KR 2.5.2

การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากล

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            ปัจจุบันจริยธรรมการวิจัยในคน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับงานวิจัยที่มีคนเป็นส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เพราะการเผยแพร่งานวิจัยที่มีคนเป็นส่วนร่วม ในวารสารนานาชาติ ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จะมีการขอใบรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ของงานวิจัยชิ้นนั้นๆ และที่สำคัญถ้างานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยจะใช้เป็นผลงานในการยื่นขอตำแหน่งวิชาการ จำเป็นต้องแนบใบรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน จากคณะ-กรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนมาด้วย ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ข้อที่ (6) หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันที่มีการดำเนินการ            ด้วยความจำเป็นข้างต้นทางมหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต หรือ Rangsit University – Ethical Review Board (RSU-ERB) หรือ เรียกย่อๆว่า คณะกรรมการฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อออกใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ให้กับ อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือในวงการวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนในระดับนานาชาติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้หน่วยงานอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมในคนมาตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการฯ โดย The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) หรือที่เรียกสั้นๆว่า SIDCER-FERCAP เป็นหน่วยงานอิสระระดับนานาชาติ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมในคนให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก คณะกรรมการจริยธรรมในคนของหน่วยงานใดที่ได้รับการรับรองจาก SIDCER-FERCAP จะเป็นคณะกรรมการจริยธรรมในคนที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากล  ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับความน่าเชื่อถือ ความเป็นสากล ความเป็นที่รู้จักและยอมรับของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของมหาวิทยาลัยรังสิต คณะกรรมการฯ จึงได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้ SIDCER-FERCAP เข้ามาประเมินการดำเนินการ           ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการฯ ได้รับการรับรองการดำเนินการจาก SIDCER-FERCAP สำนักงานจริยธรรมการวิจัยจึงได้ทำการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมิน โดยมีจัดการความพร้อมทั้งทางด้าน สถานที่, คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ, เอกสารการประเมิน, Standard Operating Procedures หรือ SOP และระบบการดำเนินการของสำนักงานจริยธรรมการวิจัยที่จะคอยสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลัง ความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)อื่นๆ : ระเบียบวิธีดำเนินการมาตรฐาน (Standard Operating Procedures) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด  รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ 1. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ2. ขั้นตอนการเตรียม Standard Operating Procedures หรือ SOP3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการพิจารณาโครงการโดยคณะกรรมการฯ4. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรอง และการติดตามการปิดโครงการ5. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและการจัดการเอกสาร 1. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ในขั้นตอนนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ     1.1 คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ ในการคัดเลือกคณะกรรมการฯ นั้นคณะกรรมการฯ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้         – ทุกคนต้องมีใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในคนมาตรฐานของ GCP, SOP         – มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ของตนเป็นอย่างดี         – มีการเซ็นต์รับรองการปกปิดความลับ และ conflict of interest     1.2 สำนักงาน และงบประมาณ         – คณะกรรมการฯ มีสำนักงานเป็นของตนเอง คือสำนักงานจริยธรรมการวิจัยในคน ห้อง 504 ชั้น 5 อาคารอาทิตย์            อุไรรัตน์ และ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในส่วนของงานจริยธรรมการวิจัยจำนวน 2 คน คือคุณวุฒิศักดิ์ อยู่จำนงค์            และคุณเบญจพร เกาะแก้ว ดังแสดงในรูปที่ 1         – สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มีงบประมาณเป็นของตนเอง โดยได้ทำเรื่องขอแยกงบจากสถาบันวิจัย ตั้งแต่ปี 2566     1.3 การฝึกอบรม          สำนักงานจริยธรรมการวิจัยได้มีการจัดการอบรมในเรื่องหัวข้อจริยธรรมการวิจัยในคนในมาตรฐานของ GCP, SOP           เป็นประจำทุกปี 2. ขั้นตอนการเตรียม Standard Operating Procedures หรือ SOP        คณะกรรมการฯได้ปรับปรุง SOP ให้มีความทันสมัย และทำปฏิบัติได้จริง โดยมีการปรับปรุงเล่ม SOP version 2.0 เป็นเล่ม SOP version 2.1 ดังแสดงในรูปที่ 2 โดยเนื้อหาหลักที่แก้ไขหลัก เป็นแนวทาง และระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ ให้สามารถทำได้จริงตามที่ได้ระบุไว้ในเล่ม SOP 3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการพิจารณาโครงการโดยคณะกรรมการฯ        ในขั้นตอนนี้สำนักจริยธรรมการวิจัยได้จัดการอบรมให้ความรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์กับคณะกรรมการฯ เป็น ประจำทุกปี ดังแสดงในรูปที่ 3 เพื่อให้คณะกรรมาการฯ มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยในคนที่แม่นยำ สามารถที่จะนำเอาความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆมาพิจารณาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจารกนี้สำนักงานจริยธรรมการวิจัยยังได้ประชาสัมพันธ์การอบรมจริยธรรมการวิจัยในคนที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกให้คณะกรรมการฯได้ทราบ เพื่อกรรรมการที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมอบรมได้ 4. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมด้านการติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรอง และการติดตามการปิดโครงการ        สำนักงานจริยธรรมมีการใช้ระบบสารสนเทศในการติดตามโครงการที่ได้รับหนังสือรับรองแล้ว และโครงการที่ถึงกำหนดส่งรายงานการปิดโครงการ โดยจะมีการทำหนังสือติดตามส่งไปให้หัวหน้าโครงการ 1 อาทิตย์ ก่อนจะถึงกำหนด 5. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและการจัดการเอกสาร        สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มีระบบในการจัดการเอกสารอย่างมีระบบ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับความลับ โดยมีการแบ่งเอกสารออกเป็น active document คือ เอกสารของโครงการที่ยังไม่ปิดโครงการ และ inactive document คือเอกสารของโครงการที่ปิดโครงการแล้ว ซึ่งเอกสารต่างๆจะถูกเก็บในตู้เก็บเอกสาร ในห้องเก็บเอกสารภายในสำนักงานจริยธรรมการวิจัย โดยที่ห้องเอกสารนั้นจะมีการติดตั้งกุญแจ digital ซึ่งมีเพียงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นถึงจะทราบรหัสเปิดห้อง เพื่อป้องกันเนื้อหาในโครงการรั่วไหล ดังแสดงในรูปที่ 4 2. Prototype testing in an operational environment – DO          หลังจากที่สำนักงานจริยธรรมการวิจัยได้เตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัย ในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) แล้วนั้น ในวันที่ 28– 30 สิงหาคม 2566 คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ได้รับการตรวจรับรองคุณภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ณ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย ห้อง 1-505 และห้องประชุม 1-301 มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้        1. ศ. เกียรติคุณ ดร. พญ. จันทรา กาบวัง เหล่าถาวร, Survey Coordinator        2. ผศ. ดร. พญ. พรรณทิพา ว่องไว, Lead Surveyor        3. รศ. ดร. พญ. ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม, Local Surveyor        4. ดร. พญ. อรวรรณ ศิลปะกิจ, Local Surveyor        5. Dr. Sangeeta Desai, Foreign Surveyor From India        6. รศ.ดร. อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา Assistance Surveyor        7. กรรมการจากหน่วยงานรัฐ และเอกชน อีกจำนวน 15 คน           3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           หลังจากที่ จาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) ได้เข้ามาประเมินการดำเนินงานของคณะกรรมฯ ระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคม 2566 แล้วนั้น หลังจากการประเมินทาง SIDERFERCAP ได้ให้ระกาศนียบัตรการเข้ามาตรวจประเมินการดำเนินงานของคณะกรรมฯ ดังแสดงในรูปที่ 6 ใบ ประกาศนียบัตรนี้ไม่ได้แปลว่าคณะกรรมการฯ จะผ่านการประเมิน โดย SIDER-FERCAP จะส่งข้อแก้ไขต่างๆมาให้ ทางคณะกรรมการฯ แก้ไขเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 หลังจากแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้วคณะกรรมการฯ จะส่งข้อแก้ไข และ action planไปให้ทาง SICER-FERCAP พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้คณะกรรมการฯ อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขตามข้อเสนอแนะ และจัดทำ action plan เพื่อส่งกลับไปให้ทาง SIDER-FERCAP พิจารณา คาดว่าภายในเดือนมีนาคม 2567 จะส่งเอกสาร และ action plan กลับไปให้ SIDER-FERCAP ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         ถ้าคณะกรรมการฯ ได้ผ่านการรับรองจาก SIDER-FERCAP คณะกรรมการฯ จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรอง ซึ่งจะสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการวิชาการและการวิจัย

การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากล Read More »

ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ผู้จัดทำโครงการ​ นายวุฒิศักดิ์ อยู่จำนงค์ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​         จริยธรรมการวิจัยในคน ตามหลักการที่บัญญัติไว้ในรายงานเบลมองต์ (Belmont Report) ประกอบไปด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ1. หลักความเคารพในบุคคล (Respect for person) เป็นการเคารพในศักดิ์ศรีความคนของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย2. หลักคุณประโยชน์ (Benefit) ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการวิจัยกับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย ชุมชนหรือสังคมในภาพรวม3. หลักความยุติธรรม (Justice) การพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยด้วยวิธีการที่เป็นธรรมไม่อคติรวมทั้งการกระจายผลประโยชน์และความเสี่ยงจากการดำเนินโครงการวิจัยอย่างเท่าเทียมกัน จากหลักการและเหตุผลดังที่กล่าวนั้นงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรม จึงจำเป็นต้องขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ในด้านศิลธรรม เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดได้ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายทางกาย จิตใจ สถานะทางสังคม ฐานะทางการเงิน และอันตราจากกฎหมาย ทางด้านวิชาการ เป็นหลักฐานแนบ ในการส่งบทความตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ (สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวกับคน) เป็นหลักฐานแนบในการขอตำแหน่งวิชาการ (สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวกับคน) ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ข้อที่ (6) หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันที่มีการดำเนินการ       ดังนั้นเพื่อการดำเนินการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรม ได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนอย่างถูกต้อง รวดเร็วทำให้ผลงานคุณภาพ สามารถเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ สำนักงานจริยธรรมการวิจัยจึงได้จัดทำ การจัดการความรู้ (KM) เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในเรื่อง  “ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต”  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) :ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/), ระเบียบวิธีดำเนินการมาตรฐาน (Standard Operating Procedures) มหาวิทยาลัยรังสิตความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต มีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้             1. ขั้นเตรียมเอกสารเพื่อขอรับรอง และส่งเอกสารของรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน 2. ขั้นตอนการพิจารณาประเภทของโครงการ และส่งกรรมการประเมินโครงการ 3. ขั้อตอนการพิจารณาโดยกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน 4. ขั้นตอนการส่งผลการพิจารณาให้นักวิจัย และแก้ไขตามผลการพิจารณาจากผู้ประเมิน 5. ขั้นตอนการออกหนังสือรับรอง และติดตามผลหลังจากการได้รับหนังสือรับรอง    1. ขั้นเตรียมเอกสารเพื่อขอรับรอง และส่งเอกสารของรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน       ขั้นตอนเตรียมเอกสารเพื่อขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน โดยจัดเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้ จัดส่งเอกสารต้นฉบับ (Hard copy) จำนวน 1 ชุด และสำเนา 1 ชุด มาที่สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต และแนบไฟล์ Word & PDF ทั้งหมดส่ง Email: rsuethics@rsu.ac.th โดยระบุชื่อโครงการวิจัย และรายละเอียดขอให้ส่งทั้งเอกสารและรายละเอียดของผู้จัดส่ง (ชื่อ-นามสกุล , ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้, E-Mail สำหรับติดต่อกลับ)สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต ห้อง 504 ชั้น 5 อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ติดต่อประสานงาน :  นายวุฒิศักดิ์ อยู่จำนงค์ รองผู้อำนวยการสำนักงานจริยธรรมการวิจัย                                    เลขานุการคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนT. 02 791 5728 / 086 890 6621E-mail: rsuethics@rsu.ac.th   2. ขั้นตอนการพิจารณาประเภทของโครงการ และส่งกรรมการประเมินโครงการ       การขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน และส่งกรรมการประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยรังสิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้       2.1 Exemption process โครงการวิจัยในคนที่มีความเสี่ยงทางด้านจริยธรรมการวิจัยในคนอยู่ในระดับที่ไม่มีความเสี่ยงถึงความเสี่ยงต่ำมาก ประธานฯ/รองประธานฯ พิจารณาส่งโครงการวิจัยให้กรรมการ 1 คน ระยะเวลาในการพิจารณา 7 วันทำการ      2.2 Expedited process โครงการวิจัยในคนที่มีความเสี่ยงทางด้านจริยธรรมการวิจัยในคนอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงต่ำถึงความเสี่ยงปานกลาง ประธานฯ/รองประธานฯ พิจารณาส่งโครงการวิจัยให้กรรมการ จำนวน 2 คน ระยะเวลาในการพิจารณา 10 วันทำการ      2.3 Full board process โครงการวิจัยในคนที่มีความเสี่ยงทางด้านจริยธรรมการวิจัยในคนอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงถึงความเสี่ยงสูง ประธานฯ/รองประธานฯ พิจารณาส่งโครงการวิจัยให้กรรม 2 คน ระยะเวลาในการพิจารณา 14 วันทำการจัดประชุมพิจารณาเดือนละ 1 ครั้ง โดยต้องมีกรรมการภายนอก อย่างน้อย 1 คน และ Lay person อย่างน้อย 1 คน   3. ขั้นตอนการพิจารณาโดยกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน       กรรมการผู้ประเมินต้องเขียนอธิบายรายละเอียดการประเมินตามหัวข้อต่างให้ครบถ้วน โดยต้องเขียนอธิบายการประเมินในแต่ละหัวข้ออย่างละเอียด (ไม่ควรเขียนเพียง ดี ดีมาก เพียงพอ เป็นต้น) และต้องลงนามกำกับการประเมิน โดยมีประเด็นที่พิจารณา ดังนี้       1. ผู้วิจัยมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการทำโครงการวิจัย       2. ผู้วิจัยชี้แจงเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest; COI) ชัดเจน       3. ผู้เข้าร่วมวิจัย (Participants) ว่าอยู่ในกลุ่มใด และนักวิจัยปกป้องสิทธิของผู้เข้าร่วมวิจัยชัดเจน       4. การออกแบบการทดลอง ระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง เหมาะสม       5. โครงงานวิจัยมีความเสี่ยงอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร เหมาะสมที่จะทำวิจัยหรือไม่อย่างไร กรณีที่มีความเสี่ยงมีการระบุการรักษา ดูแล กรณีเกิดเหตุสุดวิสัยหรือไม่       6. Inform Consent มีความถูกต้องหรือไม่ อย่างไร       7. การปกปิดความลับให้ผู้เข้าร่วมวิจัย เหมาะสม หรือไม่อย่างไร       8. เนื้อความและภาษาที่ใช้ใน Inform Consent เหมาะสมหรือไม่อย่างไร       9. ผู้เข้าร่วมงานวิจัยมีอิสระ เพียงพอในการเข้าร่วมโครงการ หรือไม่อย่างไร      10. มีการแนบ Consent/Assent forms       11. มีการชดเชยการเสียเวลาของผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างเหมาะสม หรือไม่       12. มีการระบุวิธีการเข้าถึงผู้เข้าร่วมวิจัยและวิธีการได้รับ Inform Consent forms    4. ขั้นตอนการส่งผลการพิจารณาให้นักวิจัย และแก้ไขตามผลการพิจารณาจากผู้ประเมิน       เมื่อกรรมการประเมินผลส่งกลับมาที่สำนักฯ แล้ว เลขานุกรรมกรรมการจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสรุปส่งให้นักวิจัยทาง Email โดยให้นักวิจัยมีเวลาการแก้ไข ประมาณ 14 วันมีผลการประเมิน 4 ประเภทดังนี้    รับรอง    รับรองหลังจากปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว    ปรับปรุงแก้ไข และนำเข้าพิจารณาใหม่    ไม่รับรอง        เมื่อนักวิจัยได้รับผลการประเมินแล้ว จะต้องดำเนินการแก้ไขให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาโดยนักวิจัยต้องแก้ไขทุกประเด็นที่ผู้ประเมินเสนอแนะมา โดยปรับแก้ไขโครงการวิจัยตามรูปแบบ ดังนี้       1. ขอให้ท่านจัดทำบันทึกข้อความซึ่งมีการระบุรหัสโครงการวิจัยและชื่อเรื่องพร้อมระบุรายละเอียดการปรับแก้ไขโครงการวิจัยลงในตารางข้างล่างนี้ และขอให้หัวหน้าโครงการวิจัยลงนามทั้งในบันทึกข้อความและในแบบเสนอโครงการวิจัยฯ หน้าสุดท้าย       2. ขอให้ท่านทำ highlight หรือขีดเส้นใต้ในเอกสารที่ปรับแก้ไขแล้วมาด้วย จำนวน 1 ชุด พร้อมแนบสำเนาเอกสารอีก จำนวน 1 ชุด ซึ่งไม่มีการ highlight เพื่อจะได้ประทับตราสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมฯ ให้ท่านนำไปดำเนินการวิจัยต่อไป (รวมทั้งหมด 2 ชุด)   5. ขั้นตอนการออกหนังสือรับรอง และติดตามผลหลังจากการได้รับหนังสือรับรอง       เมื่อแก้ไขตามผลการประเมิน และประธานฯ / รองประธานฯ พิจารณาความถูกต้อง และออกหนังสือรับรอง 2 แบบ ดังนี้       1. เอกสารรับรองโครงการวิจัย (Certificate of Approval) สำหรับโครงการวิจัยประเภท Expedited Review หรือ Full Board Review       2. เอกสารยืนยันการยกเว้นการรับรอง (Documentary Proof of Exemption) สำหรับโครงการวิจัยประเภท Exemption Review       การติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรองแล้ว หรือ การรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัย (Progress Report) ผู้วิจัยจะต้องรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัยเกี่ยวกับจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยและการถอนตัวออกจากโครงการวิจัยปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการวิจัยและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของโครงการวิจัยเพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามโครงการวิจัยและต่ออายุการรับรอง (หากจำเป็น) เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดใน ICH-GCP ข้อ3.1.4 ที่ระบุว่า ERB/IEC ควรพิจารณาทบทวนการวิจัยที่ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะตามความเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงต่ออาสาสมัครอย่างน้อยปีละครั้ง       เพื่อให้ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในแต่ละปีจะมีการจัดฝึกอบรมให้นักวิจัย เพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนได้ถูกต้องตามหลักการขอรับรอง โดยจัดฝึกอบรม หัวข้อ “เทคนิคการกรอกแบบฟอร์มเพื่อยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน”   2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ผลการดำเนินการ โดยนำไปใช้ และการลงมือปฏิบัติจริง ทั้ง 5 ขั้นตอน 1. ขั้นเตรียมเอกสารเพื่อขอรับรอง และส่งเอกสารของรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน 2. ขั้นตอนการพิจารณาประเภทของโครงการ และส่งกรรมการประเมินโครงการ 3. ขั้อตอนการพิจารณาโดยกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน 4. ขั้นตอนการส่งผลการพิจารณาให้นักวิจัย และแก้ไขตามผลการพิจารณาจากผู้ประเมิน และ 5. ขั้นตอนการออกหนังสือรับรอง และติดตามผลหลังจากการได้รับหนังสือรับรอง     ส่งผลให้เกิดอุปสรรค และปัญหาในการทำงานอยู่บ้าง เช่น ขั้นเตรียมเอกสารเพื่อขอรับรอง และส่งเอกสารของรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน เนื่องจากเอกสารแบบฟอร์มต่างๆ มีเยอะทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดทำเอกสาร และการจัดส่งเอกสารจะต้องส่งทั้งไฟล์เอกสาร และเอกสารต้นฉบับตัวจริง จึงจะสามารถดำเนินการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนต่อไปได้ และการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กับนักวิจัย ซึ่งเวลาอาจจะไม่ตรงกันจึงทำให้การติดต่อสื่อสารต้องติดต่อกันหลายๆ ช่องทางทั้งท่าง Email / Line / โทรศัพท์ ในเวลานอกราชการ เป็นต้น      เพื่อให้การดำเนินการตามขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนมีประสิทธิภาพ และเป็นการกำจัดอุปสรรคหรือปัญหาในการดำเนินงานขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในค คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ในคนจึงมีการจัดฝึกอบรมให้นักวิจัย หัวข้อ “เทคนิคการกรอกแบบฟอร์มเพื่อยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน” เพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนได้ถูกต้องตามหลักการขอรับรองและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    จากผลการดำเนินการ สรุปได้ว่า ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต 5 ขั้นตอน และการจัดฝึกอบรมให้นักวิจัย ดังเสนอมานั้น ส่งผลให้นักวิจัยขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ได้อย่างมีความเข้าใจในการขอรับรองและเกิดรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งคณะกรรมการฯ และนักวิจัย สามารถดำเนินการตามหน้าที่ของต้นเองได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้งานวิจัยที่เกียวข้องกับคนมีประสิทธิภาพ สามารถเผยแพร่ได้ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติได้     การจัดทำการจัดการความรู้ (KM) ในหัวข้อ “ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” ทำให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง จากข้อเสนอแนะจากนักวิจัย กรรมการฯ มาจัดทำเป็นขั้นตอนในการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนที่เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้จริงถูกต้องตามหลักการของรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนทุกประการ  ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          การขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรม จึงจำเป็นต้องจัดอบรมขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1 . อาจารย์ นักวิจัย 2. นักศึกษา ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกันคน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สามารถขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และผลงานดังกล่าวสามารถเผยแพร่ได้ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน Read More »

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม ผู้จัดทำโครงการ​ อ.ดร.ภญ. นลินี ประดับญาติ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ บริบทหรือความเป็นมาของเรื่องที่เล่า          ในปัจจุบันด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 หรือภาวะมลพิษจากการกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (particulate matters 2.5; PM 2.5) ซึ่งทั้งสองปัจจัยทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว ในระยะเฉียบพลันการติดโรคโควิด-19 มีผลกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันหลายอย่างที่เป็นสาเหตุให้เกิดกระบวนการอักเสบและเป็นเหตุให้การทำงานของอวัยวะหลายระบบล้มเหลวได้ ส่วนฝุ่น PM 2.5 ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบ รวมทั้งมีผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าฝุ่นนี้เป็นปัจจัยต่อการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง พืชสมุนไพรไทยหลายชนิด ได้แก่ มะนาว ใบหญ้านาง ข่า พริกไทย ใบกัญชา ฯลฯ มีประวัติการใช้ตามภูมิปัญญาโดยใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารตลอดจนใช้สำหรับดูแลสุขภาพตลอดจนรักษาโรค ซึ่งมีผลการศึกษาในหลอดทดลองหลายการศึกษาที่สนับสนุนว่าพืชสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ลดกระบวนการอักเสบได้ ในบทบาทของการเป็นอาจารย์ผู้สอนทางด้านเภสัชวิทยาและพิษวิทยาที่จะต้องมีภาระทั้งการสอน และการทำวิจัยควบคู่ไปด้วย ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการใช้พืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในการบำรุง ดูแล รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา โดยบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาในรูปแคปซูลที่สะดวกต่อการรับประทาน ดังนั้นเพื่อสนับสนุนความปลอดภัยและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงได้มีการทำการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองเป็นเบื้องต้น ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการศึกษาวิจัยความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   วิธีการ/ขั้นตอน หรือกระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ        1. รวบรวมข้อมูล และทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ        2. ออกแบบการศึกษาที่รัดกุม ครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัยที่สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม        3. ดำเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้น และจัดทำรายงานการวิจัย        4. เผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ        5. นำผลการศึกษาที่ได้พัฒนาต่อยอดเพื่อศึกษาวิจัยต่อในระดับคลินิก และวางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงานเทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ    – กำหนดหัวข้อวิจัยที่ชัดเจน    – สร้างทีมวิจัย โดยชักชวนนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันพัฒนางานวิจัยที่สนใจ    – ขอทุนวิจัย และดำเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้นตามสัญญาทุน หากเกิดปัญหาหรืออุปสรรคจะขอคำปรึกษาจากทีมวิจัย และที่ปรึกษาโครงการวิจัยเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้    – เตรียมข้อมูลความพร้อมและทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ    – กำหนดของเขตการวิจัยที่ชัดเจ    – เลือกเครื่องมือในการดำเนินงานวิจัยที่เหมาะสม    – ดำเนินงานวิจัยตามกรอบแนวคิด และมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ละเอียดรอบคอบ    – เขียนบทความวิจัยเพื่อส่งตีพิมพ์ โดยเลือกวารสารวิชาการระดับนานาชาติคุณภาพสูงและอยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับเป็นอันดับแรก หากถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ จะนำข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิมาแก้ไขบทความวิจัย และส่งตีพิมพ์ในวารสารใหม่ที่คุณภาพลดหลั่นลงมาผู้ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดความสำเร็จ และบทบาทของบุคคลนั้น    – คณะนักวิจัยที่ร่วมดำเนินงาน    – ผู้บริหารของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต และบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป เป็นผู้สนับสนุนและให้โอกาสในการทำวิจัยอุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางในการแก้ปัญหา/อุปสรรคดังกล่าว     การศึกษาวิจัยนี้ใช้เซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของมนุษย์เป็นแบบจำลองในการศึกษา ปัญหาที่พบคือเซลล์เจริญเติบโตช้า ต้องเลี้ยงให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่สอดคล้องกันในแต่ละวิธีการศึกษาและแปลผลไปสู่การประยุกต์ใช้ในทางคลินิกผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น     ดำเนินการศึกษาวิจัยแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา ผลการวิจัยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เผยแพร่ผลงานผ่านสื่อสังคมและเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการวิจัยทางคลินิก 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่การเรียนรู้ของผู้เล่าเรื่องจากประสบการณ์ความสำเร็จดังกล่าว      เรียนรู้บริบทการดำเนินการวิจัยที่เน้นการทำงานเป็นทีม ที่ประกอบด้วยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขา เพื่อให้งานวิจัยสัมฤทธิ์ผลดีและประหยัดเวลาในการดำเนินงาน ดังนั้นการสร้างทีมวิจัยและเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้การดำเนินงานวิจัยในปัจจุบันต้องเน้นผลลัภย์ที่สร้างผลิตภัณฑ์และมูลค่าจากกวิจัย รวมทั้งการตีพิมพ์บทความวิจัยในปัจจุบันจะเน้นการศึกษาในเชิงลึกและเชิงบูรณาการศาสตร์หลายแขนง ทำปรับเปลี่ยนจากการดำเนินงานวิจัยในแนวกว้างเป็นการทำงานเชิงลึกและบูรณาการมากขึ้น เพื่อให้บทความวิจัยไม่ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์สมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติ) ของผู้เล่าเรื่อง      เกิดความเข้าใจแนวทางการดำเนินการวิจัยที่เน้นการสร้างทีมวิจัยที่มีคุณภาพ เน้นการดำเนินงานวิจัยที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สร้างผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าแทนที่แนวทางการวิจัยแบบเดิมที่สร้างองค์ความรู้เพียงมิติเดียว ตลอดจนการตีพิมพ์บทความวิจัย เกิดการเรียนรู้ความหลากหลายทักษะการทำวิจัยระหว่างผู้ร่วมวิจัย ทำให้เกิด การสั่งสมประสบการณ์การทำวิจัยในเชิงลึก บูรณาการองค์ความรู้และการมีบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ จึงได้รับเชิญให้พิจารณาบทความวิจัยจากวารสารต่าง ทำให้เป็นแนวทางในการสร้างงานวิจัยเรื่องอื่น ๆ ในอนาคตได้ ผลงานเชิงประจักษ์ของผู้เล่าเรื่อง คือ      ผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ BMC Complementary Medicine and Therapies ซึ่งอยู่ใน quartile 1 มีค่า impact factor 2.83 มีการแถลงข่าวเผยแพร่ผลงานวิจัย เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย และเตรียมโครงการวิจัยต่อยอดในระดับคลินิกต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          การดำเนินงานวิจัย สิ่งสำคัญที่สุดคือทำงานศึกษาข้อมูลให้มากสุดก่อนเริ่มต้นดำเนินการ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนอกจากจะทำให้นักวิจัยมีองค์ความรู้ที่กว้างแล้วยังทำให้สามารถค้นพบช่องว่างของงานวิจัยหรือข้อจำกัดของงานวิจัยอื่น ๆ ที่ผ่านมา (identify research gap) และทำให้ตั้งคำถามงานวิจัยที่เหมาะสมได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการเริ่มดำเนินโครงการวิจัยและออกแบบการทดลองที่สามารถตอบคำถามงานวิจัยได้ ในการดำเนินการวิจัยต้องมองภาพประโยชน์ของงานวิจัยที่จะเกิอดขึ้นว่าคืออะไร เพราะการมองเห็นคุณค่าที่ชัดเจน จะเป็นปัจจัยที่ทำให้นักวิจัยมีแรงขับเคลื่อนให้ก้าวผ่านปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงคือ เกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมในการดำเนินการวิจัยและคณะผู้ร่วมงานวิจัยก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดแนวคิดและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอภิปราย การตั้งคำถามที่สมเหตุสมผลที่ทำให้เกิดการค้นคว้าเพิ่มเติมการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลที่ได้จากการดำเนินการวิจัยที่จะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม Read More »

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept”

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.2, KR 2.5.2 เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : โครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ผู้จัดทำโครงการ​ อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุล วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​         หลายปีมานี้ยานพาหนะไฟฟ้ากำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในประเทศไทยหรือในตลาดโลก เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพาหนะทุกขนาด ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า,รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า, รวมถึงสกูตเตอร์ไฟฟ้า และในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีที่เหนือกว่าเครื่องยนต์สันดาปแบบดั้งเดิมทั้งในแง่ของการลดมลพิษ, ประสิทธิภาพของรถ,การประหยัดค่าใช่จ่ายทั้งในแง่การบำรุงรักษาและการชาร์จเทียบกับการเติมน้ำมัน      เป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่บริษัท Thai Frostech ได้พัฒนาและจำหน่ายสกูตเตอร์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Momen ได้เล็งเห็นการเติบโตของตลาด รวมถึงการเก็บเสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานจริงเพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานในกลุ่มผู้ใช้งาน สกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบยืนสมรรถนะสูง อย่างไรก็ตาม Momen ได้เล็งเห็นตลาดในกลุ่มของสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบนั่ง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มลูกค้าที่ต้องการรถสมรรถนะสูง ทั้งในแง่ของกำลังขับ ระบบความปลอดภัย ระยะทางสูงสุดต่อการชาร์จ รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นโจทย์ใหม่ที่ทาง Momen ต้องการเข้าไป      จากปัจจัยข้างต้น Momen จึงได้นำเสนอโครงการเพื่อขอเสนอรับทุน ยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกำลังดำเนินโครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ซึ่งจะเป็นสกูตเตอร์สมรรถนะสูง ที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่รักกิจกรรม โดยเรามีเป้าหมายที่จะสร้างรถสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบนั่งที่มีระบบขับเคลื่อนดีเยี่ยม มีความปลอดภัย ระยะทางสูงสุดต่อการชาร์จ สามารถถอดชิ้นส่วน เคลื่อนย้ายสะดวกใส่ในรถเก๋งได้ ปัจจุบันโครงการ Momen Mini Bike อยู่ในขั้นตอนการเตรียมผลิตต้นแบบ (Prototype) เพื่อนำไปทดสอบและปรับปรุง ก่อนผลิตและจำหน่ายจริง  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : https://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebaseความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. ศึกษาทุนด้านนวัตกรรม ยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม         1.1 ตรวจสอบคุณสมบัติ : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข้าเงื่อนไขและคุณสมบัติตามที่กำหนดในการสมัครโปรแกรม Prove of Concept” (POC) ดังกล่าวข้างต้น        1.2 พิจารณาผลงานปัจจุบันว่ามีความคล้องกับเงื่อนไขทุน และเจตนารมณ์ของโครงการหรือไม่ ซึ่ง Momen Mini Bike มีความสอดคล้องและเข้าเกณฑ์เพื่อรับทุนจากกองทุน TED FUND ในหลายด้าน ดังนี้ :              1)  “Prove of Concept (POC)”: Momen Mini Bike เป็นต้นแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาและนำไปสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับความต้องการของ TED FUND ในการสนับสนุน POC โครงการ            2) นวัตกรรมและเทคโนโลยี: Momen Mini Bike ใช้วัสดุอลูมิเนียม 7075, ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ, แบตเตอรี่ลิเธียม NMC, และระบบกล่องคอนโทรล Signwave ซึ่งเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอด            3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม: Momen Mini Bike ช่วยลดการใช้พลังงานทดแทน ลดมลพิษที่เกิดจากการขับขี่ และส่งเสริมการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมขนส่งที่สะอาด เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ รวมถึงส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม    2. เตรียมนำเสนอผลงาน        2.1 ทบทวนข้อมูลและเอกสาร: ตรวจสอบและทบทวนข้อมูลและเอกสารที่คุณมีอยู่ให้ครบถ้วนและถูกต้อง เช่น แผนธุรกิจ, แผนงานวิจัยและพัฒนา, ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง        2.2 จัดเตรียมสไลด์นำเสนอ: สร้างสไลด์นำเสนอ (PowerPoint หรือเครื่องมือนำเสนออื่น ๆ) เพื่อสื่อสารข้อมูลที่สำคัญในแต่ละด้านของโครงการ ให้เน้นความกระชับ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ        2.3 เนื้อหาสำคัญในการนำเสนอ :               • แนะนำทีมงานและความสามารถ: แสดงความสามารถของทีมงาน ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความกระตือรือร้นในการทำงาน             • อธิบายปัญหาที่โครงการต้องการแก้ไข: ชี้แจงปัญหาและความต้องการของตลาด และวิธีที่ Momen Mini Bike สามารถตอบสนองความต้องการนี้             • นำเสนอแนวความคิดของโครงการ: อธิบายวิธีการทำงานของ Momen Mini Bike และประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้             • แสดงผลการวิจัยและพัฒนา: นำเสนอผลของการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง  2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    2.1  อธิบายปัญหาอยางชัดเจน           ในกรณีของ Momen Mini Bike นั้นกำหนดปัญหาของสกูตเตอร์ในปัจจุบันไว้คือ         – Performance ประสิทธิภาพ เช่น ระบบขับเคลื่อน high performance มีน้อย, high end มีน้อย         – Design and Manufacturing การออกแบบและงานประกอบ         – Mobility การพกพาลำบาก         – ใช้ระยะเวลานานในการชาร์จไฟ         – ระยะทางในการขับขี่น้อย ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง (distance per charge)     2.2 นำเสนอแนวความคิดของโครงการเพื่อแก้ปัญหา           1. Performance : พิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับเคลื่อนและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาสกูตเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงและตรงกับความต้องการของผู้ใช้           2. Design and Manufacturing : ปรับปรุงการออกแบบและกระบวนการผลิตให้มีความเป็นระบบ ควบคุมคุณภาพสูง และให้สามารถประกอบและผลิตได้อย่างรวดเร็วและประหยัด           3. Mobility : พิจารณาการออกแบบให้สามารถพกพาได้ง่ายขึ้น อาจจะมีการใช้วัสดุที่น้ำหนักเบาและมีความแข็งแรง รวมถึงการออกแบบที่สามารถปรับขนาดหรือพับเก็บได้           4. การชาร์จไฟ : พิจารณาการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือนำเสนอวิธีการชาร์จที่เร็วขึ้น เช่น ใช้แหล่งจ่ายพลังงานที่มีความเร็วในการชาร์จเพิ่มขึ้น หรือวิธีการชาร์จแบบใหม่ที่สะดวกสบายและปลอดภัยขึ้น           5. ระยะทางขับขี่ต่อการชาร์จ : พิจารณาการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีความจุมากขึ้น เพื่อให้สามารถขับขี่ได้ระยะทางที่มากขึ้นต่อการชาร์จ 1 ครั้ง2.3 แสดงผลการวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน     ในการนำเสนอโครงการในรอบ POC ผู้นำเสนอควรมีตัวอย่างงาน ผลการวิจัยและพัฒนา ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อแสดงให้คณะกรรมการเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อ  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    โครงการได้รับคำชื่นชมในการนำเสนอที่โดดเด่น และเจ้าของโครงการมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง Momen Minibike อาจได้รับคำชมเรื่องการออกแบบเนื่องจากหลายปัจจัยดังต่อไปนี้ :    – ดีไซน์ที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์: Momen Mini Bike อาจมีการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร โดดเด่น และน่าสนใจ ทำให้คนสนใจ    – ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม: Momen Mini Bike นำเสนอความคิดใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการออกแบบ ทำให้มีความน่าสนใจและความคิดสร้างสรรค์    – ความสะดวกสบายและประสิทธิภาพ: การออกแบบของ Momen Mini Bike อาจสะท้อนถึงความสะดวกสบายในการขับขี่ ประสิทธิภาพในการใช้งาน และความปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่    – การพิจารณาเชิงตัวอย่างผู้ใช้: การออกแบบของ Momen Mini Bike นำเสนอโซลูชันที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ต่างๆ รวมถึงการพิจารณาเรื่องขนาด น้ำหนัก และรูปร่างของผู้ขับขี่    – การใช้วัสดุและส่วนประกอบที่มีคุณภาพ: การใช้วัสดุคุณภาพสูงและส่วนประกอบที่ทำงานได้ดี อาจทำให้ Momen Mini Bike ดูแล้วมีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ      อย่างไรก็ตามคณะกรรมการพิจารณาทุนได้ให้คำแนะนำ และชูจุดเด่นที่เรามีมากขึ้นได้แก่       – นำ Data ที่ได้จากเซ็นเซอร์ของรถ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น       – กรรมการพิจารณาตัดงบ จึงทำให้ไม่ได้งบเต็มจำนวนตามที่ขอ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice • Momen minibike ได้เพิ่มเติมจุดเด่นจากคำแนะนำของคณะกรรมการ เพื่อเพิ่มจุดเด่นและความแตกต่าง• โดยการเพิ่ม iOS, Android Application เพื่อใช้เช็คสถานะต่างๆของรถ• Testing & Quality Assurance• ระบบความปลอดภัยต่าง ๆ• ขอมาตรฐานอุตสาหกรรมและความปลอดภัย• เพื่อไม่ให้โครงการถูกตัดงบประมาณ ผู้เสนอโครงการควร• วิเคราะห์ความต้องการของโครงการ : สำรวจความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาและส่งเสริมโครงการ Momen Mini Bike ให้สำเร็จลุล่วง• วางแผนงบประมาณและต้นทุน : หาค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ โดยคำนึงถึงต้นทุนวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการทดสอบ การตลาด และการดำเนินงานอื่นๆ ให้สอดคล้องและไม่เกินวงเงินแต่ละหมวดหมู่• จัดทำงบประมาณเสนอขอทุน : จัดทำงบประมาณโครงการในรูปแบบที่เข้ากันได้กับข้อกำหนดของกองทุน TED FUND โดยแยกเป็นรายได้และรายจ่าย และคำนวณยอดขอรับทุน• ประเมินความเสี่ยงในงบประมาณ : วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับปรุงงบประมาณ และวางแผนในการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น• ตรวจสอบความสอดคล้องกับเกณฑ์และข้อกำหนดของกองทุน : ตรวจสอบว่างบประมาณและข้อมูลที่เสนอในการขอทุนสอดคล้องกับเกณฑ์และข้อกำหนดของกองทุน TED FUND รวมถึงการให้ความชัดเจนและครอบคลุม

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” Read More »

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม”

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.5.2 การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.พิเศษ นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญา อาจารย์พิเศษ ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การทำวิจัย และนวัตกรรมก็มีลักษะเหมือนกันจะต่างกันที่แนวคิด การทำวิจัยจะมุ่งเป้าหมายเฉพาะเรื่องนั้นๆ ( Specific) ส่วน นวัตกรรม คือการเอาหลายๆ ปัจจัย หลายๆ ศาสตร์ มาร่วมกันเพื่อตอบโจทย์คำถาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในการทำวิจัย หรือ นวัตกรรม คือ 1.การฟัง การฟังนั้นควรฟังอย่างเปิดใจ Active Listening และ 2.การตั้งคำถาม ซึ่งคำถามจะแสดงให้รู้ถึงความคิดของผู้ถาม และควรตั้งคำถามที่เปิดโลกทัศน์ คำถามที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี ควรมีการจดบันทึก จดเฉพาะสิ่งสำคัญ          ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการในการทำวิจัย และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ดี ทั้งการทำนวัตกรรมและการทำวิจัย เป็นสิ่งที่ประกอบกันของกระบวนการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยจะช่วยสนับสนุนของกันและกันงานวิจัยจะสนับสนุนนวัตกรรมและนวัตกรรม อาศัยงานวิจัยในการพัฒนาในขั้นต่อไป ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ประสบการณ์ของเจ้าของความรู้ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, เปรียบเทียบขบวนการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ในปัจจุบันนั้น การมุ่งเน้นทั้ง 2 ขบวน เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้พัฒนาความคิดใหม่จากกระบวนการที่อาจารย์และรุ่นพี่ทำกันมาโดยเปิดการสร้างจินตนาการและความคิดที่เฉพาะเป็นประเด็นที่สนใจ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    การทำวิจัย หรือ นวัตกรรม นั้นควรมีการตั้งคำถามที่ดี ต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเราจะทำอะไร จะไปที่ไหน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงความคิดและเหตุผล รู้จักตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน สามารถ เล่าเรื่อง และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายๆ Story telling        การสร้างและพัฒนางานนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ ได้ จากวิธีคิด มีวิธีคิด 6 วิธี คือ      1. หลุดจากกรอบแห่งโลกความจริง                  2. สร้างสรรค์จากความฝัน      3. เปลี่ยนจุดอ่อนเป็นไอเดีย                               4. ต่อให้ติดพิชิตความต่าง      5.มองมุมกลับ ปรับมุมมอง เหมือนลูกเต๋า      6. ตัวเลขมหัศจรรย์ ซึ่งเราควรรับมือโดยการสร้างเป้าหมายใหม่ๆ อย่างรวดเร็วในโลกแห่งการแข่งขัน และควรเลือกสิ่งที่เราถนัดสร้างสมรรถนะ (Core Competency) หลักในการเอาชนะคู่แข่งคือ       1) การคิดอย่างเป็นระบบเป็นกระบวนการคิด โดยใช้การคิดแบบเป็นขั้นตอนใช้ สุ จิ ปุ ริ      2) จัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา      3) พัฒนากระบวนการคิด Mindset ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ฝังลึกทำให้เกิดทัศนคติและประสบการณ์      4) ควรมีการยืดหยุ่นปัญหา โดยใช้ Active Listening จะทำให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์      5) การปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน      6) นักศึกษาแพทย์ควรมีพรสวรรค์และพรแสวง      7) เครื่องมือในการทำงานควรมีการวางแผนเชิงกลยุทธ      8) การดำเนินงานแบบเป็นขั้นตอน ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาทำแต่งานที่เร่งด่วนเฉพาะหน้าตลอดเวลา 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ปรากฏการณ์ เล็กๆ บางอย่างเราคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้น เช่น Black Swan Phenomenon แต่ถ้าเกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ยากเกินความควบคุมได้ เช่น การเกิดโรคโควิด ก็เปรียบเสมือนปัญหาที่พบในการทำงาน เพราะฉะนั้นในการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ นั้นเราต้องจัดลำดับขั้นตอน เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะปัญหาในปัจจุบันมีลักษณะ VUCA ; V : Volatile (เปลี่ยนแปลงง่าย) U : Uncertained (ไม่มั่นคง,ไม่แน่นอน) C : Complex (ซับซ้อน) และ A : Ambiguity (กำกวม ความคลุมเครือ) 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่     1. คนเราจะประสบผลสำเร็จได้ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวให้ปฏิบัติตามได้ แต่ต้องเริ่มด้วยความพยายาม และมีความสนใจในสิ่งนั้น    2. ขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาสของชีวิต พร้อมรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือป้าหมายที่วางไว้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice หลักในการทำงาน และเป็นกลไกนำไปสู่ความสำเร็จนั้น ควรใช้หลักของพระพุทธเจ้าสอน คือ อิทธิบาท 4 คือ         ฉันทะ คือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน หาพรสวรรค์ ความถนัดให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำในสิ่งนั้นๆ         วิริยะ คือ การลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ มีความขยันมั่นเพียร ไม่ย่อท้อ         จิตตะ คือ โฟกัสที่จุดมุ่งหมาย มีความมุ่งมั่น่อยู่กับสิ่งที่ทำ         วิมังสา คือ การศึกษาจากคนที่เคยสำเร็จมาเป็นต้นแบบ

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” Read More »

Scroll to Top