Author name: Pijitra

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2, KR 5.2.1 สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ ผู้ให้ความรู้ ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม คณะวิทยาศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปัญหาในระดับโลก ระดับประเทศ และในระดับชุมชน ล้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกระดับ การป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ และรวมถึงการปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ ที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในระดับชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคม สมาชิกในชุมชนไม่เพียงแต่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนหรือชุมชนที่เกี่ยวเนื่อง การสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้คนในชุมชนหันมาร่วมมือกัน ป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกันปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยตนเองจึงเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น ๆ สอดคล้องกับแนวคิดของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ใส่ใจกับการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานดังกล่าวมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมหลักสูตร“สิ่งแวดล้อมศึกษาสู่การพัฒนาชุมชน” ให้กับบุคลากรและผู้สนใจทั้งในหน่วยงานรัฐ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และสถานศึกษา เพื่อให้นำความรู้จากหลักสูตรดังกล่าวถ่ายทอดสู่ชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการพัฒนาชุมชนนั้น ๆ ต่อไป จึงได้ริเริ่มโครงการ“สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน”ขึ้นในมหาวิทยาลัย โดยเน้นการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ (Learning Experience) องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของชุมชน เช่น ด้านการจัดการน้ำและน้ำเสีย มลพิษทางอากาศ การจัดการของเหลือทิ้ง(ขยะ) การสร้างคามตระหนักในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในบ้านของตน และร่วมถึงการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมชุมชน เป็นต้น ให้แก่ชุมชนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย ตามนโยบายของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนในพื้นที่โดยรอบ การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมดังกล่าว มุ่งหวังให้ประชาชนในชุมชนและเยาวชน เกิดการรับรู้(awareness) ถึงสถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชนของตน เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้มีคุณภาพเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้ได้ และคาดหวังว่าชุมชนจะนำความรู้ดังกล่าวขยายผลต่อคนในชุมชนของตนและเครือข่ายต่อไปในอนาคต สำหรับการวางโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน สำหรับปีการศึกษานี้ (2565) ทางคณะทำงานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ได้รับการติดต่อประสานงานจากโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิเศษโดยเฉพาะ (ไม่น้อยกว่า 300 คน ) โดยโรงเรียนมีเป้าหมายหลัก คือ ต้องการให้นักเรียนทุกกลุ่มสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุข เต็มศักยภาพ โดยไม่มองว่าใครแตกต่าง มีการเสริมทักษะเฉพาะด้าน รวมถึงการส่งนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษไปฝึกงาน เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมอื่นและเพื่อนคนอื่นได้โดยง่าย ซึ่งผลจากการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครู โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ได้ข้อสรุปว่า ทางโรงเรียนมีเป้าหมายที่จะพัฒนาครูให้มีเทคนิควิธีในการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยการปลูกพืชลดมลพิษสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสรรค์สร้างไม้ประดับเพื่อเพิ่มมูลค่า สำหรับถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน ทั้งด้านวิชาการและเพิ่มโอกาสในการสร้างงานและสร้างอาชีพให้กับนักเรียนบางส่วนที่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ โดยเริ่มจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าของนักเรียนผ่านร้านค้าของโรงเรียนในอนาคต ซึ่งทั้งหมดเป็นกิจกรรมหลักในกโครงการ อนุรักษ์พันธุ์กรรมพืช ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ได้จัดกิจกรรมให้กับโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ทั้งสิ้น 3 โครงการ คือ 1) จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักสลัดกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม 2) จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง Ornamental Gardening For Life และ 3) จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช นอกจากนั้นยังมีหน่วยภายนอกที่สนใจ ขอเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย คือ และบุคลากรจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(ลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และประชาชนในชุมชนวัดรังสิต ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุม จังหวัดปทุมธานี ซึ่งในครั้งนี้ขอนำเสนอ การจัดการความรู้ เรื่อง จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักสลัดกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : 1) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)2) องค์ความรู้ด้านการถ่ายทอดความรู้แบบผสมผสาน (onsite & online จากโครงการบริการปีการศึกษา 2565 รหัสโคงการ 640382 เรื่อง ลดมลพิษสิ่งแวดล้อมในบ้าน ชุมชนวัดรังสิต)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, 1) ประสบการณ์ตรง ด้านการเพาะเมล็ดผักสลัด และการย้ายต้นกล้าผักสลัด (ผศ. ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม) 2) ประสบการณ์ตรง ด้านการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ (Learning Experience: L.E. : ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์) วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. คณะทำงานโครงการสิ่งแวดล้อมสึกษาฯ ม.รังสิต ประชุมร่วมกับผู้อำนวนการโรงเรียน เพื่อวางโครงการร่วมกัน (13 กค.2565)    2. ประชุม คณะทำงานคณะทำงานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาฯ ม.รังสิต เพื่อกำหนดวันเวลาจัดกิจกรรมและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ จำเป็นในการจัดกิจกรรม    3. ติดต่อประสานงาน ดำเนินกิจกรรม ตามมาตรฐานสถานการณ์ โควิด ผ่าน line application    4. จัดกิจกรรมในวันที่ 23 กค.2565 เวลา 08.00 -12.00 ณ ห้องปฏิบัติการชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.รังสิต วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถปฏิบิติได้ภายใต้คำแนะนำ 5. จัดให้มีการทดสอบก่อนและหลัง การดำเนินกิจกรรม 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ผลดำเนินการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 สามารถปฏิบัติการเพาะเมล็ดผักสลัด ภายใต้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน การนำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของโครงการเรื่อง การปลูกผักสลัดกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คณะครูจากโรงเรียนพิบูลฯ ได้เรียนรู้ถึงเทคนิคในการเพาะเมล็ดผักสลัด และการย้ายต้นกล้าผักสลัด โดยนำความรู้เหล่านนี้ใช้เป็นกิจกรรม การเรียนการสอนและสนับสนุนโครงการ อพ.สธ.ของโรงเรียน รวมไปถึงต่อยอดเพื่อการค้า สร้างอาชีพให้กับนักเรียนที่ไม่พร้อมในการศึกษาต่อ อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงานไม่มี 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    ผลจากการดำเนินโครงการข้างต้น จะเห็นได้ว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 สามารถเพาะเมล็ดผักสลัดและย้ายต้นกล้าผักสลัดได้อย่างถูกต้อง ทุกขั้นตอน ภายใต้คำแนะนำของวิทยากร(ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม) ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ กล่าวได้ว่า เป็นเพราะ กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่เกิดจาก ความต้องการที่แท้จริง ของผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากกิจกรรมนี้ เป็นการวางโครงการร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมและทีมวิทยากร ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นนวัตกรรม หรือความรู้ใหม่เกี่ยวกับการวางโครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่าที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการนั้นๆ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          นำนวัตกรรม หรือความรู้ใหม่เกี่ยวกับการวางโครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่า ที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ไปทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ซ้ำ ตามหลักการ Induction และ Deduction ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป จะได้องค์ความรู้ใหม่ที่มีโอกาสที่เป็นไปได้ทั้ง Good practice หรือ Best practice หรือเกิดเป็นโจทย์วิจัยอีกมากมาย ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน Read More »

การจัดการกีฬายูยิตสูสู่ความเป็นเลิศ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 5 : KR 5.1.3 การจัดการกีฬายูยิตสูสู่ความเป็นเลิศ ผู้จัดทำโครงการ​ คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ผู้ให้ความรู้ ผศ.ดร.ชาญชัย สุขสุวรรณ์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            การจัดการความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร เป็นการนำความรู้มาใช้พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรให้ได้มากที่สุด โดยมีกระบวนการในการสรรหาความรู้เพื่อถ่ายทอดและแบ่งปันไปยังบุคลากรเป้าหมาย ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อพัฒนางานให้มีคุณภาพและมีผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น พัฒนาคนหรือผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนพัฒนาฐานความรู้ขององค์กร         จากเหตุผลดังกล่าวสถาบันกีฬา จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของ การนำกระบวนการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และพัฒนาฐานความรู้ภายในหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและบังเกิดผลต่อการปฏิบัติด้านพัฒนาองค์กร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องรวบรวม การจัดการความรู้สถาบันกีฬา (KM) ในสถาบันกีฬา และพัฒนาเป็นประจำทุก ๆ ปี ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) :    –ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :  – วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. ประชุม/วางแผนเตรียมการผู้ฝึกสอนและพิจารณานักกีฬา คัดตัวนักกีฬาที่ทำการแข่งขันในแต่ละรายการ    2. ดูจากพื้นฐานของนักกีฬา ในด้านต่างๆ เช่น รูปร่าง ผลการแข่งขัน และจิตใจ    3. ส่งทีมโค้ชไปคัดตัวนักกีฬาและดูความสามารถของนักกีฬาแต่ละคน     4. ก่อนการฝึกซ้อมโค้ชจะให้นักกีฬา ทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยจะต้องผ่าน 7 ท่าก่อนในการฝึกซ้อมทุกครั้ง เช่น วิดพื้น ซิคอัพ ยกเข่าสูง กระโดดเข่าชิดอก แบคอัพ พุ่งหลัง และซอยเท้า เป็นต้น     5. โค้ชอธิบายแบบการฝึกซ้อม กีฬายูยิสสูในแต่ละวัน ตามโปรแกรมที่วางไว้ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    การตรวจผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์ที่นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความ                                               3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    1. ผู้ฝึกสอน/โค้ช ทดสอบทักษะการฝึกซ้อมกีฬายูยิตสู    2. ผู้ฝึกสอน/โค้ช สังเกตการณ์ความตั้งใจ มุ่งมั่น ในการฝึกซ้อมกีฬายูยิตสูในแต่ละสัปดาห์ เพื่อปรับปรุงและแก้ไข     3. มีการส่งนักกีฬายูยิตสู เข้าร่วมการแข่งขันในรายการต่างๆ เช่น แข่งขันยูยิตสู ชิงแชมป์ประเทศ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และการคัดตัวทีมชาติเพื่อแข่งขันในระดับนานาชาติ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           จากการฝึกซ้อมของนักกีฬายูยิตสู พบว่า นักกีฬาส่วนใหญ่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการฝึกซ้อมและสามารถปฏิบัติทักษะการทุ่ม การล็อค การต่อย การเตะ การเข้าหาคู่ต่อสู้ได้อย่างถูกต้อง และยังมีนักกีฬาบางคนที่ยังไม่สามารถปฏิบัติทักษะที่ถูกต้องได้ ผู้ฝึกสอนก็จะเรียกนักกีฬามาฝึกซ้อมเพิ่มเติมในส่วนที่ยังขาดไป และให้เพื่อนๆรุ่นพี่ๆ มาช่วยกันฝึกซ้อมและแนะนำในการฝึก การทุ่ม ล็อค การต่อย การเตะ และการเข้าหาคู่ต่อสู้ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการแข่งขันมากขึ้น และดูนักกีฬาที่ไม่ถนัดในด้านใดก็จะเสริมสมรรถภาพในด้านนั้นๆ ให้กับนักกีฬายูยิตสู          ข้อเสนอแนะ          1. ควรมีการสนับสนุนอุปกรณ์การฝึกซ้อมให้มากกว่านี้          2. ควรมีการสนับสนุนด้านการฝึกอบรม/ ด้านการให้ความรู้ในกีฬายูยิตสูเพิ่มขึ้น          3. ควรส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณ ในการส่งผู้ฝึกสอนเข้าร่วมการอบรมเป็นประจำทุกปี 

การจัดการกีฬายูยิตสูสู่ความเป็นเลิศ Read More »

ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KR 4.1.3 ส่งเสริมการเรียนการสอนโดย ใช้ภาษาต่างประเทศ ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.เครือวัลย์ คุ้มครอง (รองคณบดีฝ่ายบริหาร) คณะเทคนิคการแพทย์ ผู้ให้ความรู้ 1) ดร.อรนันท์ พรหมมาโน 2) ดร.อรอุมา สร้อยจิต คณะเทคนิคการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           เนื่องจากมีการปรับใช้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ สำหรับปีการศึกษา 2565 – 2569 ส่งผลให้มียุทธศาสตร์ใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การเสริมสร้างพัฒนาความเป็นสากล (Internationalization) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้           (1) เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร มีความรู้ทักษะการสื่อสารและประสบการณ์ที่จะประสบความสำเร็จ ในสังคมนานาชาติและพัฒนาความสามารถเหล่านี้ ได้ด้วยตนเองผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้           (2) เพื่อให้มหาวิทยาลัยรังสิตได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นสากลจากองค์กร มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติมีโอกาสทำความรู้จัก พูดคุยกับนักศึกษาไทย ทำให้นักศึกษาไทยได้มีโอกาสฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. ประชุมร่วม 5 คณะ เพื่อออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่าย    2. ประชุมทีมสอนรายวิชา RSU171 วิถีสุขภาพดีมีสุข เพื่อเลือกหัวข้อที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรม และจัดตาราง เรียนให้สอดคล้องกับวันเวลาที่จะดำเนินกิจกรรม    3. ออกแบบกิจกรรม และจัดทำแผนการสอนรายคาบ    4. จัดเตรียมสื่อช่วยสอน “กิจกรรมคัดกรองผู้บริจาคโลหิต” โดยมีภารกิจ :        1) นักศึกษาไทยสัมภาษณ์นักศึกษาต่างชาติ       2) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติเรียนรู้คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต       3) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติทำกิจกรรมต่อจิ๊กซอว์คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต       4) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติเรียนรู้ประโยชน์ของส่วนประกอบของเลือดบริจาค       5) นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ เรียนรู้หมู่เลือดกับการให้เลือด    5. จัดกิจกรรม “กิจกรรมคัดกรองผู้บริจาคโลหิต” ดังกล่าว โดยแบ่งกลุ่มย่อยทำกิจกรรม 4 กลุ่ม vs อาจารย์พี่เลี้ยง 2 คนต่อกลุ่ม    6. นักศึกษาทั้ง 4 กลุ่ม ส่งตัวแทนทั้งนักศึกษาไทยและต่างชาติมานำเสนอความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตหน้าชั้นเรียน    7. นักศึกษาทำแบบประเมินกิจกรรมผ่าน ผ่าน Google Forms    8. ดร.อรนันท์ พรหมมาโน และ ดร.อรอุมา สร้อยจิต ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศผ่านการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ ให้แก่บุคคลากรคณะเทคนิคการแพทย์ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน     จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม (นักศึกษาต่างชาต/นักศึกษาไทย) N = 81/26 คน     ข้อคำถาม                                                             ค่าเฉลี่ย                         ระดับความคิดเห็นความเหมาะสมของสถานที่                                                         4.48/4.68                               เห็นด้วยมากที่สุดความเหมาะสมของระยะเวลา                                                       4.15/4.32                                เห็นด้วยมากคุณภาพของอุปกรณ์เสียงและสื่อ                                                4.29/4.64                                เห็นด้วยมากที่สุดความรู้ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม                                               4.21/4.44                                เห็นด้วยมากที่สุดความรู้ ไอเดีย ทักษะ หรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากกิจกรรม               4.29/4.56                               เห็นด้วยมากที่สุดหัวข้อกิจกรรมน่าสนใจ                                                              4.24/4.60                               เห็นด้วยมากที่สุด     อุปสรรคหรือปัญหา      1. นักศึกษาไทยมีจำนวนน้อยและมาสาย ทำให้นักศึกษาต่างชาติบางส่วนต้องรอเพื่อทำกิจกรรมกับนักศึกษาไทย      2. นักศึกษาไทยมีความหลากหลาย มาจากหลายคณะ เช่น  คณะกายภาพบำบัดฯ  วิทยาลัยนิเทศศาสตร์  คณะบริหารธุรกิจ  คณะวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์  และวิทยาลัยศิลปะศาสตร์      3. นักศึกษาไทยไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ มี LANGUAGE BARRIER หากเป็นกิจกรรม DISCUSSION นักศึกษาต่างชาติ มักเป็นฝ่ายพูดเป็นส่วนใหญ่      4. นักศึกษาไทยบางส่วนไม่เข้าใจศัพท์เฉพาะ เกี่ยวกับการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    การตรวจสอบผลการดำเนินการ       ประเมินกิจกรรม ผ่าน Google Forms โดยนักศึกษาที่ร่วมกิจกรรม    การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้       มีการถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับบุคลากรในคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นของคณะ    สรุปและอภิปรายผล       ผลการประเมินกิจกรรม เกือบทุกด้านอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด เช่น ความเหมาะสมของสถานที่, คุณภาพของอุปกรณ์เสียงและสื่อ, ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม, ความรู้ ไอเดีย ทักษะ หรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากกิจกรรม และ หัวข้อกิจกรรมน่าสนใจ ส่วน ความเหมาะสมของระยะเวลา อยู่ในระดับ เห็นด้วยมากบทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่       1. ทำให้ทราบถึงแนวทางการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity) เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติมีโอกาสทำความรู้จัก พูดคุยกับนักศึกษาไทย ทำให้นักศึกษาไทยได้มีโอกาสฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษ และนักศึกษาต่างชาติมีโอกาสได้เข้าใจเกี่ยวกับการบริจาคเลือด ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาไทย       2. ทำให้ทราบถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวทางแก้ปัญหา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมความเป็นนานาชาติ (International Activity)  ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ปรับแผนการสอน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศ Read More »

กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.3.3 กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้จัดทำโครงการ​ อาจารย์นภาพรรณ พงษ์พวงเพชร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานในระดับประเทศจาก สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ อีกทั้งอาจารย์ นักวิจัยและบุคลากรที่เข้ามาใช้บริการของศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถนําข้อมูลของห้องปฏิบัติการนี้ไปดําเนินการเพื่อขอสนับสนุนทุนวิจัยจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : จากการลงมือปฏิบัติจริงความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : นำประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในระบบมาตรฐานอื่นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   1. ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย (Lab safety)   2. ทำการประเมินห้องปฏิบัติการในระบบ ESPReL check list ตามข้อกำหนดของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( ESPReL check list จากจำนวนข้อกำหนด 162 ข้อ 7 องค์ประกอบ การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation มีข้อกำหนดพื้นฐาน 137 ข้อ)   3. นำคะแนนจาก ESPReL check list ที่ได้มาวิเคราะห์ Gap Analysis โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ   4. ดำเนินการตาม gap analysis โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ       4.1 ข้อกำหนดที่สามารถปฏิบัติได้ภายใน 6 เดือนแรก       4.1.1 จัดทำนโยบาย แผนการดำเนินงาน โครงสร้างการบริหารจัดการความปลอดภัยและตั้ง ทีมงานดำเนินการ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ       4.1.2 จัดทําระบบบันทึกข้อมูลสารเคมี ทำบัญชีรายการวัสดุห้องปฏิบัติการ สารเคมี และ แยกประเภทสารเคมีตามความเป็นอันตรายในระบบ GHS และสารที่ไม่สามารถเข้ากันได้ จัดหาภาชนะรองรับสารเคมีที่เหมาะสม กำหนดพื้นที่ในการจัดเก็บสารเคมี จัดทํารายงานความเคลื่อนไหวสารเคมี แนวปฏิบัติในการจัดการสารที่ไม่ใช้แล้ว จัดหาอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายสารเคมี จัดหา spill kit หรืออุปกรณ์ทดแทนที่เหมาะสมในกรณีสารเคมีหกรั่วไหล อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) ข้อกำหนดในการจัดเก็บแก็ส ติดตั้งอุปกรณ์ห้องเก็บแก๊ส จัดทำเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน quality procedure/ work Instruction/ safety data sheet (SDS)       4.1.3 การจัดการข้อมูลของเสีย การบันทึกข้อมูลของเสีย การรายงานข้อมูล การแยก ประเภทของเสีย การเก็บบรรจุของเสีย การตรวจสอบภาชนะบรรจุ เขียนระเบียบปฏิบัติ (Work Instruction) การลดการเกิดของเสีย การบำบัดและกำจัดของเสีย       4.1.4 จัดทําระเบียบปฏิบัติในการใช้งานเครื่องมือทุกชนิดในห้องปฏิบัติการ ทำ Preventive Maintenance เครื่องมืออุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ยกเลิกการใช้งานปลั๊กพ่วงและเขียนระเบียบปฏิบัติ (Work Instruction) ในกรณีที่ต้องใช้งานปลั๊กพ่วง       4.1.5 การป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย จัดทําแผนป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติและภาวะ ฉุกเฉิน ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน จัดทําแบบประเมิน/ รายงานความเสี่ยงรายบุคคลและห้องปฏิบัติการ จัดทํารายงานอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ จัดทำและบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติในการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการให้เข้มงวด       4.1.6 อบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ แม่บ้าน และนักศึกษาผู้มาใช้บริการห้องปฏิบัติการ       4.2 ข้อกำหนดที่สามารถปฏิบัติได้ภายหลัง 6 เดือน       4.2.1 ขออนุมัติงบประมาณ จัดซื้อ ตู้เก็บกรด ตู้เก็บสารไวไฟ       4.2.2 ขออนุมัติงบประมาณซ่อมแซมพื้นห้องปฏิบัติการ ปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้ เหมาะสมกับการใช้งาน       4.2.3 ประสานงานฝ่ายอาคารและสิ่งแวดล้อม ขอข้อมูลการตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ระบบโครงสร้าง ระบบสุขาภิบาล ระบบระบายอากาศ ระบบฉุกเฉิน   5. ยื่นเอกสารการขอรับการตรวจประเมิน โดยผู้ตรวจประเมินจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยก่อนยื่นขอรับการตรวจประเมินให้พิจารณาดังนี้       5.1 เมื่อสามารถดำเนินการตาม Gap Analysis ครบถ้วน และเข้าไปทำการประเมินห้องปฏิบัติการใน ESPReL check list แล้วพบว่าทุกองค์ประกอบ ได้คะแนนเต็ม 100% สามารถยื่นขอรับการตรวจประเมินมาตรฐาน Peer Evaluation ครบทุกองค์ประกอบได้       5.2 เมื่อดำเนินการตาม gap Analysis สำเร็จแล้วบางส่วน และเมื่อเข้าไปทำการประเมินห้องปฏิบัติการใน ESPReL check list แล้วพบว่า คะแนนเฉลี่ยทั้ง 7 องค์ประกอบได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 80% โดยมีบางองค์ประกอบได้คะแนนเต็ม 100 % และจะต้องไม่มีองค์ประกอบใดเลยได้คะแนนน้อยกว่า 50% ก็จะสามารถยื่นขอรับการตรวจประเมินมาตรฐาน Peer Evaluation เป็นรายองค์ประกอบได้   6. ผู้ตรวจประเมิน จะทำการตรวจสอบเอกสารที่ยื่นขอรับการตรวจประเมิน และถ้าผู้ตรวจประเมิน พิจารณาแล้วว่าห้องปฏิบัติการนั้นมีความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถให้การรับรองมาตรฐานได้ จะทำการนัด วัน เวลาในการเข้าตรวจประเมิน ณ ห้องปฏิบัติการที่ยื่นขอการรับรอง   7. ในวันที่คณะผู้ตรวจประเมิน เข้าตรวจประเมิน ณ ห้องปฏิบัติการ หัวหน้าห้องปฏิบัติการจะต้อง เตรียมเอกสารหลักฐานครบทั้ง 7 องค์ประกอบให้คณะผู้ตรวจประเมินตรวจสอบ และเตรียมบุคลากรที่ทำหน้าที่นำเสนอ ตอบคำถาม และพาคณะผู้ตรวจประเมินเข้าไปตรวจสอบในจุดต่างๆของห้องปฏิบัติการ เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานการจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย    8. เมื่อคณะผู้ตรวจประเมินทำการตรวจประเมินครบถ้วนแล้ว จะแจ้งสรุปผลการตรวจประเมิน ข้อบกพร่องและข้อสังเกตเบื้องต้นกับหัวหน้าห้องปฏิบัติการ    9. คณะผู้ตรวจประเมินจะจัดทำรายงานข้อบกพร่องและข้อสังเกตที่ตรวจพบ ส่งให้ห้องปฏิบัติการ ดำเนินการแก้ไข และระบุวันที่ต้องส่งรายงานการแก้ไข   10. ห้องปฏิบัติการ ต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องที่คณะผู้ประเมินตรวจพบ และจัดทำรายงานแก้ไข ข้อบกพร่อง พร้อมเอกสารที่แสดงการแก้ไขข้อบกพร่องนั้น ส่งให้กับผู้ตรวจประเมินตามวันที่ระบุไว้ ส่วนข้อสังเกตสามารถดำเนินการแก้ไขและส่งพร้อมการแก้ไขข้อบกพร่อง หรือสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายหลังได้    11. คณะผู้ตรวจประเมิน ตรวจสอบการแก้ไข และสรุปผลการตรวจประเมิน ส่งให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พิจารณา    12. กรณีที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติออกใบรับรองมาตรฐานระบบ Peer Evaluation ใน 2 รูปแบบ คือ        1. ใบรับรองที่ผ่านเกณฑ์การประเมินรายองค์ประกอบ        2. ใบรับรองที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกองค์ประกอบ (7 องค์ประกอบ) 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ผลการดำเนินการ การลงมือปฏิบัติจริง1. ภาพถ่ายก่อน/หลังดำเนินโครงการ2. ประเมินผ่านระบบ ESPReL Checklist              % ก่อนดำเนินโครงการ                 % หลังดำเนินโครงการ1) การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย                              33.3                                                1002) ระบบการจัดการสารเคมี                                                          67.5                                                1003) ระบบการจัดการของเสีย                                                          62.9                                                1004) ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ            2.4                                                1005) ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย                                          49.2                                                1006) การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ        3.7                                               1007) การจัดการข้อมูลและเอกสาร                                                       14.3                                               100รวม                                                                                         51.5                                               1003. การตรวจประเมิน โดยผู้ตรวจประเมินจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ     3.1  ผ่านการประเมินครบทั้ง 7 องค์ประกอบ     3.2 ได้รับใบรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ4. ได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น และได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานอุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    เนื่องจากต้องมีการขอเอกสารการตรวจโครงสร้าง ระบบอาคาร จากหน่วยงานอื่นทำให้การดำเนินงานมีความล่าช้า  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    1. การตรวจสอบผลการดำเนินการ       1.1 ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยการประเมินตนเองภายหลังการดำเนินการ ตามข้อกำหนด ในระบบ EspreL checklist       1.2 ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยคณะผู้ตรวจประเมิน และนำข้อบกพร่องและข้อสังเกต จากคำแนะนำของผู้ตรวจประเมิน มาทำการแก้ไข   2. การนำเสนอประสบการการนำไปใช้       2.1 การได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในการประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง วันที่ 5 เมษายน 2565 ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น      2.2 ได้รับเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงาน ในการประชุมประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2565 (ครั้งที่ 3) 10 พฤศจิกายน 2565 โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสรุปอภิปรายผล บทสรุปความรู้เมื่อทำตามขั้นตอนตามวิธีการดำเนินการ กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยครบถ้วน ผลที่ได้รับคือ    1. ผ่านการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ    2. ได้รับใบรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ    3. ได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น และรับมอบทุนสนับสนุนการดำเนินงาน การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้น ปัจจัยในความสำเร็จของกลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นี้คือ หัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้ดูแลห้องปฏิบัติการต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย สอดคล้องตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วนทุกองค์ประกอบ องค์กรมีวัฒนธรรมความปลอดภัยและมีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ Read More »

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม”

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.5.2 การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.พิเศษ นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญา อาจารย์พิเศษ ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การทำวิจัย และนวัตกรรมก็มีลักษะเหมือนกันจะต่างกันที่แนวคิด การทำวิจัยจะมุ่งเป้าหมายเฉพาะเรื่องนั้นๆ ( Specific) ส่วน นวัตกรรม คือการเอาหลายๆ ปัจจัย หลายๆ ศาสตร์ มาร่วมกันเพื่อตอบโจทย์คำถาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในการทำวิจัย หรือ นวัตกรรม คือ 1.การฟัง การฟังนั้นควรฟังอย่างเปิดใจ Active Listening และ 2.การตั้งคำถาม ซึ่งคำถามจะแสดงให้รู้ถึงความคิดของผู้ถาม และควรตั้งคำถามที่เปิดโลกทัศน์ คำถามที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี ควรมีการจดบันทึก จดเฉพาะสิ่งสำคัญ          ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการในการทำวิจัย และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ดี ทั้งการทำนวัตกรรมและการทำวิจัย เป็นสิ่งที่ประกอบกันของกระบวนการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยจะช่วยสนับสนุนของกันและกันงานวิจัยจะสนับสนุนนวัตกรรมและนวัตกรรม อาศัยงานวิจัยในการพัฒนาในขั้นต่อไป ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ประสบการณ์ของเจ้าของความรู้ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, เปรียบเทียบขบวนการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ในปัจจุบันนั้น การมุ่งเน้นทั้ง 2 ขบวน เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้พัฒนาความคิดใหม่จากกระบวนการที่อาจารย์และรุ่นพี่ทำกันมาโดยเปิดการสร้างจินตนาการและความคิดที่เฉพาะเป็นประเด็นที่สนใจ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    การทำวิจัย หรือ นวัตกรรม นั้นควรมีการตั้งคำถามที่ดี ต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเราจะทำอะไร จะไปที่ไหน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงความคิดและเหตุผล รู้จักตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน สามารถ เล่าเรื่อง และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายๆ Story telling        การสร้างและพัฒนางานนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ ได้ จากวิธีคิด มีวิธีคิด 6 วิธี คือ      1. หลุดจากกรอบแห่งโลกความจริง                  2. สร้างสรรค์จากความฝัน      3. เปลี่ยนจุดอ่อนเป็นไอเดีย                               4. ต่อให้ติดพิชิตความต่าง      5.มองมุมกลับ ปรับมุมมอง เหมือนลูกเต๋า      6. ตัวเลขมหัศจรรย์ ซึ่งเราควรรับมือโดยการสร้างเป้าหมายใหม่ๆ อย่างรวดเร็วในโลกแห่งการแข่งขัน และควรเลือกสิ่งที่เราถนัดสร้างสมรรถนะ (Core Competency) หลักในการเอาชนะคู่แข่งคือ       1) การคิดอย่างเป็นระบบเป็นกระบวนการคิด โดยใช้การคิดแบบเป็นขั้นตอนใช้ สุ จิ ปุ ริ      2) จัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา      3) พัฒนากระบวนการคิด Mindset ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ฝังลึกทำให้เกิดทัศนคติและประสบการณ์      4) ควรมีการยืดหยุ่นปัญหา โดยใช้ Active Listening จะทำให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์      5) การปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน      6) นักศึกษาแพทย์ควรมีพรสวรรค์และพรแสวง      7) เครื่องมือในการทำงานควรมีการวางแผนเชิงกลยุทธ      8) การดำเนินงานแบบเป็นขั้นตอน ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาทำแต่งานที่เร่งด่วนเฉพาะหน้าตลอดเวลา 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ปรากฏการณ์ เล็กๆ บางอย่างเราคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้น เช่น Black Swan Phenomenon แต่ถ้าเกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ยากเกินความควบคุมได้ เช่น การเกิดโรคโควิด ก็เปรียบเสมือนปัญหาที่พบในการทำงาน เพราะฉะนั้นในการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ นั้นเราต้องจัดลำดับขั้นตอน เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะปัญหาในปัจจุบันมีลักษณะ VUCA ; V : Volatile (เปลี่ยนแปลงง่าย) U : Uncertained (ไม่มั่นคง,ไม่แน่นอน) C : Complex (ซับซ้อน) และ A : Ambiguity (กำกวม ความคลุมเครือ) 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่     1. คนเราจะประสบผลสำเร็จได้ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวให้ปฏิบัติตามได้ แต่ต้องเริ่มด้วยความพยายาม และมีความสนใจในสิ่งนั้น    2. ขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาสของชีวิต พร้อมรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือป้าหมายที่วางไว้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice หลักในการทำงาน และเป็นกลไกนำไปสู่ความสำเร็จนั้น ควรใช้หลักของพระพุทธเจ้าสอน คือ อิทธิบาท 4 คือ         ฉันทะ คือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน หาพรสวรรค์ ความถนัดให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำในสิ่งนั้นๆ         วิริยะ คือ การลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ มีความขยันมั่นเพียร ไม่ย่อท้อ         จิตตะ คือ โฟกัสที่จุดมุ่งหมาย มีความมุ่งมั่น่อยู่กับสิ่งที่ทำ         วิมังสา คือ การศึกษาจากคนที่เคยสำเร็จมาเป็นต้นแบบ

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” Read More »

การลดระยะเวลาโดยการใช้ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 1.1.4, KR 3.4.1 การลดระยะเวลาโดยการใช้ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้จัดทำโครงการ​ นายกิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย สำนักงานมาตรฐานวิชาการ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ 1. หลักการและเหตุผล / ความสำคัญ / ประเด็นปัญหา *          สำนักงานมาตรฐานวิชาการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เนื่องจากสำนักงานมาตรฐานวิชาการมีหน้าที่รับผิดชอบงานตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อให้อาจารย์ได้ผลิตผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น ตลอดจน ให้อาจารย์ได้ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับงานสอน โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอตำแหน่งทางวิชาการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจน โดยเสนอผลงานผ่านคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการเบื้องต้นฯ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชการ และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตามลำดับ ตลอดจนมีการสนับสนุนให้อาจารย์ผลิต ผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง สำนักงานฯ เห็นว่าการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมีความสำคัญ และควรมีขั้นตอนในการปฏิบัติในแต่ละช่วงให้ชัดเจน เพื่อลดระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยการใช้ Flow Chart ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการสนับสนุนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ จึงได้จัดทำเป็นกรอบในการทำงาน Flow Chart เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงขั้นตอน ระยะเวลาในการดำเนินการ และกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินการในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอย่างชัดเจน จึงได้กำหนดระยะเวลาในการการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 2. ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้        จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเกิดแนวคิดเพื่อเป็นการสนับสนุน และส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับระเบียบ คำสั่ง แนวปฏิบัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งก่อนหน้านี้ขั้นตอนและกระบวนการในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการอาจใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างล่าช้า ซึ่งปัญหาและอุปสรรคในการในการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และได้มีการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการทำงานจากที่ประชุม Corrective Action Committee เพื่อเป็นการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานตำแหน่งทางวิชาการ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ได้ โดยการลดระยะเวลาในการดำเนินงานขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสามารถเห็นขั้นตอน และกระบวนการในการดำเนินการในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : สำนักงานมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ดำเนินการเองความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ     1. จัดทำ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อแสดงให้เห็นรายละเอียดและกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการ    2. ดำเนินการเผยแพร่ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ผ่านเว็บไซด์ของสำนักงานมาตรฐานวิชาการ ในงานตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้รับทราบรายละเอียดและขั้นตอนในการขอตำแหน่งทางวิชาการ และสามารถนำไปดำเนินการได้อย่างถูกต้อง     3. ดำเนินงานตามกรอบและระยะเวลา 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน     1. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ ขั้นตอน และกระบวนการต่างๆ ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ     2. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเกิดความสะดวก รวดเร็ว และสามารถทราบระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ     3. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสามารถที่จะวางแผนในการดำเนินการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้     4. ผลการดำเนินการตาม Flow Chart ระยะเวลาในการดำเนินงานขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการจะลดลง ในปัจจุบันใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ8-9 เดือน     5. ผู้ทรงคุณวุฒิบางสาขาค่อนข้างหายาก และมีภารกิจค่อนข้างมาก มีผลต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นในการประเมิน 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่     จากการดำเนินงาน โดยการกำหนดระยะเวลาตาม Flow Chart ในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่ผ่านมานั้น และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการโดยเฉลี่ยไม่เกิน 270 วัน นับจากวันที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการยื่นเรื่องมาที่สำนักงานมาตรฐานวิชาการ     ดังนั้น หากมีผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการใช้ระยะเวลาที่น้อยลงตามรายละเอียด จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์มีความสนใจในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น และได้พัฒนางานวิชาการของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ และเป็นการส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชา ของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้อาจารย์ได้รับตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น  ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ควรต้องมีการพิจารณาการดำเนินงานในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการว่าจะสามารถลดระยะเวลาในช่วงใดได้อีก เพื่อให้ระยะเวลาในการดำเนินงานเร็วขึ้น

การลดระยะเวลาโดยการใช้ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ Read More »

Scroll to Top