ยุทธศาสตร์ที่ 1

การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 และ KR 2.1.1 การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ. ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           หัวใจสำคัญของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คือ การทำวิจัย แต่นักศึกษาส่วนใหญ่จะขาดทักษะและความรู้ที่เพียงพอต่อการทำวิจัย ตลอดจนความกลัวในเรื่องการใช้สถิติ และตัวเลขต่างๆ ที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการทำวิจัย           ซึ่งการวิจัยทางการศึกษานั้นเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นในเรื่องของกระบวนการค้นคว้า กระบวนการแสวงหาความรู้ การศึกษาหาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ด้วยวิธีการที่เป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน และมีจุดมุ่งหมาย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา/สถานศึกษา อันประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูอาจารย์ผู้สอน นักเรียน/นักศึกษา ผู้เรียน สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเนื้อหาสาระรายวิชา รวมถึงหลักสูตรที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแง่มุมต่างๆ          ซึ่งหากจะแบ่งตามเทคนิคการเก็บข้อมูลเป็นเกณฑ์อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาหาความจริงโดยใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์และขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรู้สภาพ เพื่อจำแนก เปรียบเทียบ สังเคราะห์ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ โดยใช้วิธีการทางสถิติมาช่วยอธิบาย หรือใช้ข้อมูลที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลขที่สามารถวัดได้ 2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Naturalism) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมอย่างลุ่มลึก เข้าใจความหมาย กระบวนการ ความรู้สึก นึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ เพื่อรู้ลึก รู้จริงในเรื่องที่ศึกษา โดยเน้นการพรรณา วิเคราะห์ และเชื่อมโยงเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และ 3. การวิจัยแบบ ผสมผสาน (Mixed-methods research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาและค้นหาความจริงหรือองค์ความรู้ใหม่โดย การบูรณาการหรือผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ครอบคลุม สมบูรณ์ ทั้งในเชิงลึกที่ให้ข้อมูลแบบละเอียดและการศึกษาเพื่อให้ได้ความเข้าใจแบบองค์รวมโดยการวิเคราะห์ ค่าหรือตัวเลขเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ด้วยวิธีการทางสถิติ และการออกแบบการวิจัยแบบ ผสมผสานจะมีระเบียบแบบแผนในการศึกษาวิจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาวิจัย           ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยทางการศึกษาต้องเริ่มที่ปัญหาวิจัย (Research problem) เป็นลำดับแรก โดยปัญหาวิจัยจะนำไปสู่การตั้งคำถามวิจัย (Research question) และวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objective) ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยทางการศึกษาควรคำนึงถึงตัวแปร (Variable) ที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในศาสตร์ทางด้านการการศึกษา เช่น ภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำ (Leadership) การประกันคุณภาพการศึกษา (Educational quality assurance) นโยบายและแผน (Policy and plan) การพัฒนากลยุทธ์ (Strategy) โมเดลหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และความเสี่ยงทางการศึกษา (Educational risk) เป็นต้น เมื่อกำหนดปัญหาวิจัยชัดเจนแล้ว การออกแบบการวิจัย ด้านต่างๆ จะตามมา ทั้งการออกแบบการวิจัย (Research design) แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง (Sampling design) และแบบแผนการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis design)           ทั้งนี้การวิจัยทางการศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณบางเรื่องอาจใช้สถิติพื้นฐาน (Basic statistics) เท่านั้น แต่บางเรื่องก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สถิติขั้นสูง (Advanced statistics) แต่ถ้าเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้สถิติเลยก็ได้ ดังนั้นการเลือกใช้สถิติจึงถูกนำไปใช้เป็นหลักในการวิจัยทางการศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่นิยมใช้ในการศึกษามีหลายประเภทขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัย โดยนักการศึกษาและนักสถิติมีบทบาทที่แตกต่างกันในการใช้สถิติเพื่อการวิจัย กล่าวคือนักสถิติ คือ ผู้ผลิต (Producer) ขณะที่นักการศึกษาคือผู้บริโภคหรือผู้ใช้ (Consumer/user) ดังนั้นการวิจัยทางการศึกษาจึงเน้นการนำสถิติไปใช้เพื่อตอบคำถามวิจัยที่สนใจศึกษาหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการศึกษามากกว่าที่การคิดค้นสูตรทางสถิติใหม่ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          การวิจัยทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) จําเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ทางสถิติ เมื่อผู้วิจัยออกแบบการวิจัย และออกแบบการสุ่มตัวอย่างแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนระเบียบวิธีวิจัย คือ การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมและถูกต้องตามแบบแผนการวิจัยที่กําหนดไว้ซึ่งต้องวิเคราะห์คําถามวิจัย ว่าควรใช้สถิติใด ในการวิเคราะห์ข้อมูล จะต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าคําถามวิจัยทางด้านการศึกษามีลักษณะอย่างไร คลุมเครือหรือบ่งชี้ชัดเจนถึงเทคนิคทางสถิติที่จะนํามาใช้วิเคราะห์หรือไม่ และควรพิจารณาถึงเจตนาของคําถามวิจัยว่าต้องการคําตอบอะไร การใช้สถิติในงานวิจัยทางการศึกษา ขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัยแต่ละเรื่อง เช่น ใช้สถิติเพื่อบรรยายหรือพรรณา (Descriptive statistics) ใช้สถิติเพื่อสรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปหากลุ่มประชากร (Inferential statistics) ใช้สถิติขั้นสูง (Advanced statistics) เพื่อตอบคําถามวิจัยที่ซับซ้อน การผสมผสานระหว่างการใช้สถิติเชิงบรรยายสถิติเชิงสรุปอ้างอิง และสถิติขั้นสูง (Mixed statistics) การใช้สถิติแบบไม่อาศัยค่าพารามิเตอร์ (Nonparametric statistics) เนื่องจากข้อมูลมีขนาดเล็กหรือมีระดับการวัดของตัวแปรที่สถิติแบบอาศัยค่าพารามิเตอร์ (Parametric statistics) ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ซึ่งสถิติที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา มีรายละเอียดดังตาราง  ตารางที่ 1 รายละเอียดของสถิติที่นิมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา การเลือกใช้สถิติ แนวทางโดยสรุป Analysis of Variance (ANOVA) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป เช่น คะแนนสอบจากการสอนด้วยวิธีการสอน 3 วิธี เป็นต้น ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณกับตัวแปรเชิงกลุ่ม โดยที่ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (1 ตัว) ส่วนตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม Needs Assessment Research Priority Needs Index (PNI) แบบปรับปรุง เป็นสูตรที่ปรับปรุงจากสูตร PNI แบบดั้งเดิม เป็นวิธีการหาค่าผลต่างของ (I – D) และหารด้วยค่า D เพื่อควบคุมขนาดของความต้องการจำเป็นให้อยู่ในพิสัยที่ไม่มีช่วงกว้างมากเกินไป และให้ความหมายเชิงเปรียบเทียบ เมื่อใช้ระดับของสภาพที่เป็นอยู่เป็นฐานในการคำนวณอัตราการพัฒนาเข้าสู่สภาพที่คาดหวัง PNImodified = (I – D) / D Multiple Regression Analysis (MRA) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ นำมาใช้เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรพยากรณ์ (X) หลายตัวที่มีต่อตัวแปรตามหรือตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัว (Y) (ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีเพียง 1 ตัว จะเรียกว่า Simple regression) Factor Analysis การวิเคราะห์เส้นทาง นำมาใช้เพื่อลดจำนวนตัวแปรให้น้อยลง โดยรวมกันเป็นองค์ประกอบ และใช้น้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) มาช่วยอธิบาย ตัวแปรแต่ละตัวในแต่ละองค์ประกอบ มี 2 ประเภท คือ Exploratory Factor Analysis (EFA) และ Confirmatory Factor Analysis (CFA) เป็นต้น Structural Equation Modeling (SEM)/ Linear Structural Relationship (LISREL) โมเดลสมการโครงสร้าง นำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงสาเหตุ หรือโมเดลสมการโครงสร้าง หรือเรียกว่าการวิเคราะห์ลิสเรล (LISREL analysis)  คือ Linear Structural Relationship หมายถึง โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น Path Analysis การวิเคราะห์เส้นทาง นำมาใช้ศึกษาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลโดยอาศัย แผนภาพเส้นทาง (Path diagram) และสมการโครงสร้าง (Structural equation) เป็นหลักในการวิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรเหตุ ที่มีต่อตัวแปรผลใน 2 ด้าน คือขนาดและทิศทาง และเป็นการอธิบาย ความสัมพันธ์ใน 2 แบบ คือ ทางตรง (Direct effect) และทางอ้อม (Indirect effect) ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝั่งลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช/สังกัดวิทยาลัยครูสุริยเทพ วิธีการดำเนินการ การเลือกใช้สถิติที่เหมาะในการวิจัยทางการศึกษา ผู้วิจัยจะต้อง ศึกษาแนวคิดของการใช้สถิติเบื้องต้นและสถิติขั้นสูงแต่ละประเภทในภาพกว้างก่อนว่า จะนำไปใช้กับข้อมูลที่มีลักษณะอย่างไร ตัวแปรอยู่ในมาตรการวัดระดับใด และเหมาะสมกับคำถามวิจัยแบบใด เมื่อผู้วิจัยตัดสินใจได้แล้ว จึงค่อยศึกษารายละเอียดในเชิงเทคนิควิธีของสถิติวิเคราะห์ประเภทนั้นในเชิงลึก (In-depth Study) เช่น การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ/หาความสัมพันธ์ สถิติที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น Correlation Analysis, t-test, F-test, ANOVA, ANCOVA, MANOVA เป็นต้น การสร้างสมการทำนาย เช่น Multiple Regression Analysis เป็นต้น การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร เช่น Structural Equation Modeling/ LISREL, Path Analysis เป็นต้น การหาองค์ประกอบของคุณลักษณะแฝง (Latent Trait) เช่น EFA, CFA เป็นต้น ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ใช้สถิตินอนพาราเมตริก เช่น – test, Two-way ANOVA เป็นต้น พิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่างว่ามีขนาดเล็กหรือใหญ่ เพราะถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กมากจะไม่สามารถใช้สถิติบางประเภทได้ เช่น การวิเคราะห์ LISREL ควรใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวน อย่างน้อย 25 เท่าของจำนวนตัวแปร เป็นต้น พิจารณาข้อจำกัดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล เช่น SPSS วิเคราะห์ได้ เฉพาะ EFA แต่หากผู้วิจัยต้องการทำสถิติที่สูงขึ้น คือ CFA ก็ต้องใช้โปรแกรม LISREL หรือ AMOS หรือถ้าข้อมูลที่เป็นตัวแปรอิสระ สามารถแบ่งได้อย่างน้อย 2 ระดับขึ้นไป โปรแกรมที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ก็ควรจะเป็น HLM หรือ MLwiN เป็นต้น สามารถเลือกใช้สถิติเพียงประเภทเดียว หรือผสมผสานกันก็ได้ในงานวิจัย 1 ชิ้น การเลือกสถิติเพียงประเภทเดียว อาจจะเหมาะสำหรับงานวิจัยขนาดเล็ก ที่ต้องการคำตอบวิจัยเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น การบูรณาการและผสมผสานสถิติหลายประเภท จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยที่มีหลากหลายมิติ ที่คำถามการวิจัยอาจมีหลายข้อที่ต้องการคำตอบที่แตกต่างกัน ใช้ระยะเวลา งบประมาณ และวิธีดำเนินการวิจัยหลายขั้นตอน ซึ่งในศาสตร์สาขาด้านการศึกษา มักจะเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research) 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน อาจารย์ที่ปรึกษาปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักศึกษาที่มีความไม่เข้าใจในการทำวิจัย ความกังวล/ความกลัวในเรื่องความรู้ทางสถิติที่ไม่เพียงพอ โดยการพูดคุยและชี้แนะการทำวิจัยที่ละขั้นตอนแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้ตัวอย่างงานวิจัยในประเด็นที่นักศึกษาสนใจ นำกลับไปอ่านทำความเข้าใจและย่อยข้อมูลตัวอย่างงานวิจัย แล้วกลับมารายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาภายใน 1 สัปดาห์ อาจารย์ที่ปรึกษาทดลองให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้การควบคุมดูแล โดยทำตามขั้นตอนในกระบวนการการทำวิจัยตั้งแต่การกำหนดปัญหานำวิจัย นำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยให้ชัดเจนก่อนว่านักศึกษาในฐานะผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไร ต้องการคำตอบอะไรจากผลการวิจัย ไม่ใช่การนำสถิติเป็นตัวตั้ง โดยยึดหลัก 5W1H คือ ต้องการศึกษาใคร (Who) ในประเด็นอะไร (What) ทำการศึกษาช่วงเวลาใด (เมื่อใด) (When) ศึกษาหน่วยงานใด (Where) ทำไมจึงต้องการศึกษาเรื่องนี้ (Why) และจะออกแบบหรือทำวิจัยอย่างไร (How) นักศึกษาในฐานะผู้วิจัยจะต้องเสนอประเด็นที่จะทำการวิจัยต่ออาจารย์ที่ปรึกษาโดยกำหนดเป็นคำสำคัญ (Key word) แล้วนำมาขยายความออกเป็นชื่อเรื่อง โดยสื่อให้เห็นถึงตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการจะศึกษา ระบุถึงประชากรหรือกลุ่มที่ต้องการศึกษา และระบุสถานที่ๆ ต้องการศึกษา นักศึกษาจะต้องกำหนดคำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจนจะนำไปสู่การเลือกใช้สถิติว่าตัวแปรจะอยู่ในมาตรการวัดระดับใด และเหมาะสมกับคำถามวิจัยแบบใด มีจำนวนตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีขนาดเล็กหรือใหญ่ เพราะถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กมากจะไม่สามารถใช้สถิติบางประเภทได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจจะใช้วิธีการเลือกกลุ่มประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง (Total Population Sampling) หรือการกำหนดจำนวนกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างให้ไม่น้อยกว่า 20-25 เท่าของตัวแปร ซึ่งในบางครั้งการเลือกสถิติที่ใช้นั้นผู้วิจัยอาจจะระบุสถิติไว้ประเภทหนึ่ง แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปไม่ได้ ผู้วิจัยจะต้องปรับเปลี่ยนสถิติที่จะใช้ทดสอบใหม่ เช่น ระบุไว้ว่าใช้ Multiple regression แต่ไม่สามารถรันข้อมูลออกได้ ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าจะสามารถใช้ ANOVA ในการรันข้อมูลและสามารถได้ผลการวิจัยที่เพียงพอสามารถตอบคำถามการวิจัยหรือไม่ นักศึกษาจะต้องทำงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยไม่ทิ้งช่วงระยะเวลาหรือหยุดทำงานวิจัยไปเป็นระยะเวลานาน ควรขอคำปรึกษาและแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเคร่งขรัด อาจารย์ที่ปรึกษาควรต้องศึกษาเพิ่มเติมและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในประเด็นใหม่ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และกระบวนการทำวิจัยใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องต้องช่วยหาทาออกให้แก่นักศึกษา ในบางกรณีที่นักศึกษากำหนดสถิติที่จะใช้ในงานวิจัยที่นำเสนอในโครงร่างฯ ต่อคณะกรรมการการสอบไปแล้วนั้น ไม่สามารถประมวลผลในโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากการ Error ของข้อมูล หรือจำนวนข้อมูลที่เก็บมาไม่เพียงพอต่อการประมวลผลทางสถิติบางประเภท ดังนั้นการช่วยหาทาออดให้นักศึกษาโดยการใช้สถิติประเภทอื่นทดแทนได้หรือไม่ อย่างไร อาจารย์ที่ปรึกษาต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักศึกษา ให้นักศึกษาเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง มั่นใจ ขยัน มีวินัย และอดทน จะทำให้งานวิจัยนั้นประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน กับอาจารย์ที่ปรึกษาท่านอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายในการให้คำแนะนำการทำวิจัย ตลอดจนการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับงานวิจัยของนักศึกษาแต่ละคน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ นักศึกษาในฐานะผู้วิจัยสามารถผลิตผลงานการวิจัย ได้ผลสอบผ่านในระดับดีมาก ผลงานการวิจัยได้รับการเผยแพร่ในฐานข้องมูล TCI 1 ขึ้นไป นักศึกษาได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต หน่วยงานต้นสังกัดของผู้วิจัยนำผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาไปใช้ในต่อยอดการบริหารจัดการหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การนำผลการวิจัยเรื่อง การส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 ไปต่อยอดจนได้รับรางวัลโรงเรียนสุขภาวะดิจิทัลระดับชาติ เป็นต้น การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในงานวิจัยทางการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จะทำให้ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นมีความเที่ยงตรง ถูกต้อง และแม่นยำ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้สถิติระดับที่สูงขึ้น เช่น ใช้สถิติขั้นสูงแทนสถิติพื้นฐาน จึงไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงระดับคุณภาพของงานวิจัยอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากผลการสังเคราะห์สถิติที่นิยมนำามาใช้ในการวิจัยทางการศึกษาที่นิยมใช้สถิติเชิงบรรยายนำมาใช้ในการวัด และวิเคราะห์ตัวแปรทางการศึกษาได้อย่างครอบคลุม นักวิจัยทางการศึกษาจึงต้องเลือกใช้ระเบียบวิธีทางสถิติที่เหมาะสมกับปัญหาการวิจัย เพื่อจะได้ข้อค้นพบที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยอย่างมีคุณภาพ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติความกลัวเกี่ยวกับเรื่องสถิติของนักศึกษา การทำความเข้าใจในเรื่องการใช้สถิติ ด้วยการให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติม ยกตัวอย่าง และสืบค้นข้อมูลเพิ่มขึ้น อาจารย์และนักศึกษาจะต้องทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ไม่ควรทิ้งช่วง/ขาดการติดต่อสื่อสารกันเป็นระยะเวลานาน ทำงานร่วมกันอย่างค่อยเป็นค่อยเป็นค่อยไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน step by step ความร่วมมือร่วมใจระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา ให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยปราศจากอคติ 

การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา Read More »

การดูแลนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR1.2.1 การดูแลนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.อัญชลี ชยานุวัชร ผศ.ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช ผศ.ดร.นิภาพร สกุลวงศ์ และ ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ 1.1 หลักการและเหตุผล     การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการศึกษาขั้นสูงที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การพัฒนาทักษะการวิจัย และการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ นักศึกษาในระดับนี้จึงต้องการการดูแลและให้คำปรึกษาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ 1.2 ความสำคัญ     การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนี้     1.2.1 ส่งเสริมความสำเร็จทางการศึกษา: ช่วยให้นักศึกษาสามารถวางแผนการศึกษา ดำเนินการวิจัย และสำเร็จการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ     1.2.2 พัฒนาทักษะการวิจัย: ให้คำแนะนำและสนับสนุนนักศึกษาในการพัฒนาทักษะการวิจัยที่จำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ     1.2.3 สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ: ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์     1.2.4. สนับสนุนการพัฒนาส่วนบุคคล: ให้คำปรึกษาและสนับสนุนนักศึกษาในการจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล และปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการศึกษา     1.2.5 เตรียมความพร้อมสู่การทำงานและโลกแห่งความเป็นจริง: ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต เช่น ทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการแก้ปัญหา 1.3 ประเด็นปัญหา     วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิตนั้น มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา 2) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา 3) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน และ 4) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามีขอบเขตที่ครอบคลุมทั้งด้านการให้คำปรึกษาทางวิชาการ การเรียนการสอน การวิจัย และยังรวมถึงการพัฒนาและให้ความช่วยเหลือส่วนบุคคล นอกจากนี้ นักศึกาของวิทยาลัยครูฯ นอกจากจะมีความหลากหลายทางด้านระดับวิชาชีพแล้ว ยังมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม การที่คณาจารย์จากทุกหลักสูตรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแบ่งปันแนวปฏิบัติในด้านนี้ จะช่วยให้ประเด็นปัญหาต่างๆที่เกี่ยวเนื่องได้รับการแก้ไขไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม     ปัญหาที่พบว่าเกี่ยวข้องกับการดูแลและการให้คำปรึกษานักศึกษา ได้แก่     1.3.1 ภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ที่ปรึกษามักมีภาระงานจำนวนมาก ทำให้มีเวลาในการให้คำปรึกษานักศึกษาอย่างจำกัด     1.3.2 ความแตกต่างของความต้องการ: นักศึกษาแต่ละคนมีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกัน การให้คำปรึกษาจึงต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล     1.3.3 การเข้าถึงแหล่งข้อมูล: นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการวิจัย     1.3.4 ปัญหาด้านสุขภาพจิต: นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอาจเผชิญกับความเครียดและความกดดันสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต     1.3.5 การสนับสนุนด้านการเงิน: นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาด้านการเงิน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา 1.4 แนวทางการแก้ไข     วิทยาลัยครูสุริยเทพ ได้ตระหนักว่า การดูแลและให้คำปรึกษานับเป็นหัวใจสำคัญในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จึงได้มีการหารือในเรื่องนี้ ในทุกระดับการประชุม ไม่ว่าระดับคณะและหลักสูตร เพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งโดยสรุปมีแนวทางการแก้ไขดังนี้     1.4.1 เพิ่มจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาให้เหมาะสม: เพื่อลดภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและเพิ่มเวลาในการให้คำปรึกษานักศึกษา     1.4.2 พัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา: จัดอบรมและพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษาแก่อาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่หลักสูตร เพื่อให้สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ     1.4.3 สร้างระบบสนับสนุนนักศึกษา: มีระบบข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานหรือศูนย์ให้คำปรึกษาที่ให้บริการด้านต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาด้านวิชาการ การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต และการให้คำปรึกษาด้านการเงิน     1.4.4 ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย: จัดกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์           1.4.5 สนับสนุนด้านการเงิน: จัดหาทุนการศึกษาและแหล่งทุนอื่นๆ เพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่มีปัญหาด้านการเงิน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ชยานุวัชร 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช 3) ดร.เตชาเมธ เพียรชนะ 4) ผศ.ดร. นิภาพร สกุลวงศ์ สังกัดวิทยาลัยครูสุริยเทพ วิธีการดำเนินการ                การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ การแก้ไขประเด็นปัญหาและพัฒนาระบบการดูแลและให้คำปรึกษาให้มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้นักศึกษาสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องนี้ จึงนับเป็นเรื่องสำคัญ           โดยวิทยาลัยครูสุริยเทพจัดให้มีกิจกรรม “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community-PLC)” ขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2523 โดยในครั้งแรกนั้น ได้เชิญผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มาเป็นทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ หรือ กระบวนกร (Facilitator) และได้เลือกหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่คณาจารย์และบุคลากรมีความเข้าใจในระดับน้อยและไม่ชัดเจน ได้แก่ การเขียนโครงการบริการวิชาการเพื่อเสนอขอรับทุนจากภายนอก การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เป็นต้น กิจกรรม PLC นี้ ยังคงจัดมาจนปัจจุบัน โดยมีการเลือกหัวข้อที่ตอบสนองการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยครูสุริยเทพและมหาวิทยาลัยรังสิต                ในการหาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาก็เช่นกัน ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) ในวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2568 เวลา 9.30-12.30 น. โดยมีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากทุกหลักสูตรเข้าร่วม เพื่อพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขและเพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน โดยในครั้งนี้ มีดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ คณบดีวิทยาลัยครูสุริยเทพ ทำหน้าที่กระบวนกร ดำเนินรายการและถอดและบันทึกแนวปฏิบัติต่างๆที่เห็นพ้องร่วมกัน โดยการได้ปฏิบัติมาแล้วจนเกิดผลสำเร็จ 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                ปัญหาที่พบในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาและแนวปฏิบัติที่เห็นพ้องว่าเหมาะสมร่วมกัน ได้แก่ เวลาและสภาพแวดล้อมในการให้คำปรึกษานักศึกษาอย่างจำกัด เช่น อาจารย์มีจำนวนน้อย นักศึกษาอาศัยอยู่ต่างประเทศ นักศึกษามีหน้าที่การงาน ต้องใช้วิธีการปรึกษาทางการประชุมทางไกล โทรศัพท์ หรือมาขอคำปรึกษาในวันหยุดสุดสัปดาห์ ต้องใช้การวางแผนตารางปรึกษาหารือที่เหมาะสมสอดคล้องเห็นชอบกันทั้งสองฝ่าย นักศึกษาแต่ละคนมีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกัน การให้คำปรึกษาจึงต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับนักศึกษาแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาต่างชาติซึ่งมีความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและวิถีการใช้ชีวิต บางครั้งเมื่อนักศึกษามีปัญหา อาจจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ญาติ และเพื่อนสนิทของนักศึกษา เพื่อเข้าใจบริบทของปัญหาให้ดีขึ้น นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาต้องชี้แหล่ง เช่น ให้บรรณารักษ์ช่วยอบรมการใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการวิจัยของนักศึกษา อาจทำได้หลายวิธี เช่น เชิญบรรณารักษ์มาบรรยายในชั้นเรียน ตลอดจนการแนะนำการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการต่างๆ ที่ห้องสมุด และการให้นักศึกษาไปเรียนรู้การใช้ห้องสมุดด้วยตนเองผ่านรายงานหรือแบบฝึกหัดในรายวิชา เป็นต้น ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่หลักสูตรควรเข้าใจกระบวนการขอสอบ รูปแบบการเขียน การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยที่เหมาะสม ขั้นตอนการขอจริยธรรมในคน ขั้นตอนการยื่นขอจบ เป็นต้น เพื่อสามารถอธิบายชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่นักศึกษาได้ รวมไปถึงระเบียบต่างๆของบัณฑิตวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ ปัญหานักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเผชิญกับความเครียดและความกดดันสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการเรียน อาจารย์ในหลักสูตรและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องหมั่นสังเกตและใช้หลักจิตวิทยาในการสื่อสารพูดคุย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามักมีวัยวุฒิ จึงอาจต้องใช้หลักจิตวิทยาในการสร้างความคุ้นเคย ความไว้ใจ และยอมแลกเปลี่ยนเปิดเผยปัญหา ในเรื่องนี้ หากมีการจัดอบรมการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยอีกในอนาคต คณาจารย์เกือบทุกท่านจะเข้าอบรม นักศึกษาบางคนอาจมีปัญหาด้านการเงิน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา จะใช้วิธีให้คำปรึกษาด้านการแบ่งชำระค่าหน่วยกิต การยื่นคำร้องต่างๆ การหาและแนะนำแหล่งทุนเพื่อการศึกษา นักศึกษาที่ต้องการทำงานทั้งเพื่อหารายได้และประสบการณ์ คณาจารย์ควรแบ่งปันข้อมูลเรื่องแหล่งงานที่เหมาะสมให้นักศึกษาทราบ นับเป็นการสร้างโอกาสในการสร้างประสบการณ์ทางการประกอบอาชีพแก่นักศึกษา 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           แนวปฏิบัติในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งคณาจารย์ของวิทยาลัยครูสุริยเทพได้ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันนั้น ได้ถูกใช้มาอย่างน้อย 2-3 ปีการศึกษา พบว่ามีผลลัพท์ในเชิงบวกอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมดังนี้ นักศึกษามีการเรียนอย่างต่อเนื่อง ราบรื่น จบการศึกษาตามแผนที่วางไว้ ไม่มีการสะดุดหยุดเรียนกลางคัน นักศึกษามีความสุข มีความรักและผูกพันกับอาจารย์และวิทยาลัยครูฯ นักศึกษามีความมั่นใจและไว้ใจที่จะบอกเล่าปัญหาต่างๆกับอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเกิดผลดีในการแก้ปัญหาแต่เนิ่นๆ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มีคุณภาพมาตรฐาน เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างวิทยาลัยครูสุริยเทพกับผู้ปกครองของนักศึกษา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่มีโอกาสปรับทัศนคติในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           สิ่งสำคัญที่ค้นพบจากการแลกเปลี่ยนแบ่งปันในห้วข้อ การดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ได้แก่ การปรับทัศนคติ การใช้หลักจิตวิทยาในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ การดูและ และให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา เรื่องนี้จึงควรใส่ใจ สร้างมาตรฐาน และพัฒนาให้ดีขึ้น ไม่เพียงเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good practice) แต่ให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice)

การดูแลนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต Read More »

การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1, 3 และ 5 : KR 1.2.1, KR 1.2.4, KR 3.1.1, KR 3.1.2/1, KR 3.4.1/1 และ KR5.1.2/1 การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.มนพร ชาติชำนิ ผศ.ดร.นิภา กิมสูงเนิน อาจารย์ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง และนางปราณี บุญญา สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในยุคปัจจุบัน ความท้าทายด้านสุขภาพในระดับชุมชนที่หลากหลายร่วมกับเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญของคุณภาพชีวิตที่ดี การพยาบาลชุมชนจึงมีบทบาทสําคัญในการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Wellness) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตจากข้อมูลการสํารวจในปี 2567 ตรวจพบปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น อ้วนลงพุง โรคเรื้อรัง และโรคหัวใจ รวมถึงปัญหาสุขภาพจิตอย่างความเครียด และซึมเศร้าที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตประสบปัญหาสุขภาพที่หลากหลาย เช่น(1) ประชากรวัยทํางานและผู้สูงอายุร้อยละ 79.63 มีภาวะน้ําหนักเกิน (2) ร้อยละ 42.59 มีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง (3) ร้อยละ 96.30 มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และ (4) ประชากรร้อยละ 53.70 ไม่เคยเข้ารับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียดและโรคซึมเศร้า ก็เป็นอีกประเด็นที่พบในกลุ่มเป้าหมาย โดยมีนักศึกษาถึงร้อยละ 68 รายงานว่ามีระดับความเครียดปานกลางถึงรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัว           การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดีในทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) มุ่งเน้น การบูรณาการการดูแลสุขภาพกาย ใจ และจิตวิญญาณเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงปัจจัยทั้ง ส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน เป้าหมายหลักคือการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคก่อนเกิดปัญหารุนแรง รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระยะยาว ประเด็นปัญหา  ภาวะน้ําหนักเกินและโรคเรื้อรัง ความชุกของภาวะน้ําหนักเกินและโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และโรคหัวใจ กําลังเป็นภัยคุกคามสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุสําคัญมาจากพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกําลังกาย และความเครียดสะสม สุขภาพจิตในกลุ่มวัยเรียนและวัยทํางาน ความเครียดและความกดดันในชีวิตประจําวัน ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่อาจพัฒนาไปสู่โรคซึมศร้าหรือภาวะคิดฆ่าตัวตาย จําเป็นต้องมีการดูแลด้านจิตใจอย่างครอบคลุม การขาดการคัดกรองและป้องกันโรค อัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็งเต้านม และการวัดความดันโลหิต ยังอยู่ในระดับต่ํา ซึ่งเป็นช่องว่างสําคัญในการป้องกันโรค แนวทางการพัฒนาโครงการ การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม: จัดกิจกรรมการพยาบาลที่ครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพกาย เช่น การให้ความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกําลังกาย และสุขภาพจิต เช่น การฝึกสติ (Mindfulness-Based Stress Reduction) การตรวจคัดกรองโรคเชิงรุก: เพิ่มการเข้าถึงการตรวจสุขภาพ เช่น การตรวจวัดความดันโลหิตและระดับ น้ําตาลในเลือด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ: รณรงค์การลดบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และส่งเสริมการออกกําลังกายที่เหมาะสมสําหรับแต่ละช่วงวัย การสนับสนุนสุขภาพจิต: สร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safe Space) สําหรับการพูดคุยปัญหาและให้คําปรึกษา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           โครงการนี้มีการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษานําความรู้จากการเรียนพยาบาลอนามัยชุมชนมาใช้ในสถานการณ์จริง พัฒนาแผนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เน้นการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน อีกทั้งนําทฤษฎีการพยาบาลมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ในกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตในกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ โครงการยังเป็นตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับเป้าประสงค์การสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษา  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่น ๆ ได้แก่ เอกสาร PDCA จากผลสําเร็จของโครงการ วิธีการดำเนินการ           แนวทางการพัฒนาโครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” สําหรับแม่บ้านมหาวิทยาลัยรังสิต จากการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ “โครงการแม่บ้านรังสิต หัวใจฟิต ชีวิตฟิน กินดีมีสุข”, “สุขภาพใจดี ชีวีมีสุข” และ “สูงวัยรู้ทัน เข้าใจ ห่างไกลภัยติดเตียง”, มีแนวทางการดําเนินการที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” ให้ครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของแม่บ้านรังสิต ก่อนออกแบบโครงการ ควรมีการเก็บข้อมูลสุขภาพของแม่บ้านมหาวิทยาลัยรังสิตโดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 รายวิชา BNS 481 ปฏิบัติการการพยาบาลอนามัยชุมชน ผ่านแบบสํารวจสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อกําหนดปัญหาหลักที่ต้องการแก้ไข เช่น โรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด) ภาวะเครียดจากการทํางานและชีวิตครอบครัว การขาดโอกาสในการออกกําลังกายและโภชนาการที่เหมาะสม และการดูแลสุขภาพจิต และการบริหารจัดการความเครียด 2. แนวทางดําเนินโครงการ (PDCA Model)(P) Plan – การวางแผน1. กําหนดเป้าหมายของโครงการ    o สร้างความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทุกมิติ    o ลดอัตราความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)     o พัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่ต่อเนื่องและยั่งยืน2. ออกแบบกิจกรรมที่ครอบคลุมสุขภาพแบบองค์รวม    o สุขภาพกาย: กิจกรรมออกกําลังกาย โภชนาการที่เหมาะสม การตรวจสุขภาพเบื้องต้น    o สุขภาพจิต: ฝึกสมาธิ ลดความเครียด เทคนิคจัดการอารมณ์    o สุขภาพสังคม: สร้างเครือข่ายการช่วยเหลือ สนับสนุนทางสังคม    o สุขภาพสิ่งแวดล้อม: การจัดการที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ3. กําหนดกลุ่มเป้าหมาย    o แม่บ้านและพนักงานในมหาวิทยาลัยรังสิต    o จํานวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ลงทะเบียน4. พัฒนาเครื่องมือประเมินสุขภาพ    o แบบสอบถามสุขภาพก่อน-หลังโครงการ    o การตรวจคัดกรองโรค (BMI, ความดันโลหิต, น้ําตาลในเลือด)5. เตรียมทรัพยากรและงบประมาณ    o ประสานงานกับคณะพยาบาลศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    o ขอสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยและองค์กรที่เกี่ยวข้อง 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน (D) Do – การดําเนินโครงการ ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถนํามาใช้ในโครงการ:กิจกรรมที่ 1: รู้ทันโรค ห่างไกลความเสี่ยง        • ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง       • ตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมคําแนะนําจากพยาบาล       • ใช้เครื่องมือประเมินพฤติกรรมสุขภาพกิจกรรมที่ 2: หัวใจฟิต ชีวิตฟิน       • ฝึกออกกําลังกายที่เหมาะสม เช่น การเดินเร็ว โยคะ เต้นแอโรบิก       • แนะนําโปรแกรมออกกําลังกายที่สามารถทําได้ที่บ้าน       • แนะนําเทคนิคการใช้เครื่องมือติดตามสุขภาพ เช่น สมาร์ทวอทช์ แอปพลิเคชันสุขภาพกิจกรรมที่ 3: กินดี มีสุข       • สาธิตการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ตามหลัก 2:1:1       • สอนการอ่านฉลากอาหาร และเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ       • เชิญนักโภชนาการมาให้คําแนะนําเกี่ยวกับเมนูสุขภาพกิจกรรมที่ 4: สุขภาพใจดี ชีวีมีสุข       • เทคนิคการบริหารความเครียดและการทําสมาธิ       • จัดเวิร์กช็อปการฝึกสติและการจัดการอารมณ์       • สนับสนุนเครือข่ายสังคมเพื่อให้กําลังใจกันและกันกิจกรรมที่ 5: สิ่งแวดล้อมดี ชีวิตมีสุข      • แนะนําแนวทางปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ      • การจัดสภาพแวดล้อมที่ช่วยลดความเครียด      • กิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อสุขภาพจิต 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดําเนินการ การนําเสนอประสบการณ์การนําไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่        • แบบสอบถามวัดความรู้และพฤติกรรมสุขภาพก่อน-หลังโครงการ        • วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพที่ได้จากการคัดกรอง        • วัดระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ        • ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพหลังโครงการ 1 เดือน และ 3 เดือน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice 1. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการสอนที่เน้นนวัตกรรม (O 1.2)• KR1.2.1 การพัฒนากิจกรรมเสริมการเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ        o ปรับปรุงโครงการโดยใช้ผลการประเมินเพื่อนํามาพัฒนาเนื้อหาการอบรม        o ขยายขอบเขตของกิจกรรมไปยังบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง        o ส่งเสริมให้แม่บ้านเป็น “แกนนําสุขภาพ” ในครอบครัวและชุมชน ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • KR1.2.4 การสร้างเสริมคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ผ่านโครงการที่มีผลลัพธ์ชัดเจน        o บูรณาการกิจกรรมด้านการพยาบาลและการดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน        o นักศึกษาพยาบาลสามารถเข้าร่วมโครงการและนําความรู้ไปพัฒนาแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน 2. การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือข้ามหน่วยงาน (O3.1, O3.4)• KR3.1.1 การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพผ่านความร่วมมือกับองค์กรภายในและภายนอก        o จัดตั้งกลุ่ม “แม่บ้านสุขภาพดี” เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการดูแลสุขภาพ        o ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์สําหรับการให้คําปรึกษาด้านสุขภาพผ่านคณาจารย์และบุคลากรทางการแพทย์ • KR3.1.2/1 การพัฒนาความร่วมมือระหว่างคณะและหน่วยงานเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี        o ส่งเสริมให้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมมือกันในโครงการส่งเสริมสุขภาพ เช่นศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัย        o ประสานงานกับศูนย์บริการสุขภาพชุมชน เพื่อสร้างโครงการดูแลสุขภาพเชิงรุกที่สามารถขยายสูระดับชุมชน • KR3.4.2 การพัฒนาทักษะของบุคลากรสายสอนให้มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพชุมชน        o สนับสนุนให้อาจารย์พยาบาลเข้าร่วมโครงการและพัฒนาทักษะด้านการพยาบาลชุมชน       o ให้บุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทในการอบรมเชิงปฏิบัติการและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสุขภาพ 3. การเสริมสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาโครงการที่มีคุณค่าต่อสังคม (O5.1)• KR5.1.2/1 การพัฒนาโครงการที่สร้างคุณค่าเชิงสังคมและยกระดับชื่อเสียงมหาวิทยาลัย        o จัดโครงการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสําหรับชุมชน        o ทํางานร่วมกับองค์กรภายนอก เช่น โรงพยาบาล คลินิก และหน่วยงานด้านสุขภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโครงการ         o จัดทํา Health Map ของแม่บ้านเพื่อช่วยติดตามสุขภาพและวางแผนการดูแลที่เหมาะสม บทสรุป          โครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพผ่านเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และองค์กรสุขภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและสามารถขยายผลไปยังชุมชนได้ในอนาคต การดําเนินโครงการนี้จะช่วยให้แม่บ้าน และบุคลากรในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาพยาบาลมีโอกาสพัฒนาทักษะที่สําคัญต่อการพยาบาลชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้านการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ การพัฒนาความร่วมมือข้ามหน่วยงาน และการยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน รูปภาพเพิ่มเติม

การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) Read More »

การเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง: ความท้าทายของการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ (Simulation-based learning: Challenges of nursing education)

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 การเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง : ความท้าทายของการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ (Simulation-based learning : Challenges of nursing education) ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.ณัฐพล ยุวนิช อ. นัสมัญญ์ เหลืองกิตติก้อง อ.ศศิพินทุ์ ศุภมนตรี บัวพล อ.นิธิมา คันธะชุมภู อ.ระวินันธ์ ธัชศิรินิรัชกุล และ อ.จรัสศรี อัธยาศัย คณะพยาบาลศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่าง ทฤษฎีและการปฏิบัติโดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาพยาบาลมีองค์ความรู้และทักษะทางการพยาบาลและนําไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้รับบริการ ครอบครัว และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและเกิดความปลอดภัย สภาการพยาบาลจึงได้กําหนดให้หลักสูตรพยาบาลศาสตร์จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีโดยมีชั่วโมงบรรยายและชั่วโมงฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการพยาบาล และภาคปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชน ตลอดจนให้ความสําคัญกับการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการพยาบาลมากขึ้น เพื่อเตรียมนักศึกษาให้มีความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จริง โดยเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถาบันการศึกษาการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. 2568 ได้กําหนดเพิ่มเติมให้สถาบันการศึกษามีห้องปฏิบัติการพยาบาลเสมือนจริง  ให้นักศึกษาฝึกฝนทักษะการปฏิบัติการพยาบาล การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจทางคลินิก โดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงทางการพยาบาลด้วยหุ่นจําลองผู้ป่วยเสมือนจริง ในแต่ละรายวิชาครอบคลุม 5 สาขาหลัก เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกําหนดและเป็นการเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาก่อนฝึกปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย           ในปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการพยาบาลศาสตร์มีแนวโน้มการใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) มาสร้างสถานการณ์จําลองในรูปแบบกรณีศึกษามากขึ้น ซึ่งการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงเป็นวิธีการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาพยาบาลได้ฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและควบคุมได้ ก่อนที่จะเข้าสู่การปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จําเป็นในการประกอบวิชาชีพพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ (Guerrero et al., 2024; Jiang et al., 2024; Nair et al., 2024) อีกทั้งยังมีประโยชน์ในแง่ของการเปิดโอกาสให้นักศึกษาพยาบาลได้ฝึกปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยที่พบเจอได้น้อยในสถานการณ์จริง เช่น ผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยที่มีโรคที่พบได้ยาก และ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โดยนักศึกษาสามารถฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จําลองได้หลายครั้งโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย (Diaz-Navarro et al., 2024) ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าการเรียนการสอนแบบการใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ (Saragih et al.,2024) ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ เพิ่มความมั่นใจให้นักศึกษาพยาบาล โดยการฝึกฝนทักษะการพยาบาลที่จําเป็นต่างๆ หลายครั้งจนเกิดความชํานาญและความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาล พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทางคลินิก สถานการณ์จําลองเสมือนจริงจะถูกออกแบบมาให้มีความหลากหลายและซับซ้อน ทําให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ การทํางานร่วมกันในสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทํางานเป็นทีมและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย การใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองในการฝึกปฏิบัติจริง เพิ่มความน่าสนใจในการเรียนรู้ สถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่ถูกออกแบบมาอย่างดี จะช่วยให้นักศึกษาเกิดความสนใจและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น           คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เห็นความสําคัญของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) และได้พัฒนามาโดยลําดับ ในปีการศึกษา 2566 คณะพยาบาลศาสตร์ได้ปรับการเรียนการสอนในบางสาขาวิชาจากวิธีบรรยายมาใช้กรณีศึกษาร่วมกับการอภิปรายในชั้นเรียนแบบกลุ่ม โดยได้รายงานเป็นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเรียนการสอน โดย ผศ. สมหญิง โควศวนนท์ และ คณะ เรื่อง “สอนย่างไรจึงจะทําให้นักศึกษานําความรู้สู่การปฏิบัติได้” ซึ่งได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนวิชา BNS 234 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น และสามารถให้การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะสุขภาพดีและมีปัญหาสุขภาพได้ ผลการใช้การเรียนการสอนรูปแบบกรณีศึกษาร่วมกับการอภิปรายในชั้นเรียนแบบกลุ่ม พบว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้มากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น มีความพร้อมในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติมากขึ้น และพึงพอใจกับการเรียนการสอนในรายวิชาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนรูปแบบนี้ยังมีข้อจํากัดในด้านการตัดสินใจทางคลินิก การปฏิบัติการพยาบาลเป็นทีม และการสื่อสาร 2 ทาง (Two-way communication) ระหว่างผู้ป่วยและนักศึกษาพยาบาล จึงมีข้อเสนอให้นํากรณีศึกษามาสร้างสถานการณ์จําลองเสมือนจริง โดยใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากกรณีศึกษาได้สมจริงมากขึ้น เช่น เห็นการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ การหายใจและการขยายของทรวงอก การหดตัวของรูม่านตาเมื่อมีปฏิกิริยาต่อแสง และอาการต่าง ๆ แบบ Real-time และสามารถพูดคุยกับหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูงได้ส่งเสริมให้มีการคิดวิเคราะห์ การสื่อสารเชิงวิชาชีพ การตัดสินใจในการให้การพยาบาลที่เหมาะสมอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดความมั่นใจในตนเองก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติ กับผู้ป่วยจริงในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชน (Jiang et al., 2024; Nair et al., 2024) ในปีการศึกษา 2567 คณะได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลองทางการพยาบาล และคณะผู้จัดทําได้ร่วมกับคณะกรรมการฯ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) ด้วยหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ในการเรียนการสอน 3 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และ 1 สาขาวิชาเสริม คือ การพยาบาลพื้นฐานและเสริมการพยาบาล โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้จากสถานการณ์จําลองที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงให้ได้มากที่สุดและหวังผลให้เกิดองค์ความรู้จากการลงมือปฏิบัติ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสารเชิงวิชาชีพ การตัดสินใจในการให้การพยาบาลที่เหมาะสมอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดความมั่นใจในตนเองก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชน ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้             การประยุกต์กระบวนการพยาบาล แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และการพยาบาลพื้นฐาน และแนวคิดรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการศึกษาทางการพยาบาล (Nursing Education Simulation Framework) ของ Jeffries (2005)           กระบวนการพยาบาล (Nursing process) กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินสภาพ การวินิจฉัยการพยาบาลหรือการกําหนดปัญหาทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผล กระบวนการพยาบาลช่วยให้พยาบาลมองปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการรายบุคคลแบบองค์รวมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์และเป็นการนําความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติบนพื้นฐานของการใช้เหตุผล การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาซึ่งส่งเสริมให้เกิดคุณภาพทางการพยาบาล (Toney-Butler &Thayer, 2023) Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework (Jeffries, 2005)เป็นแนวคิดจําลองการออกแบบและการประยุกต์ใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการเรียนการสอนทางการพยาบาล ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การอํานวยความสะดวกในการเรียนของผู้สอน โดยผู้สอนมีหน้าที่หลักในการสังเกต อํานวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สะท้อนคิด และสรุปผล การเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน การสอนในสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่มีการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้เรียน และผู้เรียน-ผู้สอน การออกแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง โดยคํานึงถึง การกําหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การสร้างสถานการณ์จําลองที่มีรายละเอียดและครอบคลุม การออกแบบสภาพแวดล้อม และการออกแบบเนื้อหาสถานการณ์จําลองเพื่อให้เหมาะสมกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการประยุกต์ใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการเรียนการสอนทางการพยาบาล ได้แก่ องค์ความรู้ (Knowledge) ทักษะปฏิบัติการพยาบาล (Nursing skill) ความพึงพอใจของผู้เรียน (Learner’s satisfaction) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) และความมั่นใจในตนเอง (Self-confidence) การจัดการเรียนการสอนมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนํา ขั้นปฐมนิเทศและชี้แจงรายละเอียด (Pre-briefing) 2) ขั้นดําเนินสถานการณ์ตามฉากที่กําหนด (Running scenario) และ 3) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Debriefing)           แนวคิดรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการศึกษาทางการพยาบาลของ Jeffries ช่วยให้นักศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และปฏิบัติการพยาบาลอย่างเต็มศักยภาพ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ต่อผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถประเมินผลและปรับปรุงความสามารถของตนเองเพื่อให้มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น (Jeffries, 2005)           จากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าว ทางคณะผู้จัดทําจึงพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ดําเนินการเรียนการสอนตามแนวคิดของ Jeffries 3 ขั้นตอน คือ สถานการณ์ตามฉากที่กําหนด และกําหนดให้นักศึกษาบูรณาการใช้กระบวนการพยาบาล ร่วมกับการสื่อสารเชิงวิชาชีพ การทํางานเป็นทีม ทักษะปฏิบัติการพยาบาลที่จําเป็น และหลักจริยธรรมทางการพยาบาล มาใช้ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยจําลองแบบองค์รวม ด้วยวิธีการนี้คณะผู้จัดทําเชื่อว่าเมื่อนักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และการพยาบาลพื้นฐาน นักศึกษาจะสามารถนําความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วยแบบองค์รวมได้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/) เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ. สมหญิง โควศวนนท์ และคณะ คณะพยาบาลศาสตร์ เรื่อง “สอนอย่างไรจึงจะทําให้นักศึกษานําความรู้สู่การปฏิบัติได้” อื่นๆ ได้แก่ 1) กระบวนการพยาบาลและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ใหญ่และ ผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และการพยาบาลพื้นฐานและ เสริมการพยาบาล และ 2) แนวคิดรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงในการศึกษาทางการพยาบาลของJeffries ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) อื่น ๆ (ระบุ) Simulation-based knowledge skills ของอาจารย์ วิธีการดำเนินการ วิธีการดําเนินการ แบ่งเป็น 4 ระยะระยะที่ 1: การสร้างกรณีศึกษา และการตั้งค่าหุ่นจําลองทางการพยาบาลตามกรณีศึกษา (Scenariocreating and high-fidelity manikin setting up)          ทีมผู้สอนสร้างกรณีศึกษา โดยคัดเลือกกรณีศึกษาจากผู้ป่วยจริงที่นักศึกษาได้ให้การดูแลในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล หรือชุมชน ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลของปีการศึกษา 2566 เมื่อคัดเลือกกรณีศึกษาที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาหรือบทเรียนที่จะใช้ในการเรียนการสอนทางห้องปฏิบัติการแล้ว ขั้นตอนถัดไปจะเป็นการดัดแปลงและปรับแก้ไขกรณีศึกษาเพื่อให้ค่าการแสดงผลลัพธ์ต่างๆ เข้ากันได้กับหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง ตัวอย่างของกรณีศึกษาและบทเรียนในห้องปฏิบัติการที่มีความสอดคล้องกันแสดงในตารางที่ 1           เมื่อได้กรณีศึกษาที่เหมาะสม ทางทีมผู้สอนจะนํามาเขียนสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (ตัวอย่างของสถานการณ์จําลองเสมือนจริงแสดงในภาคผนวก ก) โดยใช้แบบฟอร์มของ the International Nursing Association of Clinical Simulation and Learning (INACSL), Thailand Regional Interest Groups (RIGs) โดยมีหัวข้อย่อยในการเขียนสถานการณ์จําลองเสมือนจริง 10 หัวข้อ มีรายละเอียดดังนี้ ข้อมูลทั่วไป เป็นส่วนที่กําหนดข้อมูลทั่วไปของสถานการณ์จําลองเสมือนจริง เช่น ชื่อเรื่อง ภาควิชา ผู้เรียน ผู้พัฒนาบท คณะผู้วิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะ และวันที่พัฒนาสถานการณ์จําลอง เป้าหมายการเรียนรู้ (Goal) เป็นส่วนที่กําหนดเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ในการเรียนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objectives) เป็นส่วนที่กําหนดวัตถุประสงค์ย่อยในการเรียนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ซึ่งในแต่ละวัตถุประสงค์อาจสอดคล้องกับระยะของสถานการณ์จําลอง (หัวข้อ 8) ระยะเวลา ผู้สอนกําหนดระยะเวลาให้ชัดเจนในการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง โดยระยะเวลาจะแบ่งเป็น 3 ระยะตาม Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework (Jeffries, 2005) ได้แก่ ขั้นปฐมนิเทศและชี้แจงรายละเอียด (Pre-briefing) 2) ขั้นดําเนินสถานการณ์ตามฉากที่กําหนด (Running scenario) และ 3) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Debriefing) บทบาทในสถานการณ์จําลอง เป็นการกําหนดบทบาทของผู้เรียน (Learner’s role) และบทบาทผู้ช่วยในสถานการณ์จําลอง (Consideration role) รายละเอียดทั่วไปของสถานการณ์จําลอง ในหัวข้อนี้จะกําหนดรายละเอียดข้อมูลต่างๆของกรณีศึกษาที่คัดเลือกมาใช้ในสถานการณ์จําลองเสมือนจริง เช่น อาการสําคัญนําส่ง ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบันประวัติการเจ็บป่วยในอดีต และข้อมูลสําคัญอื่นที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์ที่ต้องตรียม เป็นการกําหนดอุปกรณ์ทางการแพทย์หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องในการใช้ในสถานการณ์จําลองเสมือนจริง เช่น ถังออกซิเจน ท่อช่วยหายใจ อุปกรณ์เช็ดตัวลดไข้ Labor set เป็นต้น รายละเอียดในแต่ละระยะในสถานการณ์จําลอง เป็นการกําหนดระยะต่างๆ ของสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ในระยะนี้จะมีการเขียนรายละเอียดของการแสดงผลลัพธ์ต่างๆ ในหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อย่อย 5 หัวข้อย่อย ได้แก่ 1) ระยะเวลาของสถานการณ์ 2) สภาวะผู้ป่วย (สภาพที่นักศึกษามองเห็นและสังเกตได้และจะนําไปปฏิบัติ 3) การปฏิบัติของผู้เรียน 4) บันทึกของ Facilitator 5) ระยะเวลาของการปฏิบัติ (นาที) ประเด็นการอภิปรายภายหลังสถานการณ์จําลอง (Debriefing) เป็นการกําหนดประเด็นในการอภิปราย และให้นักศึกษาสะท้อนคิดภายหลังเสร็จสิ้นสถานการณ์จําลองเสมือนจริง โดยใช้หลักการ GAS model [G = Gathering information, A = Analyze, S = Summarize] References และแหล่งอ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2: การทดสอบความน่าเชื่อถือของสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Validity testing)           เมื่อสร้างสถานการณ์จําลองเสมือนจริงและตั้งค่าแสดงผลลัพธ์ต่างๆ ในหุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูงแล้ว ผู้สอนจัดเตรียมอุปกรณ์และจัดสภาพแวดล้อมให้เสมือนหอผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด หลังจากนั้นจะนําสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่สร้างขึ้นไปทดสอบ Alpha test และ Beta test ตามลําดับโดยมีรายละเอียดดังนี้ Alpha test: นําสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่สร้างขึ้นไปทดสอบกับผู้เรียน ซึ่งเป็นคณาจารย์ต่าง สาขาวิชา เพื่อทดสอบการ Run scenario ของสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้น และหลังสิ้นสุดสถานการณ์ จะอภิปรายร่วมกันกับผู้เรียนเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของสถานการณ์ ความยากง่าย และการนําไปใช้ หากมีข้อเสนอแนะหรือปรับปรุงแก้ไข ทางผู้สอนจะพิจารณาปรับแก้ตามข้อเสนอแนะตามความเหมาะสม Beta test: เมื่อปรับแก้สถานการณ์จําลองจากขั้น Alpha test แล้ว ผู้สอนจะนําไปทดสอบ Beta test โดยนําสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่ปรับปรุงไปทดสอบกับผู้เรียน ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มที่จะเรียนในห้องปฏิบัติการด้วยสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้น และหลังสิ้นสุดสถานการณ์จะอภิปรายร่วมกันกับผู้เรียนเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของสถานการณ์ ความยากง่าย และการนําไปใช้ เมื่อมีข้อเสนอแนะ หรือปรับปรุงแก้ไข ทางผู้สอนจะพิจารณาปรับแก้ตามข้อเสนอแนะตามความเหมาะสม หลังจากนั้นจะได้สถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่พร้อมใช้ในการเรียนการสอน ระยะที่ 3: การเตรียมความพร้อมและจัดสิ่งแวดล้อมในการดําเนินสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Scene setting up phase)          ผู้สอนจัดสภาพแวดล้อมให้เสมือนหอผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และจัดอุปกรณ์จําเป็นต่างๆ (ที่กําหนดในหัวข้อที่ 7 ของสถานการณ์จําลอง) ในการเรียนการสอนรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ระยะที่ 4: การนําไปใช้ในการสอนในห้องปฏิบัติการ (Implementing phase)          ระยะนี้เป็นขั้นการนําสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการพยาบาลศาสตร์ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะตาม Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework (Jeffries, 2005) ได้แก่ ขั้นปฐมนิเทศและชี้แจงรายละเอียด (Pre-briefing) 2) ขั้นดําเนินสถานการณ์ตามฉากที่กําหนด (Running scenario) และ 3) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Debriefing) ในระหว่างการ Run scenario ผู้สอนที่ทําหน้าที่ Facilitator จะหลีกเลี่ยงการแทรกแซงการปฏิบัติของนักศึกษา และจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีจําเป็นเท่านั้น ยกตัวอย่างกรณีการตอบสนองบางอย่างที่หุ่นไม่สามารถตอบสนองได้ เช่น การยกแขน ขา เป็นต้น หลังจบการ Run scenario จะพูดคุย เปิดโอกาสให้สะท้อนคิด และอภิปรายกับผู้เรียนถึงประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติในสถานการณ์จําลองเสมือนจริง และตลอดการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ ผู้สอนต้องรักษาบรรยากาศความปลอดภัยทางจิตสังคม (Psychosocial Safety Climate) ตลอดเวลาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และมีการตัดสินใจทางคลินิกอย่างเต็มศักยภาพ (Diaz-Navarro et al., 2024) ระยะที่ 5: การประเมินผล (Evaluating phase)          หลังจากสิ้นสุดสถานการณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่ขั้นตอนการสรุปผลการเรียนรู้ (Debriefing) โดยผู้สอนจะใช้ คําถามในการกระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนคิดและมีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการ Run scenario โดยคําถามจะเป็นไปตามกรอบ GAS model นอกจากนี้จะมีการทดสอบความรู้โดยการสอบข้อเขียนในหัวข้อที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จําลองอีกครั้ง 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่าผลของการเรียนในห้องปฏิบัติการวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และการพยาบาลพื้นฐาน มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาก่อนที่ใช้กรณีศึกษาหรือการเรียนการสอนแบบฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาล (Nursing skill training) ในห้องปฏิบัติการพยาบาลตามรูปแบบเดิม ดังตารางที่ 2 ในรายวิชา BNS 342 การผดุงครรภ์ 2 หลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอนและเว้นระยะเวลาการเรียนการสอนเป็นระยะเวลา 4 เดือน (เนื่องจากนักศึกษาขึ้นฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ) เมื่อนำผลการสอบมาวิเคราะห์รายบทพบว่า มีร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านในหัวข้อ การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เพิ่มมากขึ้นจากเดิม 32.53% เป็น 62.50% 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           การประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) พบว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้มากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น มีความพร้อมในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติมากขึ้น และพึงพอใจกับการเรียนการสอนในรายวิชาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการเรียนในรูปแบบเดิมที่ไม่มีการใช้สถานการณ์จําลองเสมือนจริง ดังข้อมูลในตารางที่ 3 ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) อยากให้มีสถานการณ์หลายๆ สถานการณ์ค่ะ จะได้เรียนรู้ได้เพิ่มขึ้น ถ้าเป็นไปได้ อยากมีเวลาในการทําสถานการณ์ซ้ําเพื่อดูว่าจะทําได้ดีขึ้นไหม อภิปรายผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation- based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin)           ผลจากการเรียนการสอนด้วยการใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation- based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ชี้ให้เห็นว่านักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น โดยค่าคะแนนเฉลี่ยของการเรียนในห้องปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาก่อนที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม การเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติบนพื้นฐานขององค์ความรู้และมีการสะท้อนคิดเพื่อสรุปสาระสําคัญหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติผ่านการ Debriefing ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสะท้อนคิดถึงเหตุการณ์ในสถานการณ์ รวมถึงเหตุผลในการตัดสินใจในการปฏิบัติ ความรู้สึกขณะปฏิบัติ และมีภาพจดจําจากสถานการณ์ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ เกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง ทําให้เกิดเป็นความรู้ที่คงทนมากกว่าการฟังการบรรยาย การดูการสาธิต และการสาธิตย้อนกลับ           จากการสะท้อนคิดของนักศึกษาพบว่านักศึกษาเกิดความสนุกในการเรียน ไม่เครียดหรือกดดัน บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่นและรู้สึกปลอดภัย ทั้งนี้สามารถอธิบายประเด็นนี้ได้ว่ารูปแบบของการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ผู้สอนต้องรักษาบรรยากาศความปลอดภัยทางจิตสังคม(Psychosocial Safety Climate) ตลอดเวลาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และมีการตัดสินใจทางคลินิกอย่างเต็มศักยภาพ (Diaz-Navarro et al., 2024) และอาจารย์ที่สอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงได้ รักษากฏระเบียบข้อนี้อย่างเคร่งครัดและปฏิบัติอย่างสม่ําเสมอจึงทําให้บรรยากาศน่าเรียนและนักศึกษาเกิดความสนุกในการเรียน และอาจส่งผลต่อความพึงพอใจต่อนักศึกษาในการเรียนด้วยวิธีนี้ (Saragih et al., 2024) จากการสํารวจหลังการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงพบว่านักศึกษาเกิดความพึงพอใจต่อรายวิชามากขึ้น โดยผลจากการบูรณาการวิธีการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงต่อความพึงพอใจของผู้เรียนสอดคล้องกับการศึกษาของ Gaspar และ Banayat (2024) โดยสนับสนุนว่าการใช้ High-fidelity manikin ในการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงส่งผลให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับสูงและมีทัศนคติเชิงบอกต่อการเรียนการสอนในสาขาพยาบาลศาสตร์ นอกจากนี้นักศึกษายังสะท้อนคิดให้เห็นว่าการเรียนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงทําให้มีทักษะการสื่อสารเชิงวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ และทักษะการตัดสินใจทางคลินิก ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการวิจัยที่ผ่านมาหลายเรื่อง (Gaspar & Banayat, 2024; Jiang et al., 2024; Nair et al.,2024; Diaz-Navarro et al., 2024; Saragih et al., 2024) นอกจากนี้ยังส่งผลให้นักศึกษามีความมั่นใจขึ้นก่อนที่จะไปฝึกปฏิบัติจริงที่สถานบริการสุขภาพ ในโรงพยาบาล หรือในชุมชน ซึ่งอธิบายได้ว่าการสอนในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ โดยสามารถลองผิดลองถูกได้และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเมื่อเกิดข้อผิดพลาด (Saragih et al., 2024) และการได้ปฏิบัติซ้ํา จากการแก้ไขข้อผิดพลาดเดิมทําให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น อาจารย์ผู้สอนด้วยวิธีการใช้กรณีศึกษาในรูปแบบสถานการณ์จําลองเสมือนจริง (Simulation-based scenario) โดยประยุกต์ใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง (High-fidelity manikin) ในครั้งนี้ให้ข้อคิดเห็นผ่านการสะท้อนคิดว่าการสอนด้วยวิธีนี้มีความท้าทาย เป็นวิธีใหม่ที่ค่อนข้างดีและเห็นผลลัพธ์ชัดเจนจากคะแนนที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษา นอกจากการเตรียมสอนโดยวิธีการปกติแล้วอาจารย์ยังมีหน้าที่ในการจัดสิ่งแวดล้อมและตั้งค่าแสดงผลลัพธ์ต่างๆใน High-fidelity manikin ทั้งนี้ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น (Verkuyl et al., 2024) เป็นที่น่าสนใจว่าอาจารย์ที่ใช้วิธีการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงกล่าวถึงการควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ใจเย็น ไม่ดุว่านักศึกษาในขณะที่กําลังปฏิบัติในสถานการณ์จําลอง ทั้งนี้เป็นข้อกําหนดของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงที่ต้องรักษาบรรยากาศ           ความปลอดภัยทางจิตสังคม (Psychosocial Safety Climate) เพื่อให้นักศึกษากล้าคิดกล้าแสดงความคิดเห็น ลงมือปฏิบัติอย่างตั้งใจ และเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างอาจารย์และนักศึกษา (Ford et al., 2024) นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และมีการตัดสินใจทางคลินิกอย่างเต็มศักยภาพ (Diaz-Navarro et al., 2024)  บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่การเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงโดยใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง เป็นรูปแบบที่ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ ดังนี้ นักศึกษาเกิดการพัฒนาองค์ความรู้จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในสถานการณ์จําลอง ความรู้ที่เกิดขึ้น เป็นความรู้ที่คงทนมากกว่าการฟังจากการบรรยาย นักศึกษาเกิดการบูรณาการใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับความรู้เรื่องการสื่อสารเชิงวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์ การเคารพสิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทักษะจําเป็นทางการพยาบาล การทํางานเป็นทีมและการตัดสินใจทางคลินิก นักศึกษาเกิดความมั่นใจก่อนไปฝึกปฏิบัติการพยาบาลจริงในสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชน นักศึกษามีความสุขขณะเรียน บรรยากาศในการเรียนไม่กดดัน มีความปลอดภัยทางจิตสังคม และส่งผลต่อความพึงพอในในระดับดีมากของรายวิชาที่บูรณาการการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง อาจารย์ได้เรียนรู้วิธีการสอนที่แตกต่างหลากหลาย เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการจัดเตรียมสถานการณ์จําลองให้มีความเสมือนจริงมากที่สุด อาจารย์มีการจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น เป็นไปในเชิงบวก และเรียนรู้การรักษาความปลอดภัยทางจิตสังคมซึ่งเป็นประโยชน์ในการนําไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนอื่นๆ โดยเฉพาะวิชาปฏิบัติการพยาบาล ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice สร้างกรณีศึกษาเพื่อใช้ในสถานการณ์จําลองให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมสาระสําคัญของการพยาบาล 5 สาขาหลัก และสาขาพื้นฐานและเสริมการพยาบาล โดยมีทั้งสถานการณ์ที่ซับซ้อนและไม่ซับซ้อนตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาการเรียนรู้ได้หลากหลายมิติ พัฒนาสถานการณ์จําลองแบบ Hybridge โดยอาจใช้ Standardized patient ร่วมกับการใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูง เพื่อให้สถานการณ์จําลองมีความเสมือนจริงมากขึ้นและน่าสนใจ จากการสังเกตพบว่านักศึกษาหลายคนมีความโดดเด่นในการคิดและตัดสินใจในการปฏิบัติการในสถานการณ์ ขณะเดียวกันก็สะท้อนว่า นักศึกษาบางคนไม่สามารถคิดและตัดสินใจได้ รวมทั้งพร่องทักษะการปฏิบัติดังนั้นก่อนจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ควรจัดให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาลที่จําเป็นมาก่อน และมีกระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเข้าเรียนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง เช่น ดู VDO การปฏิบัติทักษะต่าง ๆ ที่นักศึกษาต้องปฏิบัติในแต่ละฐานสถานการณ์จําลองเสมือนจริง และจัดเตรียมเอกสารความรู้ที่เกี่ยวข้อง จัดทําคู่มือปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงเพื่อให้ผู้สอนปฏิบัติได้ถูกต้องตาม Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาจารย์ผู้สอนในเรื่องการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง ทั้งในรายใหม่ที่ยังไม่เคยอบรมและ re-skill ในอาจารย์ที่ได้รับการอบรมมาแล้ว เพื่อให้เกิดทักษะการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริง และมีทักษะในการใช้หุ่นจําลองทางการพยาบาลขั้นสูงมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงมากขึ้น โดยอาจให้จับคู่กับอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนด้วยวิธีนี้ และให้ช่วยรับบทในสถานการณ์จําลองที่ไม่ซับซ้อน เช่น ญาติผู้ป่วย พยาบาลหัวหน้าเวร และแพทย์เวร เพื่อให้มีส่วนร่วมและเห็นกระบวนการในการเรียนการสอนตามหลักแนวคิดของ Jeffries’s Nursing Education Simulation Framework ซึ่งจะทําให้อาจารย์มีประสบการณ์และสามารถใช้วิธีการสอนนี้ได้ด้วยตนเองในครั้งถัดไป ควรมีการติดตามผลลัพธ์ของการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จําลองเสมือนจริงต่อความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยการวิจัยต่อไป ReferencesDiaz-Navarro, C.,

การเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง: ความท้าทายของการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ (Simulation-based learning: Challenges of nursing education) Read More »

เรียนรู้ผ่านกระบวน Active Learning สร้างชื่อเสียงไกลสู่ระดับชาติและนานาชาติ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, KR 5.2.1 เรียนรู้ผ่านกระบวน Active Learning สร้างชื่อเสียงไกลสู่ระดับชาติและนานาชาติ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ ผศ.ดร.วศิณ ชูประยูร ผศ.ดร.ภาคภูมิ ชัยศิริประเสริฐ ผศ.ดร.ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี ผศ.วิไลลักษณ์ ตรีพืช ผศ.ดร.กานต์ ยงศิริวิทย์ ดร. ปภังกร พิชญะธนกร อ.สงบ ศศิพงศ์พรรณ และนางสาวสุรัตนา ขันธสอน วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ มหาวิทยาลัยรังสิตมุงเนนการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวทาง โดยใหนักศึกษาเปนศูนยกลางของการเรียนรู และเนนการพัฒนาทักษะผานกิจกรรมและการปฏิบัติจริง แทนการเรียนรูเชิงทฤษฎีเพียงอยางเดียว ความสําคัญของโครงการจึงการเปลี่ยนผานการเรียนรูจาก Lecture-based Learning ไปสู Active Learning ผานกิจกรรมที่สงเสริมการใชกระบวนการคิดเชิงวิจัย เชน Problem-based Learning, Project-based Learning และ Service Learning จะชวยเพิ่มศักยภาพของนักศึกษาใหสามารถแขงขันในระดับชาติและนานาชาติไดโดยมีประเด็นปญหา คือ ปจจุบันนักศึกษาสวนใหญขาดแรงบันดาลใจ ขาดประสบการณในการประยุกตใชความรูในเชิงปฏิบัติและการสรางผลงานที่สามารถแขงขันไดในระดับชาติและนานาชาติจึงไดเกิดขั้นตอนกระบวนการใน รูปที่ 1 กระบวนการวางแผนการพัฒนานักศึกษา ชั้นปที่ 1, 2 และ 3 ตั้งแตนักศึกษาเรียนเขามาศึกษาในชั้นปที่ 1 อาจารยจะปูความรูพื้นฐานพรอมไปกับการสรางแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพผานกิจกรรมในหองเรียน เริ่มใหสรางสรรคแนวคิดโครงการนวัตกรรมดวยกระบวนการวิจัยเบื้องตน ชั้นปที่ 2 พัฒนาโครงการนวัตกรรมผานกระบวนการวิจัยที่ตองอานเอกสารวิชาการคนหาแนวคิดเชิงวิชาการพัฒนาโครงการสงเขารวมการแขงขันระดับชาติ และ/หรือ ใหนําเสนอโครงการนวัตกรรมตอนองป 1ในงานปฐมนิเทศนักศึกษารุนตอไป และนักเรียนมัธยมในวัน RSU Open House ชั้นปที่3 เริ่มเขาสูกระบวนการวิจัยในการอาน Research Reference เพื่อนํามาคิด วิเคราะห สรุปประเด็นสรางสรรคงานวิจัยของตนเองเพื่อตีพิมพในงานประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติรวมกับอาจารยที่ปรึกษา ชวยสรางชื่อเสียงใหเปนที่รูจักและเปนที่ยอมรับ รูปที่ 1 กระบวนการวางแผนการสอนนักศึกษา ชั้นปที่ 1, 2 และ 3 ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การการเรียนรูเชิงปฏิบัติ Active Learning ผาน Problem-based Learning, Project-basedLearning, Service Learning ภายใตแนวคิดที่เนนผลลัพธของการเรียนรู การเรียนรูเชิงปฏิบัติที่นําไปสูการพัฒนาทักษะการสรางสรรคนวัตกรรมและงานวิจัย การเสริมสรางแรงบันดาลใจ ความสามารถในการแขงขันของนักศึกษาในเวทีระดับชาติและนานาชาติ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรูที่ฝงลึกอยูในตัวคน (Tacit Knowledge) เจาของความรู/สังกัด อาจารย ผูชวยอาจารย และเจาหนาที่ ประจําสาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัล วิธีการดำเนินการ วิธีการดําเนินการ รูปที่ 2 แสดงวิธีการดําเนินงานกับนักศึกษา ชั้นปที่ 1, 2 และ 3ที่มา: สรางภาพดวย Chat GPT ปที่ 1: Foundation and Inspirationการปูพื้นฐานและสรางแรงบันดาลใจผานการเรียนรูแบบ Project-based Learning & Active Learning• การใหความรูพื้นฐานผานวิชาพื้นฐานในชั้นปที่ 1 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร, ระบบสารสนเทศเบื้องตน, กระบวนการธุรกิจสําหรับระบบสารสนเทศ, วิทยาศาสตรและธุรกิจนวัตกรรมรายใหม, การคิดและการเขียนเชิงสรางสรรค, การออกแบบและพัฒนาเว็บ, คณิตศาสตรพื้นฐานสําหรับการลงทุน, การออกแบบอินโฟกราฟก, พื้นฐานการออกแบบกราฟก• นักศึกษาไดรับมอบหมายใหนําเสนอแนวคิดโครงงานขนาดเล็กที่เกี่ยวของกับสาขาวิชาของตนเอง เชน แนวคิดการพัฒนาแอปพลิเคชันตนแบบ หรือการออกแบบแนวคิดผลิตภัณฑใหม• แนวคิดโครงการมาจาการใช Problem-based Learning (PBL) เพื่อใหเกิดการคิดวิเคราะหและ การแกปญหาอยางเปนระบบ• เชิญผูเชี่ยวชาญหรือศิษยเกามาเปนวิทยากรเพื่อสรางแรงบันดาลใจและแชรประสบการณในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับสาขา• พัฒนาผลงานผานกระบวนการ Design Thinking ในการทํางานเปนทีมผานกิจกรรม Collaborative Learning และ Workshop ที่เนนการปฏิบัติจริงภายในชั้นเรียน ปที่ 2: Apply to Innovation Project and Competitionสงเสริมตอยอดโครงการในหองเรียนสูการพัฒนาโครงงานนวัตกรรมและสงเขารวมการแขงขันในระดับชาติ• การใหความรูผานวิชาชีพในชั้นปที่ 2 การใหความรูเชิงลึกและฝกปฏิบัติแบบครอบคลุมทุกดาน เชน การวิเคราะหและการออกแบบระบบสารสนเทศ การสื่อสารขอมูลและเครือขายคอมพิวเตอรระบบฐานขอมูล การพัฒนาโปรแกรมประยุกตบนเว็บ การจัดการระบบฐานขอมูลสําหรับองคกร การพัฒนาโปรแกรมประยุกตสําหรับใชกับอุปกรณเคลื่อนที่ ความมั่นคงระบบสารสนเทศ อินเทอรเน็ตของสรรพสิ่ง การบริหารโครงการระบบสารสนเทศ• นักศึกษาไดรับคําแนะนําในการพัฒนาโครงงานในรายวิชาที่เรียนผานกระบวนการ Design Thinking ที่เพิ่มกระบวนการวิจัยเบื้องตนมาดําเนินงาน อานทบทวนงานอางอิงทางวิชาการปรับปรุงและทดลองโครงการ• คณาจารยชวยใหคําปรึกษาในการพัฒนาโครงงานดวยความรูชั้นปที่ 2 และเตรียมแผนงาน การพัฒนาโมเดลธุรกิจ ฝกซอมการนําเสนอผลงาน มีการจัด Mock Pitching Sessions เพื่อใหฝกนําเสนอและรับคําติชมกอนลงสนามจริงในการแขงขัน ปที่ 3: Senior Project & National or International Researchสรางสรรคงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ พรอมนําเสนอผลงานวิชาการ• การใชกระบวนการวิจัย ผานวิชาในชั้นปที่ 3 เชน วิทยาการวิจัยดานนวัตกรรมดิจิทัล, ปริญญานิพนธ, วิชาชีพเลือก เพื่อเตรียมความพรอมในการทําวิจัย• นักศึกษาระดมไอเดียและเลือกหัวขอวิจัยที่มีศักยภาพ โดยไดรับคําแนะนําจากอาจารยที่ปรึกษา• นักศึกษาทํางานเปนรายบุคคล และหรือเปนกลุมวิจัย โดยมีการนําเสนอความคืบหนากับอาจารย์ที่ปรึกษาเปนระยะ• งานที่เขาเกณฑสงผลงานวิจัยเขารวมการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการตีพิมพในวารสารทางวิชาการ• นําเสนอใหเสนอเปนรายงานวิทยานิพนธ สําหรับงานที่ไมไดสงผลงานวิจัยเขารวมการประชุมวิชาการ 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดําเนินงานนักศึกษา ชั้นปีที่ 1ปีที่ 1: Foundation and Inspiration บรรยากาศต้อนรับน้องใหม่ ใครเป็นใครไปรู้จักกันให้มากขึ้นในช่วงพบปะทีมอาจารย์ รุ่นพี่ พร้อมกิจกรรมต่อเนื่องที่เตรียมไว้ให้น้อง ๆ โดยเฉพาะเลยค่ะ กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ โดยรุ่นพี่ศิษย์เก่าของเรา ขอขอบคุณ พี่ต้า นายจิรายุส ปรีชาเดช มาให้คําแนะนําต่างๆ กับ น้องๆ พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีประโยชน์มากมาย นักศึกษาลงพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชน ในโครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น สอนการทําสื่อดิจิทัล และความรู้ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี การไลฟ์ สด ขายของออนไลน์ พร้อมมอบอุปกรณ์ไลฟ์ สด ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมณีจินดา By ครูนก จ.ปทุมธานี นักศึกษาสาขานวัตกรรมดิจิทัล ได้รับทุนการสนับสนุนจากทางธนาคารออมสิน ในกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup GSB Micropreneur Academy ประจําปี 2567 ระดับมหาวิทยาลัย รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีม Mica ได้รับทุนสนับสนุน จํานวน 3,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีม Jajitech ได้รับทุนสนับสนุน จํานวน 2,000 บาท สรางแรงบันดาลใจนํานักศึกษาดูงานที่ Shibaura Institute of Technology ประเทศญี่ปุน ผลการดําเนินงานนักศึกษา ชั้นปีที่ 2ปีที่ 2: Apply to Innovation Project and Competition นําเสนอผลงาน โครงงาน นวัตกรรม ของชั้นปีที่ 2 ในงาน DIT Innovation & JOB Fairs ผู้เข้าร่วมกิจกรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง นักเรียนมัธยมศึกษา นางสาว จูเลีย ปิตุนกิน นางสาว สุเมธินี สุทธาเวศ นางสาว วัชราภรณ์ เทียนกระจ่างร่วมเป็นสมาชิกทีมรังสิตสามัคคี พร้อมด้วยคณะเทคโนโลยีอาหาร จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารจากพืชปลอดภัย ได้รับรางวัลชนะเลิศ Best of the best ระดับประเทศ ประเภท คิดดีในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจําปี 2566 นักศึกษาสาขานวัตกรรมดิจิทัล ได้พัฒนานวัตกรรม Wewy (เครื่องรดน้ําต้นไม้อัตโนมัติ) ที่ผ่านการอนุมัติทุนสนับสนุนจากทาง ธนาคารออมสิน ในโครงการ Smart Startup Company by GSB Startup เป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 200,000 บาท ผลการดําเนินงานนักศึกษา ชั้นปีที่ 3ปีที่ 3: Senior Project & National or International Research นักศึกษาปริญญาตรีส่งผลงานตีพิมพ์งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 2024 8thInternational Conference on Information Technology (InCIT), Chonburi, Thailand, 2024, doi: 10.1109/InCIT63192.2024 นักศึกษาปริญญาตรีสงผลงานตีพิมพงานประชุมวิชาการระดับชาติ2024 16th National Conference on Information Technology (NCIT), Chonburi, Thailand, 2024, Shibaura Institute of Technology Student Exchange & Research Exchange in Japan ภายหลังสําเร็จการศึกษา ได้ทํางานงานและ/หรือได้รับทุนการศึกษาต่อ ทํางานเป็นผู้ช่วยนักวิจัยและได้รับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท ไดทํางานในบริษัทที่มีชื่อเสียง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK • นักศึกษาทั้งชั้นปี แบ่งเป็นกลุ่มจํานวน 6 กลุ่ม มีความรู้และประสบการณ์ การส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน 100 % ได้รับรางวัล 2 กลุ่ม• พัฒนาระบบที่ปรึกษาทางวิชาการและเครือข่ายความร่วมมือในองค์กร รวมถึงระดับชาติและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมคุณภาพงานวิจัย เช่น Shibaura Institute of Technology, มูลนิธิเอิร์ทซีฟาวน์เดชั่น, บริษัทดูดีพ จํากัด, PPT Digital• การนําไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง พบว่าการใช้Active Learning ช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนางานของนักศึกษาได้อย่างมีนัยสําคัญ ตามผลงานในหัวข้อ 2 ผลการดําเนินการ การนําไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ปัจจัยสําคัญที่ทําให้การดําเนินการครั้งนี้ประสบความสําเร็จ การใช้แนวทาง Outcome-Based Education (OBE) ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา การสนับสนุนจากคณาจารย์และผู้บริหารที่ช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง การบูรณาการการเรียนรู้เชิงปฏิบัติเข้ากับโครงงานและการวิจัยเพื่อเสริมสร้างทักษะและความสามารถของนักศึกษา การมีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทั้งระดับชาติและนานาชาติที่ช่วยเปิดโอกาสให้นักศึกษามีเวทีแสดงผลงาน ระบบที่ปรึกษาทางวิชาการและการให้คําแนะนําเชิงลึกที่ช่วยพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของนักศึกษา ข้อเสนอแนะในการดําเนินการในอนาคต ควรเพิ่มการฝึกอบรมการวิจัยและการเขียนเชิงวิชาการ ให้แก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้มีเวทีเผยแพร่ผลงานมากขึ้น จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุน การพัฒนานวัตกรรมและการตีพิมพ์งานวิจัย จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นศูนย์กลางการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ ใช้แนวทางการประเมินผลแบบต่อเนื่อง (Continuous Assessment) เพื่อวัดผลลัพธ์ของการดําเนินงาน และปรับปรุงกลยุทธ์ตามผลลัพธ์ที่ได้รับ พัฒนาระบบศิษย์เก่า เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ทํางานให้กับศิษย์ปัจจุบัน ส่งเสริมให้มีMentorship Program ระหว่าง อาจารย์ ศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อพัฒนาแนวทางการทํางานวิจัยที่มีคุณภาพ

เรียนรู้ผ่านกระบวน Active Learning สร้างชื่อเสียงไกลสู่ระดับชาติและนานาชาติ Read More »

แนวทางการประเมินผู้เรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา2567 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.3, KR 1.4.3 แนวทางการประเมินผู้เรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ผู้จัดทำโครงการ​ อ.วัฒนี รัมมะพ้อ ผศ.ดร.นิ่มนวล วิเศษสรรพ์ และอ.ปรมินทร์ งามระเบียบ คณะบัญชี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           หลักสูตรบัญชีบัณฑิตที่เปดดําเนินการสอนในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ตองไดรับการรับรอง ปริญญาตรีทางการบัญชีจากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภจึงจะมีผลใหผูสําเร็จการศึกษาสามารถเขาสูกระบวนการทางวิชาชีพไดตามกฎหมาย การรับรองปริญญาตรีทางการบัญชีจึงอยูในอํานาจและหนาที่ของสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ในการพิจารณาใหการรับรองจะใชหลักการความสอดคลองของหลักสูตรกับมาตรฐานการศึกษาระหวางประเทศ สําหรับผูประกอบวิชาชีพบัญชี ที่มุงเนนผลลัพธ           การเรียนรูประกอบดวย ความรูความสามารถเชิงเทคนิค ทักษะทางวิชาชีพ และคานิยม จริยธรรม และทัศนคติทางวิชาชีพเมื่อนํามาประกอบเกณฑมาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี เกณฑมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี และระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งเปนกฎหมายที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ สถาบันอุดมศึกษาจะตองดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพผูเรียนและผูสําเร็จการศึกษา ใหมีผลลัพธการเรียนรูที่หลักสูตรกําหนด การดําเนินการหลักสูตรจึงครอบคลุมภารกิจและเปาหมายคุณภาพ ในดาน การกํากับมาตรฐาน หลักสูตร นักศึกษา อาจารยผูรับผิดชอบหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการสิ่งสนับสนุน การเรียนรูรวมทั้งสิ่งอํานวยความสะดวก ซึ่งทั้ง 6 ดานนี้ เปนองคประกอบปจจัยความสําเร็จของการบริหาร หลักสูตรอยางมีคุณภาพ ที่เปนหลักประกันคุณภาพการศึกษาของบัณฑิตใหกับผูมีสวนไดสวนเสียกับหลักสูตร คุณภาพของผูเรียน และบัณฑิต เปนองคประกอบสําคัญที่มีการกําหนดไวในประเด็นยุทธศาสตรการ พัฒนาคณะบัญชี ประเด็นที่ 1 คือ การสรางความเปนเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิตของคณะบัญชี โดยมีวัตถุประสงคความเปนเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต 4 ขอ ดังนี้ หลักสูตรทันสมัยตอบสนองความตองการจําเปนของผูมีสวนเกี่ยวของ การจัดการเรียนสอนตองมุงใหเกิดผลสัมฤทธิ์ผลลัพธการเรียนรูที่หลักสูตรกําหนด คุณภาพของนักศึกษาและบัณฑิตตองเปนที่ยอมรับของตลาด และ คุณภาพของอาจารยที่นอกเหนือจากการมีคุณสมบัติตามเกณฑมาตรฐานหลักสูตร ยังมีความสามารถในการสอนดวยเทคนิคการสอนและการวัดและประเมินผลสัมฤทธการเรียนรูที่เหมาะสม มุงเนนที่ผลลัพธการเรียนรูของผูเรียน           ในทางปฏิบัติ คณะกรรมการหลักสูตรจะกําหนดเปาหมายตัวชี้วัดความสําเร็จในการจัดการเรียนการสอน ไวในแผนปฏิบัติการประจําปสอดคลองกับเปาหมายแผนยุทธศาสตรการพัฒนาคณะบัญชี ดังนั้นเพื่อใหการดําเนินงานหลักสูตรประสบความสําเร็จ และบรรลุเปาหมายดังกลาว คณะกรรมการหลักสูตรจะมีการออกแบบการดําเนินงานที่ขับเคลื่อนหลักสูตรไปสูเปาหมาย ทั้งในรูปแบบของกิจกรรมและโครงการ ซึ่งในที่นี้จะมุงเนนเฉพาะกิจกรรมหรือโครงการ ที่มุงสูการบรรลุเปาหมายตัวชี้วัดผลลัพธ KR 1.4.3 อาจารยไดรับการพัฒนาเทคนิคการสอนหรือการประเมินผลการเรียนรูของนักศึกษา และ KR 1.2.3 รอยละของผูเรียนในแตละรายวิชามีผลสัมฤทธิ์การเรียนรูไมต่ําวา ระดับคะแนน C ไมต่ํากวา รอยละ 80 ซึ่งมีกลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อน คือ อาจารยผูสอน หลักสูตรจึงตระหนักถึงความจําเปนที่ตองจัดความรูใหกับอาจารยผูสอนทุกคน ไดมีความเขาใจในหลักการวัดและประเมินผลลัพธการเรียนรู การวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน ควบคูกับการกําหนดผลลัพธการเรียนรูรายวิชา ซึ่งหลักสูตรไดเริ่มการพัฒนาอาจารยประจําหลักสูตรทุกคน ในดานนี้ตั้งแตปลายปการศึกษา 2565 จนถึงปจจุบัน และพบวาอาจารยประจําหลักสูตรทุกคน มีความเขาใจมากขึ้นและนําไปปฎิบัติไดดีขึ้นเปนลําดับ สงผลใหหลักสูตรบรรลุเปาหมายของ KR ดังกลาวทั้งสอง           จากการคัดเลือกผลงานเชิงประจักษการจัดการความรูของอาจารยประจําหลักสูตร ในปการศึกษา 2567 ทางคณะบัญชี จึงเห็นสมควรใหนําเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีในเรื่อง แนวทางการประเมินผูเรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู (RQF5) ของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค เพื่อแบงปนความรูที่เกิดจากกระบวนการทํางานเชิงคุณภาพของอาจารยประจําแบบ PACD ใน ดานการเรียนการสอน ประกอบดวยการกําหนดผลลัพธการเรียนรูรายวิชา การวางแผนการสอน กําหนดหัวขอสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลลัพธการเรียนรู ที่ผานมาตลอดระยะเวลา 3 ป ตั้งcตปการศึกษา 2565 – 2567 โดยเนนเฉพาะการวัดและประเมินผลลัพธการเรียนรู และการจัดทํารายงานผลการติดตามผลลัพธการเรียนรูของรายวิชา (RQF5) ที่ใชเปนตนแบบของคณะบัญชี เพื่อเสนอแนวทางการนําไปใชเปนเครื่องมือในการเตรียมความพรอมการบริหารทางวิชาการของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2568 เนื่องจากเปนหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิด Outcome Based Education ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  เทคนิคการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ เทคนิคการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้  ความรูแบบชัดแจง (Explicit Knowledge) ความรูจากคลังความรูของเว็บไซตระบบการจัดการความรู KM Rangsit University(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/)เรื่อง การบริหารจัดการ การศึกษาพยาบาลที่เปนเลิศ เจาของความรู/สังกัด ผศ.ดร.อําภาพร นามวงศพรหม และคณะ สังกัด คณะพยาบาลศาสตรเรื่อง การออกแบบการสอนแบบทลายกําแพงวิชาเจาของความรู/สังกัด อาจารยวัฒนี รัมมะพอ สังกัด คณะบัญชีเรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรูปแบบหองเรียนกลับทางเจาของความรู/สังกัด ดร.สัณหสิรี เมืองมาลย คณะเทคนิคการแพทยเรื่อง การสรางกระบวนการเรียนรูผานกิจกรรมจําลอง ในวิชา ผูประกอบการสํานักงานบัญชีเจาของความรู/สังกัด อาจารยวัฒนี รัมมะพอ และ อาจารยอัญชลี มณีทาโพธสังกัด คณะบัญชี อื่น ๆ : แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่มุงเนนผลลัพธการเรียนรูและเทคนิคการประเมินผูเรียน ความรูที่ฝงลึกอยูในตัวคน (Tacit Knowledge) เจาของความรู/สังกัด คณบดีคณะบัญชี, อาจารยวัฒนี รัมมะพอ มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการดำเนินการ คณะกรรมการหลักสูตร ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  โดย ปีการศึกษา 2566 เข้าสัมมนาวิชาการ หัวข้อ แนวคิดและหลักการ การจัดเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หลังจากที่มีประกาศเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ  พ.ศ.2565  จัดโดยคณะบัญชี ปีการศึกษา 2566  เข้าอบรมเชิงปฏิบัติ หัวข้อ การเขียนรายละเอียดหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ จัดโดยมหาวิทยาลัย  ปีการศึกษา 2566 เข้าสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ การบริหารหลักสูตรอย่างมีคุณภาพ จัดโดยคณะบัญชี ปีการศึกษา 2567 เข้าสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ การวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมรับการตรวจรับรองหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน จัดโดยคณะบัญชี ปีการศึกษา 2567 เข้าอบรม หลักสูตร การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (OBE) จัดโดยมหาวิทยาลัย คณบดีจัดประชุมกรรมการประจำคณะและอาจารย์ประจำคณะ โดยมีวาระเพื่อพิจารณา เรื่องแนวทางการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ของนักศึกษาทุกชั้นปี และจัดทำเป็นแนวปฏิบัติ เพิ่มเติมจากการทวนสอบ ต่อมาหลักสูตรได้นำสู่การปฏิบัติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565  และปรับปรุงวิธีการจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ รายชั้นปี คณบดีจัดประชุมคณะกรรมการประจำและอาจารย์ประจำคณะ โดยมีวาระเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา ให้เชื่อมโยงกับผลลัพธ์การเรียนรู้หลักสูตร ในแผนการจัดการเรียนรู้ RQF3 ในปีการศึกษา 2566 โดยคณบดี ได้ทำต้นแบบ RQF3 เป็นตัวอย่าง คณบดีจัดประชุมคณะกรรมการประจำและอาจารย์ประจำคณะ โดยมีวาระเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการรายงานผลการดำเนินการจัดการเรียนรู้ RQF5 ในปีการศึกษา 2566 โดยคณบดี ได้ทำต้นแบบ RQF5 เป็นตัวอย่าง อาจารย์ประจำ นำความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา อบรม และประชุมคณะกรรมการฯ มาใช้ในทางปฏิบัติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 โดยยกเว้น รายวิชาที่สอนโดยอาจารย์พิเศษ และรายวิชาที่สอนให้คณะวิชาอื่น 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินงาน                                                                                                               หลักสูตรได้มีการกำกับติดตามการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยวางแนวทางปฏิบัติดังนี้ อาจารย์ผู้สอน/ผู้รับผิดชอบรายวิชา (กรณีอาจารย์ผู้สอนเป็นอาจารย์พิเศษ) จะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการสอน และนำขึ้นระบบ TQF ของมหาวิทยาลัย เนื่องจากยังเป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต พ.ศ. 2563 จึงยังคงใช้ มคอ. 5 จนถึงปีการศึกษา 66 คณบดีได้นำเสนอให้มีการเพิ่มเติมผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาลงในแผนการดำเนินการสอน (มคอ.3) เพิ่มเติมจากมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามที่หลักสูตรกำหนด เพื่อให้การวัดและประเมินผลมีความชัดเจนมากขึ้นว่า “ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังหลังจากเรียนรายวิชานั้นแล้วนักศึกษาจะมีผลลัพธ์การเรียนรู้ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ทักษะความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งในปีการศึกษา 2566 ยังไม่บังคับแต่เป็นการขอความร่วมมือ หัวหน้าหลักสูตร จะเป็นผู้ตรวจทานความถูกต้องของการแผนการจัดการเรียนรู้ (มคอ. 3) ให้เป็นไปตามหลักสูตรกำหนด โดยเฉพาะวัตถุประสงค์รายวิชา คำอธิบายรายวิชา หัวข้อสอนที่จะต้องมีครบตามคำอธิบายรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา กลยุทธ์การสอน กลยุทธ์การวัดและประเมินผล และผลลัพธ์ผู้เรียน หากพบข้อผิดพลาด หรือมีข้อสังเกตใดๆ จะแจ้งให้อาจารย์ผู้สอน/ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการแก้ไข ก่อนเปิดภาคเรียน คณบดี ได้ทำต้นแบบของแผนการดำเนินการสอน ที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างผลลัพธ์เรียนรู้รายวิชา กับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร และผลลัพธ์ผู้เรียน นอกจากนี้การกำหนดกลยุทธ์การสอน และกลยุทธ์การวัดและประเมินผลผู้เรียนในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังนั้น จะต้องมีเหมาะสมสอดคล้องกัน ดังตัวอย่าง กระบวนวิชา ACC 421 การบัญชีขั้นสูง ภาคการศึกษาที่ 2/2566 ต่อไป 4. เมื่อมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ อย่างชัดเจนแล้ว อาจารย์ผู้สอนจะดำเนินการตามแผน พร้อมทั้งมีการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายใน1 วิชา เช่น การสังเกตตามสภาพจริงที่ปรากฏในชั้นเรียน  การใช้แบบทดสอบความรู้  การใช้เกณฑ์การประเมินแบบ Rubrics Score  เป็นต้น ทั้งนี้วิธีการประเมินที่ใช้จะต้องแจ้งให้นักศึกษาเข้าใจและรู้เป้าหมายในการพัฒนาตนเอง 5. การกระจายคะแนนในการประเมินผล จะต้องกำหนดให้ชัดเจน และเหมาะสมกับเวลาที่ใช้ไปในการสอนการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนั้น ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละด้านตามที่หลักสูตรกำหนด จะได้รับการจัดสรรคะแนนส่วนใหญ่ ในด้านทักษะความรู้และทักษะปัญญา ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 6. อาจารย์ผู้สอน ต้องออกแบบเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ ซึ่งอาจใช้มาตรวัดที่แตกต่างไปจากการให้คะแนน เช่น การให้ผ่าน หรือการไม่ให้ผ่าน เป็นต้น โดยต้องตั้งเกณฑ์ผ่านและแจ้งให้นักศึกษาทราบ ดังตารางที่ 1 ดังนั้นในการรายงานผลการประเมินผู้เรียน จึงมีตารางคะแนนการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และแสดงคะแนนของนักศึกษาเป็นรายบุคคล จำแนกตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้ ผลรวมของคะแนนที่ได้จากการประเมินผลจำแนกตามเครื่องมือวัดผลลัพธ์ นำไปใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียน (เกรด) ตามระบบการวัดและประเมินผลของมหาวิทยาลัย ผลรวมของคะแนน จำแนกตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ นำไปใช้ในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ผลการประเมิน จะเป็น ผ่าน หรือไม่ผ่าน 7. อาจารย์ผู้สอนรายงานผลการดำเนินการสอน (มคอ. 5) โดยคณบดีได้ออกแบบต้นแบบของการจัดทำรายงานฯ เพื่อเสนอต่ออาจารย์ทุกท่านในที่ประชุมคณะกรรมการประจำและอาจารย์ประจำคณะบัญชี (ดูตัวอย่างการรายงานจากเอกสารแนบท้าย)         อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน       หลังจากที่ได้มีการเรียนรู้จากต้นแบบที่คณบดี นำเสนอและเผยแพร่ให้อาจารย์ทุกท่านได้ศึกษาและทดลองทำ มีรายวิชาที่สอนโดยอาจารย์ประจำได้ดำเนินการตาม  ในส่วนของรายวิชาที่สอนโดยอาจารย์พิเศษ หรือ รายวิชาที่สอนโดยอาจารย์ประจำแต่เป็นการสอนให้กับคณะอื่น  ยังไม่มีการดำเนินการ  พบว่ามีอุปสรรค ดังนี้ อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำ ได้ดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ต้นแบบที่คณบดีได้นำเสนอ  แต่ในการรายงานผลการดำเนินการสอนในบางรายวิชา ยังคงรายงานในรูปแบบเดิมตาม มคอ.5  ทางหลักสูตรจึงเห็นว่าเป็นช่วงที่เริ่มศึกษาและทำความเข้าใจ ประกอบกับเวลาที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลมีมากขึ้นหากทำตามต้นแบบ  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรายงานผลให้ทันตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด รายวิชาที่สอนโดยอาจารย์พิเศษ จะดำเนินได้ยาก เพราะเป็นอาจารย์อาวุโส และบางรายวิชาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอาวุโส การที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบจะดำเนินการในส่วนของการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาก็ยังมีความเป็นไปได้ แต่ในการรายงานผลการดำเนินการสอน อาจทำได้ยาก 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           ในการประยุกต์ใช้ต้นแบบการวัดและประเมินผู้เรียน ขึ้นอยู่กับการออกแบบกระบวนวิชา ที่อาจารย์ผู้สอนจะแสดงในแผนการสอนรายวิชา โดยจะต้องลงรายละเอียดของวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด  ดังนั้นจากประสบการณ์การนำไปใช้ พบว่า อาจารย์หลายท่านสามารถทำได้และมีการพัฒนาทักษะการออกแบบกระบวนวิชา การสอนและการวัดประเมินผล มากขึ้น  โดยในปีการศึกษา 2567 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ได้มีนำ RQF3 มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการกำกับติดตามคุณภาพการสอนของอาจารย์ ซึ่งส่งผลไปยังการทำเอกสารแบบฟอร์มของการติดตามการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อแสดงคะแนนของนักศึกษาที่ทำได้ จำแนกเป็นรายบุคคลและรายด้านของผลลัพธ์การเรียนรู้ ในลักษณะ Metric รวมทั้งการสรุปผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน  เพื่อนำข้อสรุปนี้รายงานลงใน มคอ.5 จะทำให้ การรายงานผลการดำเนินการสอน กระชับขึ้นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชนืในการติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี ต่อไป           บทสรุปความรู้ที่ได้  คือ ปัจจัยความสำเร็จในเรื่องนี้ คือ การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับอาจารย์ประจำทุกคนในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา กลยุทธ์การสอน และการวัดประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่จะต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม และที่สำคัญเมื่อนำสู่การปฏิบัติต้องก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้และเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามความคาดหวัง           ในปีการศึกษาต่อไป คณบดี และหัวหน้าหลักสูตร มีแผนงานที่จะช่วยกันจัดทำระบบข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ทุกท่านในการป้อนข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา และใช้ในการติดตามพัฒนาการผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดกับนักศึกษาแต่ละคนได้           ความสำเร็จตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของการดำเนินงาน คือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนปฏิบัติการประจำปี บรรลุเป้าหมาย ทั้ง KR 1.4.3 และ KR 1.2.3  และได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษา องค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ 5.3 ในระดับดี คะแนน 4 มาโดยตลอดตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 จนถึงปี 2566 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ได้นำต้นแบบการออกแบบกระบวนวิชาของคณบดี ไปใช้ในทางปฏิบัติมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2565- ปี2567  เพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นตามที่หลักสูตรกำหนดโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ และการรายงานผลอย่างถูกต้อง  อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการสอนหลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2568  ให้เป็นไปในแนวทางที่ก่อให้เกิดความพร้อมในการรับตรวจ Post Audit ที่จะเกิดขึ้นในปีการศึกษา 2569 ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวง อว. กำหนด           ข้อเสนอแนะในอนาคต คือ หลักสูตรจะผลักดันให้อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน โดยเฉพาะอาจารย์ประจำ จะต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติการสอนให้เป็นไปตามแผน  และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้  ให้ถูกต้องตามหลักการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (OBE)  โดยมีการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ และเพื่อให้มีการรวมข้อมูลอยู่ในศูนย์ข้อมูลเดียวกัน อันจะทำให้การกำกับติดตามการดำเนินงาน และผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา จำแนกรายบุคคล เป็นไปได้อย่างเรียบร้อย    

แนวทางการประเมินผู้เรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต Read More »

บริหารอย่างไรให้นักศึกษาเรียนจบได้ใน 1 ปี และตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีคุณภาพ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2564 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชุน เพื่อสร้างชื่อเสียง ให้กับมหาวิทยาลัย ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.สุมามาลย์ ปานคำ วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           จาก KM Rangsit University ปี พ.ศ. 2562 หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media Technology: SMT) ได้ส่งการจัดการความรู้ ประเด็นการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ เรื่อง เทคนิคการบริหารหลักสูตรสู่ความเป็นเลิศด้วย SMT Model ซึ่ง S : Scanning ค้นหาจุดเด่นของหลักสูตรฯ, M : Marketing ทำการตลาดออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก และ T : Teaching-Learning Process วางแผนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้น  โดยหลักสูตรฯ กำหนดวิสัยทัศน์ คือ สร้างนักเทคโนโลยีสื่อสังคมที่มีคุณภาพเน้นความรู้ ลงมือปฏิบัติจริงและผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี           ในปีการศึกษา 2561 มีผู้สำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี จำนวน 20 คน ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ TCI1 จำนวน 5 บทความ TCI2 จำนวน 11 บทความ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 2 บทความ และการประชุมวิชาการระดับชาติ จำนวน 2 บทความ นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาบางคนสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยได้มากกว่า 1 บทความ ภายในระยะเวลา 1 ปี จำนวน 2 คน ได้แก่ นายกีรติ แย้มโอษฐ รหัสนักศึกษา 6102332  และนางสาวสุดาทิพย์ สันทนาประสิทธิ์ รหัสนักศึกษา 6102314           ในปีการศึกษา 2562 มีผู้สำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี จำนวน 29 คนและตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ TCI 1 จำนวน 7 บทความ TCI 2  จำนวน 19 บทความ และการประชุมวิชาการระดับชาติ จำนวน 3 บทความ นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาบางคนสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยได้มากกว่า 1 บทความ ภายในระยะเวลา 1 ปี จำนวน 1 คน ได้แก่ ร้อยโทศุภสัณห์ เกิดสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 6202892          ในปีการศึกษา 2563 มีผู้สำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี จำนวน 32 คนและตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ TCI1 จำนวน 15 บทความ TCI2 จำนวน 22 บทความ  นอกจากนี้ นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาบางคนสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยได้มากกว่า 1 บทความ ภายในระยะเวลา 1 ปี จำนวน 5 คน ได้แก่  นางสาวนงนภัส ชัยรักษา รหัสนักศึกษา 6302966, นายกิตติธัช ช้างทอง รหัสนักศึกษา 6304047, นายกฤษฎา ฟักสังข์ รหัสนักศึกษา 6304277, นางสาวกัญญ์กานต์ กุญโคจร รหัสนักศึกษา 6303580 และนางสาวกัญญานีน์ กุลกนก รหัสนักศึกษา 6303041           จากการบริหารหลักสูตรฯ ที่มีประสิทธิภาพ เน้นความรู้ ลงมือปฏิบัติจริง และวางแผนการเรียนการสอนที่ดีทำให้ผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ที่สูงกว่าเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาปกติ ในส่วนของการจัดการความรู้ครั้งนี้ ผู้ให้ความรู้ขอถอดความรู้เกี่ยวกับการบริหารอย่างไรให้นักศึกษาเรียนจบได้ใน 1 ปีและตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรอื่นฯ และมหาวิทยาลัยต่อไป ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)🗹 ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University      (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)🗹 เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.สุมามาลย์ ปานคำ วิธีการดำเนินการ การบริหารอย่างไรให้นักศึกษาเรียนจบได้ใน 1 ปีและตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถเขียนเป็นแผนภาพเพื่อให้เห็นขั้นตอนกระบวนการที่ชัดเจน รวมถึงระบุช่วงเวลาที่กำหนดสำหรับแต่ละกระบวนการตั้งแต่วันที่รับนักศึกษาเข้ามาศึกษาจนจบการศึกษา ดังภาพที่ 1 การบริหารอย่างไรให้นักศึกษาเรียนจบได้ใน 1 ปีและตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถเขียนเป็นแผนภาพเพื่อให้เห็นขั้นตอนกระบวนการที่ชัดเจน รวมถึงระบุช่วงเวลาที่กำหนดสำหรับแต่ละกระบวนการตั้งแต่วันที่รับนักศึกษาเข้ามาศึกษาจนจบการศึกษา ดังภาพที่ 1 จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร เน้นให้มีวิชาการวิจัย 2 วิชาในแต่ละเทอม เพื่อใช้สําหรับถ่ายทอดความรู้และติดตามการทําวิจัยควบคู่ไปกับการเรียนการสอนหรือเรียกว่า เรียนรู้ไปพร้อมกับการปฏิบัติจริง 2.Prototype testing in an operational environment – DO  หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media Technology: SMT) ได้ปฏิบัติตามกระบวนการตามแผนที่วางไว้ ดังภาพที่ 1 รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินการ  ดังนี้ คลังข้อมูลวิจัย: ผู้สอนสร้างคลังความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยของศิษย์เก่า หรือ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ใน Google Drive ตามความต้องการของผู้เรียน เช่น บทความวิจัย, เล่มวิจัย, PPT ของศิษย์เก่าในการสอบปกป้องวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ เป็นต้น  ไลน์กลุ่มวิจัย: นักศึกษาส่งชื่อเรื่องวิจัยในไลน์กลุ่มเพื่อตรวจสอบไม่ให้หัวข้อวิจัยของนักศึกษาซ้ำกันในรุ่น และซ้ำกับรุ่นพี่ที่ทำวิจัยเสร็จสิ้นไปแล้ว สร้างแรงจูงใจและเป้าหมายร่วมกัน: ผู้สอนวางแผนร่วมกันกับนักศึกษาทุกคน โดยสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาว่าตั้งใจเรียนจบ 1 ปีหรือไม่ ซึ่งนักศึกษาทุกคนจะตอบว่า “จะเรียนให้จบ 1 ปี” เป็นการสร้างแรงจูงใจและคำสัญญาระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา แผนปฏิบัติการวิจัย: ผู้สอนอธิบายกระบวนการทำวิจัยและส่งแผนการทำวิจัยที่จะทำให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี ให้นักศึกษาทุกคนทราบ และ ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนในภาพที่ 1 จนถึงนักศึกษาสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ  5. การจัดสรรเวลาให้คำปรึกษา: สิ่งสำคัญในการดำเนินการ คือ ผู้สอนต้องจัดสรรเวลาให้คำปรึกษาออฟไลน์หรือออนไลน์กับนักศึกษานอกเหนือจากเวลาเรียนเสาร์-อาทิตย์ เช่น วันจันทร์ เวลา 9.00 – 16.00 น. หรือวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           จากปัญหาและอุปสรรคที่พบ หลักสูตรพยายามแก้ปัญหานักศึกษาที่ไม่ทำตามแผนปฏิบัติการวิจัยโดย ผู้สอนจัดทำตารางตรวจสอบผลการดำเนินงานวิจัยของนักศึกษาทุกคน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยในแต่ละเดือน จะพบว่ามีนักศึกษาบางคนทำวิจัยไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ดังนั้น ผู้สอนจะดำเนินการแก้ไขในทันที โดยให้เพื่อนที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม (เด็กเก่ง) ที่ทำวิจัยสำเร็จในขั้นตอนนั้นๆ แล้ว ไปช่วยให้คำแนะนำ สอนวิธีการ เพื่อให้งานวิจัยเสร็จสิ้นตามเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ได้ผู้สอนจะไปช่วยเหลือนักศึกษาด้วยตนเองว่าติดปัญหาอะไรและดำเนินการช่วยเหลือ นอกจากนี้ ผู้สอนยังสร้างแรงจูงใจให้หัวหน้ากลุ่มและเพื่อนๆในกลุ่มที่จะรับปริญญาพร้อมกันทุกคนในเดือนธันวาคมของทุกปี หากนักศึกษารู้สึกท้อให้นักศึกษาคิดถึงรูปเพื่อนๆ ในรุ่นใส่ชุดครุยวิทยฐานะ 2 แถบ ถ่ายรูปพร้อมกันทุกคน ให้นักศึกษาทุกคนมองความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นความสำเร็จร่วมกันไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ทุก ๆ คนพยายามที่จะทำหน้าที่ของตนเองให้ดี และพยายามที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้ทุกคนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้           สิ่งสำคัญในการดำเนินการ คือ ต้องแก้ไขในทันทีไม่ให้นักศึกษาหลุดลอยจากแผนที่วางไว้ เนื่องจากเมื่อหลุดลอยไปแล้วจะทำให้ตามเพื่อนๆ ไม่ทันส่งผลให้เกิดความท้อไม่อยากทำวิจัยและทิ้งวิจัยไปในที่สุด           บทสรุปความรู้ คือ ผู้สอนวางแผนและติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักศึกษาทุกคนในทุกขั้นตอนเป็นระยะ นอกจากนี้ยังสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาทุกคนช่วยเหลือเพื่อนเพื่อจะได้รับปริญญาพร้อมกันทุกคน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ต้องมีการวางแผนที่ดี รู้ว่าปัจจัยของความสำเร็จอยู่ที่ใด ซึ่งในการศึกษาระดับปริญญาโท คือการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ดังนั้นหลักสูตรจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ตั้งแต่การกำหนดวิชาวิจัยให้มี 2 วิชา และจัดในแต่ละเทอม การกำหนดหัวข้อวิจัยในขอบเขตที่ไม่กว้างจนเกินไป เพื่อที่จะให้นักศึกษาทุกคนรวมถึงผู้สอน สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ซึ่งการวางแผนดังกล่าว ทำให้การทำวิจัย ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่มเติมหรือต้องทำหลังจากเรียนทุกวิชาครบ แต่สามารถทำได้ในขณะที่เรียน จุดนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนจบได้ใน 1 ปี และตีพิมพ์บทความวิจัยได้ สร้างผู้นำทีมของนักศึกษาในการทำวิจัย เนื่องจากนักศึกษาจะไม่กล้าขอคำแนะนำจากผู้สอนเพราะกลัวว่าจะถูกตำหนิเมื่อวิจัยล่าช้า 3. สร้างทีมผู้สอน โดยดึงสมรรถนะของผู้รับผิดชอบหลักสูตรมาใช้ให้ตรงตามความสามารถของแต่ละบุคคล เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เล็กเจริญ ช่วยแนะนำวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติให้นักศึกษาส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุมามาลย์ ปานคำ ช่วยแนะนำวิธีการเขียนบทความวิจัยตามแบบฟอร์มของแต่ละวารสารวิชาการต่างๆ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

บริหารอย่างไรให้นักศึกษาเรียนจบได้ใน 1 ปี และตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีคุณภาพ Read More »

กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.4 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ อ.วัฒนา ศรีถาวร รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะบัญชี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต พ.ศ. 2563  นอกจากเป็นผู้มีความรู้ด้านเทคนิคทางวิชาชีพบัญชี สามารถประยุกต์และบูรณาการศาสตร์สาขาวิชาการบัญชีกับศาสตร์สาขาวิชาอื่นๆ ในการทำงานในสายงานบัญชีแล้ว บัณฑิตทุกคนจะต้องมีความตระหนักรู้ในคุณค่าวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดี และรู้ว่าการรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพมีความสำคัญอย่างไร รวมทั้งมีทักษะด้าน Soft Skills ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของคนยุคใหม่ แม้จะถูกเรียกว่า “Soft Skill” แต่กลับเป็นทักษะที่มีความสำคัญเหนือกว่า Hard Skills เพราะเป็นพลังบวกภายในที่จะช่วยให้การพัฒนาในทักษะด้านอื่น ๆ ดีขึ้นได้อย่างมั่นใจ ซึ่งจะทำให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทักษะดังกล่าวประกอบด้วยทักษะสำคัญในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ การสื่อสาร การแก้ไขปัญหา การทำงานแบบเป็นทีม การเจรจาต่อรอง การจัดการเวลาหรือจัดการตนเอง และภาวะผู้นำSoft Skills เป็นทักษะที่ช่วยให้นักศึกษาและบัณฑิตเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับผู้อื่นไปพร้อมกับการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในการทำงาน ซึ่งบริษัทและองค์กรชั้นนำทั่วโลกใช้เป็นข้อพิจารณาในการคัดเลือกคนเข้าทำงานโดยเฉพาะนักบัญชีในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทความรับผิดชอบจากการทำงานหลังสำนักงาน (Back Office) ไปสู่งานระดับบริหารเป็นหุ้นส่วนหรือทำงานเคียงคู่กับผู้บริหารระดับสูงในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลจึงทำให้ความรู้ด้านเทคนิควิชาชีพและทักษะเฉพาะงาน (Hard Skills) อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้การทำงานเติบโตก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง จำเป็นต้องใช้ Soft Skills ในการทำงานร่วมกันผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพสูงและมีความสุข หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาจึงได้มุ่งเน้น พัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ในด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม  มีความรับผิดชอบสูงต่อการทำงานและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี มีความคิดสร้างสรรค์และการนำการเปลี่ยนแปลง    และสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็น Soft skills ที่สำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันและต่อไป ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 10 Soft Skills ที่สำคัญกับการทำงานในยุคปัจจุบัน การบริหารจัดการเวลา (Time Management) ในบางครั้ง การทำงานจำเป็นต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน การวางแผนระยะเวลาในการทำงานและการจัดลำดับความสำคัญ เป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะหากไม่สามารถบริหารเวลาได้ อาจส่งผลต่อผลการเรียนและต่องานที่ตนรับผิดชอบไม่สามารถเสร็จตามกำหนดเวลาได้นั่นเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) ในปัจจุบันสังคมและเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักศึกษาต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) จึงเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งจะเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคง และพร้อมรับมือสำหรับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การสื่อสาร (Communication) แน่นอนว่างานทุกงานต้องอาศัยการสื่อสารร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะทั้งกับลูกค้าหรือเพื่อนร่วมงาน แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้นักศึกษาไม่กล้าที่จะสื่อสารทำให้เกิดปัญหาตามมาในการชีวิต การเรียน และการงาน ซึ่งการสื่อสารนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบ ตามแต่ละบริบทเราจะต้องรู้ก่อน ว่าเราจะสื่อสารเรื่องอะไร กับใคร และเลือกวิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความสามารถในการคิดสิ่งใหม่ ๆ ในแนวทางที่หลากหลาย ซึ่งทักษะนี้จะต้องอาศัยการเป็นคนช่างสังเกตุ เปิดกว้าง และศึกษาหาข้อมูลอย่างหลากหลาย เพื่อนำมาต่อยอดเป็นไอเดียใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์ในการต่อยอดธุรกิจ ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) จากผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะรูปแบบและวิธีการทำงานที่หลาย ๆ องค์กรต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นความสามารถในการปรับตัว และเตรียมพร้อมกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) การเป็นผู้ฟังที่ดี ช่วยให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่นกว่าที่คิด ช่วยให้เราสามารถรับสารต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และสื่อสารกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการตั้งใจฟังนั้น หมายรวมถึง การรับฟังอย่างเข้าใจ และการที่พยายามเข้าใจผู้อื่น (Empathy)  การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration) ในสังคมของการทำงานนั้น เรามักจะเจอผู้คนหลากหลายรูปแบบ ที่มีความแตกต่างกัน ในด้านต่าง ๆ บางคนอาจจะสามารถคุยกันได้อย่างถูกคอ หรือสื่อสารได้อย่างง่ายดาย แต่ในบางคนเราจำเป็นจะต้องอาศัยทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ปรับรูปแบบวิธีการทำงานเพื่อให้เข้ากับคนนั้น ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเจรจาต่อรอง (Negotiation) ทักษะนี้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นสายอาชีพงานขายเท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้ในการทำงานด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย อย่างเช่น การเจรจาต่อรองเพื่อให้โปรเจคที่คิดมา ได้รับการอนุมัติ หรือ การเจรจาไกล่เกลี่ยเมื่อทีมมีปัญหาที่เข้าใจผิดกัน เป็นต้น การทำหลายสิ่งพร้อม ๆ กัน (Multitasking) ทักษะสำคัญที่หลายองค์กรกำลังมองหานั่นก็คือความสามารถในการทำงานที่หลากหลาย ทักษะนี้จะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น ลดขั้นตอนและเวลาในการส่งผ่านงานไปสู่คนอีกคนหนึ่ง และทำให้พนักงานได้พัฒนาตนเองได้อย่างรวดเร็ว  จรรยาบรรณในการทำงาน (Work Ethic) การปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทฯ ความรับผิดชอบต่องานที่ทำและสังคม เป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนควรมี เพื่อเป็นการสร้างนิสัยที่ดีในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้พนักงานอีกด้วย  อ้างอิง : https://www.urbinner.com/post/what-are-soft-skillshttps://blog.jobthai.com/career-tipshttps://novoresume.com/career-blog/soft-skills    ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด อาจารย์วัฒนา ศรีถาวร คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต จากเป็นคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ และอาจารย์ที่ปรึกษาในการฝึกซ้อมนักศึกษาเข้าสู่การแข่งขันและการทำกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยได้รับรางวัลด้านการพูด การเขียน การแข่งกรณีศึกษาระดับประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี  (www.tfac.or.th และ https://apheit.org) วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ หลักสูตรได้จัดให้มีการประชุมและวางแผนการปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนานักศึกษาด้าน Soft Skills โดยบรรจุลงในแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา มาโดยตลอดตั้งแต่ระยะแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะฉบับเดิม ปี 2559-2564 จนถึงปีการศึกษา 2566 ซึ่งอยู่ในช่วงปี 2 ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ ปี 2565 – 2569  โดยมีวัตถุประสงค์ที่2 คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาศึกษามีคุณภาพและเป็นนวัตกรรมที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ผู้เรียน โดยกำหนดเป้าหมายผลลัพธ์ ไว้ในข้อ 1.2.4 กิจกรรม/โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตพึ่งประสงค์ จะบรรลุผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จและวัตถุประสงค์ทุกข้อ  ผลการดำเนินงานปรากฏในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร  ในองค์ประกอบ 3 นักศึกษา ตัวบ่งชี้ 3.1 ระบบและกลไกการรับนักศึกษาและการเตรียมความพร้อม ตัวบ่งชี้ 3.2 การพัฒนานักศึกษา และตัวบ่งชี้ 3.3 อัตราการคงอยู่อัตราสำเร็จการศึกษา และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร ซึ่งปรากฏผลในระดับดีมากอย่างต่อเนื่องตลอดระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2565 โดยเฉลี่ยองค์ประกอบนี้มีแนวโน้มค่าอันดับคะแนนสูงขึ้น ในระดับดีมากมาโดยตลอด สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การธุรกิจโดยจะเห็นได้จากภาวะการได้งานทำภายใน 1 ปีหลังสำเร็จการศึกษา มีค่าเท่ากับ 86.67%, 100.00%, 87.63%, 100% และ 100.00% ตามลำดับ และความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตจบใหม่ มีค่าเท่ากับ 4.36, 4.42, 4.37, 4.64, และ 4.61 ตามลำดับ การดำเนินงานมีขั้นตอนพอสรุปได้ดังนี้ การปรับทัศนคติในการเรียนในระบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและทำความรู้จักคณะบัญชีเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในระบบการจัดการเรียนการสอน และการปรับตนให้เข้ากับระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต และรู้จักหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนอาจารย์ประจำหลักสูตร ด้วยการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านการสร้างเสริมคุณลักษณะภายใน (Soft Skills) ที่ดี คณะกรรมการนักศึกษาและวินัยทำงานร่วมกับคณะกรรมการนักศึกษาคณะบัญชี จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษาใหม่ด้วยกัน ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง และระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ พร้อมกับเซ็นรับรองการสะสมจำนวนชั่วโมงการเข้าร่วมกิจกรรมด้านกิจการนักศึกษา เพื่อประเมินการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills  การสอดแทรกกิจกรรมการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills ในรายวิชาต่าง ๆ เช่น รายวิชา ACC331 การพัฒนาทักษะเทคนิควิชาชีพบัญชี วางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ Soft Skills ไว้ทั้งหมด 12 ชั่วโมง วิชา ACC327 การบัญชีและภาษีอากรสำหรับธุรกิจ ใช้กิจกรรมฐานบัญชีภาษีอากรเคลื่อนที่ จัดโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งได้สอดแทรกประสบการณ์การแก้ไขปัญหาการปฏิบัติทางภาษีของธุรกิจของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หรือ Practitioner ลงในฐานกิจกรรมต่างๆ  ตามประเภทของภาษีอากร ที่นักศึกษาจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขกรณีศึกษาและอภิปรายกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ประจำอยู่ในแต่ละฐาน และวิชา ACC255 จรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยการจัดกิจกรรมการแข่งขันสุนทรพจน์และเรียงความ เรื่อง การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชี พร้อมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เป็นคลิปวีดีโอกรณีศึกษาการกระทำผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยจัดทำเป็นงานกลุ่ม วิชา ACC253 หลักการบัญชีต้นทุน ACC254 การจัดการระบบสารสนเทศทางการบัญชี สองวิชานี้ใช้กิจกรรมที่บูรณาการโครงงานพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนการผลิตให้กับวิสาหกิจชุมชน ACC498 สหกิจศึกษา เป็นต้น การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ทำให้นักศึกษามีความแตกฉานในความรู้ด้านเทคนิควิชาชีพควบคู่ไปกับการพัฒนา Soft Skills ในด้านการทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบต่อตนเองและงานที่ทำร่วมกับผู้อื่น ความคิดสร้างสรรค์ การติดต่อสื่อสาร การเจรจาต่อรอง และการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการจัดการตนเอง การส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับประเทศ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ตอบโจทย์ความท้าทายความสามารถและศักยภาพของนักศึกษา หลักสูตรจะทำการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับการแข่งขัน ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Facebook Instagram และ line Group ของคณะบัญชี ช่องทางออฟไลน์ผ่านท่านอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา  เพื่อรับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแข่งขัน หลังจากนั้นดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาโดยคณะกรรมการฝ่ายวิชาการและอาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต เมื่อได้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการการแข่งขันแล้ว ทางคณะจะจัดอาจารย์ที่ปรึกษาการแข่งขันอาจารย์ผู้สอนติว เริ่มต้นด้วยการปฐมนิเทศการแข่งขันในเวทีต่างๆ โดยคณบดี เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการเข้าแข่งขันที่ไม่ใช่มีเพียงเพื่อชิงรางวัล แต่เป็นโอกาสในการสร้าง Profile ที่ดีให้กับตนเอง เพื่อใช้ประโยชน์ในการสมัครงาน เพราะจะได้รับการพัฒนาเป็นระยะนานนอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียนของวิชาต่างๆ ทางคณะโดย อ.วัฒนา ศรีถาวร ใช้การสร้างสถานการณ์จำลองของรูปแบบการแข่งขันเพื่อให้นักศึกษาคุ้นชินโดยมีรุ่นพี่และคณาจารย์ที่มีประสบการณ์มาถ่ายทอดบรรยากาศและถอดองค์ความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง การสร้างแรงกดดันให้กับนักศึกษาในการที่จะต้องค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การใช้เทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ จะจบลงที่การนำเสนอด้วยวาจาในทุกเวทีที่เข้าร่วม ดังนั้นกระบวนการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้การคิดวิเคราะห์ สถานการณ์ การค้นหาปัญหาทางธุรกิจ การวางกลยุทธ์เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา สุดท้ายนักศึกษาจะต้องเขียนรายงาน และนำเสนอด้วยวาจา ซึ่งพบว่าด้วยขั้นตอนที่ดำเนินการพัฒนานักศึกษาที่ใช้ ทำให้คณะบัญชีประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องโดยนักศึกษาได้รับรางวัลจากทุกเวทีการแข่งขันที่จัดโดยองค์การภายนอก ดังแสดงในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ถอดบทเรียนจากการดำเนินงานของคณะกรรมการหลักสูตรบัญชีบัณฑิตที่ผ่านมาเพื่อนำอุปสรรคปัญหามาปรับปรุงแผนการพัฒนานักศึกษาในปีถัดไป จะเป็นกิจกรรมที่ดีมากเพราะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อผลประเมินการดำเนินงานทั้งหมดที่มุ่งสู่การพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษา และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา   Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน  ผลการดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่าน 5 ปี ของนักศึกษาคณะบัญชีระดับปริญญาตรี การแข่งขันการประกวดพูดเพื่อสังคมที่ยั่งยืน “พจนศิลป์” จัดโดย มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)  – รางวัลชนะเลิศ “พจนศิลป์” ครั้งที่ 3 ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  – รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 “พจนศิลป์” ครั้งที่ 4 โครงการประกวดสุนทรพจน์และการเขียนเรียงความเรื่อง “การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชี” จัดโดยสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท) – รางวัลชนะเลิศการประกวดสุนทรพจน์และการเขียนเรียงความทางบัญชี โครงการ “การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาชีพบัญชี” ครั้งที่ 6 ครั้งที่ 7 ครั้งที่ 8 และ ครั้งที่ 10  – รองรางวัลชนะเลิศการประกวดสุนทรพจน์และการเขียนเรียงความทางบัญชี โครงการ “การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาชีพบัญชี” ครั้งที่ 9  การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ จัดโดย สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ – รางวัลชนะเลิศการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2564 – รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566 – รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565 – รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2563 – รางวัลชนะเลิศอันดับ 4 การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2562 การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัย จัดโดย สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท) – รางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 14 ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี – รางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 16 ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี – รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 15 – รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 13 – รางวัลชมเชย การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการด้านการบัญชี ระดับมหาวิทยาลัยครั้งที่ 12 รางวัลนักศึกษาพระราชทาน – รางวัลนักศึกษาทุนพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และปีการศึกษา 2562 – รางวัลเยาวสตรีไทยดีเด่น ประจำปี 2562 – รางวัลชมเชยนักศึกษาพระราชทานระดับอุดมศึกษา ภาคกลาง สถานศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2563 Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่  การตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการพัฒนานักศึกษาด้าน Soft Skills ในระดับปริญญาตรี ใช้ระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ เพื่อสร้างความมั่นใจในผลลัพธ์ที่เกิดจากผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน ได้ตรวจสอบผลของการดำเนินการตามขั้นตอนมาเป็นระยะเวลา 5 ปี พบว่าได้รับรางวัลระดับประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นไปตามแผนงานของหลักสูตรที่วางไว้ และได้ความรู้เชิงกระบวนการในเลือกเวทีการแข่งขันระดับประเทศให้ประสบความสำเร็จ โดยใช้ความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการในหลักสูตร คณาจารย์ในคณะ และความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากการแข่งขัน โดยไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคปัญหาที่จะเข้ามาโดยใช้ทักษะด้าน Soft Skills ในการบริหารจัดการตนเองและการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ องค์ประกอบที่ 2 คุณภาพบัณฑิต และองค์ประกอบที่ 3 ด้านนักศึกษา ย้อนหลัง 3 ปีมีดังนี้ ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ 2 องค์ประกอบที่ 3 2.1 คุณภาพบัณฑิต 2.2ภาวะการได้งานทำ 3.1การรับนักศึกษา 3.2การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3.3ผลที่เกิดกับนักศึกษา 2563 4.40 4.37 4.00 4.00 3.00 2564 4.65 5.00 4.00 4.00 4.00 2565 4.63 5.00 4.00 4.00 4.00 การดำเนินงานของหลักสูตรบัญชีบัณฑิตที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากกระบวนการจัดการความรู้ภายในหลักสูตรและคณะวิชาจากการประชุมระดมสมองอาจารย์ทุกครั้งก่อนที่จะดำเนินโครงการและหลังดำเนินการโครงการ  ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนานักศึกษา ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา และการติดตามผลการดำเนินงานตามเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ หลักสูตรฯ ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาทบทวนกระบวนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่สมควรปรับปรุงแก้ไข หรือสิ่งที่ควรเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อไป ซึ่งนำไปสู่การจัดทำแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice  จากการทบทวนกระบวนการที่มีต่อกระบวนการพัฒนานักศึกษาด้าน Soft Skills ในระดับปริญญาตรีทางหลักสูตรนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับปีการศึกษาต่อไป ดังนี้ ด้านการปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตจะต้องปรับเป้าหมายการพัฒนานักศึกษาด้าน Soft Skills ให้เหมาะสมผลลัพธ์การเรียนรู้ของแต่ละชั้นปี เพื่อให้การปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมที่จะบูรณาการในการสอนรายวิชาต่างๆ มีความทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น โดยขยายความร่วมมือกับองค์การวิชาชีพบัญชี หรือองค์การภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนานักศึกษา กระตุ้นให้เกิดการใฝ่รู้และความต้องการในการพัฒนาตนเองให้มากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาทุกคนที่จบหลักสูตรบัญชีบัณฑิตได้รับการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills และจะต้องทำการสำรวจความคิดเห็นจากนักศึกษาเพื่อสะท้อนความต้องการของนักศึกษาการพัฒนาตนเอง ความคิดเห็นของหัวหน้างานจากสถานประกอบที่ได้ให้การฝึกหัดงาน นำข้อมูลมาใช้การปรับปรุงกิจกรรมโครงการพัฒนานักศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาด ด้านการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยเปิดโอกาสให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาในการแข่งขันต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มจากการเข้าสังเกตการณ์จากเวทีการแข่งขัน การศึกษาพัฒนาความรู้ของตนเองเพื่อเตรียมตัวเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาต่อไป ด้านวิทยากรผู้นำกิจกรรม ทางหลักสูตรบัญชีบัณฑิตจำเป็นต้องพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรให้สามารถดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองให้ได้มากขึ้น เพื่อจะได้สามารถจัดกิจกรรมได้เองในอนาคต ด้านการพัฒนารูปแบบการเข้าร่วมการแข่งขัน ควรให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าสู่กระบวนการแข่งขันในระดับประเทศเพื่อเป็นพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills เช่น การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศที่แต่ละสถาบันสามารถส่งเข้าร่วมการแข่งขันกี่ทีมก็ได้อย่างไม่จำกัดจำนวน เนื่องจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีเป็นการพัฒนานักศึกษาทั้งด้าน Soft Skills เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร การบริหารจัดการเวลา และความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอกลยุทธ์ทางธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาด้าน Hard Skills ที่สามารถนำความรู้จากวิชาที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำกรณีศึกษาไม่ว่าจะเป็นวิชาการเงินและการลงทุน วิชาการวิเคราะห์งบการเงิน และวิชาการตลาด เป็นต้น

กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต Read More »

สอนอย่างไรจึงจะทำให้นักศึกษานำความรู้สู่การปฏิบัติได้

สอนอย่างไรจึงจะทำให้นักศึกษา นำความรู้สู่การปฏิบัติได้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ. สมหญิง โควศวนนท์, อาจารย์ดวงใจ ลิมตโสภณ, อาจารย์ธนัสมัญญ์ เหลืองกิตติก้อง, อาจารย์วิมลวัลย์ วโรฬาร,อาจารย์ศศิพินทุ์ ศุภมนตรี บัวพล คณะพยาบาลศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เป็นสาขาวิชาทางวิชาชีพ การศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง วิชาที่กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นรับผิดชอบหลัก ได้แก่ วิชา  BNS 234 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น เป็นวิชาภาคทฤษฎี และ BNS 388 ปฏิบัติการการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น เป็นวิชาภาคปฏิบัติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น สามารถให้การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะสุขภาพดีและมีปัญหาสุขภาพได้ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลสุขภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัว การพิทักษ์สิทธิเด็ก รวมทั้งประเด็นปัญหากฎหมายและประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำความรู้จากการเรียนทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นได้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเด็ก วางแผนการพยาบาล และปฏิบัติการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยเด็กได้ ซึ่งนักศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา นอกจากนั้นนักศึกษายังจำเป็นต้องมีทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และมีภาวะผู้นำ ในการจัดการการพยาบาล ทักษะเหล่านี้เป็นสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และถูกกำหนดให้เป็นวัตถุประสงค์ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต           การจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ผ่านมา ในภาคทฤษฎีจะเน้นการบรรยายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีเนื้อหาค่อนข้างมาก แต่ก็พบปัญหาว่าการจัดสอบเพื่อวัดความรู้เพียงอย่างเดียว มีนักศึกษาสอบไม่ผ่าน 60% เป็นจำนวนมาก เมื่อนักศึกษาไปเรียนในวิชาปฏิบัติ ก็พบปัญหาว่า นักศึกษาไม่สามารถนำความรู้จากการเรียนภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้   ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้          แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น การประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น แนวคิดสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา           การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา (Case studies) เป็นเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและเชื่อมโยงเหตุการณ์สมมติหรือเหตุการณ์ที่มีเค้าโครงจากเรื่องจริงกับความรู้หรือทักษะที่ได้เรียนรู้ในรายวิชา โดยมีการกำหนดประเด็นคำถามเกี่ยวกับกรณีศึกษาและองค์ความรู้ที่ต้องนำมาใช้อย่างชัดเจน แต่ไม่มีการจำกัดคำตอบที่ถูกผิดหรือคำตอบที่แน่นอนเพียงคำตอบเดียว การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา (Case studies) ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และการอภิปรายสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น ได้สังเคราะห์และประเมินแนวทางการตอบสนองต่อเหตุการณ์สมมติอย่างมีหลักการ ได้พัฒนามุมมองความคิดของตนเองจากการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดของผู้อื่น อีกทั้งช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์คำตอบที่หลากหลายได้ ทำให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าเปิดเผยมุมมองของตนเอง           คณาจารย์ในกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นจึงเลือกใช้การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น โดยสร้างกรณีศึกษาที่มีเค้าโครงจากกรณีผู้ป่วยจริงที่สำคัญ พบบ่อย และต้องใช้ความรู้การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นในส่วนที่สำคัญร่วมกับการใช้กระบวนการพยาบาลในการแก้ปัญหากรณีศึกษา ซึ่งนักศึกษาต้องใช้ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา โดยให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดของผู้อื่น และร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาของกรณีศึกษา ด้วยวิธีการนี้ผู้สอนเชื่อว่าเมื่อนักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น นักศึกษาจะสามารถนำความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วยเด็กได้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น การประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น แนวคิดสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ อาจารย์ในกลุ่มวิชาประชุมประเมินและสรุปปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ผ่านมา และร่วมกันพิจารณาปรับรูปแบบการเรียนการสอนวิชา BNS 234 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเดิมเน้นการบรรยายเป็นหลัก มาเป็นการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา ด้วยเห็นว่าเป็นวิธีการที่นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยกรณีศึกษา และได้เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีมาอธิบายกรณีศึกษาและวางแผนการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาของผู้ป่วยกรณีศึกษา ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้การเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติการพยาบาล โดยจะแบ่งสัดส่วนเวลาของการเรียน ร้อยละ 50 (15 ชั่วโมง) เป็นการสรุปสาระสำคัญของแนวคิดทฤษฎีของการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และอีกร้อยละ 50 (15 ชั่วโมง) เป็นการแบ่งกลุ่มนักศึกษาเพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษา โดยอาจารย์ในทีมผู้สอนทุกคนเข้าสอนประจำกลุ่ม อาจารย์ในกลุ่มวิชาร่วมกันสร้างกรณีศึกษาที่สำคัญ พบบ่อย และครอบคลุมสาระสำคัญของการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น จำนวน 5 เรื่อง โดยใช้เค้าโครงเรื่องมาจากผู้ป่วยจริง พร้อมประเด็นคำถามให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ ค้นหาคำตอบ ประเด็นคำถามจะครอบคลุมการประเมินสภาพผู้ป่วย พยาธิสรีรวิทยาของโรค อธิบายการเกิดอาการ อาการแสดง และการตรวจพบ วิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย (ข้อวินิจฉัยการพยาบาล) การวางแผนการพยาบาล และการประเมินผล ทีมผู้สอนร่วมกันพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของกรณีศึกษา อาจารย์ในกลุ่มวิชาร่วมกันสร้างคู่มือการสอนโดยใช้กรณีศึกษา แนวคำตอบของประเด็นคำถามทั้ง 5 กรณี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอนการวิเคราะห์กรณีศึกษา แบ่งนักศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละประมาณ 17 คน ต่ออาจารย์ 1 คน แต่ละกลุ่มแบ่งนักศึกษาเป็น 3 กลุ่มย่อย ให้นักศึกษาทุกคนอ่านกรณีศึกษาและทบทวนความรู้ที่ต้องใช้มาล่วงหน้าก่อนเข้าห้องเรียน นักศึกษาอภิปรายกรณีศึกษาในชั้นเรียน แต่ละกรณีศึกษาใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง โดยจัดการเรียนรู้ ดังนี้ ผู้สอนนำเสนอกรณีศึกษาและประเด็นคำถาม กระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ นักศึกษาแต่ละกลุ่มย่อยคิดหาคำตอบตามประเด็นคำถามของแต่ละกรณีศึกษา โดยใช้ความรู้ที่ได้เรียนรู้ และค้นหาความรู้เพิ่มเติม นักศึกษาแต่ละคนนำเสนอคำตอบและข้อคิดเห็นต่อกลุ่มและอภิปราย แต่ละกลุ่มย่อยนำเสนอคำตอบต่อกลุ่มใหญ่ (17 คน) โดยผู้สอนเน้นย้ำกับผู้เรียนว่า การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาไม่ได้มุ่งหาคำตอบที่ถูกผิดเพียงคำตอบเดียว แต่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มุมมองและเหตุผลที่หลากหลายจากผู้เรียนคนอื่นๆ ผู้สอนรวบรวมคำตอบของผู้เรียน และหยิบยกคำตอบหรือเหตุผลที่น่าสนใจของผู้เรียนขึ้นมาอภิปรายร่วมกับผู้เรียน และสรุปคำตอบร่วมกัน ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา การเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เรียนรู้กับกรณีศึกษา และเพิ่มเติมประเด็นที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจหรือยังเข้าใจไม่ครอบคลุม ผู้เรียนทำการสะท้อนคิดการเรียนรู้ (Reflection) ในประเด็นสำคัญ เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา ทักษะที่ได้รับจากกิจกรรม แนวทางการนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล เป็นต้น ผู้เรียนสรุปรายงานกรณีศึกษาแต่ละเรื่องเป็นงานกลุ่ม   Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินการ ด้านนักศึกษา จากการให้นักศึกษาได้สะท้อนคิด พบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ ได้เรียนรู้การ ทำงานเป็นทีม การแบ่งหน้าที่กันทำงาน การแสดงความคิดเห็นและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น การสืบค้น และเกิดความสามัคคี ได้ฝึกวิเคราะห์ผู้ป่วยในกรณีศึกษา ทำให้เข้าใจพยาธิสภาพ อาการ การรักษา และการดูแลผู้ป่วยเด็กแต่ละโรคมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในขณะฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยได้ นักศึกษาพึงพอใจในผลงานของกลุ่ม และเห็นว่าการทำงานเป็นทีมทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างการสะท้อนคิดของนักศึกษา “จากการศึกษาทั้ง 5 สถานการณ์ มีการแบ่งเป็นกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่ม พบว่า ได้เขา้ใจถึงการวิเคราะห์โรคและอาการและอาการแสดงของโรคนั้น ๆ มากขึ้น สามารถแยกได้ว่า โรคนี้น่าจะเป็นโรคอะไรจากอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้เขา้ใจถึงกลไกของการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากยิ่งขึ้น โดยมีอาจารย์คอย แนะนำ และให้คำปรึกษา ให้ข้อมูล และความรู้ระหว่างเรียน และได้ทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ โดยมีประธาน รองประธาน สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเป็นอย่างดี” “สิ่งที่ได้คือการทำงานเป็นทีมร่วมกับเพื่อนและอาจารย์ เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ อาจารย์ให้แนวทางการทำงานกลุ่ม คือ ให้นักศึกษาแบ่งหน้าที่กัน มีประธาน และคนเรียบเรียงเนื้อหา ให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน และสมาชิกในกลุ่มได้ช่วยกันหาข้อมูล เสนอความคิดเห็น เพื่อตัดสินใจร่วมกัน ทำให้งานออกมาได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มคอยให้ความรู้ ข้อมูล และแนะแนวทางให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้อง” ด้านอาจารย์ผู้สอน ในการสอนสถานการณ์แรก นักศึกษาจะยังไม่คุ้นเคยกับการเรียนวิธีนี้ อาจารย์ เริ่มสอนให้วิเคราะห์หาความผิดปกติของผู้ป่วย เชื่อมโยงกับพยาธิสภาพของโรค นำสู่ปัญหาของผู้ป่วย การวางแผนการพยาบาล โดยนักศึกษาจะช่วยกันนำเสนอ อาจารย์สรุปและเพิ่มเติมให้ และ ให้นักศึกษาทำรายงานกรณีศึกษา นักศึกษาทุกคนจะมีรายงานทั้ง 5 เรื่อง เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ขณะขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล   ปัญหาและอุปสรรคที่พบ นักศึกษาบางคนไม่ได้เตรียมตัวในการอ่านสถานการณ์มาก่อน ทำให้ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการ อภิปรายกลุ่มได้ ห้องเรียนในการทำกลุ่ม คับแคบเกินไป จำนวนนักศึกษาในแต่กลุ่มค่อนข้างมาก กลุ่มละ17 คน ทำให้การอภิปรายแลกเปลี่ยนไม่ทั่วถึง Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล           การประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาโดยนักศึกษา พบว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้มากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น มีความพร้อมในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติมากขึ้น และพึงพอใจกับการเรียนการสอนในรายวิชาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการเรียนในรูปแบบเดิมที่เน้นการบรรยาย ดังข้อมูลในตาราง หัวข้อ รูปแบบบรรยาย (ปี64) Case studies (ปี65) Case studies (ปี66) Mean+SD ระดับ Mean+SD ระดับ Mean+SD ระดับ 1.นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ทั้งในแนวคิด เนื้อหา และกระบวนการ 4.5 + 0.57 ดี 4.6+0.53 ดีมาก 4.8+0.40 ดีมาก 2.นักศึกษามีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มนอกเหนือจากชั้นเรียน 4.4 + 0.61 ดี 4.6+0.54 ดีมาก 4.7+0.4 ดีมาก 3.การเข้าเรียนวิชานี้ทำให้มีความพร้อมในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ 4.4 + 0.64 ดี 4.6+0.55 ดีมาก 4.8+0.40 ดีมาก 4.ในภาพรวมนักศึกษาพึงพอใจกับการเรียนการสอนในรายวิชานี้ 4.5 + 0.55 ดี 4.6+0.58 ดีมาก 4.8+0.40 ดีมาก ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อการเรีนรู้โดยกรณีศึกษา – ดีมาก ๆ ค่ะเป็นวิชาที่ชอบมาก แต่อยากให้เพิ่มเวลาเรียนมากกว่านี้ค่ะ – การสอนแบบวิเคราะห์สถานการณ์โดยให้ผู้เรียนอภิปรายในกลุ่มย่อย และนำเสนอความคิดของกลุ่มย่อย และอาจารย์ช่วยสรุป ทำให้เข้าใจมากขึ้น นักศึกษาเสนอให้มีการสลับและเปลี่ยนกลุ่มพบอาจารย์ทุกคนเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ในมุมมองและวิธีคิดที่หลากหลายมากขึ้น การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาทำให้นักศึกษาเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ดีขึ้น รูปแบบนี้ได้เริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2565 ซึ่งพบว่าผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาสูงขึ้นจากระดับดีในปีการศึกษา 2564 (ค่าเฉลี่ย 4.4-4.5) เป็นระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.6) และในปีการศึกษา 2566 ผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาสูงขึ้นอีก มีค่าเฉลี่ย 4.7-4.8 ซึ่งอาจเป็นผลจากทีมอาจารย์มีทักษะการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาสูงขึ้น          บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่               การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา ดังนี้ นักศึกษาเกิดการเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สามารถประยุกต์ทฤษฎีในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาของกรณีศึกษา นำสู่การวางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของกรณีศึกษาได้ นักศึกษาสามารถศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาให้ในการอธิบายและวิเคราะห์กรณีศึกษาได้ การนำกรณีศึกษาที่มีเค้าโครงเรื่องมาจากผู้ป่วยจริง สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในการปฏิบัติการพยาบาล จึงเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์จริงเมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย สร้างความมั่นใจแก่นักศึกษาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นต่อไป นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม การแสดงความคิดเห็น และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานในทีม และเรียนรู้ว่าการทำงานเป็นทีมนำสู่ความสำเร็จและประสิทธิภาพของงานที่สูงขึ้น นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการใช้ข้อมูลสารสนเทศ จากการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อนำมาสนับสนุนการวิเคราะห์ ตัดสินใจ วินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาล และออกแบบการพยาบาลให้เหมาะสมกับกรณีศึกษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice สร้างกรณีศึกษาให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมสาระสำคัญของการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และมีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้เกิดความคิดวิเคราะห์ในหลายมิติ พัฒนารูปแบบการนำเสนอกรณีศึกษาให้น่าสนใจ เช่น คลิป VDO, Simulation ปรับเปลี่ยนการนำเสนอผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา เป็น one page / mapping / infographic จัดหาห้องเรียนที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับการทำงานกลุ่มของนักศึกษา  

สอนอย่างไรจึงจะทำให้นักศึกษานำความรู้สู่การปฏิบัติได้ Read More »

การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน

การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR1.1.1, KR1.2.1, KR1.2.2, KR1.2.3, KR1.2.4, KR1.3.1, KR1.3.3 และ KR1.4.6  รางวัลดีเด่น ปี2566 ผู้จัดทำโครงการ​ รศ. นันทชัย ทองแป้น วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ กระบวนทัศน์ในการการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยเนื่องด้วยอารยธรรมมนุษย์มีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง จาก “สังคมเกษตร” ที่เน้นการจัดการศึกษาแบบ Informative ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้รายวิชาเพื่อเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร(Information)โดยผลลัพธ์ของการเรียนรู้ก็คือเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ (Experts) สู่ “สังคมอุตสาหกรรม” ซึ่งเป็นยุคของการศึกษาแบบ Formative ที่เน้นในเรื่องของสังคมและคุณค่า (Socialization &Values)โดยผลลัพธ์ของการเรียนรุ้จะเน้นไปในด้านของวิชาชีพ (Profession) โดยให้สามารถควบคุมตัวเองได้ ควบคุมกันเองได้ในกลุ่มวิชาชีพ           ต่อมาเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โลกได้เปลี่ยนมาสู่ สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) และ “สังคมหลังยุคฐานความรู้” (Post Knowledge Based Society) ตามลำดับเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิทัศน์ในทุกมิติทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนกับโลกในยุคที่กล่าวมา จากเดิมที่เคยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี “อนาคตที่ค่อนข้างชัดเจน” สู่ “อนาคตที่เป็นไปได้ในหลากหลายทางเลือก” จากนั้นเปลี่ยนมาสู่ “อนาคตที่ค่อนข้างคลุมเครือ” “อนาคตที่ไร้ความชัดเจน” หรือ “VUCA World”(V ย่อมาจาก Volatility: U ย่อมาจากUncertainty: C ย่อมาจาก Complexity: และ A ย่อมาจาก Ambiguity) และในปัจจุบันเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งที่เคยผันผวนมาก ๆ หมดความน่าเชื่อถือ คนเราไม่ได้รู้สึกถึงความไม่แน่นอนอีกต่อไป แต่เพิ่มระดับเป็นความวิตกกังวลหรือเรียกว่าโลกยุค BANI (B = Brittle – ความเปราะบาง A = Anxious – ความวิตกกังวล N = Nonlinear – ความไม่เป็นเส้นตรง และ I = Incomprehensible – ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ หมายความว่าระบบต่าง ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นความไม่เป็นเส้นตรง สิ่งที่เคยคลุมเครือ กลายเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเข้าใจได้ ซึ่งระบบต่างๆในทุกมิติมีความซับซ้อนมากขึ้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นโลก “โลกที่ไม่พึงประสงค์” ซึ่งเต็มไปด้วยคลื่นวิกฤตเชิงซ้อนเป็นระลอก ๆ ตั้งแต่วิกฤตโควิด-19 วิกฤตซัพพลายเชนโลก วิกฤตพลังงาน วิกฤตอาหาร วิกฤตโลกรวน วิกฤตเงินเฟ้อ ที่อาจตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นต้น           ดังนั้นการจัดการศึกษาเพื่อที่จะผลิตบัณฑิตเพื่อให้รู้เท่าทัน หรือดำรงชีวิตหรือให้สามารถแข่งขันได้ในโลกยุคศตวรรษที่ 21หรือโลกยุค BANI นั้นจำเป็นต้อง เสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้เรียน ในบริบทของความเปราะบางโดยการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมและให้มีชุดความคิดในด้านความยืดหยุ่นในทุกมิติของการดำรงชีวิตมากขึ้นเนื่องจากในโลกที่ไม่เป็นเส้นตรง การใช้ชุดความคิดที่ตายตัวมักจะเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิต ถ้าไม่มีการคิดค้นสิ่งใหม่โดยหวังพึ่งพาแต่วิธีการเดิม ๆ ที่เคยทำมาจะทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้เร็วพอกับการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถแข่งขันได้ นอกจากนั้นการที่ต้องสร้างวิธีการพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆให้กับผู้เรียน เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) สำหรับ เข้ามาช่วยในการดำรงชีวิตในอนาคตเพราะบางครั้งการวางแผนระยะยาวอย่างละเอียดมากเกินไปอาจไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไป           จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตในยุคปัจจุบันนั้นจำเป็นต้องให้ผู้เรียนทำความเข้าใจ “โครงสร้างเชิงระบบ” (Systemic Structure) ที่สามารถแสดงกลไกความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และหยั่งรู้ถึง “ความคิดฐานราก” (Mental Model) ที่กำหนดโครงสร้าง กฎเกณฑ์ รูปแบบ ตัวขับเคลื่อน และผลลัพธ์ของปฏิสัมพันธ์ในเรื่องนั้น ๆ รวมถึงการพัฒนา “ปัญญา” (Wisdom) มิใช่แค่ “องค์ความรู้” (Knowledge) อย่างที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Wisdom for Sustainable Development) นั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจโลกในยุคปัจจุบันอย่างกระจ่างชัด แค่ลำพังขีดความสามารถในการคาดการณ์ (Anticipative Capacity) เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ จะต้องพัฒนา “ขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยน” (Transformative Capacity) โดยต้องเริ่มด้วย “การปรับเปลี่ยน Mindset” มากกว่าการเน้นยกระดับ Skillset หรือการพัฒนา New Skill เพียงอย่างเดียว           วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้มองเห็นว่าการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิตเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดและบทบาทของวิทยาลัยฯจากการเป็นแหล่งเรียนรู้เป็นแหล่งสร้างนวัตกรโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเลือกสร้างนวัตกรรมที่ตรงกับความฝัน (Passion) ของตนเองตามความถนัดและเป็นสิ่งที่ตนเองและโลกต้องการ นอกจากนั้นต้องเปลี่ยนจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการเรียนให้มีความรู้เป็นการเรียนเพื่อรู้เท่าทันและฉลาดรู้ทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการเรียนรู้เพื่อเป็นผู้นำในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงอย่างมีนวัตกรรมรวมทั้งให้ผู้เรียนเปลี่ยนกรอบความคิดละมุมมองจากการให้ความสำคัญเฉพาะกับตัวเองให้มีมุมมองใหม่ที่มองเห็นสังคมส่วนรวมสำคัญกว่าตนเอง           ระบบการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตที่เน้นการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership Attributes)โดยจัดการศึกษาในรูปแบบที่เรียกว่า Transformative Learning ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะหลักในวิชาชีพทั้งที่เป็นองค์ความรู้และทักษะในเชิงสากลและที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศไทย ซึ่งการจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานพลังกัน (Synergy) ในทุกมิติทั้งในเรื่องคนและภารกิจ เพื่อทำให้มิติต่างๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ การรับนักศึกษา สาระวิชาในหลักสูตร การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียน การบริหารและพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน รวมทั้งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ประสานพลัง (Synergy) กันเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           การจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตในรูปแบบที่เรียกว่า Transformative Learning ที่ต้องประสานพลังของมิติต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ระดับคลัสเตอร์ ระดับมหาวิทยาลัยรังสิตรวมทั้งเครือข่ายความร่วมมือทั้งระดับประเทศและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership Attributes) ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะหลักในวิชาชีพทั้งที่เป็นองค์ความรู้และทักษะในเชิงสากลและที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศไทยและโลกในยุค BANI ซึ่งการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องประยุกต์ใช้องค์ความรู้ดังต่อไปนี ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง องค์ความรู้ทางด้านการบริหารที่ประกอบด้วยหลักการการจัดการองค์กร องค์ความรู้ทางด้านการบริหารภารกิจการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา (การบริหารการศึกษา งานวิจัย งานบริการวิชาการ) องค์ความรู้ทางด้านการศึกษา ปรัชญาการศึกษา การสอน จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ การวัดและประเมินผล องค์ความรู้ทางด้าน 21st Century Skills องค์ความรู้แบบองค์รวมในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้นในอนาคตของศตวรรษที่21ของวิศวกรรมชีวการแพทย์โดยเน้นในเรื่องของสภาพปัญหาและข้อจำกัด (Pain Point) ในทุกมิติขององคาพยพทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทยทั้งเรื่องของวิชาการ การวิจัย เรื่องของวงจรชีวิตของเครื่องมือและเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ เรื่องของคนและวิชาชีพเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ และการพัฒนา Career Path ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้กับประเทศไทยรวมทั้งการจัดการศึกษาและพัฒนาบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัยรังสิต การศึกษาดูงานจากสถาบันการศึกษาและองค์กรในลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์การทำงาน องค์ความรู้อื่นๆที่ตกผลึกจากประสบการณ์การทำงานทางด้านการบริหารงานในระดับหมวดวิชา ระดับภาควิชา และระดับหลักสูตรระดับคณะและวิทยาลัย รวมทั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพรวมทั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งประเทศไทยมากว่า 30 ปี วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ องค์ความรู้ทั้งหมดที่กล่าวมาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ระบบการรับนักศึกษา การพัฒนาสาระหลักสูตรที่ต้องตอบสนองต่อทักษะสากลในศตวรรษที่21รวมทั้งต้องตอบสนองต่อความต้องการ (Demand) ของประเทศไทย การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การบริหารและพัฒนาอาจารย์ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา การวัดและประเมินผู้เรียน การบริหารและพัฒนาอาจารย์ รวมทั้งการพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ (Eco-System) โดยปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาจะต้องทำงานแบบประสานพลังกันเพื่อทำให้การจัดการศึกษาและการพัฒนาบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นเป็นไปในทิศทางที่ทำให้โลกของการเรียนรู้ โลกของการทำงาน และโลกแห่งอนาคต เป็นโลกเดียวกัน) โดยสามารถเขียนเป็นวงจรคุณภาพโดยสรุปได้ดังรูปที่ 1                                                 รูปที่ 1 วงจรคุณภาพของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์            พิจารณาจากรูปที่ 1 เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนดังนั้นกระบวนการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาบัณฑิตแบบองค์รวมจะเริ่มจากที่มาของรายได้หลักคือระบบการรับนักศึกษา รายได้รองมาจากงานวิจัยและงานบริการวิชาการในลักษณะต่างๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารและพัฒนาอาจารย์  โดยรายได้ดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในเรื่องของระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุน ใช้ในระบบการพัฒนาสาระวิชาในหลักสูตรระบบการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียน รวมทั้งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จากนั้นจึงใช้หลักการประสานพลัง (Synergy) ทั้งทรัพยากรบุคคลและภารกิจในการจัดการศึกษาแบบองค์รวม เพื่อผลิตงานวิจัยและบัณฑิตที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณเมื่อผลงานวิจัยงานบริการวิชาการและบัณฑิตมีคุณภาพก็จะส่งผลต่อชื่อเสียงของวิทยาลัยฯและจะเป็นปัจจัยย้อนกลับมายังค่านิยมทางด้านการศึกษาและการสนับสนุนทุนวิจัยให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปอย่างยั่งยืนไม่มีที่สิ้นสุด ในที่นี้จะกล่าวถึงการบริหารจัดการระบบต่างๆโดยสรุปดังนี้ ระบบการจัดทำสาระวิชาในหลักสูตร     การจัดทำสาระวิชาในหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นเป็นระบบที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก โดยการออกแบบและจัดทำสาระวิชาในหลักสูตรต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่สำคัญคือ ปัญหาของโลก และปัญหาของประเทศ(Pain Point) และมาตรฐานของวิชาชีพ ที่เหมาะสมกับยุคและสมัยของการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ของวิชาชีพ วงจรชีวิตของเทคโนโลยีในวิชาชีพ สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างองค์ความรู้และทักษะในระดับสากลและความต้องการของประเทศไทย โดยต้องให้สถานประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคมวิชาชีพมีส่วนร่วมในการจัดทำด้วย โดยสาระวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ ในยุคการแพทย์ที่เน้นการดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care : Corrective Medicine) ในระหว่างปีพ.ศ.2545-2560 ที่เน้นในเรื่องของการแก้ไขปัญหาในเรื่องการขาดแคลนบุคลากรและความพอเพียงและความพร้อมใช้รวมทั้งความปลอดภัยของผู้ป่วยที่เกี่ยวของกับเครื่องมือแพทย์ดังนั้นสาระวิชาของหลักสูตรในยุคนี้จะเน้นทางด้านการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมคลินิก (Clinical Engineering) และการวิจัยและพัฒนาต่อมาเป็นยุคตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 จนถึงปัจจุบันที่เน้นทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพหรือการแพทย์เชิงป้องกัน (Healthcare : Preventive Medicine) โดยทั้งสองยุคนั้น สิ่งที่เป็นที่ต้องการของประเทศไทยก็คือเรื่องของความมั่นคงทางด้านเรื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพโดยสาระวิชาในยุคปัจจุบันจะเน้นในเรื่องของทรานสฟอร์มเมชันทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ (Digital Transformation in Medical Device and Healthcare Technology) ควบคู่กับวิศวกรรมคลินิก โดยทั้งสองยุคนอกจากจะเน้นความรู้และทักษะทางด้าน Hard Skillsในวิชาชีพแล้วยังเน้นทางด้าน Soft Skills อีกทางหนึ่งด้วย การบริหารและพัฒนาอาจารย์รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุน สำหรับปัจจัยที่สำคัญต่อมาก็คือการจัดการในเรื่องของการบริหารจัดการบุคคลให้เหมาะสมกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่คาดหวังโดยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดโครงสร้าง บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุนวิชาการให้สอดคล้องกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ดังรูปที่ 3 โดยมีกระบวนการรับและพัฒนาบุคลากรโดยสรุปดังรูปที่ 2                                                                                                        รูปที่ 2 กระบวนการรับและพัฒนาบุคลากร           พิจารณาจากรูปที่ 2 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ประกอบด้วย ระบบการบริหารและพัฒนาอาจารย์ในลักษณะการประสานพลัง ในทุกมิติของภารกิจของอาจารย์ระดับอุดมศึกษาเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยและเป็นไปตามแผนพัฒนาวิทยาลัยสำหรับในส่วนของการบริหารจัดการและการพัฒนาอาจารย์จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ระบบการรับอาจารย์และแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร การบริหารอาจารย์ การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ที่ประกอบด้วย การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านภาระหน้าที่ในการพัฒนาคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ และการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทั้งนี้เพื่อให้อาจารย์มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนรู้การส่งเสริมและการพัฒนานักศึกษา           สำหรับปัจจัยที่สำคัญต่อมาก็คือการจัดการในเรื่องของการบริหารจัดการบุคคลให้เหมาะสมกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่คาดหวังโดยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดโครงสร้าง บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุนวิชาการให้สอดคล้องกับผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ดังรูปที่ 3                                                   รูปที่ 3 วิธีการการประสานพลังในการจัดการศึกษา           พิจารณาจากรูปที่ 3 สามารถอธิบายโดยสรุปได้ดังนี้           ในรูปที่ 3 จะเห็นว่าเป้าหมายของวิทยาลัยคือการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตตามยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงได้จัดแบ่งบุคลากรออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนการบริหารจัดการและส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นไปตามผลลัพธ์ ส่วนทีมพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ต้องประสานพลังกันกับงานวิจัยและบริการวิชาการ และส่วนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าโดยทั้งสามส่วนจะทำงานในลักษณะประสานพลังซึ่งกันและกัน สำหรับการจัดการในเรื่องของการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตนั้นก็จะใช้หลักการประสานพลังในภารกิจซึ่งกันและกันทั้งงานสอน งานวิจัยและงานบริการวิชาการ รวมทั้งงานทางด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีกลยุทธ์ที่สามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังรูปที่ 4                                                     รูปที่ 4 วิธีการการประสานพลังในการจัดการศึกษา           พิจารณาจากรูปที่ 4 เนื่องจากภูมิทัศน์ของโลกเปลี่ยนไปส่งผลทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนตามไปด้วย ท้ายที่สุดที่สำคัญก็คือทักษะที่ต้องการในการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ดังนั้นวิธีการการเรียนรู้ของผู้เรียนก็ต้องเปลี่ยน การเน้นการสอนไม่ได้ผล ต้องเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งผู้สอนและผู้เรียน อาจารย์ต้องไม่เน้นสอน แต่ต้องเน้นการออกแบบการเรียนรู้ เน้นสร้างแรงบันดาลใจ เน้นการเป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ไม่ใช่เป็นผู้สอน สำหรับกลยุทธ์และแนวทางในการจัดการการศึกษาและการพัฒนาบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์แบบองค์รวมโดยการประสานพลัง ทั้งคนและภารกิจเข้าด้วยกันโดยที่การทำภารกิจหนึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์และเชื่อมโยงไปยังอีกภารกิจที่เหลือด้วยโดยการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Outcome Based Learning)โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทั้งรูปแบบ Project Based LeaningและResearch Based Learning ที่เน้นการเรียนรู้และศึกษาปัญหาโจทย์วิจัยจาก Real Sector จากเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะของการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โดยกระบวนการโดยสรุปของการพัฒนาการจัดการศึกษาและการพัฒนาบัณฑิต เพื่อให้เป็นBrain Powerตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิตดังนี้ ชั้นปีที่ 1 เน้นในเรื่องการปรับ Mindset การสร้าง Passion และปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ See it, Own it , Solve it, Do it ควบคู่ไปกับความและทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐาน ชั้นปีที่ 2 จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Module โดยการสลายรายวิชาเพื่อเน้นการพัฒนาแนวคิดการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพแบบAnalog และแบบ Digital พร้อมๆกันกับเน้นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีม ชั้นปีที่ 3 จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Module โดยเน้นการพัฒนาแนวคิกการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพแบบอัจฉริยะ (Smart Medical Devices and Healthcare Technology) และการพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมคลินิก พร้อมๆกับการพัฒนา Mind Setในด้านความทะเยอทะยาน (Ambition) จิตสำนึกในด้านบริการโดยใช้ BIS-Center และชมรมเครื่องมือแพทย์ RSU เพื่อสังคมเป็นฐาน พร้อมทั้งเรียนรู้การศึกษาและหาแนวทางแก้ปัญหาจากสถานประกอบการจริงทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ชั้นปีที่ 4 จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Module โดยเน้นการพัฒนาแนวคิดการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษา Module Mini MBA การบริหารจัดการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ และการฝึกงานทั้งในและต่างประเทศตามความต้องการของนักศึกษา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางด้านนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการโดยใช้ห้องวิจัยของวิทยาลัยทั้ง 7 ห้องวิจัย BIS Center รวมทั้ง Technology Transfer Center (TTC) และสถานประกอบการจริงทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้           จากกระบวนการพัฒนานักศึกษาที่กล่าวมานั้นสิ่งที่สำคัญอีประการหนึ่งที่จะทำให้กลยุทธ์ในการจัดการศึกาและการพัฒนาบัณฑิตที่กล่าวมาประสบความสำเร็จคือการวัดและประเมินผล โดยทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการวัดและประเมินผลเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนเช่นการเปลี่ยนจากข้อสอบเป็นความลับ เป็นเปิดเผยมากขึ้น การเปลี่ยนจากสอบมีเฉพาะสอบวัดผลเป็นคนๆ เป็นการสอบวัดผลเป็นทีมด้วยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการวัดและประเมินจะเน้นการวัดคุณค่าของการพัฒนาแนวความคิดมากกว่าถูกหรือผิด การพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้           สิ่งหนึ่งที่วิทยาลัยได้ให้ความสำคัญในการดำเนินภารกิจตาม “ปณิธาน”ที่ว่ามุ่งทำให้“โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงาน และโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน” ก็คือเรื่องของ “ระบบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรูปที่ 1จะเห็นว่าระบบสนับสนุนการเรียนรู้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวส่งเสริมความสำเร็จในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนรวมทั้งการส่งเสริมบรรยากาศการทำงานของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน การพัฒนาระบบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนจะประกอบด้วยการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า Hardware และ Software เป็นสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ในรูปของความรู้สึกและบรรยากาศทั้งหมดที่เรียกว่า Eco – System สำหรับการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ผ่านมาสามารถกล่าวโดยสรุปได้แก่ สภาพแวดล้อมบริเวณรอบนอกวิทยาลัยประกอบด้วย สวนต้นไม้ ป้าย Backdrop ต่างๆ ที่นั่งพักผ่อน ห้องทำกิจกรรมของนักศึกษา ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ที่เป็น Hardware เพื่อทำให้บรรยากาศในห้องเรียนทุกห้องไม่ใช่เป็นบรรยากาศแห่งที่สอนหนังสือ แต่ต้องเป็นบรรยากาศที่สอดคล้องกับวิชาชีพคือวิศวกรชีวการแพทย์ ที่ประกอบด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้แก่ บรรยากาศการเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก บรรยากาศการเป็นศูนย์สำหรับการสอบเทียบ บรรยากาศในการเป็นศูนย์บำรุงรักษาที่ได้มาตรฐาน บรรยากาศของหอผู้ป่วยในรูปแบบต่างๆทั้งห้อง ICU ห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วยแบบต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพเป็นต้น ระบบสนับสนุนการเรียนรู้แบบ Online ที่เป็น Software ทางวิทยาลัยได้มุ่งทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้ของผู้เรียนสอดคล้องกับปรัชญาในเรื่องของเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการและเหมาะสมกับ Life Style ของผู้เรียนในทุก Generation ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านของการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองในการ“ก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยได้มีการพัฒนาระบบห้องวิจัย ระบบการเผยแพร่ผลงานวิจัย ระบบการนำผลงานวิจัยไปดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบการสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านงานบริการวิชาการที่สอดคล้องกับวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อรองรับการวิจัยของคณาจารย์ รวมทั้งนักศึกษาในทุกระดับทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก การรับนักศึกษา                  การดำเนินงานในด้านยุทธศาสตร์การรับนักศึกษานั้นจะกระกอบด้วยการประชาสัมพันธ์ การรับนักศึกษา โดยทั้งสองกระบวนการจะเน้นการใช้ผลงานในภาพรวมของวิทยาลัยฯที่กล่าวมาทั้งหมดในการประชาสัมพันธ์ทั้งเชิงรุกและเชิงตั้งรับในสื่อหลักและสื่อสังคมรวมทั้งการจัดกิจกรรมขึ้นทั้งในวิทยาลัยฯและนอกมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้ผู้สนใจที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ของหลักสูตรจำนวนมากขึ้น Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน  ผลลัพธ์ที่ได้ ในระดับหลักสูตร สามารถพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครบทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก มีทั้งแผนการเรียนภาษาไทยและแผนการเรียนนานาชาติ มาตรฐานทางด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์อยู่ในระดับดีเยี่ยมโดยสัดส่วนของคุณวุฒิปริญญาโทต่อปริญญาเอกของอาจารย์และสัดส่วนของตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์อยู่ในระดับดีเยี่ยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสืบค้นข้อมูลพบว่าตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ของอาจารย์วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตมีจำนวนสูงสุดในบรรดามหาวิทยาลัยของประเทศไทย จำนวนนักศึกษาแรกเข้าของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากในระยะเริ่มต้นรวมทุกชั้นปีจำนวนประมาณ 160 คน ปัจจุบันมีนักศึกษารวมทุกชั้นปีทุกระดับการศึกษาจำนวนประมาณมากกว่า 400 คน ผลงานทางวิชาการของนักศึกษาและอาจารย์ทั้งผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมรวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และที่เกี่ยวข้องในแต่ละปีการศึกษาเกิดขึ้นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงจำนวนมาก นักศึกษาและอาจารย์ของวิทยาลัยฯความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติได้รับรางวัลในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ บัณฑิตที่จบออกไปได้งานก่อนจบ และ จบไปแล้วไม่เกินระยะเวลา 2 เดือนได้งานครบ 100 เปอร์เซ็นต์ผู้ที่ทำงานในอัตราเงินเดือนเริ่มต้นที่สูงกว่ามาตรฐานของสกอ. รวมทั้งสามารถสอบเรียนต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในส่วนหลักสูตรนานาชาติหลักสูตรภาษาไทยและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับ 1-10 ของโลกเช่น Imperial College ของอังกฤษ เป็นต้น บัณฑิตมีความจงรักภักดีกับสาขาวิชา คณะฯและมหาวิทยาลัย ให้ความร่วมมือกับสาขาวิชาในด้านต่างๆด้วยดีตลอดมาตั้งแต่รุ่นที่ 1 จนถึงปัจจุบัน อัตราการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานของบัณฑิตที่ได้รับการพัฒนาในทิศทางดังกล่าวพบว่ามีการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานทั้งในเรื่องค่าตอบแทนและตำแหน่งในระดับดีมาก ศิษย์เก่าที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารในบริษัทแม่ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศออสเตรีย ทำงานเป็นวิศวกรที่ปรึกษาขององค์กรระหว่างประเทศทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นผู้บริหารในองค์กรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั้งระดับกลางและระดับดับสูง รวมทั้ง สามารถทำการเปิดบริษัทของตัวเองทางด้านอุปกรณ์การแพทย์ในขณะที่จบการศึกษาออกไปได้เพียง 2 ปีและบริษัทดังกล่าวมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับที่ดีในตลาดเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย ระดับคะแนนการประกันคุณภาพประจำปีเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยรังสิตต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 3 ปี ความพึงพอใจของนักศึกษาในทุกระดับการศึกษาในด้านระบบสนับสนุนการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมากตลอดมา จากการสอบถามนักศึกษาแรกเข้าพบว่า ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ทำให้เป็นที่ต้องการเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตคือความพร้อมของระบบสนับสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยฯ   ในระดับสถาบัน ผลงานและความสามารถในการแข่งขันของนักศึกษาและคณาจารย์สามารถทำชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตได้หลายๆผลงานในทุกปีการศึกษา ได้รับการยกระดับจากมหาวิทยาลัยรังสิตจากระดับหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้เป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ตามลำดับ   ในระดับวิชาชีพและระดับประเทศ มีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในผู้นำในการยกระดับวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้มีตัวตนในวิชาชีพของประเทศ นักศึกษาและบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านวิชาชีพของประเทศไทยและมีส่วนในการร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศในการเป็นหนึ่งในทีมงานที่มีคุณภาพในด้านการดูแลรักษาสุขภาพให้กับประชาชนอย่างมีมาตรฐานเท่าเทียมกับระดับสากล สามารถกำจัดและ/หรือลด Pain Point ทางด้านวิศวกรรมคลินิกและ/หรือความมั่นคงทางด้านเครื่องมือแพทย์ให้กับประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้นำในด้านการพัฒนาทางด้าน Digital Transformation ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางด้านการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทย   ในระดับอาเซียนและนานาชาติ เป็นผู้ผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และวางระบบบริหารจัดการงานเครื่องมือแพทย์ให้กับประเทศสปป.ลาวตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยจากการติดตามผลของความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานของบัณฑิตในประเทศสปป.ลาวตลอดมากกว่า 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีเยี่ยมโดยในปัจจุบันประเทศสปปป.ลาวได้นำเอาหลักและวิธีการที่ได้เรียนรู้จากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการรวมทั้งการปฏิบัติงานและที่สำคัญผู้บริหารที่เป็นรับผิดชอบงานเครื่องมือแพทย์ทั้งประเทศสปป.ลาวคือบัณฑิตจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตรวมทั้งได้รับทุนการศึกษาจากต่างประเทศให้มาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตอย่างต่อเนื่อง จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระดับนานาชาติของประเทสในย่านอาเซียน   อื่นๆ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นเป้าหมายแรกๆของบุคคลจากภายนอกที่ต้องการมาเยี่ยมชมดูงานที่มหาวิทยาลัยรังสิตเพราะปัจจัยที่สำคัญลำดับแรกๆก็คือต้องการมาเยี่ยมชมพร้อมของระบบสนับสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยฯ วิทยาลัยฯได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกเช่นสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สอบรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์จำนวนอย่างน้อย 3 มาตรฐานวิชาชีพคือ วิชาชีพวิศวกรชีวการแพทย์ในโรงพยาบาล วิชาชีพการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ และวิชาชีพการผลิตเครื่องมือแพทย์เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญที่สุดในการได้รับการรับรองคือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนรู้เช่นอาคารสถานที่และอุปกรณ์เครื่องมือเป็นต้น ผลงานวิจัย ทุนสนับสนุนการวิจัย รวมทั้งคะแนนประกันคุณภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ติด3อันดับแรกของมหาวิทยาลัยรังสิตในตลอดระยะ 5 ปีที่ผานมา ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลถึงความสำเร็จนี้ก็คือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งรวมทั้งการทำวิจัยด้วยในทุกมิติที่ส่งผลทำให้การขอทุนวิจัย การผลิตผลงานวิจัยการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยรวมทั้งงานบริการวิชาการที่ทางวิทยาลัยได้ทำในลักษณะ Synergy ภารกิจนั่นเอง   อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน สำหรับความท้าทายของการดำเนินการตามแนวคิดและหลักการที่ได้กล่าวมมานั้นสามารถสรุปได้ดังนี้ ส่วนของบุคลากรสายอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่ ในระยะเริ่มต้น ที่จะต้องปรับแนวความคิดหรือชุดความคิด (Mindset) และหลังจากที่ผ่านทดลองงานหรือมีประสบการณ์ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปก็จะสามารถดำเนินการได้ราบรื่นมากขึ้น ส่วนของกฎระเบียบส่วนกลางต่างๆที่เกี่ยวข้องในทุกระดับทั้งระดับมหาวิทยาลัย และ/หรือระดับประเทศที่อาจจะเป็นข้อจำกัดหรืออุปสรรคเนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่หลากหลายรูปแบบดังนั้นจึงต้องใช้พลังงานของผู้บริหารระดับคระ/วิทยาลัยในการทำความเข้าใจ แก้ไขและปรับปรุงเป็นระยะๆอยู่ตลอดเพื่อให้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่  เนื่องจากภูมิทัศน์ของโลกในทุกๆมิติรวมทั้งนักศึกษาที่เข้าใหม่ในแต่ละรุ่น (Generation) มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางเกือบทุกมิติในทุกๆปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ในทุกๆปี ที่สำคัญที่สุดก็คือโลกหลังยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และโลกหลังยุคสังคมฐานความรู้ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของทางด้านการแพทย์จากการแพทย์เชิงตั้งรับ (Patient Care) เป็นการแพทย์เชิงรุกหรือเชิงป้องกัน (Healthcare หรือ Care for Citizen) ปรากฏการณ์ดังกล่าวทางวิทยาลัยฯได้ทำการตรวจสอบ ติดตามและเฝ้าระวังเพื่อรับมืออยู่ตลอดเวลาและมีการแก้ไข ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยและเป้าหมายบางของยุทธศาสตร์และการดำเนินกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลาทั้งในระยะ6 เดือนระยะ1 ปี ระยะ3 ปีและระยะ5 ปี โดยที่แกนหลักของยุทธศาสตร์คือการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบ Transformative Learning โดยมีหลักการ แผนงานและวิธีการดำเนินการและเป้าหมายดังรายละเอียดที่กล่าวมาข้างต้น จากการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนและวิธีการการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นซึ่งถือได้ว่าเป็นความรู้และวิธีการที่ค้นพบใหม่และพิสูจน์มาแล้วตลอดกว่า20ปีที่ผ่านมาพบว่าแนวคิดเกี่ยวกับวงจรคุณภาพ (รูปที่1) วิธีการการบริหารจัดการ (รูปที่2) และวิธีการการประสานพลังในการจัดการศึกษา (รูปที่3 และรูปที่4) ที่ได้คิดและจัดทำขึ้นมาและนำไปใช้ในการลงมือปฏิบัติงานจริงในระยะที่ผ่านมา โดยการปรับปรุงรายละเอียดบางประการอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงนั้น สามารถทำให้การบริหารจัดการงานการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตประสบความความสำเร็จตามเป้าหมายของผลลัพธ์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ของผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นที่ชัดเจน (ดังรายละเอียดในหัวข้อเรื่องผลลัพธ์ที่ได้) ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice  เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีหลายกลุ่มคณะ/วิทยาลัยทำให้แนวทางและยุทธศาสตร์การดำเนินการในการจัดการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ แต่ทุกรูปแบบสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายต่ำสุดของยุทธศาสตร์(Minimum Requirement) ของมหาวิทยาลัยได้ ในส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ก็ยังคงยึดถือแนวทางที่กล่าวมาและจะปรับปรุงในรายละเอียดบางส่วนอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของโลกและประเทศไทยในมิติต่างๆ  สำหรับการดำเนินการเพื่อให้สามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้นจริงๆแล้วในหลายคณะ/หลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรังสิตและ/หรือสถาบันการศึกษาของภาครัฐที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศไทยได้ใช้แนวทางบางส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน สาระเนื้อหาวิชาในหลักสูตร วิธีการวัดและประเมินผลอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้มีการอ้างอิงโดยตรง

การเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอน Read More »

Scroll to Top