รางวัลดีเด่น

ทำอย่างไรจึงจะได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.2.1, KR 1.2.3, KR 1.4.3, KR 1.4.5 ทำอย่างไรจึงจะได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.อาภรณ์ ดีนาน ผศ.ดร.รัชนี นามจันทรา ผศ.ดร.วารินทร์ บินโฮเซ็น ผศ.ดร.น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ ผศ.ดร.ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ คณะพยาบาลศาสตร์​ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          คณะผู้จัดทำการจัดการความรู้เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.) สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เน้นการผลิตผู้นำทางคลินิกที่สามารถพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนทั้งในภาวะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง โดยบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการทำวิจัย อาจารย์ประจำหลักสูตรจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองด้านความเชี่ยวชาญทางคลินิก การวิจัย และตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้สามารถสอนและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาให้บรรลุตามความมุ่งหวังของหลักสูตรได้ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรที่ผ่านมา อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่สูงกว่าเกณฑ์คุณภาพตลอดมา แต่เกือบทั้งหมดเป็นการเผยแพร่ในระดับชาติ จึงได้ข้อเสนอแนะให้พัฒนาการเผยแพร่ผลงานในระดับนานาชาติซึ่งแสดงถึงคุณภาพของผลงานที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติให้มากขึ้น        ความรู้สำคัญที่นำมาใช้ คือ กระบวนการวิจัย การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และความรู้/แนวปฏิบัติจากคลังความรู้ของระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University ปีการศึกษา 2563เรื่อง “ทำอย่างไรที่จะได้รับการเผยแพร่บทความในวารสารนานาชาติ” ของ ผศ.ดร.มนพร ชาติชำนิ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเสนอกระบวนการปฏิบัติ 7 องค์ประกอบ ได้แก่1. มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สนใจทางด้านคลินิก2. กล้าและมีแนวคิดจะเขียนสื่อองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาของตนเองในรูปแบบเชิงบูรณาการระหว่าง art and science ในการใช้ภาษาอังกฤษที่จะนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยและสื่อออกมาให้คนอื่นได้เข้าใจด้วยภาษาอังกฤษ (To be valiantly accomplished)3. มีทีมวิจัยและเครือข่ายส่วนบุคคล4. แหล่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่บทความ5. อย่ายอมแพ้และอย่าถอดใจ6. Learning by doing7. ฝึกเขียน cover letter ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    ในปี พ.ศ. 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติมากขึ้น โดยใช้องค์ประกอบ 7 ประการข้างต้น ร่วมกับการดำเนินตามกระบวนการ ดังนี้1. ดำเนินการวิจัยตามความเชี่ยวชาญของตน ต้องเป็นงานวิจัยที่มีกระบวนการวิจัยที่มีคุณภาพ ทำเป็นทีม โดยทำกับเครือข่ายนักวิจัยต่างชาติ ต่างสถาบัน หรือกับสหสาขาวิชาชีพ และควรมีแหล่งทุนสนับสนุน เพื่อสามารถใช้สนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง2. มองหาวารสารเป้าหมายระดับนานาชาติ เลือกวารสารที่มีคุณภาพ อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับ เข้ากับประเด็นการศึกษาของเรา และพิจารณาระยะเวลาที่ใช้ในการตีพิมพ์บทความในวารสารนั้น ๆ ซึ่งจะระบุไว้ในแต่ละบทความ การเลือกวารสารเป้าหมายสามารถดูใน website: Scimago Journal Rank และเลือก subject areas ที่ตรงกับ area ของตน เช่น Nursing, Health Profession เป็นต้น (รายละเอียดดังไฟล์แนบ) และเลือกวารสารที่มีระยะเวลาที่ใช้ในการตีพิมพ์ไม่นาน3. เตรียมต้นฉบับบทความเป็นภาษาอังกฤษ การเตรียมต้นฉบับควรทำเป็นทีม และทำตามข้อกำหนด (guidelines) ของวารสารที่เลือก4. มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบการใช้ภาษาอังกฤษและคุณภาพของต้นฉบับบทความ ควรมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาช่วยดูความถูกต้องของการใช้ภาษาอังกฤษ และมีผู้เชี่ยวชาญช่วยพิจารณาคุณภาพของบทความเบื้องต้น ก่อนการ submit5. ติดตามแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของ peer review ตามกรอบเวลาที่วารสารกำหนด ผู้วิจัยควรติดตามผลการพิจารณาบทความจากวารสารอย่างสม่ำเสมอ และจัดสรรเวลาในการปรับแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของ peer review ให้เสร็จทันภายในกรอบเวลาที่วารสารกำหนด ให้มองข้อเสนอแนะและการปรับแก้ไขเป็นสิ่งท้าทาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่ายอมแพ้หรือถอดใจ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        ปี พ.ศ. 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตร พย.ม. มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดันานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล SCOPUS มากขึ้น โดยมีจำนวน 5 เรื่อง (ดังไฟล์ที่แนบมา) ดังนี้1. Chatchumni, M., Maneesri, S., & Yongsiriwit, K. (2022). Performance of the Simple Clinical Score (SCS) and the Rapid Emergency Medicine Score (REMS) to predict severity level and mortality rate among patients with sepsis in the emergency department. Australasian Emergency Care, 25(2), 121-125. https://doi.org/10.1016/j.auec.2021.09.002i2. Sirikulchayanonta, C., Sirikulchayanonta, V., Suriyaprom, K., and Namjuntra, R. (2022). Changing trends of obesity and lipid profiles among Bangkok school children after comprehensive management of the bright and healthy Thai kid project. BMC Public Health, 22, 1-10.3. Chatchumni, M., Eriksson, H., Mazaheri, M. (2022). Core components of an effective pain management education programme for surgical nurses: A Delphi technique. Int J Qual Stud Health Well-being, 17:1, 2110672. https://doi.org/10.1080/17482631.2022.21106724. Khuntee, W., Hanprasitkam, K., & Sumdaengrit, B. (2022). Effect of music therapy on postembolization syndrome in Thai patients with hepatocellular carcinoma: A quasi-experimental crossover study. Belitung Nursing Journal, 8(5), 396-404. http://doi.org/10.33546/bnj.22105. Witheethammasak, P., Deenan, A., Masingboon, K. (2022). A Causal Model of Asthma Control in Adults. Pacific Rim Int J Nurs Res, 26(4), 613-626.    ปัญหาและอุปสรรคที่พบ ได้แก่ ข้อจำกัดทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ข้อจำกัดด้านเวลา ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์สูง และการมีเครือข่ายจำกัด 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่          ได้ความรู้เชิงกระบวการในการเลือกวารสารเป้าหมายระดับนานาชาติที่จะลงตีพิมพ์ และกระบวนการในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้1. ดำเนินการวิจัยตามความเชี่ยวชาญของตน2. มองหาวารสารเป้าหมายระดับนานาชาติ3. เตรียมต้นฉบับบทความเป็นภาษาอังกฤษ4. มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบการใช้ภาษาอังกฤษและคุณภาพของต้นฉบับบทความ5. ติดตามแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของ peer review ตามกรอบเวลาที่วารสารกำหนด กระบวนการในการตีพิมพ์บทความ ประยุกต์องค์ประกอบที่จะช่วยให้การเผยแพร่ผลงานในระดับวิชาการประสบความสำเร็จ ได้แก่ การมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สนใจทางด้านคลินิก กล้าและมีแนวคิดจะเขียนสื่อองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาของตนเองด้วยภาษาอังกฤษ (To be valiantly accomplished) มีทีมวิจัยและเครือข่ายส่วนบุคคล มีแหล่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่บทความ อย่ายอมแพ้และอย่าถอดใจ และเรียนรู้พัฒนาตนเองจากการปฏิบัติ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          1. การเลือกวารสารเป้าหมายในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ อาจพิจารณาวารสารที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่หลายฉบับ ในสาขา Nursing ได้แก่ Pacific Rim International Journal of Nursing Research วารสารเล่มนี้พยายามช่วยเหลือนักวิจัยให้ได้ตีพิมพ์ โดยช่วยพิจารณาทั้งคุณภาพของงานวิจัย และความถูกต้องของภาษา มีผู้ทรงคุณวุฒิต่างชาติที่สามารถดูความถูกต้องทั้งเนื้อหาและภาษาได้ ใช้เวลาไม่นาน และค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ไม่สูง ควรรวบรวมรายชื่อวารสารใน area ที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ และตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อช่วยให้นักวิจัยในสาขามองหาวารสารเป้าหมายง่ายขึ้น        2. สถาบันควรให้การสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานในวารสารระดับนานาชาติ โดยควรจัดให้มีหน่วยงานช่วยเหลือเรื่องการใช้ภาษาและการเขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษ เช่น มี Writing Center เพื่อดูคุณภาพของผลงาน ก่อน submit และควรมีเงินทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่        3. การทำวิจัยควรทำเป็นทีม โดยสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยต่างชาติ ต่างสถาบัน หรือกับสหสาขาวิชาชีพ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ควรสร้างและคงเครือข่ายความร่วมมือในการทำวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนที่เป็นนักวิจัยต่างชาติ ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

ทำอย่างไรจึงจะได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการระดับนานาชาติ Read More »

การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย

รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.2 การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย VDO Credit : สำนักงาน Wisdom Media ผู้จัดทำโครงการ​ ศ.ดร.สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ​ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          1) ตีกรอบวิจัยที่สามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพและน่าสนใจ การสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและน่าสนใจจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานของนักวิจัยได้รับการอ้างอิงมากขึ้น โดยในการตีกรอบวิจัยนั้น ควรเลือกหัวข้อวิจัยที่เป็นปัญหาที่สำคัญ หรือปัญหาใหญ่ซึ่งมีนักวิจัยสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหากเลือกทำงานวิจัยที่เป็นปัญหาเฉพาะขนาดเล็กจำนวน Citation ก็น้อยตาม และงานวิจัยที่เลือกทำนั้นได้มีการศึกษาหรือวิจัยมาบ้างแล้ว ตามความเชี่ยวชาญและยังมีช่องว่างในการวิจัยอยู่ ทั้งนี้ควรตระหนักว่าการสร้างผลงานที่น่าสนใจและมีคุณภาพสูงสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น         2) ส่งผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor สูง การเลือกตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่มี Impact Factor (IF) สูงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานวิจัยนั้น ๆ ได้รับการอ้างอิงมากขึ้น โดย Impact Factor เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของวารสารว่ามีผู้อ่านและผู้ใช้งานมากน้อยเพียงใด การส่งผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor สูงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลงานนั้นได้รับการอ้างอิงมากขึ้น เนื่องจากค่า Impact Factor ของวารสารวิชาการนั้นคำนวณมากจากจำนวนครั้งของการ Citation ใน 1 ปี หารด้วยจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในปีนั้น ๆ         3) แชร์ผลงานของคุณ การแชร์ผลงานวิจัยในสื่อสังคมออนไลน์หรือเว็บไซต์ช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น เช่น ResearchGate, LinkedIn, Twitter หรือ Facebook เป็นต้น ซึ่งทางคณะ วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ควรเข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ข้อควรระวัง คือ ระวังเรื่อง License ของงานวิจัยที่จะแชร์ ควรจะแชร์แค่ link และรายละเอียดของงานวิจัย แต่ไม่ควรแชร์รูป หรือแนบบทความทั้งฉบับ เนื่องด้วยอาจติดลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์        4) การนำเสนอในงานประชุมวิชาการ การนำเสนอในงานประชุมวิชาการช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น โดยช่วยให้ผู้ที่เข้าร่วมงานประชุมวิชาการเห็นความสำคัญและคุณค่าของผลงานวิจัยที่ทำ และการนำไปสู่การอ้างอิงผลงานเมื่อเกิดการเผยแพร่ในภายหลัง        5) เข้าร่วมกลุ่มวิจัยและโครงการวิจัย การเข้าร่วมกลุ่มวิจัยและโครงการวิจัยช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น โดยการเข้าร่วมกลุ่มวิจัยและโครงการวิจัยนั้นจะช่วยให้ผู้วิจัยได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานวิจัยร่วมกับผู้อื่น และมีโอกาสเข้าถึงผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงของผลงานของผู้วิจัยได้        6) ใช้คำสำคัญ (Keywords) และชื่อบทความที่ถูกต้องในผลงาน การใช้คำสำคัญและชื่อบทความที่ถูกต้องในผลงานวิจัย จะช่วยให้ผู้ค้นหาสามารถหาผลงานของผู้วิจัยง่ายขึ้น นอกจากนี้การใช้คำสำคัญที่เหมาะสมในผลงานของผู้วิจัยยังสามารถช่วยให้ผลงานของผู้วิจัยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงของผลงานของผู้วิจัยได้        7) สร้างเครือข่าย (Networking) กับนักวิจัยอื่น การสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยอื่นช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงได้มากขึ้น โดยในการสร้างเครือข่ายนั้น ผู้วิจัยสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่น และมีโอกาสเข้าถึงผลงานวิจัย เช่น การเชิญ speaker จากสถาบันอื่น มาแลกเปลี่ยนความรู้        8) การเขียนบทความปริทัศน์ การเขียนบทความปริทัศน์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่นักวิจัยสามารถใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการถูกอ้างอิงและเพิ่ม h index ของตนเองได้ โดยควรทำการเลือกหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการในวงการวิชาการ เพื่อให้มีผู้อ่านและผู้ใช้งานมากขึ้น นอกจากนี้ ยังควรเลือกวิธีการสร้างโครงสร้างบทความปริทัศน์เหมาะสมและช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยของผู้วิจัยอย่างเต็มที่ แต่ข้อจำกัดของการเขียนบทความปริทัศน์ คือ ผู้วิจัยจะต้องมีชื่อเสียงในวงการวิจัยในระดับหนึ่งจึงจะถูกเชิญให้เขียนบทความปริทัศน์ และบทความปริทัศน์ยังไม่สามารถนำไปใช้ในการขอตำแหน่งวิชาการในสายวิทยาศาสตร์อีกด้วย        9) การอ้างอิงบทความของตนเอง (Self-citation) การอ้างอิงผลงานตนเองหรือ Self-citation เป็นเรื่องที่มีข้อดีและข้อเสียเหมือนกับการอ้างอิงผลงานของผู้อื่น โดยข้อดีของ Self-citation คือช่วยเพิ่ม Citation และ h-index ของนักวิจัยเอง และช่วยสร้างความรู้สึกว่าผลงานของผู้วิจัยมีความสำคัญและมีผลกระทบในงานวิจัยที่ผู้วิจัยทำ อย่างไรก็ตามการ Self-citation นั้นไม่ควรเกิน 20% โดยอ้างอิงจาก https://clarivate.com/webofsciencegroup/essays/journal-self-citation-jcr/ อีกทั้งต้องเป็นการอ้างอิงที่ถูกต้องและมีความเหมาะสมโดยควรใช้ Self-citation เพียงแต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น เป็นผลงานที่สอดคล้องกับผลงานที่ผู้วิจัยต้องการตีพิมพ์ หรือเป็นผลงานที่มีความสัมพันธ์กับงานวิจัยเก่าของผู้วิจัย โดยการ Self-citation นั้นต้องมีเหตุผลและเป็นไปตามแนวทางวิชาการของวงการนั้น ๆ โดยเป็นงานวิจัยที่ทำต่อเนื่องกันมาเป็นชุด ๆ ห้ามอ้างอิงผลงานตนเองในบทความวิชาการที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นอันขาด ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากการสั่งสมประสบการณ์ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การดำเนินการโดยนำองค์ความรู้ตามที่กล่าวข้างต้นมาใช้โดยได้เลือกตีพิมพ์เฉพาะกับ Publisher ที่มีความน่าเชื่อถือและมีค่า Impact Factor สูง หลังจากตีพิมพ์ได้ลงรายละเอียดใน Social Media Platform ต่าง ๆ ของผู้วิจัย พบว่าได้ผลค่อนข้างดี มีผู้ตามไปอ่านบทความที่ตีพิมพ์มากขึ้น จำนวน citation มากขึ้น ได้รับคำเชิญให้เขียนบทความปริทัศน์จากสำนักพิพม์ต่าง ๆ และไปร่วมงานประชุมวิชาการในระดับนานาชาติที่เป็นการประชุมสำคัญของวงการวิจัยหลายครั้ง ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในหลายงานประชุมวิชาการ โดยทุกครั้งที่ตีพิมพ์ระมัดระวังไม่ให้ Self-citation เกิน 20% และตรวจเช็คบ่อยๆใน Scopus, Google Scholar ว่างานวิจัยด้านที่ผู้วิจัยทำนั้นยังเป็นงานวิจัยหลักที่มีผู้สนใจอยู่หรือไม่ มีการนำองค์ความรู้ข้ามสาขามาใช้เพิ่มเติมเพื่อให้องค์ความรู้ใหม่และน่าสนใจอยู่เสมอ 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน        จำนวน Citation 893 ครั้ง และ h-index เท่ากับ 15 โดยในปี 2565 มีจำนวน Citation 176 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นตามที่ต้องการทุกปีเมื่อดำเนินงานตามขั้นตอนที่ชี้แจงไว้โดยละเอียด  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่          ได้ตรวจสอบผลของการดำเนินการตามขั้นตอนมาเป็นเวลา 5 ปี พบว่าการเพิ่มขึ้นของ citation เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         แม้ว่าการดำเนินการตามแผนที่กล่าวมานี้ทำให้จำนวน Citation และ h-index เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่แนวโน้มของงานวิจัยที่เลือกทำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนอยู่เสมอให้ทันต่อประเด็นที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน กล่าวคือต้องตามกระแสของโลกให้ทัน โดยดูจากจำนวน Citation ต่อปีของตนว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอัตราอย่างไร ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

การเพิ่ม citation หรือ h index ของนักวิจัย Read More »

Scroll to Top