การทำ Design pitch ในการปฏิบัติวิชาชีพออกแบบภายใน
รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6 การทำ Design pitch ในการปฏิบัติวิชาชีพ ออกแบบภายใน ผู้จัดทำโครงการ อ.วริศว์ สินสืบผล และ อ.ถวัลย์ วงษ์สวรรค์ วิทยาลัยการออกแบบ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การนำองค์ความรู้เฉพาะทางจากวิชาแกนที่นักศึกษาได้เรียนมาใน 3 ชั้นปี นำมามาประยุกต์ใช้กับงานจากโจทย์ของผู้ประกอบการจริง โดยนักศึกษาจะได้เห็นถึงประเด็นต่างๆในการปฏิบัติวิชาชีพ และผลลัพธ์รวมไปถึงข้อคิดเห็นต่างๆที่สะท้อนจากตัวแทนองค์กรเจ้าของกิจการ หรือกลุ่มลูกค้าในอนาคต เพื่อนำไปปรับใช้ พิจารณา และพัฒนาระดับการเรียนรู้ของตนเอง และเตรียมความพร้อมสู่การสำเร็จการศึกษาและออกไปปฏิบัติวิชาชีพในอนาคต ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การนำความรู้แบบแยกส่วนระหว่างที่เรียนมา 3 ชั้นปีมาบูรณาการกันเพื่อจำลองการประกอบวิชาชีพ โดยในรายละเอียดคือการนำองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบ ความงาม การใช้งาน และการนำเสนอแนวความคิดเพื่อสร้างสรรค์เรื่องราวเพื่อเพิ่มมูลค่าในงานออกแบบ มาบูรณาการกับการสื่อสารโดยการทำภาพนำเสนอผลงาน (3D visualization for presentation) และ การพูดนำเสนอต่อหน้ากรรมการที่มาจากองค์กรผู้ประกอบการจริง รวมไปถึงการทำงานด้าน technical ในทางวิชาชีพโดยการทำแบบก่อสร้าง และการประมาณราคาเพื่อนำเสนองบประมาณของการก่อสร้างในแบบที่นักศึกษานำเสนอ ผ่านรายวิชา Professional practice หรือ วิชาการประกอบธุรกิจการออกแบบตกแต่งภายใน ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้ในทางวิชาชีพที่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียน และความรู้ในเชิงปฏิบัติการจากเจ้าของโครงการ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด สาขาออกแบบภายใน วิทยาลัยการออกแบบ และทีมงานส่วนงานสถาปัตยกรรม9+*4คาเฟ่อเมซอน บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีกจำกัด (มหาชน) วิธีการดำเนินการ วิธีการดำเนินการ เริ่มจากการนำรายวิชา COD 107 การประกอบธุรกิจการออกแบบ เป็นการเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพออกแบบภายใน โดยนำโครงการออกแบบจริง เข้ามาเป็นโจทย์ให้นักศึกษาในรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการทำงาน และ รับข้อคิดเห็น คำแนะนำในฐานะเจ้าของโครงการจริง โดยได้รับการอนุเคราะห์จากทางทีมงานส่วนงานสถาปัตยกรรม คาเฟ่อเมซอน บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามาให้โจทย์ โดยมีรายละเอียดวิธีการดำเนินการดังนี้ จัดนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม และทำการแบ่งงานกันโดยจำลองเป็นเหมือนสำนักงานออกแบบ เพื่อทำการประกวดแบบแข่งกัน โดยทางทีมเจ้าหน้าที่จากคาเฟ่อเมซอน จะเป็นผู้ให้คะแนนตัดสิน เป็นการจำลองเหมือนการประกวดแบบในวิชาชีพ ทางทีมงานเจ้าของโครงการ ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการร้านคาเฟ่อเมซอน เพื่อให้นักศึกษาเป็นข้อมูลในการออกแบบ และพาเยี่ยมชมการออกแบบ และการจัดการพื้นที่ร้านคาเฟ่อเมซอนเพื่อเป็นกรณีศึกษา นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูล ตามความรู้กระบวนการออกแบบที่เรียนมา เพื่อเริ่มกระบวนการออกแบบ โดยทางอาจารย์ประจำวิชาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและตรวจงานตามขั้นต้อนต่างๆเบื้องต้น นักศึกษานำผลงานที่พัฒนาสุดท้ายนำเสนอแก่กลุ่มทีมงานส่วนงานสถาปัตยกรรม คาเฟ่อเมซอน บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และรับฟังข้อคิดเห็นและข้อแนะนำต่างๆ จากทางเจ้าของโครงการ ณ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต กลุ่มนักศึกษาทำการพัฒนาแบบสุดท้าย เพื่อทำการเขียนแบบก่อสร้าง และ BOQ เพื่อดูงบประมาณการก่อสร้างตามขอบเขตของรายวิชา และนำส่งอาจารย์ประจำวิชาเพื่อการประเมิน และสรุปผลงาน 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ได้รับผลลัพธ์ในเชิงการวัดผลที่น่าสนใจ เพราะกระบวนการนี้ทำให้เหมือนเป็นการวัดผลให้เห็นคุณภาพ และ ศักยภาพของนักศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมในการทำงานจริง เป็นเหมือนการเช็ค Pre-PLO ก่อนที่นักศึกษาจะเรียนในชั้นปีสุดท้าย อุปสรรค : 1. เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ทำให้มีข้อกำหนดเรื่องระยะเวลา และการนัดหมาย 2. โครงการมีรายละเอียดการดำเนินการพอสมควร แต่บุคคลากรมีเพียงอาจารย์ประจำวิชาทำให้การดำเนินการอาจจะติดปัญหาบ้าง 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ ตรวจสอบผลลัพธ์จากความคิดเห็นของทางเจ้าของโครงการที่มีต่อผลงานของนักศึกษา และผลลัพธ์ที่ชิ้นงานของนักศึกษา โดยแบ่งเป็นไฟล์งานออกแบบ presentation files และ งานเขียนแบบก่อสร้าง และ BOQ (การประมาณราคาการก่อสร้าง) ส่วนในด้านองค์ความรู้ที่ได้เพิ่มจากการดำเนินการคือ วิสัยทัศน์ ทัศนคติ และวิธีการตัดสินให้คะแนนจากองค์กรภายนอกต่อการประกวดแบบ โดยองค์ความรู้นี้จะเป็นแนวทางในการเพิ่ม soft skill ของนักศึกษาในการนำเสนอผลงานในการประกอบวิชาชีพ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ควรมีการวางแผนงานล่วงหน้าที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความร่วมมือกับองค์กรภายนอก และมีการแบ่งงาน หรือจัดตั้งทีมงานที่เพียงพอต่อการดำเนินการ
การทำ Design pitch ในการปฏิบัติวิชาชีพออกแบบภายใน Read More »