KR 4.1.3

ทำอย่างไรให้นักศึกษาไทยและต่างชาติมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านกิจกรรมการบูรณาการทางวิชาการในรายวิชา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KR 4.1.3 ทำอย่างไรให้นักศึกษาไทยและต่างชาติมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านกิจกรรมการบูรณาการทางวิชาการในรายวิชา ผู้จัดทำโครงการ​ อ.อำพร พัวประดิษฐ์ อ.อุษณีย์ มะลิสุวรรณ และ อ.ศรีสองรัก พรหมวิทักษ์ วิทยาลัยนานาชาติ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติมีโอกาสค่อนข้างจำกัดในการทำกิจกรรมแบบมีปฏิสัมพันธ์กัน (Interactive activity) เพื่อพัฒนาทักษะในการสื่อสารและการเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ในขณะที่กิจกรรมที่มีอยู่ก็มักเป็นไปในลักษณะพัฒนาตนเองโดยเฉพาะ และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนน้อย อาทิเช่น การไปแลกเปลี่ยนนักศึกษา ซึ่งต้องอาศัยความสนใจอย่างเข้มข้นจริงจัง ความมั่นใจในตนเอง ความสามารถในการสื่อสารและสถานภาพทางเศรษฐกิจ หรือการเข้าร่วมสัมมนา มักเป็นลักษณะ one way communication  ปราศจาก engagement การมีส่วนร่วมในการสื่อสารแสดงความคิดเห็น เนื่องจากข้อจำกัดทางภาษา (Language barrier) จึงนำไปสู่แนวคิดในการจัดทำกิจกรรมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษาสองกลุ่มนี้ โดยการบูรณาการวิชาการในรายวิชาของหลักสูตรไทย และหลักสูตรนานาชาติร่วมกัน  วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนานาชาติผ่านกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การถกเถียงระดมความคิดการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตลอดจนเรียนรู้ผ่านวัฒนธรรมต่าง ๆ ร่วมกันความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ Integration: การบูรณาการการจับคู่บูรณาการรายวิชาที่เหมาะสมโดยผู้สอนทั้งสองฝ่ายสมัครใจและต้องการพัฒนาทั้งตัวผู้สอนเองและตัวนักศึกษา เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นสากล (Internationalization) ผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางของวิชาตนเอง เช่น การสัมภาษณ์คนไข้, การเล่นเกมส์, การต่อ Lego การ discussion ด้านวัฒนธรรม Communication: การสื่อสารทำอย่างไรให้นักศึกษาไทยมีจุดเริ่มต้นในการกล้าพูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติในลักษณะที่สามารถเข้าใจกันได้ โดยไม่คาดหวังความถูกต้องของโครงสร้างทางภาษา 100% ส่วนนักศึกษาต่างชาติหัดพูดทักทายเป็นภาษาไทย Personality: บุคลิกภาพทำอย่างไรให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้บุคลิกภาพที่มีมิติทางวัฒนธรรมของแต่ละผ่าย เพื่อให้เข้าใจลักษระการตอบสนองจากการสื่อสารผ่านวัจนภาษา (verbal communication) และอวัจนภาษา (non-verbal communication) ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explecit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase) เจ้าของความรู้/สังกัด หลากหลาย ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด อ.อำพร พัวประดิษฐ์  อ.อุษณีย์  มะลิสุวรรณ อ.ศรีสองรัก พรหมวิทักษ์ วิทยาลัยนานาชาติ  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ แสวงหาความร่วมมือจากผู้สอนทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติและจับคู่รายวิชา แบ่งกลุ่มทำงานนักศึกษาที่มีส่วนผสมระหว่าง Thai และ non-Thai อย่างเหมาะสม เตรียมกิจกรรมที่เหมาะสม ไม่ยาก หรือซับซ้อนและสนุก เตรียมใจนักศึกษาทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะนักศึกษาต่างชาติต้องมีความเข้าใจบุคลิกภาพของนักศึกษาไทยที่มักแสดงออกผ่านอวัจนภาษาในการสื่อสาร เช่น ยิ้มมากกว่าพูด นักศึกษาสรรหาเทคนิคเองเพื่อสร้างแรงจูงใจให้อีกฝ่ายแสดงออกมา เช่น การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ผู้สอนทำหน้าที่เป็น coach ดึงเอาความสามารถของนักศึกษาออกมาและกระตุ้นให้มีการ discussion, critical analysis, problem-solving, solution และpresentation 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน  อุปสรรคทางภาษา (Language barrier) ยังคงเป็นปัญหาหลักในตอนเริ่มต้นของนักศึกษาไทย แต่ถูกทะลายลงด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สนุกสนาน การไม่มีช่องว่างระหว่งวัยและความคิด ตัวกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อนและเป็นเรื่องใกล้ตัวเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การ discussion ด้านวัฒนธรรม ทำให้ทั้งสองฝ่ายกล้าแสดงออกมากขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาไทย  เวลาที่ใช้ดำเนินการประมาณ 2 ชั่วโมง/วัน เหมาะสมกับกิจกรรม ทุกคนตั้งใจทำงานให้บรรลุเป้าหมาย นักศึกษาไทยและต่างชาตินำเสนอหน้าชั้นร่วมกัน โดยฝ่ายแรกใช้ภาษาอังกฤษนำเสนออย่างง่าย ๆ เข้าใจได้ บางคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี เป็นที่ชื่นชมของเพื่อนร่วมชั้น          3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคทางภาษา ผู้สอนทำหน้าที่เป็น coach ดึงความสามารถนักศึกษาออกมาพร้อมทั้งกระตุ้นให้กำลังใจ ไม่จับผิด ให้เป็นตัวของตัวเองและกล่าวยกย่องชมเชย การเตรียมความพร้อม ไม่ใช่เฉพาะสำหรับนักศึกษาเท่านั้น แต่รวมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคือผู้สอนทั้งสองฝ่าย ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้บรรยากาศของกิจกรรมน่าสนใจ ไม่น่ากลัว ทำให้นักศึกษาอยากเข้าร่วมเพราะสนุกและได้เพื่อนใหม่ นักศึกษาไทยสะท้อนเรื่องเวลาของกิจกรรมที่น้อยไป จึงนำไปสู่การเพิ่มเวลาจาก 3 ชั่วโมงเป็น 9 ชั่วโมง (3 วันไม่ต่อเนื่อง) ในครั้งต่อ ๆ ไป และอยากให้จัดกิจกรรมแบบนี้เพิ่มขึ้นอีก เรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมที่สร้างรอยยิ้มร่วมกัน เช่น ขนมครก นักศึกษาพม่าเรียกว่า Husband and wife cake โดยอธิบายจากลักษณะของขนมที่มีสองฝาประกบบนล่าง ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นักศึกษานานาชาติอยากให้เพิ่มความท้าทายและความน่าสนใจของกิจกรรมให้มากขึ้น กิจกรรมครั้งต่อ ๆ ไปจึงเน้น discuss เพื่อทำ business deal ร่วมกัน หรือออกแบบ design สินค้าร่วมกัน เพิ่มเวลากิจกรรมมากขึ้นในครั้งต่อไป โดยดำเนินการต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา รวมรายวิชาที่เข้าร่วมทั้งสิ้นโดยประมาณ 10 รายวิชา จากวิทยาลัยนานาชาติ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม  คณะรัฐศาสตร์  คณะเทคนิคการแพทย์

ทำอย่างไรให้นักศึกษาไทยและต่างชาติมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านกิจกรรมการบูรณาการทางวิชาการในรายวิชา Read More »

ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KR 4.1.3 ส่งเสริมการเรียนการสอนโดย ใช้ภาษาต่างประเทศ ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.เครือวัลย์ คุ้มครอง (รองคณบดีฝ่ายบริหาร) คณะเทคนิคการแพทย์ ผู้ให้ความรู้ 1) ดร.อรนันท์ พรหมมาโน 2) ดร.อรอุมา สร้อยจิต คณะเทคนิคการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           เนื่องจากมีการปรับใช้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ สำหรับปีการศึกษา 2565 – 2569 ส่งผลให้มียุทธศาสตร์ใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การเสริมสร้างพัฒนาความเป็นสากล (Internationalization) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้           (1) เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร มีความรู้ทักษะการสื่อสารและประสบการณ์ที่จะประสบความสำเร็จ ในสังคมนานาชาติและพัฒนาความสามารถเหล่านี้ ได้ด้วยตนเองผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้           (2) เพื่อให้มหาวิทยาลัยรังสิตได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นสากลจากองค์กร มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติมีโอกาสทำความรู้จัก พูดคุยกับนักศึกษาไทย ทำให้นักศึกษาไทยได้มีโอกาสฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. ประชุมร่วม 5 คณะ เพื่อออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่าย    2. ประชุมทีมสอนรายวิชา RSU171 วิถีสุขภาพดีมีสุข เพื่อเลือกหัวข้อที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรม และจัดตาราง เรียนให้สอดคล้องกับวันเวลาที่จะดำเนินกิจกรรม    3. ออกแบบกิจกรรม และจัดทำแผนการสอนรายคาบ    4. จัดเตรียมสื่อช่วยสอน “กิจกรรมคัดกรองผู้บริจาคโลหิต” โดยมีภารกิจ :        1) นักศึกษาไทยสัมภาษณ์นักศึกษาต่างชาติ       2) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติเรียนรู้คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต       3) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติทำกิจกรรมต่อจิ๊กซอว์คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต       4) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติเรียนรู้ประโยชน์ของส่วนประกอบของเลือดบริจาค       5) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ เรียนรู้หมู่เลือดกับการให้เลือด    5. จัดกิจกรรม “กิจกรรมคัดกรองผู้บริจาคโลหิต” ดังกล่าว โดยแบ่งกลุ่มย่อยทำกิจกรรม 4 กลุ่ม vs อาจารย์พี่เลี้ยง 2 คนต่อกลุ่ม    6. นักศึกษาทั้ง 4 กลุ่ม ส่งตัวแทนทั้งนักศึกษาไทยและต่างชาติมานำเสนอความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตหน้าชั้นเรียน    7. นักศึกษาทำแบบประเมินกิจกรรมผ่าน ผ่าน Google Forms    8. ดร.อรนันท์ พรหมมาโน และ ดร.อรอุมา สร้อยจิต ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ ให้แก่บุคคลากรคณะเทคนิคการแพทย์ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน     จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม (นักศึกษาต่างชาต/นักศึกษาไทย) N = 81/26 คน     ข้อคำถาม                                                             ค่าเฉลี่ย                         ระดับความคิดเห็นความเหมาะสมของสถานที่                                                         4.48/4.68                               เห็นด้วยมากที่สุดความเหมาะสมของระยะเวลา                                                       4.15/4.32                                เห็นด้วยมากคุณภาพของอุปกรณ์เสียงและสื่อ                                                4.29/4.64                                เห็นด้วยมากที่สุดความรู้ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม                                               4.21/4.44                                เห็นด้วยมากที่สุดความรู้ ไอเดีย ทักษะ หรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากกิจกรรม               4.29/4.56                               เห็นด้วยมากที่สุดหัวข้อกิจกรรมน่าสนใจ                                                              4.24/4.60                               เห็นด้วยมากที่สุด     อุปสรรคหรือปัญหา      1. นักศึกษาไทยมีจำนวนน้อยและมาสาย ทำให้นักศึกษาต่างชาติบางส่วนต้องรอเพื่อทำกิจกรรมกับนักศึกษาไทย      2. นักศึกษาไทยมีความหลากหลาย มาจากหลายคณะ เช่น  คณะกายภาพบำบัดฯ  วิทยาลัยนิเทศศาสตร์  คณะบริหารธุรกิจ  คณะวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์  และวิทยาลัยศิลปะศาสตร์      3. นักศึกษาไทยไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ มี LANGUAGE BARRIER หากเป็นกิจกรรม DISCUSSION นักศึกษาต่างชาติ มักเป็นฝ่ายพูดเป็นส่วนใหญ่      4. นักศึกษาไทยบางส่วนไม่เข้าใจศัพท์เฉพาะ เกี่ยวกับการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    การตรวจสอบผลการดำเนินการ       ประเมินกิจกรรม ผ่าน Google Forms โดยนักศึกษาที่ร่วมกิจกรรม    การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้       มีการถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับบุคลากรในคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นของคณะ    สรุปและอภิปรายผล       ผลการประเมินกิจกรรม เกือบทุกด้านอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด เช่น ความเหมาะสมของสถานที่, คุณภาพของอุปกรณ์เสียงและสื่อ, ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม, ความรู้ ไอเดีย ทักษะ หรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากกิจกรรม และ หัวข้อกิจกรรมน่าสนใจ ส่วน ความเหมาะสมของระยะเวลา อยู่ในระดับ เห็นด้วยมากบทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่       1. ทำให้ทราบถึงแนวทางการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติมีโอกาสทำความรู้จัก พูดคุยกับนักศึกษาไทย ทำให้นักศึกษาไทยได้มีโอกาสฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษ และนักศึกษาต่างชาติมีโอกาสได้เข้าใจเกี่ยวกับการบริจาคเลือด ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาไทย       2. ทำให้ทราบถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวทางแก้ปัญหา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity)  ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ปรับแผนการสอน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศ Read More »

Scroll to Top