ยุทธศาสตร์ที่ 2

การผลักดันงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าสู่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.3.2, KR 2.1.1 การผลักดันงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เข้าสู่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.ภก.เชาวลิต มณฑล วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           รายวิชา ปัญหาพิเศษ เป็นหนึ่งในรายวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นในด้านการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริงอย่างเป็นระบบ ในรายวิชานี้ นักศึกษาจะได้มีโอกาสศึกษา วิเคราะห์ และค้นคว้าประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญทางด้านเภสัชศาสตร์ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาความเข้าใจอย่างรอบด้านผ่านการเรียนรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เช่น ตำรา หนังสือ วารสารวิชาการ ฐานข้อมูล และเอกสารคำสอนต่าง ๆ กระบวนการเหล่านี้ช่วยให้นักศึกษาไม่เพียงแต่มีความเข้าใจเชิงลึกในศาสตร์ที่ศึกษา แต่ยังได้เรียนรู้ การตั้งสมมติฐาน การออกแบบงานวิจัย การวางแผนการทดลอง รวมถึงการแปลผลข้อมูล กระบวนการดังกล่าวยังช่วยปลูกฝังทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในวิชาชีพเภสัชกรรม นอกจากนี้ ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากรายวิชานี้ยังมีศักยภาพที่จะถูกพัฒนาต่อยอดสู่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยสร้างชื่อเสียงและเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาในเวทีวิชาการ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพ รายวิชา ปัญหาพิเศษ จึงไม่ได้เป็นเพียงการเรียนรู้ในห้องเรียน แต่เป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สร้างผลงานที่มีคุณค่า สร้างองค์ความรู้ใหม่ และเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในวิชาชีพกรรมอย่างแท้จริง ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ในรายวิชา ปัญหาพิเศษ ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานด้านเภสัชศาสตร์ เช่น การคำนวณทางเภสัชกรรม เทคนิคการชั่ง ตวง วัด ทฤษฎีต่าง ๆ ทางเภสัชศาสตร์ และความรู้ขั้นสูง เช่น เทคโนโลยีเภสัชกรรม เภสัชเคมี เภสัชเวท เภสัชวิทยา และเภสัชกรรมคลินิก ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการตั้งสมมติฐานและออกแบบงานวิจัย ตลอดจนกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นการตั้งสมมติฐาน การออกแบบงานวิจัย การวางแผนการทดลอง การทำการทดลอง การแปลผลข้อมูล และการสรุปข้อมูลอย่างเป็นระบบ นักศึกษายังได้พัฒนาทักษะการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เช่น ตำรา หนังสือ วารสารวิชาการ ฐานข้อมูล และเอกสารคำสอน นอกจากนี้ รายวิชายังส่งเสริมการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ พร้อมทั้งฝึกทักษะการสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น การเขียนรายงานผลการวิจัยและการนำเสนอผลงานให้แก่คณาจารย์และนักศึกษาด้วยกันเอง รวมถึงการพัฒนาผลงานวิจัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่ใช้ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชานี้ช่วยให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในวิชาชีพเภสัชกรรมและการวิจัยในอนาคตอย่างแท้จริง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต                                 วิธีการดำเนินการ คัดเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาและหัวข้อวิจัย           นักศึกษาคัดเลือกอาจารย์ที่ต้องการทำวิจัยด้วย และเข้าพูดคุยปรึกษาเพื่อคัดเลือกหัวข้อวิจัยที่ทั้งนักศึกษาและอาจารย์มีความสนใจร่วมกัน ก่อนเริ่มต้นการวิจัย จะต้องสืบค้นข้อมูล (ภาคการศึกษาที่ 2 ของชั้นปีที่ 4) เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่างานวิจัยที่จะดำเนินการไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่มีอยู่เดิม การเตรียมทรัพยากรสำหรับวิจัย           อาจารย์จัดหาและเตรียมสารเคมี อุปกรณ์ และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยให้นักศึกษา ก่อนเริ่มดำเนินการในภาคการศึกษาที่ 1 (ของชั้นปีที่ 5) ตลอดจนขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การดำเนินการวิจัย           ก่อนเริ่มการวิจัย อาจารย์ชี้แจงขั้นตอนการวิจัย รวมถึงเน้นประเด็นด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (lab safety) เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำการวิจัยได้อย่างปลอดภัย จากนั้นนักศึกษาดำเนินการวิจัยตามแผนที่วางไว้ โดยมีอาจารย์ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และสามารถเข้าปรึกษาอาจารย์ได้ตลอดเวลา           ในขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การเตรียมและเจือจางสารมาตรฐาน การใช้งานเครื่องมือที่มีความละเอียดสูง เช่น HPLC หรือการใช้ไมโครปิเปต จะมีอาจารย์ดูแลเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย           เมื่อนักศึกษาทำการวิจัยในแต่ละหัวข้อเสร็จสิ้น ต้องจัดการข้อมูลการทดลองให้เรียบร้อยภายในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์เพื่อป้องกันการตกหล่นของข้อมูล และก่อนเริ่มการทดลองในหัวข้อถัดไป อาจารย์และนักศึกษาจะพูดคุยวางแผนและแนวทางแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลจากการทดลองที่ผ่านมาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจภาพรวมของการวิจัย รายงานความก้าวหน้า การจัดทำรายงาน และการนำเสนอผลการวิจัย           นักศึกษารายงานความก้าวหน้าของงานวิจัยในช่วงปลายภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 5 พร้อมจัดทำรายงานและเตรียมการนำเสนอในปลายภาคการศึกษาที่ 2 การจัดทำบทความวิจัย           อาจารย์รับผิดชอบหลักในการร่างบทความวิจัย โดยใช้ข้อมูลที่จัดทำร่วมกับนักศึกษา พร้อมคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์และประสานงานจนบทความได้รับการตีพิมพ์ โดยนักศึกษาจะได้รับการระบุชื่อเป็นผู้ร่วมวิจัยในทุกบทความที่เกิดจากรายวิชานี้ เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษา 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           ผลการดำเนินการนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ซึ่งสามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ได้อย่างต่อเนื่อง โดยในทุกปีการศึกษา นักศึกษามีผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น ในปีการศึกษา 2562 เกิดบทความวิจัยจำนวน 2 เรื่องจากการวิจัยของนักศึกษาเพียงกลุ่มเดียว และในปีการศึกษา 2563 ได้บทความวิจัยจำนวน 2 เรื่องจากการดำเนินงานของนักศึกษา 2 กลุ่ม ขณะที่ปีการศึกษาอื่น ๆ มีผลงานตีพิมพ์อย่างสม่ำเสมอปีละ 1 เรื่อง ยกเว้นปีการศึกษา 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้นักศึกษาไม่สามารถเข้ามาดำเนินงานวิจัยในมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตบทความวิจัยในปีการศึกษาดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ในปีการศึกษา 2567 นักศึกษาได้ดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการจัดทำรายงานและการเตรียมนำเสนอ ซึ่งผลการวิจัยที่ได้ถูกส่งไปยังวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus เพื่อรอการพิจารณาตีพิมพ์ต่อไป           อุปสรรคสำคัญที่พบในการดำเนินงานวิจัย นอกจากข้อจำกัดด้านสถานการณ์ภายนอก เช่น การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว ยังรวมถึงภาระทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่มีเนื้อหาวิชาการปริมาณมาก ซึ่งส่งผลให้มีเวลาในการทำวิจัยอย่างจำกัด โดยเฉพาะในช่วงปลายภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 5 ที่นักศึกษาต้องเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ทำให้สูญเสียเวลาสำหรับการทำวิจัยบางส่วน ส่งผลให้ต้องเร่งดำเนินงานวิจัยเพิ่มเติมในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพื่อให้สามารถทำวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้งานวิจัยมีความคืบหน้าอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันก็ยังคงมีเวลาเพียงพอสำหรับการเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพ การสนับสนุนและการปรับแผนงานอย่างเหมาะสมจากอาจารย์ที่ปรึกษามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดผลกระทบจากข้อจำกัดดังกล่าว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานวิจัยจนประสบความสำเร็จ หลักฐานประกอบ ปีการศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2565 ปีการศึกษา 2566 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           การตรวจสอบผลการดำเนินการวิจัย ได้รับการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยมีการติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยเป็นระยะ ทั้งในรูปแบบการรายงานความคืบหน้า การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในแต่ละขั้นตอน ตลอดจนการนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบรายงานฉบับสมบูรณ์และการนำเสนอปากเปล่าในช่วงปลายภาคการศึกษา กระบวนการดังกล่าวไม่เพียงช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาคุณภาพของผลงานวิจัย แต่ยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการกับคณาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน อันนำไปสู่มุมมองที่กว้างขวางและรอบด้าน           ในด้านประสบการณ์การนำไปใช้ งานวิจัยที่นักศึกษาดำเนินการแสดงถึงศักยภาพในการต่อยอดทั้งในเชิงวิชาการและการปฏิบัติ ตลอดจนการสร้างสรรค์องค์ความรู้ที่สามารถนำไปพัฒนานวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติได้ ผลการสรุปและอภิปรายพบว่า ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นมีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ สามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus อย่างต่อเนื่องในทุกปีการศึกษา อุปสรรคสำคัญที่พบระหว่างการดำเนินงาน คือ ภาระทางการเรียนของนักศึกษา ส่งผลให้เวลาในการทำวิจัยมีข้อจำกัด อย่างไรก็ตาม อุปสรรคดังกล่าวได้รับการแก้ไขผ่านการสนับสนุนจากอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงการจัดสรรเวลาเพิ่มเติมในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง           บทสรุปของการดำเนินการนี้ คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าและศักยภาพในเชิงวิชาการ นอกจากนี้ กระบวนการเรียนรู้ในรายวิชายังช่วยพัฒนาทักษะที่สำคัญ เช่น การคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และการสื่อสารเชิงวิชาการ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญในอนาคต นอกจากนี้ บทความวิจัยที่ผลิตขึ้นยังช่วยเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษา และเป็นตัวชี้วัดคุณภาพที่สามารถใช้รับรองมาตรฐานของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในอนาคต ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยสนับสนุนและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้: การวางแผนล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ           ควรเริ่มกระบวนการวางแผนหัวข้อวิจัยร่วมกันระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้นักศึกษามีเวลาเพียงพอในการสืบค้นข้อมูล จัดเตรียมทรัพยากร และลดความเร่งรีบในช่วงเวลาการดำเนินการ การสนับสนุนทรัพยากรและเครื่องมือที่ทันสมัย           การจัดหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ทดลอง สารเคมี และฐานข้อมูลที่ทันสมัย รวมถึงการอัพเดตซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย การจัดสรรเวลาอย่างยืดหยุ่น           ควรพิจารณาจัดตารางเวลาที่เอื้ออำนวยต่อนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา การสนับสนุนเชิงจิตวิทยา           การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและส่งเสริมความมั่นใจในตนเองของนักศึกษา รวมถึงการให้คำปรึกษาและคำแนะนำจากอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้นักศึกษามีแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นในการดำเนินการวิจัย การกำหนดเป้าหมายและการติดตามผลที่ชัดเจน           การกำหนดเป้าหมายในแต่ละช่วงของการวิจัย พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้นักศึกษาเห็นความก้าวหน้าของงานวิจัยและสามารถปรับปรุงการทำงานได้ทันท่วงที การต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์           บางงานวิจัยที่นักศึกษาดำเนินการยังไม่สมบูรณ์หรือมีข้อจำกัดในบางประการ ซึ่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบสามารถขยายขอบเขตงานวิจัยให้กว้างขึ้น เพื่อตอบโจทย์ประเด็นวิจัยที่ยังคงค้างอยู่ ในกรณีเช่นนี้ ทีมวิจัยและคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการต่อยอดงานวิจัยดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์และความลึกซึ้งของผลงาน ตลอดจนพัฒนาให้งานวิจัยมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติต่อไป           ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักศึกษาและอาจารย์สามารถสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพของนักศึกษาในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพในอนาคต และบทความวิจัยที่พัฒนาขึ้นยังเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการตอบสนองนโยบายมหาวิทยาลัยที่จะเข้าสู่การจัดอันดับ QS World University Rankings ได้เป็นอย่างดี

การผลักดันงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าสู่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Read More »

การสร้างนวัตกรรมวิจัยให้แข่งขันได้เทียมบ่าเทียมไหล่กับมหาวิทยาลัยรัฐ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.2.1/1, KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.2, KR 2.4.3/1 และ KR 2.4.4/1 การสร้างนวัตกรรมวิจัยให้แข่งขันได้เทียมบ่าเทียมไหล่ กับมหาวิทยาลัยรัฐ ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจและได้วางแผนชีวิตในการเป็นครู สู่การพัฒนาเป็นโค้ช และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการสร้างผลงานนวัตกรรมการวิจัย   เพราะนอกเหนือจากภารกิจหลักในการสอนและทำงานวิจัยแล้ว  ยังมีโอกาสได้สร้างแรงบันดาลใจและผลักดันการสร้างนวัตกรรมการวิจัย ให้นักศึกษาเห็นถึงความสำคัญและความเชื่อมโยงที่เป็นรูปธรรมของวิชาพื้นฐานและวิชาชีพ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ research based learning เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตาตื่นใจและเกิดความต้องการที่จะอยากรู้ การสอนโดยสอดแทรกเนื้อหาจากการค้นพบจากงานวิจัย ทำให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้ามองเห็นภาพและนำไปสู่บรรยากาศที่สร้างแรงบันดาลใจ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการที่เป็นรูปธรรมเพื่อหาคำตอบจากรูปแบบการทำงานวิจัยตั้งแต่ชั้นปีที่ 1   การเปิดโลกการเรียนรู้นอกห้องเรียน  ทำให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้าได้รับโอกาสที่ท้าทายขีดความสามารถ จนสามารถทลายความกลัว และลบความรู้สึกต่ำต้อยให้หมดไปจากหัวใจ  ให้สามารถพัฒนาตนเอง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเทียมหน้าเทียมตานักศึกษาจากมหาวิทยาลัยภาครัฐ  ที่ไม่เพียงเป็นสร้างขวัญและพลังใจให้กับตนเอง  แต่ยังส่งต่อสู่นักศึกษารุ่นต่อมาได้อย่างต่อเนื่อง  จนมีผลงานที่ได้ถ้วยรางวัลและโล่รางวัลวิจัยและนวัตกรรมจากงานวิจัยในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 24 รายการ และเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรนวัตกรรมจากงานวิจัยตั้งแต่ปี 2562 ในการเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 14 รายการ และการได้รับโอกาสในเป็นตัวแทนประเทศไทยนำผลงานไปแข่งระดับนานาชาติจากการได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ถึง 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2568 มุ่งเป้าไปสู่การเพิ่มพูนทักษะในการปั้นนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมวิจัยและเทคโนโลยีของตนเอง ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  วิชาเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร (Food Biotechnology) วิชาความรู้เบื้องต้นทางนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีอาหาร วิชาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Research and Development of Innovation Biotechnology) ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล /วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร  วิธีการดำเนินการ ได้จัดการเรียนการสอนนวัตกรรมวิจัยในรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท โดยผู้สอนได้สอดแทรกลงในรายวิชา FTH342 Food Biotechnology หรือวิชาเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร และวิชา FTH 383 เทคโนโลยีข้าว ระดับปริญญาตรี ของคณะเทคโนโลยีอาหาร ที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 2 และวิชา CAB111 Introduction to Agricultural Innovation, Biotechnology and Food Technology หรือวิชาความรู้เบื้องต้นทางนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีอาหาร ระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาทั้ง 2 คณะ ทั้งคณะคณะนวัตกรรมเกษตรและคณะเทคโนโลยีอาหาร ของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหารเพื่อปูพื้นและสร้างความคุ้นเคยให้กับนักศึกษาทั้งสองคณะของวิทยาลัยตั้งแต่ขั้นปีที่ 1 และได้สอนวิชา BIT691 Research Methodology and Experimental Design ในระดับปริญญาตรีและโท เพื่อให้สามารถฟอร์มทีมนักศึกษาในการส่งแข่งให้มีทั้งป.ตรี และ ป.โท ได้ ได้ขอทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างนวัตกรรมการวิจัย ได้ส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดเวทีต่างๆ ผลงานสำคัญและงานที่ภาคภูมิใจ ผลงานการแข่งขันนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ผลงานที่ได้ถ้วยและโล่รางวัลวิจัยและนวัตกรรมจากงานวิจัยในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 24 รายการ และเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรนวัตกรรมจากงานวิจัยในการเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 14 รายการ มุ่งเป้าไปสู่การเพิ่มพูนทักษะในการเป็นผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของตนเอง 2. ผลงานการเป็นหัวหน้าโครงการได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย ได้รับทุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาผลงานอาหารจากพืชตั้ง แต่ปี 2562 และเชื่อมโยงกับผลงานวิจัยที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2542 รวม 60 โครงการ มูลค่าทุนรวม 31,782,789 บาท ดังแสดงในตารางที่ 3  (ตารางสีฟ้า)  มีความภาคภูมิใจที่ผลงานอาหารโปรตีนจากพืชหลังปี 2562 สามารถผลักดันส่งเข้าประกวดระดับชาติ และนานาชาติได้ในปัจจุบัน ตารางที่ 3  หัวหน้าโครงการวิจัย จำนวน 60 โครงการ ผลงานนวัตกรรมการวิจัยได้รับทุนภายนอกและมีการโอนค่าธรรมเนียมคืนสู่มหาวิทยาลัย หลักฐานการโอนค่าบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอกแก่มหาวิทยาลัย 10% ในปี 2567 รางวัลชมชนะเลิศ นวัตกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2567 รางวัลชนะเลิศนวัตกรรมข้าวไทย ปี 2565 รางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2564 รางวัลชมเชยนวัตกรรมข้าวไทย ปี 2567 รางวัล Bronze Award ปี 2565 รางวัล Silver Award ปี 2564 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา จากการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา อยู่ในระดับ 4-5 แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินการ สามารถขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกได้หลากหลายแหล่งทุน และได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับดี ได้รับการคัดเลือกให้เป็นงานวิจัยที่สามารถขยายสู่การร่วมออกจัดแสดงผลงานของแหล่งทุนในงาน FOOD  FAIR ใหญ่ๆ ได้ทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ  (สวก. และ วช.)  และบางโครงการรับการคัดเลือกเป็นผลงานที่มีความโดดเด่นจากแหล่งทุนภายนอก (บพข.) ให้นำเสนอเป็นงานวิจัยไฮไลต์ ผลงานวิจัยที่ส่งประกวดเวทีต่างๆ ระดับประเทศได้รับการพิจจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการตัดสินให้เข้ารอบและได้รับรางวัลครบทุกเวที ยังไม่มีประวัติส่งไปแข่งแล้วไม่ติดรางวัลใดกลับมา 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK 1.มีข้อเสนอแนะจากผู้เรียนให้เพิ่มเติมประเด็นการขยายผลสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ นักศึกษามีความประสงค์ที่จะทำวิจัยเชิงลึกในระดับปริญญาโท  และมีข้อเสนอแนะให้เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเพิ่มเติม 2.ได้คอนเนคชั่นจากแหล่งทุนเดิมในการขยายสู่แหล่งทุนภายนอกในเฟสต่อไปเพื่อให้สามารถสเกลอัปสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรมเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอาหารใหม่และอาหารฟังก์ชั่นซึ่งเป็นอาหารแห่งอนาคตที่รัฐบาลไทยเร่งการผลักดันเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3. ได้รับ Feed back จากการออกบูธจัดแสดงผลงานและการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ในการปรับปรุงงานวิจัยให้ตรงใจผู้บริโภคต่างประเทศเพื่อการส่งออกในอนาคต 4.มีผลงานถ้วยรางวัลและโล่รางวัลวิจัยและนวัตกรรมจากงานวิจัยในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 25 รายการ และเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรนวัตกรรมจากงานวิจัยในการเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 14 รายการ และผลงาน Update ในปี 2568 ได้ขยับระดับการส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดในเวทีระดับนานาชาติ จำนวน 3 เวทีคือ                4.1  เวที 2025 Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition (IPITEx 2025) จัดโดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช) ในงาน วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568 วันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568  รางวัลที่ได้รับ คือ รางวัลเหรียญทอง                4.2 The 3rd China-ASEAN Innovation and Entrepreneurship Competition Commitment Letter จัดโดย  Ministry of Science and Technology of the People’s Republic of China  ASEAN Secretariat ประเทศจีน และนำเสนอผลงาน (pitching) ณ ประเทศมาเลเซีย เดือนกรกฏาคม 2568 อยู่ในระหว่างรอประกาศผล ส่งแข่งโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)                4.2 The 5th World Science, Environment and Engineering Competition WSEEC 2025, Jakarta จัดโดย Fakultas Universitas Pancasila ประเทศอินโดนีเซีย และนำเสนอผลงาน (pitching) ณ ประเทศอินโดนีเซีย วันที่ 14-22 เดือนพฤษภาคม 2568 ส่งแข่งโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เรื่องที่ 1  งบประมาณทุนวิจัย เป็นที่ทราบกันดีว่า มหาวิทยาลัยเอกชน จะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านทุนวิจัยจากภาครัฐ  แต่จะใช้เงินรายได้จากจำนวนนักศึกษาเข้าเรียนที่ไม่แน่นอนมาจัดสรรทุนวิจัย  อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเข้าเรียนของนักศึกษาใหม่ มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยเอกชนจึงมีวงเงินจำกัดในการให้ทุนวิจัยแก่คณาจารย์ ทำให้งานวิจัยไม่ลึกและแคบรวมถึงไม่สามารถขยายสเกลสู่สหสาขาได้   และหากต้องการขอทุนระดับ 5 แสน ต้องมีการตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติระดับควอไทน์ 2 ขึ้นไป  ยังไม่มีการเทรดหรือการวัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยด้วยรางวัลการแข่งประกวดนวัตกรรม อาจเพราะไม่สามารถนำมาใช้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเหมือนบทความตีพิมพ์ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าผลงานนวัตกรรมวิจัยเป็นสิ่งที่จับต้องได้และมี impact ที่ส่งเสริมความเจริญของประเทศไทยได้ไม่ด้อยกว่าการตีพิมพ์บทความวิจัย สิ่งที่อยากนำเสนอต่อแหล่งทุนภายในคือ การเพิ่มออปชั่นการวัดความสำเร็จในการขอวงเงินวิจัยระดับ 5 แสนอัป ด้วยการใช้ผลงานการประกวดนวัตกรรมเพิ่มเติมจากผลงานตีพิมพ์ ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนแล้ว การขอทุนจากแหล่งทุนภายนอก มีการแข่งขันอย่างดุเดือดจากคณาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัยเอกชนด้วยกันและจากมหาวิทยาลัยภาครัฐด้วย  ดังนั้น นอกเหนือไปจากการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์และวิทยานิพนธ์จำนวนมากซึ่งเป็นบทบาทหลักของอาจารย์ประจำในการบริหารโครงการวิจัยหลักอยู่แล้ว   การที่ข้าพเจ้าได้รับทุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง  เพื่อทำงานวิจัยเพิ่มเติมจากงานวิจัยหลัก จึงเป็นความภาคภูมิใจ ที่ได้รับความเชื่อถือ และสามารถปิดทุนได้ครบสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ผู้ให้ทุน  ข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยที่มีการทำสัญญาทุนวิจัย จำนวน 60 โครงการ มูลค่าทุนรวม 31,782,789 บาท มีความภาคภูมิใจที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของแหล่งทุนโดยไม่รู้สึกกดดันแต่อย่างไร สิ่งที่อยากนำเสนอต่อแหล่งทุนภายในคือ การระบุวันที่ในใบเสร็จที่ใช้เคลียร์เงินทุนวิจัยตามงวด น่าจะมีการยืดหยุ่นให้นักวิจัยได้บ้าง เพราะนักวิจัยอย่างข้าพเจ้า มักจะทำวิจัยให้สำเร็จไปก่อนอย่างน้อย 80 % ก่อนขอทุนวิจัย เพื่อเป็นหลักประกันว่าสามารถควบคุมเวลาวิจัยได้ตรงตามช่วงรายงานความก้าวหน้า  ปัญหาคือใบเสร็จเก่าที่อยู่นอกกรอบเวลา ต้องถูกทิ้งไป ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เรื่องที่ 2 การแข่งขันประกวดผลงานในเวทีนานาชาติ มีสิ่งที่อยากนำเสนอ คือ เรื่องเวลา เพราะไม่สามารถเดินทางไปร่วมแข่งในรูปแบบออนไซต์ได้ ทำให้พลาดโอกาสการส่งผลงานแข่งในหลายเวทีที่ไม่ได้จัดแข่งแบบออนไลน์ ทั้งอาจารย์และนักศึกษาติดภาระกิจการเรียนการสอนที่ไม่ยืดหยุ่นในบางรายวิชาที่ไม่ให้คุณค่าการแข่งขัน ทำให้นักศึกษามีความเครียดและรู้สึกว่าการแข่งขันเป็นการบั่นทอนเกรดการเรียน เรื่องนโยบาย เพราะรางวัลจากการแข่งขันไม่สามารถนำมาใชประโยชน์อะไรในทางวิชาการของอาจารย์ได้เลย     กล่าวโดยสรุป ผลการดำเนินในปี 2567 ที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงจากผลงานการสร้างนวัตกรรมวิจัยที่ทำมาก่อนหน้าที่นำมาแสดง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่เห็นผลชัดเจนประการหนึ่งคือ ยอดนักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) เพิ่มจาก 1 คนในปี 2566 และ 0 คน ในปี 2567 เป็น 5 คน ในปี 2568 (รหัสจำลอง ป.โท ของนศ.ทั้ง 5 คน ประกอบด้วย 67911-00444, 67911-00302, 67921-00117, 67921-00113 และ 67921-112) และทั้งหมด เป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร ในระบบตรีควบโท  ที่มีความคุ้นเคยกับการสร้างวัตกรรมการวิจัยขณะที่กำลังศึกษาในหลักสูตร ตรงตามวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างนวัตกรรมวิจัย  และได้รับการอนุมัติทุน 50% จากมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การสร้างนวัตกรรมวิจัยให้แข่งขันได้เทียมบ่าเทียมไหล่กับมหาวิทยาลัยรัฐ Read More »

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.2.1/1 และ KR 2.5.1/1 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็น นักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.พิมลวรรณ ตรีพัฒนสิทธิ์ คณะบัญชี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้แบบใหม่อยู่เสมอ ความต้องการนักวิจัยรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนานักวิจัยจึงเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของคณะบัญชีในผลักดันอาจารย์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพด้านการวิจัย ให้มีโอกาสได้ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และให้เข้าสู่เส้นทางการเป็นนักวิจัยอาชีพและสร้างองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมบุคลากรให้มีความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานด้านการวิจัย กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน และพร้อมก้าวสู่อนาคต สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี การพัฒนาอาจารย์ด้านวิจัยจึงจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจในการริเริ่มพัฒนา โดยการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเอง พัฒนาทักษะความรู้และพัฒนาศักยภาพของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมให้ขอทุนสนับสนุนการวิจัยและสนับสนุนในการนำเสนอผลงานวิจัย และการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา           การพัฒนาอาจารย์นอกจากจะพัฒนาด้านการสอน ด้านการบริการวิชาการแล้ว การพัฒนาอาจารย์ด้านการวิจัยก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ดังนั้นการพัฒนาอาจารย์ด้านการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัยจึงถือเป็นอีกหนึ่งในภารกิจสำคัญของคณะบัญชี ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างนวัตกรรมงานวิจัย KR2.1.1 สัดส่วนอาจารย์ นักวิจัยที่มีงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรมต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด KR2.2.1/1 จำนวนเงินทุนสนับสนุน งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์ (รวมทั้งภายในและภายนอก) และ KR2.5.1/1 ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงานวิชาการ รวมทั้งการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  Training & Development: T&D กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กร ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง Set T&D Goals กำหนดเป้าหมายด้านการวิจัยให้สอดคล้องกับเส้นทางเติบโตของคณะ ด้วยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะบัญชี พ.ศ. 2565 – 2569 ระยะ 5 ปีเพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาด้านงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม Assessment หาจุดอ่อน (Gap) ของคณะบัญชีและอาจารย์ โดยสร้างระบบและกลไกส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัย การจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล พ.ศ. 2565 – 2569 เพื่อให้อาจารย์กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเองระยะ 5 ปี Training & Development Journey ออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เป็นการส่งเสริมสนุนการดำเนินงานด้านการวิจัย โดยการสนับสนุนส่งเสริมความรู้และทักษะด้านการวิจัย กำหนดแผนการพัฒนาความรู้และทักษะด้านวิจัย จัดอบรมให้ความรู้ reskill และ upskill เพื่อเตรียมพร้อมทักษะความสามารถต่อทุกการเปลี่ยนแปลง Choose Tools / Methods เลือกเครื่องมือให้ถูกต้อง ในการพัฒนาทักษะด้านการวิจัย โดยได้มีการจัดเตรียมระบบที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูล ระบบตรวจสอบการคัดลออกผลงาน ระบบฐานข้อมูลและโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ทางสถิติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องและการคัดลอกข้อมูล จึงมีระบบการเผยแพร่ข่าวสาร การอบรมสัมมนาด้านการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน ข่าวสารเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยของคณาจารย์  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลวิจัยออนไลน์   ระบบการตรวจสอบความถูกต้องของบทความ (Authentication) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย  ระบบการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนภายในและภายนอกสถาบัน ข้อมูลการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ข้อมูลเกี่ยวกับการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัย รวมถึงข้อมูลการจัดอบรมด้านวิชาการและการวิจัย  Work Environment สร้างวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเรียนรู้ในองค์กร โดยการสร้างแรงจูงใจ จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือให้เหมาะสม สร้างทีมวิจัยโดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้ให้คำแนะนำก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานวิจัยให้อาจารย์มีที่ปรึกษาตลอดการดำเนินงานวิจัย ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University     (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/) เจ้าของความรู้/สังกัด  ดร.ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ/คณะบัญชี อื่น ๆ  Training & Development กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กร ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง https://www.ftpi.or.th/en/2022/78527?fbclid=IwAR1vamM2nvif_KtM2wmBvar-p5EEoAWbfuX2M1Eiz_libpffE9Hdb12qdxo ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด ดร.ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ/คณะบัญชี วิธีการดำเนินการ           คณะบัญชีมีพันธกิจในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ  ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย  จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพการวิจัยของคณะ โดยนอกจากจะใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลสำหรับการพัฒนาหัวข้อและโครงร่างวิจัย  ยังใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาวารสารที่มีคุณภาพในการตัดสินใจเลือกตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับสากล รวมทั้งคณะบัญชีมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวกับแหล่งทุนให้อาจารย์ในคณะทราบโดยประกาศผ่านทางบอร์ดภายในคณะ การให้ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Line Application  คณะบัญชีมีการส่งเสริมการทำวิจัยโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ งานสัมมนาและอบรมต่าง ๆ เพื่อให้คณาจารย์ได้รับทราบข่าวสาร และสร้างความตื่นตัวให้กับอาจารย์  นอกจากนี้ยังมีระบบข้อมูล  SETSMART และจัดทำห้องสมุดของคณะที่รวบรวมวารสารทางวิชาการผลงานวิจัย สื่อสิ่งพิมพ์ และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ ทางการวิจัยให้แก่อาจารย์และนักศึกษา  ในปีการศึกษา 2566 คณะได้รับความอนุเคราะห์ในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมงานวิจัยจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้อาจารย์และนักศึกษาในระดับปริญญาโท  สามารถใช้ระบบสารสนเทศฯ ดังกล่าวในการสืบค้นข้อมูล บทวิเคราะห์  ข่าวสาร  ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยทางด้านการเงิน และตลาดทุน โดยสามารถสรุปขั้นตอนการดำเนินงานได้ดังนี้ ประชุมกรรมการประจำคณะและอาจารย์ประจำเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะบัญชี พ.ศ.2565–2569 ระยะ 5 ปี เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาคณะบัญชีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ประกาศใช้แผนเพื่อให้บุคลากรทุกคนได้รับทราบข้อมูลและเป้าหมายการพัฒนาคณะโดยทั่วกัน กำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล พ.ศ. 2565 – 2569 เพื่อให้อาจารย์กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเองระยะ 5 ปี โดยการกำหนดแผนการพัฒนาด้านวิจัยซึ่งประกอบไปด้วย การกำหนดเป้าจำนวนเงินทุนสนับสนุน งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์ (รวมทั้งภายในและภายนอก) และการกำหนดเป้าหมายร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงานวิชาการอย่างน้อยที่ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก 00 ต่อคน จัดทำแผนการพัฒนาความรู้และทักษะด้านวิจัย โดยการวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์งานวิจัย เพื่อเตรียมพร้อมทักษะความสามารถต่อทุกการเปลี่ยนแปลง ดำเนินงานตามแผน โดยเมื่ออาจารย์รับทราบและกำหนดเป้าหมายแล้ว จะต้องดำเนินการตามแผนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยรองคณบดีฝ่ายบริหารจะทำหน้าที่ติดตามผลการดำเนินงาน 2 ครั้งต่อปีการศึกษา เพื่อเป็นการเน้นย้ำและรายงานผลการปฏิบัติงานระยะครึ่งปี สรุปผลการดำเนินงาน โดยรองคณบดีฝ่ายบริหารจะทำหน้าที่สรุปผลการดำเนินงานจัดทำเป็นรายงานผลการเป้าหมายและผลงานเชิงประจักษ์การพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ประจำปีการศึกษา 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินการด้านงานวิชาการและงานวิจัยตามแผนตั้งแต่ปี พ.ศ.2565–2569 ระยะ 5 ปี สามารถสรุปได้ดังนี้                ด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566                คณะบัญชี มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวกับแหล่งทุนให้อาจารย์ในคณะทราบโดยประกาศผ่านทางบอร์ดภายในคณะ การให้ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Line Application โดยคณะมีการประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ งานสัมมนาต่าง ๆ เพื่อให้อาจารย์ได้รับทราบข่าวสาร และสร้างความตื่นตัวให้กับอาจารย์  นอกจากนี้ ยังมีระบบข้อมูลบริษัทจดทะเบียน  SETSMART และห้องสมุดของคณะที่รวบรวมวารสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย สื่อสิ่งพิมพ์ และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ ทางการวิจัยให้แก่อาจารย์ รังสิต มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย โดยสถาบันวิจัย (สวจ.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการดูแลและบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย ที่ทุกคณะวิชาสามารถเข้าถึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศ และนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยได้ ดำเนินการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ โดยทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันวิจัย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ และศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคสมัยใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตผลงานวิชาการ นอกจากนี้สถาบันวิจัย ยังเป็นศูนย์ให้คำปรึกษา โดยมีบริการให้คำปรึกษา บริการการจัดอบรมด้านวิชาการและการวิจัย  บริการข่าวสารข้อมูลด้านการวิจัยและมีสำนักงานจริยธรรม เป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำ ให้การสนับสนุน ในการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์                ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเรียนรู้ในองค์กร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566                สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรือการผลิตงานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ โดยมหาวิทยาลัยมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกหรือรักษาความปลอดภัยในการทำวิจัยหรือการผลิตผลงานสร้างสรรค์ โดยมีโปรแกรม อักขรวิสุทธิ์ และTurnitin เป็นเครื่องมือใช้ตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism Checker) เช่น วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ทั้งนักศึกษาและอาจารย์สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกนี้ เพื่อให้ประโยชน์ในด้านการวิจัย                การจัดกิจกรรมกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) คณะบัญชีมีความร่วมมือกับสมาคมบัญชีบริหารแห่งเอเซีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Management Accounting Association: APMAA) ในการจัดการประชุมทางวิชาการ และการสัมนาในรูปแบบออนไลน์ โดยในปี 2565 มีการจัดสัมมนา  International Conference – Indonesia Chapter (วันที่ 8-11 November 2022) และมีการจัดสัมนาในลักษณะออนไซต์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 มีแขกรับเชิญจากต่างประเทศ จำนวน 14 ท่าน จากประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย บังคลาเทศ เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ International Seminar Topic: Possibility of Research Collaborations between universities ทั้งอาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการเข้าฟังบรรยาย และมีส่วนร่วมในการจัดการสัมมนา รวมทั้งการร่วมจัดประชุมและสัมมนาวิชาการด้านการศึกษาทางการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูถัมภ์ โดยมีบุคลากรของคณะร่วมเป็นกรรมการจัดงาน และผู้ร่วมเสวนาในการสัมมนาวิชาการ กิจกรรมดังกล่าวเหล่านี้เป็นกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยที่คณะ เพื่อสนับสนุนให้คณาจารย์ในคณะมีความเติบโตทางการวิจัยและวิชาการ                ผลการดำเนินงานด้านการเผยแพร่ผลงานวิชาการะและงานวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566                โดยปีการศึกษา 2565 คณาจารย์ของคณะบัญชีมีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ  ซึ่งรวมอยู่ในทุนวิจัยตามสัญญารับทุนอุดหนุนวิจัยของอาจารย์ประจำคณะบัญชี โดยมีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการตีพิมพ์จำนวนทั้งสิ้น 15 บทความ แยกเป็นตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ (TCI 1 และ TCI2) จำนวน 8 บทความ การตีพิมพ์ในการประชุมระดับชาติ จำนวน 5 บทความ และการประชุมระดับนานาชาติ จำนวน 2 บทความ                โดยปีการศึกษา 2566 คณาจารย์ของคณะบัญชีมีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ  ซึ่งรวมอยู่ในทุนวิจัยตามสัญญารับทุนอุดหนุนวิจัยของอาจารย์ประจำคณะบัญชี โดยมีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการตีพิมพ์จำนวนทั้งสิ้น 20 บทความ แยกเป็นตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ (TCI 1 TCI2 และ Scopus) จำนวน 13 บทความ การตีพิมพ์ในการประชุมระดับชาติ จำนวน 3 บทความ และการประชุมระดับนานาชาติ จำนวน 4 บทความ โดยผลงานวิจัย ปี 2566 มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่มีระดับคุณภาพสูงขึ้น ผลการดำเนินงานด้านเงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์งานวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566                ปีการศึกษา 2565 คณะบัญชี มีจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง จำนวน 11 คน โดยมีเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบัน จำนวนรวมทั้งสิ้น 8 ทุนวิจัย เป็นทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 5 ทุนวิจัย (เงินทุนวิจัย 342,143บาท) และเป็นทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกในประเทศ 1 ทุนวิจัย และจากต่างประเทศ 2 ทุนวิจัย (เงินทุนวิจัย 221,425 บาท) รวมเงินทุนวิจัยทั้ง 8 ทุนวิจัย เป็นจำนวน 563,568 บาท           ปีการศึกษา 2566 คณะบัญชีมีจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ศึกษาต่อ] จำนวน 11 คน โดยมีเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในรวมทั้งสิ้น  655,406.50 บาท แบ่งเป็นทุนวิจัยจากสัญญาทุนปีการศึกษา 2566 จำนวน 308,647.50  บาท  และทุนวิจัยจากสัญญาทุน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 346,759.00 บาท ทุนวิจัยจากภายนอกสถาบัน รวมทั้งสิ้น 298,301.00 บาท แบ่งเป็นทุนวิจัยจากสัญญาทุนปี 2566 รวม  61,492.00 บาท และทุนวิจัยจากสัญญาทุนปี 2565 รวม  236,809.00 บาทเมื่อคำนวณจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในละภายนอกต่อจำนวนอาจารย์ประจำทั้งสิ้น 11 คน  เงินสนับสนุนทุนวิจัยเฉลี่ยรายบุคคลเท่ากับ   86,700.68 บาท และแปลงค่าจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามกลุ่มสาขาวิชาฯ ได้คะแนนเท่ากับ 5.00 คะแนน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           การตรวจสอบผลการดำเนินงานด้านการวิจัยพบว่าปี พ.ศ.2565-2566  การพัฒนาอาจารย์ด้วยการวิจัยนั้นบรรลุความสำเร็จทุกเป้าหมายและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างนวัตกรรมงานวิจัย KR2.1.1 สัดส่วนอาจารย์ นักวิจัยที่มีงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรมต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด KR2.2.1/1 จำนวนเงินทุนสนับสนุน งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์ (รวมทั้งภายในและภายนอก) และ KR2.5.1/1 ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงานวิชาการ  ดังนี้           ผลการดำเนินงานด้านการวิจัย ปีพ.ศ.2565-2566 บรรลุเป้าหมายเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และตัวบ่งชี้ที่ 2.3ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย ทำให้คณะบัญชีมีผลการประเมิน 5.00 คะแนน สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           การดำเนินงานด้านการวิจัยเพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 เพื่อให้คณะสามารถจัดทำแผนการดำเนินงานคณะได้ต่อไป เมื่อคณะมีการกำหนดแผนการดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว ให้มีการประกาศแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้อาจารย์สามารถนำไปกำหนดแผนการพัฒนาด้านการวิจัยให้สอดคล้องไปกับแผนการดำเนินคณะและมหาวิทยาลัย           การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงควรมีแผนการดำเนินงานและเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถออกแบบแผนการพัฒนาอาจารย์ด้านการวิจัยต่อไป การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนอกจากจะเน้นการอำนวยความสะดวกด้านสิ่งสนับสนุนงานวิจัยแล้ว ยังต้องมีการสร้างแรงจูงใจ และมีทีมวิจัยใจที่ดีมีพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำส่งผลการดำเนินงานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในปี 2567 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) กำลังเปลี่ยนโลกของการค้นพบและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ในการเริ่มต้นใช้ AI เพื่อการเรียนรู้และวิจัย ควรมีการพัฒนาเรียนรู้วิธีการใช้ AI tools เป็นผู้ช่วยนักวิจัยตัวน้อย ที่จะช่วยให้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์สนุกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้ AI อย่างรับผิดชอบ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ที่จะใช้ AI เป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมเพื่อโลกแห่งอนาคต ตารางแสดงผลงานวิจัยของอาจารย์ประจำ ประจำปีการศึกษา 2565

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง Read More »

การได้รับการรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP)

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 การได้รับการรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ ผศ.ดร.ฐิติ วิทยสรณะ นายวุฒิศักดิ์ อยู่จำนงค์ นางเบญจพร เกาะแก้ว สำนักงานจริยธรรมการวิจัย หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ในงานวิจัยที่เกี่ยงข้องกับคน ของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาจารย์ที่ต้องการใช้ผลงานวิจัยเพื่อยื่นของตำแหน่งวิชาการ โดยตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ข้อที่ (6) หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันที่มีการดำเนินการ มหาวิทยาลัยรังสิตจึงรังสิตจึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต หรือ Rangsit University – Ethical Review Board (RSU-ERB) หรือ เรียกย่อๆว่า คณะกรรมการฯ อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานจริยธรรมการวิจัย ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อออกใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ให้กับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ตลอดการทำงานที่ผ่านมา หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของคณะกรรมการฯ คือการได้รับความยอมรับการปฏิบัติงาน จากหน่วยงาน หรือสถาบันภายนอก ทั้งในระดับชาติและในระดับสากล โดยมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ได้รับการยอมรับระดับสากลนั้น คณะกรรมการฯต้องผ่านการรับรองมาตราฐานจากทางหน่วยงานที่มีชื่อว่า The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP) หรือเรียกย่อๆว่า SIDCER-FERCAP ซึ่งทางสำนักงานจริยธรรมการวิจัยและคณะกรรมการฯ ได้มีการวางแผนและเตรียมการเพื่อขอการรับรองมาตรฐานจาก SIDER-FERCAP โดยแผนการและการเตรียมการนั้นทางสำนักงานจริยธรรมการวิจัย ได้รายงานในแบบรายงานแนวปฏิบัติที่ดีตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เรื่อยมา ซึ่งสำนักงานจริยธรรมการวิจัยได้รับรางวัลชมเชยแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ 3 ปีซ้อนคือ ในปีการศึกษา 2564 เรื่อง “การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” ในปีการศึกษา 2565 เรื่อง “ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” และในปีการศึกษา 2566 เรื่อง “การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP)”           ในปีการศึกษา 2567 หลังจากได้นำเอาหลักการ และแนวปฏิบัติที่ได้ทำมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มาปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับการรับรองจากมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก SIDCER-FERCAP ถือเป็นคณะกรรมการจริยธรรมในคน จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก และแห่งเดียวในตอนนี้ได้ได้รับการรับรอง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ สำนักงานจริยธรรมการวิจัยในคน วิธีการดำเนินการ           เพื่อให้ได้การรับรองมาตราฐานจาก SIDCER-FERCAP นั้น ทางคณะกรรมการฯ ได้นำเอาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ที่ได้รับรางวัลชมเชยแนวทางปฏิบัติที่ดี 3 ปีซ้อนคือ ในปีการศึกษา 2564 เรื่อง “การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” ในปีการศึกษา 2565 เรื่อง “ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” และในปีการศึกษา 2566 เรื่อง “การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP)” ซึ่งจะกล่าวคร่าวได้ดังนี้ 1. การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต และขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 2 ปี โดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ชุดปัจจุบัน (แต่งตั้งเมื่อปี 2566)  ประกอบด้วยกรรมการภายหลักจำนวน 12 คน Lay person 2 คน และกรรมการสมทบจำนวน 70     1.2  มีการจัดตั้งสำนักงานจริยธรรมการวิจัย โดยใช้ห้อง 1/504 ซึ่งห้องนี้จะเป็นห้องที่ใช้เป็นสำนักงานจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะ มีการจัดหาอุปกรณ์สำนักงานสำหรับงานจริยธรรมการวิจัยในคน โดยเฉพาะ มีการจัดหาบุคลากรและเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานในส่วนของจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะ มีการจัดทำ Standard Operating Procedures หรือ SOP ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งปัจจุบันเป็น version ที่ 2.2 มีการพิจารณาข้อเสนอโครงการครอบคลุม 3 ระดับคือ Exempted, Expedited และ Full board มีการพิจารณาข้อเสนอโครงการระดับ Full board ทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน มีการติดตามการดำเนินงานของนักวิจัย หลังจากที่ได้รับใบรับรองจริยธรรมการวิจัย ทุกปี มีการจัดอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยให้กับอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทุกปี 2.การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP)”    2.1 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ   2.2 ขั้นตอนการเตรียม Standard Operating Procedures หรือ SOP   2.3 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการพิจารณาโครงการโดยคณะกรรมการฯ   2.4. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรอง และการติดตามการปิดโครงการ   2.5 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและการจัดการเอกสาร 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           คณะกรรมการฯ ได้รับการประเมินการปฏิบัติงานจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in  Asia and Western Pacific region (FERCAP)  ในวันที่ 28 – 30 สิงหาคม 2566 ณ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย ห้อง 1-505 และห้องประชุม 1-301 มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้ ศ. เกียรติคุณ ดร. พญ. จันทรา กาบวัง เหล่าถาวร, Survey Coordinator ผศ. ดร. พญ. พรรณทิพา ว่องไว,  Lead Surveyor รศ. ดร. พญ. ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม,  Local Surveyor                      ดร. พญ. อรวรรณ ศิลปะกิจ, Local Surveyor Sangeeta Desai, Foreign Surveyor From India รศ.ดร. อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา Assistance Surveyor กรรมการจากหน่วยงานรัฐ และเอกชน อีกจำนวน 15 คน รูปที่ 1 บรรยากาศในวันประเมินระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคม 2566           หลังจากได้รับการประเมิน กรรมการผู้ประเมินได้มีขอแนะนำต่างๆ ให้ทางคณะกรรมการฯแก้ไข ปรับปรุงเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตราฐานสากล ก่อนที่จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ เมื่อได้คำแนะนำจากกรรมการผู้ประเมินแล้ว คณะกรรมการฯจึงได้ทำการวางแผนงาน และแก้ไข ปรับปรุงตามคำแนะนำต่างๆ จนในวันที่ 6 กันยายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยระบบการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (National Ethics  Committee Accreditation System of Thailand :NECAST) ได้เสนอบทบาทในฐานะผู้ตรวจติดตามการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ภายหลัง SIDCER Recognition เพื่อเป็นการทบทวนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาทำการตรวจติดตามผลการแก้ไขของคณะกรรมการฯ รูปที่ 2 บรรยากาศในวันประเมินระหว่างวันที่ 6 กันยายน 2567 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK            หลังจากผ่านการประเมินติดตามการดำเนินงาน และการแก้ไขปรับปรุงของคณะกรรมการฯ แล้ว คณะกรรมการฯจึงได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานจาก SIDCER-FERCAP  อย่างเป็นทางการ และได้เดินทางไปรับโล่ห์การรับรองการปฏิบัติงาน ที่โรงแรม Everest Hotel กรุงกาฐมัณฑุ ประเทศเนปาล ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา รูปที่ 3 บรรยากาศการรับโล่ห์รางวัลที่โรงแรม Everest Hotel กรุงกาฐมัณฑุ ประเทศเนปาล ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 รูปที่ 4 โล่การรับรองการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ จาก SIDCER-FERCAP ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          การที่คณะกรรมการฯ ได้รับรองจาก SIDCER-FERCAP ในครั้งนี้นั้น ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จที่สำคัญคือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ คณะกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่รับหน้าที่พิจารณาโครงการที่ส่งเข้ามาให้พิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพตรงไป ตรงมา ตามหลักวิชาการ และมีกัลยณมิตรต่อนักวิจัย   เจ้าหน้าที่ในสำนักงานจริยธรรมการวิจัย ที่ช่วยให้การปฎิบัติงานของคณะกรรมการฯ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ที่ส่งโครงการเข้ามาขอการรับรอง ที่เข้าใจการทำงานของคณะกรรมการฯ          คณะกรรมการฯ ได้ผ่านการรับรองจาก SIDER-FERCAP ซึ่งถือว่าเป็นคณะกรรมการจริยธรรมในคน จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก และแห่งเดียวในตอนนี้ ที่ได้การรับรอง ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างมากในวงการวิชาการและวิจัย ดังนั้นการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ถือเป็น Best Practice หรือเป็นแบบอย่างที่ดีที่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จากสถาบันอื่นที่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก SIDCER-FERCAP มาเรียนรู้และเป็นแบบอย่างให้ปฏิบัติตาม ซึ่งได้มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนจากหลายสถาบันได้ติดต่อเข้ามาขอเยี่ยมชมการดำเนินงานของคณะกรรมฯ ตลอดจนการขอพูดคุยเพื่อขอทำ MOU กับคณะกรรมการฯ ในอนาคต

การได้รับการรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) Read More »

การสร้างสรรค์ภาพถ่ายนานาชาติ “Human Condition : Hope and Survival”

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2564 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสรรค์ภาพถ่ายนานาชาติ “Human Condition : Hope and Survival” ผู้จัดทำโครงการ​ อ.สุรัตน์ ทองหรี่ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ด้วยเครือข่ายนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ (Communication Consortium) 18 สถาบัน ตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์และการเผยแพร่ผลงานของอาจารย์ในระดับนานาชาติ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้ สกอ. และได้เล็งเห็นว่าผลงานสร้างสรรค์ประเภทภาพถ่าย เป็นงานที่อยู่ในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตทุกสถาบัน จึงมีโครงการจัดกิจกรรมการเผยแพร่ผลงานภาพถ่ายนานาชาติของอาจารย์ในเครือข่ายนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ โดยกำหนดจัดโครงการประมาณเดือนเมษายนของทุกปี ทั้งนี้ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจัดแสดงต้องผ่านการประเมินจากนักวิชาการ นักวิชาชีพ และศิลปินแห่งชาติ โดยมีผู้ส่งผลงานจากประเทศนอกอาเซียนอย่างน้อย 5 ประเทศ โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการพัฒนาอาจารย์และการประกันคุณภาพการศึกษาอีกด้วย           ในปี พ.ศ. 2565 เครือข่ายนิเทศศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติในหัวข้อ ‘Human Condition : Hope and Survival’ โดยได้เชิญชวนผู้สนใจส่งภาพถ่ายเข้าประกวดเพื่อคัดเลือกผลงานนำไปจัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในการนี้ผู้เล่าเรื่องได้ส่งผลงานภาพถ่ายเข้าร่วมประกวดและได้รับคัดเลือกภาพถ่ายที่ทำขึ้นภายใต้ชื่อ ‘Give Alms to a Buddhist Monk : ตักบาตรเช้า’ ให้แสดงในนิทรรศการในครั้งนี้           นิทรรศการภาพถ่าย ‘Human Condition : Hope and Survival (สถาวะมนุษย์ : ความหวังและความอยู่รอด)’ เป็นพื้นที่ของการสะท้อนภาพความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ สะท้อนผ่านมุมมองที่หลากหลายที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบัน การแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับตัวตนของมนุษย์ต่อคำถาม เราคือใคร เป็นอยู่อย่างไร การดำเนินชีวิตอย่างไรที่สร้างความหวังเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางความรวนเรแปรปรวนของระบบคุณค่าทั้งเชิงชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ปรัชญา ศาสนา สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทสถานการณ์โรคโควิด-19 เราค้นพบวิถีปรับตัวสู่ชีวิตในวิถีใหม่อย่างสร้างสรรค์ในลักษณะใดบ้าง อะไรคือความหวังและความอยู่รอด เครือข่ายนิเทศศาสตร์เล็งเห็นว่า ภาพถ่ายในช่วงรอดต่อของภัยคุกคามสู่สภาวะความเป็นปกติใหม่นี้ จะเป็นสื่อเตือนใจให้ผู้คนตั้งตนอยู่บนความไม่ประมาท ดำรงชีวิตอย่างมีความหวังเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป            ภาพถ่ายเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการถ่ายนทอดเรื่องราว ความคิด ในการสื่อสารความหมาย เรื่องราว เหตุการณ์ สถานที่ ช่วงเวลา รวมถึงความหมายที่ผู้รับสารเกิดการรับรู้ด้วยการสัมผัสทางสายตา การสื่อสารด้วยภาพจึงเป็นวิธีการแสดงออกทางความคิดที่ง่ายตรงไปตรงมา ภาพถ่ายยังเป็นสื่อที่ช่วยสร้างความสนใจ การจดจำและการตีความหมายเนื้อหาและเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นนามธรรมออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมและภาพถ่ายยังเป็นการสื่อสารความคิดของมนุษย์ผ่านภาษาภาพไปยังผู้ที่ต้องการสื่อสารด้วย           ภาพถ่ายเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิต เปรียบเสมือนสาร (Message) ที่ผู้ส่งสาร (Sender) ส่งไปยังผู้รับสาร (Receiver) ผ่านช่องทาง (Channel) ต่าง ๆ ภาพถ่ายเป็นสื่อที่สำคัญในการบันทึกความรู้สึก เหตุการณ์ ความทรงจำ รวมถึงค่านิยมเพื่อก่อให้เกิดสิ่งใหม่ผ่านการนำเสนอมุมมองทางความคิด ประสบการณ์ จินตนาการ ในการสะท้อนการรับรู้ถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อวิถีชีวิตของทุกสรรพสิ่ง            จากที่มาของแนวคิดข้างต้น จึงเกิดแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดมุมมองที่จะสะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ ผ่านมุมมองหลากหลายที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคมทั้งเชิงชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ปรัชญา ศาสนา สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทสถานการณ์โรคโควิด-19 ผู้คนค้นพบวิถีปรับตัวสู่ชีวิตในวิถีใหม่อย่างสร้างสรรค์ในลักษณะใดบ้าง อะไรคือความหวังและความอยู่รอด ส่งผ่านความคิดมุมมองต่อการดำเนินชีวิตความหวังเพื่อความอยู่รอดของคนรุ่นต่อ ๆ ไป ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ผู้เล่าเรื่อง ได้ศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการกำหนดแนวทางในการสร้างสรรค์ อันประกอบด้วย แนวคิดศิลปะแห่งการภาพถ่าย แนวคิดการสื่อความหมายด้วยภาพ และแนวคิดการถ่ายภาพแนว Life Photography จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้เล่าเรื่องกำหนดแนวคิดการสร้างสรรค์ภาพถ่าย ได้แก่ แนวคิดการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ และขั้นตอนการสร้างสรรค์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ แนวคิดการสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1.1 แนวคิดหลัก (Main Idea) คือ ‘ภาพสะท้อนความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ผ่านมุมมองหลากหลายที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม’ 1.2 การพัฒนาแนวคิดหลัก ผู้เล่าเรื่องนำแนวคิดหลักมาเป็นหัวใจหลักของ           การสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว Life Photography โดยเน้นการนำเสนอเรื่องราวของสรรพสิ่งที่มีชีวิตกระทำต่อกันที่สะท้อนความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคมอย่างเป็นธรรมชาติไม่มีการจัดฉากเหตุการณ์ โดยสร้างสรรค์ผ่านความรู้ ประสบการณ์และแรงบันดาลใจของผู้เล่าเรื่อง กระบวนการสร้างสรรค์ ผู้เล่านำแนวคิด ‘ทุกชีวิตล้วนมีความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม’ เป็นประเด็นสำคัญในการสื่อสารสะท้อนภาพความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยมีเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายให้รับรู้ถึงความงดงามที่ก่อตัวขึ้นเป็นธรรมชาตินั่นเกิดจากสรรพสิ่งที่มีชีวิตที่ให้และแบ่งปันซึ่งกันและกันเพื่อความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ เป็นเพียงสื่อที่นำพาไปสู่ความรู้สึกทางจิตใจทั้งของผู้ให้และผู้รับ และผู้เล่าเรื่องนำแนวคิดการจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะ โดยหลอมรวมเนื้อหาให้เป็นหนึ่งเดียวและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเพื่อนำไปสู่จุดเด่นในภาพที่เกิดจากการเชื่อมโยงความคิด ความรู้สึก และจินตนาการ3. ขั้นตอนการสร้างสรรค์ ผู้เล่าเริ่มจากการสำรวจสถานที่ โดยการนำตัวของผู้เล่าเรื่องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ตามเรื่องราวที่กำหนดไว้และเตรียมพร้อมบันทึกภาพเหตุการณ์นั้น ๆ โดยที่ภาพเหตุการณ์จะต้องปราศจากการจัดฉากหรือการปรุงแต่งใด ๆ เพียงแต่การเฝ้ารอจังหวะให้เหตุการณ์นั้นดำเนินเรื่องราวของมันไป โดยกำหนดและค้นหาฉากหลังที่ตรงกับการสื่อความหมายที่วางไว้ จากนั้นเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกภาพ ประกอบด้วย กล้อง เลนส์ ขาตั้งกล้อง เมมโมรีการ์ด ปรับตั้งค่าโหมด รูรับแสง สปีดชัตเตอร์ รวมถึงความยาวโฟกัสให้มีความพร้อม จากนั้นเฝ้ารอเหตุการณ์ที่จินตนาการไว้ ผู้เล่าเรื่องอดทนรอจน Subject ที่ต้องการปรากฏตามตำแหน่งขององค์ประกอบภาพที่จินตนาการไว้ รวมถึงอากัปกิริยาของ Subject ที่ต้องการ แล้วลงมือกดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ☑ ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University      (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase)       เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)☑ เจ้าของความรู้/สังกัด อาจารย์คมศร สนองคุณ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิธีการดำเนินการ ผู้เล่าเรื่องกำหนดขั้นตอนการดำเนินการภาพถ่ายไว้ โดยมีขั้นตอนคือ การบ่งชี้ความรู้ เครือข่ายนิเทศศาสตร์ จัดประกวดภาพถ่ายนานาชาติ ในหัวข้อ ‘Human Condition : Hope and Survival (สถาวะมนุษย์ : ความหวังและความอยู่รอด)’ โดยผู้เล่าสนใจส่งภาพถ่ายเข้าประกวด โดยผู้เล่าได้สนใจสร้างสรรค์ภาพถ่ายในประเด็นที่ทุกชีวิตล้วนมีความหวังเพื่อความอยู่รอดที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคมในบริบทสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้อย่างไรบ้าง  การสร้างและแสวงหาความรู้ เมื่อกำหนดประเด็นการสร้างสรรค์ภาพถ่ายได้ ผู้เล่าดำเนินการแสวงหาประเด็นที่จะใช้ในการถ่ายภาพโดยให้เกี่ยวข้องกับ “สถาวะมนุษย์ : ความหวังและความอยู่รอด” โดยเน้นไปที่วิถีชีวิตของมนุษย์ที่ปรับตัวให้อยู่กับบริบทสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมไปถึงแสวงหาเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว Life Photography เพื่อที่ทำให้สามารถถ่ายทอดเรื่องได้ตรงกับโจทย์มากที่สุด การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ผู้เล่าเรื่องมีขั้นตอนการจัดการความรู้โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ – Background : กลุ่มเครือข่ายนิเทศศาสตร์จัดประกวดภาพถ่ายนานาชาติ หัวข้อ ‘Human Condition : Hope and Survival (สถาวะมนุษย์ : ความหวังและความอยู่รอด)’ เพื่อสะท้อนภาพความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม – Objective Communication : เพื่อสร้างการตระหนักรู้ต่อวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม – Target Audience : บุคคลที่มีต้องการความหวังเพื่อความอยู่รอด – What to Say Concept : ทุกชีวิตล้วนมีความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม – Mood and Tone : ความหวัง ความอยู่รอด วิถีชีวิต และธรรมชาติ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ผู้เล่าเรื่องนำแนวคิด ‘ทุกชีวิตล้วนมีความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดที่เชื่อมโยงสู่สายใยชีวิตและสังคม’ เป็นประเด็นสำคัญในการสื่อสารสะท้อนภาพความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยมีสาระสำคัญด้าน 1) เนื้อหา (Content) ผู้เล่าเรื่องกำหนดเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายให้รับรู้ถึงความงดงามที่ก่อตัวขึ้นเป็นธรรมชาตินั่นเกิดจากสรรพสิ่งที่มีชีวิตที่ให้และแบ่งปันซึ่งกันและกันเพื่อความหวังและวิถีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ เป็นเพียงสื่อที่นำพาไปสู่ความรู้สึกทางจิตใจทั้งของผู้ให้และผู้รับ 2) รูปทรง (Form) ผู้เล่าเรื่องนำแนวคิดองค์ประกอบทางศิลปะมาหลอมรวมเพื่อประกอบสร้างความหมายตามประเด็นเนื้อหาที่กำหนดไว้ คือ การจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะ (Composition Art) ในแบบเอกภาพ (Unity) โดยหลอมรวมเนื้อหาให้เป็นหนึ่งเดียวและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของส่วนประกอบอื่น นำไปสู่จุดเด่นในภาพที่เกิดจากการเชื่อมโยงความคิด ความรู้สึก และจินตนาการ  การเข้าถึงความรู้ สถานที่ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นดินแดนอีสานใต้ ที่มีความงดงามทางด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม ที่น่าสนใจ โดยมีจุดเด่น เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ด้านล่างติดเทือกเขาพนมดงรักและชายแดนกัมพูชา ผู้คนมีหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันมานานนับพันปี จึงทำให้เกิดวัฒนธรรมที่หลากหลาย ‘ตักบาตรข้าวเหนียว’ ก็เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ที่ทุกเช้าจะมีชาวบ้านจะมานั่งรอพระสงฆ์ที่เดินเรียงแถวกันมาเพื่อตักบาตรข้าวเหนียวนึ่งร้อน ๆ ที่สืบทอดกันมายาวนานของวิถีชีวิตที่สงบ เรียบง่าย และงดงามอย่างเป็นธรรมชาติ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทุกคนต้องเว้นระยะห่างในการตักบาตรเพื่อความปลอดภัยทั้งพระสงฆ์และชาวบ้าน การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ผู้เล่าได้เข้าไปศึกษาข้อมูลที่มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ในคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University เพื่อนำมาใช้เป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายในครั้งนี้ การเรียนรู้ ผู้เล่าได้เรียนรู้ดังนี้ 7.1 การสำรวจสถานที่ โดยการนำตัวของผู้เล่าเรื่องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ตามเรื่องราวที่กำหนดไว้และเตรียมพร้อมบันทึกภาพเหตุการณ์นั้น ๆ โดยที่ภาพเหตุการณ์จะต้องปราศจากการจัดฉากหรือการปรุงแต่งใด ๆ เพียงแต่การเฝ้ารอจังหวะให้เหตุการณ์นั้นดำเนินเรื่องราวของมันไป 7.2 การเลือกฉาก ผู้เล่าเรื่องค้นหาฉากหลังที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวที่ต้องการสื่อความหมาย ระหว่างนั้นเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกภาพ ประกอบด้วย กล้อง Mirrorless Sony A5100  เลนส์ 18-55 mm และขาตั้งกล้อง โดยปรับตั้งค่าโหมด AV รูรับแสง F2.8 สปีดชัตเตอร์ 1/250 ISO 200 รวมถึงกำหนดความยาวโฟกัสให้เก็บภาพได้เต็มตัว ให้มีความพร้อม จากนั้นเฝ้ารอเหตุการณ์ที่จินตนาการไว้ 7.3 การบันทึกภาพ ผู้เล่าเรื่อง เฝ้ารอเหตุการณ์จน Subject ที่ต้องการปรากฏตามตำแหน่งขององค์ประกอบภาพที่จินตนาการไว้ รวมถึงอากัปกิริยาของ Subject ที่ต้องการ แล้วลงมือกดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ โดยบันทึกภาพหลาย ๆ ภาพเพื่อนำมาคัดเลือกภาพที่สมบูรณ์ที่สุด ทั้ง แสง สี ฉาก และอากัปกิริยาของ Subject 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน * 2.1 ผลงานการสร้างสรรค์ภาพถ่าย  ชื่อผลงาน : ‘Give Alms to a Buddhist Monk : ตักบาตรเช้า’ 2.2 อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                    1) การเลือกสถานที่ สถานที่ถ่ายภาพเป็นสถานที่จริงที่มิได้มีการจัดฉากหรือองค์ประกอบใด ๆ ดังนั้นผู้ถ่ายทำต้องเลือกมุมและจัดองค์ประกอบภาพให้ภาพออกมาสมบูรณ์ในการสื่อความหมายมากที่สุด                    2) การเลือกฉาก ด้วยการเป็นชุมชนชนบท ฉากหลังที่เป็นท้องฟ้าจะส่งให้ภาพมีความน่าสนใจมากกว่าที่จะเป็นบ้านเรือนหรือต้นไม้ในชุมชน                    3) การบันทึกภาพ ก่อนกดชัตเตอร์ผู้ถ่ายภาพต้องรอจังหวะเวลาที่ดีที่สุดเพราะเหตุการณ์นั้นจะเกิดเพียงเสี้ยววินาที หรืออาจต้องใช้การบันทึกภาพแบบต่อเนื่องเพื่อสามารถนำมาเลือกภาพที่ดีที่สุด 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           ผู้เล่าเรื่อง สรุปข้อค้นพบองค์ความรู้ใหม่ของการสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว Life photography โดยสาระสำคัญ ดังนี้                    3.1 การถ่ายภาพแนว Life Photography เป็นการถ่ายภาพวิถีชีวิตที่สะท้อนมุมมองความคิด เรื่องราว สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เน้นเรื่องความเป็นจริงของสภาพที่เป็นไปในสังคม ไม่มีการจัดฉาก จะอยู่บนท้องถนน ในที่ใดก็ตาม มันก็คือภาพชีวิตจริง ไม่ได้จำกัดสถานที่และเวลา แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไป ต้องเว้นระยะห่าง ต้องใส่หน้ากาก จึงทำให้ผู้เล่าเรื่องต้องมีการจัดวางองค์ประกอบภาพให้เหมาะสมกว่าปกติเพื่อการถ่ายภาพให้สมบูรณ์ที่สุด                    3.2 ฉากหน้าฉากหลัง ผู้เล่าเรื่องได้ใช้การองค์ประกอบภาพฉากหลังด้วยกฎสามส่วน โดยแบ่งเป็นพื้นดินสองส่วนท้องฟ้าหนึ่งเพื่อให้ฉากหลังกับวัตถุอยู่ในโทนสีข้างเคียงดูแล้วกลืนกันมีมิติที่น่าสนใจในการสื่อความหมายของภาพ                    3.3 เทคนิคการใช้กล้องและอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้เล่าเลือกถ่ายภาพแนวตั้งเพื่อจะได้บันทึกภาพแบบเต็มตัว ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดได้ใกล้และชัดเจนกว่าการถ่ายภาพแนวนอน อีกทั้งลดพื้นที่ด้านข้างของภาพแนวนอน จึงทำให้สามารถเน้นสิ่งที่ถ่ายได้ชัดเจนขึ้น เต็มตามากขึ้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ผู้เล่าเรื่อง สรุปข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคตของการสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนว Life Photography เพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice โดยสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ด้านสถานที่ การนำตัวของผู้เล่าเรื่องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์ตามเรื่องราวที่กำหนดไว้อาจยุ่งยากเพราะด้วยจังหวะเวลา และปรากฏการณ์นั้นอาจเกิดเพียงเสี้ยววินาที ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมการเป็นอย่างดี ในการสำรวจช่วงเวลาและสถานที่ก่อนบันทึกภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ตรงกับการสื่อความหมายมากที่สุด การเลือกฉากหลัง ก่อนกดบันทึกภาพ สิ่งที่ผู้เล่าเรื่องต้องคำนึงถึงคือฉากหลังและองค์ประกอบภาพที่ผู้รับสารจะสัมผัสได้ผ่านภาพถ่ายนั้น ซึ่งบางครั้งการถ่ายภาพมีมุมจำกัดในการบันทึกภาพ ผู้ถ่ายภาพอาจต้องเตรียมอุปกรณ์ ทั้ง กล้อง เลนส์ ฯลฯ ให้ตรงกับภาพที่จะบันทึก การบันทึกภาพ ผู้เล่าเรื่องควรบันทึกภาพหลากหลายมุม หลากหลายองค์ประกอบ เพราะภาพที่เป็นธรรมชาติ อาจมีอากรับกิริยา อาการ อารมณ์ สีหน้า ท่าทาง ที่แตกต่างกันไปทุกเสี้ยววินาที การบันทึกภาพหลากหลายมุมและองค์ประกอบจะทำให้ได้ภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด

การสร้างสรรค์ภาพถ่ายนานาชาติ “Human Condition : Hope and Survival” Read More »

เทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน : การนำนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลสุขภาพในทุกบ้าน

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1,2,3 : KR 1.3.6/1 KR2.3.1/1 KR3.1.2/1 KR3.2.2/1 KR3.3.2/1 เทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน : การนำนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลสุขภาพในทุกบ้าน ผู้จัดทำโครงการ​ รองศาสตราจารย์ ดร.มนพร ชาตชำนิ อ.ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง คณะพยาบาลศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนัตศักดิ์ วงศ์กำแหง อ.อนุชิต นิรภัย วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           เนื่องด้วย ศูนย์นวัตกรรมและบริการวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Innovation and Service Center: BIS CENTER) และห้องปฏิบัติการ Clinical Engineering Laboratory (CE)  and Medical Information and Management Technology Laboratory (MIMT) วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หน่วยบริการวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์  และวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต  ได้ร่วมบูรณาการจุดแข็งขององค์ความรู้ทางวิชาการของทั้ง 3 คณะ เพื่อสร้างงานบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน ในนามหน่วยบริการ N & B RSU Inno Tech and Wellness Centre ซึ่งเป็นรูปแบบการบริการวิชาการที่ได้เริ่มต้นโดย 2 คณะ คือ คณะพยาบาลศาสตร์ และวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ร่วมกันพัฒนาและสร้างนวัตกรรมและการบูรณาการเรียนการสอนรวมถึงการจัดหาเทคโนโลยีสุขภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพของตนเอง  ด้วยรูปแบบการเข้าถึงบริการบนพื้นฐานด้านวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม โดยนำทักษะทางการพยาบาลร่วมกับการบริการให้คำแนะนำการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการดูแลสุขภาพตนเอง พร้อมกับการบริการจัดหาสั่งซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ การบริการเช่า-ยืมใช้เครื่องมือแพทย์ชั่วคราว เช่น เครื่องผลิตออกซิเจนแบบ Home Use ที่นอนยางพาราลดโอกาสเกิดแผลกดทับ เครื่องวัดความดันโลหิต ฯลฯ และการให้บริการนี้เป็นทั้งการให้บริการแบบมีรายได้และการบริการวิชาการแบบไม่มีรายได้ และเป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การบูรณาการและพัฒนาจุดแข็งของทั้งสามคณะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ดังนี้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ: การบูรณาการนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาบริการด้านการดูแลสุขภาพ เช่นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย, ระบบข้อมูลทางการแพทย์, และเทคโนโลยีการสื่อสาร การบูรณาการทางวิชาการและวิจัย: การร่วมกันของคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์, คณะพยาบาลศาสตร์, และวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี ส่งผลให้มีการบูรณาการทางวิชาการและการวิจัยที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมทางด้านสุขภาพ. การให้บริการแบบมีรายได้: การบริการ N & B RSU Inno Tech and Wellness Centre เป็นที่มาของรายได้ผ่านการให้บริการทางด้านสุขภาพและการให้คำแนะนำทางการแพทย์ การฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา: การให้บริการแก่ประชาชนสามารถบูรณาการกับการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาทั้ง 3 คณะและนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ การตอบสนองความต้องการของประชาชน: การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพมีการพิจารณาให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในด้านการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ การร่วมมือระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี สามารถพัฒนานวัตกรรมทางด้านสุขภาพและการบริการด้านการดูแลสุขภาพในชุมชนได้อย่างครอบคลุมทั้ง 5 ข้อดังกล่าวเบื้องต้น ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่นๆ ได้แก่ http://bme.rsu.ac.th/nbwellness/ วิธีการดำเนินการ การดำเนินงานของศูนย์บริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน (N & B RSU Inno Tech and Wellness Centre) เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2565 ได้แบ่งการบริการออกเป็น 2 มิติหลัก คือ 1) ด้านส่งเสริมและป้องกัน และ 2) ด้านการรักษาและฟื้นฟู ดังนี้: ด้านส่งเสริมและป้องกัน:    – ร่วมกับคลินิกเวชกรรม ม.รังสิต ดำเนินการโครงการ “การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และหัดเยอรมัน” เป็นการให้บริการแก่กลุ่มประชาชนและนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่และโรคหัดในพื้นที่ตำบลหลักหก และเครือข่ายรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิต    – จัดบริการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยเน้นการให้บริการแก่ประชาชนในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ด้านการรักษาและฟื้นฟู:    – ร่วมกับหน่วยบริการวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์และหน่วย N&B RSU Inno Tech and Wellness Centre เพื่อให้บริการที่มุ่งเน้นการรักษา ฟื้นฟู และป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังต่างๆ    – รับปรึกษาเรื่องแผลจากหน่วยตรวจโรคต่างๆ โดยไม่จำกัดเพศและอายุ และทำการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังต่างๆ โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผลและการป้องกันการเกิดแผลซ้ำ    – บูรณาการจัดการเรียนการสอนหัวเรื่อง “การดูแลผู้ป่วยที่มีแผล” ในรายวิชา BNE 323 การพยาบาลผู้สูงอายุ และ BNE 291 ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน           การดำเนินงานของศูนย์บริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน (N & B RSU Inno Tech and Wellness Centre) ในปีการศึกษา 2565 เน้นการให้บริการและการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาผู้ป่วยในชุมชน โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ชุมชนได้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว                    ในปีการศึกษา 2566 มีการดำเนินการทั้งสองด้านอย่างต่อเนื่องและได้เป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต(ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ) รุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 และโครงการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการพยาบาล ระหว่าง ไทย-กัมพูชา เรื่อง “Upskills Training Program” สำหรับพยาบาลจากประเทศกัมพูชา 2.Prototype testing in an operational environment – DO  ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                ผลลัพธ์จากการบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับการพัฒนานวัตกรรมทางด้านสุขภาพในรูปแบบที่ผสมผสานที่ทีมดำเนินงานได้มีความสำเร็จที่น่าประทับใจ โดยมีผลลัพธ์เชิงประจักษ์ 3 ชิ้นงานดังนี้: ระบบข้อมูลสุขภาพ (N&B Inno-Tech): การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพนี้ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ เลขที่ ว1.010493 ลงวันที่ 27 เมษายน 2566 เป็นการยืนยันถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งที่มีคุณค่าและมีความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบคัดกรองสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว:การพัฒนาระบบคัดกรองนี้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ เลขที่ ว1.010938 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 เป็นการสร้างเครื่องมือที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยและการดูแลสุขภาพอย่างเฉพาะเจาะจง นวัตกรรม Pillow – Pressure sore Protection: เป็นการพัฒนาหมอนที่มีความสามารถในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เพิ่มคุณภาพชีวิตและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้           ผลการดำเนินงานนี้อาจมีปัญหาหรืออุปสรรคบ้าง เช่น การนำไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลง หรือปัญหาในการปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกันและการสื่อสารอย่างเป็นระบบสามารถช่วยในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวและสร้างความสำเร็จในการใช้งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลสุขภาพและช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคและการบาดเจ็บในชุมชน 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ การตรวจสอบผลการดำเนินการและการนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญในการประเมินความสำเร็จของโครงการ การสรุปและอภิปรายผลสามารถทำได้ดังนี้: การตรวจสอบผลการดำเนินการ:    – ผลการดำเนินการเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญจากโครงการนี้ เป็นผลของการทำงานร่วมกันระหว่างทีมในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสุขภาพ การนำเสนอบริการแก่ชุมชน และการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ของนวัตกรรมที่สร้างขึ้น การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้:    – การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้เห็นได้ชัดเจนจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการใช้งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีในชุมชนที่ได้แก้ปัญหาความต้องการของผู้เข้ามารับบริการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและมีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสม    – สามารถเป็นในรูปแบบของการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ เช่น การนำเสนอในการประชุม การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือการเขียนรายงานสรุปผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่:   3.1 การทำงานร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพ สามารถสร้างงานที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นได้   3.2 การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของชุมชน สามารถก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน   3.3 การบูรณาการกับการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาทั้ง 3 คณะ สามารถสร้างการเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เพื่อให้โครงการสามารถเป็น Good Practice และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต มีข้อเสนอแนะที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินการ ดังนี้ การสร้างพันธมิตรและเครือข่าย:    – สร้างพันธมิตรและเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรชุมชน และภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อสนับสนุนและขยายผลกระทบของโครงการให้กว้างขึ้น การพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยมีการกำหนดเกณฑ์เป้าหมายชัดเจน:    – จัดทำแผนกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการดำเนินการเพื่อระบุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถวัดผลและประเมินผลการดำเนินการได้อย่างชัดเจน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ:    – ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การสร้างความต่อเนื่อง:    – สร้างการดำเนินการที่มีความต่อเนื่อง โดยรวมถึงการสนับสนุนและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากร การส่งเสริมความรับผิดชอบสาธารณะ:    – มีการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจที่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบสาธารณะและความเชื่อมั่นในโครงการ 6.การจัดการภายใต้หลักการของการเป็นมาตรฐาน:    – สร้างระบบการจัดการภายใต้หลักการของการเป็นมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่สูงสุด การสร้างความยืดหยุ่น:    – สร้างโครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การแบ่งปันประสบการณ์และการเรียนรู้:    – สร้างกลไกสำหรับการแบ่งปันประสบการณ์และการเรียนรู้ระหว่างองค์กร ชุมชน และภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของโครงการ การตรวจสอบและปรับปรุง:    – ตรวจสอบผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและทำการปรับปรุงโครงการตามความต้องการและการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม การดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวจะช่วยให้โครงการมีความเป็นมาตรฐานและเป็น Good Practice ในการให้บริการและสนับสนุนในชุมชนและสังคมได้อย่างเต็มที่

เทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน : การนำนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลสุขภาพในทุกบ้าน Read More »

การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR2.1.3 KR2.2.1 KR2.2.2 KR2.2.3 KR2.3.1 KR2.3.2 KR2.4.1 KR2.4.2 การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัย ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ผู้จัดทำโครงการ​ รองศาสตราจารย์ นันทชัย ทองแป้น วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​                 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พศ.2559 และได้รับยกระดับจากคณะเป็นวิทยาลัยในวันที่ 16 กรกฎาคม 2561ทางวิทยาลัยฯได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยทั้งในระยะยาว (5ปี)และระยะสั้นที่รียกว่า Action Plan มาตลอดระยะเวลาโดยทิศทางที่สำคัญของแผนยุทธศาสตร์ในระยะ 5 ปีแรก (2560-2564) ได้มีทิศทางในการเป็น “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน” โดยการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์นั้นได้เน้นในเรื่องของการ Synergy ทั้งภารกิจและทรัพยากรมนุษย์และเมื่อสิ้นสุดแผนยุทธศาสตร์ในระยะ5ปีได้ทำการประเมินแผนพบว่าเราสามารถดำเนินการตามแผนงานจนสำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทุกมิติและหลังจากทำการประเมินสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกในทุกมิติแล้วจึงได้ระดมสมองกับผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วนทั้งบุคลากรสายอาจารย์และสายสนับสนุนการเรียนรู้ นักศึกษา รวมทั้งองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะที่ 2 (2565-2569) ขึ้นมาโดยในแผนนี้ได้มีทิศทางในการก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยสิ่งหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญมากที่เรียกว่า “ปณิธาน”ก็คือการมุ่งทำให้“โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงาน และโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน” และการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้นั้นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่วิทยาลัยให้ความสำคัญก็คือเรื่องของ “การพัฒนางานวิจัย”                    สืบเนื่องจากตั้งแต่เข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 เป็นต้นมาทั้งในตำแหน่งอาจารย์ประจำและผู้บริหารของภาควิชาและหลักสูตรจนมาเป็นคณบดีภาระงานหลักที่สำคัญมากอันหนึ่งของผู้ที่เป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาคือภาระงานวิจัย และภารกิจหลักอันนี้ก็จะเป็นยาขมของคณาจารย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความรู้และความเชี่ยวชาญของบุคลากร ที่สำคัญก็คือขาดผู้ที่เชี่ยวชาญจริงๆ มีประสบการณ์และบารมีจริงๆทางด้านการวิจัยและขาดแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะมาพัฒนาทิศทางการวิจัย พัฒนานักวิจัย พัฒนาทีมวิจัย ไม่มีทิศทาง ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการทำวิจัย ไม่มีการพัฒนาทีมวิจัยอย่างจริงๆจังๆ ไม่มีผลงานวิจัยเชิงประจักษ์มากนัก ไม่มีพี่เลี้ยงที่มีบารมีและประสบการณ์ในการขอหรือดึงทุนวิจัยเข้ามา จึงได้มีแนวความคิดและวางแผนงานในการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยฯขึ้นมาโดยเริ่มต้นจากศูนย์ในระยะเริ่มต้นในขณะที่ยังเป็นหลักสูตรหนึ่งในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบันที่ได้รับการยกระดับมาเป็นคณะและวิทยาลัยตามลำดับ โดยจุดมุ่งหมายและเป้าหมายที่ต้องการมากที่สุดที่ต้องไปให้ถึงให้ได้ก็คือในการที่จะพัฒนางานวิจัยอย่างจริงจังและครบวงจร พัฒนาทีมวิจัยที่เข้มแข็งและยั่งยืนสืบต่อกันเป็นทอดๆ มีทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งต่างๆอย่างยั่งยืนจากทั้งในระดับมหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง  จนกลายเป็นวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง ดังนี้ องค์ความรู้ทางด้านการบริหารที่ประกอบด้วยหลักการการจัดการองค์กร (หลักการ 4 M) องค์ความรู้ทางด้านการบริหารงานวิจัย องค์ความรู้ทางด้านการวิจัย การศึกษาดูงานจากสถาบันการศึกษาและองค์กรในลักษณะอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์การทำงาน องค์ความรู้อื่นๆที่ตกผลึกจากประสบการณ์การทำงานทางด้านการบริหารงานในระดับหมวดวิชา ระดับภาควิชา แระดับหลักสูตรระดับคณะและวิทยาลัยรวมทั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพรวมทั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งประเทศไทยมากว่า 30 ปี วิธีการดำเนินการ การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัย การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยได้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่1 เป็นระยะเริ่มต้นจากศูนย์แบบลองผิดลองถูก (ในขณะที่หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์)           ปีการศึกษา 2543 – 2547  ได้เริ่มจากการทำวิจัยทางด้านเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยจำนวน 90,000บาท มีผู้ช่วยวิจัย 1 คน มีจุดมุ่งหมายในการที่จะทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาเพื่อทดแทนการจัดซื้อจากต่างประเทศเพื่อที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยรังสิตและนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์เพื่อจำหน่ายในราคาถูกให้กับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศโดยมีระยะเวลาในการวิจัย 1 ปี ต่อมาได้รับทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยรังสิตเรื่องการพัฒนาเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และแสดงผลผ่านอินเตอร์เน็ต           ผลที่ได้รับ ได้ชุดเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และ เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และแสดงผลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมทั้งมีบริษัทเอกชน (บริษัทอินเทลเล็คท์)ได้เข้ามาขอทำความร่วมมือในการผลิตในเชิงพาณิชบ์ในระยะ 3 ปีกว่า300ชุดเพื่อนำไปจำหน่ายในราคาถูกให้กับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา รวมทั้งใช้ในการบริการวิชาการให้กับคณะครูอาจารย์ทั่วประเทศจำนวนหลายครั้ง ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติประจำปี 2544 ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นสาขาสิ่งประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับอุดมศึกษาจากสมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี2545 เป็นต้น ระยะที่ 2  ระยะกำลังพัฒนาเพื่อสานต่อ (ในขณะนั้นหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์)           ปีการศึกษา 2548 – 2558 เป็นระยะที่เริ่มมีเครดิตและชื่อเสียงทางด้านการวิจัยออกภายนอก โดยได้เริ่มทดลองขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก ในขณะที่ทีมวิจัยที่ได้เริ่มพัฒนาขึ้นมาก็เริ่มขอจากขอทุนวิจัยจากภายในมหาวิทยาลัยของสถาบันวิจัย ในแง่การตีพิมพ์ผลงานวิจัยนั้น ทางคณาจารย์ของภาควิชาได้นำผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จไปตีพิมพ์ทั้งในแบบProceeding และวารสาร ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติมากกว่าปีละ 20 ผลงาน มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา มีผลการประเมินการประกันคุณภาพในระดับภาควิชาทางด้านการวิจัยในระดับสูงมากในทุกปี ระยะที่3 ระยะการเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรม (ได้รับการยกระดับจากหลักสูตรเป็นคณะและวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ตั้งแต่ปีการศึกษา2558)                         ปีการศึกษา 2558 – 2564 ระยะนี้เป็นระยะที่มีความพร้อมมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ในการที่จะเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยแห่งการทำวิจัยและนวัตกรรมอย่างจริงจัง โดยมีพื้นฐานอยู่ที่ มีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทัศนคติของคณาจารย์และนักศึกษาที่ได้ผ่านการเตรียมความพร้อมมาเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม มีผลงานที่ผ่านมาว่าเราได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถทำวิจัยได้ประสบความสำเร็จสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานชาติจำนวนมากในแต่ละปี รวมทั้งมีทุนสนับสนุนการวิจัยที่มากพอสมควรในแต่ละปี มีผู้เชี่ยวชาญในด้านการวิจัยที่ได้สนใจเข้ามาร่วมงานเพิ่มมากขึ้นมาช่วยเป็นMentor ในด้านการชี้แนะแนวทาง การเป็นพี่เลี้ยงในด้านต่างๆ รวมทั้งได้รับอาจารย์ประจำวัยหนุ่มที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศอังกฤษที่มีประสบการณ์เป็นอาจารย์และเคยทำงานวิจัยมาจากต่างประเทศจำนวนหนึ่งมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบรรยากาศการพัฒนางานวิจัยของคณะ/วิทยาลัยฯรวมทั้งได้เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการทำงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมนอกจากนั้นได้ทำความร่วมมือทางวิชาการ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ โรงพยาบาลและสถานให้บริการทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพแหล่งทุนวิจัยและนวัตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเครือข่ายหาโจทย์วิจัย แหล่งทดสอบผลการวิจัยทางคลินิกแหล่งทุนวิจัย รวมทั้งแหล่งทุนเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมและใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการจริง ส่งผลทำให้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไปมาเป็นระยะที่เริ่มต้นเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยแห่งการวิจัย อย่างต่อเนื่องและต่อยอดไปเรื่อยๆจนกลายเป็นวิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรม มีผลงานวิจัยและผลการตีพิมพ์เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการรวมทั้งวารสารทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศต่อปีเป็นจำนวนมากรวมทั้งได้มีการต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการนำไปใช้งานได้จริง เริ่มมีการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ในลักษณะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ได้มีการนำเอาผลงานวิจัยไปใช้ในการให้บริการวิชาการ และใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขึ้นไปเรื่อยๆในทุกๆปี โดยการที่ทางคณะ/วิทยาลัยได้มีTrack วิจัยและจัดห้องวิจัยที่ชัดเจนเพื่อให้มีการจัดการเรียนการสอนและการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาในทุกระดับการศึกษา โดยนักศึกษาจะเวียนกันเข้าไปเริ่มรู้จักการทำวิจัยตั้งแต่ในชั้นปีที่2 เริ่มทำในชั้นปีที่3 และทำจริงจังในชั้นปีที่4โดยทางคณะ/วิทยาลัยจะประสานงานกับผู้รับผิดชอบในระดับมหาวิทยาลัยในการอำนวยความสะดวกในด้านเวลานอกเวลาทำการให้นักศึกษาและคณาจารย์ได้ทำการวิจัยได้เต็มที่เกือบ24ชั่วโมง โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังในเบื้องต้นก็คือบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของคณะ/วิทยาลัยจะเป็นบรรยายกาศของคณะ/วิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรมมากขึ้น คณาจารย์มีผลงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์รวมทั้งมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้น บัณฑิตที่จบออกไปมีคุณภาพและได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากลมากขึ้น นอกจากนั้นทางคณะ/วิทยาลัยได้ทำการพัฒนาศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและศูนย์นวัตกรรมและบริการวิศวกรรมชีวการแพทย์(ศูนย์BIS) เพื่อใช้เป็นฐานในการนำเอาผลงานวิจัยถ่ายทอดและมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมรวมทั้งใช้เป็นฐานในการให้บริการทางวิชาการทั้งในรูปแบบของเพื่อการศึกษาและเชิงพาณิชย์อีกทางหนึ่งด้วย โดยศูนย์ดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำหรับการพัฒนานักศึกษาในด้านการพัฒนานวัตกรรม งานบริการวิชการและการฝึกทักษะและจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการอีกทางหนึ่งด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายปลายทางที่สุดก็คือผลักดันให้คณะ/วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิตเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย นวัตกรรมและผู้ประกอบการตามแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯ เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ           มีการวางแผนในเชิงกลยุทธ์ มีความมุ่งมั่นและทุ่มเทเพื่อให้งานเป็นไปตามแผน โดยเริ่มต้นจากการทำเป็นตัวอย่างให้ดู พัฒนาEco-Systems การทำงานให้น่าทำงาน วางแผนพัฒนาทัศนคติการทำงานของบุคลากรเพื่อให้เป็นไปตามทิศทาง ที่เหมาะสม  มีการประเมินผล ให้รางวัลและการลงโทษในระดับต่างๆที่เหมาะสม โดยได้วางกลยุทธ์ในการพัฒนาที่ต้องวางพื้นฐานจากการสร้างเครดิตจากผลงานวิจัยแบบครบวงจรจากชิ้นเล็กๆไปหาใหญ่ เพื่อที่จะใช้เป็นฐานในการขอทุนวิจัยจากขนาดเล็กในระดับมหาวิทยาลัยไปหาทุนวิจัยขนาดใหญ่จากข้างนอกมหาวิทยาลัย สร้างทีมวิจัยจากขนาดเล็กๆ แล้วค่อยๆขยายขนาดของทีมวิจัยขึ้นมา แสวงหา ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมทีมวิจัยและให้ข้อเสนอแนะและความรู้กับทีมวิจัยมากขึ้น เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก กระตุ้นให้นักศึกษาได้ร่วมเข้ามาเป็นทีมวิจัยต่อเนื่องเป็นทอดๆกันในแต่ละรุ่นมากขึ้น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการทำวิจัยทั้งในด้านของสถานที่และเครื่องมือในการวิจัยที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งกระตุ้นให้มีการทำภาระกิจแบบSynergy คือการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยในลักษณะต่างๆทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ การนำผลวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน การใช้ผลการวิจัยมาใช้ในงานบริการวิชาการ และ ดำเนินการในเชิงพาณิชย์ ผู้ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดความสำเร็จ และบทบาทของบุคคลนั้น                     ผู้ร่วมงานที่ดีมีความรู้และทักษะพื้นฐานที่ดีในการทำวิจัยเพียงแต่ยังไม่รู้ทิศทางดังนั้นพอมีทิศทางในการวิจัยที่ชัดเจน มีนักวิจัยที่มีประสบการณ์มาช่วยชี้แนะ ใส่ทัศนคติที่ดีและถูกต้องในการทำวิจัยก็จะทำให้การพัฒนางานวิจัยของคณะ/วิทยาลัยให้ไปได้เร็วมากขึ้น และ การที่มีผู้บังคับบัญชาที่ดีในทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ท่านอธิการบดีผู้ก่อตั้งท่านดร.อรรถวิท อุไรรัตน์อธิการบดีได้ให้การส่งเสริม และสนับสนุนอย่างดียิ่งทำให้สามารถดำเดินแผนงานในแนวทางที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องตลอดมาทำให้การพัฒนางานเป็นไปตามแผนงานโดยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2.Prototype testing in an operational environment – DOผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                สำหรับผลการดำเนินงานการพัฒนาในวงรอบPDCAในแผนยุทธศาสตร์ระยะ5ปีใน2ระยะ(นับตั้งแต่ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะ/วิทยาลัย : 2558-2559 และ 2560 – 2565 ที่ผ่านมานั้น ได้พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในทุกมิติที่เรียกว่า ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และปณิธานของวิทยาลัยฯ โดยผลลัพธ์หรือความสำเร็จของผลการดำเนินงานสามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้2.1 Eco-Systems                ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม โดยที่วิทยาลัยฯได้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานของบุคลากรและนักศึกษาในทุกภาคส่วนรวมทั้งสอดคล้องและส่งเสริมการเรียนรู้ตามวิสัยทัศน์และปณิธานของวิทยาลัยโดยวิทยาลัยได้ทำการพัฒนาตามกระบวนการPDCAอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่ประกอบด้วย ห้องวิจัยและบรรยากาศการทำวิจัย ที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับการทำวิจัยและการจัดการเรียนการสอนไปพร้อมกันเหมือนกับมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพในต่างประเทศ ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านของการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองในการเป็น“วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน” สำหรับการดำเนินการในด้านนี้ทางวิทยาลัยฯได้ดำเนินการตามวงรอบPDCAการพัฒนาทำนองเดียวกับด้านการพัฒนาระบบสิ่งสนับสนุนด้านอื่นๆตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่กล่าวมาข้างต้นโดยได้มีการพัฒนาระบบห้องวิจัย ระบบการเผยแพร่ผลงานวิจัย ระบบการนำผลงานวิจัยไปดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบการสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านงานบริการวิชาการที่สอดคล้องกับวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อรองรับการวิจัยของคณาจารย์ รวมทั้งนักศึกษาในทุกระดับทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก 2.2 ผลงานวิจัย                ทุนสนับสนุนการวิจัย รวมทั้งคะแนนประกันคุณภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ติด 3 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยรังสิตในตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลถึงความสำเร็จนี้ก็คือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งรวมทั้งการทำวิจัยด้วยในทุกมิติที่ส่งผลทำให้การขอทุนวิจัย การผลิตผลงานวิจัยการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยรวมทั้งงานบริการวิชาการที่ทางวิทยาลัยได้ทำในลักษณะ Synergy ภารกิจนั่นเอง  ผลลัพธ์ของการสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในแต่ละปีการศึกษาได้มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในระดับสากลจำนวนประมาณไม่น้อยกว่า 20 ผลงานต่อปี ในแต่ละปีการศึกษามีผลงานการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประมาณไม่น้อยกว่า 5 ผลงานต่อปี โดยวิทยาลัยมีอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรรวม 62 ผลงาน ทุนสนับสนุนการวิจัยต่อปีทั้งจากภายในและภายนอกในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านบาท ส่งผลทำให้อาจารย์ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์สามารถพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการเกือบครบ100 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลทำให้มีความพร้อมจนสามารถเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว ส่งผลทำให้จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 160 คน เป็น 320-350 คน ในปัจจุบัน รางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรม รางวัล Start-Up ทั้งในระดับสถาบัน ระดับประเทศและระดับนานาชาติ ของคณาจารย์และนักศึกษาจำนวนมาก ผลงานวิจัยและนวัตกรรมบางส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ บางส่วนสามารถใช้งานในสถานการณ์จริง ได้อยู่ระหว่างการนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นเป้าหมายแรกๆของบุคคลจากภายนอกที่ต้องการมาเยี่ยมชมดูงานทางด้านนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยรังสิตเพราะปัจจัยที่สำคัญลำดับแรกๆก็คือต้องการมาเยี่ยมชมนวัตกรรมและแนวทางการพัฒนาของวิทยาลัยฯ วิทยาลัยฯได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกเช่นได้รับการรับรองจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (ศฟ.) Thailand Center of Excellence in Physics (ThEP) สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) ให้เป็นศูนย์วิจัยในเครือข่าย คะแนนประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในส่วนของการวิจัยและในภาพรวมทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ/วิทยาลัยเป็นอันดับหนึ่งในทุกปีการศึกษาตลอดมา ชื่อเสียงเรื่องการวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นำมาซึ่งการได้รับเชิญเพื่อทำความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับเครือข่ายทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการจริงภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ  อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           อุปสรรคหรือปัญหาที่สำคัญที่สุดในการทำงานก็คือทัศนคติในการทำงานของบุคลากร โดยทางผู้บริหารในทุกระดับของคณะ/วิทยาลัยได้มี Growth Mindset และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนโดยถือว่าทุกคนสามารถพัฒนาได้ ที่สำคัญก็คือผู้ที่มีทัศนคติในการทำงานที่ดีและเหมาะสมจะได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่และผู้ที่ไม่สามารถพัฒนาและแก้ไขทัศนคติการทำงานให้สอดคล้องกับแนวทางของคณะ/วิทยาลัยได้ก็จะมีมาตรการที่เหมาะสมในการทำให้มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น สำหรับปัญหาและอุปสรรคจากภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับตัวเราในการที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากภายนอกเกิดขึ้น 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           การพัฒนาในด้านการวิจัยนั้นสิ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณาประการหนึ่งก็คืออัตราการเจริญเติบโตของงานวิจัยเพราะเราต้องพัฒนาผลงานวิจัยอย่างน้อยต้องมากกว่าหรือเท่ากับอัตราการเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าของภายนอกทั้งในระดับประเทศหรือระดับสากลไม่เช่นนั้นจะทำให้การพัฒนาของเรานั้นอยู่กับที่หรือล้าหลัง ดังนั้นการบริหารจัดการการพัฒนางานวิจัย ให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน นั้นจะต้องประกอบด้วยการสำรวจตัวเอง (การทำSWOT) ในทุกๆด้าน การวางแผนงานและการวางเป้าหมายที่ดีและเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพขององค์กรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเป็นไปได้ในอนาคต การลงมือดำเนินงานอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง การสร้างเครดิตและผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ การประชาสัมพันธ์ผลงานที่เหมาะสม ที่สำคัญต้องมีการประเมินผลและทบทวนผลงานและเป้าหมายการดำเนินการเป็นระยะๆตามช่วงเวลาที่เหมาะสม (PDCA)                     อย่างไรก็ตามการพัฒนางานวิจัยไม่มีเรื่องของความสำเร็จที่แน่นอนตายตัว ไม่มีจุดหมายที่แน่นอนตายตัว เพราะทุกๆอย่างจะเปลี่ยนไปตามเวลา ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคและกาลเวลา แต่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแต่ละช่วงเวลาจะเป็นการยกระดับพื้นฐานของความแข็งแกร่งและศักยภาพในการพัฒนางานวิจัยมากขึ้น ความสำเร็จจริงๆของงานวิจัยก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในสถานการณ์จริงได้ มีการนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ และสามารถทำให้ภาคการผลิตมีความเชื่อถือในเครดิตและเข้ามาให้ความร่วมมือในด้านต่างๆแก่ทีมวิจัยอย่างจริงๆจังๆในทุกๆด้าน อันจะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ การนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เป็นไปอย่างครบวงจร ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice             เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีหลายกลุ่มคณะ/วิทยาลัย จากการดำเนินการในเรื่องการสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มาเป็นระยะเวลาหลายปีอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับทิศทางการเป็นไปของทุกมิติของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของสังคมไทย และสังคมโลกนั้นเราไม่สามารถแข่งขันได้เลยถ้าการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไม่มีการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบและยั่งยืนเพราะไม่รู้จะเอาองค์ความรู้ที่ไหนไปพัฒนาผู้เรียน สิ่งที่สำคัญก็คือเมื่อมีเทคโนโลยีที่สูงมากขึ้นเช่นปัญญาประดิษฐ์และการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆมากมายในปัจจุบันเช่น Chat GPT หรืออื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมาล้วนแล้วแต่จะสามารถแทนที่การจัดการเรียนและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมได้หมดสิ้น ดังนั้นการพัฒนาคณะ/วิทยาลัยให้เป็นคณะแห่งการวิจัยนั้นน่าจะเป็นแนวทางหลักแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการเอาชนะทุกสิ่งทุกอย่างของโลกในศตวรรษที่ 21 นี้            สำหรับการดำเนินการเพื่อให้สามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้นจริงๆแล้วการที่ผลงานการพัฒนาทางด้านการวิจัยในหลายๆปีที่ผ่านมาได้ออกสู่สายตาและเป็นที่รับรู้ทั้งในสื่อภายในสถาบัน สื่อสารมวลชนระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องน่าจะเป็นดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของการพัฒนาทางด้านผลงานวิจัยที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อยู่แล้ว อย่างไร ก็ตามในหลายคณะ/หลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรังสิตและหรือสถาบันการศึกษาของภาครัฐที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรบางองค์กรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศไทยได้ใช้แนวทางบางส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้มีการอ้างอิงโดยตรง

การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ Read More »

การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR2.2.3 การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ราชศักดิ์ สมยานนทนากุล วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​             จากแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ในด้านพัฒนางานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมตามบริบทของมหาวิทยาลัยรังสิตที่ตอบโจทย์การพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย ได้ส่งเสริมให้ทำงานวิจัยที่พัฒนาร่วมกันแบบสหวิทยาการ หรือเป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิชา และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยในรูปแบบการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการสร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ และสนับสนุนการทำงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย โดยเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบ่งปันความรู้ หาคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือร่วมกันทำโครงการวิจัยที่มีรายละเอียดซับซ้อน โดยเป้าหมายหลักของการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยประกอบด้วย 7 ประการ ได้แก่ การเชื่อมโยง (Connectivity) เครือข่ายเพื่อสร้างพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมโยงระหว่างผู้ที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น การประชุมวิชาการ การจัดกิจกรรมอบรมสัมมนา การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Exchange) เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกของเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการเรียนรู้ร่วมกัน ในองค์ความรู้ที่แตกต่างกันให้สามารถทำวิจัยร่วมกันได้ การสนับสนุนและร่วมมือ (Support and Collaboration) การสนับสนุนกันระหว่างสมาชิกในเครือข่าย ในเรื่องการให้คำปรึกษา เข้าร่วมโครงการวิจัยร่วมกัน หรือการแบ่งปันทรัพยากรที่สามารถช่วยเหลือในการทำงานวิจัย เช่น การใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ การสร้างพื้นที่เพื่อพัฒนาทักษะ (Capacity Building) การจัดอบรม สัมมนา หรือโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกในเครือข่าย ซึ่งเป็นการสร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญภายในโครงการวิจัย หรือ เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การสร้างพันธมิตรภาคสาธารณะและเอกชน (Public-Private Partnerships) การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างโครงสร้างการบริหาร (Governance Structure) การกำหนดระเบียบ การบริหารจัดการ การจัดการด้านการเงิน และผลงานทางวิชาการ เพื่อให้การดำเนินงานของเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ การสร้างและรักษาความน่าเชื่อถือ (Trust Building) การสร้างความเชื่อถือระหว่างสมาชิกภายในเครือข่าย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือร่วมไปถึงการทำข้อตกลงไม่เปิดเผยข้อมูลภายในโครงการ หรือ การนำผลที่ได้จากงานวิจัยไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตก่อน                ดังนั้น การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยมีประโยชน์มากในการสนับสนุนการพัฒนาด้านวิชาการและเทคโนโลยีช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ และสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งในการแก้ไขภาวะสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยเป็นกระบวนการ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University      (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase) เจ้าของความรู้/สังกัด  ปี 2563 ประเภทการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ชื่อเรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1, Q2https://lc.rsu.ac.th/km/knowledgebase/form/detail/784                                             ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ผู้ให้ความรู้ –                                                                          วิธีการดำเนินการ              การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ในการทำวิจัยที่มีขอบเขตกว้างขวาง ในด้านพหุวิทยาการ ระยะเวลาดำเนินการ และ งบประมาณ โดยกำหนดวัตถุประสงค์เรื่องการมีจำนวนผลงานทางวิชาการซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ของเครือข่ายงานวิจัยให้ชัดเจน รวมถึงกำหนดแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว การสร้างความน่าเชื่อถือและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของเครือข่าย โดยการสร้างความโปร่งใส และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เข้าร่วม การเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมในเครือข่าย การสร้างพื้นที่ และ สภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประชุม อบรมสัมมนา เวิร์กช็อป หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่สร้างโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการงานวิจัยเกิดการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสนับสนุนการพัฒนาทักษะ เป็นการสร้างโอกาสให้กับสมาชิกในเครือข่ายในการพัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับงานวิจัย สร้างพันธมิตรและความร่วมมือกับองค์กรหรือผู้สนับสนุนอื่นเพื่อเสริมสร้างทรัพยากรและโอกาสในการวิจัย ทั้งเครือข่ายภายใน และภายนอกโครงการวิจัย การจัดการและบริหารความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์และการนำไปใช้ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง           การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายามมาก เนื่องจากต้องสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจกันระหว่างผู้เข้าร่วม แต่เมื่อมีการสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพแล้ว จะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่สำคัญและมีประโยชน์ในการพัฒนาวิจัยและสังคมอย่างมาก 2.Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                เนื่องจากผู้ให้ความรู้ มีประสบการณ์ในด้านการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยที่เน้นใช้ในงานวิจัยด้าน AI ทางการแพทย์ โดยเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาทรัพยากรและการแลกเปลี่ยนความรู้ในพื้นที่ได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ขั้นตอนและเหตุการณ์สำคัญที่สำคัญในการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ดังนี้ การสร้างโอกาส การผลักดันตนเองเข้าไปในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น เข้าร่วมการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ เข้าร่วมอบรม สัมมนา ในหลักสูตร หรือ หัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องในงานวิจัย การเข้าร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ตนเองเชี่ยวชาญ และ สร้างความสัมพันธ์เพื่อร่วมทำงานวิจัยเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วม หรือ การเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเป็นสมาชิกในคณะวิจัย การรวมกลุ่มคณะวิจัยเพื่อสร้างกลุ่มคณะวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน AI และการแพทย์เข้าด้วยกัน โดยพิจารณาจากการกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ โดยโจทย์งานวิจัยจะได้มาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Domain Expert) เช่น แพทย์เฉพาะทาง นักเทคนิคการแพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล โดยการเชิญประชุมกำหนดหัวข้อวิจัย จำนวนส่วนแบ่งทุนวิจัย และ การตีพิมพ์ผลงานวิชาการ การสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้ในงานวิจัย เป็นการรวบรวมข้อมูลมาสร้างระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ข้อมูลผู้ป่วยในด้านการรักษา ข้อมูลคลินิก ข้อมูลสัญญาชีพ ซึ่งอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และ รูปแบบที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจะเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้จากการรักษาผู้ป่วย ข้อมูลจากระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และ ข้อมูลผู้ป่วยจากระบบโรงพยาบาล การสร้างโมเดลและอัลกอริทึมที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ นั้นต้องพิจารณาจากโจทย์งานวิจัยว่าเป็นงานด้านใด เช่น การวิเคราะห์ภาพการสแกน ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยโรคหรือการพยากรณ์ผลลัพธ์ของการรักษา โดยการเลือกพิจารณาจากงานวิจัยในเรื่องเดียวกันที่เคยนำเสนอมาก่อนหน้า และนำมาพัฒนาต่อเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การตีพิมพ์ผลงานได้ในระดับสากล การทดสอบ การปรับปรุง โมเดลและอัลกอริทึม อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงสุดในการใช้งานจริง โดยผลการทดลองที่ได้จำเป็นต้องนำเสนอกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ หรือ เจ้าของโจทย์วิจัยเพื่อยืนยันผลการทดสอบโมเดล และ รับรองผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลว่าเป็นไปตามข้อปฏิบัติทางการแพทย์ หรือ หลักการทางวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการแพทย์ และ AI เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และการพัฒนาที่ยั่งยืน           ดังนั้น การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยในด้าน AI ทางการแพทย์จะเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถในการรักษาและดูแลสุขภาพของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่               ผลจากการดำเนินการตามแผนที่ได้กำหนดไว้ทำให้ได้ผลงานทางวิชาการร่วมกับเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย ตัวอย่างเช่น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ดำเนินโครงการจัดตั้งคลินิกเทคนิคการแพทย์ โดยผู้ให้ความรู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่การติดตั้งระบบ Laboratory Information System ในทุกกระบวนการ เมื่อระบบติดตั้งใช้งานเรียบร้อย ทีมงานในโครงการจัดตั้งคลินิกเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ร่วมกันนำความรู้ที่ได้จัดทำผลงานวิจัยนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 1 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2560 Somyanonthanakul, R. and Gatedee, T. (April 2017) Design and Implementation of Laboratory Information System: A Case Study at the Medical Technology Clinic, Rangsit University. In Proceedings, RSU International Research Conference 2017 (RSUCON 2017), April 28 2017, Thailand                โรงพยาบาลลำพูน ทำโครงการดูแลผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง จึงได้ขอความร่วมมือมายังผู้ให้ความรู้เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์นำไปเป็นข้อมูลประกอบในการวางแผนดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ผู้ให้ความรู้ได้ข้อมูลและทำการวิเคราะห์ได้ผลลัพธ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการที่ตั้งไว้แล้ว ผู้ให้ความรู้ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าโครงการให้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่สำคัญจัดทำผลงานวิจัยนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 1 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2565 Gatedee, J., Jaiping, K., Yothinarak, A., Netsawang, J., Kasemsawasdi, S., Angsirikuland, S., Somyanonthanakul, R. (2022). Association Serum Uric Acid and Lipid Parameters in Patients at Lamphun Hospital, Thailand. The 17th International Joint Symposium on Artificial Intelligence and Natural Language Processing (iSAI-NLP 2022), 5-7 November 2022. Chiang Mai, Thailand. 152-157                โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วย COVID-19 ในช่วงที่มีการระบาดของโรคตามช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ให้ความรู้ได้เข้าไปร่วมงานทำงานในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเพื่อให้ ผู้รับผิดชอบโรงพยาบาลสนาม สามารถวางแผนเตรียมจำนวนเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยให้เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา หลังจากได้โครงการดำเนินการเสร็จสิ้น ผู้ให้ความรู้ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าโครงการให้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่สำคัญจัดทำผลงานวิจัยนำเสนอในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ จำนวน 2 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2564 และ 2565 Amasiri, Watchara, Kritsasith Warin, Karicha Mairiang, Chatchai Mingmalairak, Wararit Panichkikosolkuli, Krittin Silanun, Rachasak Somyanonthanakul, Thanaruk Theeramunkong, Surapon Nitikraipot, and Siriwan Suebnukarn. 2021. Analysis of Characteristics and Clinical Outcomes for Crisis Management during the Four Waves of the COVID-19 Pandemic, International Journal of Environmental Research and Public Health 18, no. 23: 12633.  Rachasak Somyanonthanakul, Kritsasith Warin, Watchara Amasiri, Karicha Mairiang, Chatchai Mingmalairak, Wararit Panichkitkosolkul, Krittin Silanun, Thanaruk Theeramunkong, Surapon Nitikraipot and Siriwan Suebnukarn. (2022). Forecasting COVID-19 cases using time series modeling and association rule mining. BMC Medical Research Methodology. 22:281 November 2022. Switzerland AG: Springer Nature. 1-18.                คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องการทำ Model AI เพื่อใช้กับผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จึงมีการจัดทำโครงการวิจัยเพื่อใช้ในการคัดกรอง ติดตามการรักษา ของผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก ผู้ให้ความรู้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการโดยรับผิดชอบในการวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากได้โครงการดำเนินการเสร็จสิ้น ผู้ให้ความรู้ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าโครงการให้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนที่สำคัญจัดทำผลงานวิจัยนำเสนอในวารสารวิจัยระดับนานาชาติจำนวน 1 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2566 Wararit Panichkitkosolkul, Rachasak Somyanonthanakul, Kritsasith Warin, and Siriwan Suebnukarn. (2023) The Discovery of Oral Cancer Prognostic Factor ranking using Association Rule Mining, European Journal of Dentistry. สรุปผลที่เกิดจากการดำเนินการ ลำดับที่ ปี ชื่อบทความวิจัย ประเภทบทความ Index 1 2566 Wararit Panichkitkosolkul, Rachasak Somyanonthanakul, Kritsasith Warin, and Siriwan Suebnukarn. (2023) The Discovery of Oral Cancer Prognostic Factor ranking using Association Rule Mining, European Journal of Dentistry. International Journal Scopus Q1 2 2565 Rachasak Somyanonthanakul, Kritsasith Warin, Watchara Amasiri, Karicha Mairiang, Chatchai Mingmalairak, Wararit Panichkitkosolkul, Krittin Silanun, Thanaruk Theeramunkong, Surapon Nitikraipot and Siriwan Suebnukarn. (2022). Forecasting COVID-19 cases using time series modeling and association rule mining. BMC Medical Research Methodology. 22:281 November 2022. Switzerland AG: Springer Nature. 1-18. International Journal Scopus Q1 3 2565 Gatedee, J., Jaiping, K., Yothinarak, A., Netsawang, J., Kasemsawasdi, S., Angsirikuland, S., Somyanonthanakul, R. (2022). Association Serum Uric Acid and Lipid Parameters in Patients at Lamphun Hospital, Thailand. The 17th International Joint Symposium on Artificial Intelligence and Natural Language Processing (iSAI-NLP 2022), 5-7 November 2022. Chiang Mai, Thailand. 152-157 International Conference IEEE 4 2564 Amasiri, Watchara, Kritsasith Warin, Karicha Mairiang, Chatchai Mingmalairak, Wararit Panichkikosolkuli, Krittin Silanun, Rachasak Somyanonthanakul, Thanaruk Theeramunkong, Surapon Nitikraipot, and Siriwan Suebnukarn. 2021. Analysis of Characteristics and Clinical Outcomes for Crisis Management during the Four Waves of the COVID-19 Pandemic, International Journal of Environmental Research and Public Health 18, no. 23: 12633. International Journal Scopus Q1 5 2560 Somyanonthanakul, R. and Gatedee, T. (April 2017) Design and Implementation of Laboratory Information System: A Case Study at the Medical Technology Clinic, Rangsit University. In Proceedings, RSU International Research Conference 2017 (RSUCON 2017), April 28 2017, Thailand RSU Conference –   ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice            การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยในด้าน AI ทางการแพทย์เป็นโครงการที่มีความสำคัญและมีศักยภาพที่จะเสนอแนวทางในอนาคตเพื่อให้เกิดการพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นการวางแผนที่ดีทำให้อนาคตที่การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัยด้าน AI ทางการแพทย์ สามารถทำได้สำเร็จ ควรมีการเตรียมการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การสร้างศูนย์กลางการวิจัยที่เชื่อมโยงระหว่างสถาบันการแพทย์ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อสร้างพื้นที่ในการทำงานร่วมกันและแบ่งปันความรู้ สร้างระบบการสนับสนุนทุนในการวิจัยด้าน AI ทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมการทำงานวิจัยที่มีคุณค่าและมีนวัตกรรม จากหน่วยงานให้ทุน เช่น TCELS และ PMU-B การสร้างพื้นที่สำหรับ แลกเปลี่ยนความรู้ ประชุม สัมมนา และ เวิร์กช็อป ที่เกี่ยวข้องกับ AI ทางการแพทย์ เพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ สร้างโครงสร้างการฝึกอบรมที่เหมาะสมสำหรับนักวิจัยและผู้ที่สนใจในด้าน AI ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในงานวิจัยแพทย์ สร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและองค์กรทางการแพทย์ในระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้           ดังนั้น ผู้ให้ความรู้ขอให้ความสำคัญในเรื่องการหาโอกาส เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเครือข่ายพัฒนางานวิจัย เพราะการทำวิจัยโครงการขนาดใหญ่ ต้องอาศัยความรู้หลายศาสตร์ ในเวลา และ งบประมาณที่จำกัด การเตรียมความพร้อมและความเชี่ยวชาญให้กับตนเอง เพื่อรอโอกาสได้มีส่วนร่วมในโครงการวิจัยที่สำคัญจะทำให้การตีพิมพ์ผลงานวิจัยเป็นไปได้มาก

การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย Read More »

การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือวางองศาการถ่ายภาพรังสีเพื่อการรักษารากหันหลายคลองราก ไปสู่การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือโดยการวัดผลในผู้ใช้จริง

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1 การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือวางองศาการถ่ายภาพรังสีเพื่อการรักษารากฟันหลายคลองราก ไปสู่การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือ โดยการวัดผลในผู้ใช้จริง ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ทญ.ดร.ปิยะนุช กรรณสูต วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​                ในการรักษาทางทันตกรรมการรักษาคลองรากฟันเป็นหนึ่งในงานที่ทันตแพทย์ต้องให้การรักษาเป็นประจำเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่ลุกลามเข้าสู่คลองรากฟันหรือกำจัดหนองปลายรากฟัน ฟันทุกซี่จะมีส่วนของคลองรากฟันเป็นที่อยู่ของเส้นเลือดและเส้นประสาทอยู่ภายใน หากมีฟันที่ผุลุกลามหรือมีการติดเชื้อจากสาเหตุใดก็ตามทะลุไปถึงคลองรากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะต้องเปิดคลองรากฟันเพื่อเข้าไปกำจัดเชื้อและอุดคลองรากให้สมบูรณ์ให้ฟันซี่นั้นสามารถใช้งานต่อได้โดยปราศจากเชื้อโรค                ฟันของมนุษย์มีหลายรูปร่างและหลายหน้าที่เช่น ฟันตัดด้านหน้า ฟันกรามบดเคี้ยวด้านหลัง ซึ่งฟันแต่ละซี่จะมีจำนวนของคลองรากฟันไม่เท่ากัน ในฟันหลังเช่น ฟันกรามน้อย ฟันกราม มักจะประกอบไปด้วยมากกว่า 1 คลองรากฟัน ในการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อโรคนั้นมีความสำคัญมากที่จะต้องรักษากำจัดเชื้อโรคให้ครบทุกครองรากอย่างดีไม่ให้ยังคงเหลือของเชื้อโรคและลุกลามต่อไปได้อีก การรักษาคลองรากฟันนั้นประกอบไปด้วยหลายขึ้นตอนตั้งแต่การล้างให้สะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ และการอุดปิดคลองราก ใช้ระยะเวลาการรักษาอาจจะมากกว่าหนึ่งครั้งจนเสร็จ และต้องมีระยะเวลาในการติดตามผลการรักษาต่อเนื่องอีกหลายเดือน-ปี                รากฟันเป็นอวัยวะที่อยู่ในกระดูกเบ้าขากรรไกร การตรวจดูผลการรักษานั้นทำได้โดยวิธีเดียวคือการถ่ายภาพรังสีบริเวณรากฟัน เพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษาในขั้นตอนต่างๆ และดูผลสำเร็จของการรักษาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการตรวจดูอาการของผู้ป่วยและการตรวจทางคลินิก ดังนั้นในฟัน 1 ซี่ที่ประกอบไปด้วยหลายคลองรากฟัน การถ่ายภาพรังสีรากฟันมักจะมีโอกาสที่รากฟันหนึ่งจะบดบังอีกรากหนึ่งอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ผู้ถ่ายภาพรังสีต้องเอียงกระบอกรังสีหลบให้เกิดการถ่ายลักษณะเฉียง ๆ ให้ได้เห็นรากแบบไม่ซ้อนทับกัน การเอียงหลบของกระบอกรังสีนั้นทำโดยการคาดคะเนจากผู้ถ่ายภาพรังสีตามความถนัดของแต่ละบุคคล บ่อยครั้งยังมีการซ้อนทับกันของรากในภาพรังสี ต้องทำการถ่ายภาพรังสีหลายครั้งโดยเปลี่ยนมุมในการเอียงหลบเพื่อให้สามารถมองเห็นทุกคลองรากได้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีจากการเอ็กซ์เรย์ฟันหลายครั้งโดยไม่จำเป็น และเสียเวลาทำงานในการทำให้มีประสิทธิภาพในระยะเวลาจำกัด เนื่องจากมีการซ้อนทับกันของคลองรากทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงองศาในการถ่ายภาพรังสีจนกว่าจะเห็นคลองรากที่ไม่ซ้อนทับกัน โดยการคาดคะเนองศาต่าง ๆ มักเป็นการประมาณของแต่ละบุคคล ไม่มีความแน่นอน                จึงมีการคิดแก้ไขปัญหาความไม่แม่นยำของการวางกระบอกรังสีนี้ ด้วยเครื่องมือบางอย่างที่ช่วยเข้ามาส่งเสริมการถ่ายภาพรังสีในกรณีที่ต้องมีการเอียงกระบอกรังสีเพื่อให้รากฟันไม่ซ้อนทับกัน และลดการใช้เวลาในการถ่ายภาพรังสี รวมถึงการได้รับรังสีมากเกินความจำเป็นของผู้ป่วย  ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           อาจารย์จึงได้นำเอาสถิติของฟันแต่ละซี่มาวิเคราะห์ดูก่อนว่ามักจะต้องเอียงกระบอกถ่ายรังสีที่กี่องศาในการถ่ายภาพรังสีให้รากฟันไม่ซ้อนทับกัน โดยนำมาวิเคราะห์ที่ 20 25 30 35 องศาตามลำดับ แล้วมาจัดทำเครื่องมือชื่อ RSU shifter เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วางทาบอุปกรณ์จับฟิล์มที่ใช้ถ่ายรังสีในงานรักษาคลองรากทั่วไป โดยร่วมกับการจัดตำแหน่งกระบอกรังสี เป็นอุปกรณ์เสริมที่ยังไม่พบเครื่องมือลักษณะนี้มีการขายในท้องตลาดมาก่อน เครื่องมือนี้จะช่วยวางองศาความเอียงของกระบอกถ่ายรังสีได้แม่นยำในองศาที่เลือกโดยไม่ต้องทำการคาดคะเนเองตามความถนัดส่วนบุคคล โดยจากการทำวิจัยพบว่ามีการวางมุมที่ 20 องศาเป็นหลัก โดยทดสอบจากทันตแพทย์ทั่วไปที่ให้การรักษาคลองรากฟัน และทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมเอ็นโดดอนต์ หลังจากการทำวิจัยจึงได้เน้นผลิตเครื่องมือที่ 20 องศาเป็นหลัก ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผศ.ดร.ทญ. ปิยะนุช กรรณสูต วิทยาลัยทันแพทยศาสตร์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้              อาจารย์ได้สร้างนวัตกรรมของเครื่องมือ ชื่อ RSU shifter เป็นเครื่องมือที่ไว้วางตำแหน่งเอียงของกระบอกเครื่องถ่ายภาพรังสีที่ 20 องศา หลังจากวิเคราะห์แล้วว่าเป็นมุมที่มีประโยชน์ในการใช้งานให้ถ่ายภาพรังสีได้ไม่เกิดการซ้อนทับของคลองรากมากที่สุด เครื่องมือนี้มีน้ำหนักเบา จัดเก็บง่าย ทำความสะอาดง่าย และใช้งานง่าย สามารถใช้งานกับอุปกรณ์จับฟิล์มหลายชนิดที่มีใช้ตามท้องตลาดทั่วไป ได้ทุกแบบ ผู้ถ่ายภาพรังสีสามารถทำคนเดียวได้ และเครื่องมือยังมีความคงทนสูง สามารถฆ่าเชื้อและนำกลับมาใช้ซ้ำได้                หลังจากสร้างชิ้นงานนวัตกรรมขึ้นแล้ว อาจารย์ได้ทำการจดอนุมัติสิทธิบัตร และนำมาทำวิจัยเพื่อดูผลการใช้งานว่ามีประโยชน์และมีประสิทธิภาพเพียงใด รวมถึงรวบรวมข้อเสียจากการใช้งานมาต่อยอดปรับปรุงชิ้นงานนวัตกรรมให้เป็นประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ  2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                 ได้มีการทำวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ หาข้อบกพร่องและนำมาปรับปรุงชิ้นงานในหลายขึ้นตอน การผลิตชิ้นงานนั้นเริ่มจาก version ที่ 1 เป็นเครื่องมือตัวแรกชื่อ PLK jig ซึ่งเป็นเครื่องมือแรกที่ได้ทำการจดอนุมัติสิทธิบัตร และนำมาทำวิจัยโดยการใช้งาน จึงพบปัญหาหลายอย่างจนพัฒนามาเป็นเครื่องมือ RSU shifter ในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องมือชิ้นปัจจุบันได้ปรับปรุงข้อเสียของ version ที่ 1 ให้สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมือถ่ายภาพรังสีที่ใช้กันอยู่แล้วในคลินิก ลดการปนเปื้อนของน้ำลาย และใช้งานง่ายขึ้น โดยได้มีการทำวิจัยวัดผลและตีพิมพ์ไปแล้วเช่นกัน ใน World journal of dentistry ในปี 2021 ในบทความเรื่อง A Novel 20° X-ray Angle Shifter for Superimposed Canal Separation โดยทำการวิจัยเครื่องมือที่เอียง 20 องศาในฟันกราม                หลังจากการวัดผลการใช้งานด้วยงานวิจัย ปัจจุบันอาจารย์ก็ได้ทำงานวิจัยเพื่อประเมินเพิ่มเติมอีก โดยเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้และความแม่นยำของวิธีแบบดั้งเดิมจากการคาดคะเนโดยผู้ถ่ายภาพรังสึโดยไม่ใช้เครื่องมือ RSU shifter เปรียบเทียบกับการใช้เครื่องมือที่ได้ผลิต (horizontal shift technique) เป็นการวัดผลกับผู้ใช้อย่างแท้จริงว่าเป็นประโยชน์กับคนทั่วไปอย่างแท้จริงรึเปล่า และภาพรังสีที่ได้นั้นแตกต่างกันจริงหรือไม่ พบว่าการใช้เครื่องมือ RSU shifter สามารถลดระยะเวลาการถ่ายภาพรังสีได้ โดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์ อีกทั้งยังสามารถถ่ายภาพรังสีมุมเดิมในการติดตามการรักษาของรากฟันเดิมในครั้งถัด ๆ ไปได้เป็นอย่างดี ส่วนในกลุ่มผู้ถ่ายภาพรังสีที่มีความเคยชินกับการถ่ายแบบคาดคะเนด้วยตนเองแบบเก่านั้นพบว่า อาจจะยังไม่คุ้นชินกับเครื่องมือเท่าการกะประมาณด้วยตนเองซึ่งอาจจะไม่สามารถถ่ายภาพรังสีในมุมซ้ำเดิมได้ในระยะติดตาม แต่ทั้งนี้พบว่าการใช้เครื่องมือนี้ภาพรังสีที่ได้จะมีคุณภาพที่ดีขึ้นในการเปรียบเทียบ ติดตามผลการรักษา           เครื่องมือนี้ได้ถูกพัฒนาจาก version ที่ 1 มาเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน (10 ปี)  ได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องและแก้ไขมาจนปัจจุบัน ซึ่งเครื่องมือที่ได้ถือว่าเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน เปรียบเทียบผล recall ติดตามผลการรักษาได้ดีกว่าในฟันที่รักษาคลองรากฟัน          3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่             การสร้างงานนวัตกรรมเป็นงานวิจัยนั้น ทำให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้น ทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาว่างานมีข้อบกพร่องอะไร เมื่อผลวิจัยบ่งชี้ออกมาก็สามารถเอาไปแก้ไข้ชิ้นงานนวัตกรรมนั้นอีก เพราะสิ่งที่ประดิษฐ์แล้วได้ใช้งานก็นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงเป็นเครื่องมือที่ดีขึ้น และทำวิจัยกับเครื่องมือที่ปรับปรุงแล้วไปอีกทำให้ได้ชิ้นงานที่ใช้งานได้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง                    อีกทั้งยังทำให้อาจารย์เกิดผลงานทั้งงานนวัตกรรมและงานวิจัยในชิ้นงานเดียว พออาจารย์ลงมือทำให้จะเห็นแนวทางการต่อยอด รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานให้ต่อยอดชิ้นงานไปได้อีก สิ่งที่อาจารย์ได้คิดต่อไปอีกคือการทำผลิตภัณฑ์ที่เป็น set เครื่องมือที่ใช้ถ่ายภาพรังสี เนื่องจากในท้องตลาดมีการขายหลายรูปแบบ การใช้งานตามแต่ความถนัดของผู้ถ่ายภาพรังสี อาจารย์จึงคิดที่จะทำ set ของเครื่องมือที่รวบรวมทุกเทคนิคไว้ด้วยกัน ทั้งนี้คนในปัจจุบันชอบสิ่งที่มีความสะดวกสูง และมีความง่ายในการใช้งาน อาจารย์จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องมือที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ใช้งานง่ายขึ้นอีก ซึ่งแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาต่างๆนี้ก็ล้วนเกิดขึ้นจากการทดสอบการใช้งานจากงานวิจัยที่พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะให้คำแนะนำออกมาในทิศทางเดียวกัน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice               เวลาเป็นสิ่งที่เร่งรัดนักประดิษฐ์ การผลิตที่ใช้เวลานานก็อาจจะทำให้สิ่งประดิษฐ์นั้นล้าสมัย แต่ในมุมมองของนักวิชาการก็ถือเป็นการได้ประโยชน์ในการทำงานวิชาการมากกว่าการทำธุรกิจ และแน่นอนว่ายังเกิดประโยชน์อย่างสูงในส่วนของการเรียนการสอน และการใช้จริงกับผู้ป่วยในคลินิก                การทำวิจัยจากนวัตกรรมให้สำเร็จนั้น อาจารย์ได้แนะนำว่าให้สร้างนวัตกรรมแล้วส่งจดสิทธิบัตร เมื่อมีการจดสิทธิบัตรแล้วก็สามารถนำเครื่องมือไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงการนำมาทำวิจัยต่อ จะพบว่าของที่ประดิษฐ์ชิ้นนั้นมีประโยชน์ และได้ค้นพบว่าเครื่องมือที่ตนเองผลิตขึ้นมามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร จนมาถึงเครื่องมือชิ้นล่าสุดที่ค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ และมีประโยชน์กับนักศึกษามาก                การทำงานวิจัยและนวัตกรรมได้รับการสนับสนุนทุนจากมหาวิทยาลัยรังสิตในการส่งเสริมให้จัดทำชิ้นงาน แต่เวลาในการทำมีไม่มากเนื่องจากมีตารางการสอนที่ค่อนข้างเต็มเวลา อาจจะต้องใช้เวลานอกในการทำผลงานบ้าง แต่ต้องทำไปเรื่อย ๆ ไม่ทอดทิ้ง ก็จะได้ผลงานที่เป็นประโยชน์ออกมา ง่ายต่อผู้ใช้งานจริง และอยากให้ผู้ใช้ได้นำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษา           อย่างไรก็ตามอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ จะเป็นการดีถ้ามหาวิทยาลัยสามารถมีทีมที่สนับสนุนคอยชี้แนะให้ผลงานสามารถต่อยอดทางธุรกิจได้

การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือวางองศาการถ่ายภาพรังสีเพื่อการรักษารากหันหลายคลองราก ไปสู่การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือโดยการวัดผลในผู้ใช้จริง Read More »

How to get publisged in Q1 journals? (ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3 How to get publisged in Q1 journals? (ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.เฟื่องฉัตร จรินทร์ธนันต์ ผศ.ดร.อภิชัย ศรีเพียร ดร.อุทัยพร สิงห์คำอินทร์ คณะเทคนิคการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​              เนื่องจากปัจจุบันการศึกษาและทำวิจัยเป็นอีกหนึ่งภาระงานทีมีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อองค์กร สำหรับทางด้านวิชาการ และการเรียนการสอน  บุคลากรบางท่านอาจจะยังไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารวิชาการต่าง ๆ การจัดการความรู้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1 โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์การตีพิมพ์อย่างมากมาย จะทำให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งอาจารย์และบุคลากรฝ่ายสนับสนุนด้านอื่น ๆ จะได้รับประโยชน์ ในแง่ของการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ซึ่งมีหลักปฏิบัติ ดังนี้ เลือกหัวข้อวิจัยโดยหัวหน้าทีมผู้วิจัย ทีมผู้วิจัยดำเนินการประเมิน โดยการทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดความเป็นไปได้ กำหนดสมมติฐาน หรือวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจน ออกแบบระเบียบวิธีวิจัยที่ตรงกับวัตถุประสงค์ ทันสมัย ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์และผลการทดลอง ขอจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรม รับรองความยินยอม และการรักษาความลับของผู้เข้าร่วมวิจัย รวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีการใช้สถิติที่ถูกต้องเหมาะสม พิจารณาเลือกลงตีพิมพ์ในวารสาร Q1 และวารสารที่มี impact factor สูง ร่างต้นฉบับโดยทำตามคำแนะนำจาก website ของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ การแก้ไขภาษาอังกฤษ และการทบทวนเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การออกแบบระเบียบวิธีวิจัย การทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดงานวิจัย การขอจริยธรรม           การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การเขียน และการสื่อสารในการทำงานที่เป็นทีม กระบวนการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การตรวจสอบภาษาอังกฤษ การสร้างเครือข่าย และการทำงานร่วมกัน การเรียนรู้ และการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผศ.ดร. จตุรวัฒน์ ปวีณวงศ์ชัย และ ดร.นิภาพร เทวาวงค์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้              คัดเลือกวารสารที่มีขอบเขตงานวิจัยตรงกับงานวิจัยของตน รวมทั้งมีการตรวจสอบ quartile และ impact factor จาก website เช่น scopus งานวิจัยที่จะลงใน Q1 ควรมีการทดลองที่หลากหลาย ใช้เทคนิคที่ทันสมัย จำนวน sample มากพอสมควร ตรวจสอบและจัดทำ manuscript ตามคำแนะนำของวารสารให้ถูกต้อง เขียน cover letter ถึง editor ด้วยประเด็นที่สำคัญ น่าสนใจ หลังจาก submit คอยติดตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการแก้ไขตามคำแนะนำด้วยความรอบคอบ หากถูก reject ไม่ควรท้อ ควรปรับปรุง และส่งวารสารอื่นที่ตรงกับขอบเขตงานวิจัยของตน 2. Prototype testing in an operational environment – DO      ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                 1. กำหนดวัตถุประสงค์ และการสรุปผลที่ชัดเจน โดยการเขียนบทคัดย่อที่มีความถูกต้องชัดเจน มีจุดน่าสนใจ การเขียนบทคัดย่อและ manuscript สำหรับการตีพิมพ์อาจมีอุปสรรคด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เลือกสถานที่ทำการปฏิบัติงานวิจัยที่เหมาะสม รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง สถานที่ทำการปฏิบัติงานวิจัยอาจมีไม่เพียงพอ จะต้องมีการวางแผนจัดสรรให้รอบคอบเพื่อไม่ให้กระทบกับการทำงาน ต้องมีการขอจริยธรรม Ethical Considerations และ IBC (Institutional Biosafety Committee) ให้เรียบร้อย ซึ่งการขอหนังสือรับรองดังกล่าวอาจใช้เวลานาน ดังนั้นการทำวิจัยจำเป็นต้องมีการวางแผนให้รอบคอบรัดกุม เพื่อให้การขอหนังสือดังกล่าวไม่เป็นการรบกวนเวลาปฏิบัติการวิจัย มีการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยเลือกใช้สถิติที่ถูกต้อง ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอาจจำเป็นต้องขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถิติโดยเฉพาะ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลการทดลอง พร้อมบันทึกเป็น Files ให้เรียบร้อย ซึ่งจะต้องมีการสำรองข้อมูลทั้งหมดให้ครบถ้วนเพื่อป้องกันการสูญหายของาข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของผลการทดลอง และความสามารถในการทำซ้ำได้ การจัดทำเอกสาร และการรายงาน เพื่อความโปร่งใส แบ่งสัดส่วนผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัย ซึ่งถ้าเป็นการแบ่งสัดส่วนอย่างไม่ยุติธรรมและเท่าเทียมอาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาได้ การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการปรับปรุงซ้ำ การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือเป็นการช่วยทบทวนให้ผลงานมีความถูกต้องมากขึ้น แต่ข้อเสียคือ ผู้ทรงคุณวุฒิควรมีจริยธรรมในการวิจัยที่ดีต่อผู้ร่วมงาน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และทิศทางงานวิจัยในอนาคต เพื่อจะได้การตีพิมพ์ในมาตราฐานที่ดี 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการจัดการความรู้งานวิจัยแต่ละสาขา การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนจะทำให้ผลงานการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือ และยอมรับจากวารสารทางวิชาการ และมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูงขึ้น ขอบเขตงานวิจัยตรงกับวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ การตีพิมพ์ผลงานในวารสารทางวิชาการที่ตรงสายงานจะทำให้ได้รับการแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผลงานและเป็นการปรับปรุงให้ผลงานนั้นมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น ทดสอบโดยการทำซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง และให้ผลเหมือนเดิม การทดสอบซ้ำและให้ผลการทดสอบเหมือนเดิม มีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล่าวคือ เมื่องานวิจัยได้รับการตีพิมพ์แล้ว และการทดสอบเป็นที่ยอมรับสามารถทำซ้ำได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าการทดสอบไม่สามารถทำซ้ำได้ จะถูกตั้งข้อสังเกตจากนักวิจัยจากทั่วโลกถึงมาตรฐานการวิจัยของตัวนักวิจัยเอง และอาจส่งผลร้ายแรงต่อนักวิจัยถ้างานวิจัยนั้นถูกถอดถอนจากวารสารทางวิชาการ (retraction) ทบทวนผลงานวิจัยว่าเป็นที่ยอมรับในวารสารที่จะส่ง ก่อนส่ง manuscript ให้วารสารทางวิชาการพิจารณา ผู้วิจัยจะต้องแน่ใจว่าผลงานวิจัยมีความครบถ้วนครอบคลุมวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่เสนอในตอนแรก เพื่อให้มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูงขึ้น ติดตามและแก้ไข เมื่อมีการตอบกลับจาก editor การแก้ไขตามคำแนะนำของ editor หรือ reviewer จะช่วยทำให้ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามบางครั้ง คำแนะนำดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ ทั้งนี้นักวิจัยจะต้องพิจารณาตามความถูกต้องและเหมาะสม ปรับรูปแบบผลงานชื่อ สถานที่ เพื่อรอการตีพิมพ์ซึ่งในแต่ละวารสารระยะเวลาการตีพิมพ์ไม่เท่ากัน เนื่องจากระยะเวลาการตีพิมพ์ของแต่ละวารสารทางวิชาการไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องมีการวางแผนว่าต้องการตีพิมพ์ในวารสารใด และปัจจุบันแหล่งทุนมักจะถามถึงผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้อาจจะนำเสนอในรูปแบบการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับความสำคัญต่างๆ เช่น T1 หรือ Q1 เป็นต้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ระหว่างทีมวิจัย ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร และนอกองค์กร จากประสบการณ์ในการตีพิมพ์ ควรมีการสนับสนุนทรัพยากรความรู้ หนังสือ เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อให้ได้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างแผนก หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมความเป็นผู้นำการทำงานวิจัยและการสนับสนุนการจัดการความรู้ให้ทีมวิจัย บันทึกแนวทางปฏิบัติการทดลองที่ดีที่สุด และบทเรียนที่ได้รับ ควรมีความปลอดภัย และการรักษาความลับของงานวิจัย ควรสนับสนุนให้เผยแพร่ผลการวิจัย และการมีส่วนร่วม

How to get publisged in Q1 journals? (ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1) Read More »

Scroll to Top