การสร้างสรรค์ภาพถ่ายนานาชาติ “Human Condition : Hope and Survival”
การสร้างสรรค์ภาพถ่ายนานาชาติ “Human Condition : Hope and Survival” ยุทธศาสตร์ที่ 2 รางวัลดีเด่น ปี2564 ผู้จัดทำโครงการ อ.สุรัตน์ ทองหรี่ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ด้วยเครือข่ายนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ (Communication Consortium) 18 สถาบัน ตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์และการเผยแพร่ผลงานของอาจารย์ในระดับนานาชาติ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้ สกอ. และได้เล็งเห็นว่าผลงานสร้างสรรค์ประเภทภาพถ่าย เป็นงานที่อยู่ในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตทุกสถาบัน จึงมีโครงการจัดกิจกรรมการเผยแพร่ผลงานภาพถ่ายนานาชาติของอาจารย์ในเครือข่ายนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ โดยกำหนดจัดโครงการประมาณเดือนเมษายนของทุกปี ทั้งนี้ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจัดแสดงต้องผ่านการประเมินจากนักวิชาการ นักวิชาชีพ และศิลปินแห่งชาติ โดยมีผู้ส่งผลงานจากประเทศนอกอาเซียนอย่างน้อย 5 ประเทศ โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการพัฒนาอาจารย์และการประกันคุณภาพการศึกษาอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2565 เครือข่ายนิเทศศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติในหัวข้อ ‘Human Condition : Hope and Survival’ โดยได้เชิญชวนผู้สนใจส่งภาพถ่ายเข้าประกวดเพื่อคัดเลือกผลงานนำไปจัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในการนี้ผู้เล่าเรื่องได้ส่งผลงานภาพถ่ายเข้าร่วมประกวดและได้รับคัดเลือกภาพถ่ายที่ทำขึ้นภายใต้ชื่อ ‘Give Alms to a Buddhist Monk : ตักบาตรเช้า’ ให้แสดงในนิทรรศการในครั้งนี้ นิทรรศการภาพถ่าย ‘Human Condition : Hope and Survival (สถาวะมนุษย์ : ความหวังและความอยู่รอด)’ เป็นพื้นที่ของการสะท้อนภาพความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ สะท้อนผ่านมุมมองที่หลากหลายที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบัน การแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับตัวตนของมนุษย์ต่อคำถาม เราคือใคร เป็นอยู่อย่างไร การดำเนินชีวิตอย่างไรที่สร้างความหวังเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางความรวนเรแปรปรวนของระบบคุณค่าทั้งเชิงชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ปรัชญา ศาสนา สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทสถานการณ์โรคโควิด-19 เราค้นพบวิถีปรับตัวสู่ชีวิตในวิถีใหม่อย่างสร้างสรรค์ในลักษณะใดบ้าง อะไรคือความหวังและความอยู่รอด เครือข่ายนิเทศศาสตร์เล็งเห็นว่า ภาพถ่ายในช่วงรอดต่อของภัยคุกคามสู่สภาวะความเป็นปกติใหม่นี้ จะเป็นสื่อเตือนใจให้ผู้คนตั้งตนอยู่บนความไม่ประมาท ดำรงชีวิตอย่างมีความหวังเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ภาพถ่ายเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการถ่ายนทอดเรื่องราว ความคิด ในการสื่อสารความหมาย เรื่องราว เหตุการณ์ สถานที่ ช่วงเวลา รวมถึงความหมายที่ผู้รับสารเกิดการรับรู้ด้วยการสัมผัสทางสายตา การสื่อสารด้วยภาพจึงเป็นวิธีการแสดงออกทางความคิดที่ง่ายตรงไปตรงมา ภาพถ่ายยังเป็นสื่อที่ช่วยสร้างความสนใจ การจดจำและการตีความหมายเนื้อหาและเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นนามธรรมออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมและภาพถ่ายยังเป็นการสื่อสารความคิดของมนุษย์ผ่านภาษาภาพไปยังผู้ที่ต้องการสื่อสารด้วย ภาพถ่ายเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิต เปรียบเสมือนสาร (Message) ที่ผู้ส่งสาร (Sender) ส่งไปยังผู้รับสาร (Receiver) ผ่านช่องทาง (Channel) ต่าง ๆ ภาพถ่ายเป็นสื่อที่สำคัญในการบันทึกความรู้สึก เหตุการณ์ ความทรงจำ รวมถึงค่านิยมเพื่อก่อให้เกิดสิ่งใหม่ผ่านการนำเสนอมุมมองทางความคิด ประสบการณ์ จินตนาการ ในการสะท้อนการรับรู้ถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อวิถีชีวิตของทุกสรรพสิ่ง จากที่มาของแนวคิดข้างต้น จึงเกิดแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดมุมมองที่จะสะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ ผ่านมุมมองหลากหลายที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคมทั้งเชิงชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ปรัชญา ศาสนา สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทสถานการณ์โรคโควิด-19 ผู้คนค้นพบวิถีปรับตัวสู่ชีวิตในวิถีใหม่อย่างสร้างสรรค์ในลักษณะใดบ้าง อะไรคือความหวังและความอยู่รอด ส่งผ่านความคิดมุมมองต่อการดำเนินชีวิตความหวังเพื่อความอยู่รอดของคนรุ่นต่อ ๆ ไป ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ผู้เล่าเรื่อง ได้ศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการกำหนดแนวทางในการสร้างสรรค์ อันประกอบด้วย แนวคิดศิลปะแห่งการภาพถ่าย แนวคิดการสื่อความหมายด้วยภาพ และแนวคิดการถ่ายภาพแนว Life Photography จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้เล่าเรื่องกำหนดแนวคิดการสร้างสรรค์ภาพถ่าย ได้แก่ แนวคิดการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ และขั้นตอนการสร้างสรรค์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ แนวคิดการสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1.1 แนวคิดหลัก (Main Idea) คือ ‘ภาพสะท้อนความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ผ่านมุมมองหลากหลายที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม’ 1.2 การพัฒนาแนวคิดหลัก ผู้เล่าเรื่องนำแนวคิดหลักมาเป็นหัวใจหลักของ การสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว Life Photography โดยเน้นการนำเสนอเรื่องราวของสรรพสิ่งที่มีชีวิตกระทำต่อกันที่สะท้อนความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคมอย่างเป็นธรรมชาติไม่มีการจัดฉากเหตุการณ์ โดยสร้างสรรค์ผ่านความรู้ ประสบการณ์และแรงบันดาลใจของผู้เล่าเรื่อง กระบวนการสร้างสรรค์ ผู้เล่านำแนวคิด ‘ทุกชีวิตล้วนมีความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม’ เป็นประเด็นสำคัญในการสื่อสารสะท้อนภาพความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยมีเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายให้รับรู้ถึงความงดงามที่ก่อตัวขึ้นเป็นธรรมชาตินั่นเกิดจากสรรพสิ่งที่มีชีวิตที่ให้และแบ่งปันซึ่งกันและกันเพื่อความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ เป็นเพียงสื่อที่นำพาไปสู่ความรู้สึกทางจิตใจทั้งของผู้ให้และผู้รับ และผู้เล่าเรื่องนำแนวคิดการจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะ โดยหลอมรวมเนื้อหาให้เป็นหนึ่งเดียวและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเพื่อนำไปสู่จุดเด่นในภาพที่เกิดจากการเชื่อมโยงความคิด ความรู้สึก และจินตนาการ3. ขั้นตอนการสร้างสรรค์ ผู้เล่าเริ่มจากการสำรวจสถานที่ โดยการนำตัวของผู้เล่าเรื่องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ตามเรื่องราวที่กำหนดไว้และเตรียมพร้อมบันทึกภาพเหตุการณ์นั้น ๆ โดยที่ภาพเหตุการณ์จะต้องปราศจากการจัดฉากหรือการปรุงแต่งใด ๆ เพียงแต่การเฝ้ารอจังหวะให้เหตุการณ์นั้นดำเนินเรื่องราวของมันไป โดยกำหนดและค้นหาฉากหลังที่ตรงกับการสื่อความหมายที่วางไว้ จากนั้นเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกภาพ ประกอบด้วย กล้อง เลนส์ ขาตั้งกล้อง เมมโมรีการ์ด ปรับตั้งค่าโหมด รูรับแสง สปีดชัตเตอร์ รวมถึงความยาวโฟกัสให้มีความพร้อม จากนั้นเฝ้ารอเหตุการณ์ที่จินตนาการไว้ ผู้เล่าเรื่องอดทนรอจน Subject ที่ต้องการปรากฏตามตำแหน่งขององค์ประกอบภาพที่จินตนาการไว้ รวมถึงอากัปกิริยาของ Subject ที่ต้องการ แล้วลงมือกดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ☑ ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase) เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)☑ เจ้าของความรู้/สังกัด อาจารย์คมศร สนองคุณ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการดำเนินการ ผู้เล่าเรื่องกำหนดขั้นตอนการดำเนินการภาพถ่ายไว้ โดยมีขั้นตอนคือ การบ่งชี้ความรู้ เครือข่ายนิเทศศาสตร์ จัดประกวดภาพถ่ายนานาชาติ ในหัวข้อ ‘Human Condition : Hope and Survival (สถาวะมนุษย์ : ความหวังและความอยู่รอด)’ โดยผู้เล่าสนใจส่งภาพถ่ายเข้าประกวด โดยผู้เล่าได้สนใจสร้างสรรค์ภาพถ่ายในประเด็นที่ทุกชีวิตล้วนมีความหวังเพื่อความอยู่รอดที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคมในบริบทสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้อย่างไรบ้าง การสร้างและแสวงหาความรู้ เมื่อกำหนดประเด็นการสร้างสรรค์ภาพถ่ายได้ ผู้เล่าดำเนินการแสวงหาประเด็นที่จะใช้ในการถ่ายภาพโดยให้เกี่ยวข้องกับ “สถาวะมนุษย์ : ความหวังและความอยู่รอด” โดยเน้นไปที่วิถีชีวิตของมนุษย์ที่ปรับตัวให้อยู่กับบริบทสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมไปถึงแสวงหาเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว Life Photography เพื่อที่ทำให้สามารถถ่ายทอดเรื่องได้ตรงกับโจทย์มากที่สุด การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ผู้เล่าเรื่องมีขั้นตอนการจัดการความรู้โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ – Background : กลุ่มเครือข่ายนิเทศศาสตร์จัดประกวดภาพถ่ายนานาชาติ หัวข้อ ‘Human Condition : Hope and Survival (สถาวะมนุษย์ : ความหวังและความอยู่รอด)’ เพื่อสะท้อนภาพความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม – Objective Communication : เพื่อสร้างการตระหนักรู้ต่อวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม – Target Audience : บุคคลที่มีต้องการความหวังเพื่อความอยู่รอด – What to Say Concept : ทุกชีวิตล้วนมีความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม – Mood and Tone : ความหวัง ความอยู่รอด วิถีชีวิต และธรรมชาติ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ผู้เล่าเรื่องนำแนวคิด ‘ทุกชีวิตล้วนมีความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม’ เป็นประเด็นสำคัญในการสื่อสารสะท้อนภาพความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยมีสาระสำคัญด้าน 1) เนื้อหา (Content) ผู้เล่าเรื่องกำหนดเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายให้รับรู้ถึงความงดงามที่ก่อตัวขึ้นเป็นธรรมชาตินั่นเกิดจากสรรพสิ่งที่มีชีวิตที่ให้และแบ่งปันซึ่งกันและกันเพื่อความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ เป็นเพียงสื่อที่นำพาไปสู่ความรู้สึกทางจิตใจทั้งของผู้ให้และผู้รับ 2) รูปทรง (Form) ผู้เล่าเรื่องนำแนวคิดองค์ประกอบทางศิลปะมาหลอมรวมเพื่อประกอบสร้างความหมายตามประเด็นเนื้อหาที่กำหนดไว้ คือ การจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะ (Composition Art) ในแบบเอกภาพ (Unity) โดยหลอมรวมเนื้อหาให้เป็นหนึ่งเดียวและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของส่วนประกอบอื่น นำไปสู่จุดเด่นในภาพที่เกิดจากการเชื่อมโยงความคิด ความรู้สึก และจินตนาการ การเข้าถึงความรู้ สถานที่ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นดินแดนอีสานใต้ ที่มีความงดงามทางด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม ที่น่าสนใจ โดยมีจุดเด่น เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ด้านล่างติดเทือกเขาพนมดงรักและชายแดนกัมพูชา ผู้คนมีหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันมานานนับพันปี จึงทำให้เกิดวัฒนธรรมที่หลากหลาย ‘ตักบาตรข้าวเหนียว’ ก็เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ที่ทุกเช้าจะมีชาวบ้านจะมานั่งรอพระสงฆ์ที่เดินเรียงแถวกันมาเพื่อตักบาตรข้าวเหนียวนึ่งร้อน ๆ ที่สืบทอดกันมายาวนานของวิถีชีวิตที่สงบ เรียบง่าย และงดงามอย่างเป็นธรรมชาติ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทุกคนต้องเว้นระยะห่างในการตักบาตรเพื่อความปลอดภัยทั้งพระสงฆ์และชาวบ้าน การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ผู้เล่าได้เข้าไปศึกษาข้อมูลที่มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ในคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University เพื่อนำมาใช้เป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายในครั้งนี้ การเรียนรู้ ผู้เล่าได้เรียนรู้ดังนี้ 7.1 การสำรวจสถานที่ โดยการนำตัวของผู้เล่าเรื่องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ตามเรื่องราวที่กำหนดไว้และเตรียมพร้อมบันทึกภาพเหตุการณ์นั้น ๆ โดยที่ภาพเหตุการณ์จะต้องปราศจากการจัดฉากหรือการปรุงแต่งใด ๆ เพียงแต่การเฝ้ารอจังหวะให้เหตุการณ์นั้นดำเนินเรื่องราวของมันไป 7.2 การเลือกฉาก ผู้เล่าเรื่องค้นหาฉากหลังที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวที่ต้องการสื่อความหมาย ระหว่างนั้นเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกภาพ ประกอบด้วย กล้อง Mirrorless Sony A5100 เลนส์ 18-55 mm และขาตั้งกล้อง โดยปรับตั้งค่าโหมด AV รูรับแสง F2.8 สปีดชัตเตอร์ 1/250 ISO 200 รวมถึงกำหนดความยาวโฟกัสให้เก็บภาพได้เต็มตัว ให้มีความพร้อม จากนั้นเฝ้ารอเหตุการณ์ที่จินตนาการไว้ 7.3 การบันทึกภาพ ผู้เล่าเรื่อง เฝ้ารอเหตุการณ์จน Subject ที่ต้องการปรากฏตามตำแหน่งขององค์ประกอบภาพที่จินตนาการไว้ รวมถึงอากัปกิริยาของ Subject ที่ต้องการ แล้วลงมือกดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ โดยบันทึกภาพหลาย ๆ ภาพเพื่อนำมาคัดเลือกภาพที่สมบูรณ์ที่สุด ทั้ง แสง สี ฉาก และอากัปกิริยาของ Subject 2.Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน * 2.1 ผลงานการสร้างสรรค์ภาพถ่าย ชื่อผลงาน : ‘Give Alms to a Buddhist Monk : ตักบาตรเช้า’ 2.2 อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน 1) การเลือกสถานที่ สถานที่ถ่ายภาพเป็นสถานที่จริงที่มิได้มีการจัดฉากหรือองค์ประกอบใด ๆ ดังนั้นผู้ถ่ายทำต้องเลือกมุมและจัดองค์ประกอบภาพให้ภาพออกมาสมบูรณ์ในการสื่อความหมายมากที่สุด 2) การเลือกฉาก ด้วยการเป็นชุมชนชนบท ฉากหลังที่เป็นท้องฟ้าจะส่งให้ภาพมีความน่าสนใจมากกว่าที่จะเป็นบ้านเรือนหรือต้นไม้ในชุมชน 3) การบันทึกภาพ ก่อนกดชัตเตอร์ผู้ถ่ายภาพต้องรอจังหวะเวลาที่ดีที่สุดเพราะเหตุการณ์นั้นจะเกิดเพียงเสี้ยววินาที หรืออาจต้องใช้การบันทึกภาพแบบต่อเนื่องเพื่อสามารถนำมาเลือกภาพที่ดีที่สุด 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ ผู้เล่าเรื่อง สรุปข้อค้นพบองค์ความรู้ใหม่ของการสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว Life photography โดยสาระสำคัญ ดังนี้ 3.1 การถ่ายภาพแนว Life Photography เป็นการถ่ายภาพวิถีชีวิตที่สะท้อนมุมมองความคิด เรื่องราว สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เน้นเรื่องความเป็นจริงของสภาพที่เป็นไปในสังคม ไม่มีการจัดฉาก จะอยู่บนท้องถนน ในที่ใดก็ตาม มันก็คือภาพชีวิตจริง ไม่ได้จำกัดสถานที่และเวลา แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไป ต้องเว้นระยะห่าง ต้องใส่หน้ากาก จึงทำให้ผู้เล่าเรื่องต้องมีการจัดวางองค์ประกอบภาพให้เหมาะสมกว่าปกติเพื่อการถ่ายภาพให้สมบูรณ์ที่สุด 3.2 ฉากหน้าฉากหลัง ผู้เล่าเรื่องได้ใช้การองค์ประกอบภาพฉากหลังด้วยกฎสามส่วน โดยแบ่งเป็นพื้นดินสองส่วนท้องฟ้าหนึ่งเพื่อให้ฉากหลังกับวัตถุอยู่ในโทนสีข้างเคียงดูแล้วกลืนกันมีมิติที่น่าสนใจในการสื่อความหมายของภาพ 3.3 เทคนิคการใช้กล้องและอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้เล่าเลือกถ่ายภาพแนวตั้งเพื่อจะได้บันทึกภาพแบบเต็มตัว ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดได้ใกล้และชัดเจนกว่าการถ่ายภาพแนวนอน อีกทั้งลดพื้นที่ด้านข้างของภาพแนวนอน จึงทำให้สามารถเน้นสิ่งที่ถ่ายได้ชัดเจนขึ้น เต็มตามากขึ้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ผู้เล่าเรื่อง สรุปข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคตของการสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว Life Photography เพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice โดยสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ด้านสถานที่ การนำตัวของผู้เล่าเรื่องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ตามเรื่องราวที่กำหนดไว้อาจยุ่งยากเพราะด้วยจังหวะเวลา และปรากฏการณ์นั้นอาจเกิดเพียงเสี้ยววินาที ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมการเป็นอย่างดี ในการสำรวจช่วงเวลาและสถานที่ก่อนบันทึกภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ตรงกับการสื่อความหมายมากที่สุด การเลือกฉากหลัง ก่อนกดบันทึกภาพ สิ่งที่ผู้เล่าเรื่องต้องคำนึงถึงคือฉากหลังและองค์ประกอบภาพที่ผู้รับสารจะสัมผัสได้ผ่านภาพถ่ายนั้น ซึ่งบางครั้งการถ่ายภาพมีมุมจำกัดในการบันทึกภาพ ผู้ถ่ายภาพอาจต้องเตรียมอุปกรณ์ ทั้ง กล้อง เลนส์ ฯลฯ ให้ตรงกับภาพที่จะบันทึก การบันทึกภาพ ผู้เล่าเรื่องควรบันทึกภาพหลากหลายมุม หลากหลายองค์ประกอบ เพราะภาพที่เป็นธรรมชาติ อาจมีอากรับกิริยา อาการ อารมณ์ สีหน้า ท่าทาง ที่แตกต่างกันไปทุกเสี้ยววินาที การบันทึกภาพหลากหลายมุมและองค์ประกอบจะทำให้ได้ภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด
การสร้างสรรค์ภาพถ่ายนานาชาติ “Human Condition : Hope and Survival” Read More »