การทำวารสารเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.3.1 การทำวารสารเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์ ผู้จัดทำโครงการ คุณรัตนาภรณ์ กาศโอสถ สำนักหอสมุด หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ วารสารรังสิตสารสนเทศเป็นวารสารทางวิชาการทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ที่ผลิตโดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ด้วยดำริของอดีตผู้อำนวยสำนักหอสมุด ดร.อุทัย ทุตยะโพธิ ในแนวคิดที่อยากเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้กับบรรณารักษ์ ด้วยการจัด Journal Club ขึ้น โดยให้บรรณารักษ์ ได้มีการอ่านบทความ อ่านหนังสือที่น่าสนใจ และนำความรู้ที่ได้มาสรุปและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เมื่อดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง เพื่อให้เกิดมีการนำองค์ความรู้ต่างๆ ออกสู่สาธารณะ จึงได้มีการจัดทำวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ โดยให้บรรณารักษ์เริ่มฝึกการเขียนบทความ การแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้อาจารย์ หรือบรรณารักษ์จากสถาบันอื่นๆ มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้วย ซึ่งวารสารมีชื่อว่า “วารสารรังสิตสารสนเทศ” ฉบับปฐมฤกษ์ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดีอนมกราคม-มิถุนายน 2539 การจัดทำวารสารในระยะแรก มีการหมุนเวียนบรรณารักษ์หัวหน้าแผนกเป็นบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ โดยจะร่วมกันทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ที่สนใจเขียนบทความ ลงในวารสารทั้งภายในและภายนอก ด้วยข้อมูลความรู้ต่างๆ ทางด้านสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์นั้น ไม่ค่อยมีแหล่งที่จะให้เกิดการเผยแพร่บทความงานวิจัย บทความวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับอาจารย์ / บรรณารักษ์ / นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการหาแหล่งตีพิมพ์ เพื่อต้องการปรับคุณวุฒิ หรือต้องการเผยแพร่ผลงาน ให้ความสนใจอยู่พอสมควร ต่อมาการจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศ มีการดำเนินงานที่เป็นรูปแบบทางวิชาการมากขึ้น กำหนดรูปแบบการเขียนบทความที่ชัดเจน กำหนดเนื้อหา รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม มีที่ปรึกษาประจำวารสารประกอบด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา กองบรรณาธิการประจำวารสารได้เชิญนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกจากสถาบัน การศึกษาต่างๆ มาเป็นกองบรรณาธิการประจำวารสาร เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมาเป็นผู้อ่านและประเมินบทความก่อนได้รับการตีพิมพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฯลฯ แต่ละบทความจะมีผู้ทรงคุณวุฒิอ่านบทความ 3 ท่าน ซึ่งบทความจากภายในจะต้องสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัย บทความจากภายนอกสามารถสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิได้ทั้งภายในและภายนอก แต่ไม่ใช่ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันเดียว/หน่วยงานกันกับผู้เขียน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัย องค์ความรู้ทางวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ระบบสารสนเทศและการจัดการ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ โดยเปิดรับบทความจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ประเภทบทความวิจัย (Research article) บทความวิชาการ (Academic article) บทความปริทัศน์ (Review article) และบทความแนะนำหนังสือ (Book Review) บทความที่เสนอลงตีพิมพ์สามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ บทความที่เสนอลงตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน ผู้เขียน จะต้องเคร่งครัดในจรรยาบรรณไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และเป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนบทความเท่านั้น สำหรับกำหนดระยะเวลาการเผยแพร่วารสารรังสิตสารสนเทศ คือจะเพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุดได้นำเสนอ “วารสารรังสิตสารสนเทศ” ให้ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centra : TCI) พิจารณารับรองคุณภาพวารสารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยได้ประกาศผลการจัดกลุ่มและพิจารณานำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI เมื่อวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2559 วารสารรังสิตสารสนเทศมีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลการอ้างอิงวารสารไทย กลุ่ม 2 ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ถึงปัจจุบัน และสืบเนื่องด้วยกระบวนการในการรับ-ส่ง บทความจากผู้เขียน การส่งบทความให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ และการแก้ไขต่างๆ มีขั้นตอนที่ไม่สะดวกเท่าที่ควรและเกิดความล่าช้าจากกระบวนการทางสำนักหอสมุดจึงได้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศให้มีการลดขั้นตอนให้สะดวกยิ่งขึ้นทั้ง ผู้ส่ง ผู้รับ และผู้ทรงคุณวุฒิขึ้น ระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) ทำให้มีบริการวารสารรังสิตสารสนเทศแบบออนไลน์บนเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศที่ https://rilj.rsu.ac.th เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ผู้เขียน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศเป็นปี่ที่ 29 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคา-ธันวาคม 2566 รวมเป็นระยะเวลา 28 ปี มีจำนวนวารสารรังสิตสารสนเทศตีพิมพ์เผยแพร่มากถึง 56 ฉบับ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : อื่นๆ ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศ สำนักหอสมุด (https://rilj.rsu.ac.th) วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ เมื่อผู้เขียนส่งบทความเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลวารสารรังสิตสารสนเทศ คณะผู้จัดทำวารสารจะทำการตรวจสอบ เมื่อบทความผ่านการพิจารณาจากคณะผู้จัดทำวารสารแล้ว จะดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านและประเมินบทความ พร้อมแจ้งชำระค่าเผยแพร่บทความ ทำหนังสือเชิญเพื่อทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านและประเมินบทความ เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิตอบรับ คณะผู้จัดทำวารสารจะดำเนินการจัดทำหนังสือเพื่อส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่าน โดยมีเอกสารประกอบการจัดส่งดังนี้ 4.1 หนังสือขอความอนุเคราะห์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอานและประเมินบทความ 4.2 บทความต้นฉบับ 4.3 แบบประเมิน เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิอ่านและประเมินบทความเรียบร้อยและส่งกลับ คณะผู้จัดทำวารสารจะดำเนินการแจ้งให้ผู้เขียนบทความ เพื่อปรับแก้บทความตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะไว้ หลังจากผู้เขียนบทความมีการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว คณะผู้จัดทำวารสารจะทำการตรวจสอบรายละเอียดให้ตรงตามแบบฟอร์มของวารสาร ขอ DOI ประจำบทความไปที่สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ที่ https://doi.nrct.go.th ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วนำเผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศ สำนักหอสมุดที่ https://rilj.rsu.ac.th ทำการบันทึกข้อมูลบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารรังสิตสารสนเทศลงในระบบ Fast-track Indexing ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ( Thai-Journal Citation Index Centre: TCI ) 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 30 สำนักหอสมุดได้เผยแพร่วารสารมากกว่า 58 ฉบับ ปัจจุบันมีการเผยแพร่วารสารผ่านเว็บไซต์ที่ https://rilj.rsu.ac.th โดยผู้เขียนสามารถส่งบทความและดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว ภาพที่ 1 หน้าจอเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศ ภาพที่ 2 หน้าจอสำหรับผู้เขียนเข้าสู่ระบบ ภาพที่ 3 หน้าจอเข้าสู่ระบบการส่งบทความต้นฉบับ ภาพที่ 4 หน้าจอแสดงบทความต้นฉบับที่ส่งเข้าระบบ (สำหรับคณะผู้จัดทำวารสาร) ภาพที่ 5 หน้าจอสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิเข้าสู่ระบบ ภาพที่ 6 หน้าจอสำหรับคณะผู้จัดทำจัดการระบบ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาวารสารรังสิตสารสนเทศของสำนักหอสมุด เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านทางวารสารรังสิตสารสนเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการทำงาน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลสูงยิ่งขึ้น บุคลากรสำนักหอสมุด เกิดการพัฒนาในด้านการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารจัดการวารสาร และได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์จากการพัฒนาคุณภาพวารสาร เช่น วิธีการประสานงานและรับบทความจากผู้เขียน การประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ การปรับแต่งเว็บไซต์วารสาร เป็นต้น งานจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศ มีแนวปฏิบัติที่มีมาตรฐาน ส่งผลให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพ เช่น หน้าเว็บไซต์วารสารและระบบการส่งบทความออนไลน์มีมาตรฐานตามที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) มีการบันทึกข้อมูลบทความวารสารเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล TCI แบบ Fast Track (Fast-track Indexing System)เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง และสมบูรณ์ของข้อมูลสำหรับการสืบค้นข้อมูล สำนักหอสมุดเป็นแหล่งรวบรวมและให้บริการเผยแพร่วารสารรังสิตสารสนเทศ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของสำนักหอสมุดในการรวบรวมและเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice เนื่องด้วยระบบฐานข้อมูลวารสารรังสิตสารสนเทศ เป็นฐานข้อมูลที่แสดงผลการสืบค้นเฉพาะวารสารรังสิตสารสนเทศเพียงวารสารเดียวไม่สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของวารสารอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้สืบค้นข้อมูลได้ครบถ้วน สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ควรเข้าร่วมและใช้ระบบฐานข้อมูล RSU Journals 3.0 เป็นแหล่งรวมการเผยแพร่บทความในวารสารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรังสิต วารสารรังสิตสารสนทศของสำนักหอสมุด ได้จัดทำมาเป็นเวลา 28 ปี มีการพัฒนาเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 ด้วยความมุ่งมั่นของคณะผู้ดำเนินงานที่จะร่วมกันผลักดันให้วารสารรังสิตสารสนเทศก้าวสู่กลุ่ม 1 ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre : TCI) ในเวลาต่อไป
การทำวารสารเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ Read More »