กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษกับบัณฑิตรุ่นใหม่
รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567 ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KR 4.1.6/1 กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษกับบัณฑิตรุ่นใหม่ ผู้จัดทำโครงการ อ.ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด รศ.ดร. บัญญัติ เศรษฐฐิติ อ.ประณต มณีอินทร์ ดร.อาทิตย์ พงษ์ทิพย์ และ อ.ธนกร พรมโคตรค้า วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ในยุคปัจจุบันที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทักษะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ การมีความสารมารถในการใช้ภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้บัณฑิตสามารถเข้าถึงข้อมูลและความรู้จากแหล่งต่างๆทั่วโลกเสริมสร้างโอกาสในการทำงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานที่มีความต้องการบุคคลากรที่มีทักษะภาษาสูง นอกจากกนี้การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เป็นโลกไร้พรมแดน องค์ความรู้ด้านต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกต่างก็ได้รับการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในยุคดิจิทัล การมีความรู้และความสามารถทางภาษาอังกฤษจะช่วยให้บัณฑิตสามารถปรับตัวและประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมการทำงานการใช้ชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ภาษาของชาติที่เป็นประเทศมหาอำนาจ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน จะได้รับความสนใจเรียนรู้กันทั่วโลก บัณฑิตจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาของชาติที่เป็นประเทศมหาอำนาจและการเรียนรู้ภาษาประจำชาติเพื่อคงความเป็นชาติไว้ หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย จึงกำหนดให้ประชาชนได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องศึกษาภาษาไทยที่เป็นภาษาหลักของชาติไปด้วย เพื่อใช้สื่อสารกับคนในประเทศเดียวกัน และใช้ภาษาอังกฤษไว้ใช้สื่อสารกับคนต่างประเทศ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้วัฒนธรรมสังคม และเศรษฐกิจที่เปิดเสรีมากขึ้น มีผลให้สถาบันการศึกษาต่างๆเกิดการตื่นตัวในการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศหลากหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลีภาษาญี่ปุ่น แต่ภาษาอังกฤษยังคง เป็นที่ยอมรับและใช้เป็นภาษากลางของโลกสำหรับการติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ทั้งในด้านการศึกษาการทำธุรกิจการลงทุน การท่องเที่ยวและการใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งยัง เป็นภาษาที่ใช้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอีกด้วย แต่จากผลการทดสอบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษระดับชาติ พบว่า ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น การหาวิธีการ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยเพื่อให้มีคุณภาพทัดเทียมชาติอื่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน เพื่อรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต จุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้ภาษาทุกภาษา ย่อมต้องการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ในการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ ซึ่งการเรียนการภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศหรือใน ฐานะภาษาที่สองพบว่า ผู้เรียนภาษามักจะมีปัญหาในทักษะทางภาษา 4 ทักษะในลักษณะต่างๆกัน ปัญหาของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศนั้น ผู้เรียนจะมีปัญหาในการฟังมากที่สุด อาจเป็นเพราะผู้เรียนเหล่านั้นมีโอกาสพบกับเจ้าของภาษาน้อย ดังนั้นพวกเขาจึงประสบปัญหาในการฟังบรรยายของเจ้าของภาษา ทักษะการฟังไม่ได้รับความสนใจเท่าเทียมกับทักษะ อื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความไม่กล้าแสดงออกและทำให้หมดกำลังใจ การที่ผู้เรียนที่ไม่สามารถฟังภาษาต่างประเทศหรือ ภาษาที่สองได้เข้าใจ ถึงแม้จะได้ผ่านการเรียนวิชาการสนทนามาแล้วทั้งในชั้นระดับชั้นประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาหรือระดับอุดมศึกษา อาจเนื่องมาจากปัญหาที่เกี่ยวข้อง 3 ประการ คือ 1) ความยากลำบากในการจดจำรายละเอียดที่สำคัญของข้อความที่มีความยาวมาก ๆ 2) ความเร็วในการพูดที่มีข้อความที่ไม่ชัดเจน 3) ความไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ที่พูดหรือข้อความที่ได้ฟัง ภาษาอังกฤษมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของคนไทย เพราะมีผลต่อการเรียนและการทำงานเป็นอย่างมาก ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่ดีจะช่วยทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลที่มีประโยชน์ทั่วโลกได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาส ในการได้งานที่ดีจึงเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการเรียนและการทำงานในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม นักศึกษาไทย ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ เนื่องมาจากไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน จึงทำให้ขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ประกอบกับทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้เล็งเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ จึงได้จัดให้มีการสอบวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการสร้างมาตรฐานภาษาอังกฤษเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายยกระดับภาษาอังกฤษของระดับอุดมศึกษา ทั้งยังเป็นการเพิ่มความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและมหาวิทยาลัยรังสิต ดังนั้น ทางคณะนวัตกรรมเกษตรได้จัดกิจกรรมการพัฒนาภาษาอังกฤษขึ้น ทั้งสิ้น 3 กิจกรรม ประกอบด้วย การสื่อสารภาษาอังกฤษ เบื้องต้น (Basic English for Communication) ภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอและสัมมนา (English for Presentation and Seminar) และการเขียน resume ภาษาอังกฤษ (English Resume Writing) เพื่อฝึกฝนทักษะ ส่งเสริม และทบทวนการใช้ภาษาอังกฤษในด้านต่างๆ ของนักศึกษา อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนจบการศึกษาอีกด้วย โดยกิจกรรมดังกล่าว ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ความรู้ที่เป็นประเด็นสาคัญที่นามาใช้: ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential Learning Theory (ELT) คือ ‘ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์’ บันไดวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ (experiential learning spiral ซึ่งประกอบไปด้วย Experiencing เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรงทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เน้นความรู้สึกจากประสบการณ์จริง การลงมือทำ เน้นการเรียนรู้ที่นักศึกษาได้คิดเองทำเอง Reflecting เป็นขั้นตอนการสะท้อนความคิดจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม โดยที่ผู้เรียนนำข้อมูลและประสบการณ์ที่ได้มาทบทวน คิดไตร่ตรอง ทำความเข้าใจในสิ่งที่ได้จากการสังเกต และการจดบันทึก Thinking เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสรุปผลที่ได้จากการสะท้อนความคิด จากการสังเกตแล้วคิดไตร่ตรองจนสร้างเป็นแนวคิดของตนเอง Acting เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนำแนวคิดที่ตนเองสร้างไปทดลองปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่จนทำให้เกิดการหมุนเวียนเป็นวงจรการเรียนรู้ใหม่ ตามภาพที่ 1 ภาพที่ 1 แสดง วงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ Experiential Learning Theory (ELT) การเรียนรู้จากประสบการณ์ Experiential Learning Theory (ELT) เป็นการลงมือทำจากความรู้ใหม่ที่ได้ แล้วเรียนรู้ว่าสิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนควรปรับปรุง จากนั้นจะกลับเข้าสู่ขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง เป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ“เพราะโหมดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นซ้ำ จะขยายความเข้าใจของผู้เรียนได้ ผู้เรียนจะค้นพบว่าในทางปฏิบัติ จะเจอปัญหาอะไร และพบการประยุกต์ความรู้ใหม่ที่ทำได้หลากหลาย โดยการนำสิ่งที่เคยเรียนรู้ในสถานการณ์หนึ่งมาใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่ง แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการที่วนซ้ำอย่างต่อเนื่องของวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ (ได้แก่ experiencing, reflecting, thinking, และ acting) วงจรนี้ไม่ใช่วงกลมแต่เป็นบันไดวน เนื่องจากการเดินทางผ่านวงจรแต่ละครั้งจะกลับไปสู่ประสบการณ์ด้วยความเข้าใจใหม่ที่ได้จาก experiencing, reflecting, thinking, และ acting ดังนั้น บันไดวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จะช่วยอธิบายว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์นำไปสู่การพัฒนาได้อย่างไร ซึ่งถ้าหากในอนาคต ผู้เรียนได้เข้าไปรับประสบการณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอีก ก็ให้หมุนวงจรกลับไปที่ขั้นแรก และทำต่อไปจนขั้นที่ 4 อีกครั้ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)อื่น ๆ (โปรดระบุ) เจ้าของความรู้ นำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 มาตีความสู่การดำเนินงานความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)อื่น ๆ (ระบุ) เจ้าของความรู้ถอดความรู้กระบวนการจัดทาโครงการ หลังจากที่ได้ดาเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 วิธีการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการ คณะอาจารย์เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาฯ ผู้รับผิดชอบ ประชุมเพื่อ วางแผนกำหนดการดำเนินงาน วางแผนแนวทางในการจัดกิจกรรม และจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นดำเนินงาน เขียนแผนโครงการฯ เพื่อขออนุมัติจัดทำ มอบหมายหน้าที่กับคณะทำงาน ในการจัดทำโครงการฯ เตรียมแผนและประชาสัมพันธ์โครงการฯ ดำเนินงานการประสานงานระหว่างคณะทำงาน เพื่อเตรียมจัดกิจกรรมโครงการฯ จัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ที่กำหนด5.1 การสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English Communication in Everyday Life)5.2 ภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอ (English for Presentations)5.3 การเขียน resume ภาษาอังกฤษ (English Resume Writing) สรุปผล ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาทักษาษาอังกฤษ ตาม วงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ Experiential Learning Theory (ELT)ขั้นที่ 1 Experiencing คือประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมเป็นการพูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางด้านนวัตกรรมเกษตร จึงได้กำหนดหัวข้อเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชสมุนไพร ในรายวิชา AIL327 โดยการทำยาดมสมุนไพร โดยอาจารย์แบ่งนักศึกษา ออกเป็นกลุ่ม คละความสามารถ จากนั้นอาจารย์จะเป็นจะเริ่มสอบถามนักศึกษาว่ารู้จักสมุนไพรชนิดใดบ้าง แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร มีประโยชน์หรือสรรพคุณอย่างไร จากนั้น จะชักชวนให้นักศึกษา ทำการโคลนผลิตยาดมสมุนไพรโดยให้นักศึกษา เลือกส่วนผสมสมุนไพรที่นักศึกษาสนใจ พร้อมอธิบายเครื่องมืออุปกรณ์และส่วนผสมที่จำเป็นต้องใช้ในการทำยาดมสมุนไพร ขั้นตอนการทำ ในการใช้ส่วนประกอบของยาดมสมุนไพร ที่ใช้ในการฝึก ได้แก่ 1. สมุนไพรแห้งที่มีกลิ่นหอม เช่น กระวาน, กานพล, โป้ยกั๊ก, พริกไทยดำ, ลูกผักชี,อบเชย2. สารให้กลิ่นหอม ได้แก่ การบูร, เมนทอล, พิมเสน, น้ำมันยูคาลิปตัส3. ขวดสำหรับใส่ยาดมสมุนไพรอาจารย์เป็นผู้สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในขณะส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ตลอดจนการวางแผนและลงมือทำ การชั่งตวงสูตรส่วนผสม เป็นการพัฒนาศัพท์เทคนิคทางด้านการเกษตร ในรายวิชา AIL327โดยในขั้นแรก อาจารย์เป็นผู้กำหนดสูตรส่วนผสม ดังนี้1.ตวงพิมเสนและการบูร อย่างละ 1 ช้อนชา2. ตวงเมนทอล 2 ช้อนชา ใส่ในขวดแก้วปากกว้างที่มีฝาปิด แล้วคนให้เข้ากัน จนกลายเป็นสารละลาย3. เทน้ำมันยูคาลิปตัส 3 มล. ลงไปผสมให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งไว้4. นำกระวาน 1 ผล กานพลู 5 ดอก โป๊ยกั๊ก 1 ผล อบเชย 1 ช้อนชา ลูกผักชี พริกไทยดำ อย่างละ 1 ช้อนชา ใส่ชาผสม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน5. ตักสมุนไพรในข้อ 4 ใส่ลงในขวดสำหรับใส่ยาดม แล้วเติมสารละลายในข้อ 3 ลงไปพอประมาณ แล้วปิดฝา เสร็จขั้นตอนพร้อมนำไปใช้ดมได้ ขั้นที่ 2 Reflecting คือการสะท้อนคิดจากการสังเกตโดยการฝึกให้นักศึกษาทุกคนอภิปรายผลที่ได้และความรู้สึกจากการลงมือทำยาดมสมุนไพรด้วยตนเองในครั้งแร ซึ่งอาจารย์จะคอยช่วยเสริมประเด็นในการอภิปราย ในประเด็นต่างๆ เช่น คำนึงถึงความสะอาดในการทำหรือไม่ อย่างไร เทคนิคการชั่งตวงส่วนผสม ลำดับขั้นตอนการเติมส่วนผสม ความพร้อมในการเตรียมอุปกรณ์จากนั้นตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาสรุปถึง “การทำยาดมสมุนไพร” ประเมินว่านักศึกษามีความรู้สึกกับผลงานยาดมสมุนไพรฝีมือหรือผลงานของตนเองอย่างไร มีจุดบกพร่องหรือมีข้อผิดพลาดเกิดจากอะไร เพื่อให้นักศึกษาบันทึกผลที่เกิดขึ้น และสาเหตุของการเกิด เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขในขั้นตอนต่อไป ขั้นที่ 3 Thinking การสร้างแนวคิดที่เป็นนามธรรมหลังจากที่แต่ละกลุ่มทำยาดมสมุนไพรเสร็จ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปวิธีการทำ และอัตราส่วนของสารผสม (พิมเสนและการบูร อย่างละ 1 ช้อนชา เมนทอล 2 ช้อนชา น้ำมันยูคาลิปตัส 3 มล. กระวาน 1 ผล กานพลู 5 ดอก โป๊ยกั๊ก 1 ผล อบเชย 1 ช้อนชา ลูกผักชี พริกไทยดำ อย่างละ 1 ช้อนชา)โดยให้นักศึกษา เขียน Flow chart ตามขั้นตอนของแต่ละกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ประเมินความสามารถของนักศึกษาจากแบบบันทึกวิธีการทำยาหม่องสมุนไพร ขั้นที่ 4 Acting คือการทดลองปฏิบัตินักศึกษา ในแต่ละกลุ่มลงมือทำยาหม่องสมุไพรอีกรอบตามวิธีการที่ได้จากแนวคิดของกลุ่ม โดยกำหนดให้ทุกกลุ่มต้องเปลี่ยนสูตรส่วนผสมห้ามซ้ำกับรอบแรก จากนั้นให้นักศึกษาเสนอสูตรการทำยาหม่องสมุนไพรจากวัตถุดิบส่วนผสมที่มี หรือวัตถุดิบส่วนผสมอื่นที่นักศึกษาคิดว่าจะเป็นส่วนผสมที่เป็นเอกลักษณ์ของยาดมสมุนไพร อาจเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกมากในพื้นที่ หรือเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม โดยใช้อุปกรณ์ ส่วนผสมเดิม โดยในขั้นตอนนี้ อาจารย์ใช้วิธีการสังเกตุพฤติกรรมของนักศึกษา และประเมินคุณภาพของยาดมสมุนไพรที่นักศึกษาลงมือทำ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากรอบแรกอย่างไร นักศึกษาได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดจากการทำครั้งแรกตรงจุดไหนบ้างและนำมาปรับปรุงในขั้นตอนนี้อย่างไร เพื่อทำให้คุรภาพของยาดมสมุนไพรมีคุณภาพดีขึ้น เช่นหอมขึ้น ไม่แฉะ ไม่หกเลอะเทอะ ใช้ง่ายและสะดวก 2.Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการการนำไปใช้หรือการลงมือปฏิบัติจริงอุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน2.1 การพัฒนาทักษะด้าน การสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English Communication in Everyday Life)จากการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ผ่านกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม โดยเชิญ ผศ.ดร.พนิตนาฏ ชูฤกษ์ เป็นวิทยากรอบรม ผลการดำเนินงาน ทักษะด้าน การสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English Communication in Everyday Life) ผ่านกิจกรรมกลุ่ม การทำยาดมสมุนไพร โดยการดำเนินงานดังกล่าวเป็นการพัฒนาทักษะ ด้านการสื่อสาร นักศึกษาสามารถอธิบายส่วนผสม อุปกรณ์ ลำดับขั้นตอน การทำยาดมสมุนไพรได้ (ภาพที่ 2) ภาพที่ 2 หลักฐานแสดงกิจกรรมกลุ่มการทำยาดมสมุนไพร ในโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 2.2 การพัฒนาทักษะการเขียน resume ภาษาอังกฤษ (English Resume Writing) เป็นการพัฒนาทักษะด้านการเขียนภาษาอังกฤษ โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทุกคน ได้ฝึกเขียน Resume ภาษาอังกฤษ ภาพที่ 3 ตัวอย่างหลักฐานการเขียน Resume ภาษาอังกฤษ 2.3 ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอ (English for Presentations)วันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2024 นักศึกษาของคณะนวัตกรรมเกษตร ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่ประเทศอินเดีย ในหัวข้อ In vitro biocontrol potential of natural substance combination against microbial plant diseases ภาพที่ 4 ภาพที่ 4 หลักฐานแสดงการนำเสนอผลงานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ 2.4 มีการทำ MOU กับมหาวิทยาลัยกุ้ยโจว สาธารณณัฐประชาชนจีนโดยในปี 2024 ทางหลักสูตรได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ Guizhou University for Nationalities ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1951, โดยสังกัดรัฐบาลของมณฑลกุ้ยโจว,เป็นสถาบันการศึกษาเก่าแก่ที่สำคัญแห่งแรกของมณฑลกุ้ยโจว,รัฐบาลของมณฑลกุ้ยโจวและคณะกรรมการกิจการพลเรือนแห่งชาติร่วมกันสร้างขึ้น,และมหาวิทยาลัยกุ้ยโจ้วเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณะเกษตรติดอันดับต้นๆของประเทศจีนโดยในความร่วมมือดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยกุ้ยโจว ได้มีการมานำเสนอผลงานวิจัยด้านโรคที่เกิดจากเชื้อราในพริก และการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ โดย Prof. Yong Wang ให้กับนักศึกษาคณะนวัตกรรมเกษตร และ ในช่วงระหว่าง วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 – 30 กรกฎาคม 2567 ทางหลักสูตรได้มีการส่งนักศึกษาของคณะ จำนวน 7 คน (ภาพที่ 5) ไปฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยลักษณะงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย อาทิ การเพาะเลี้ยงเชื้อ การคัดแยกเชื้อ การทดสอบกิจกรรมการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย การสกัดสารออกฤทธิ์สำคัญของพืชสมุนไพร ซึ่งนักศึกษาของเราได้ค้นพบเชื้อราตัวใหม่ที่เป็นเชื้อราสาเหตุโรคในพริกที่ไม่เคยมีการระบาดและตรวจพบมาก่อนใน จีนชื่อเชื้อ Stagonosporopsis pogostemonis มีลักษณะสปอร์ ดังแสดงในภาพที่ 6 ภาพที่ 5 นักศึกษาคณะนวัตกรรมเกษตรที่ไปฝึกงานที่ มหาวิทยาลัยกุ้ยโจว ภาพที่ 6 แสดงลักษณะสปอร์ของเชื้อ Stagonosporopsis pogostemonis ในปี 2567 Assoc. Prof. Dr. Xiang Yu Zeng. จาก Department of Plant Pathology Guizhou University มาบรรยายเกี่ยวกับ “เทคนิคการจำแนกสสปีชีส์เชื้อราสาเหตุโรคพืชด้วย AI” ภาพที่ 7 ภาพที่ 7 หลักฐานแสดงรายชื่อการร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ 2.5 มีการจัดกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ผ่านการปฏิบัติระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติจากการจัดโครงการพัฒนาทักษะภาษอังกฤษให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร มีนักศึกษาของทั้ง 2 คณะ เข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย (ภาพที่ 8) ภาพที่ 7 หลักฐานแสดงรายชื่อการร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยสถาบันภาษาอังกฤษ ได้จัดให้มีการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาเป็นประจำทุกปี ซึ่งในแต่ละปี มีนักศึกษาของคณะนวัตกรรมเกษตรเข้ารับการทดสอบ RSU2 -Test มีผลการทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ในระดับ A2 กับ B2 ภาพที่ 5 ภาพที่ 5 แสดงคะแนนทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษ RSU2-Test ของคณะนวัตกรรมเกษตร ในแต่ละปี ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ในส่วนของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร ซึ่งมี 3 หลักสูตร และทั้ง 3 หลักสูตรได้มีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ให้กับนักศึกษา คณะนวัตกรรมเกษตร นอกเหนือจากการจัดโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีโครงการพัฒนาทักษะภาจีนและภาษญี่ปุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบัณฑิต ในการไปฝึกงานที่จีนและญี่ปุ่น คณะเทคโนโลยีอาหาร มีโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับ Toyo College of Food Technology เป็นประจำทุกปี ส่วนการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในนามวิทยาลัย ให้นักศึกษาของทั้ง 3 หลักสูตรได้เข้าร่วม แต่ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จมากกว่านี้ ผู้ถ่ายทอดบทเรียนขอเสนอ ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ควรจัดให้มีพื้นที่ หรือห้อง ที่มีสื่อหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ แนะนำแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซด์ที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อแก้ปัญหาทักษะการฟัง ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อโซเชียล เพื่อให้มีอัตราส่วนของนักศึกษานานาชาติที่สนใจได้มีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้ให้มากกว่านี้ และเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักศึกษาไทยได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษครบทั้ง 3 ด้าน
กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษกับบัณฑิตรุ่นใหม่ Read More »