กีฬาว่ายน้ำสู่การพัฒนาแห่งความเป็นเลิศ
รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 5 : KR 5.1.3 กีฬา ว่ายน้ำ สู่ การพัฒนาแห่ง ความเป็นเลิศ ผู้จัดทำโครงการ อ.อสมาพัณณ์ บุญเกิด และ ผศ.ปรานม ดีรอด สถาบันกีฬา หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งการพัฒนาประเทศให้เจริญได้นั้นต้องมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ กีฬาสร้างเสริมสุขภาพ สร้างชื่อเสียง สร้างรายได้ สร้างเศรษกิจ สร้างความเจริญ กีฬาเป็นจักรกลสำคัญในการพัฒนาคุณภาพบุคคล ซึ่งสามารถพัฒนาร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงเห็นควรปลูกฝัง และให้การส่งเสริม กีฬา ตั้งแต่ระดับเยาวชนเป็นต้นไป พัฒนากีฬา พัฒนาคน พัฒนาประเทศ นักเรียนเป็นเยาวชนของชาติที่มีการพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อย่างรวดเร็ว การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของเยาวชนควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกด้าน ความสามารถของเยาวชนแต่ละคนมีอยู่ในตัวแล้ว ถ้าได้รับการกระตุ้นหรือเสริมแรงจะทำให้เห็นเด่นชัดในความสามารถ และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แก่สังคม และแก่ประเทศชาติ ประกอบกับปัจจุบันนักจิตวิทยา และนักวิชาการได้มีการยอมรับว่า ทักษะทางด้านกีฬาเป็นทักษะทางปัญญาอีกด้านหนึ่ง เยาวชนสมควรได้รับการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัยและความถนัด ดังนั้น เพื่อให้เป็น University Social Responsibility (USR) หรือ มหาวิทยาลัยกับความรับผิดชอบต่อสังคม จึงมีแนวคิดในการสร้างพัฒนากี ว่ายน้ำ อย่างเป็นระบบ โดย ส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬาว่ายน้ำ กำกับดูแลฝึกซ้อม ส่งนักกีฬาในสังกัดเข้าร่วมการแข่งขันในระดับต่าง ๆ และจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำ โดย มุ่งเน้น กลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 6-1 7 ปี ที่ยังคงศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง เป็น กลุ่มที่มีศักยภาพที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพได้ เปรียบเสมือนการสร้างฐานไว้ แต่มิได้มีการต่อยอดเป็น โดยให้มีการถ่ายทอดความรู้ทักษะ และ เทคนิคกีฬา ตลอดจนระเบียบ วินัย และมารยาทในการเล่นการฝึกกีฬาไปสู่ความเป็นเลิศ และกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติต่อไปในระดับนานาชาติ ให้ได้มาตรฐานสากล ก้าวสู่การเป็นนักกีฬาทีมชาติ และเป็นนักกีฬาอาชีพ พัฒนาชาติต่อไปในระดับนานาชาติ ให้ได้มาตรฐานสากล ก้าวสู่การเป็นนักกีฬาทีมชาติ และเป็นนักกีฬาอาชีพต่อไปในอนาคตต่อไปในอนาคต ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ที่นำมาใช้ เริ่มในสิ่งที่ชอบ มาสู่ความรับผิดชอบเริ่มในสิ่งที่ชอบ มาสู่ความรับผิดชอบ ในเรื่องของในเรื่องของ “กีฬาว่ายน้ำ” ในอดีตเคยเป็นนักกีฬาว่ายน้ำมาก่อน เป็นครูสอนว่ายน้ำเป็นครูสอนว่ายน้ำพิเศษพิเศษตามตามโรงเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ใน กทม. เพื่อหารายได้ระหว่างการศึกษาเล่าเรียน หลังจากจบการศึกษาในการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก็ก้าวเข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต ในตำแหน่งอาจารย์พลศึกษา ช่วงของการเป็นนักกีฬาว่ายน้ำนั้น สร้างให้เรามีความอดทน มีระเบียบ วินัย จากการที่ได้เป็นนักกีฬามาก่อนทำให้รู้จากการที่ได้เป็นนักกีฬามาก่อนทำให้รู้ระบบระบบว่าเราต้องทำว่าเราต้องทำอย่างไร รู้จักการวางแผน มีอย่างไร มีความอดทน มีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกา จัดการความอดทน มีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกา จัดการงานงานอย่างมีระบบ อย่างมีระบบ การทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในส่วนของกีฬาว่ายน้ำนั้น จะใช้ประสบการณ์จะใช้ประสบการณ์ทุกช่วงชีวิตมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาว่ายน้ำ โดยการเริ่มต้น ดังนี้ 1. การวางแผน แผนการทำงาน ในการพัฒนากีฬาว่ายน้ำสู่ความเป็นเลิศ นั้น เริ่มจากการกำหนดจุดประสงค์ หรือเป้าหมายไว้ 3 ข้อ คือ 1.1 การพัฒนาเยาวชน ตั้งแต่อายุระหว่าง 6-17 ปี ให้เป็นระบบโดยให้มีการปูพื้นฐานความรู้ และทักษะของการว่ายน้ำ ตลอดจนระเบียบวินัย และมารยาทในการเล่นกีฬาว่ายน้ำไปสู่ระดับการแข่งขันกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ 1.2 กำกับดูแลฝึกซ้อมและส่งนักกีฬาในสังกัด ที่ดูแลรับผิดชอบ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา รายการต่าง ๆ ทั้ง ในระดับชาติ และระดับ นานาชาติ 1.3 จัดการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำ โดย มุ่งเน้นกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 6 -17 ปี 2. การคัดเลือกทีมงาน คือ จัดหาโค้ชที่ดี มี ความ สร้างสรรค์และพร้อมจะทำงานเป็นทีม มีแผน การทำงานที่ร่วมกัน คิดร่วมกัน วางแผนและร่วมกันทำ มีความเข้าใจร่วมกันและแบ่งงานกันทำ ที่สำคัญการเป็นโค้ชกีฬาว่ายน้ำ ไม่ได้มีแค่หน้าที่สอนเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายสถานะมาก เป็นทั้งครู , คนให้คำแนะนำ , ผู้ดูแลการฝึกซ้อม , เป็นผู้จัดการเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญเป็นนักเรียนไปในตัว เพราะต้องศึกษาสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา 3. การมีผู้นำ หรือผู้บังคับบัญชาที่เปิดใจ เปิดไฟเขียวให้ ค่อย สนับสนุน ชี้แนะ ให้การทำงาน ไม่หลงทางและ มีใจในการดำเนินงานต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ 4. จัดหาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก นับเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการ เตรียมทีมนักกีฬาเพื่อการแข่งขัน 5. นำหลักวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ การประสบผลสำเร็จทางการกีฬา “ไม่มีทางลัดใด ๆ ที่จะทำให้นักกีฬาประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว” นักกีฬาจะต้องประสบผลสำเร็จในระยะยาว มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เก่งขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นการวางแผนการฝึกซ้อมอย่างมีระบบมีขั้นตอน ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา จะก่อให้เกิดพัฒนาการในนักกีฬาและความสำเร็จในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการบาดเจ็บ อีกทั้งกีฬา จะก่อให้เกิดพัฒนาการในนักกีฬาและความสำเร็จในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการบาดเจ็บ อีกทั้งยังเป็นชัยชนะที่ภาคภูมิใจยังเป็นชัยชนะที่ภาคภูมิใจอีกด้วยอีกด้วย ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรานม ดีรอด สถาบันกีฬา วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ ประชุมปรึกษาหารือ เสนอความคิดเห็น กันระหว่างผู้บริหารและทีมงาน ในการวาง แผนการทำงาน ในทฤษฎีที่ว่า ร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน และร่วมกันทำ แบ่งหน้าที่ของ ทีมงาน และหาข้อมูลในการดำเนินงาน การสรรหานักกีฬา การวางโปรแกรมการฝึกซ้อม การดูแล ด้านการเรียน และอื่นๆ ของนักกีฬา 2. Prototype testing in an operational environment – DOผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงานจากการวางแผน ในการพัฒนากีฬาว่ายน้ำสู่ความเป็นเลิศนั้น ได้ดำเนินการตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผน ดังนี้ 2.1 ดำเนินการสอนว่ายน้ำให้กับเยาวชน นักกีฬา Academy RSU ของสถาบันกีฬา และสอนว่ายน้ำให้กลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 6-17 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักกีฬาได้ อย่างเป็นระบบโดยสอนพื้นฐานความรู้ และทักษะของการว่ายน้ำ ตลอดจนระเบียบ วินัย และมารยาทในการเล่นกีฬาว่ายน้ำไปสู่ระดับการแข่งขันกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ นอกจากสอนว่ายน้ำให้กับเยาวชนอายุระหว่าง 6-17 ปี และในขณะเดียวกันก็ได้พัฒนาศักยภาพนักศึกษาที่เป็นนักกีฬาว่ายน้ำควบคู่ไปด้วย โดยส่งเข้ารับการอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำระดับพื้นฐาน Level 1 ในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกีฬาว่ายน้ำ ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 1-5 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อรำความรู้ที่ได้รับมาต่อยอดเป็นผู้ฝึกสอนกีาว่ายน้ำให้กับน้องๆ เยาวชนต่อไป 2.2 สถาบันกีฬา ได้จัดโครงการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนากีฬาว่ายน้ำ ส่งเสริมให้นักกีฬาและเยาวชน ได้แสดงศักยภาพด้านกีฬาว่ายน้ำ และปลูกฝังให้เยาวชนหันมาสนใจเล่นกีฬาว่ายน้ำอย่างต่อเนื่อง 2.3 ในส่วนของยักกีฬาว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย หรือนักกีฬาว่ายน้ำรุ่นใหญ่นั้น ก็ได้กำกับดูลฝึกซ้อมและส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬารายการต่างๆ ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ตลอดปีการศึกษา เพื่อให้มีการพัฒนาความสามารถให้ก้าวสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ ในปีการศึกษา 2566 นักกีฬาว่ายน้ำของมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 7 คน (ชาย 4 คน และหญิง 3 คน) ได้เข้าร่วมการแข่งขัรกีฬามหาวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 49 “นนทรีเกมส์” ระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2567- 3 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สรุปเหรียญรางวัลกีฬาว่ายน้ำ มหาวิทยาลัยรังสิต อยู่ในอันดับที่ 3 คว้าเหรียญรางวัลมาได้รวมทั้งสิ้น 6 เหรียญ (2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง) ถือเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกในกีฬาว่ายน้ำของมหาวิทยาลัยรังสิต หลังจากเสร็จสิ้นจากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 49 “นนทรีเกมส์” นางสาวกมลลักษณ์ ตั้งนภากร นักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์การกีฬา นักศึกษาทุนความสามารถพิเศษด้านกีฬาว่ายน้ำ ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำในรายการต่างๆ อีก ได้แก่– รายการ BIMSTEC YOUTH WATER SPORTS ระหว่างวันที่ 5-10 กุมภาพันธ์ 2567 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย คว้าเหรียญรางวัลมาได้ 6 เหรียญทอง– รายการ Swimming Championship :XX Martin’s Cup 2024 ระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์กีฬาทางน้ำ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ สถาบันกีฬา ยังได้ให้การสนับสนุนส่งเสริม นางสาวณธีร์ พิมสาร นักกีฬาว่ายน้ำคนพิการ ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ให้ขึ้นทะเบียบเป็นนักกีฬาของจังหวัดปทุมธานี และได้เข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาคนพิการทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวชิงแชมป์โลกการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ รายการ World Abilitysport Games ระหว่างวันที่ 1 – 9 ธันวาคม 2566 ณ จังหวัดนครราชสีมา 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดำเนินการ การ นำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและ อภิปราย ผล บทสรุปความรู้ หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ 3.1 การพัฒนา กีฬาว่ายน้ำสู้ ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้บริหาร บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญเพื่อช่วยผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนสู่การปฏิบัติต่อไป 3. 2 การวางแผนพัฒนานักกีฬาในระยะยาวสู่ความเป็นเลิศและเพิ่ ม ประสิทธิภาพการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ ต้องทำ อย่างต่อเนื่อง 3.3 การนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ในการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาในเชิงบูรณาการ มีความสำคัญเกิดประโยชน์สูงสุด ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice สนับสนุนส่งเสริมผู้ฝึกสอน นักกีฬาเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพ ในการ ศึกษาสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา และ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา
กีฬาว่ายน้ำสู่การพัฒนาแห่งความเป็นเลิศ Read More »