สมรรถนะทางการสอน
รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1 สมรรถนะทางการสอน : จากมุมมองรายวิชา Teaching Practicum in Bilinggual Schools VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media ผู้จัดทำโครงการ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชิโนกุล วิทยาลัยครูสุริยเทพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ Singh and Richards (2006: 155) ได้ให้ความเห็นในการฝึกครูสอนภาษาที่สองว่า “การเรียนรู้ของครูมีความเกี่ยวเนื่องกับการค้นหาทักษะและความรู้ที่มิได้เกี่ยวข้องกับทักษะความรู้ทางภาษาเท่านั้น แต่รวมถึงการเรียนรู้ในความเป็นครูภาษาด้วย” ประเด็นที่ท้าทายในการสอนรายวิชา MBE 613 Teaching Practicum in Bilingual Schools ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับและรายวิชาใหม่ในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 และเริ่มเปิดสอนรายวิชาครั้งแรกในภาคการศึกษาปลาย 2565 คือ ทำอย่างไรที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้เนื้อหาในภาคทฤษฎี และทักษะในเชิงปฏิบัติ รวมถึงสัมผัสการเรียนรู้ในความเป็นครูไปพร้อมกัน ภายในเวลาจำกัด เนื่องจากหลักสูตรจัดเป็นการเรียนการสอนในรูปแบบโมดูล ผู้นำเสนอจึงได้นำแนวทางที่ได้เคยทำการวิจัยและทดลองใช้เป็นแนวทางการสอนวิธีวิทยาการสอนตามกรอบ 3 มิติ (Chinokul, 2021: 430) ดังภาพที่ 1 ภาพที 1: องค์ประกอบหลักใน 3 มิติ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอน (Chinokul, 2021: 430) ความรู้และทักษะเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอน ทั้ง 3 มิติ ควรได้รับการฝึกฝนเริ่มจากรายวิชาวิธึวิทยาการสอนเพื่อที่นักศึกษาจะไม่ “หลงทาง” แต่จะเริ่มมุ่งมั่นในการเรียนรู้การเป็นครูที่ดีในวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง เพราะการสั่งสมทักษะสมรรถนะการสอนเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลา ในบางกรณีอาจต้องใช้เวลาตลอดวิชาชีพในความเป็นครูในการเรียนรู้ความเป็นครูการดำเนินการตามกรอบดังกล่าว ผู้นำเสนอได้ดำเนินการแล้วในรายวิชาวิธีวิทยาการการสอน ซึ่งผู้นำเสนอสอนในระดับบัณฑิตศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ได้แนะนำกิจกรรมที่คณาจารย์สามารถเลือกใช้ในการพัฒนากรอบแนวคิดใน 3 มิติ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ในความเป็นครู (Self as teacher) 2) ทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้ (Teaching skills shared in learning community) และ 3) ความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ (Connection in professional committees) โดยได้เผยแพร่ในบทความ Chinokul (2021)การนำแนวคิดดังกล่าวมาปรับให้เหมาะสมกับบริบทของรายวิชา ในหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของวิทยาลัยครูสุริยเทพมหาวิทยาลัยรังสิต โดยถือได้ว่าเป็นการดำเนินการซ้ำในบริบทที่แตกต่างReferences:•Chinokul, S. (2021). Exploring the role of identity construction, teaching skills, and professional discourse & awareness: A study from a language methodology course for EFL preservice teachers. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network, 14 (2), 427-450.•Singh, G., & Richards, J. C. (2006). Teaching and learning in the language teacher education course room: A critical sociocultural perspective. RELC Journal, 37(2), 149-175. https://doi.org/10.1177/0033688206067426 ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ประสบการณ์การเป็นอาจารย์นิเทศก์ การตีพิมพิ์บทความวิจัย และการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาโมเดลการเรียนการสอน การใช้รูปแบบการสอนและการจัดการเรียนรู้ เช่น • Chinokul, S. (2021). Exploring the role of identity construction, teaching skills, and professional discourse & awareness: A study from a language methodology course for EFL preservice teachers. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network, 14 (2), 427-450.• Chinokul, S. (2015). Classroom Observation: Self-Study of a Language Teacher Educator Supervising Pre-service Teachers. Journal of Education Studies, 43 (3) July-September, 2015, 1-21.• พรสวรรค์ ศุภศรี. “การพัฒนาโมเดลการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดแบบสะท้อนกลับและความสามารถด้านการสอนของนิสิตวิชาเอกการสอนภาษาอังกฤษ”. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2558ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, นักศึกษาในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา MBE 613 Teaching Practicum in Bilingual Schools ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับ ในภาคการศึกษาปลาย 2565 จำนวน 33 คน ซึ่งมีภูมิหลังในด้านความเป็นครู และ/หรือผู้เรียนในชั้นเรียนภาษาที่สอง วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ 1) ผู้นำสนอได้ทบทวนกรอบแนวคิดใน 3 มิติ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ในความเป็นครู 2) ทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้ และ 3) ความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ และพิจารณาวัตถุประสงค์รายวิชา ทบทวนแนวทาง และนำข้อมูลมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงการมอบหมายงานที่ดำเนินการในรายวิชาและการจัดกิจกรรมนอกรายวิชา เพื่อให้ได้หลักฐานการเรียนรู้ที่สะท้อนการเสริมสร้างทักษะตามกรอบ ดังนี้Objectives of the Course1) design lesson plan, plan, teach and manage classroom learning and teaching2) observe teaching and learning and learning to make notes of the significant features as well as the environment from the perspectives of an observer3) monitor individual learning progress, construct tests and design assessment tools4) record of the lesson for the purpose of the students’ learning to teach5) evaluate, use the results, and report learning results to stakeholders, and6) reflect on teaching in teaching practicum in bilingual schools. การบูรณาการหลักการในกิจกรรมที่เสริมสร้างอัตลักษณ์ในความเป็นครูในรายวิชา• ผู้สอนดำเนินการจัดเตรียมเนื้อหาสาระและกิจกรรมในรายวิชาได้แก่ หนังสือ บทความวิจัย Webinars Scenarios ที่ใช้เป็น inputs ในการเรียนการสอน จาก YouTube, Artifacts และเอกสาร worksheets กำหนดแนวทางที่จะพูดคุยกับผู้เรียนในการดำเนินกิจกรรมในประมวลรายวิชา การกำหนดการมอบหมายงานที่เสริมสร้างอัตลักษณ์ในความเป็นครูในรายวิชา• จัดให้นักศึกษาทำ Weekly reflection of learning to teach, Reflections of lectures from Modules 1-4 , และ เลือกทำ Reflections from the assigned self-directed website• The language learner and Classroom management <https://coerll.utexas.edu/methods/>• Skills (Speaking, Writing, Reading and Listening) https://coerll.utexas.edu/methods/• Language (Vocabulary, Grammar, Pragmatics, and Culture) https://coerll.utexas.edu/methods/• Technology and Assessment https://coerll.utexas.edu/methods/ การบูรณาการหลักการในกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้• ผู้นำเสนอได้วางแผนและติดต่อสถานศึกษาและผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณาจารย์ที่ยินดีให้ความร่วมมือและขอจดหมายขอความอนุเคราะห์ลงนามโดยคณบดีวิทยาลัยครูสุริยเทพในการอนุญาตให้นักศึกษาเข้าสังเกตการณ์การสอน ได้แก่ การสอนภาษาอังกฤษของรายวิชาในสถาบันภาษา และการสอนภาษาจีนในรายวิชาของ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และการสอนภาษาจีนในรายวิชาที่จัดให้กับนักเรียนในโปรแกรมการเรียนในระบบสองภาษา กลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย• ในการดำเนินการสอนผู้นำเสนอได้พยายามเชื่อมโยงทฤษฎีและการปฏิบัติในชั้นเรียนจริง โดยเน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถาณการณ์การเรียนการสอน ได้แก่1) การสาธิตโดยผู้นำเสนอในฐานะผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนร่วมในฐานะผู้เรียน เช่น กิจกรรมการสาธิตการสอน การฝึกเทคนิคการสอนที่ใช้ในการเรียนรู้ในชั้นเรียนระบบสองภาษา และการศึกษาจากกรณีศึกษาที่ ผู้สอนคัดสรรมา กิจกรรมดังกล่าว ถือเป็น Teaching Scenarios ให้นักศึกษาได้มองเห็นการตัดสินใจและการใช้เหตุผลในการเรียนการสอนได้ชัดเจนขึ้น2) การกำหนดกิจกรรมให้นักศึกษาลงมือทำ เพื่อฝึกปฏิบัติ และการเรียนรู้เมื่อต้องปฎิบัติจริง เช่นการฝึกลงรหัส (Coding) ข้อมูลในการวิจัยเพื่อการเรียนการสอนจากวีดิทัศน์สั้นๆ จากห้องเรียนจริงที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ เป็นการใช้ข้อมูลจากากรสังเกตการณ์การสอนในห้อง3) การเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญ เช่น ร่วมออกแบบประเมินการสังเกตการสอนที่จะใช้ในการสังเกตการสอนจริงทั้งในการสังเกตการสอนในชั้นเรียนจริงและในการร่วมเป็นครูอาสาและผู้สังเกตการณ์การสอนโครงการ Volunteer Teaching4) การให้คำปรึกษานักศึกษาทั้งในและนอกชั้นเรียน โดยจัดเวลาให้อย่างพอเพียงและกำหนดนัดหมายล่วงหน้าอย่างชัดเจนตามที่ผู้สอนและผู้เรียนสะดวกในการปรีกษาหารือกันได้โดย ผ่านระบบ VooVMeeting และจัดช่องทางการสื่อสารและการส่งข้อมูลถึงกัน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ใน Line Group5) การสอนจุลภาค (Microteaching) และ การบันทึกการสอน เพื่อวิเคราะห์ในการมอบหมายการทำ Video Analysis6) ฝึกการทำ Reflection ที่มี Prompts เป็น Guidelines อย่างชัดเจน การกำหนดการมอบหมายงานที่เสริมสร้างทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้• Class Assignments and Practices นักศึกษามีโอกาสในการฝึกสอน ผ่านกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้คิด ออกแบบสื่อการสอน ฝึกเทคนิคการสอน และการให้ผลป้อนกลับ• Task 1: Class Observation โดยนักศึกษาสามารถเลือกชั้นเรียนและสถาบันที่ต้องการเข้าศึกษา• Task 2: Micro Teaching Lesson Plan โดยนักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มในการกำหนด เนื้อหา วิธีสอน และจัดทำ Lesson plan โดยได้รับคำแนะนำจากผู้สอน การบูรณาการหลักการในกิจกรรมที่เสริมสร้างความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ• มีการจัดมาตรฐานและการประเมินงานที่มอบหมาย สังเกตและประเมินผลงานของนักศึกษาครู และเน้นตัวอย่างที่เป็นงานที่ใช้จริงและมีความหมายต่อการเรียนรู้ การสังเกตการณ์การสอนของเพื่อนที่บันทึกในวีดิทัศน์เพื่อการปรับปรุงแนวทางการจัดการเรียนรู้• มีกิจกรรมความร่วมมือและการพูดคุยระหว่างกลุ่มครูที่ช่วยพัฒนาการสะท้อนคิด มีหัวข้อการเรียนรู้ในเชิงวิชาชีพ และการเติมเต็มศักยภาพของตนเอง• การสร้างระบบการพัฒนาเชิงวิชาชีพของตนเอง รวมถึงการเข้าร่วมองค์กรวิชาชีพ และการสร้างเครือข่ายฯความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพ และการเป็นสมาชิกวารสารในสาขาวิชา• นอกจากนี้ยังมีการจัดโครงการพิเศษนอกรายวิชาให้นักศึกษาได้เข้าร่วมโดยสมัครใจ ชื่อโครงการ Volunteer Teaching จัดที่ โรงเรียนสามโคก โดยประสานงานกับผู้อำนวยการหลักสูตรหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยสุครูสุริยเทพ การกำหนดการมอบหมายงานที่เสริมสร้างความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ• Class final project: Teaching practice and lesson analysis from the video record หลังจากการสอน micro teaching มีการบันทึกวีดิทัศน์ และมีการมอบหมายงานที่เป็น final project ในการวิเคราะห์การสอนของตนและเพื่อน• Attending the optional activity students were encouraged to join the volunteer project initiated by the program มีการให้คำแนะนำนักศึกษาอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการในฐานะครูผู้สอน และผู้สังเกตการณ์ และดำเนินการโครงการ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน จากการดำเนินการในรายวิชา นักศึกษาได้มีโอกาสทบทวนความรู้และพัฒนาทักษะ ครอบคลุมในกรอบ 3 มิติ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ในความเป็นครู2) ทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้ และ 3) ความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ และผู้เสนอได้มีโอกาสจัดเตรียมและรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในบันทึกผลการเรียนรู้ และสารสนเทศเกี่ยวกับกิจกรรมในการดึงข้อมูลความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (tacit knowledge) ให้เห็นเป็นรูปธรรม มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เป็นความรู้ที่ชัดจน (explicit knowledge) มากขึ้น ได้แก่ 2.1 ได้แบบสังเกตการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่เป็นผลงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน ประเด็นหัวข้อที่สังเกต ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของบทเรียน เนื้อหา การออกแบบกิจกรรม และ เอกสารประกอบการสอน ขั้นตอนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน ความร่วมมือของผู้เรียน และภาพรวมของการเรียนการสอน ในการได้มีโอกาสสังเกตการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนจริง นักศึกษาจะมีโอกาสทบทวนและซักถามเกี่ยวกับ Decision Making and Pedagogical Reasoning in Bilingual Teaching และฟังมุมมองความคิดของครู 2.2 ได้ตัวอย่าง lesson plans จัดทำโดยนักศึกษาที่ทำงานเป็นกลุ่ม ในระหว่างการเตรียมบทรียนและกิจกรรมมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในกลุ่มและได้รับคำแนะนำจากผู้สอนในรายวิชาดังนั้นจึงมีโอกาสในการทบทวน Decision Making and Pedagogical Reasoning in Bilingual Teaching มีการบันทึกการสอนในรูปแบบวีดิทัศน์ไว้ เพื่อใช้ ในการวิเคราะห์ จากการดำเนินการสอน Microteaching 2.3 ได้ตัวอย่างการวิเคราะห์การเรียนการสอนในระดับกลุ่ม และระดับบุคคล ที่สะท้อน Decision Making and Pedagogical Reasoning in Bilingual Teaching Practicum ของนักศึกษา ที่มีประสบการณ์การสอนและไม่มีประสบการณ์การสอน ในแบบวิเคระห์มีการกำหนด Prompts ที่นักศึกษาจะต้องมองย้อนกลับ และสะท้อนคิดในขั้นตอน และกระบวนการเตรียมการก่อน ระหว่าง และหลังการสอน ในส่วนที่จะต้องมี Decision Making and Pedagogical Reasoning in Bilingual Teaching อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน1) เนื่องจากรายวิชานี้เป็นรายวิชาใหม่ในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสองระบบภาษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 เป็นรายวิชาบังคับและอยู่ระหว่าง Transition ในการเปิดการเรียนชั้นเรียนเต็มรูปแบบ จึงต้องมีการสื่อสารให้ นักศึกษาต่างชาติที่ยังไม่สามารถเดินทางมาได้ด้วยปัญหาเรื่องวีซ่า ให้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาถัดไป2) ในการเตรียมการมีเวลาจำกัดเนื่องจากเดิมรายวิชานี้กำหนดให้อาจารย์ที่จะโอนย้ายมาเป็นผู้รับผิดชอบแต่เนื่องจากอาจารย์ไม่สามารถมาร่วมงานได้ ผู้นำเสนอจึงได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบรายวิชานี้แทน3) การดำเนินการสอนในรายวิชาของหลักสูตรดำเนินการในรูปแบบของ Module จึงอาจเกิดความท้าทายในประเด็นเรื่องเวลาดำเนินการ ทั้งนี้ ผู้นำเสนอได้จัดเวลานอกชั้นเรียนให้คำปรึกษาการทำ Lesson Plans และ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเพียงพอที่นักศึกษาจะมีความมั่นใจในการสอนได้ก่อนการดำเนินการสอน4) วิชานี้เป็นรายวิชาบังคับจึงมีผู้เรียนจำนวนมาก จัดได้ว่า เป็น Large Class ของชั้นเรียนระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการฝึกปฏิบัติ มีความท้าทายในการบริหารจัดการอย่างมาก โดยเฉพาะในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning5) เนื่องจากเป็นรายวิชาใหม่ จึงอาจไม่มีการเตรียมทรัพยากรอย่างเพียงพอในการจัดของขวัญหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ซึ่งผู้สอนได้ดำเนินการด้วยตนเอง 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ 1) นักศึกษาได้รับความรู้จากการอ่านหนังสือ และเข้าร่วมชม Webinars รวมทั้งการอภิปรายในเนื้อหาเชิงทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน Bilingual Education ฝึกการสะท้อนคิดจากการอ่านและการฟังบรรยาย มีโอกาสร่วมกิจกรรมสาธิตในห้องเรียนที่ท้าทายเพื่อเชื่อมโยงทฤษฏีและการปฏิบัติ มีการร่วมกันจัดทำแบบบันทึก และนำไปใช้จริงใน Classroom Observation ของอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนในสถานที่จริง การทำ Lesson Plan และ Microteaching จัดทำ Video Recording และวิเคราะห์การสอนของตนเองและกลุ่มจากที่บันทึกไว้ (Video Analysis) และได้ร่วมกันวางแผนในการเป็นครูอาสาสมัครในการไปสอนนักเรียนที่โรงเรียน สามโคก ในโครงการของหลักสูตร 2) มีการตรวจสอบผลการดำเนินการในรายวิชาด้วย การประเมินผลในรายวิชา MBE613 Teaching Practicum in Bilingual Schools 3) มีการตรวจสอบผลการดำเนินการในรายวิชาด้วย หลักฐานจากภาพกิจกรรมในรายวิชา หลักฐานจาก Video Record การทำ Video Analysis และการทำ Reflections หลักฐานจากแบบประเมิน Classroom Observation 4) มีการตรวจสอบผลการดำเนินการกิจกรรมโครงการนอกชั้นเรียนการประเมินแบบทางการจากการร่วมกิจกรรม Volunteer Teaching Project การประเมินหลังจากการร่วมกิจกรรมด้วยภาพสรุป Word Cloud 5) มีการเผยแพร่โดยการนำเสนอความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมของนักศึกษาทั้งในส่วนของนักศึกษาที่อาสาเป็นครูผู้สอน และนักศึกษาที่ร่วมกิจกรรมในฐานะผู้สังเกตการณ์การสอนใน Volunteer Teaching Project ให้แก่นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาใหม่ได้รับฟังในวัน Orientation New Students ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice 1) ในการดำเนินการในรายวิชาครั้งนี้ผู้นำเสนอใช้แนวทาง Active Learning เพื่อสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้ 2) ผู้นำเสนอวางแผนจะเขียนบทความวิชาการเพื่อบีนทึก (Document) กิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่เป็นผลสะท้อน จากการทบทวน ความรู้และพัฒนาทักษะ ครอบคลุมในกรอบ 3 มิติ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ในความเป็นครู 2) ทักษะการสอนที่แบ่งปันในกลุ่มชุมชนเพื่อการเรียนรู้ และ 3) ความเชื่อมโยงในวงวิชาชีพ เป็นข้อมูลการศึกษาในเบื้องต้นจาก Lesson Learned มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกับ Decision making และ Pedagogical reasoning ของครูที่วางแผนจัดเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยเพื่อส่งในการพิจารณาตีพิมพิ์ในวารสารวิชาการที่เหมาะสมต่อไป 3) ผู้สอนวางแผนดำเนินการวิจัยเพื่อตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ในรูปแบบการวิจัยในระยะต่อไป 4) ทั้งนี้ในการดำเนินการหาก มีการวางแผนอย่างต่อเนื่อง และมีการเก็บสะสมข้อความรู้ที่ได้จากรายวิชาอย่างเป็นระบบ น่าจะรวบรวมความรู้และหลักฐานการเรียนรู้ที่เกิดจากรายวิชา นำเสนอเป็นองค์ความรู้ในรูปแบบหนังสือประจำรายวิชาได้ต่อไป 5) ในอนาคตอาจมีการวางแผนร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรังสิตในการสังเกตการณ์การสอน และ/หรือ งานมอบหมายในรูปแบบอื่นเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ในการฝึกปฏิบัติทีจะสามารถสร้างรูปแบบการสอนจากบริบท และฐานความรู้ที่ฝังลึกจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยรังสิตได้ในอนาคต ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่