การเรียนการสอนเรื่องสวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง จากชีววิทยาองค์รวม
รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 การเรียนการสอน เรื่อง สวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง … จากชีววิทยาองค์รวม ผู้จัดทำโครงการ ผู้วางโครงการ ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ ผู้ให้ความรู้ ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม คณะวิทยาศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การจัดการเรียนสอนรายวิชาต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักที่งมุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความสามารถ(ability to do)ในด้านใดด้านหนึ่ง จนเกิดเป็นสมรรถนะทางการศึกษาด้านต่างๆ ซึ่งแตกต่างไปตามแต่ละเนื้อหา ทั้งด้านความรู้(cognitive domain) ด้านทักษะ (psychomotor domain) และด้านเจตคติ(affective domain)ในระดับต่างๆ การบูรณาการองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า จนนำไปสู่การประยุกต์ใช้ปฎิบัติในสถานการณ์จริง เป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถ (ability to do)ในด้านใดด้านหนึ่งจนเกิดเป็นสมรรถนะด้านต่างๆขึ้นในตัวผู้เรียน จากแนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมโครงงาน (วิชา BIO131/ 132) เรื่อง “สวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง…จากชีววิทยาองค์รวม” ซึ่งเป็นสถานการณ์การเรียนรู้ที่กำหนดให้นักศึกษาได้บูรณาการองค์ความรู้ทางชีววิทยา เพื่อสรรค์สร้างงานศิลป์….เป็นสวนกระถางจากขยะเมล็ดผลไม้” ควบคู่ไปกับการ ฝึกทักษะการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดผลไม้ การเพาะเมล็ด การรดน้ำ ดูแลต้นกล้า รวมถึงฝึกทักษะการนำเสนอ การบันทึกภาพทางวิชาการ การใช้ application ต่างๆ ได้แก่ Line application ในการปรึกษาหารืออาจารย์ผู้สอน ทักษะการใช้ Padlet application สำหรับการรายงานความก้าวหน้าของโครงงาน ทักษะทำงานแบบบูรณาการภายใต้การแนะนำจากผู้สอนอย่างใกล้ชิดและมีความสุขแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาร่วมกัน สร้างเสริมคุณธรรมด้านความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ ได้แก่ การตรงต่อเวลา ขยัน อดทน รักษาสัจจะ และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนอีกด้วยประโยชน์ที่คาดว่าผู้เรียนจะได้รับจากกิจกรรมในโครงการนี้ นอกจากการการได้ฝึกทักษะการบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติจริงแล้ว ยังเป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้ความรู้ทางชีววิทยาเพื่อลดของเสียหรือของเหลือทิ้ง(เมล็ดผลไม้เหลือทิ้งจากการบริโภค) เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่กำหนดให้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG1) Economy) เป็นวาระแห่งชาติ โดยโครงงานนี้เป็นกิจกรรมตัวอย่างที่นักศึกษาสามารถทำได้จริง โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทำแล้วมีความสุข และผลผลิตที่ได้มาสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อการค้าได้อีกด้วย ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ • องค์ความรู้ทางชีววิทยา (อาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การแบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ)• L.E. (Learning Experience): นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้• การวางโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาสู่ชุมชน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase) – ผลงานเรื่อง ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม (L.E.: Learning Experience) เรื่อง สารอันตรายในน้ำมันทอดซ้ำ: ชุมชนวัดรังสิต(ภายใต้โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ประจำปี 2563) – ผลงานเรื่อง “โครงการจัดอบรม ปลูกผักกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม” – ผลงานเรื่อง “โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน” เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ (องค์ความรู้ เรื่อง L.E. (Learning Experience) นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้• แบบรายงานผลการจัดการความรู้ ปี การศึกษา 2563 :(https://lc.rsu.ac.th/km/files/form/form_10_2021_04_20_125535.pdf)• Clip: https://www.youtube.com/watch?v=E63-ar_lLs4 อื่น ๆ (โปรดระบุ) : E book ไม้ประดับจากขยะเมล็ดผลไม้(โดย ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม & ลาวัณย์ วิจารณ์) เป็นองค์ความรู้ที่ได้จาก การบริการวิชาการ โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ปี 2565 (รหัส โครงการ 650437 : Ornamental Gardening For Life (สรรสร้างพันธุ์พืชเป็นไม้ประดับ) ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด : คณะวิทยาศาสตร์• ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม /สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ทางชีววิทยา (อาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การ แบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ• ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ /สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ : องค์ความรู้ 1_ L.E. (Learning Experience) นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ : องค์ความรู้ 2_ การวางโครงการบริการวิชาสู่ชุมชน อื่น ๆ (ระบุ) สมรรถนะ (Competency) ด้านการใช้ Padlet application ในการบริหารจัดการและการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ วิธีการดำเนินการ 1. แบ่งนักศึกษาออกเป็น 24 กลุ่มๆละ 3-4 คน2. กำหนดให้แต่ละกลุ่ม บูรณาการความรู้ทางชีววิทยา (อาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การแบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ) เป็นหลักในการเพาะเมล็ดผลไม้ เพื่อสรรค์สร้างงานศิลป์ เป็นสวนผลไม้กระถางขนาดเล็ก3. กำหนดระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 6 สัปดาห์ (ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.-13 มี.ค. 2567)4. มอบหมายแต่ละกลุ่มประชุม/ปรึกษาหา/ ร่วมกันคัดเลือกชนิดผลไม้ /เลือกซื้อ/รับประทานผลไม้และนำขยะเมล็ดผลไม้ใช้เป็นเมล็ดสำหรับเพาะต้นกล้า/เลือกซื้อวัสดุปลูก /ทำการเพาะเมล็ด/ดูแล/ออกแบบสรรคสร้างสวนกระถางเม,ดผลไม้เหลือทิ้งที่สวยงาม/ช่วยกันตกแต่งสวนกระถาง/รายงานผลดำเนินงานทุกขั้นตอน ผ่าน Padlet application (รายละเอียดการดำเนิน เอกสารแนบ ตัวอย่าง ผลงานของนักศึกษาทั้งหมด 92 คน (24 กลุ่ม โครงงาน)5. การดำเนินกิจกรรมของทุกกลุ่ม อยู่ภายในคำแนะนำอย่างใกล้ของปรึกษาอาจารย์ทั้ง onsite และ online (line application)6. ประเมินผลงานโดยคณาจารย์ และมอบรางวัลผลงานดีเด่น (onsite) 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ตัวอย่าง ผลงานของนักศึกษาทั้งหมด 92 คน (24 กลุ่ม โครงงาน)รายละเอียดศึกษาได้จาก ไฟล์ลิงค์ด้านล่าง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECKการตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ การประเมินผลโครงการแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้1. ด้านการนำองค์ความรู้ทางชีววิทยามาประยุกต์ใช้ในการทำสวนกระถาง พบว่า กลุ่มโครงงานทั้ง 24 กลุ่ม สามารถนำองค์ความรู้ทางชีววิทยามาประยุกต์ใช้ในการเพาะกล้าผลไม้ และสามารถทำสวนไม้กระถาง ได้ตามวัตถุประสงค์การสอน ที่ได้กำหนดไว้2. ด้านความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการทำโครงงาน พบว่า• ร้อยละ 99 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับอาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การแบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสงมากขึ้น• ร้อยละ 96 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การนำเมล็ดผลไม้เหลือทิ้งจากการรับประทานผลไม้นานาชนิด ช่วยลดขยะจากการรับประทานผลไม้ได้• ร้อยละ 96 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า โครงการเพาะเมล็ดผลไม้เพื่อทำเป็นสวนไม้กระถางขนาดเล็กสามารถทำเป็นอาชีพได้ • ร้อยละ 99 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า โครงการนี้ทำให้สามารถนำองค์รู้ความรู้ทางชีววิทยามาปรับใช้ก่อทำให้เกิดงานศิลปะที่สามารถทำเป็นอาชีพได้• ร้อยละ 99 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า โครงการนี้ทำให้สามารถนำองค์รู้ความรู้ทางชีววิทยามาปรับใช้เพื่อลดปัญหาขยะเมล็ดผลไม้เหลือทิ้งจากการรับประทานได้ หลังจากครบกำหนดการส่งผลงาน ได้จัดกิจกรรมให้นักศึกษาสะท้อนความรู้สึก (refection) เกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมในโครงการนี้ 9 ประเด็น คือ ทำโครงงานนี้สนุก มีความสุข /ตื่นเต้นมากๆ เมื่อเห็นต้นไม้เติบโต /ตื่นเต้นมากๆเมื่อเห็นต้นไม้ของเราไม่งอกสักที /การนำองค์ความรู้ทางชีววิทยาไปสร้างสรรค์งานศิลปะได้/การนำองค์ความรู้ทางชีววิทยาสามารถขยะเมล็ดผลไม้ลดปัญหาโลกร้อนได้/เราควรนำขยะเมล็ดผลไม้ทำ มาทำเป็นสวนไม้กระถาง ตกแต่งไว้ที่บ้าน/เราควรฝึกผีมือนำขยะเมล็ดผลไม้ทำสวนไม้กระถาง เอาไว้ขายในอนาคต /เราควรฝึกฝีมือนำขยะเมล็ดผลไม้ทำสวนไม้กระถาง เพื่อให้เป็นของขวัญกับคนที่เรารัก/ควรจัดการเรียนการสอนแบบนี้อีก โดยสอบถามความคิดเห็นว่า มีความคิดเห็นในระดับใด (เห็นด้วยอย่างยิ่ง/เห็นด้วย/ไม่แน่ใจ/ ไม่เห็นด้วย /ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ) กับข้อความทั้ง 9 ประเด็นข้างต้น ผลการสะท้อนความรู้สึก พบว่า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 นักศึกษาเห็นด้วยอย่างยิ่งและเห็นด้วย ในทุกประเด็น รายละเอียดความคิดเห็นของนักศึกษา ดังนี้ จะเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมในโครงการนี้ นอกจากสามารถกระตุ้นให้นักศึกษา ได้มีประสบการณ์ในการบูรณาการความรู้ทางชีววิทยา มาประยุกต์ใช้เพื่อสรรค์สร้างงานศิลป์ที่สวยงามแล้ว ยังทำให้นักศึกษามีความเข้าใจถึงองค์ความรู้เหล่านั้นอย่างชัดเจน สนุก ตื่นเต้นเร้าใจ และมีความสุข และที่สำคัญที่สุดคือ นักศึกษาทุกกลุ่มร่วมแรงร่วมใจ ทั้งขยัน อดทน มีวินัย ตรงต่อเวลาในการส่งผลงานที่ใช้เวลายาวนานถึง 6 สัปดาห์ และเมื่อมีปัญหาก็ร่วมกันแก้ไขจนทำให้ทุกกลุ่มสามารถผลิตผลงานสวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้งได้สำเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์การศึกษาครบทั้ง 3 ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านเจตคติ 3.รับผิดชอบด้านความในการทำโครงงาน พบว่า นักศึกษาทุกกลุ่ม มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ รายละเอียดพิจารณาจากการส่งผลงานทุกขั้นตอนผ่าน Padlet และขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา ทั้ง Onsite และผ่าน line application ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ (Learning Experience Model: L.E. Model) โดยใช้ผลการเรียนรู้จากโครงงานนี้ (ผลการเรียนรู้ในเรื่อง การเรียนการสอน เรื่อง สวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง…จากชีววิทยาองค์รวม” เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และต่อยอดทำวิจัย R&D เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ Model ดังกล่าว โดยใช้กระบวนการ induction approach ซ้ำๆในหลากหลาย case ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยดังกล่าว หากประสบความสำเร็จ จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถพิสูจน์ทดสอบโดยใช้กระบวนการ duction approach ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็น Good Practice ได้ในท้ายที่สุด ในทางกลับกัน หากผลจากวิจัยดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะกลายเป็นโจทย์วิจัยชุดใหม่ที่รอการท้าทายให้นักวิจัยต้องคิดค้นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อสร้างและพัฒนาเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ และทำการพิสูจน์ทดสอบโดยใช้กระบวนการวิจัย R&D ทางการศึกษา ทั้งกระบวนการ induction approach และ duction approach ทำต่อเนื่องกันไปอย่างไม่จบสิ้น วิธีการดังกล่าวนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เกิด นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เป็น Good Practice ได้ในท้ายที่สุด ซึ่งในครั้งนี้ผู้สอนและผู้วางโครงการได้ดำเนินการจัดวิจัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การวิจัย R&D ในลำดับต่อไปในเวลาที่เหมาะสม
การเรียนการสอนเรื่องสวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง จากชีววิทยาองค์รวม Read More »