพัฒนา “ขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยน” (Transformative Capacity) โดยต้องเริ่มด้วย “การปรับเปลี่ยน Mindset” มากกว่าการเน้นยกระดับ Skillset หรือการพัฒนา New Skill เพียงอย่างเดียว วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้มองเห็นว่าการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิตเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดและบทบาทของวิทยาลัยฯจากการเป็นแหล่งเรียนรู้เป็นแหล่งสร้างนวัตกรโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเลือกสร้างนวัตกรรมที่ตรงกับความฝัน (Passion) ของตนเองตามความถนัดและเป็นสิ่งที่ตนเองและโลกต้องการ นอกจากนั้นต้องเปลี่ยนจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการเรียนให้มีความรู้เป็นการเรียนเพื่อรู้เท่าทันและฉลาดรู้ทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการเรียนรู้เพื่อเป็นผู้นำในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงอย่างมีนวัตกรรมรวมทั้งให้ผู้เรียนเปลี่ยนกรอบความคิดละมุมมองจากการให้ความสำคัญเฉพาะกับตัวเองให้มีมุมมองใหม่ที่มองเห็นสังคมส่วนรวมสำคัญกว่าตนเอง ระบบการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตที่เน้นการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership Attributes)โดยจัดการศึกษาในรูปแบบที่เรียกว่า Transformative Learning ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะหลักในวิชาชีพทั้งที่เป็นองค์ความรู้และทักษะในเชิงสากลและที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศไทย ซึ่งการจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานพลังกัน (Synergy) ในทุกมิติทั้งในเรื่องคนและภารกิจ เพื่อทำให้มิติต่างๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ การรับนักศึกษา สาระวิชาในหลักสูตร การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียน การบริหารและพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน รวมทั้งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ประสานพลัง (Synergy) กันเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตในรูปแบบที่เรียกว่า Transformative Learning ที่ต้องประสานพลังของมิติต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ระดับคลัสเตอร์ ระดับมหาวิทยาลัยรังสิตรวมทั้งเครือข่ายความร่วมมือทั้งระดับประเทศและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership Attributes) ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะหลักในวิชาชีพทั้งที่เป็นองค์ความรู้และทักษะในเชิงสากลและที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศไทยและโลกในยุค BANI ซึ่งการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องประยุกต์ใช้องค์ความรู้ดังต่อไปนี ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง องค์ความรู้ทางด้านการบริหารที่ประกอบด้วยหลักการการจัดการองค์กร องค์ความรู้ทางด้านการบริหารภารกิจการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา (การบริหารการศึกษา งานวิจัย งานบริการวิชาการ) องค์ความรู้ทางด้านการศึกษา ปรัชญาการศึกษา การสอน จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ การวัดและประเมินผล องค์ความรู้ทางด้าน 21st Century Skills องค์ความรู้แบบองค์รวมในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้นในอนาคตของศตวรรษที่21ของวิศวกรรมชีวการแพทย์โดยเน้นในเรื่องของสภาพปัญหาและข้อจำกัด (Pain Point) ในทุกมิติขององคาพยพทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทยทั้งเรื่องของวิชาการ การวิจัย เรื่องของวงจรชีวิตของเครื่องมือและเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ เรื่องของคนและวิชาชีพเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ และการพัฒนา Career Path ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้กับประเทศไทยรวมทั้งการจัดการศึกษาและพัฒนาบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัยรังสิต การศึกษาดูงานจากสถาบันการศึกษาและองค์กรในลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์การทำงาน องค์ความรู้อื่นๆที่ตกผลึกจากประสบการณ์การทำงานทางด้านการบริหารงานในระดับหมวดวิชา ระดับภาควิชา และระดับหลักสูตรระดับคณะและวิทยาลัย รวมทั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพรวมทั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งประเทศไทยมากว่า 30 ปี วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ องค์ความรู้ทั้งหมดที่กล่าวมาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ระบบการรับนักศึกษา การพัฒนาสาระหลักสูตรที่ต้องตอบสนองต่อทักษะสากลในศตวรรษที่21รวมทั้งต้องตอบสนองต่อความต้องการ (Demand) ของประเทศไทย การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การบริหารและพัฒนาอาจารย์ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา การวัดและประเมินผู้เรียน การบริหารและพัฒนาอาจารย์ รวมทั้งการพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ (Eco-System) โดยปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาจะต้องทำงานแบบประสานพลังกันเพื่อทำให้การจัดการศึกษาและการพัฒนาบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นเป็นไปในทิศทางที่ทำให้โลกของการเรียนรู้ โลกของการทำงาน และโลกแห่งอนาคต เป็นโลกเดียวกัน) โดยสามารถเขียนเป็นวงจรคุณภาพโดยสรุปได้ดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 วงจรคุณภาพของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ พิจารณาจากรูปที่ 1 เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนดังนั้นกระบวนการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาบัณฑิตแบบองค์รวมจะเริ่มจากที่มาของรายได้หลักคือระบบการรับนักศึกษา รายได้รองมาจากงานวิจัยและงานบริการวิชาการในลักษณะต่างๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารและพัฒนาอาจารย์ โดยรายได้ดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในเรื่องของระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุน ใช้ในระบบการพัฒนาสาระวิชาในหลักสูตรระบบการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียน รวมทั้งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จากนั้นจึงใช้หลักการประสานพลัง (Synergy) ทั้งทรัพยากรบุคคลและภารกิจในการจัดการศึกษาแบบองค์รวม เพื่อผลิตงานวิจัยและบัณฑิตที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณเมื่อผลงานวิจัยงานบริการวิชาการและบัณฑิตมีคุณภาพก็จะส่งผลต่อชื่อเสียงของวิทยาลัยฯและจะเป็นปัจจัยย้อนกลับมายังค่านิยมทางด้านการศึกษาและการสนับสนุนทุนวิจัยให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปอย่างยั่งยืนไม่มีที่สิ้นสุด ในที่นี้จะกล่าวถึงการบริหารจัดการระบบต่างๆโดยสรุปดังนี้ ระบบการจัดทำสาระวิชาในหลักสูตร การจัดทำสาระวิชาในหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นเป็นระบบที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก โดยการออกแบบและจัดทำสาระวิชาในหลักสูตรต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่สำคัญคือ ปัญหาของโลก และปัญหาของประเทศ(Pain Point) และมาตรฐานของวิชาชีพ ที่เหมาะสมกับยุคและสมัยของการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ของวิชาชีพ วงจรชีวิตของเทคโนโลยีในวิชาชีพ สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างองค์ความรู้และทักษะในระดับสากลและความต้องการของประเทศไทย โดยต้องให้สถานประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคมวิชาชีพมีส่วนร่วมในการจัดทำด้วย โดยสาระวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ ในยุคการแพทย์ที่เน้นการดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care : Corrective Medicine) ในระหว่างปีพ.ศ.2545-2560 ที่เน้นในเรื่องของการแก้ไขปัญหาในเรื่องการขาดแคลนบุคลากรและความพอเพียงและความพร้อมใช้รวมทั้งความปลอดภัยของผู้ป่วยที่เกี่ยวของกับเครื่องมือแพทย์ดังนั้นสาระวิชาของหลักสูตรในยุคนี้จะเน้นทางด้านการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมคลินิก (Clinical Engineering) และการวิจัยและพัฒนาต่อมาเป็นยุคตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 จนถึงปัจจุบันที่เน้นทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพหรือการแพทย์เชิงป้องกัน (Healthcare : Preventive Medicine) โดยทั้งสองยุคนั้น สิ่งที่เป็นที่ต้องการของประเทศไทยก็คือเรื่องของความมั่นคงทางด้านเรื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพโดยสาระวิชาในยุคปัจจุบันจะเน้นในเรื่องของทรานสฟอร์มเมชันทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ (Digital Transformation in Medical Device and Healthcare Technology) ควบคู่กับวิศวกรรมคลินิก โดยทั้งสองยุคนอกจากจะเน้นความรู้และทักษะทางด้าน Hard Skillsในวิชาชีพแล้วยังเน้นทางด้าน Soft Skills อีกทางหนึ่งด้วย การบริหารและพัฒนาอาจารย์รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุน สำหรับปัจจัยที่สำคัญต่อมาก็คือการจัดการในเรื่องของการบริหารจัดการบุคคลให้เหมาะสมกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่คาดหวังโดยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดโครงสร้าง บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุนวิชาการให้สอดคล้องกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ดังรูปที่ 3 โดยมีกระบวนการรับและพัฒนาบุคลากรโดยสรุปดังรูปที่ 2 รูปที่ 2 กระบวนการรับและพัฒนาบุคลากร พิจารณาจากรูปที่ 2 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ประกอบด้วย ระบบการบริหารและพัฒนาอาจารย์ในลักษณะการประสานพลัง ในทุกมิติของภารกิจของอาจารย์ระดับอุดมศึกษาเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยและเป็นไปตามแผนพัฒนาวิทยาลัยสำหรับในส่วนของการบริหารจัดการและการพัฒนาอาจารย์จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ระบบการรับอาจารย์และแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร การบริหารอาจารย์ การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ที่ประกอบด้วย การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านภาระหน้าที่ในการพัฒนาคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ และการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทั้งนี้เพื่อให้อาจารย์มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนรู้การส่งเสริมและการพัฒนานักศึกษา สำหรับปัจจัยที่สำคัญต่อมาก็คือการจัดการในเรื่องของการบริหารจัดการบุคคลให้เหมาะสมกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่คาดหวังโดยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดโครงสร้าง บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุนวิชาการให้สอดคล้องกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ดังรูปที่ 3 รูปที่ 3 วิธีการการประสานพลังในการจัดการศึกษา พิจารณาจากรูปที่ 3 สามารถอธิบายโดยสรุปได้ดังนี้ ในรูปที่ 3 จะเห็นว่าเป้าหมายของวิทยาลัยคือการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตตามยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงได้จัดแบ่งบุคลากรออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนการบริหารจัดการและส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นไปตามผลลัพธ์ ส่วนทีมพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ต้องประสานพลังกันกับงานวิจัยและบริการวิชาการ และส่วนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าโดยทั้งสามส่วนจะทำงานในลักษณะประสานพลังซึ่งกันและกัน สำหรับการจัดการในเรื่องของการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตนั้นก็จะใช้หลักการประสานพลังในภารกิจซึ่งกันและกันทั้งงานสอน งานวิจัยและงานบริการวิชาการ รวมทั้งงานทางด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีกลยุทธ์ที่สามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังรูปที่ 4 รูปที่ 4 วิธีการการประสานพลังในการจัดการศึกษา พิจารณาจากรูปที่ 4 เนื่องจากภูมิทัศน์ของโลกเปลี่ยนไปส่งผลทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนตามไปด้วย ท้ายที่สุดที่สำคัญก็คือทักษะที่ต้องการในการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ดังนั้นวิธีการการเรียนรู้ของผู้เรียนก็ต้องเปลี่ยน การเน้นการสอนไม่ได้ผล ต้องเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งผู้สอนและผู้เรียน อาจารย์ต้องไม่เน้นสอน แต่ต้องเน้นการออกแบบการเรียนรู้ เน้นสร้างแรงบันดาลใจ เน้นการเป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ไม่ใช่เป็นผู้สอน สำหรับกลยุทธ์และแนวทางในการจัดการการศึกษาและการพัฒนาบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์แบบองค์รวมโดยการประสานพลัง ทั้งคนและภารกิจเข้าด้วยกันโดยที่การทำภารกิจหนึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์และเชื่อมโยงไปยังอีกภารกิจที่เหลือด้วยโดยการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Outcome Based Learning)โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทั้งรูปแบบ Project Based LeaningและResearch Based Learning ที่เน้นการเรียนรู้และศึกษาปัญหาโจทย์วิจัยจาก Real Sector จากเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะของการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โดยกระบวนการโดยสรุปของการพัฒนาการจัดการศึกษาและการพัฒนาบัณฑิต เพื่อให้เป็นBrain Powerตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิตดังนี้ ชั้นปีที่ 1 เน้นในเรื่องการปรับ Mindset การสร้าง Passion และปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ See it, Own it , Solve it, Do it ควบคู่ไปกับความและทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐาน ชั้นปีที่ 2 จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Module โดยการสลายรายวิชาเพื่อเน้นการพัฒนาแนวคิดการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพแบบAnalog และแบบ Digital พร้อมๆกันกับเน้นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีม ชั้นปีที่ 3 จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Module โดยเน้นการพัฒนาแนวคิกการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพแบบอัจฉริยะ (Smart Medical Devices and Healthcare Technology) และการพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมคลินิก พร้อมๆกับการพัฒนา Mind Setในด้านความทะเยอทะยาน (Ambition) จิตสำนึกในด้านบริการโดยใช้ BIS-Center และชมรมเครื่องมือแพทย์ RSU เพื่อสังคมเป็นฐาน พร้อมทั้งเรียนรู้การศึกษาและหาแนวทางแก้ปัญหาจากสถานประกอบการจริงทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ชั้นปีที่ 4 จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Module โดยเน้นการพัฒนาแนวคิดการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษา Module Mini MBA การบริหารจัดการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ และการฝึกงานทั้งในและต่างประเทศตามความต้องการของนักศึกษา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางด้านนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการโดยใช้ห้องวิจัยของวิทยาลัยทั้ง 7 ห้องวิจัย BIS Center รวมทั้ง Technology Transfer Center (TTC) และสถานประกอบการจริงทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จากกระบวนการพัฒนานักศึกษาที่กล่าวมานั้นสิ่งที่สำคัญอีประการหนึ่งที่จะทำให้กลยุทธ์ในการจัดการศึกาและการพัฒนาบัณฑิตที่กล่าวมาประสบความสำเร็จคือการวัดและประเมินผล โดยทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการวัดและประเมินผลเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนเช่นการเปลี่ยนจากข้อสอบเป็นความลับ เป็นเปิดเผยมากขึ้น การเปลี่ยนจากสอบมีเฉพาะสอบวัดผลเป็นคนๆ เป็นการสอบวัดผลเป็นทีมด้วยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการวัดและประเมินจะเน้นการวัดคุณค่าของการพัฒนาแนวความคิดมากกว่าถูกหรือผิด การพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ สิ่งหนึ่งที่วิทยาลัยได้ให้ความสำคัญในการดำเนินภารกิจตาม “ปณิธาน”ที่ว่ามุ่งทำให้“โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงาน และโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน” ก็คือเรื่องของ “ระบบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปที่ 1จะเห็นว่าระบบสนับสนุนการเรียนรู้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวส่งเสริมความสำเร็จในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนรวมทั้งการส่งเสริมบรรยากาศการทำงานของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน การพัฒนาระบบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนจะประกอบด้วยการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า Hardware และ Software เป็นสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ในรูปของความรู้สึกและบรรยากาศทั้งหมดที่เรียกว่า Eco – System สำหรับการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ผ่านมาสามารถกล่าวโดยสรุปได้แก่ สภาพแวดล้อมบริเวณรอบนอกวิทยาลัยประกอบด้วย สวนต้นไม้ ป้าย Backdrop ต่างๆ ที่นั่งพักผ่อน ห้องทำกิจกรรมของนักศึกษา ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ที่เป็น Hardware เพื่อทำให้บรรยากาศในห้องเรียนทุกห้องไม่ใช่เป็นบรรยากาศแห่งที่สอนหนังสือ แต่ต้องเป็นบรรยากาศที่สอดคล้องกับวิชาชีพคือวิศวกรชีวการแพทย์ ที่ประกอบด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้แก่ บรรยากาศการเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก บรรยากาศการเป็นศูนย์สำหรับการสอบเทียบ บรรยากาศในการเป็นศูนย์บำรุงรักษาที่ได้มาตรฐาน บรรยากาศของหอผู้ป่วยในรูปแบบต่างๆทั้งห้อง ICU ห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วยแบบต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพเป็นต้น ระบบสนับสนุนการเรียนรู้แบบ Online ที่เป็น Software ทางวิทยาลัยได้มุ่งทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้ของผู้เรียนสอดคล้องกับปรัชญาในเรื่องของเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการและเหมาะสมกับ Life Style ของผู้เรียนในทุก Generation ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านของการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองในการ“ก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยได้มีการพัฒนาระบบห้องวิจัย ระบบการเผยแพร่ผลงานวิจัย ระบบการนำผลงานวิจัยไปดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบการสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านงานบริการวิชาการที่สอดคล้องกับวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อรองรับการวิจัยของคณาจารย์ รวมทั้งนักศึกษาในทุกระดับทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก การรับนักศึกษา การดำเนินงานในด้านยุทธศาสตร์การรับนักศึกษานั้นจะกระกอบด้วยการประชาสัมพันธ์ การรับนักศึกษา โดยทั้งสองกระบวนการจะเน้นการใช้ผลงานในภาพรวมของวิทยาลัยฯที่กล่าวมาทั้งหมดในการประชาสัมพันธ์ทั้งเชิงรุกและเชิงตั้งรับในสื่อหลักและสื่อสังคมรวมทั้งการจัดกิจกรรมขึ้นทั้งในวิทยาลัยฯและนอกมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้ผู้สนใจที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ของหลักสูตรจำนวนมากขึ้น Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลลัพธ์ที่ได้ ในระดับหลักสูตร สามารถพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครบทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก มีทั้งแผนการเรียนภาษาไทยและแผนการเรียนนานาชาติ มาตรฐานทางด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์อยู่ในระดับดีเยี่ยมโดยสัดส่วนของคุณวุฒิปริญญาโทต่อปริญญาเอกของอาจารย์และสัดส่วนของตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์อยู่ในระดับดีเยี่ยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสืบค้นข้อมูลพบว่าตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ของอาจารย์วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตมีจำนวนสูงสุดในบรรดามหาวิทยาลัยของประเทศไทย จำนวนนักศึกษาแรกเข้าของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากในระยะเริ่มต้นรวมทุกชั้นปีจำนวนประมาณ 160 คน ปัจจุบันมีนักศึกษารวมทุกชั้นปีทุกระดับการศึกษาจำนวนประมาณมากกว่า 400 คน ผลงานทางวิชาการของนักศึกษาและอาจารย์ทั้งผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมรวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และที่เกี่ยวข้องในแต่ละปีการศึกษาเกิดขึ้นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงจำนวนมาก นักศึกษาและอาจารย์ของวิทยาลัยฯความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติได้รับรางวัลในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ บัณฑิตที่จบออกไปได้งานก่อนจบ และ จบไปแล้วไม่เกินระยะเวลา 2 เดือนได้งานครบ 100 เปอร์เซ็นต์ผู้ที่ทำงานในอัตราเงินเดือนเริ่มต้นที่สูงกว่ามาตรฐานของสกอ. รวมทั้งสามารถสอบเรียนต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในส่วนหลักสูตรนานาชาติหลักสูตรภาษาไทยและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับ 1-10 ของโลกเช่น Imperial College ของอังกฤษ เป็นต้น บัณฑิตมีความจงรักภักดีกับสาขาวิชา คณะฯและมหาวิทยาลัย ให้ความร่วมมือกับสาขาวิชาในด้านต่างๆด้วยดีตลอดมาตั้งแต่รุ่นที่ 1 จนถึงปัจจุบัน อัตราการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานของบัณฑิตที่ได้รับการพัฒนาในทิศทางดังกล่าวพบว่ามีการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานทั้งในเรื่องค่าตอบแทนและตำแหน่งในระดับดีมาก ศิษย์เก่าที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารในบริษัทแม่ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศออสเตรีย ทำงานเป็นวิศวกรที่ปรึกษาขององค์กรระหว่างประเทศทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นผู้บริหารในองค์กรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั้งระดับกลางและระดับดับสูง รวมทั้ง สามารถทำการเปิดบริษัทของตัวเองทางด้านอุปกรณ์การแพทย์ในขณะที่จบการศึกษาออกไปได้เพียง 2 ปีและบริษัทดังกล่าวมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับที่ดีในตลาดเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย ระดับคะแนนการประกันคุณภาพประจำปีเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยรังสิตต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 3 ปี ความพึงพอใจของนักศึกษาในทุกระดับการศึกษาในด้านระบบสนับสนุนการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมากตลอดมา จากการสอบถามนักศึกษาแรกเข้าพบว่า ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ทำให้เป็นที่ต้องการเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตคือความพร้อมของระบบสนับสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยฯ ในระดับสถาบัน ผลงานและความสามารถในการแข่งขันของนักศึกษาและคณาจารย์สามารถทำชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตได้หลายๆผลงานในทุกปีการศึกษา ได้รับการยกระดับจากมหาวิทยาลัยรังสิตจากระดับหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้เป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ตามลำดับ ในระดับวิชาชีพและระดับประเทศ มีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในผู้นำในการยกระดับวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้มีตัวตนในวิชาชีพของประเทศ นักศึกษาและบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านวิชาชีพของประเทศไทยและมีส่วนในการร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศในการเป็นหนึ่งในทีมงานที่มีคุณภาพในด้านการดูแลรักษาสุขภาพให้กับประชาชนอย่างมีมาตรฐานเท่าเทียมกับระดับสากล สามารถกำจัดและ/หรือลด Pain Point ทางด้านวิศวกรรมคลินิกและ/หรือความมั่นคงทางด้านเครื่องมือแพทย์ให้กับประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้นำในด้านการพัฒนาทางด้าน Digital Transformation ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางด้านการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทย ในระดับอาเซียนและนานาชาติ เป็นผู้ผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และวางระบบบริหารจัดการงานเครื่องมือแพทย์ให้กับประเทศสปป.ลาวตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยจากการติดตามผลของความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานของบัณฑิตในประเทศสปป.ลาวตลอดมากกว่า 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีเยี่ยมโดยในปัจจุบันประเทศสปปป.ลาวได้นำเอาหลักและวิธีการที่ได้เรียนรู้จากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการรวมทั้งการปฏิบัติงานและที่สำคัญผู้บริหารที่เป็นรับผิดชอบงานเครื่องมือแพทย์ทั้งประเทศสปป.ลาวคือบัณฑิตจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตรวมทั้งได้รับทุนการศึกษาจากต่างประเทศให้มาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตอย่างต่อเนื่อง จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระดับนานาชาติของประเทสในย่านอาเซียน อื่นๆ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นเป้าหมายแรกๆของบุคคลจากภายนอกที่ต้องการมาเยี่ยมชมดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิตเพราะปัจจัยที่สำคัญลำดับแรกๆก็คือต้องการมาเยี่ยมชมพร้อมของระบบสนับสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยฯ วิทยาลัยฯได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกเช่นสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สอบรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์จำนวนอย่างน้อย 3 มาตรฐานวิชาชีพคือ วิชาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ในโรงพยาบาล วิชาชีพการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ และวิชาชีพการผลิตเครื่องมือแพทย์เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญที่สุดในการได้รับการรับรองคือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนรู้เช่นอาคารสถานที่และอุปกรณ์เครื่องมือเป็นต้น ผลงานวิจัย ทุนสนับสนุนการวิจัย รวมทั้งคะแนนประกันคุณภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ติด3อันดับแรกของมหาวิทยาลัยรังสิตในตลอดระยะ 5 ปีที่ผานมา ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลถึงความสำเร็จนี้ก็คือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งรวมทั้งการทำวิจัยด้วยในทุกมิติที่ส่งผลทำให้การขอทุนวิจัย การผลิตผลงานวิจัยการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยรวมทั้งงานบริการวิชาการที่ทางวิทยาลัยได้ทำในลักษณะ Synergy ภารกิจนั่นเอง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน สำหรับความท้าทายของการดำเนินการตามแนวคิดและหลักการที่ได้กล่าวมมานั้นสามารถสรุปได้ดังนี้ ส่วนของบุคลากรสายอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่ ในระยะเริ่มต้น ที่จะต้องปรับแนวความคิดหรือชุดความคิด (Mindset) และหลังจากที่ผ่านทดลองงานหรือมีประสบการณ์ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปก็จะสามารถดำเนินการได้ราบรื่นมากขึ้น ส่วนของกฎระเบียบส่วนกลางต่างๆที่เกี่ยวข้องในทุกระดับทั้งระดับมหาวิทยาลัย และ/หรือระดับประเทศที่อาจจะเป็นข้อจำกัดหรืออุปสรรคเนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่หลากหลายรูปแบบดังนั้นจึงต้องใช้พลังงานของผู้บริหารระดับคระ/วิทยาลัยในการทำความเข้าใจ แก้ไขและปรับปรุงเป็นระยะๆอยู่ตลอดเพื่อให้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ เนื่องจากภูมิทัศน์ของโลกในทุกๆมิติรวมทั้งนักศึกษาที่เข้าใหม่ในแต่ละรุ่น (Generation) มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางเกือบทุกมิติในทุกๆปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ในทุกๆปี ที่สำคัญที่สุดก็คือโลกหลังยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และโลกหลังยุคสังคมฐานความรู้ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของทางด้านการแพทย์จากการแพทย์เชิงตั้งรับ (Patient Care) เป็นการแพทย์เชิงรุกหรือเชิงป้องกัน (Healthcare หรือ Care for Citizen) ปรากฏการณ์ดังกล่าวทางวิทยาลัยฯได้ทำการตรวจสอบ ติดตามและเฝ้าระวังเพื่อรับมืออยู่ตลอดเวลาและมีการแก้ไข ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยและเป้าหมายบางของยุทธศาสตร์และการดำเนินกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลาทั้งในระยะ6 เดือนระยะ1 ปี ระยะ3 ปีและระยะ5 ปี โดยที่แกนหลักของยุทธศาสตร์คือการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบ Transformative Learning โดยมีหลักการ แผนงานและวิธีการดำเนินการและเป้าหมายดังรายละเอียดที่กล่าวมาข้างต้น จากการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนและวิธีการการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นซึ่งถือได้ว่าเป็นความรู้และวิธีการที่ค้นพบใหม่และพิสูจน์มาแล้วตลอดกว่า20ปีที่ผ่านมาพบว่าแนวคิดเกี่ยวกับวงจรคุณภาพ (รูปที่1) วิธีการการบริหารจัดการ (รูปที่2) และวิธีการการประสานพลังในการจัดการศึกษา (รูปที่3 และรูปที่4) ที่ได้คิดและจัดทำขึ้นมาและนำไปใช้ในการลงมือปฏิบัติงานจริงในระยะที่ผ่านมา โดยการปรับปรุงรายละเอียดบางประการอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงนั้น สามารถทำให้การบริหารจัดการงานการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตประสบความความสำเร็จตามเป้าหมายของผลลัพธ์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ของผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นที่ชัดเจน (ดังรายละเอียดในหัวข้อเรื่องผลลัพธ์ที่ได้) ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีหลายกลุ่มคณะ/วิทยาลัยทำให้แนวทางและยุทธศาสตร์การดำเนินการในการจัดการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ แต่ทุกรูปแบบสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายต่ำสุดของยุทธศาสตร์(Minimum Requirement) ของมหาวิทยาลัยได้ ในส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ก็ยังคงยึดถือแนวทางที่กล่าวมาและจะปรับปรุงในรายละเอียดบางส่วนอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของโลกและประเทศไทยในมิติต่างๆ สำหรับการดำเนินการเพื่อให้สามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้นจริงๆแล้วในหลายคณะ/หลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรังสิตและ/หรือสถาบันการศึกษาของภาครัฐที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศไทยได้ใช้แนวทางบางส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน สาระเนื้อหาวิชาในหลักสูตร วิธีการวัดและประเมินผลอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้มีการอ้างอิงโดยตรง
การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน Read More »