Author name: apear

“CreativeYoung Designers Season 3” โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตศิลป์ไทย

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 “Creative Young Designers Season 3” โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ผู้จัดทำโครงการ​ อาจารย์ลัดดาวัลย์ สารพัฒน์ อาจารย์พชร รัตนคุปต์ และอาจารย์ลลิตา สีมันตร วิทยาลัยการออกแบบ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            ตามที่สาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ ได้ดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมการผลิตผลงานสร้างสรรค์ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านองค์ความรู้  นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้คณาจารย์และนักศึกษาของสาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ มีผลงานอย่างสรรค์อย่างต่อเนื่องนั้น และเพื่อเป็นการต่อยอดให้กับอาจารย์และนักศึกษาสามารถนำผลงานสร้างสรรค์ รวมถึงงานวิจัย นวัตกรรมทางด้านแฟชั่น  ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในโครงการจัดการความรู้ด้านทางด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หัวข้อโครงการความร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อชุมชน ในปีงบประมาณ 2566 เป็นการดำเนินงานด้านการออกแบบและพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือ กลุ่มทอผ้าภูริษาผ้าไทย ตำบลเมืองใหม่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือกับบริษัท ประชารัฐสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด  สนับสนุนการดำเนินการดำเนินโครงการความร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  ของสาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ของชุมชน  รวมถึงการขยายช่องทางการตลาดเพื่อก่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนให้แก่นักศึกษาแฟชั่นในระดับอุดมศึกษา ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            การออกแบบเครื่องแต่งกาย และเครื่องประกอบการแต่งกาย (Accessories) และการตัดเย็บ การตลาดด้านแฟชั่นการออกแบบที่มุ่งเน้นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่แล้วและเพิ่มกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ รวมถึงการนำผ้าขาวม้ามาออกแบบและตัดเย็บให้เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นไม่อยู่ในกรอบของเสื้อผ้าแบบเดิม ๆ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้ในชั้นเรียน และปราชญ์ชาวบ้าน ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด สาขาวิชาแฟชั่นดีไชน์ และ กลุ่มทอผ้าภูริษาผ้าไทย  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ 1) กิจกรรมเกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 2)  กิจกรรมมีการบูรณาการกับ  R การเรียนการสอน รายวิชาดังนี้ รายวิชาFAS490การกออกแบบแฟชั่นโดยร่วมมือกับผู้ประกอบการ FAS377 การตกแต่งพื้นผิวผ้า 3)  อื่นๆระบุ พัฒนาศักยภาพนักศึกษา – ประชุมออนไลน์กับผู้ประกอบการในเบื้องต้นถึงความต้องการของผู้ประกอบการ ในด้าน รูปแบบ กลุ่มลูกค้า   อัตลักษณ์ท้องถิ่น ลักษณะรูปแบบของผ้าว่ามีผ้าอะไรบ้าง โดยผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มก็คือผ้าสามฤดูที่ได้    แรงบันดาลใจจากเทือกเขาภูพานที่มีความอุดมสมบูรณ์ – นำข้อมูลประชุมและแบ่งงานนักศึกษาเป็นกลุ่มเลือกแรงบันดาลใจเป็นเทือเขาภูพานที่มีน้ำไหลผ่านสามฤดูความอุดมสบูรณ์– ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการนักศึกษาทดลองทอผ้าศึกษาฝ้ายที่นำมาทอชนิดต่างๆ ความพิเศษของฝ้ายในจังหวัดหนองบัวลำภูที่แตกต่างจากที่อื่นคือสี ที่มีสีน้ำตาลที่เกิดจากแร่ธาตุจากดินภูเขาที่ปลูก–   ศึกษาการย้อมสีธรรมชาติซึ่งได้จากพืชในท้องถิ่น เช่นคราม เป็นต้น–   พูดคุยและเลือกแบบที่นักศึกษาได้ออกแบบมาหลังจากที่ประชุมกันในรอบแรก และนำไปปรับปรุงอีกครั้ง–   ขึ้นต้นแบบ จำนวน 10 ชุด ปรับแก้เพื่อให้ได้ตามรูปแบบที่ดีไซน์–   ตัดเย็บชุดจริง จำนวน 10 ชุด–   ถ่าย LOOK BOOK–   จัดแสดงแฟชั่นโชว์ส่งมอบผลงานให้กับผู้ประกอบการ ณ พัฒนาแกลลอรี่ อาคารคุณหญิงพัฒนา–   จัดแสดงแฟชั่นโชว์ ณ งาน Sx Expo (Sustainability Expo) ในวันที่ 3 ต.ค 2566 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน นักศึกษาได้ลงพื้นที่พูดคุย ศึกษากระบวนการทอผ้าจากผู้ประกอบการ และพูดคุยความต้องการของผู้ประกอบการ รวมถึงการศึกษากลุ่มลูกค้าของมือ กลุ่มทอผ้าภูริษาผ้าไทย ตำบลเมืองใหม่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยนำผ้าทอมือ ผ้าขาวม้ามาออกแบบและตัดเย็บ จัดแสดงผลงานผ่านการเดินแฟชั่นโชว์ และผู้ประกอบการนำไปวางโชว์เพื่อจัดจำหน่ายโดยได้รับเป็นพรีออเดอร์จากผลงานที่นำไปโชว์ อุปสรรคและปัญหาในการทำงาน เนื่องจากผ้าทอมือความกว้างของหน้าผ้าจะไม่กว้างเหมือนผ้าที่ขายในท้องตลาดทั่วไปทำให้ต้องมีการดีไซน์การวางแบบตัดผ้าให้ได้ตามรูปแบบที่ออกแบบไว้นอกจากนี้ยังสามารถจัดวางลวดลายในการตัดต่อเพื่อให้เกิดความงามได้จากปัญหาหน้ากว้างไม่พอในการวางแพทเทิร์น          3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ หลังการดำเนินการเสร้จสิ้นลงสามารถติดตามผลได้จากสื่อออนไลน์ของกลุ่มภูริษาผ้าไทยกลุ่มทอผ้าสามารถนำต้นแบบไปต่อยอดจากรูปแบบเดิมที่โครงการได้ออกแบบไว้ไปต่อยอดโดยใช้ผ้าสีอื่นมาตัดเย็บ หรือนำเสื้อ กระโปรง กางเกง กระเป๋า นำไป mix & match กับเสื้อผ้าของทางร้านที่มีอยู่เดิม เพิ่มช่องทางการตลาดและขยายกลุ่มลุกค้าที่มีอยู่เดิม   หรือการนำเศษเหลือผ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษผ้า ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ในการทำงานโครงการระยะยาวจำเป็นต้องมีการวางแผนในเรื่องวัสดุผ้าที่นำมาใช้เนื่องจากการทอผ้าแต่ละครั้งมีจำนวนจำกัด สีเป็นการย้อมแบบธรรมชาติย้อมมือหากต้องการผ้าชนิดนั้นหรือสีนั้นต้องซื้อเพื่อไว้เลย และการคำนวณผ้าต้องดูตามหน้าผ้าของร้านเป็นหลักเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการตัดเย็บ รวมถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมการใช้วัสดุให้เหลือเศษน้อย หรือนำเศษวัสดุมาออกแบบต่อยอดให้เกิดเป็นชิ้นงานใหม่ขึ้นมา

“CreativeYoung Designers Season 3” โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตศิลป์ไทย Read More »

การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีแจ๊สด้วยแนวคิดสหวิชา สู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัย

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีแจ๊สด้วยแนวคิดสหวิชา สู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัย กรณีศึกษา “บทประพันธ์เพลงหัตถยุทธ ลีลา” และ “บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน” ประพันธ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร วิทยาลัยดนตรี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ แนวคิดสำหรับการประพันธ์เพลงไม่ได้มีข้อกำหนดว่า ต้องเกิดจากการศึกษาศาสตร์ดนตรีเพียงเท่านั้น แรงบันดาลใจจากการศึกษาศาสตร์ด้านอื่น ก็สามารถนำมาเชื่อมโยงเข้ากับเทคนิคการประพันธ์หรือแนวคิดหลักการทางดนตรีหรือทฤษฎีดนตรีเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน การศึกษาศาสตร์อื่นเพื่อขยายกรอบแห่งการสร้างสรรค์ทางดนตรีของผู้ประพันธ์ ก็เป็นสิ่งท้าทายสำหรับการสร้างบทประพันธ์ที่ผสมผสานขึ้นจากการศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อนำองค์ความรู้ หลักการ หรือเทคนิค นำมาสร้างคุณค่าให้กับบทประพันธ์ สำหรับประเด็นความรู้การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีแจ๊สด้วยแนวคิดสหวิชาสู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัย กรณีศึกษา “บทประพันธ์เพลงหัตถยุทธ ลีลา” และ “บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน” ประพันธ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร เป็นการศึกษาศาสตร์ด้านศิลปะและบุคคลสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ นำมาเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดทางดนตรีเพื่อสร้างนวัตกรรมการวิจัยที่เกิดจากแนวคิดสหวิชาการ สามารถอธิบายสาระได้ดังนี้ สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงหัตยุทธ ลีลา (Hattayut Leela) ประพันธ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดบทประพันธ์เพลงแจ๊สรูปแบบวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย 4 Episode สะท้อนศาสตร์และศิลป์ในมิติดนตรีแจ๊สที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาผลงานภาพวาดศิลปิน 4 คน จำนวน 4 ภาพ ซึ่งมีที่มาและความสำคัญดังนี้           เป็นที่ทราบกันดีว่าศาสตร์ด้านศิลปะสามารถช่วยกล่อมเกลาหรือบ่มเพาะจิตใจมนุษย์ให้สัมผัสกับอารมณ์ ความรู้สึก สะท้อนความเป็นตัวตนของมนุษย์ อีกทั้งศิลปะยังเป็นสื่อกลางเพื่อถ่ายทอดสาระสุนทรียภาพไปถึงบุคคลอื่นตามแต่เจตนารมณ์ของผู้ส่งสาระนั้น สุนทรียภาพข้างต้นก็มีความงดงามต่างกันออกไป โดยตัวแปรสำคัญด้านสุนทรียภาพก็ขึ้นอยู่กับอัจฉริยภาพของแต่ละบุคคลเช่นกัน ในปัจจุบันศาสตร์ด้านศิลปะก็แตกแขนงออกไปมากมาย ทั้งด้านวิจิตรศิลป์และด้านประยุกต์ศิลป์ ผลงานด้านทัศนศิลป์และดนตรีก็เป็นศาสตร์ด้านศิลปะแขนงหนึ่งอยู่คู่กับวิถีของมนุษย์มาช้านานให้มนุษย์ได้สัมผัสกับอารมณ์ ความรู้สึก ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ทางจิตใจในหลากหลายมิติ ทัศนศิลป์ แหล่งสุนทรียภาพแฝงไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและประสบการณ์จะถูกถ่ายทอดจิตวิญญาณผ่านไปยังมือของศิลปิน บรรจงสร้างสรรค์ผลงานผ่านฝีแปรงไปบนผืนผ้าใบแฝง ไว้ด้วยนัยคุณค่าศาสตร์และศิลป์ ภาพอันที่ทรงคุณค่าก็จะสะท้อนตัวตนของศิลปินให้มีความเด่นชัด เช่นเดียวกับดนตรีแจ๊ส แหล่งสุนทรียภาพแบบหนึ่ง สามารถสื่อถึงศาสตร์และศิลป์ในวิถีแบบนามธรรม ทั้งยังให้คุณลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ด้านการอิมโพรไวส์ เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินสะท้อนถึงอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง ที่มีต่อบทเพลงถ่ายทอดผ่านมือของศิลปินไปยังเครื่องดนตรีก่อเกิดสำเนียงมิติเสียงต่าง ๆ การอิมโพรไวส์เป็นองค์ประกอบสำคัญในดนตรีแจ๊สสามารถแสดงถึงทักษะ ประสบการณ์ และจิตวิญญาณของผู้บรรเลงได้เฉกเช่นเดียวกับภาพวาด รูปแบบการจัดวงแจ๊สขนาดใหญ่หรือเรียกว่าวงบิกแบนด์ ผสมผสานด้วยกลุ่มเครื่องเป่าและกลุ่มจังหวะที่เชื่อมโยงกันทำหน้าที่สร้างมิติเสียงและขับเคลื่อนบทเพลงด้วยรูปแบบวงแจ๊สขนาดใหญ่ สามารถสร้างมิติเสียงได้หลากหลายและมีผลโดยตรงต่อการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อิมโพรไวส์ในบทเพลง นักดนตรีที่ร่วมกันบรรเลงตลอดจนผู้อิมโพรไวส์จะร่วมกันสร้างสรรค์บทเพลง ให้ดำเนินไปตามแนวทางของผู้ประพันธ์กำหนดไว้   ทั้งสุนทรียภาพของภาพและดนตรีแจ๊ส มีสื่อกลางในการถ่ายทอดจินตนาการที่เหมือนกันนั่น คือ ผลงานถูกสร้างสรรค์ผ่านมือของศิลปิน ด้วยความเชื่อมโยงนี้ผู้ประพันธ์จึงมีความสนใจในประเด็นดังกล่าว โดยนำแรงบันดาลใจจากภาพมาสะท้อนเป็นการประพันธ์ในรูปแบบวงแจ๊สขนาดใหญ่หรือบิกแบนด์ ผ่านบทประพันธ์เพลง หัตถยุทธ ลีลา เพื่อสื่อถึงสุนทรียภาพทั้งในมิติภาพและดนตรีแจ๊สที่ต้องสร้างสรรค์ผ่านมือของศิลปิน ซึ่งผู้ประพันธ์กำหนดชื่อบทประพันธ์ “หัตถยุทธ ลีลา” ให้มีนัยแฝงด้วยแนวคิดผลงานถูกสร้างสรรค์ผ่านมือของศิลปิน   ส่วนกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน (Davis Phenomenon) ประพันธ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเพลงระลึกถึงไมล์ส เดวิส ในวาระครบรอบ 30 ปีการเสียชีวิต เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของไมล์ส เดวิสเชิงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊ส ซึ่งมีที่มาและความสำคัญดังนี้ ไมล์ส เดวิส (Miles Davis, 1926-1991) นักเล่นทรัมเป็ต นักประพันธ์เพลง บุคคลสำคัญต่อวงการดนตรีแจ๊สและมีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาดนตรีแจ๊สในหลายวิถีตั้งแต่ ดนตรีบีบ็อป ดนตรีคลูแจ๊ส ดนตรีฮาร์ดบ็อป ดนตรีโมดัลแจ๊ส และดนตรีฟิวชันแจ๊ส เขานำดนตรีแจ๊สพัฒนาเข้ากับยุคสมัย ผสมผสานกับทดลองนำแนวคิดต่างๆ มาขยายขอบเขตให้มิติเสียงดนตรีแจ๊สมีความหลากหลายขึ้น แม้เขาเสียชีวิตจะครบ 30 ปี ในปี ค.ศ. 2021 นี้ แต่แนวคิดที่เขาสร้างปรากฏการณ์ไว้ในดนตรีแจ๊สวิถีต่าง ๆ ได้กลายเป็นมรดกทางความคิดที่ถูกถ่ายทอดมาถึงดนตรีแจ๊สในปัจจุบัน ช่วงทศวรรษ 1940 ดนตรีบีบ็อปได้ก่อกำเนิดจากนักดนตรีแจ๊สชั้นแนวหน้า เช่น ชาร์ลี ปาร์คเกอร์ (Charlie Parker, 1920-1955) นักเล่นอัลโตแซกโซโฟน ดิซซี กิลเลสพี (Dizzy Gillespie, 1917-1993) นักเล่นทรัมเป็ต ได้ร่วมกันบรรเลงดนตรีแจ๊ส ณ สถานบันเทิง มินตันส์เพลย์เฮาส์มีเอกลักษณ์ด้านการแสดงด้วยรูปแบบวงขนาดเล็กและเน้นการอิมโพรไวส์เป็นสำคัญ ลีลาการบรรเลงแสดงถึงทักษะความเชี่ยวชาญของนักดนตรีที่บรรเลงร่วมกัน ไมล์ส เดวิสได้ร่วมงานกับชาร์ลี ปาร์คเกอร์ ในลีลาดนตรีบีบ็อป และสร้างความแตกต่างจากปาร์คเกอร์ด้วยแนวทำนองที่มีความหนาแน่นลักษณะจังหวะเบาบางกว่า แนวทางการบรรเลงของเดวิสเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจไปสู่วิถีแห่งดนตรีคลูแจ๊ส  ปี ค.ศ. 1957 เดวิสได้ออกผลงานชื่อ Birth of The Cool ด้วยรูปแบบวงเก้าชิ้น (Nonet) สังกัดค่าย Capital Records ผลงานชิ้นนี้ได้ผสมผสานเฟร็นช์ฮอร์น หรือทูบา เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า มักพบในวงออร์เคสตรานำมาร่วมสร้างสรรค์ และได้ สร้างกระแสแห่งวิถีดนตรีคลูแจ๊สให้ได้รับความนิยม ผลงานชิ้นนี้บันทึกเสียงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949-1950 โดยเดวิสได้ร่วมงานกับนักดนตรีที่สำคัญอย่าง กิล อีแวนส์ (Gill Evans,1912-1988) นักเรียบเรียงเสียงประสาน เจอร์รี มัลลีแกน (Gerry Mulligan, 1927-1966) นักเล่นบาริโทนแซกโซโฟน ลี โคนิตซ์ (Lee Konitz, 1927-2020) นักเล่นอัลโตแซกโซโฟน กันเธอร์ ชูลเลอร์ (Gunther Schuller, 1925-2015) นักเล่นเฟร็นช์ฮอร์น นักดนตรีเหล่านี้ยังนำแนวคิดของเดวิสไปสร้างสรรค์การประพันธ์เพลงในทิศทางตนเอง ทำให้ดนตรีคลูแจ๊สมีความหลากหลายยิ่งขึ้น ต่อมาช่วงทศวรรษ 1960 เดวิสได้กลับมาสร้างสรรค์วงแจ๊สขนาดเล็ก ด้วยการนำแนวทางการบรรเลงจากดนตรีบีบ็อปที่เขาเคยร่วมบรรเลงกับชาร์ลี ปาร์คเกอร์ในช่วงทศวรรษ 1940 มาพัฒนาให้มีความแตกต่างออกไปจากเดิมในวิถีแห่งดนตรีฮาร์ดบ็อป ที่มีกลิ่นอายดนตรีแอฟริกัน เช่น ริทึมแอนด์บลูส์ กอสเปล หรือบลูส์ และเน้นด้านการเรียบเรียงมากขึ้นกว่าดนตรีบีบ็อป เช่น วงห้าชิ้นที่ดีที่สุดของเขา (First Great Quintet) นักดนตรีร่วมบรรเลงประกอบด้วย จอห์น โคลเทรน (John Coltrane, 1926-1967) นักเล่นเทเนอร์แซกโซโฟน เรด การ์แลนด์ (Red Garland, 1923-1984)  นักเล่นเปียโน พอล แชมเบอส์ (Paul Chambers, 1935-1969) นักเล่นเบส และฟิลลี โจ โจนส์ (Philly Joe Jones, 1923-1985) นักเล่นกลอง   ปี ค.ศ. 1959 เดวิส ได้ร่วมสร้างสรรค์ดนตรีแจ๊สในวิถีดนตรีโมดัลแจ๊สในผลงานชื่อ Kind of Blues สังกัดค่าย Columbia ผลงานนี้มีเสียงประสานอันเป็นเอกลักษณ์ บทเพลง So What ได้สร้างกระแสดนตรีโมดัลแจ๊สด้วยเสียงประสานที่ต่างออกไป การดำเนินคอร์ดในบทเพลงนี้มีเพียง 2 คอร์ดและมีการเคลื่อนที่ช้าไม่เหมือนกับการดำเนินคอร์ดดนตรีบีบ๊อพ การอิมโพรไวส์มีแนวคิดต่างออกไปด้วยการเน้นการสร้างสรรค์จากโมดที่มีความสัมพันธ์กับเสียงประสานในบทเพลง กระทั่งทศวรรษ 1970 เดวิสได้นำดนตรีร็อกเข้ามาผสมผสานกับดนตรีแจ๊ส ส่งผลให้ดนตรีฟิวชันแจ๊สได้ก่อกำเนิดขึ้น ผลงานสำคัญที่เดวิสได้สร้างสรรค์ไว้ คือ ผลงานชื่อ Bitches Brew บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1970 สังกัดค่าย Columbia เดวิสได้นำเครื่องดนตรีไฟฟ้า เช่นเปียโนไฟฟ้าและออร์แกนตลอดจนคีย์บอร์ดเข้ามาแทนที่เปียโน รวมถึงการนำกีตาร์ไฟฟ้าที่อาจกล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของดนตรีร็อกเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย ทำให้มิติเสียงดนตรีแจ๊สกับดนตรีร็อกได้ถูกผสมผสานกันอย่างชัดเจน       จากที่กล่าวมาข้างต้นจะพบได้ว่า เดวิสได้ขยายขอบเขตดนตรีแจ๊สให้หลากหลายขึ้น ด้วยการทดลองแนวคิดหรือผสมผสานเครื่องดนตรีนำมาสร้างสรรค์ในทิศทางของตนเอง ส่งผลให้เกิดกระแสในดนตรีแจ๊สและเกิดเป็นวิถีทางต่างออกไป ผลงานของเดวิสเปรียบเสมือนโรงเรียนทางดนตรีแจ๊ส เหล่านักดนตรีแจ๊สที่เคยร่วมงานกับเขาได้กลายเป็นนักดนตรีแจ๊สสำคัญมากมาย เช่น จอห์น โคลเทรน นักเล่นเทเนอร์แซกโซโฟน บิล อีแวนส์ (Bill Evans, 1929-1980) เฮอร์บี แฮนคอก (Herbie Hancock, 1940-) ชิค คอเรีย (Chick Corea, 1941-) คีธ จาร์เร็ตต์ (Keith Jarrett, 1945-) นักเล่นเปียโน ไมค์ สเติร์น (Mike Stern, 1953-) จอห์น สโคฟิลด์ (John Scofield, 1951-) นักเล่นกีตาร์ เป็นต้น ไมล์ส เดวิส เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1991 และสำหรับในปี ค.ศ. 2021 จะเป็นวาระการครบรอบ 30 ปีของการเสียชีวิต ผู้ประพันธ์ (ผู้วิจัย) จึงมีความสนใจนำแนวคิดหรือแนวทางการสร้างสรรค์ของเขามาประพันธ์เพลงในรูปแบบดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการระลึกถึงนักดนตรีที่มีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊ส ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงหัตถยุทธ ลีลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดบทประพันธ์เพลงแจ๊สรูปแบบวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย 4 Episode สะท้อนศาสตร์และศิลป์ในมิติดนตรีแจ๊สที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาผลงานภาพวาดศิลปิน 4 คน จำนวน 4 ภาพ ได้แก่ 1. ชื่อผลงาน The Scream ผลงานจากศิลปิน เอ็ดวาร์ด มูงค์ (Edvard Munch, 1863-1944) สีสันในภาพแสดงอารมณ์และความรู้สึกภาพกระแสเอกซ์เปรชัน ศิลปะที่สำแดงพลังด้วยการใช้สีสันแสดงออกทางอารมณ์อย่างชัดเจน ไม่ซ้อนเร้น นอกจากนี้ผู้ประพันธ์นำสาระจากสมุดบันทึกของมูงค์มาเป็นแนวทางการประพันธ์เชื่อมโยงกับแนวคิดโมด กลุ่มเสียงกัด สะท้อนสีสันมิติเสียงจากเหตุการณ์หรืออารมณ์ความรู้สึกที่เกิดเรื่องราวขึ้นในภาพ 2. ชื่อผลงาน The Guitar Player ผลงานจากศิลปิน ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso, 1881-1973) ภาพกระแสคิวบิสม์ รูปทรงที่เกิดขึ้นในภาพเหล่านี้ถูกนำมาประติดประต่อประกอบเข้าด้วยกัน บางรูปอาจซ้อนทับกันหรือเหลื่อมซึ่งกันและกัน เส้นรูปทรงเหล่านี้แสดงถึงทิศทางการเคลื่อนไหว สะท้อนอารมณ์ต่าง ๆ ในช่วงเวลาต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้ผู้ประพันธ์จึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจเชื่อมโยงกับแนวคิดเชิงเทคนิคของดนตรีมินิมัลลิซึม ชื่อผลงาน Improvisation 28 ผลงานจากศิลปิน วาสซิลี คันดินสกี (Wassily Kandinsky, 1866-1944) แนวคิดภาพนี้เป็นการวาดโดยไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อนตามแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงาน Improvisation เฉกเช่นเดียวกับการอิมโพรไวส์ของนักดนตรีแจ๊สถูกนำมาสะท้อนแรงบันดาลใจแนวคิดดนตรีฟรีแจ๊ส ที่มักกำหนดกรอบแนวทางการบรรเลงไว้อย่างหลวม ๆ เพื่อให้สาระทางดนตรีฟรีแจ๊สเกิดขึ้นขณะบรรเลง นอกจากนี้ผู้ประพันธ์ได้นำแรงบันดาลใจจากรูปร่างลายเส้น มิติสีสัน และมิติช่องว่าง ที่ปรากฏในภาพมาเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดการประพันธ์ในแต่ละท่อน 4. ชื่อผลงาน Michael Jackson ผลงานจากศิลปิน แอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol, 1928-1987) แนวคิดป็อปอาร์ตสะท้อนให้เห็นกระแสจากประชานิยมที่เกิดขึ้นในสังคม ผู้ประพันธ์นำมาเป็นแรงบันดาลใจด้วยแนวคิดการคัดทำนองจากบทเพลงของไมเคิล แจ็กสัน ศิลปินนักร้องที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในกระแสดนตรีป็อปร็อก นำมาผสมผสานในการประพันธ์เพื่อเชื่อมโยงแนวคิดดนตรีแจ๊สและดนตรีป็อปร็อก สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน บทประพันธ์สะท้อนแรงบันดาลใจเพื่อระลึกถึงไมล์ส เดวิส ทั้งยังเป็นการตระหนักถึงบทบาทสำคัญเชิงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊สในหลายมิติทั้งด้านแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างบุคลากรทางดนตรีแจ๊สตลอดจนเป็นผู้นำดนตรีแจ๊สพัฒนาไปตามยุคสมัย กระทั่งก่อเกิดเป็นดนตรีแจ๊สลีลาต่าง ๆ มากมาย กล่าวได้ว่าเป็นมรดกอันมีค่าให้กับวงการดนตรีแจ๊สเป็นอย่างมาก แนวคิดทางดนตรีของเดวิสที่ผู้ประพันธ์ได้กำหนดแนวทางไว้ถูกนำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการสร้างสรรค์เพื่อสะท้อนแรงบันดาลใจดังกล่าว แนวคิดการประพันธ์ ผู้ประพันธ์นำแนวคิดทางดนตรีของเดวิสมาเป็นวัตถุดิบให้กับบทประพันธ์ด้วยแนวคิด สำคัญ 3 ประเด็นหลักคือ 1) แนวคิดดนตรีบีบ็อป 2) แนวคิดดนตรีโมดัลแจ๊ส และ 3) แนวคิดดนตรีฟิวชันแจ๊ส แต่ละประเด็นถูกนำมาสร้างสรรค์เพื่อให้บทประพันธ์ดำเนินไปตามแนวทางที่กำหนดทิศทางไว้ แนวคิดการประพันธ์ด้วยแนวคิดข้างต้นมีรายละเอียดเป็นดังนี้ แนวคิดดนตรีบีบ็อป ไมล์ส เดวิส ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางดนตรีกับชาร์ลี ปาร์คเกอร์ (Charlie Parker, 1920-1955) นักเล่นแซ็กโซโฟนคนสำคัญในวิถีดนตรีบีบ็อปช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1944-1948 อาจกล่าวได้ว่า ช่วงแรกของเดวิสนั้นได้รับอิทธิพลจากปาร์คเกอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่เขาได้เริ่มก่อตั้งวงดนตรีของตนเองขึ้น กระทั่งนำดนตรีแจ๊สพัฒนาไปตามยุคสมัยต่าง ๆ ในช่วงเวลาต่อมา แนวคิดดนตรีบีบ็อปถูกนำมาสะท้อนลงในท่อน A เพื่อเป็นการสื่อถึงช่วงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ดนตรีบีบ็อปจากปาร์คเกอร์ โดยผู้ประพันธ์นำแนวคิดดนตรีบีบ็อปมาสร้างสรรค์ซึ่งกำหนดให้การบรรเลงประกอบกลุ่มเครื่องจังหวะบรรเลงด้วยแนวคิดจังหวะสวิง (Swing) ที่มักพบได้บ่อยครั้งในดนตรีบีบ็อป ผู้เล่นกลองบรรเลงด้วยจังหวะสวิงผสมผสานกับผู้เล่นเบสบรรเลงด้วยแนวคิดวอล์กกิงเบสไลน์ (Walking Bass Line) ที่มีความโดดเด่นจากการบรรเลงด้วยโน้ตตัวดำเป็นส่วนใหญ่ แนวคิดดนตรีโมดัลแจ๊ส กล่าวได้ว่าผลงาน Kind of Blue บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1959 สังกัดค่าย Columbiaนำไปสู่วิถีแห่งดนตรีโมดัลแจ๊สมีความโดดเด่นด้านการเคลื่อนที่ของคอร์ดช้า สามารถเปิดโอกาสให้นักดนตรีมีความอิสระยิ่งขึ้นทั้งด้านการอิมโพรไวส์และด้านการบรรเลงประกอบ แนวคิดการดำเนินคอร์ดบทเพลง So What ในผลงานชิ้นนี้ของเดวิสมีการเคลื่อนที่ช้าประกอบด้วยคอร์ดเพียงเล็กน้อย ด้านการเคลื่อนที่มีลักษณะการดำเนินคอร์ดเคลื่อนที่สูงขึ้นครึ่งเสียงจากช่วงแรก จากนั้นจะกลับมายังการดำเนินคอร์ดเหมือนช่วงแรกอีกครั้งในช่วงท้าย แนวคิดดังกล่าวผู้ประพันธ์นำมาสะท้อนลงไปในการดำเนินคอร์ดช่วงการอิมโพรไวส์ของผู้เล่นทรัมเป็ตและผู้เล่นกีตาร์ไฟฟ้า เพื่อสื่อถึงแนวคิดการดำเนินคอร์ดที่ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดของเดวิสที่เขาสร้างสรรค์ไว้ในบทเพลง So What ที่มีความโดดเด่นในวิถีดนตรีโมดัลแจ๊ส แนวคิดดนตรีฟิวชันแจ๊ส ผลงานชื่อ Bitches Brew บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1970 สังกัดค่าย Columbia ผลงานชิ้นนี้ของเดวิสมีทิศทางไปในวิถีแห่งดนตรีฟิวชันแจ๊ส มีการนำเครื่องดนตรีไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจน ทั้งกีตาร์ไฟฟ้าหรือเปียโนไฟฟ้าได้เข้ามาร่วมกันสร้างมิติเสียง โดยเฉพาะบทบาทจากกีตาร์ไฟฟ้ากล่าวได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่โดดเด่นสำหรับดนตรีร็อก ถูกนำมาสร้างบทบาทสำคัญให้กับดนตรีฟิวชันแจ๊สของเดวิส การบรรเลงกีตาร์ไฟฟ้ามีการใช้อุปกรณ์แปลงเสียงกีตาร์ประเภทให้เสียงแตกพร่า เช่น โอเวอร์ไดรฟ์ (Overdrive) หรือดิสทอร์ชัน (Distortion) ช่วยสนับสนุนให้ผลงานมีความเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น นอกจากนี้ยังมีแนวคิดสำคัญอีกประการคือ การนำแนวคิดแวมป์ (Vamp) เข้ามาสอดแทรกในบทเพลงอยู่บ่อยครั้ง แวมป์เป็นแนวคิดการบรรเลงวนซ้ำ ๆ โดยมากมักมีบทบาทจากกลุ่มเครื่องจังหวะ จากแนวคิดข้างต้นของเดวิสผู้ประพันธ์นำมาสะท้อนลงในบทเพลงด้วยบทบาทจากกลุ่มเครื่องจังหวะผสมผสานกับกลุ่มเครื่องลม    การสร้างสรรค์แนวทำนอง ด้านการสร้างแนวทำนองและการดำเนินคอร์ด ปรากฏแนวคิดการใช้ตัวเลขเดือนเกิด- วันเกิด-ปีเกิดของเดวิสมาเป็นพื้นฐานเชื่อมโยงเข้ากับตัวโน้ต เพื่อสร้างเป็นวัตถุดิบให้กับกลุ่มโน้ตหลัก และกลุ่มโน้ตหลักนี้ถูกนำมาสร้างสรรค์ให้กับแนวทำนองและการดำเนินคอร์ด บทบาทกลุ่มโน้ตหลักสำหรับการสร้างสรรค์แนวทำนองปรากฏแนวคิดการไล่เรียงตามลำดับ ซึ่งการใช้แนวทางนี้มิติเสียงที่เกิดขึ้นนั้นถูกกำหนดไว้ด้วยตัวโน้ตจากกลุ่มโน้ตหลัก F-DF#-C#ADF# จึงจำเป็นต้องผสมผสานเข้ากับการใช้ช่วงเสียงควบคู่ไปกับลักษณะจังหวะหลากหลาย เช่น จังหวะขัด เพื่อสร้างสำเนียงแบบแจ๊ส การสร้างสรรค์แนวทำนองยังปรากฏแนวคิดเลียนแบบมิติเสียงสะท้อน โดยนำแนวคิดมาจากบทเพลง Bitches Brew ดังปรากฏในท่อน C แนวคิดนี้สร้างมิติเสียงซ้ำ ๆ และสนับสนุนให้มิติเสียงช่วงแนวทำนองท่อน C มีความแปลกใหม่ เนื่องจากการบรรเลงด้วยแนวคิดแวมป์มีเอกลักษณ์ด้านการบรรเลงวนซ้ำ ๆ ของกลุ่มเครื่องจังหวะมิติเสียงที่เกิดขึ้นจึงมีทิศทางคล้ายกัน การสร้างมิติเสียงแปลกใหม่เป็นสิ่งสำคัญสามารถสร้างความน่าสนใจ ตลอดจนช่วยให้บทบาทการบรรเลงแวมป์มีความหลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้การใช้ขั้นคู่เสียงต่าง ๆ ถูกนำมาผสมผสานไปกับแนวทำนองทั้งขั้นคู่เสียงกลมกลืนและกระด้าง การพิจารณาบทบาทขั้นคู่เสียงเหล่านี้นอกจากช่วยสนับสนุนแนวทำนองแล้ว ยังสามารถสร้างมิติเสียง อารมณ์ หรือบรรยากาศบทเพลง ให้มีความหลากหลาย เช่น บทบาทแนวทำนองกลุ่มเครื่องลม เป็นต้น                   การสร้างสรรค์การดำเนินคอร์ด ส่วนการสร้างสรรค์การดำเนินคอร์ด เป็นการนำกลุ่มโน้ตหลัก F-DF#-C#ADF# นำมาเชื่อมโยงเข้ากับคอร์ดต่าง ๆ แบ่งเป็น 2 ประเด็นสำคัญคือ 1) การบรรเลงไล่เรียงตามลำดับของกลุ่มโน้ตหลัก แนวคิดนี้จำเป็นต้องกำหนดชนิดคอร์ดให้ชัดเจน เพื่อสร้างมิติเสียงให้กับการดำเนินคอร์ด เช่น กรณีการดำเนินคอร์ดที่ปรากฏดังท่อน A นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องกำหนดทิศทางการบรรเลงให้สอดคล้องกับลีลาดนตรีแจ๊สต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการจัดวางแนวเสียงเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและสอดคล้องกับการดำเนินคอร์ดเหล่านี้ 2) นำกลุ่มโน้ตหลัก F-DF#-C#ADF# แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 FDF# ส่วนที่ 2 C#AD และส่วนที่ 3 F# เพื่อสร้างวัตถุดิบให้กับการดำเนินคอร์ดท่อน B และท่อน C ผสมผสานไปกับแนวคิดทางดนตรีโมดัลแจ๊สและดนตรี        ฟิวชันแจ๊สตลอดจนถึงแนวคิดแวมป์ หากพิจารณาภาพรวมแนวคิดการดำเนินคอร์ดทั้งหมด กล่าวได้ว่าเป็นการนำผลลัพธ์กลุ่มโน้ตหลักที่เชื่อมโยงกับตัวเลขเดือนเกิด-วันเกิด-ปีเกิดของเดวิส นำมาเป็นตัวกำหนดทิศทางให้กับการดำเนินคอร์ด จากนั้นจึงถูกนำมาพิจารณาเข้ากับขนิดคอร์ด    ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับลีลาทางดนตรี    แนวคิดแวมป์ การบรรเลงด้วยแนวคิดแวมป์ กล่าวได้ว่าเป็นเทคนิคสำคัญที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้อย่างเด่นชัด ผู้ประพันธ์นำแนวคิดการบรรเลงแวมป์มาจากแนวคิดทางดนตรีของเดวิส ซึ่งพบว่าแนวคิดการบรรเลงแวมป์ถูกสอดแทรกอยู่ในหลากหลายบทเพลงของเดวิส เช่น บทเพลง Milestones บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1958  สังกัดค่าย Columbia หรือบทเพลง Bitches Brew บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1969 สังกัดค่าย Columbia เป็นต้น แนวคิดการบรรเลงแวมป์ได้สร้างเอกลักษณ์ให้กับบทเพลงเหล่านี้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้ผู้ฟังจดจำบทเพลงเหล่านี้ได้สะดวกขึ้นจากการบรรเลงวนซ้ำ ๆ การพิจารณานำแนวคิดแวมป์มาใช้ในบทประพันธ์เพลง เดวิสฟินอมินอนพบว่าท่อน B และท่อน C มีการบรรเลงวนซ้ำจากกลุ่มเครื่องจังหวะสามารถสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับท่อนเพลงต่าง ๆ การบรรเลงวนซ้ำเสมือนเป็นการย้ำมิติเสียงที่ปรากฏขึ้นส่งผ่านไปยังผู้ฟังซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่กระนั้นการบรรเลงด้วยเทคนิคนี้จำเป็นต้องสร้างความแปลกใหม่หรือสร้างมิติเสียงให้มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นการบรรเลงวนซ้ำจากกลุ่มเครื่องจังหวะเป็นสำคัญ โดยมากบทบาทกลุ่มเครื่องจังหวะมักมีความโดดเด่นสำหรับการขับเคลื่อนมิติเสียงให้ดำเนินไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ หากบรรเลงวนซ้ำมากเกินไปอาจทำให้ผู้ฟังต้องการมิติเสียงที่มีความแปลกใหม่สอดแทรกเข้ามาผสมผสาน เพื่อสร้างความหลากหลายและไม่ทำให้แนวทางการบรรเลงด้วยเทคนิคแวมป์มีคุณค่าลดน้อยลงไป ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผศ.ดร.เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงหัตยุทธ ลีลา การศึกษาค้นคว้าข้อมูลประเด็นต่าง ๆ สำหรับการประพันธ์กำหนดประเด็นวิธีการดำเนินงานวิจัยและการประพันธ์เพลง แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นสำคัญ คือ พิจารณาคัดเลือกผลงานภาพ วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล กระบวนการสร้างสรรค์บทประพันธ์ ทั้ง 4 ประเด็นมีความสอดคล้องกันเพื่อให้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้รายละเอียดดังนี้ พิจารณาคัดเลือกผลงานจำนวน 4 ภาพ จากศิลปิน 4 คน โดยมีประเด็นแนวคิดการสร้างสรรค์หรือแรงบันดาลใจที่ผู้ประพันธ์ให้ความสนใจ สามารถเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดทางดนตรี ได้อย่างมีสาระ ผลงานที่ผู้ประพันธ์ให้ความสนใจได้แก่ 1) ผลงาน The Scream ของเอ็ดวาร์ด มูงค์ 2) ผลงาน The Guitar Player ของปาโบล ปิกัสโซ 3) ผลงาน Improvisation 28 ของวาซิลี คันดินสกี และ 4) ผลงาน Michael Jackson ของแอนดี วอร์ฮอล วิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาแนวคิดการสร้างสรรค์ ปรัชญาที่แฝงไว้ในภาพวาด ตลอดจนแรงบันดาลใจรวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญ แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประพันธ์รวบรวมมาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนมาเป็นแนวทางการศึกษา ทั้งนี้ผู้ประพันธ์นำแหล่งข้อมูลมาจากหนังสือ งานวิจัย บทความ โน้ตเพลง ข้อมูลจากเวบไซด์ เป็นต้น สังเคราะห์ข้อมูล ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่งผลให้สังเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ออกมาเป็นวัตถุดิบหลากหลาย ข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์เหล่านี้จะถูกนำมาเชื่อมโยงเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานนำไปเป็นแนวทางสู่การสร้างวัตถุดิบสำหรับการประพันธ์ต่อไป กระบวนการสร้างสรรค์บทประพันธ์ ผู้ประพันธ์กำหนดแนวทางไว้ดังนี้ 4.1 กำหนดกรอบแนวคิดการประพันธ์ และเทคนิคการประพันธ์ที่เหมาะสม4.2 สร้างสรรค์บทประพันธ์ตามกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้4.3 จัดเตรียมนักดนตรีให้เหมาะสมกับบทประพันธ์4.4. ฝึกซ้อมบทประพันธ์กับวงดนตรี ตลอดจนปรับแต่งบทประพันธ์ให้เหมาะสม4.5 บันทึกเสียงบทประพันธ์ทั้งหมด และผลิตเป็นแผ่น CD4.6 จัดพิมพ์โน้ตเพลงพร้อมอรรถาธิบายชุดบทประพันธ์เป็นรูปเล่ม4.7 เผยแพร่บทประพันธ์ด้วยการแสดงดนตรี และผลิตเป็นแผ่น DVD4.8 สรุปผลการดำเนินงาน และส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ส่วนกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน การศึกษาประเด็นต่าง ๆ ผู้ประพันธ์กำหนดประเด็นวิธีการดำเนินงานวิจัยและการประพันธ์เพลง แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นสำคัญ คือ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล และกระบวนการสร้างสรรค์บทประพันธ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ รวบรวมข้อมูล ดนตรีบีบ็อป ดนตรีคูลแจ๊ส ดนตรีฮาร์ดบ็อป ดนตรีโมดัลแจ๊ส และดนตรี ฟิวชันแจ๊ส ตลอดจนผลงานการประพันธ์ที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย เช่น หนังสือ งานวิจัย บทความ โน้ตเพลง เว็บไซต์ เป็นต้น วิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประพันธ์นำแนวคิดข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนมาเป็นแนวทางการศึกษา เพื่อให้ทราบถึงบริบทพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับไมล์ส เดวิส ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์แนวคิดผลงานการประพันธ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้ทราบถึงแนวทาง แนวคิด เทคนิค การประพันธ์ที่หลากหลายมิติ สังเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์เหล่านี้จะถูกนำมาเชื่อมโยงเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่แนวทางการสร้างสรรค์การประพันธ์ต่อไป กระบวนการสร้างสรรค์บทประพันธ์ ผู้ประพันธ์กำหนดแนวทางไว้ดังนี้ 4.1 กำหนดกรอบแนวคิดการประพันธ์ และเทคนิคการประพันธ์ที่เหมาะสม4.2 สร้างสรรค์บทประพันธ์ตามกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้4.3 จัดเตรียมนักดนตรีให้เหมาะสมกับบทประพันธ์4.4. ฝึกซ้อมบทประพันธ์กับวงดนตรี ตลอดจนปรับแต่งบทประพันธ์ให้เหมาะสม4.5 เผยแพร่บทประพันธ์ด้วยการแสดงดนตรี4.6 สรุปผลการดำเนินงาน และส่งรายงานการวิจัยสร้างสรรค์ฉบับสมบูรณ์4.7 เผยแพร่งานวิจัยสร้างสรรค์ในรูปแบบบทความวิจัย 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           สำหรับกรณีวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงหัตยุทธ ลีลา ด้านปัญหาและอุปสรรคหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ที่วางแผนไว้ต้องได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ได้รับผลกระทบคือการแสดงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบออนไลน์แทนการแสดงสดต่อสาธารณชน การรวมกลุ่มเพื่อการฝึกซ้อมร่วมกันทั้งหมดมีอุปสรรคเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องรอช่วงผ่อนปรนจากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้การฝึกซ้อมก็ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มเล็กเพื่อให้สามารถดำเนินไปตามเป้าหมายได้ตามลำดับ                     การใช้โปรแกรมเขียนโน้ตดนตรีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งต่อมิติเสียง จากจินตนาการของผู้ประพันธ์ส่งไปยังเหล่านักดนตรี ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดข้อจำกัดบางประการด้านมิติเสียงโปรแกรมเขียนโน้ตดนตรี ผู้ประพันธ์จึงมีความจำเป็นต้องใช้เสียงสังเคราะห์ที่มีความเสมือนจริงมาสื่อถึงมิติเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ให้นักดนตรีสามารถเข้าใจแนวทางการบรรเลง ด้วยขั้นตอนนี้หากอยู่ในสถานการณ์ปรกติสามารถรวมกลุ่มฝึกซ้อมได้จะช่วยประหยัดเวลาเพื่อให้นักดนตรีทราบถึงมิติเสียงหรือการบรรเลงได้                     ปัญหาด้านการบรรเลงด้วยแนวคิดหรือลีลาดนตรีต่าง ๆ เช่น กรณีการบรรเลงแนวคิดคอลเลคทีฟอิมโพรไวส์เซชัน ซึ่งผู้ประพันธ์กำหนดให้ท่อน A ของ Episode III: Improvisation 28 บรรเลงด้วยลีลาดนตรีฟรีแจ๊ส ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ยังส่งผลถึงช่วงเวลาในการบันทึกเสียงที่ไม่สามารถรวมกลุ่มได้ จำเป็นต้องใช้วิธีบันทึกเสียงแยกเครื่องดนตรีต่าง ๆ ออกมา การบรรเลงด้วยแนวคิดคอลเลคทีฟอิมโพรไวส์เซชันมีพื้นฐานจากแนวคิดอิมโพรไวส์ ไปพร้อมกัน การรับฟังกันและกันตลอดจนรับฟังมิติเสียงที่เกิดขึ้นพร้อมกับร่วมกันขับเคลื่อนมิติเสียงต่าง ๆ จากแนวคิดนี้สำหรับขั้นตอนการบันทึกเสียง ผู้ประพันธ์จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจร่วมกับนักดนตรีเนื่องจากไม่สามารถบันทึกเสียงแบบรวมกลุ่มได้ ส่งผลให้ต้องปรับเปลี่ยนวิธีแต่ยังสามารถสร้างมิติเสียงให้มีทิศทางเดียวกันกับแนวคิดคอลเลคทีฟอิมโพรไวส์เซชัน ด้วยการสร้างแนวทำนองอิมโพรไวส์ขึ้นมาเป็นต้นแบบและให้นักดนตรีบรรเลงให้สอดคล้องกับแนวคิดนี้ เช่น กรณีการบรรเลงคอลเลคทีฟอิมโพรไวส์เซชันร่วมกันระหว่างเทเนอร์แซ็กโซโฟนและทรอมโบน             ส่วนกรณีงานวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเดวิสฟินอมินอน ในส่วนของการปฏิบัติจริงด้านบทบาทเครื่องดนตรีผู้ประพันธ์พิจารณาบทบาทเครื่องดนตรีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสอดคล้องกับการจัดรูปแบบวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่หรือบิกแบนด์คือ กลุ่มเครื่องลมและกลุ่มเครื่องจังหวะ กลุ่มเครื่องลม มีบทบาทหน้าที่สำคัญด้านการบรรเลงแนวทำนอง สนับสนุนแนวทำนอง ตลอดจนสร้างสีสัน อารมณ์ หรือบรรยากาศ ขณะที่กลุ่มเครื่องจังหวะมีบทบาทสำคัญกับการบรรเลงด้วยแนวคิดแวมป์ เนื้อดนตรีที่ปรากฏมีลักษณะเนื้อดนตรีโฮโมโฟนีร่วมไปกับบทบาทเครื่องดนตรี หากพิจารณาภาพรวมทั้งหมดพบว่า ช่วงนำเข้าบทประพันธ์เสมือนเป็นการเชื้อเชิญผู้ฟัง ด้วยบทบาทจากเครื่องดนตรี 2 ชิ้นคือทรัมเป็ตและเปียโน จากนั้นจึงตามด้วยกลุ่มเครื่องลมและดำเนินเข้าสู่ท่อนต่าง ๆ โดยท่อน A ถึงท่อน C บทบาทกลุ่มเครื่องลมและกลุ่มเครื่องจังหวะทำหน้าที่บรรเลงร่วมกัน และบทประพันธ์เพลง เดวิสฟินอมินอน จบลงด้วยบทบาทจากกลุ่มทรัมเป็ต ด้านบทบาทเครื่องดนตรีบทประพันธ์เพลง เดวิสฟินอมินอน ผู้ประพันธ์พิจารณาบทบาทเครื่องดนตรีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสอดคล้องกับการจัดรูปแบบวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่หรือบิกแบนด์คือ กลุ่มเครื่องลมและกลุ่มเครื่องจังหวะ กลุ่มเครื่องลม มีบทบาทหน้าที่สำคัญด้านการบรรเลงแนวทำนอง สนับสนุนแนวทำนอง ตลอดจนสร้างสีสัน อารมณ์ หรือบรรยากาศ ขณะที่กลุ่มเครื่องจังหวะมีบทบาทสำคัญกับการบรรเลงด้วยแนวคิดแวมป์ เนื้อดนตรีที่ปรากฏมีลักษณะเนื้อดนตรีโฮโมโฟนีร่วมไปกับบทบาทเครื่องดนตรี หากพิจารณาภาพรวมทั้งหมดพบว่า ช่วงนำเข้าบทประพันธ์เสมือนเป็นการเชื้อเชิญผู้ฟัง ด้วยบทบาทจากเครื่องดนตรี 2 ชิ้นคือทรัมเป็ตและเปียโน จากนั้นจึงตามด้วยกลุ่มเครื่องลมและดำเนินเข้าสู่ท่อนต่าง ๆ โดยท่อน A ถึงท่อน C บทบาทกลุ่มเครื่องลมและกลุ่มเครื่องจังหวะทำหน้าที่บรรเลงร่วมกัน และบทประพันธ์เพลง เดวิสฟินอมินอน จบลงด้วยบทบาทจากกลุ่มทรัมเป็ต ปัญหาและอุปสรรค หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่กระบวนการสำหรับการจัดทำงานวิจัยสร้างสรรค์นี้ ล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 การรวมกลุ่มเพื่อฝึกซ้อมร่วมกันจำเป็นต้องดำเนินไปภายใต้มาตรการต่าง ๆ การแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเป็นทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาการรวมกลุ่มขนาดใหญ่ ผสมผสานไปกับการใช้ช่องทางออนไลน์สำหรับการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับเหล่านักดนตรี ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้ประพันธ์พบว่า การรวมกลุ่มสำหรับการฝึกซ้อมร่วมกันของนักดนตรีทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญ การสื่อสารกับเหล่านักดนตรีขณะฝึกซ้อมร่วมกันทั้งหมดสามารถช่วยสร้างความเข้าใจและแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยสถานการณ์โควิด

การสร้างสรรค์ผลงานดนตรีแจ๊สด้วยแนวคิดสหวิชา สู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัย Read More »

การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากล

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2 การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            ปัจจุบันจริยธรรมการวิจัยในคน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับงานวิจัยที่มีคนเป็นส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เพราะการเผยแพร่งานวิจัยที่มีคนเป็นส่วนร่วม ในวารสารนานาชาติ ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จะมีการขอใบรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ของงานวิจัยชิ้นนั้นๆ และที่สำคัญถ้างานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยจะใช้เป็นผลงานในการยื่นขอตำแหน่งวิชาการ จำเป็นต้องแนบใบรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน จากคณะ-กรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนมาด้วย ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ข้อที่ (6) หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันที่มีการดำเนินการ            ด้วยความจำเป็นข้างต้นทางมหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต หรือ Rangsit University – Ethical Review Board (RSU-ERB) หรือ เรียกย่อๆว่า คณะกรรมการฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อออกใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ให้กับ อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือในวงการวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนในระดับนานาชาติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้หน่วยงานอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมในคนมาตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการฯ โดย The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) หรือที่เรียกสั้นๆว่า SIDCER-FERCAP เป็นหน่วยงานอิสระระดับนานาชาติ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมในคนให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก คณะกรรมการจริยธรรมในคนของหน่วยงานใดที่ได้รับการรับรองจาก SIDCER-FERCAP จะเป็นคณะกรรมการจริยธรรมในคนที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากล  ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับความน่าเชื่อถือ ความเป็นสากล ความเป็นที่รู้จักและยอมรับของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของมหาวิทยาลัยรังสิต คณะกรรมการฯ จึงได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้ SIDCER-FERCAP เข้ามาประเมินการดำเนินการ           ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการฯ ได้รับการรับรองการดำเนินการจาก SIDCER-FERCAP สำนักงานจริยธรรมการวิจัยจึงได้ทำการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมิน โดยมีจัดการความพร้อมทั้งทางด้าน สถานที่, คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ, เอกสารการประเมิน, Standard Operating Procedures หรือ SOP และระบบการดำเนินการของสำนักงานจริยธรรมการวิจัยที่จะคอยสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ความรู้จากคลัง ความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)อื่นๆ : ระเบียบวิธีดำเนินการมาตรฐาน (Standard Operating Procedures) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เจ้าของความรู้/สังกัด  รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ 1. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ2. ขั้นตอนการเตรียม Standard Operating Procedures หรือ SOP3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการพิจารณาโครงการโดยคณะกรรมการฯ4. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรอง และการติดตามการปิดโครงการ5. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและการจัดการเอกสาร 1. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ในขั้นตอนนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ     1.1 คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ ในการคัดเลือกคณะกรรมการฯ นั้นคณะกรรมการฯ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้         – ทุกคนต้องมีใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในคนมาตรฐานของ GCP, SOP         – มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ของตนเป็นอย่างดี         – มีการเซ็นต์รับรองการปกปิดความลับ และ conflict of interest     1.2 สำนักงาน และงบประมาณ         – คณะกรรมการฯ มีสำนักงานเป็นของตนเอง คือสำนักงานจริยธรรมการวิจัยในคน ห้อง 504 ชั้น 5 อาคารอาทิตย์            อุไรรัตน์ และ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในส่วนของงานจริยธรรมการวิจัยจำนวน 2 คน คือคุณวุฒิศักดิ์ อยู่จำนงค์            และคุณเบญจพร เกาะแก้ว ดังแสดงในรูปที่ 1         – สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มีงบประมาณเป็นของตนเอง โดยได้ทำเรื่องขอแยกงบจากสถาบันวิจัย ตั้งแต่ปี 2566     1.3 การฝึกอบรม          สำนักงานจริยธรรมการวิจัยได้มีการจัดการอบรมในเรื่องหัวข้อจริยธรรมการวิจัยในคนในมาตรฐานของ GCP, SOP           เป็นประจำทุกปี 2. ขั้นตอนการเตรียม Standard Operating Procedures หรือ SOP        คณะกรรมการฯได้ปรับปรุง SOP ให้มีความทันสมัย และทำปฏิบัติได้จริง โดยมีการปรับปรุงเล่ม SOP version 2.0 เป็นเล่ม SOP version 2.1 ดังแสดงในรูปที่ 2 โดยเนื้อหาหลักที่แก้ไขหลัก เป็นแนวทาง และระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ ให้สามารถทำได้จริงตามที่ได้ระบุไว้ในเล่ม SOP 3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการพิจารณาโครงการโดยคณะกรรมการฯ        ในขั้นตอนนี้สำนักจริยธรรมการวิจัยได้จัดการอบรมให้ความรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์กับคณะกรรมการฯ เป็น ประจำทุกปี ดังแสดงในรูปที่ 3 เพื่อให้คณะกรรมาการฯ มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยในคนที่แม่นยำ สามารถที่จะนำเอาความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆมาพิจารณาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจารกนี้สำนักงานจริยธรรมการวิจัยยังได้ประชาสัมพันธ์การอบรมจริยธรรมการวิจัยในคนที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกให้คณะกรรมการฯได้ทราบ เพื่อกรรรมการที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมอบรมได้ 4. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมด้านการติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรอง และการติดตามการปิดโครงการ        สำนักงานจริยธรรมมีการใช้ระบบสารสนเทศในการติดตามโครงการที่ได้รับหนังสือรับรองแล้ว และโครงการที่ถึงกำหนดส่งรายงานการปิดโครงการ โดยจะมีการทำหนังสือติดตามส่งไปให้หัวหน้าโครงการ 1 อาทิตย์ ก่อนจะถึงกำหนด 5. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและการจัดการเอกสาร        สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มีระบบในการจัดการเอกสารอย่างมีระบบ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับความลับ โดยมีการแบ่งเอกสารออกเป็น active document คือ เอกสารของโครงการที่ยังไม่ปิดโครงการ และ inactive document คือเอกสารของโครงการที่ปิดโครงการแล้ว ซึ่งเอกสารต่างๆจะถูกเก็บในตู้เก็บเอกสาร ในห้องเก็บเอกสารภายในสำนักงานจริยธรรมการวิจัย โดยที่ห้องเอกสารนั้นจะมีการติดตั้งกุญแจ digital ซึ่งมีเพียงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นถึงจะทราบรหัสเปิดห้อง เพื่อป้องกันเนื้อหาในโครงการรั่วไหล ดังแสดงในรูปที่ 4 2. Prototype testing in an operational environment – DO          หลังจากที่สำนักงานจริยธรรมการวิจัยได้เตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัย ในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) แล้วนั้น ในวันที่ 28– 30 สิงหาคม 2566 คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ได้รับการตรวจรับรองคุณภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ณ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย ห้อง 1-505 และห้องประชุม 1-301 มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้        1. ศ. เกียรติคุณ ดร. พญ. จันทรา กาบวัง เหล่าถาวร, Survey Coordinator        2. ผศ. ดร. พญ. พรรณทิพา ว่องไว, Lead Surveyor        3. รศ. ดร. พญ. ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม, Local Surveyor        4. ดร. พญ. อรวรรณ ศิลปะกิจ, Local Surveyor        5. Dr. Sangeeta Desai, Foreign Surveyor From India        6. รศ.ดร. อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา Assistance Surveyor        7. กรรมการจากหน่วยงานรัฐ และเอกชน อีกจำนวน 15 คน           3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK           หลังจากที่ จาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) ได้เข้ามาประเมินการดำเนินงานของคณะกรรมฯ ระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคม 2566 แล้วนั้น หลังจากการประเมินทาง SIDERFERCAP ได้ให้ระกาศนียบัตรการเข้ามาตรวจประเมินการดำเนินงานของคณะกรรมฯ ดังแสดงในรูปที่ 6 ใบ ประกาศนียบัตรนี้ไม่ได้แปลว่าคณะกรรมการฯ จะผ่านการประเมิน โดย SIDER-FERCAP จะส่งข้อแก้ไขต่างๆมาให้ ทางคณะกรรมการฯ แก้ไขเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 หลังจากแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้วคณะกรรมการฯ จะส่งข้อแก้ไข และ action planไปให้ทาง SICER-FERCAP พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้คณะกรรมการฯ อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขตามข้อเสนอแนะ และจัดทำ action plan เพื่อส่งกลับไปให้ทาง SIDER-FERCAP พิจารณา คาดว่าภายในเดือนมีนาคม 2567 จะส่งเอกสาร และ action plan กลับไปให้ SIDER-FERCAP ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         ถ้าคณะกรรมการฯ ได้ผ่านการรับรองจาก SIDER-FERCAP คณะกรรมการฯ จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรอง ซึ่งจะสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการวิชาการและการวิจัย

การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากล Read More »

กระบวนการและขั้นตอนการขอรับจดทะเบียนทรีพย์สินทางปัญญา

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1 กระบวนการและขั้นตอนการขอรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ผู้จัดทำโครงการ​ คุณณัฐวรรณ วาเรืองศรี สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในปัจจุบันเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามีบทบาทสําคัญอย่างมากในสถาบันการศึกษา มีการตื่นตัว ในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดรายได้กลับสู่สถาบันการศึกษาและบุคลากรที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยมหาวิทยาลัยรังสิตก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญและเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของมหาวิทยาลัย  ดังนั้นการใช้ประโยชน์ รวมถึงทั้งการให้ความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ แก่นักวิจัยเ ซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้ผู้อื่นแสวงหาประโยชน์จากผลงานนั้น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งใหม่ๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง           สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในเรื่องการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิต จากอดีตที่ผ่านมาจนถึง ณ.ปัจจุบัน พบว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัย มีการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญามีปริมาณค่อนข้างน้อย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุกระบวนและขั้นตอนในการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา มีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก ในเรื่องการจัดเตรียมเอกสารในการยื่น ซึ่งส่งผลให้การยื่นจดทะเบียนจนกระทั่งได้รับใบรับรองใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน  บางครั้งอาจมีมากถึง 3-5 ปี ดังนั้นหากมีหน่วยงานที่ให้คำปรึกษา ตั้งแต่การร่างคำขอและการทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีเครื่องมือที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้งาน และทำงานในทุกๆ สถานที่ได้ตลอดเวลา ก็จะเป็นการอำนวยความสะดวก และช่วยให้บุคลากรทำงานง่ายขึ้น และอาจทำให้มีการตื่นตัว ในเรื่องการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น   ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา (https://www.ipthailand.go.th/th/)   เว็บไซต์สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา (https://biip.rsu.ac.th/patent/)   วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ ผู้มีความประสงค์จะยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร  มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้      ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นคำขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (สำหรับบุคลากร มรส.) 1.ยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยเตรียมข้อมูลการประดิษฐ์ เนื้อหารายละเอียดตามไฟล์ข้อ 1- 6 และส่งเป็นไฟล์รูปแบบ word มายัง E-mail: bsic@rsu.ac.th ท่านสามารถศึกษา ตัวอย่างการเขียนคำขอสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร หรือ คำชี้แจงในการเตรียมคำขอ ได้ดังนี้ (ส่งไฟล์ Zip ให้ทางอีเมล์) แบบฟอร์ม Invention disclosure รายละเอียดการประดิษฐ์ รูปเขียน (ถ้ามี) ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์ หนังสือยืนยันประเภทในการยื่นคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์อนุสิทธิบัตร 2.สำนักงานฯ ตรวจสอบและแก้ไขความถูกต้องของคำขอ และส่งให้ผู้ประดิษฐ์ตรวจสอบ 3.หากไม่มีข้อแก้ไขเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ จะจัดทำเอกสารประกอบ (หนังสือโอนสิทธิ) ส่งให้ผู้ประดิษฐ์และคณะลงนาม (โดยคณะผู้ประดิษฐ์แนบสำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ท่านละ 1 ฉบับ โดยไม่ต้องลงวันที่กำกับ) 4.สำนักงานฯ รวบรวมเอกสารและส่งให้สำนักงานนิติการ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารลงนาม5.สำนักงานฯ ส่งเอกสารไปยังสำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญา6.สำนักงานฯ จะนำส่งสำเนาเอกสารการจดทะเบียนให้กับทางผู้ประดิษฐ์ทุกครั้ง และผู้ประดิษฐ์สามารถเช็คสถานะของผลงานของตนเองได้ที่เว็บไซต์ https://biip.rsu.ac.th/patent/  2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา ได้จัดทำเวปไซต์ของหน่วยงานขึ้นมา เพื่อให้บุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตได้เข้าไปอ่านรายละเอียดและการดาวน์โหลดเอกสาร รวมถึงกระบวนการในการจัดทำเอกสาร และการติดตามเอกสารในแต่ละขั้นตอน และในอนาคตทางสำนักงานฯ จะมีตัวแทนสิทธิบัตรที่จะช่วยในการของการจัดทำเอกสารให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อลดระยะเวลาในการได้รับใบรับรองทรัพย์สินทางปัญญาแบบสมบูรณ์                อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ซึ่งอาจส่งผลให้มีการยื่นจดทรัพย์สินยังมีปริมาณน้อย อาทิเช่น                -บุคลากรบางท่านไม่ทราบว่าในนามมหาวิทยาลัยรังสิต จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนด้านทรัพย์ทางปัญญา และไม่ต้องเดินทางไปดำเนินการด้วยตนเองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา                  -บุคลากรส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา สามารถเบิกค่าตอบแทนของผลงานได้และนำไปกรอกในข้อมูลประกันคุณภาพประจำปีการศึกษาเพื่อเพิ่มจำนวนค่าถ่วงน้ำหนักของผลงานด้านวิชาการได้           -บุคลากรที่เป็นผู้ประดิษฐ์ส่วนใหญ่มัก ไม่เข้าใจในเรื่องระยะเวลาและขั้นตอนการทำงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณการยื่นจดของทั้งประเทศ    3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่            ปัจจุบันทางสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำเว็บไซต์ https://biip.rsu.ac.th/patent/  ที่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีรายละเอียดของสถานะการจดทรัพย์สินทางปัญญา แบบ Real Time ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร   ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ปัจจุบันทางสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำเว็บไซต์ https://biip.rsu.ac.th/patent/  ที่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีรายละเอียดของสถานะการจดทรัพย์สินทางปัญญา แบบ Real Time ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร

กระบวนการและขั้นตอนการขอรับจดทะเบียนทรีพย์สินทางปัญญา Read More »

การสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ทางด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.2.3 การสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ทางด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ในผู้ที่มีภาวะลองโควิด (Long COVID) เพื่อต่อยอดการพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก ผู้จัดทำโครงการ​ ดร.ภญ.ธิติยา ลักคุณะประสิทธิ์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           ในปัจจุบันด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว ในระยะเฉียบพลันการติดโรคโควิด-19 มีผลกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันหลายอย่างที่เป็นสาเหตุให้เกิดกระบวนการอักเสบและเป็นเหตุให้การทำงานของอวัยวะหลายระบบล้มเหลวได้ ทั้งนี้ที่สำคัญการได้รับเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายหลังจากรักษาหายแล้ว แต่ผู้ได้รับเชื้อหลายรายยังมีอาการของบางระบบที่เป็นปัญหาและอุปสรรคของสภาวะสุขภาพ เนื่องจากระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เป็นผลให้อวัยวะนั้น ๆ ได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย เช่น อาการปอดบวม หรือ เนื้อปอดถูกทำลาย โดยระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในรักษา และการกำจัดเชื้อโควิดในร่างกาย หรือที่เรียกว่าภาวะลองโควิด (Long COVID) โดยกลุ่มอาการนี้สามารถพบได้ถึงร้อยละ 30-50 ทั้งที่มีสาเหตุหลักจาก เครียดสะสม หรือเป็นผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในระหว่างการรักษา เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โรคแฝง หรือบางรายอาจติดเชื้อโควิดซ้ำแต่คนละสายพันธุ์ พืชสมุนไพรไทยหลายชนิด ได้แก่ มะนาว ใบหญ้านาง ข่า พริกไทย ใบกัญชา ฯลฯ มีประวัติการใช้ตามภูมิปัญญาโดยใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารตลอดจนใช้สำหรับดูแลสุขภาพตลอดจนรักษาโรค ซึ่งมีผลการศึกษาในหลอดทดลองหลายการศึกษาที่สนับสนุนว่าพืชสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ลดกระบวนการอักเสบได้ ในบทบาทของการเป็นอาจารย์ผู้สอนของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตที่จะต้องมีภาระทั้งการสอน และการทำวิจัยควบคู่ไปด้วย ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการใช้พืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในการบำรุง ดูแล รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา โดยบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาในรูปแคปซูลที่สะดวกต่อการรับประทาน ซึ่งในเบื้องต้นมีผลกาวิจัยในหลอดทดลองที่สนับสนุนความปลอดภัยและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวซึ่งได้มีการเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติแล้ว ดังนั้นจึงมีโครงการศึกษาวิจัยประสิทธิผลในด้านการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยภาวะลองโควิด ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระดับคลินิกในมนุษย์เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไป ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           เรียนรู้การต่อยอดงานวิจัยเบื้องต้นเรื่อง การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหลอดทดลองของสมุนไพรไทยสูตรผสม (In vitro antioxidant, anti-inflammatory, and anticancer activities of mixture Thai medicinal plants) ที่ได้ดำเนินการสำเร็จต่อยอดขยายไปสู่การออกแบบการศึกษาในมนุษย์ในเชิงลึกและบูรณาการมากขึ้น บริบทการดำเนินการวิจัยที่เน้นการทำงานเป็นทีม ที่ประกอบด้วยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขา เพื่อให้งานวิจัยสัมฤทธิ์ผลดีและประหยัดเวลาในการดำเนินงาน ดังนั้นการสร้างทีมวิจัยและเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวางแผนงานที่สามารถปรับให้เข้ากับบริบทของงานวิจัย ทั้งนี้ที่สำคัญคือการดำเนินงานวิจัยในปัจจุบันต้องมุ่งเน้นบูรณาการในการต่อยอดสร้างมูลค่าจากผลลัพธ์ของที่เกิดจากกระบวนการวิจัย และการวางแผนสำหรับเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ดร.ภญ.ธิติยา ลักคุณะประสิทธิ์ และ ผศ.ดร.ภก.อภิรุจ นาวาภัทร  วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ ตั้งคำถามวิจัยและทบทวนวรรณกรรม เขียนโครงร่างวิจัย ขอรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย เปิดรับสมัครอาสาสมัครร่วมโครงการ ดำเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้น บันทึกข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ จัดทำรายงานการวิจัย เตรียมเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน          มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยครบตามจำนวนที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต โครงการวิจัยดำเนินการศึกษาวิจัยแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา ตลอดจนได้ผลการศึกษานำร่องเกี่ยวกับประสิทธิผลและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยเพื่อดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่มีภาวะลองโควิด เป็นแนวทางกำหนดแผนดำเนินงานวิจัยสมุนไพรไทยในอนาคต และเป็นข้อมูลให้แก่บริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ปเพื่อใช้วางแผนพัฒนาการผลิตและการตลาดเพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มประชาชนที่จะได้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นี้ทั้งในและต่างประเทศ  นอกจากนี้ผลการวิจัยยังอยู่ในช่วงเตรียมบทความต้นฉบับสำหรับเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ          3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่            การดำเนินการวิจัยได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสื่อภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิต ผลการศึกษาวิจัยที่ได้จะนำไปสู่การเผยแพร่บทความวิจัยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยของสูตรตำรับยาสมุนไพรที่คิดค้นโดยนักวิจัยชาวไทย และเป็นข้อมูลที่สนับสนุนประสิทธิผลและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคลียร์-บีลอง พลัส ผสมใบกัญชา โดยบริษัทนารีฟาร์มา กรุ๊ป ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติในประเทศไทย อันจะสืบเนื่องไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นแหล่งของพืชสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบในการเตรียมผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และการประชาสัมพันธ์สู่สังคมภายนอกอื่น ๆ ทำให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องกับภาวะลองโควิด ได้มีช่องทางและทางเลือกในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในด้านการแพทย์ทางเลือกมากขึ้นด้วย ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice            การวิจัยทางคลินิกโดยใช้กลุ่มประชากรศึกษาเป็นมนุษย์มีข้อจำกัดหลายด้านทั้งด้านปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับโรคที่เป็นสมมติฐานในการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ในการดูแล รักษาสุขภาพ อายุ เพศ การดำเนินโรค ข้อจำกัดทางด้านจริยธรรมการวิจัย ตลอดจนเศรษฐานะอันจะส่งผลต่อความสะดวกในการเดินทางเพื่อให้สามารถเข้าร่วมโครงการวิจัยได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนสิ้นสุดโครงการวิจัย ดังนั้นในกระบวนการสร้างเครื่องมือและเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการวิจัย นักวิจัยควรมีการคำนวณกลุ่มประชากรศึกษาให้เหมาะสมอย่างเพียงพอ ตลอดจนการสร้างเกณฑ์การคัดเข้า หรือคัดออกของกลุ่มประชากรศึกษาต้องมีความรัดกุมเพื่อให้ประชากรศึกษาที่ตรงบริบทของงานวิจัยเพื่อให้ได้ผลการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนและเที่ยงตรง ดังนั้นการเตรียมการให้มีความพร้อมให้ครอบคลุมปัจจัยด้านต่าง ๆ จึงเป็นข้อควรคำนึงพื้นฐานสำหรับการดำเนินการวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์

การสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ทางด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย Read More »

กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3, 5 : KR 3.2.1 KR 5.2.1 กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จากสำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้จัดทำโครงการ​ อ.นภาพรรณ พงษ์พวงเพชร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานในระดับประเทศจาก  สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  จึงจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการดำเนินการของห้องปฏิบัติการ จากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติได้ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            การดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ                         ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : จากการลงมือปฏิบัติจริง วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ งทะเบียนเข้าร่วมอบรมจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยแม่ข่าย ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินการ ลงทะเบียนเพื่อขอรับเลขห้องปฏิบัติการใน เว็ปไซด์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ทำการประเมินห้องปฏิบัติการในระบบ จัดทำแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการ ดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการตามแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ ตามข้อกำหนดในระบบให้ได้มากที่สุด ปรึกษาวิทยากร เพื่อหาทางปรับเปลี่ยนแก้ไขหรือหาวิธีการทดแทนตามข้อกำหนด (สามารถปรึกษาศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้) ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการหลังการดำเนินการ ส่งภาพห้องปฏิบัติการ ก่อน-หลังดำเนินการ รวมทั้งแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการให้ทันตามกำหนด โดยก่อนและหลังดำเนินการต้องมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน กรรมการจากมหาวิทยาลัยแม่ข่ายพิจารณาการภาพถ่ายและแผนการยกระดับ หรือพิจารณาออนไลน์ เมื่อได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น ให้ส่งแผนการใช้งบประมาณสนับสนุนการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ สำหรับห้องปฏิบัติการใหม่ ให้จัดทำโปสเตอร์แสดงผลการดำเนินงาน และส่งบทคัดย่อให้ผู้ประสานงานโครงการ ให้ทันตามกำหนด เพื่อรับการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอการดำเนินงานในงานประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง กรณีที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง เพื่อนำเสนอระดับประเทศ  ให้จัดทำโปสเตอร์นำเสนอผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้ง 7 ด้านของข้อกำหนด โดยเน้นจุดเด่นในการดำเนินการให้มากที่สุด สำหรับห้องปฏิบัติการเก่า ให้เข้าร่วมอบรมในกิจกรรมการธำรงรักษาด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและการยกระดับความปลอดภัย และส่งแผนการดำเนินงานพัฒนาห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมให้ครบตามเอกสารแบบฟอร์มที่แจ้งมา และต้องส่งเอกสารให้ทันตามเวลากำหนดซึ่งระยะเวลาการส่งเอกสารไม่เกิน 1 สัปดาห์ ดังนั้นจึงควรจัดทำเอกสารไว้ล่วงหน้าหลังการอบรม เมื่อส่งเอกสารครบถ้วน จะได้รับทุนสนับสนุนห้องปฏิบัติการเต็มจำนวน 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน 1. นำไปใช้กับ ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ห้องปฏิบัติการมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความเรียบร้อย ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของห้องปฏิบัติการจากการได้ไปนำเสนอในระดับประเทศ2.บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามมาตรการห้องปฏิบัติการปลอดภัย3.บุคลากร นักศึกษา พนักงานทำความสะอาด มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัย  และมีขั้นตอนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม    3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK 3.1 การตรวจสอบผลการดำเนินการ  ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยการประเมินตนเองภายหลังการดำเนินการ ตามข้อกำหนด ในระบบ EspreL checklist  3.2  การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ 3.2.1  การได้รับเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในการประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง วันที่ 23 มกราคม 2567  ณ โรงแรม รามา การ์เด้นส์ 3.2.2ได้รับเชิญจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติให้เป็นวิทยากร ในการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับโรงเรียน รุ่นที่ 12 ณ จ.พระนครศรีอยุธยา  วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับเชิญจาก กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ศูนย์ พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สวทช.) จำนวน  2 กลุ่มห้องปฏิบัติการ  และห้องปฏิบัติการของการประปานครหลวง จำนวน 1 ห้องปฏิบัติการ ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์ระดับโรงเรียน ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 3.3 สรุปอภิปรายผล  บทสรุปความรู้                เมื่อทำตามขั้นตอนตามวิธีการดำเนินการ กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ    โดยครบถ้วน ผลที่ได้รับคือ ได้รับโล่รางวัลโล่ ห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่น ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินการยกระดับห้องปฏิบัติการ ได้รับทุนสนับสนุนการธำรงรักษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้น ปัจจัยในความสำเร็จของกลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นี้คือ  หัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้ดูแลห้องปฏิบัติการต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย สอดคล้องตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วนทุกองค์ประกอบ  องค์กรมีวัฒนธรรมความปลอดภัยและมีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย

กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) Read More »

แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย (กรณีศึกษาข้อมูลบริการวิชาการ)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.2.1 แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย (กรณีศึกษาฐานข้อมูลบริการวิชาการ) ผู้จัดทำโครงการ​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี ศูนย์บริการทางวิชาการ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           งานบริการวิชาการเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมและในด้านที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน และสังคมการให้บริการทางวิชาการอาจมีทั้งแบบที่มีรายได้หรือแบบให้เปล่า ซึ่งการให้บริการทางวิชาการนอกจากเป็นการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยเองยังได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งทำให้เกิดการบูรณาการระหว่าง การเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการบริการวิชาการนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต้องใช้ในการรายงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น รายงานด้านประกันคุณภาพ การประเมินประจำปี ซึ่งการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวต้องการความถูกต้องรวดเร็ว หากไม่มีระบบฐานข้อมูลกลาง จะทำให้ต่างคนต่างจัดเก็บ ทำให้ประเด็นเรื่องของความถูกต้องจำเป็นต้องตรวจสอบเพิ่มเติม และที่เป็นปัญหาหลักคือการรวบรวมข้อมูลนั้นทำได้ยาก ตลอดจนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน เมื่อรวบรวมมาแล้วจึงต้องนำมาจัดรูปแบบใหม่ จึงจะสามารถประมวลผลข้อมูลต่อได้                ผู้ให้ความรู้เล็งเห็นว่าการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต จะสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยจะพัฒนาในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน (Web application) ติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) เครื่องของผู้ใช้หรือเครื่องไคลเอนต์ (Client) ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายจะสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมผ่านเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม ระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิตที่พัฒนาขึ้นจะเป็นฐานข้อมูลกลาง ที่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้งานระบบในวงกว้าง มีการนำเข้าข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนของบุคลากรและหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัย โดยระบบดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทั้งในส่วนของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในการบันทึกและค้นคืนข้อมูลงานบริการวิชาการได้เป็นอย่างดี                                                                        ประเด็นข้างต้นเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่จะนำไปสู่แนวทางในการจัดทำระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย  ซึ่งควรเป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัย ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้  การพัฒนาระบบฐานข้อมูล       วชี้วัดด้านประกันคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับงานบริการวิชาการ          การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่น                       ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ ศึกษาตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพรวมไปถึงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ประสานงานกับสำนักงานบุคคลเพื่อขอปรับปรุงเกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพรวมไปถึงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย จัดทำระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลสำหรับงานบริการวิชาการ เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการประเมินบุคลากรประจำปีได้ทันที หากมีการบันทึกข้อมูลลงในระบบนี้ สื่อสาร ทำความเข้าใจ และประสานงานเพื่อให้เกิดการใช้งานระบบสารสนเทศดังกล่าว ประเมินผล ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การนำไปใช้หรือการลงมือปฏิบัติจริง ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น สามารถเข้าถึงได้จาก URL: http://asc.rsu.ac.th/servicedata ได้ถูกใช้งานครั้งแรกในปีการศึกษา 2564 และได้ใช้งานต่อเนื่องในปีการศึกษา 2565 ซึ่งระบบดังกล่าวมีการนำข้อมูล 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ตรงกับเกณฑ์การประเมินบุคลากรในข้อ 3.1 โครงการบริการวิชาการแบบมีรายได้ และ 3.2 โครงการบริการวิชาการเพื่อสนับสนุนงานประกันคุณภาพ ทางศูนย์บริการทางวิชาการซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงตามพันธกิจ จะเป็นผู้กรอกข้อมูลเข้าระบบตามกระบวนการในแต่ละปีการศึกษา เนื่องจากจำเป็นต้องตรวจสอบในส่วนของความถูกต้องของข้อมูลเป็นพิเศษ ส่วนที่ตรงกับเกณฑ์การประเมินบุคลากร 3.3 ได้รับเชิญเป็นวิทยากร อาจารย์พิเศษ กรรมการ อนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ 3.4 ได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานวิชาการ บุคลากรจะเป็นผู้กรอกเอง เนื่องจากทางศูนย์บริการทางวิชาการจะไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว และได้อำนวยความสะดวกในการจัดทำระบบให้กับบุคลากร ซึ่งข้อมูลในส่วนดังกล่าว ทางบุคลากรจะสามารถ Print จากระบบเป็นไฟล์หรือเป็นกระดาษ ตามแนวทางของหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           เนื่องจากในปี 2564 เป็นการเริ่มใช้ครั้งแรกและในการประเมินบุคลากรยังเปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถดำเนินการเองได้โดยไม่ผ่านระบบทั้งหมด ทำให้มีผู้ใช้งานเข้ามาใช้งานเพียงบางส่วน แต่เมื่อมีการกำหนดชัดเจนแล้วในปี 2565 จึงไม่เกิดปัญหาดังกล่าว           อุปสรรคอีกประการหนึ่ง คือระบบฐานข้อมูลบุคลากรยังไม่มีข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับสังกัดคณะ/หลักสูตร ทำให้ในช่วงพัฒนาไม่ได้พัฒนาในส่วนของการยืนยันผลการดำเนินงานในข้อ 3.3 และ 3.4 ได้ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ ผลการดำเนินการ มีข้อมูลที่บันทึกเข้าสู่ระบบ ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 จำนวนข้อมูลที่ได้รับการบันทึกเข้าสู่ระบบ จากตารางที่ 1 จะพบว่าในปีการศึกษา 2565 มีการใช้งานระบบและมีการบันทึกข้อมูลในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นสูงกว่าปีการศึกษา 2565 ทุกด้าน ผู้วิจัยในทำการประเมินผลการใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิตหลังจากหมดปีการศึกษา 2565 ซึ่งผู้วิจัยจะนำเสนอผลการประเมินในแต่ละข้อและในภาพรวม โดยรายงานคะแนนเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากผู้ประเมิน จำนวน 30 คน โดยผลการประเมินแสดง ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต  จากตารางที่ 2 ผลการประเมินผลการใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต อยู่ในระดับมากที่สุด  ( =4.66, S.D.=0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ประเมินมีความรู้สึกดีหรือมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเฉพาะด้านความสะดวกในการเริ่มใช้งานระบบเพราะไม่ต้องติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติม และด้านความสะดวกในการเข้าสู่ระบบ ด้วยบัญชีผู้ใช้ของมหาวิทยาลัย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเหมาะสมเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience) ในการใช้งานระบบ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดเท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 ดังนั้น บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบคือ ระบบสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูล จากส่วนกลาง มีความสำคัญ แต่หากไม่มีนโยบายหรือกฎเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยสนับสนุน ก็จะไม่ทำให้เกิดการใช้งานเท่าที่ควร และหากงานดังกล่าวไม่ใช้ภารกิจหลักด้วยแล้ว โอกาสที่บุคลากรจะใช้ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นยิ่งเป็นเรื่องที่ยากขึ้น แต่สำหรับกรณีที่นำเสนอ ทางมหาวิทยาลัยได้มีการปรับเกณฑ์การประเมินบุคลากร ซึ่งระบบสารสนเทศนี้ได้พัฒนาให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน ช่วยสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน และในอีกมุมหนึ่ง หน่วยงานกลางหรือศูนย์บริการทางวิชาการจะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ทำให้สามารถนำไปวางแผนปรับปรุงหรือส่งเสริมงานบริการวิชาการต่อไปได้  ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           นโยบายของมหาวิทยาลัยต้องชัดเจน และบังคับใช้อย่างเข้มงวด ส่งเสริมให้หน่วยงานหรือบุคลากรที่ยังไม่ใช้ระบบ เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อประโยชน์ทั้งส่วนตนและประโยชน์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรตระหนักถึงภารกิจด้านบริการวิชาการมากขึ้นด้วย           ในส่วนของระบบสารสนเทศ ในข้อ 3.3 และ 3.4 หากมีการพัฒนาเพิ่มเติมให้ทางคณะ/หน่วยงาน สามารถเข้ามายืนยันสิ่งที่บุคลากรบันทึกเข้าระบบได้ จะทำให้ข้อมูลที่อยู่ในระบบมีความถูกต้องและนำไปใช้อ้างอิงต่อได้           ดังนั้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย ควรมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้ชัดเจน ให้เห็นเป้าหมายก่อนว่าต้องการจัดเก็บไปเพื่ออะไร หากเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นหรือมีความสำคัญกับมหาวิทยาลัยด้วยยิ่งดี ข้อมูลที่จัดเก็บหากนำมาเชื่อมโยงกับการประเมินประจำปีได้ จะช่วยสร้างระบบกลไกในเชิงนโยบาย เพื่อให้เกิดการดำเนินการบันทึกข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งผู้บันทึกและส่วนของมหาวิทยาลัยที่จะนำข้อมูลไปใช้ สร้างระบบที่ช่วยให้ผู้บันทึกข้อมูลสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในงานอื่นๆ ของตนเองได้ จะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกได้ถึงความสำคัญของการดำเนินการมากกว่าการดำเนินการตามระบบกลไก

แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย (กรณีศึกษาข้อมูลบริการวิชาการ) Read More »

การทำวารสารเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.3.1 การทำวารสารเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์ ผู้จัดทำโครงการ​ คุณรัตนาภรณ์ กาศโอสถ สำนักหอสมุด หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          วารสารรังสิตสารสนเทศเป็นวารสารทางวิชาการทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  ที่ผลิตโดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ด้วยดำริของอดีตผู้อำนวยสำนักหอสมุด ดร.อุทัย ทุตยะโพธิ ในแนวคิดที่อยากเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้กับบรรณารักษ์ ด้วยการจัด Journal Club ขึ้น โดยให้บรรณารักษ์ ได้มีการอ่านบทความ อ่านหนังสือที่น่าสนใจ และนำความรู้ที่ได้มาสรุปและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  เมื่อดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง เพื่อให้เกิดมีการนำองค์ความรู้ต่างๆ ออกสู่สาธารณะ จึงได้มีการจัดทำวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ โดยให้บรรณารักษ์เริ่มฝึกการเขียนบทความ การแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้อาจารย์ หรือบรรณารักษ์จากสถาบันอื่นๆ มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้วย ซึ่งวารสารมีชื่อว่า “วารสารรังสิตสารสนเทศ” ฉบับปฐมฤกษ์ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดีอนมกราคม-มิถุนายน 2539                                  การจัดทำวารสารในระยะแรก มีการหมุนเวียนบรรณารักษ์หัวหน้าแผนกเป็นบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ โดยจะร่วมกันทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ที่สนใจเขียนบทความ ลงในวารสารทั้งภายในและภายนอก ด้วยข้อมูลความรู้ต่างๆ ทางด้านสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์นั้น ไม่ค่อยมีแหล่งที่จะให้เกิดการเผยแพร่บทความงานวิจัย บทความวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับอาจารย์ / บรรณารักษ์ / นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการหาแหล่งตีพิมพ์  เพื่อต้องการปรับคุณวุฒิ หรือต้องการเผยแพร่ผลงาน ให้ความสนใจอยู่พอสมควร                                                 ต่อมาการจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศ มีการดำเนินงานที่เป็นรูปแบบทางวิชาการมากขึ้น กำหนดรูปแบบการเขียนบทความที่ชัดเจน กำหนดเนื้อหา รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม มีที่ปรึกษาประจำวารสารประกอบด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา  กองบรรณาธิการประจำวารสารได้เชิญนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกจากสถาบัน การศึกษาต่างๆ มาเป็นกองบรรณาธิการประจำวารสาร เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมาเป็นผู้อ่านและประเมินบทความก่อนได้รับการตีพิมพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฯลฯ แต่ละบทความจะมีผู้ทรงคุณวุฒิอ่านบทความ 3 ท่าน ซึ่งบทความจากภายในจะต้องสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัย บทความจากภายนอกสามารถสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิได้ทั้งภายในและภายนอก แต่ไม่ใช่ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันเดียว/หน่วยงานกันกับผู้เขียน               มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจน  เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัย องค์ความรู้ทางวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ระบบสารสนเทศและการจัดการ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์  และศึกษาศาสตร์ โดยเปิดรับบทความจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย  ประเภทบทความวิจัย (Research article) บทความวิชาการ (Academic article) บทความปริทัศน์ (Review article) และบทความแนะนำหนังสือ (Book Review) บทความที่เสนอลงตีพิมพ์สามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ บทความที่เสนอลงตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน ผู้เขียน จะต้องเคร่งครัดในจรรยาบรรณไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และเป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนบทความเท่านั้น สำหรับกำหนดระยะเวลาการเผยแพร่วารสารรังสิตสารสนเทศ คือจะเพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม                                                      ต่อมาในปี พ.ศ. 2559  สำนักหอสมุดได้นำเสนอ “วารสารรังสิตสารสนเทศ” ให้ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centra : TCI) พิจารณารับรองคุณภาพวารสารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยได้ประกาศผลการจัดกลุ่มและพิจารณานำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI  เมื่อวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2559  วารสารรังสิตสารสนเทศมีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลการอ้างอิงวารสารไทย กลุ่ม 2 ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ถึงปัจจุบัน             และสืบเนื่องด้วยกระบวนการในการรับ-ส่ง บทความจากผู้เขียน  การส่งบทความให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ และการแก้ไขต่างๆ  มีขั้นตอนที่ไม่สะดวกเท่าที่ควรและเกิดความล่าช้าจากกระบวนการทางสำนักหอสมุดจึงได้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศให้มีการลดขั้นตอนให้สะดวกยิ่งขึ้นทั้ง ผู้ส่ง ผู้รับ และผู้ทรงคุณวุฒิขึ้น ระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) ทำให้มีบริการวารสารรังสิตสารสนเทศแบบออนไลน์บนเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศที่ https://rilj.rsu.ac.th เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ผู้เขียน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศเป็นปี่ที่ 29 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคา-ธันวาคม 2566 รวมเป็นระยะเวลา 28 ปี มีจำนวนวารสารรังสิตสารสนเทศตีพิมพ์เผยแพร่มากถึง 56 ฉบับ                                                                    ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง  (Explicit Knowledge) :  อื่นๆ ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศ สำนักหอสมุด (https://rilj.rsu.ac.th)  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ เมื่อผู้เขียนส่งบทความเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลวารสารรังสิตสารสนเทศ คณะผู้จัดทำวารสารจะทำการตรวจสอบ เมื่อบทความผ่านการพิจารณาจากคณะผู้จัดทำวารสารแล้ว จะดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านและประเมินบทความ พร้อมแจ้งชำระค่าเผยแพร่บทความ                            ทำหนังสือเชิญเพื่อทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านและประเมินบทความ                     เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิตอบรับ คณะผู้จัดทำวารสารจะดำเนินการจัดทำหนังสือเพื่อส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่าน โดยมีเอกสารประกอบการจัดส่งดังนี้    4.1 หนังสือขอความอนุเคราะห์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอานและประเมินบทความ                                        4.2 บทความต้นฉบับ      4.3 แบบประเมิน                                                                                                      เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิอ่านและประเมินบทความเรียบร้อยและส่งกลับ คณะผู้จัดทำวารสารจะดำเนินการแจ้งให้ผู้เขียนบทความ เพื่อปรับแก้บทความตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะไว้                           หลังจากผู้เขียนบทความมีการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว คณะผู้จัดทำวารสารจะทำการตรวจสอบรายละเอียดให้ตรงตามแบบฟอร์มของวารสาร             ขอ DOI ประจำบทความไปที่สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ที่ https://doi.nrct.go.th    ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วนำเผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศ สำนักหอสมุดที่ https://rilj.rsu.ac.th                     ทำการบันทึกข้อมูลบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารรังสิตสารสนเทศลงในระบบ Fast-track Indexing ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ( Thai-Journal Citation Index Centre: TCI )                            2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           การจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 30 สำนักหอสมุดได้เผยแพร่วารสารมากกว่า 58 ฉบับ ปัจจุบันมีการเผยแพร่วารสารผ่านเว็บไซต์ที่ https://rilj.rsu.ac.th โดยผู้เขียนสามารถส่งบทความและดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว          ภาพที่ 1 หน้าจอเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศ ภาพที่ 2 หน้าจอสำหรับผู้เขียนเข้าสู่ระบบ ภาพที่ 3 หน้าจอเข้าสู่ระบบการส่งบทความต้นฉบับ ภาพที่ 4 หน้าจอแสดงบทความต้นฉบับที่ส่งเข้าระบบ (สำหรับคณะผู้จัดทำวารสาร) ภาพที่ 5 หน้าจอสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิเข้าสู่ระบบ ภาพที่ 6 หน้าจอสำหรับคณะผู้จัดทำจัดการระบบ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่             การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาวารสารรังสิตสารสนเทศของสำนักหอสมุด เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านทางวารสารรังสิตสารสนเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการทำงาน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลสูงยิ่งขึ้น  บุคลากรสำนักหอสมุด เกิดการพัฒนาในด้านการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารจัดการวารสาร และได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์จากการพัฒนาคุณภาพวารสาร เช่น วิธีการประสานงานและรับบทความจากผู้เขียน การประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ การปรับแต่งเว็บไซต์วารสาร เป็นต้น                                 งานจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศ มีแนวปฏิบัติที่มีมาตรฐาน ส่งผลให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพ เช่น หน้าเว็บไซต์วารสารและระบบการส่งบทความออนไลน์มีมาตรฐานตามที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)    มีการบันทึกข้อมูลบทความวารสารเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล TCI แบบ Fast Track (Fast-track Indexing System)เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง และสมบูรณ์ของข้อมูลสำหรับการสืบค้นข้อมูล                                                       สำนักหอสมุดเป็นแหล่งรวบรวมและให้บริการเผยแพร่วารสารรังสิตสารสนเทศ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของสำนักหอสมุดในการรวบรวมและเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ            ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           เนื่องด้วยระบบฐานข้อมูลวารสารรังสิตสารสนเทศ เป็นฐานข้อมูลที่แสดงผลการสืบค้นเฉพาะวารสารรังสิตสารสนเทศเพียงวารสารเดียวไม่สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของวารสารอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย  เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้สืบค้นข้อมูลได้ครบถ้วน สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ควรเข้าร่วมและใช้ระบบฐานข้อมูล RSU Journals 3.0 เป็นแหล่งรวมการเผยแพร่บทความในวารสารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรังสิต                 วารสารรังสิตสารสนทศของสำนักหอสมุด ได้จัดทำมาเป็นเวลา 28 ปี มีการพัฒนาเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2  ด้วยความมุ่งมั่นของคณะผู้ดำเนินงานที่จะร่วมกันผลักดันให้วารสารรังสิตสารสนเทศก้าวสู่กลุ่ม 1 ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre : TCI) ในเวลาต่อไป  

การทำวารสารเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ Read More »

การพัฒนาระบบสวัสดิการบุคลากร (RSU Welfare Online)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.2.1 การพัฒนาระบบสวัสดิการบุคลากร (RSU Welfare Online) ผู้จัดทำโครงการ​ คุณเพ็ญนภา กุลกานต์สวัสดิ์ สำนักงานบุคคล หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​ สวัสดิการ เป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการของสำนักงานบุคคล และเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ให้กับบุคลากร ดังที่สำนักงานบุคคลได้เสนอแผนยุทธศาสตร์ของการเป็น Smart Organization โดยมี Key Point คือ การทำให้บุคลากรอยู่ในองค์กรอย่างมีความสุขนั้น ซึ่งประเด็นแรกที่สำนักงานบุคคลได้ดำเนินงานคือการพัฒนาระบบสวัสดิการเข้าสู่ระบบออนไลน์                การใช้สวัสดิการการรักษาพยาบาลนั้นจะมีอยู่ 2 แบบคือ                1.การใช้ใบส่งตัว (ใช้กับสถานพยาบาลในเครือและโรงพยาบาลคู่สัญญา โดยไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาล)                2.การสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล                สำนักงานบุคคลได้เล็งเห็นว่าการใช้ใบส่งตัวในรูปแบบที่ 1 สามารถนำขั้นตอนการดำเนินการแบบที่เป็นอยู่พัฒนาเข้าสู่ระบบออนไลน์ได้ ซึ่งการนำขั้นตอนการดำเนินงานจากระบบกระดาษเข้าสู่ระบบออนไลน์นั้น จะช่วยแก้ปัญหาสะสมที่เกิดขึ้นมาตลอดคือ การเสียเวลาของบุคลากรในการมาติดต่อขอรับใบส่งตัวที่สำนักงานบุคคล วันหยุดยาวที่ไม่สามารถมารับใบส่งตัวได้ ยอดค่ารักษาพยาบาลคงเหลือที่ไม่อัพเดท ความล่าช้าของข้อมูล ความไม่สะดวกในการติดต่อสอบถามยอดค่ารักษาต่างๆ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานของสำนักงานบุคคล เพื่อให้สามารถนำเวลามาพัฒนาต่อยอดงานอื่นๆ  ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ความเข้าใจในระบบภาพรวมของการใช้สวัสดิการการรักษาพยาบาลของบุคลากร ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการทำงานเป็นทีม/การทำงานข้ามหน่วยงาน/ทักษะในการติดต่อประสานงาน การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : อื่น ๆ แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต (ยุทธศาสตร์ที่ 3 – Smart Organization) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด   สำนักงานบุคคล เจ้าหน้าที่/ผู้ใช้ระบบจากสถานพยาบาลต่างๆ  ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี นายขุนคำ ปองรักษา วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ Knowledge Vision –KV “การพัฒนาระบบสวัสดิการออนไลน์เพื่องดใช้ใบส่งตัว” Knowledge Sharing -KS แผนการดำเนินงานม.ค.2565 – พ.ค.2565– ประชุมหารือการออกแบบระบบร่วมกันกับผู้เขียนระบบและสถานพยาบาลภายในมหาวิทยาลัยรังสิต ระบบจะถูกออกแบบเป็น 3 ส่วนของผู้ใช้งานได้แก่                    – ระบบส่วนของสำนักงานบุคคล                                                   – ระบบส่วนของสถานพยาบาล                   – ระบบส่วนของบุคลากร มิ.ย. 2565– เริ่มให้สถานพยาบาลภายในทดลองใช้ระบบ โดยมีการจัดอบรมเพื่ออธิบายการใช้ระบบให้ผู้ใช้งานของสถานพยาบาล พร้อมทั้งมีคู่มือการใช้งานให้กับสถานพยาบาล ทั้งนี้มีการสร้างกลุ่ม Line สถานพยาบาลเพื่อแจ้งปัญหาในการใช้ระบบ โดยมีการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาอย่างสม่ำเสมอ ส.ค.2566– เริ่มให้โรงพยาบาลคู่สัญญา (โรงพยาบาลภายนอก) ทดลองใช้ระบบ โดยยังเป็นการทดลองใช้ระบบแบบคู่ขนานกับการใช้ใบส่งตัว ซึ่งหากโรงพยาบาลพบปัญหาสามารถแจ้งผ่านตัวแทนที่ดูแลระบบได้โดยตรง เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีและไม่เกิดความสับสนและล่าช้าในการติดต่อ พ.ย.2566 – จากการพัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลเปาโล รังสิต เป็นโรงพยาบาลภายนอกแรกที่ไม่ต้องใช้ใบส่งตัวในการเข้ารับการรักษา ปัจจุบัน– บุคลากรสามารถเข้ารับการรักษาทั้งจากสถานพยาบาลภายในเครือมหาวิทยาลัยรังสิตได้โดยไม่ต้องใบส่งตัว รวมถึงโรงพยาบาลเปาโลสามารถเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว สำหรับโรงพยาบาลปทุมเวช โรงพยาบาลแพทย์รังสิต โรงพยาบาลวิภาวดี ยังเป็นระบบคู่ขนาน แต่หากบุคลากรไม่ได้นำใบส่งตัวไป ทางโรงพยาบาลสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากระบบ ซึ่งสำนักงานบุคคลจะประกาศแจ้งให้บุคลากรทราบอย่างเป็นทางการอีกครั้ง  Knowledge Assets –KA จากการพัฒนาระบบเรื่อยมาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปีมานั้น ระบบได้ถูกพัฒนาจนสามารถเก็บฐานข้อมูลของบุคลากรได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญในการนำไปใช้และต่อยอดการพัฒนาระบบอื่นๆต่อไปได้  2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                 ปัจจุบันสำนักงานบุคคลใช้ระบบสวัสดิการออนไลน์ตั้งแต่ มิถุนายน 2565 โดยเริ่มจากทดลองให้สถานพยาบาลภายในเครือมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ระบบ และเริ่มทดลองให้โรงพยาบาลคู่สัญญา (โรงพยาบาลภายนอก) ใช้ระบบเมื่อ พฤศจิกายน 2566                อุปสรรคหรือปัญหา ในช่วงแรกมีค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กรไม่ใช่ระบบสำเร็จรูป จึงต้องค่อยๆแก้ปัญหาที่พบเพื่อให้ระบบออกมาดีที่สุด โดยเฉพาะการคำนวณยอดรวมของเงินค่ารักษาพยาบาลให้ถูกต้อง อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือความง่ายต่อผู้ใช้งานระบบ ระบบต้องใช้งานง่าย ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องหมั่นตรวจสอบ ติดตาม จากทั้งสถานพยาบาลภายในและภายนอก จากเจ้าหน้าที่บุคคลที่ใช้ระบบ ว่าพบเจอปัญหาหรือต้องการปรับปรุงแก้ไขตรงส่วนใดหรือไม่ พร้อมกับแก้ไขปัญหาและพัฒนาเรื่อยมาตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีในการใช้งานระบบ       3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่           การตรวจสอบผลการดำเนินการพบว่า หลังจากนำระบบสวัสดิการออนไลน์มาใช้ มีดังนี้    ประการแรก ข้อมูลที่สำนักงานบุคคลบันทึกไว้ มีความถูกต้อง สอดคล้องกับการทำงานได้มากกว่าและตรวจสอบได้มากกว่าระบบเก่าซึ่งเป็นระบบสำเร็จรูป    ประการที่สอง สถานพยาบาลสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ผ่านระบบ ทั้งข้อมูลชื่อ-สกุลของผู้เข้ารับการรักษา ข้อมูลของผู้ที่มีสิทธิใช้สวัสดิการ ข้อมูลงบสวัสดิการที่ใช้ได้ สามารถเรียกดูรายงานเพื่อสรุปยอดในแต่ละเดือน หรือดูบันทึกการเข้ารับการรักษาได้ นอกจากนี้งบสวัสดิการคงเหลือยังเรียลไทม์เพื่อที่จะแก้ปัญหาการใช้สวัสดิการเกินตามสิทธิ์ได้    ประการที่สาม ลดขั้นตอนการปฏิบัติตนและปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ คือการงดใช้ใบส่งตัว ทำให้บุคลากรเข้ารับการรักษาพยาบาลได้สะดวกและรวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการในการขอใบส่งตัวและการออกรายงานของสถานพยาบาล    ประการที่สี่ บุคลากรสามารถตรวจสอบข้อมูลสวัสดิการของตนเอง ข้อมูลผู้ใช้สิทธิ์ร่วม รายการรับการรักษาทั้งผ่านระบบสวัสดิการและผ่านทาง Line Official Account ซึ่งช่องทางนี้จะประกาศให้บุคลากรในเดือนเมษายน 2567 นี้           การพัฒนาระบบสวัสดิการนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานบุคคลที่ดูแลระบบเรื่องการใช้สวัสดิการบุคลากร ซึ่งจะทราบขั้นตอนการดำเนินงานเป็นอย่างดี สถานพยาบาลที่ได้แบ่งปันข้อมูลในการดำเนินงานของตนเอง และผู้เขียนระบบ การทำงานร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย จึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้ระบบได้รับการพัฒนาออกมาอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการทำงานให้มากที่สุด           บทสรุปของการพัฒนาระบบสวัสดิการออนไลน์นั้น                   – มีฐานข้อมูลตั้งต้นสำหรับนำไปพัฒนาต่อ                   – ลดขั้นตอนที่ไม่มีความจำเป็น ลดการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย                   – สร้างความร่วมมือข้ามหน่วยงาน การทำงานข้ามหน่วยงานเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้การทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อกัน            บทสรุปสุดท้ายของการพัฒนาระบบสวัสดิการออนไลน์ ระบบนี้จะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะช่วยให้บุคลากรมีความสะดวกและเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมความเป็น Smart Organization ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice            เริ่มต้นของการเสนอแผนยุทธศาสตร์ในเรื่อง Smart Organization ประจำปี 2566-2567 ของสำนักงานบุคคลนั้น ได้เสนอเรื่องการยกระดับการให้บริการ RSU HR Connect แผนแรกคือระบบสวัสดิการออนไลน์ (Welfare) โดยสำนักงานบุคคลได้วางแผนไว้ว่าระบบนี้จะเป็นระบบตั้งต้นเพื่อพัฒนาต่อยอดได้ การที่สำนักงานบุคคลเลือกระบบสวัสดิการเป็นประการแรกเพราะเล็งเห็นว่า เรื่องสวัสดิการมีความสำคัญต่อบุคลากร โดยเฉพาะสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลมีความสำคัญกับบุคลากรค่อนข้างมาก ซึ่งที่ผ่านมาการใช้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียเวลาเกินความจำเป็น จึงตัดสินใจพัฒนาระบบนี้เป็นระบบตั้งต้น ระบบนี้จะมีข้อมูลของบุคลากรที่จำเป็นอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ดีในการที่หน่วยงานอื่นสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อหน่วยงานอื่นต้องใช้ข้อมูลบุคลากร จะต้องขอจากสำนักงานบุคคลเท่านั้น และเป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลบุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น ระบบนี้จึงมีข้อมูลพื้นฐานที่จะเป็นข้อมูลกลางให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในอนาคต

การพัฒนาระบบสวัสดิการบุคลากร (RSU Welfare Online) Read More »

การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินภายในของศูนย์บริการวิชาการด้วย Google Sheet

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.2.1, KR 3.4.1, KR 3.4.3, KR 3.4.4 การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินภายในของศูนย์บริการทางวิชาการ ด้วย Google Sheet ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ดร.ธรรณพ อารีพรรค, คุณนงเยาว์ พุ่มประเสริฐ, คุณสุภาวิตา ตรุยานนท์ และ ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี ศูนย์บริการทางวิชาการ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​             ศูนย์บริการทางวิชาการเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการวิชาการแก่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีการดำเนินงานที่หลากหลาย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1. งานบริการทางวิชาการและหน่วยบริการทางวิชาการ 2. งานประกันคุณภาพด้านการบริการวิชาการ 3. งานอบรมหลักสูตรระยะสั้น และ 4.งานอบรมภายในสำหรับบุคลากร (Cyber U) ทั้งนี้ในการดำเนินงานของแต่ละส่วนงานดังกล่าว จะมีประเด็นด้านการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการรับและเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการต่างๆ ดังนั้นศูนย์บริการทางวิชาการ จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่รับหน้าที่ในการดำเนินการด้านการเงินภายในศูนย์ฯ ให้เก็บเอกสารหลักฐานการรับและจ่าย พร้อมทั้งออกเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการเก็บไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งนำเงินส่งทางมหาวิทยาลัยตามประเภทงานต่างๆ และส่งสรุปข้อมูลให้คณะใช้เป็นข้อมูลประกอบงานประกันคุณภาพและรายงานตามตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษา โดยการดำเนินนั้นจะจัดเก็บและบันทึกข้อมูลในรูปแบบของกระดาษเป็นส่วนใหญ่ โดยมีแผนภาพการดำเนินการเบื้องต้นดังรูปต่อไปนี้           จากรูปข้างต้นจะพบว่าเจ้าหน้าที่การเงินจะมีการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในรูปแบบกระดาษ แล้วจึงส่งต่อข้อมูลในรูปกระดาษเพื่อให้เจ้าที่สรุปข้อมูลบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม excel เพื่อดำเนินการสรุปข้อมูลต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินการ โดยสรุปได้ในเบื้องต้นดังนี้1. ตัวเลขจากเจ้าหน้าที่การเงินไม่สอดคล้องกับเจ้าหน้าที่สรุปข้อมูล2. ไม่สามารถติดตามข้อมูลต่างๆของเจ้าหน้าที่การเงินได้แบบออนไลน์และเรียลไทม์3. การดำเนินการต่างๆมีความล่าช้าเนื่องจากเอกสารค่อนข้างเยอะ4. ไม่สามารถสรุปข้อมูลได้แบบออนไลน์และเรียลไทม์ ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จะทำให้การดำเนินงานด้านการเงินและการติดตามข้อมูลต่างๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการจึงเสนอให้มีการใช้ Google Sheet เข้ามาใช้ในการจัดการงานด้านการเงินในการบันทึกข้อมูลการรับเงิน การเบิกจ่าย พร้อมทั้งใช้ในการออกใบสำคัญรับเงิน ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ ใบสำคัญจ่าย ใบอนุมัติเช็ค และใบอนุมัติถอนเงิน อีกทั้งสามารถใช้ในการสรุปข้อมูลต่างๆ โดยสามารถเรียกดูข้อมูลทั้งหมดได้พร้อมๆกันหลายๆในรูปแบบออนไลน์แบบเรียลไทม์อีกด้วย ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้                               จากการวิเคราะห์รูปแบบของงานด้านการเงินที่มีอยู่ในศูนย์บริการวิชาการนั้น ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการได้มีการใช้ Google Sheet เข้ามาใช้ในการจัดการงานด้านการเงิน โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่สำคัญดังต่อไปนี้ ความรู้ด้านการบันทึกบัญชีและการเงิน: การนำ Google Sheet มาใช้ในการบันทึกข้อมูลการรับเงิน การเบิกจ่าย และการจัดทำเอกสารทางการเงินต่างๆ เช่น ใบสำคัญรับเงิน ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ ใบสำคัญจ่าย ใบอนุมัติเช็ค และใบอนุมัติถอนเงิน ทำให้การบันทึกและจัดการข้อมูลทางบัญชีและการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ: การใช้ Google Sheet ซึ่งเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ทำงานแบบเรียลไทม์ ช่วยให้การเข้าถึงและแชร์ข้อมูลทำได้สะดวกรวดเร็ว ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูและแก้ไขข้อมูลพร้อมกันได้ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการติดตามข้อมูล ความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล: Google Sheet มีฟังก์ชันและเครื่องมือที่หลากหลายในการประมวลผลและสรุปข้อมูล ทำให้สามารถนำข้อมูลที่บันทึกไว้มาวิเคราะห์และจัดทำรายงานสรุปในรูปแบบต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและวางแผนงานของผู้บริหารได้ดียิ่งขึ้น ความรู้ด้านการทำงานเป็นทีม: การใช้ Google Sheet ยังช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม เนื่องจากสมาชิกในทีมสามารถเข้าถึง แก้ไข และปรับปรุงข้อมูลได้พร้อมกันแบบเรียลไทม์ ทำให้เกิดการสื่อสารและประสานงานที่ดี ลดความผิดพลาดและความล่าช้าในการทำงาน           ด้วยความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการจึงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการนำ Google Sheet มาประยุกต์ใช้ในการจัดการงานด้านการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความโปร่งใส และการทำงานเป็นทีมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการทำงานแบบเดิมและยกระดับการดำเนินงานของศูนย์บริการทางวิชาการโดยรว ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : Google Sheet ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  บุคลากรในศูนย์บริการทางวิชาการ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้           ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการจัดประชุมบุคลากรภายในหน่วยงานเพื่อสอบถามถึงการทำงาน ปัญหา อุปสรรค รวมทั้งกำหนดพัฒนางาน และแนวทางในการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล โดยมีแผนสำหรับการปรับปรุงการทำงานด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชา ดังนี้ ส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าอบรมการใช้งานโปรแกรม Excel มอบหมายให้รองผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบให้รองรับการทำงานด้านการเงินของศูนย์ทางวิชาการโดยใช้ Google Sheet เนื่องจากมีหลักการทำงานเหมือน Excel แต่ Google Sheet สามารถเข้าใช้งานได้พร้อมกันหลายๆคนในรูปแบบออนไลน์ และสามารถเรียนดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย ทดลองนำมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                ผลการดำเนินการแผนสำหรับการปรับปรุงการทำงานด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชา ดังนี้ บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมการอบรมเรื่อง พื้นฐานการจัดการข้อมูลด้วย EXCEL รุ่นที่ 1 จัดโดย สำนักงานพัฒนาบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต บรรยายโดย ผศ.ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี รองผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาได้พัฒนาระบบการทำงานด้านการเงินของศูนย์ทางวิชาการบน Google Sheet เพื่อนำมาใช้ในการบันทึกข้อมูลการรับเงิน การเบิกจ่าย และการจัดทำเอกสารทางการเงินต่างๆ เช่น ใบสำคัญรับเงิน ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ ใบสำคัญจ่าย ใบอนุมัติเช็ค และใบอนุมัติถอนเงิน ทำให้การบันทึกและจัดการข้อมูลทางบัญชีและการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง โดยมีออกแบบ Sheet ต่างๆ และมีการผูกสูตรคำนวณเพื่อให้ข้อมูลในแต่ล่ะ Sheet เชื่อมโยงกัน เพื่อแสดงผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้ โดยออกแบบไว้ทั้งหมด 10 Sheet โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้                    2.1)  โครงการ: สำหรับใช้ในการบันทึกข้อมูลโครงการทั้งหมด ตัวอย่างเช่น รหัสโครงการ ชื่อโครงการ หน่วยงานที่ว่าจ้าง มูลค่างาน หัวหน้าโครงการ คณะวิทยาลัย ประเภท เปอร์เซ็นต์ งวดงานทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการกำหนดประเภทของโครงการต่างๆไว้อย่างชัดเจน ดังรูปต่อไปนี้                    2.2) รับ: ใช้ในการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรับเงินเข้าในบัญชี โดยจะมีการเชื่อมโยงรหัสโครงการทำให้สามารถทราบได้ทันทีว่ายอดเงินที่รับเข้ามาจะถูกหักเข้ามหาวิทยาลัยเป็นจำนวนเงินเท่าไ ตัวอย่างดังรูปต่อไปนี้                    2.3) ใบเสร็จรับ: ใช้สำหรับพิมพ์ใบสำคัญรับเงิน โดยผู้ใช้สามารถกรอกเลขรับจากข้อ2 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับพิมพ์ใบสำคัญรับเงิน ดังนี้                    2.4) จ่าย: ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลการเบิกจ่ายในโครงการต่างๆ ดังนี้                    2.5) เบิก: ใช้สำหรับพิมพ์ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ โดยผู้ใช้สามารถกรอกรหัสจ่ายจากข้อ4 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับพิมพ์ใบเบิกค่าบริการทางวิชาการ ดังนี้                    2.6) ใบสำคัญจ่าย: ใช้สำหรับพิมพ์ใบสำคัญจ่าย โดยผู้ใช้สามารถกรอกรหัสจ่ายจากข้อ4 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับพิมพ์ใบสำคัญจ่าย ดังนี้                    2.7) อนุมัติจ่ายเช็ค: ใช้สำหรับพิมพ์ใบขออนุมัติโอนเงินสำหรับออกเช็ค โดยผู้ใช้สามารถกรอกรหัสจ่ายจากข้อ4 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับใบขออนุมัติโอนเงินสำหรับออกเช็ค ดังนี้                    2.8) อนุมัติถอนเงิน: ใช้สำหรับพิมพ์ใบขออนุมัติโอนเงิน โดยผู้ใช้สามารถกรอกรหัสจ่ายจากข้อ4 เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงในหน้านี้สำหรับใบขออนุมัติโอนเงิน                    2.9) แยกประเภทรายได้: ใช้สำหรับดูสรุปรายได้แยกตามประเภทงานต่างๆ ดังนี้                    2.10) แยกคณะ: ใช้สำหรับดูสรุปรวมรายรับ-รายจ่ายแยกตามคณะ           3. ทดลองนำระบบการดำเนินการด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชาการบน Google Sheet มาใช้ในการปฏิบัติงานจริง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่                จากการใช้งานระบบการดำเนินการด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชาการบน Google Sheet เป็นระยะเวลาหนึ่ง ทางศูนย์ฯ ได้ทำการตรวจสอบผลการดำเนินการและพบว่า ระบบใหม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในระบบเดิมได้เป็นอย่างดี การบันทึกข้อมูลการรับ-จ่ายเงินมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากขึ้น การออกเอกสารทางการเงินต่างๆ ทำได้รวดเร็วและมีความผิดพลาดน้อยลง และการสรุปรายงานทางการเงินสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ยังสามารถติดตามผลการดำเนินการในโครงการต่างๆได้แบบเรียลไทม์                บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบใหม่ได้ให้ข้อมูลว่า Google Sheet ใช้งานง่าย ทำให้การทำงานด้านการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ช่วยให้การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านไปใช้ระบบใหม่ บุคลากรบางส่วนยังต้องการเวลาในการปรับตัวและเรียนรู้การใช้งาน ซึ่งได้นำความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาตนเองด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนางาน และมีผลเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงความสามารถในการทำงานได้ดีขึ้น บรรลุเป้าหมายแผนพัฒนาบุคลากร เป็นรายบุคคล เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด                บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ จากการนำ Google Sheet มาใช้ในการจัดการงานด้านการเงิน ทำให้ได้ข้อสรุปความรู้ที่สำคัญ ดังนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เช่น แอปพลิเคชันบนคลาวด์อย่าง Google Sheet สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการอย่างรอบด้านเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์การทำงาน การให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นแก่บุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญในการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล การทำงานแบบออนไลน์และเรียลไทม์ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม การสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานยุคใหม่   ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice            ในส่วนของระบบการดำเนินการด้านการเงินของศูนย์บริการทางวิชาการบน Google Sheet ในอนาคตจะมีการปรับปรุงทั้งส่วนการกรอกข้อมูลให้ง่ายขึ้น และปรับปรุงในส่วนการแสดงผลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการมากยิ่งขึ้น            สุดท้ายนี้ศูนย์บริการทางวิชาการเชื่อในเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการทำงานและการตัดสินใจ โดยให้ความสำคัญกับการจัดเก็บ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีความชัดเจน โปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน เพื่อสงเสริมการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินภายในของศูนย์บริการวิชาการด้วย Google Sheet Read More »

Scroll to Top